เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา IBM ประกาศเข้าซื้อกิจการ AlchemyAPI ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้าน cognitive computing ตั้งอยู่ที่เมืองเดนเวอร์ มลรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา โดยไม่เปิดเผยมูลค่าของการเข้าซื้อในครั้งนี้
นอกจากการได้ฐานลูกค้าและนักพัฒนามากกว่า 30,000 รายของ AlchemyAPI มาแล้ว IBM ยังจะได้เทคโนโลยีมาด้วย โดยนักวิเคราะห์จาก IDC ระบุว่าการเข้าซื้อครั้งนี้เป็นการเสริมเขี้ยวเล็บให้กับทาง IBM ในการต่อกรกับ Google และ Microsoft ที่มีบริการใกล้เคียงกัน
ปีที่แล้ว แวดวงไอทีองค์กรมีข่าวใหญ่ที่สำคัญมากข่าวหนึ่งคือ แอปเปิลประกาศความร่วมมือ IBM ผลักดัน iOS ในตลาดองค์กร
แม้หลายคนอาจให้ความสนใจเพราะความขัดแย้งในอดีตของทั้งสององค์กร (จริงๆ ดีกันแล้วตั้งแต่สมัย PowerPC นะครับ) แต่ประเด็นหลักของความร่วมมือข้างต้นคือความร่วมมือของยักษ์ใหญ่ทั้งสองในการบุกตลาดแอพมือถือองค์กรต่างหาก
หลังแถลงข่าวแล้วโครงการนี้ก็เงียบหายไปหลายเดือน ซึ่งในโอกาสที่คุณวิลล์ ดัคเวิร์ธ ผู้บริหารที่ดูแลโครงการนี้โดยตรง (คุมทั้งเอเชียแปซิฟิก) บินมาเมืองไทย ผมก็ได้รับเชิญจาก IBM Thailand ให้สัมภาษณ์คุณวิลล์ถึงที่มาที่ไปของโครงการนี้ครับ
Ginni Rometty ซีอีโอของ IBM กล่าวในงานประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีว่าบริษัทจะโฟกัสการลงทุน 3 ยุทธศาสตร์สำคัญคือ cloud services, data analytics, mobile businesses
IBM จะลงทุนในธุรกิจทั้งสามกลุ่มนี้อีก 4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งบริษัทหวังว่าจะทำรายได้กลับมา 40 พันล้านดอลลาร์ต่อปีในปี 2018
ปีที่แล้วรายได้ของ IBM ลดลงเหลือ 93 พันล้านดอลลาร์จากเดิม 100 พันล้านดอลลาร์ แต่ Rometty บอกว่านั่นเป็นความตั้งใจ และเป็นผลจากการขายธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ให้ Lenovo กับขายโรงงานผลิตชิปให้ GlobalFoundries เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อลดสัดส่วนรายได้จากฮาร์ดแวร์ลง
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา IBM ประกาศอย่างเป็นทางการว่า บริการ Watson Personality Insights ได้เปิดให้เข้าใช้งานเป็นการทั่วไปแล้ว โดยนักพัฒนาหรือลูกค้าสามารถใช้งานได้จากแพลตฟอร์มคลาวด์ IBM Bluemix อย่างเป็นทางการ
สำหรับ Watson Personality Insights เป็นบริการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ IBM Watson วิเคราะห์ข้อมูลที่ผู้ใช้อนุญาต เช่น อีเมล์ ข้อความสั้น ข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น ในการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วหาบุคลิกส่วนตัวของคนๆ นั้น รวมถึงความต้องการและค่านิยม/ความเชื่อของคนๆ นั้นได้อีกด้วย เพื่อนำเสนอบริการหรือสินค้าที่เหมาะสมให้กับคนๆ นั้น
ไอบีเอ็มร่วมมือกับ ARM ออกชุด Ethernet IoT Starter Kit เป็นชุดรวมระหว่างบอร์ด Freescale K64F ที่มีขายก่อนหน้านี้แล้วและบอร์ดเสริม mbed Application shield ที่มีเซ็นเซอร์, จอภาพ, และอินพุตเอาไว้ในตัว
