วันนี้ตามเวลาท้องถิ่นที่สหรัฐอเมริกา IBM ร่วมกับสมาคมโรคหยุดหายใจสหรัฐอเมริกา (American Sleep Apnea Association: ASAA) เปิดตัวแอพที่มีชื่อว่า SleepHealth สำหรับ iPhone และ Apple รวมไปถึงการศึกษาที่เป็นชื่อเดียวกันด้วย
ตัวแอพและโครงการศึกษานี้จะศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ ตลอดจนถึงภาวะการนอนหลับและการหยุดหายใจกะทันหันขณะหลับ (obstructive sleep apnea) โดยจะใช้เซนเซอร์จำนวนมากทั้งใน iPhone และ Apple Watch ในการวิเคราะห์พฤติกรรม ทั้งหมดจะใช้ ResearchKit ที่เป็นชุดคำสั่ง API และ framework ในการทำการศึกษาทางการแพทย์ของ Apple ส่วนระบบประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล จะใช้ Watson Health Cloud เป็นเทคโนโลยีเบื้องหลัง (แบบเดียวกับที่ใช้ในกรณีของโรคมะเร็ง)
เว็บไซต์ข่าวเศรษฐกิจ Xconomy รายงานว่า IBM โดยแผนก IBM Security ได้เข้าซื้อกิจการ Resilient Systems สตาร์ทอัพที่ทำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเป็นทางการ โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
IBM ระบุว่าการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้จะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนก IBM Security ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์ด้านการรักษาความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์นั้น สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดของการรายงานเหตุภัยคุกคาม (incident report) รวมไปถึงการตอบโต้ภัยคุกคามต่างๆ ด้วย
ทั้งนี้หนึ่งในผู้บริหารของ Resilient Systems คือ Bruce Schneier ที่เป็นผู้ชำนาญด้านความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ในระดับสากลด้วย
ปีที่แล้ว Open Mainframe Project รับเอาโค้ดเมนเฟรมจากไอบีเอ็มเข้ามาดูแลเป็นโครงการโอเพนซอร์ส ปีนี้ทางโครงการก็ประกาศองค์กรที่เข้าร่วมเพิ่มเติม บริษัทสำคัญคงเป็น Hitachi Data Systems (HDS) ที่จำหน่ายระบบสตอเรจระดับสูง นอกจากนี้ก็มีการประกาศแนวทางการพัฒนาให้ลินุกซ์สำหรับเมนเฟรมรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้มากขึ้น
กลุ่มเทคโนโลยีที่จะเน้นการพัฒนาให้เมนเฟรมรองรับในปีนี้ได้แก่
ที่งาน IBM InterConnect 2016 ที่สหรัฐอเมริกา (จัดช่วงเดียวกับ Mobile World Congress) IBM ได้แถลงเปิดตัวบริการและคุณสมบัติใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์สำคัญอย่าง IBM Cloud, Bluemix และ Watson (ขอจับรวบเป็นข่าวเดียว) ดังต่อไปนี้
Bitly บริการย่อ URL ชื่อดัง ประกาศในงาน IBM InterConnect 2016 ว่าเตรียมจะย้ายระบบของตนเองไปใช้ IBM Cloud อย่างเป็นทางการ
ภายใต้ข้อตกลงนี้ Bitly จะเปลี่ยนระบบไปใช้ IBM Cloud ซึ่งรวมไปถึงส่วนที่เป็น API ตลอดจนถึงการทำการตลาดร่วมกันกับทาง IBM โดยระบุว่าการตัดสินใจย้ายไปใช้ IBM Cloud เพื่อรองรับศักยภาพการเติบโตที่มากขึ้น ตลอดจนถึงความรวดเร็วที่จะต้องตอบสนองความต้องการของปริมาณ traffic ที่กว่าร้อยละ 70 มาจากต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ (ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา) Siemens โดยแผนกเทคโนโลยีอาคาร (buildings technologies division) ประกาศความร่วมมือกับ IBM ว่าจะนำเอาเทคโนโลยีด้านคลาวด์ที่เกี่ยวข้องกับ IoT ของ IBM นำไปผนวกรวมกับซอฟต์แวร์ด้านการจัดการอาคารของตนเอง เพื่อสร้างเป็นโซลูชั่นสำหรับบริหารและจัดการอาคาร
