Bill Lowe เป็นหัวหน้าแผนกพัฒนาและการผลิต ฝ่ายระบบทั่วไปของไอบีเอ็มในปี 1975 ช่วงที่ไอบีเอ็มต้องการสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบุกตลาดที่ครองโดยผู้ผลิตรายที่เล็กกว่า เช่น Atari และ Commodore เขาเสนอให้ไอบีเอ็มขายเครื่อง Atari เพื่อเข้าสู่ตลาดให้เร็ว แต่ผู้บริหารระดับสูงไม่เอาด้วย ทำให้ไอบีเอ็มต้องเลือกเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วพร้อมสำหรับพัฒนา เช่น ซีพียู x86, DOS 1.0 ด้วยทีมวิศวกร 12 คน ผลที่ได้ของการพัฒนาคือไอบีเอ็มพีซีที่เปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล
เขาเสียชีวิตในวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมาด้วยวัย 72 ปี จากโรคหัวใจ
คอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มทำยอดขายได้ถึง 250,000 เครื่องในปีแรก มันมีราคา 1,565 ดอลลาร์ หรือประมาณ 4,000 ดอลลาร์ในทุกวันนี้เมื่อปรับเงินเฟ้อ
งานแถลงข่าวผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของออราเคิลยังคงโจมตีคู่แข่งตลอดกาลอย่างไอบีเอ็มอย่างต่อเนื่อง ด้วยการประกาศว่าออราเคิลขึ้นมาเป็นที่สองของโลกซอฟต์แวร์เมื่อนับตามรายได้ และพาดหัวรองจดหมายข่าวด้วยการระบุว่า "ไอบีเอ็มตกไปอยู่ที่สาม"
จดหมายข่าวนี้อาศัยรายงานรายได้ของไอบีเอ็มเองที่ระบุว่าสี่ไตรมาสล่าสุดมีรายได้จากซอฟต์แวร์รวม 25.7 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ออราเคิลมีรายได้จากซอฟต์แวร์รวม 27.8 พันล้านดอลลาร์ ทำให้ออราเคิลขึ้นมาเป็นที่สองรองจากไมโครซอฟท์แทนที่ไอบีเอ็ม
กระบวนการนับรายได้และช่วงเวลาที่นับรายได้ทั้งสองบริษัทมีข้อแตกต่างกันพอสมควร ในแง่ของความต่างคงไม่มากนับ แต่ก็นับว่าออราเคิลไล่เบียดไอบีเอ็มขึ้นมาได้
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2013 มีรายได้รวม 23.7 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 4% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2012 ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 4 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นมา 6%
Ginni Rometty ประธานบอร์ดบริหารและซีอีโอไอบีเอ็มกล่าวว่า ไตรมาสที่ผ่านมาไอบีเอ็มได้เพิ่มอัตราส่วนกำไรที่สูงขึ้น แม้รายได้จะลดลง ซึ่งก็เป็นการย้ำถึงทางเลือกโอกาสในการเติบโตในอนาคตทั้ง การให้บริการกลุ่มเมฆ (คลาวด์), บริการบนมือถือ, การวิเคราะห์ข้อมูล และบริการความปลอดภัย
ซีอีโอ Rometty ยังย้ำว่าไอบีเอ็มจะยังดำเนินกลยุทธ์ไปยังธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตต่อ แต่ก็จะปรับปรุงส่วนธุรกิจฮาร์ดแวร์ที่มีผลงานไม่ค่อยดีนักในไตรมาสที่ผ่านมาด้วย
การจัดซื้อบริการสร้างโครงสร้างกลุ่มเมฆของซีไอเอมูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลายเป็นสงครามระหว่างเจ้าตลาดรัฐบาลอย่างไอบีเอ็มและผู้เข้าชิงอย่างอเมซอน โดยซีไอเอเลือกอเมซอนหลังจากให้ผู้เข้าแข่งยื่นเสนอราคาและสินค้าที่เสนอให้