ความพิเศษของชุดพัฒนานี้คือมันต่อเข้ากับบริการ IoT Foundation ได้ทันทีจากซอฟต์แวร์ที่มีมาให้ในเครื่อง เมื่อลงทะเบียนเครื่องเข้ากับบริการแล้วจะสามารถเปิดให้บอร์ดรายงานไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้ทันที
ยังไม่ระบุราคาทั้งชุดพัฒนาและบริการคลาวด์ แต่ค่าบริการคลาวด์ใช้งานฟรี 30 วัน
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา IBM ประกาศลงทุนเพิ่มเป็นจำนวน 1,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 32,000 ล้านบาท) เป็นระยะเวลายาวนาน 5 ปี เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ software-defined storage เป็นการเฉพาะ ซึ่งถือว่าเป็นการชนกับคู่แข่งอย่าง EMC โดยตรง
ตามแผนงานการลงทุนดังกล่าวนี้ IBM จะปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ด้าน storage หลายตัว ให้สอดรับกับทิศทางของ software-defined storage ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ด้านคลาวด์หลายตัว เช่น OpenStack หรือ VMware vCloud ด้วย
ไอบีเอ็มประกาศบุกตลาดซอฟต์แวร์สตอเรจสำหรับองค์กรเต็มตัว ด้วยการลงทุนอีกพันล้านดอลลาร์ในอีกห้าปีข้างหน้า โดยเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์สตอเรจสำหรับคลาวด์, ระบบจัดเก็บออปเจ็กต์, และมาตรฐานเปิดเช่น Open Stack
ในการประกาศไอบีเอ็มเปิดตัวซอฟต์แวร์ IBM Spectrum Accelerate มาพร้อมกัน โดยเป็นระบบจัดการสตอเรจจากฮาร์ดแวร์ทั่วไป ที่ดึงเทคโนโลยีมาจาก IBM XIV นอกจากนี้ยังเปลี่ยนชื่อ IBM GPFS เป็น IBM Spectrum Scale ไปพร้อมกันทั้งที่เพิ่งเปลี่ยนชื่อเป็น Elastic Storage ไปเมื่อปีที่แล้ว จึงเป็นไปได้ว่าไอบีเอ็มเตรียมจะใช้แบรนด์ Spectrum กับซอฟต์แวร์สตอเรจที่อาจจะตามออกมาอีกหลายตัว
SoftBank บริษัทสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศญี่ปุ่น ประกาศเป็นพันธมิตรกับทาง IBM ในการพัฒนาระบบประมวลผลข้อมูล Watson ในประเทศญี่ปุ่น เป็นการเพิ่มเติม หลังจากที่เคยมีความร่วมมือกันก่อนหน้าที่ SoftBank จะช่วยพัฒนา Watson ให้รองรับภาษาญี่ปุ่นมาก่อนแล้ว
ภายใต้ความร่วมมือนี้ SoftBank จะใช้ Watson ภายในองค์กรในฐานะเครื่องมือสนับสนุน (support tool) ขององค์กร, ขายต่อ (resell) บริการคลาวด์ของ Watson, ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย (distributor) ของ Watson ให้แก่ IBM และให้บริการ Watson แก่ลูกค้าภายในญี่ปุ่นในฐานะแพลตฟอร์ม (PaaS: Platform as-a-service)
ที่สหรัฐอเมริกา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ The Columbus Dispatch รายงานข่าวโดยอ้างจากรายงานข่าวของทางสำนักข่าว Bloomberg อีกทีหนึ่งว่า IBM กำลังอยู่ระหว่างการผลักดันการแก้ไขกฎหมายบางฉบับ ที่จะทำให้ระบบประมวลผลข้อมูล Watson ของตัวเอง ไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA: Food and Drug Administration) ซึ่งทาง IBM พยายามผลักดันมานานกว่า 2 ปีแล้ว