เทคโนโลยีที่ถูกพูดถึงมีสองตัวคือ analytics และ asset management โดยจะถูกนำไปผนวกรวมกับ Siemens Navigator ระบบควบคุมและบริหารจัดการอาคาร ซึ่งผลที่ได้คือผู้บริหารอาคารจะสามารถรับรายงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการวิเคราะห์โอกาสที่จะมีจุดเสียหรือจุดเสื่อมภายในอาคารได้ โดยสามารถใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นอาคารเดียว แคมปัส หรือแม้กระทั่งอาคารที่อยู่ภายใต้การบริหารเดียวกันทั้งหมด
ที่งาน IBM InterConnect ประจำปีนี้ IBM ออกมาประกาศความร่วมมือกับ VMware บริษัทที่ทำด้านโซลูชั่น Virtualization รายใหญ่ของโลก ว่าระบบคลาวด์ของตนเอง (IBM Cloud) จะรองรับเทคโนโลยีของ VMware ด้าน Virtualization โดยเฉพาะ VMware SDDC ซึ่งทำให้ลูกค้าของทั้งสองเจ้า ทำงานได้ดีขึ้น
ผลิตภัณฑ์ของ VMware ที่ทาง IBM ประกาศรองรับกับ IBM Cloud นั้นประกอบไปด้วย vSphere, NSX และ Virtual SAN โดยทั้งสองบริษัททำงานร่วมกันทั้งในด้านการออกแบบ รวมไปถึงการขายผลิตภัณฑ์ด้วย ในทางกลับกันเอง VMware ก็จะเพิ่มการสนับสนุน IBM Cloud กับเครื่องมือของตนเองอย่าง vRealize Automation และ vCenter ด้วย
นอกจากนี้แล้ว IBM Cloud จะเป็นแพลตฟอร์มหลัก (showcase platform) สำหรับ vCloud Air Network อีกด้วย
ที่งาน IBM InterConnect 2016 บริษัท IBM ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะรองรับภาษา Swift บนคลาวด์ Bluemix ของตัวเองอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นการสานต่อความร่วมมือกับทาง Apple ที่ตกลงกันไปเมื่อปี 2014
IBM ระบุว่าการเพิ่มคุณสมบัติภาษา Swift บน Bluemix จะทำให้การพัฒนาแอพด้วยการใช้ภาษา Swift สำหรับฝั่งเครื่องแม่ข่าย (server-side programming) เป็นไปได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
มีให้ใช้แล้วบน Bluemix ในสถานะเปิดทดลองใช้ (preview) ใครสนใจสามารถทดลองเปิดใช้ได้ครับ
วานนี้ (ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา) IBM ออกแถลงการณ์ว่าได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับ GitHub ระบบบริหารและจัดการซอร์สโค้ดบนเว็บ และเปิดตัว GitHub Enterprise Service ซึ่งเป็นบริการที่ให้องค์กรสามารถใช้ GitHub บนระบบของตัวเองที่ตั้งอยู่บนคลาวด์ของ Bluemix
ผู้บริหารของ IBM ระบุว่าความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้การพัฒนาแอพบนแพลตฟอร์มคลาวด์ Bluemix สามารถทำได้ง่ายและเร็วขึ้นกว่าเดิม และสามารถใช้ได้ทั้งบน Public Cloud, Hybrid Cloud หรือแม้กระทั่ง Dedicated Cloud ของบริษัทเอง
ยังไม่ระบุว่าจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อใดครับ
ที่มา - IBM
ถ้าใครเคยอ่านนวนิยายหรือเคยชมภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Sword Art Online และมีความฝันที่อยากทดลองเล่นเกมแบบนั้นสักครั้งในชีวิต วันนี้ฝันที่คิดไว้จะเป็นจริงแล้ว เพราะ IBM ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศความร่วมมือกับ Kadokawa, Bandai Namco และ Aniplex พัฒนาเกมออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือ ที่ใช้เทคโนโลยี Virtual Reality ร่วมด้วย