ทางไอบีเอ็มไม่พอใจคำตัดสินจึงยื่นเรื่องต่อสำนักงานบัญชีกลาง (Government Accountability Office - GAO) ว่าการประมูลมีปัญหา ทาง GAO แนะนำลงมาว่าให้มีการประมูลใหม่แต่ซีไอเอยืนยันผลประมูลเดิม ทำให้กระบวนเข้าสู่ศาล และศาลยืนยันว่าสิทธิในการตัดสินใจเป็นของซีไอเอ ให้ยืนยันผลการประมูลไปได้
ไอบีเอ็มระบุว่าบริษัทมีแผนจะอุทธรณ์คำพิพากษานี้ต่อไป ส่วนทางอเมซอนไม่ได้แสดงความเห็นอะไรมากกว่า
ไอบีเอ็มเริ่มขายการ์ดหน่วยความจำแบบแฟลชรุ่น F825, F1650, และ F3200 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ไอบีเอ็มเอง โดยที่ตัวการ์ดนั้นแทบจะเหมือนกับการ์ด ioScale ของ Fusion-io ทุกประการ
ก่อนหน้านี้ Fusion-io ไม่ยอมขายการ์ดของตัวเองใต้แบรนด์ของผู้ผลิตรายอื่น แต่แนวทางนี้ทำให้มีปัญหากับผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการขายสินค้าในชื่อของตัวเอง หลังจากเปลี่ยนผู้บริหารไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา แนวทางก็เปลี่ยนไป เราอาจจะได้เห็นการ์ด Fusion-io เป็นตัวเลือกของผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ยี่ห้อต่างๆ มากขึ้น ภายใต้ชื่อการค้าแบบอื่นๆ ในอนาคต
ตัวการ์ดรับประกันหนึ่งปีโดยไอบีเอ็มเอง แต่ต้องใช้งานไม่เกิน write cycle ที่ระบุไว้ในสเปคเท่านั้น
ชื่อบริษัทอาจดูคุ้นๆ แต่เป็นคนละบริษัทกับ Synnex ประเทศไทย (ซึ่งถือเป็นบริษัทร่วมทุนของ Synnex Technology International Corp ของไต้หวัน) นะครับ อันนี้เป็นบริษัทชื่อ Synnex Corporation ของอเมริกาที่อยู่ในเครือเดียวกับ Synnex Technology ของไต้หวันเช่นกัน (รายละเอียดเผื่อคนสนใจ)
สำหรับข่าวนี้คือ Synnex Corporation ของอเมริกา ประกาศเข้าซื้อธุรกิจ "รับเอาต์ซอร์สด้านการบริการลูกค้า" (customer care services business - CRM BPO) จากยักษ์สีฟ้า IBM ด้วยมูลค่า 505 ล้านดอลลาร์ เพื่อมาเสริมทัพในส่วนของ BPO ของตัวเอง
IBM กับพันธมิตรหลายรายได้แก่ Google, Mellanox, NVIDIA, Tyan ประกาศตั้งกลุ่ม OpenPOWER Consortium เพื่อพัฒนาซีพียูสถาปัตยกรรม POWER อย่างเปิดกว้างมากขึ้น เป้าหมายของกลุ่มคือขยายการใช้งาน POWER ไปยังศูนย์ข้อมูล
OpenPOWER ถือเป็นความพยายามครั้งแรกของ IBM ที่เปิดการพัฒนา POWER ให้องค์กรภายนอกเข้าร่วมด้วย ซึ่ง IBM ก็ประกาศชัดเจนว่าจะเริ่มขายไลเซนส์ของ POWER ให้บริษัทอื่นๆ ไปใช้งานต่อ (โมเดลเดียวกับ ARM)
พันธมิตรที่น่าสนใจคือ NVIDIA ที่ทำธุรกิจตัวเร่งการประมวลผล (co-processor) อย่าง Tesla ที่ช่วยเสริมการทำงานของซีพียูในซูเปอร์คอมพิวเตอร์อยู่แล้ว และกูเกิลที่มีศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่เป็นของตัวเอง ซึ่งน่าจะเป็นลูกค้าชั้นดีของเซิร์ฟเวอร์ตระกูล POWER ในอนาคต
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของปี 2013 มีรายได้ 24.92 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว แต่ถ้าปรับปรุงส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน รายได้จะลดลงเพียง 1% และมีกำไรสุทธิ 3.2 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 17% แม้รายได้-กำไรลดลง แต่ก็สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดกันไว้