แนวโน้มของการใช้ Watson ระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ของ IBM เริ่มที่จะขยายขอบเขตมากขึ้น เมื่อล่าสุดทาง IBM จับมือกับสถาบันการศึกษาอาหาร (Institute of Culinary Education: ICE) ของสหรัฐอเมริกา เตรียมที่จะตีพิมพ์หนังสือสูตรอาหารที่มี Watson เป็นคนคิดสูตร ชื่อว่า "Cognitive Cooking with Chef Watson"
บทบาทของ Watson ในการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ คือการที่เชฟของ ICE ทำงานร่วมกับทาง IBM โดยให้ Watson เข้ามาเป็นผู้ช่วยในการหาสูตรอาหารใหม่ๆ จากความเข้ากันได้และจับคู่วัตถุดิบที่แตกต่างกัน (ไม่ต่างจากระบบวินิจฉัยโรคมะเร็งของ Watson) ซึ่งเชฟของทาง ICE จะช่วยเข้ามาพัฒนาระบบของ Watson ในเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีการจับคู่อาหารและส่วนประกอบทางเคมีต่างๆ
เมื่อปีที่แล้ว IBM เปิดตัว IBM Verse อีเมลแนวคิดใหม่ไป และ IBM ก็บอกว่าจะเปิดให้ทดสอบในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
ล่าสุด ทาง IBM ได้ส่งอีเมลไปหาผู้ที่ลงทะเบียนแสดงความสนใจในบริการ IBM Verse ว่าบริษัทเริ่มเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาลงทะเบียนเพื่อเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ได้ใช้บริการนี้ โดยสามารถลงทะเบียนได้ที่ IBM.com/Verse โดยในแบบฟอร์มนั้นจะต้องใช้อีเมลขององค์กรในการเปิดใช้บริการ
ทั้งนี้ IBM จะส่งอีเมลการเปิดใช้งาน IBM Verse หลังจากที่ลงทะเบียนไปไม่นาน (แต่ไม่ระบุว่าเมื่อไร)
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2014 มีรายได้รวม 24,113 ล้านดอลลาร์ ลดลง 11.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิลดลง 11.3% อยู่ที่ 5,484 ล้านดอลลาร์
ถึงแม้รายได้จะลดลงไปมาก แต่ซีอีโอ Ginni Rometty ยังยืนยันว่ากลยุทธ์ของไอบีเอ็มที่จะเปลี่ยนมาเน้นธุรกิจใหม่ยังอยู่ในทิศทางที่ดี โดยรายได้จากส่วนบริการกลุ่มเมฆ, Data Analytics, บริการด้านความปลอดภัย, บริการบนมือถือ และเครือข่ายสังคม ที่ถือเป็นธุรกิจใหม่ ยังมีรายได้ที่เติบโต 16% และคิดเป็น 27% ของรายได้รวมบริษัท
ที่มา: ไอบีเอ็ม
อ่านข่าวสมาร์ทโฟนกันมาเยอะ มาดูข่าว "เมนเฟรมใหม่" กันบ้างนะครับ
IBM เปิดตัวเมนเฟรมรุ่นใหม่ z13 โดยเป็นเมนเฟรมตัวท็อปที่มีศักยภาพประมวลผลธุรกรรม (transaction) ได้มากถึง 2.5 พันล้านธุรกรรมต่อวัน เป้าหมายของ IBM คือสร้างคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง พร้อมสำหรับโลกอนาคตที่มีธุรกรรมผ่านอุปกรณ์พกพาจำนวนมหาศาล
บริษัท IFI CLAIMS ผู้สำรวจฐานข้อมูลสิทธิบัตรรายใหญ่ เผยสถิติการยื่นขอสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกา นับรวมทั้งปี 2014 พบว่ามีสิทธิบัตรใหม่มากถึง 300,678 รายการ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8% และสร้างสถิติใหม่ที่มีสิทธิบัตรมากกว่า 3 แสนรายการเป็นครั้งแรก
อันดับบริษัทที่ยื่นขอสิทธิบัตรมากที่สุด ได้แก่
เมื่อกลางปีนี้ ไอบีเอ็มประกาศความร่วมมือกับแอปเปิล ทำแอพสำหรับตลาดองค์กรลง iOS ชุดใหญ่ วันนี้แอพชุดแรกมาแล้ว