เนื้อหาของเกมดังกล่าวเอามาจากนวนิยายเรื่องข้างต้น ในชื่อเกมว่า Sword Art Online: The Beginning
IBM จะนำการประมวลผลบางส่วนของตัวเกมไปไว้บนบริการ Cloud Computing ชื่อ IBM Cloud - SoftLayer และจะเข้าไปช่วยออกแบบไอเดียต่างๆ ภายในเกม ในขณะที่ทีมพัฒนาเกมหลักจะเป็น Bandai Namco ที่ถือลิขสิทธิ์การทำเกมจากนวนิยายเรื่องดังกล่าวอยู่
ไอบีเอ็มเปิดซอร์สโครงการ Quarks ระบบวิเคราะห์ข้อมูลตามเวลาจริงที่เน้นสำหรับการประมวลผลข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT โดยเฉพาะ ทำให้สามารถกรองข้อมูลก่อนส่งขึ้นคลาวด์หรือตอบสนองต่อข้อมูลบางอย่างได้โดยไม่ต้องรอรับคำสั่งจากแอปพลิเคชั่นบนคลาวด์
ประโยชน์ของการมีระบบประมวลผลที่เกตเวย์ เช่น
เรียกว่าเป็นการเดินหน้าอย่างต่อเนื่องของ IBM ในการขยายตัวด้านสุขภาพ โดยเฉพาะกับแผนก IBM Watson เมื่อทางบริษัทประกาศเข้าซื้อบริษัท Truven Health Analytics บริษัทที่ทำธุรกิจด้านข้อมูลทางการแพทย์ (แพทย์และเภสัชกรหลายคนอาจจะเคยใช้แอพอย่าง Micromedex Drug Reference) ด้วยตัวเลขการเข้าซื้อสูงถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 92,000 ล้านบาท)
การเข้าซื้อดังกล่าวจะทำให้ IBM ได้ทั้งลูกค้าของบริษัทกว่า 8,500 ราย, พนักงานกว่า 2,500 คน ไปจนถึงข้อมูลของ Truven ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้บริหารของ IBM ระบุว่าการเข้าซื้อในครั้งนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของแพลตฟอร์ม IBM Watson ในตลาดการแพทย์ได้เป็นอย่างดี
ที่งาน TED2016 มูลนิธิ X Prize ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ให้เงินกับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ นำโดย Peter Diamandis และ IBM โดย David Kenny ผู้จัดการแผนก IBM Watson ประกาศเปิดโครงการแข่งขันด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: A.I.) โดยเป็นการแข่งขันยาวนาน 4 ปี
ผู้เข้าแข่งขันต้องนำเสนอโครงการที่สร้างนวัตกรรมใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และ cognitive computing (ในที่นี้คือ Watson) เข้ามาร่วมพัฒนา โดยไม่จำกัดสาขาและประเด็น ซึ่งแต่ละทีมในแต่ละปี จะต้องไปแข่งกันที่งาน World of Watson ซึ่งเป็นงานประจำปีของ IBM Watson จากนั้นก็จะแข่งไปเรื่อยๆ จนได้ 3 ทีมที่ดีที่สุด นำเสนอไอเดียและความคืบหน้าที่งาน TED2020
ไอบีเอ็มประกาศทดสอบหาความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับ Japan Exchange Group (JPX) ร่วมกันทดสอบความเป็นไปได้ที่จะใช้เทคโนโลยี blockchain มาใช้ในการซื้อหุ้นในตลาดที่มีปริมาณการซื้อขายต่ำ พร้อมกับการเปิดบริการ blockchain บนบริการคลาวด์ Bluemix ของไอบีเอ็มเอง
โครงการนี้จะใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (open blockchain) ที่ไอบีเอ็มเสนอให้เข้าไปอยู่ในความดูแลของโครงการ Hyperledger ของ Linux Foundation
นอกจากทดสอบการซื้อขายหุ้นร่วม JPX แล้ว open blockchain ยังร่วมมือกับ London Stock Enchange Group และ Kouvola Innovation จากฟินแลนด์เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการในการใช้งานกับ IoT และลอจิสติก