Ginni Rometty ประธานและซีอีโอไอบีเอ็มกล่าวว่าไตรมาสที่ผ่านมาไอบีเอ็มยังคงส่งมอบผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงแก่ลูกค้า บริษัทยังคงลงทุนตามกลยุทธ์เพื่อการเติบโตต่อเนื่อง และจัดสรรบุคลากรตามทักษะความสามารถเพื่อความเหมาะสม โดยเฉพาะในส่วนที่บริษัทยังไม่เป็นผู้นำตลาด
ที่มา: ไอบีเอ็ม
ยักษ์สีฟ้า IBM ประกาศการเข้าซื้อกิจการบริษัท SoftLayer ผู้ให้บริการด้าน cloud และเว็บโฮสติ้งรายใหญ่ของโลกโดยไม่เปิดเผยมูลค่า
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่ามีสองบริษัทที่แย่งกันซื้อ SoftLayer คือ IBM และ EMC ซึ่งสุดท้ายเป็น IBM ที่ซื้อกิจการได้สำเร็จ
ผลิตภัณฑ์ด้านการบริหารจัดการกลุ่มเมฆของ SoftLayer จะถูกผนวกเข้ากับผลิตภัณฑ์ตระกูล IBM SmartCloud เพิ่มเสริมให้ IBM เข้มแข็งในตลาดนี้มากยิ่งขึ้น โดย IBM คาดว่าจะทำรายได้จากกลุ่มเมฆให้ได้ปีละ 7 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2015
SoftLayer มีศูนย์ข้อมูล 13 แห่งทั่วโลก มีลูกค้าเช่าใช้บริการกลุ่มเมฆกว่า 21,000 องค์กร
IBM ขยายบริการของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson ในฐานะ "เครื่องตอบคำถามลูกค้าอัตโนมัติ" ใช้ทดแทนมนุษย์ในระบบ CRM แบบพิมพ์โต้ตอบ
ระบบการเข้ารหัสแบบ homomorphic encryption (HE อาจแปลไทยได้เป็นการเข้ารหัสแบบสาทิสสัณฐาน) เป็นระบบเข้ารหัสที่เปิดโอกาสให้เราสามารถกระทำบางคำสั่งกับข้อมูลที่เข้ารหัสอยู่ โดยไม่ต้องถอดรหัสออกมาก่อน เช่น การบวกตัวเลขสองตัวที่เข้ารหัสเอาไว้โดยไม่ต้องถอดรหัสตัวเลขทั้งสองชุดออกมา งานวิจัยนี้มีมาตั้งแต่ปี 2009 และตอนนี้ห้องแลป T J Watson ก็เปิดซอร์ส HElib ในสัญญาอนุญาตแบบ GPL ให้ดาวน์โหลดไปใช้งานได้แล้ว
จากข่าวลือก่อนหน้านี้ ไอบีเอ็มกำลังเจรจาขายธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ตระกูล x86 ให้ Lenovo
ล่าสุดเว็บไซต์ Fortune อ้างแหล่งข่าววงในว่าการเจรจาหยุดชะงักด้วยปัญหาเรื่องมูลค่าของการขายกิจการที่ยังไม่ลงตัว แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองฝ่ายจะกลับมาเจรจากันต่อในอนาคต
Bloomberg เคยประเมินว่าการซื้อขายกิจการเซิร์ฟเวอร์ x86 รอบนี้น่าจะมีมูลค่าประมาณ 2.5-4.5 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่บางแหล่งข่าวบอกว่า IBM ต้องการ 6 พันล้านดอลลาร์
ที่มา - Fortune
WSJ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่าไอบีเอ็มกำลังอยู่ในขั้นตอนเจรจาเพื่อขายธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ตระกูล x86 ซึ่งเป็นกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ราคาถูกให้กับ Lenovo ทั้งนี้ในรายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุด ไอบีเอ็มไม่ได้เปิดเผยว่ายอดขายเซิร์ฟเวอร์มีมูลค่าเท่าใด แต่ก็มีการประเมินว่าอยู่ราว 4.9 พันล้านดอลลาร์ ด้าน Lenovo ก็ได้ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงโดยยอมรับว่ามีการเจรจาขอซื้อส่วนธุรกิจนี้แล้วในเบื้องต้นผ่านคนกลาง แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าดีลนี้จะมีข้อยุติหรือไม่