ไอบีเอ็มเรียกแอพกลุ่มนี้ว่า IBM MobileFirst for iOS โดยแอพชุดแรกครอบคลุมหลากหลายธุรกิจ ทั้งแอพสำหรับสายการบิน ธนาคารและการเงิน ประกันภัย ค้าปลีก และหน่วยงานรัฐบาล ตัวอย่างแอพได้แก่ Sales Assist แอพช่วยงานเซลส์ที่เปิดดูข้อมูลลูกค้า ประวัติการซื้อขายสินค้าเดิม และสต๊อกสินค้าในปัจจุบัน, Plan Flight แอพสำหรับนักบินเพื่อดูข้อมูลต่างๆ ก่อนขึ้นบิน, Passenger+ แอพสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินดูข้อมูลต่างๆ ของผู้โดยสาร เป็นต้น
ข่าวสั้นทันโลกครับ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทาง IBM ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ได้เปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใช้และทดสอบบริการ Watson Analytics เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะมีสถานะเป็น "Public Beta" ไปก่อน
Watson Analytics เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ที่พัฒนามาจากระบบประมวลข้อมูลของ Watson ซึ่งทำงานอยู่บนระบบคลาวด์ และแน่นอนว่าต้องรองรับภาษาธรรมชาติ (natural language) มาในตัวด้วย
ใครที่สนใจทดสอบ Watson Analytics สามารถลงทะเบียนได้แล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ที่มา - The Next Web
เราอาจจะรู้จัก IBM Watson ในฐานะระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ของ IBM ที่เล่น Jeopardy! ชนะคนเมื่อปี 2011 และเริ่มเอามาใช้งานอย่างจริงจังในช่วงปีนี้ ล่าสุด Watson ถูกนำไปใช้เพื่อแนะนำด้านโภชนาการให้กับคนไข้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ช่วงที่ผ่านมาเราเริ่มเห็นการนำเอาเทคโนโลยี Watson ระบบประมวลผลและหาคำตอบสาย big data ของ IBM เอาไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ (ของไทยมีใช้ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในการช่วยรักษาโรคมะเร็ง) และล่าสุดก็เป็นทาง IBM เองที่จะเอา Watson เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบคัดเลือกคนทำงานกับ IBM แล้ว
IBM เปิดตัว Verse เว็บเมลแนวใหม่ที่ผนวกเอาฟีเจอร์ด้านโซเชียลและการวิเคราะห์ข้อมูลอีเมลเข้ามาตามสมัยนิยม (คล้าย Google Inbox หรือ Microsoft Yammer) โดยทาง IBM มีแนวคิดคล้ายๆ กันคือต้องการแก้ปัญหา "อีเมลเยอะเกินไป" ต้องเสียเวลางานมาตอบอีเมลจนไม่ได้ทำอย่างอื่น
IBM Verse พยายามแก้ปัญหาของอีเมลด้วยวิธีการดังนี้
IBM และ Nvidia ชนะโครงการสร้างคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงให้กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ มูลค่าโครงการ 325 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 10,600 ล้านบาท คาดว่าความเร็วที่ได้จะอยู่ระหว่าง 100 ถึง 150 เพตาฟลอบ เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก Tianhe-2 ที่อยู่ที่ 55 เพตาฟลอบ
กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ เป็นลูกค้ารายใหญ่ของคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงมาเสมอ ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ระดับสองของโลกคือเครื่อง Titan โดย Cray และอันดับสามคือเครื่อง Sequola โดย IBM ก็เป็นของกระทรวงพลังงานทั้งคู่ รวมถึงเครื่องอื่นๆ ในรายการ Top500 อีกจำนวนมาก