ไอบีเอ็มปล่อยฟีเจอร์เสริมสำหรับระบบไฟล์ Spectrum Scale ให้รองรับการเชื่อมต่อกับพื้นที่บนคลาวด์ได้ และสามารถกำหนดนโยบายการจัดเก็บไฟล์ได้จากที่เดียวกัน
cloud tiering จะช่วยประหยัดพื้นที่สำหรับการเก็บข้อมูล
อินเทอร์เฟซ เลือกได้ระหว่าง Cleversafe, Softlayer, และ AWS S3
ไอบีเอ็มประกาศฟีเจอร์นี้มาตั้งแต่สองสัปดาห์ที่แล้ว แต่ตอนนี้เพิ่งปล่อยไฟล์ให้ดาวน์โหลด ใครอยากทดสอบก็เข้าไปทดสอบกันได้
ที่มา - The Register
หลังจากประกาศว่าจะเข้าซื้อกิจการของ The Weather Company ยกเว้นส่วนโทรทัศน์ไปเมื่อตุลาคมปีที่แล้ว ล่าสุด IBM ก็รายงานว่าการเข้าซื้อนั้นเสร็จสมบูรณ์อย่างเป็นทางการแล้ว
ตามแผนการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ IBM จะรวมเอาส่วนกิจการที่ซื้อมา เข้าไปยังแผนก Data and Analytics ของบริษัท ซึ่งก็คือแผนก IBM Watson นั่นเอง โดย David Kenny อดีตซีอีโอของ The Weather Company จะได้รับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปของแผนก IBM Watson ส่วน Mike Rhodin จะถูกขยับให้ไปดำรงตำแหน่งรองประธานบริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ IBM Watson แทน
ที่มา - Fortune
เว็บไซต์ TechCrunch รายงานข่าวว่า IBM ได้เข้าซื้อกิจการ UStream บริการประชุมวิดีโอผ่านออนไลน์อย่างเป็นทางการ โดยไม่ระบุมูลค่า (TechCrunch อ้างตัวเลขข่าวลือจากนิตยสาร Fortune ว่ามูลค่าการซื้อครั้งนี้อยู่ที่ 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ทั้งนี้ IBM ยังได้จัดตั้งแผนกใหม่ที่เรียกว่า Cloud Video โดยรวบเอากิจการด้านวิดีโอต่างๆ ที่ไปเข้าซื้อในช่วงที่ผ่านมา เช่น ClearLeap, Cleversafe, Aspera และ Ustream ให้มาอยู่ในแผนกนี้ โดยมี Braxton Jarratt อดีตผู้บริหารของ Cleversafe เป็นผู้บริหารแผนกใหม่นี้
ที่มา - TechCrunch
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2015 รายได้ลดลง 9% เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 22,059 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 4,463 ล้านดอลลาร์ ลดลง 18.6%
แม้รายได้รวมยังคงลดลง แต่ไอบีเอ็มระบุว่ากลุ่มธุรกิจใหม่ที่บริษัทคาดหวังไว้ เช่น บริการกลุ่มเมฆ หรือ Big Data Analytics ภาพรวมยังเติบโต และคิดเป็นรายได้ถึง 35% ของรายได้รวมแล้ว แต่ยังโตไม่มากพอที่จะหักล้างกับธุรกิจเดิม ทำให้ตัวเลขรวมออกมาลดลงนั่นเอง
ที่มา: Tech Trader Daily
ทีมงานโอเพนซอร์สของไอบีเอ็มพอร์ตภาษา Go ของกูเกิลไปรันบน System z s390x พร้อมกับเปิดให้ดาวน์โหลดบน Github เคียงคู่กับโครงการอื่นๆ ที่ไอบีเอ็มพอร์ตไปยัง System z เช่น Cassandra, Spark, Mongo
ภาษา Go เปิดตัวในปี 2009 มีจุดเด่นที่วางกระบวนการทำงานขนานตั้งแต่ต้น กระบวนการสร้างเธรด (goroutine) และการสื่อสารระหว่างกันเป็นธรรมชาติของภาษาตั้งแต่ต้น และเป็นภาษาแห่งปีของดัชนี ITOBE จากการได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และตอนนี้คาดว่าจะเข้ามาอยู่ในทำเนียบภาษาที่ได้รับความนิยม 50 ภาษาแรกเร็วๆ นี้