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรกของปี 2013 มีรายได้ลดลง 5% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน อยู่ที่ 23.41 พันล้านดอลลาร์ ส่วนกำไรสุทธิลดลง 1% อยู่ที่ 3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบแปดปีที่ตัวเลขที่ไอบีเอ็มรายงานนั้นต่ำกว่านักวิเคราะห์คาดกันไว้
Ginni Rometty ประธานและซีอีโอไอบีเอ็มกล่าวว่าแม้บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น มีกำไรสุทธิต่อหุ้นเพิ่มขึ้น และมีอัตรากำไรเพิ่มขึ้น แต่บริษัทไม่ได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ทั้งหมดของไตรมาสที่ผ่านมา หลายโครงการไม่สามารถปิดได้ตามกำหนดและจะรับรู้รายได้ในไตรมาสถัดไปแทน
Rometty ยังกล่าวว่าบริการ big data เป็นเป้าหมายใหญ่ที่สุดของบริษัทที่ต้องบรรลุให้ได้ในปี 2015
IBM ประกาศลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี flash storage เป็นจำนวนเงินถึง 1 พันล้านดอลลาร์ โดยให้เหตุผลว่า flash เป็นเทคโนโลยีเก็บข้อมูลแห่งอนาคต และจะพลิกโฉมการเก็บข้อมูลของตลาดไอทีองค์กรอย่างสิ้นเชิง
IBM บอกว่าประสิทธิภาพและราคาของ flash อยู่ในระดับที่ใกล้นำมาใช้งานในระบบไอทีองค์กรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในงานที่ต้องการ transaction มากๆ การเปลี่ยนมาใช้ flash ช่วยให้อ่านข้อมูลมาวิเคราะห์ได้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์เรื่องการใช้พลังงานที่ลดลง
นอกจากการวิจัยในเทคโนโลยี flash ตามปกติแล้ว IBM ยังจะเปิดศูนย์วิจัยพิเศษอีก 12 แห่งทั่วโลก เพื่อทดสอบโซลูชันระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ flash ของตัวเองกับข้อมูลจริงของลูกค้า และวัดผลประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจากระบบแบบใหม่ด้วย
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อประมาณ 5 ปีก่อน ยักษ์สีฟ้า IBM ได้สร้าง Roadrunner ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่มีพลังคำนวณระดับ petaflops และเครื่อง Roadrunner ก็ครองแชมป์เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับหนึ่งอยู่พักใหญ่ๆ ก่อนโดนเครื่อง Jaguar ของบริษัท Cray โค่นลงไปเมื่อปี 2009 (แชมป์ปัจจุบันคือ Cray Titan)
ก่อนอื่นโลโก้นี้ไม่ใช่ธงชาติไทยนะครับ แต่เป็นสัญลักษณ์ของบริษัท SoftLayer Technologies ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้าน Cloud และเครือข่ายกิจการระบบเว็บโฮสติ้งรายใหญ่ของโลก ที่กำลังถูกสนใจที่จะซื้อโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ของวงการไอทีสองรายคือ ไอบีเอ็มที่หลายๆ คนคงรู้จักกันดี และ EMC ที่เป็นเจ้าของ VMware อีกทีครับ