บริการคลาวด์ที่เราได้ยินกันส่วนมากคงเป็นกูเกิล, อเมซอน, ไมโครซอฟท์, หรือ Digital Ocean แต่ในโลกองค์กรไอบีเอ็มก็ยังเป็นผู้ให้บริการรายสำคัญจากการเข้าซื้อ SoftLayerเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้ไอบีเอ็มก็เตรียมมาทำตลาดกับบริษัทขนาดเล็กด้วยการออกแคมเปญสนับสนุนสตาร์ตอัพให้ใช้บริการของไอบีเอ็มฟรี
โครงการ IBM Global Entrepreneur Program for Cloud Startups จะให้การสนับสนุนสตาร์ตอัพเข้าใช้งานบริการคลาวด์ของไอบีเอ็มทั้งสามตัวหลักได้แก่ Bluemix, Cloudant, และ SoftLayer นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากไอบีเอ็มเพื่อทำตลาดองค์กร
วันนี้ IBM และ Mizuho Bank ธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ประกาศร่วมมือกันที่จะนำเอา IBM Watson เข้ามาใช้กับระบบของธนาคาร โดยจะเอามาใช้กับระบบ call center ของทางธนาคารภายในปีหน้า
ทั้งสองบริษัทระบุว่ากำลังพัฒนาระบบจดจำเสียง (speech recognition) ที่จะถอดคำพูดของลูกค้าออกมาเป็นตัวอักษร แล้วส่งต่อให้ Watson ทำการประมวลผลเพื่อแก้ไขปัญหา จากนั้นจึงกลับมาด้วยทางออกต่างๆ ที่เป็นไปได้ (ลองอ่านวิธีการทำงานของ Watson เพิ่มเติม)
ช่วงหลังเราเห็นข่าวยักษ์สีฟ้า IBM เดินสายสร้างพันธมิตรแบบถี่ยิบ ล่าสุด IBM ประกาศความร่วมมือกับ Tencent Cloud บริษัทลูกของยักษ์ใหญ่วงการอินเทอร์เน็ตจีน Tencent เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านคลาวด์ร่วมกัน
ปัจจุบัน Tencent ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับหน่วยงานในจีนเป็นจำนวนมาก การจับมือกับ IBM จะช่วยให้ Tencent ได้ความเชี่ยวชาญสายงานคอนซัลต์จาก IBM รวมถึงซอฟต์แวร์บนกลุ่มเมฆแบบ SaaS ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น CRM หรือการตลาดด้วย ฝั่งของ Tencent ก็จะทำหน้าที่ดำเนินการกลุ่มเมฆทั้งแบบ public/private ให้กับลูกค้าในจีนโดยอิงอยู่บนเทคโนโลยีของ IBM ต่อไป
ที่มา - IBM
น่าจะเป็นก้าวเดินที่น่าสนใจของ Twitter เมื่อ Twitter ได้ร่วมมือกับ IBM โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างระบบที่จะทำให้ธุรกิจสามารถเข้าใจตลาด ลูกค้า และเทรนด์ได้มากขึ้น สิ่งที่ทั้งสองตั้งใจจะทำร่วมกันก็คือ
1.การเชื่อมต่อข้อมูลของ Twitter ด้วยระบบวิเคราะห์ของ IBM บนกลุ่มเมฆ โดยเครื่องมือนี้จะดึงข้อมูลจาก Twitter ได้ตรงๆ รวมถึง Watson Analytics และนักพัฒนาภายนอกที่ใช้ IBM cloud เช่น IBM Bluemix ก็จะสามารถดึงข้อมูลตรงนี้ไปใช้ได้เลย
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา IBM ประเทศไทยและโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จัดงานแถลงข่าวประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการนำเอา Watson ไปใช้งานสำหรับด้านการรักษามะเร็งที่โรงพยาบาล ซึ่งผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์พิเศษผู้บริหารของทั้งทาง IBM และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในครั้งนี้ด้วย