ที่งาน CES 2016 Ginni Rometty ซีอีโอของ IBM ได้ขึ้นเวทีประกาศความร่วมมือกับหลากหลายบริษัทที่จะนำเอาเทคโนโลยี IBM Watson ซึ่งเป็นระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ของตนเอง เข้าไปใช้กับอุปกรณ์ของตนเอง ซึ่งประกอบไปด้วย
Richard Sapper ผู้ออกแบบ ThinkPad 700C โน้ตบุ๊ก ThinkPad ตัวแรกที่วางขายในปี 1992 เสียชีวิตเมื่อช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาด้วยวัย 83 ปี
เขาเป็นนักออกแบบอุตสาหกรรมที่มีผลงานตั้งแต่สินค้าเทคโนโลยี, เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ นอกจาก ThinkPad 700C แล้วเขายังร่วมออกแบบ ThinkPad 701 หรือ ThinkPad Butterfly อันโด่งดังจากขนาดที่เล็กด้วยการย่อคีย์บอร์ดลง
Sapper และ Kaz Yamasaki วางรากฐานการออกแบบ ThinkPad ให้เรียบเป็นกล่องซิการ์หรือกล่องเบนโตะญี่ปุ่น
เป็นเวลานานถึง 22 ปีติดต่อกันเข้าไปแล้ว ที่ IBM คือบริษัทผู้ที่จดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาได้มากที่สุดมาทุกปี แต่ปีนี้ดูเหมือนว่า Samsung กำลังจะกลายเป็นบริษัทเจ้าคิดค้นที่ได้สิทธิบัตรมากที่สุดในรอบปี 2015 นี้ หลังจากรั้งอันดับ 2 ตามหลัง IBM มาตลอดทุกปียาวนานกว่าทศวรรษ
ในปีนี้ Samsung จดสิทธิบัตรสำเร็จไปแล้ว 7,679 ราย และยังอยู่ระหว่างการขอจดสิทธิบัตรอีก 4,443 รายการ พุ่งพรวดจากปีก่อนที่จดสิทธิบัตรสำเร็จเพียง 4,952 รายการ ในขณะที่ IBM ปีนี้ได้รับการอนุมัตรสิทธิบัตรไปแล้ว 7,005 รายการ พ่วงด้วยคำขอจดสิทธิบัตรที่รอการอนุมัติอีก 4,126 ฉบับ โดยปีนี้ถือเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่ IBM สามารถจดสิทธิบัตรได้เกินกว่า 7,000 รายการ
ตามหลังจากที่ Apple โอเพ่นซอร์สภาษา Swift ทาง IBM ก็ได้เปิดตัวเว็บไซต์ใหม่คือ IBM Swift Sandbox โดยสามารถเปิดหน้าเว็บมาเขียนภาษา Swift และรันได้ทันที
ตัวเว็บ IBM Swift Sandbox จะมีแบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งซ้ายเป็น text editor สำหรับการเขียนโค้ดภาษา Swift ส่วนฝั่งขวาจะเป็น output ซึ่งเมื่อกดปุ่ม Run ผลลัพธ์ก็จะแสดงทางด้านขวา โดยโค้ดที่เขียนลงในเว็บจะถูกคอมไพล์บน Linux Server
IBM Swift Sandbox เป็นหนึ่งในผลจากการเปิดภาษา Swift เป็นโอเพ่นซอร์ส และความร่วมมือระหว่าง Apple กับ IBM โดยในอนาคตเราน่าจะได้เห็นการใช้งานภาษา Swift และการพัฒนาที่หลากหลายยิ่งขึ้น
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา IBM ประกาศโอเพนซอร์ส SystemML ซึ่งเป็นตัวแปลข้อมูลสากล (universal translator) สำหรับงานด้านข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) และ machine learning อย่างเป็นทางการ โดยเป็นแผนการต่อเนื่องที่ประกาศว่าจะสร้างระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Spark เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยจะยกให้ Apache เป็นคนดูแลโครงการนี้อย่างเป็นทางการ และจะได้ชื่อว่า Apache SystemML
แนวทางซีพียูประสิทธิภาพสูงในอนาคตจะต้องมี FPGA มาประกอบเพื่อให้รองรับโหลดรูปแบบเฉพาะทางได้เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หลังอินเทลร่วมมือกับ eASIC และถึงกับเข้าซื้อ Altera ที่งาน SC15 Diane Bryant รองประธานฝ่ายสินค้าศูนย์ข้อมูลก็ออกมาระบุแล้วว่าสินค้าชุดแรกจะเริ่มส่งมอบให้ลูกค้าไตรมาสแรกของปี 2016