ข่าวลือนี้มีที่มาจากการที่บริษัท SoftLayer จ้างบริษัท Morgan Stanley และ Credit Suisse ในการดำเนินกิจการขายบริษัทครับ ในเบื้องต้นบริษัท AT&T ซึ่งเป็นลูกค้าของ SoftLayer ก็สนใจซื้อกิจการ แต่ได้ถอนตัวออกไปในภายหลัง
มูลค่ากิจการที่คาดว่าจะซื้อขายกันอยู่ที่ประมาณสองพันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณกว่าหกหมื่นล้านบาท
สงครามชิงกลุ่มเมฆระหว่างซอฟต์แวร์ค่ายต่างๆ เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยค่าย OpenStack มีผู้สนับสนุนรายใหม่เป็นยักษ์ใหญ่อย่าง IBM
IBM ออกมาประกาศว่าบริการ private cloud ของตัวเองจะพัฒนาขึ้นบน OpenStack (ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่เริ่มสร้างโดย NASA และ Rackspace) โดย IBM จะสนับสนุนมูลนิธิ OpenStack Foundation ในระดับสูงสุด (platinum member) และส่งนักพัฒนามากกว่า 500 คนเข้าร่วมพัฒนาโค้ด นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ด้านกลุ่มเมฆของ IBM ที่แปะตรา SmartCloud จะใช้มาตรฐานเปิดด้านกลุ่มเมฆที่มีในท้องตลาดด้วย
หลายคนอาจมองว่าการหนุน OpenStack ครั้งนี้คล้ายกับครั้งที่ IBM ประกาศตัวว่าจะสนับสนุนลินุกซ์ในอดีต จนเป็นผลให้ลินุกซ์ได้รับการยอมรับในตลาดองค์กรอย่างรวดเร็ว
IBM ประกาศข่าวว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson จะเริ่มถูกใช้งานจริงสำหรับงานด้านการแพทย์และสุขภาพแล้ว โดยลูกค้าสองรายแรกคือบริษัทประกันสุขภาพ WellPoint กับศูนย์วิจัยมะเร็ง Memorial Sloan-Kettering Cancer Center ในสหรัฐ
Watson จะคำนวณประวัติด้านการแพทย์ของผู้ป่วย และให้คำแนะนำแก่พนักงานของทั้งสององค์กรว่าควรทำอย่างไรกับผู้ป่วยบ้าง เช่น กรณีของศูนย์มะเร็ง Watson จะแนะนำวิธีการรักษาที่น่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุด ส่วนกรณีของประกันสุขภาพก็จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะกับค่าใช้จ่ายมากที่สุด
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2012 มีกำไรสุทธิ 5.8 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน ขณะที่รายได้รวมนั้นลดลง 1% อยู่ที่ 29.3 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ
ซีอีโอ Ginni Rometty กล่าวว่าปี 2012 ที่ผ่านมาไอบีเอ็มสามารถทำสถิติใหม่ทั้งกำไรสุทธิ และกระแสเงินสด จากกลยุทธ์การเติบโตที่วางไว้ได้ผลดี และลูกค้าก็มีการเติบโตตามด้วย โดยในปี 2013 นี้ไอบีเอ็มจะให้ความสำคัญกับนวัตกรรมสำหรับองค์กรทั้งประเด็น Big Data, อุปกรณ์มือถือ, ธุรกิจเครือข่ายสังคม และความปลอดภัย
เว็บไซต์ All Things D รายงานการจัดอันดับบริษัทที่มีจำนวนสิทธิบัตรในครอบครองมากที่สุดประจำปี 2012 โดยผลก็คือ ยักษ์ใหญ่แห่งวงการคอมพิวเตอร์คือ IBM ยังคงครองแชมป์จำนวนสิทธิบัตรมากที่สุดอยู่ โดยในปีนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรใหม่กว่า 6,478 สิทธิบัตร (รวมกับที่มีอยู่แล้วจะอยู่ที่ประมาณ 67,000 สิทธิบัตร) สำหรับอีก 9 อันดับที่ตามมาก็เป็นดังนี้ครับ
ปีนี้เราคงเริ่มเห็นการรวมกลุ่มผู้ผลิตสมาร์ททีวีให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น โดยกลุ่ม Smart TV Alliance ที่ก่อตั้งในเดือนมิถุนายน 2012 นำโดย LG, Toshiba และ TP Vision ได้สมาชิกใหม่เพิ่มอีก 5 ราย
รายที่สำคัญคงเป็นผู้ผลิตทีวีอย่าง Panasonic และยักษ์สีฟ้า IBM ส่วนรายที่เหลือคือ ABOX42, TechniSat และ Specific Media (ก่อนหน้านี้มีสมาชิกอย่าง Qualcomm เข้าร่วมมาแล้ว)
โครงการหลักของ Smart TV Alliance คือการลด fragmentation ของวงการสมาร์ททีวี โดยกำหนด SDK กลางสำหรับการพัฒนาแอพด้วย HTML5/JavaScript, มาตรฐานด้าน 3 มิติ และ DRM เป็นต้น
เป็นประจำทุกปีที่ IBM จะส่งท้ายปีด้วยบทความว่าด้วยการทำนายถึงทิศทางการพัฒนาของเทคโนโลยีไอทีในอีก 5 ปีข้างหน้าภายใต้ชื่อ **5 in 5** และปีนี้ IBM วิเคราะห์ว่าในอนาคตอันใกล้คอมพิวเตอร์จะสามารถ[มองเห็น](http://www.youtube.com/watch?v=YwfJVwknvRo), [ได้ยิน](http://www.youtube.com/watch?v=-oKfWIgDTFs), [สัมผัส](http://www.youtube.com/watch?v=Gg3tmZrwbDs), [รับกลิ่น](http://www.youtube.com/watch?v=RYkSvNKdyBM) และ[ลิ้มรส](http://www.youtube.com/watch?v=DNz23XXLa1E) และสื่อถึงสิ่งเหล่านั้นให้แก่ผู้ใช้ได้
IBM เผยผลสำรวจการซื้อสินค้าออนไลน์ช่วงเทศกาลลดราคาประจำปีในอเมริกาหรือ Black Friday พบว่าอัตราการซื้อสินค้าออนไลน์นั้นเพิ่มขึ้น 17.4% จากปีก่อน โดยทราฟฟิกในการซื้อสินค้าออนไลน์นี้ 24% มาจากอุปกรณ์พกพา ซึ่งสูงขึ้นจากปีก่อนที่มีอัตราส่วน 14.3% ตัวเลขนี้ช่วยชี้ให้เห็นพฤติกรรมผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนไปนั่นเองครับ
บริษัทวิจัย Asymco ได้เจาะตัวเลข 24% ในส่วนทราฟฟิกการซื้อสินค้าออนไลน์บนอุปกรณ์พกพาพบว่า 13% มาจากสมาร์ทโฟน ขณะที่ 11% มาจากแท็บเล็ต เมื่อแยกย่อยที่ส่วนสมาร์ทโฟนพบว่า 2 ใน 3 มาจาก iOS ที่เหลือเป็น Android ส่วนบนแท็บเล็ตนั้น iPad กินส่วนแบ่งถึง 88% ทำให้ภาพรวมแล้วทราฟฟิกการซื้อสินค้าจากอุปกรณ์พกพามาจาก iOS ถึง 77% ขณะที่ Android คิดเป็น 23%
คนที่เคยมีอดีตกับ Lotus 1-2-3 หรือ Lotus Notes/Domino คงใกล้ถึงเวลาต้องบอกลากันแล้วครับ เพราะเจ้าของปัจจุบันอย่าง IBM เตรียมทิ้งแบรนด์ Lotus ในเร็วๆ นี้
Lotus ก่อตั้งเมื่อปี 1982 และถูก IBM ซื้อกิจการในปี 1995 โดยผลิตภัณฑ์หลักที่เป็นตัวทำเงินคือกรุ๊ปแวร์ Notes/Domino ที่เจาะตลาดองค์กรเป็นหลัก
หลังซื้อกิจการมาเกือบยี่สิบปี IBM ยังคงแบรนด์ Lotus ในฐานะแบรนด์ย่อยของตัวเองมาโดยตลอด (เช่น ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า IBM Lotus Domino) อย่างไรก็ตาม ล่าสุด IBM ออกมาประกาศแล้วว่าผลิตภัณฑ์กลุ่ม Notes/Domino เวอร์ชันใหม่จะใช้ชื่อว่า IBM Notes/Domino 9 Social Edition ตัดคำว่า Lotus ทิ้งไป