อินเทลเปิดตัวจีพียู Arc อย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม โดยเริ่มจากจีพียูฝั่งโน้ตบุ๊กก่อน แต่สินค้ากลับต้องเลื่อนวางขายเพราะปัญหาซัพพลายเชนและซอฟต์แวร์ ทำให้ตอนนี้ยังไม่มีโน้ตบุ๊กที่ใช้ Arc วางขายจริงๆ ในตลาด
แต่ล่าสุดเริ่มมีโน้ตบุ๊กที่ใช้ Arc วางขายแล้วในประเทศจีนคือ Machenike รุ่น Dawn ขนาดหน้าจอ 16" ทำให้เราได้เห็นเบนช์มาร์คของ Arc ที่รันโดยผู้ใช้จริงๆ (ไม่ได้มาจากฝั่งอินเทล)
เบนช์มาร์คที่มีผลออกมาเป็น 3DMark ชุดทดสอบ Timespy และ Fire Strike โดยเป็นของ Intel Arc A730M รุ่นรองท็อปของโน้ตบุ๊ก (รุ่นท็อปสุดคือ Arc A770M) ได้ผลลัพธ์ที่ราว 10,000 และ 23,000 คะแนนตามลำดับ
Lee Jae-yong รองประธานของซัมซุง ซึ่งถือเป็นผู้บริหารสูงสุดของซัมซุงตอนนี้ (ประธานคือพ่อของเขาป่วยอยู่ในโรงพยาบาล) พบกับ Pat Gelsinger ซีอีโอของอินเทลที่เดินทางไปเกาหลีใต้ และหารือว่าจะทำอะไรร่วมกันได้ในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์
ซัมซุงและอินเทล ถือเป็นบริษัท Top 3 ที่มีเทคโนโลยีการผลิตชิปก้าวหน้าที่สุดในโลก (อีกรายคือ TSMC) การที่สองบริษัทนี้จับมือกันจึงน่าจับตาว่าจะส่งผลต่อการแข่งขันกับ TSMC อย่างไร
ในแถลงการณ์ของซัมซุงเอง ระบุว่าผู้บริหารทั้งสองคนหารือกันเรื่องชิปหน่วยความจำยุคหน้า, ชิปที่ผลิตแบบ fabless (ไม่มีโรงงานเอง) และ foundry (มีโรงงานเอง) รวมถึงธุรกิจด้านพีซีและอุปกรณ์พกพาด้วย
คอมแรง คอมเร็ว สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้า คอมไม่ปลอดภัย โอกาสที่ธุรกิจจะชะงัก หรือพ่ายแพ้ต่อคู่แข่งก็มีสูง ดังนั้นคงจะดีกว่าที่ในโลกธุรกิจจะใช้ คอมแรง, คอมเร็ว และคอมที่ปลอดภัย
Intel เล็งเห็นปัจจัยดังกล่าว จึงพัฒนา Intel vPro หรือเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ ตอบโจทย์ความต้องการ และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในโลกธุรกิจได้ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยที่สำคัญไม่แพ้กับฝั่งประสิทธิภาพในการทำงาน
Blognone อยากชวนมาทำความเข้าใจกันว่า ทำไมองค์กรธุรกิจถึงควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมกับ Intel vPro และการใช้งาน Intel vPro ในโลกธุรกิจจะต่างกับการใช้คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง CPU ของ Intel ที่ไม่มีแพลตฟอร์มเทคโนโลยีนี้แค่ไหน
อินเทลเปิดตัว Project Amber บริการยืนยันว่าซอฟต์แวร์ถูกนำไปรันบนซีพียูอินเทลที่ตรวจสอบได้จริง โดยสามารถใช้งานได้ทั้งการตรวจสอบการใช้บริการบนคลาวด์ และบนคอมพิวเตอร์แบบ edge อื่นๆ
บริการนี้จะอาศัย trusted execution environment (TEE) ที่อยู่ในซีพียูยืนยันว่าตัวซอฟต์แวร์และข้อมูลที่ถูกใช้งาน (data in use) จะถูกประมวลผลด้วยซีพียูตามรุ่นที่ระบุจริง (ไม่ใช่ระบบจำลอง หรือซีพียู x86 ของแบรนด์อื่นๆ) สามารถตรวจสอบบริการปลายทางได้ทั้งเซิร์ฟเวอร์ bare metal, virtual machine, และ container
อินเทลเปิดตัวการ์ดกราฟิก Arctic Sound-M (ATS-M) สำหรับเซิร์ฟเวอร์ มีจุดเด่นที่ตัวถอดรหัสวิดีโอ AV1 เช่นเดียวกับชิป Arc ฝั่งผู้ใช้ตามบ้าน ATS-M มีสองรุ่น คือรุ่น 150W มีคอร์ Xe จำนวนมากกว่า และรุ่น 75W ที่เน้นตัวประมวลผลวิดีโอ
อินเทลโชว์ตัวเลขประสิทธิภาพของ ATS-M เช่น สตรีมวิดีโอ Full HD ได้พร้อมกัน 30 สตรีม, เรนเดอร์เกมได้พร้อมกันสูงสุดมากกว่า 40 หน้าจอ, และจุดคำสั่งรองรับการทำ virtualization สำหรับผู้ให้บริการคลาวด์
อินเทลเปิดตัวชิปฝึกโมเดลปัญญาประดิษฐ์ Habana Gaudi2 หลังจาก Gaudi รุ่นแรกชูจุดแข็งว่าต้นทุนการฝึกปัญญาประดิษฐ์ถูกกว่าคู่แข่ง ตอนนี้ Gaudi2 ปรับมาใช้เทคโนโลยีการผลิต 7nm จากเดิม 16nm แรมในตัวมากถึง 96GB และแคชแบบ SRAM 48MB
การปรับเทคโนโลยีรอบนี้ทำให้อินเทลโชว์ทรูพุตการฝึกโมเดลปัญญาประดิษฐ์สำคัญ เช่น ResNet50 สำหรับการจัดหมวดหมู่ภาพ และ BERT สำหรับการประมวลผลภาษาว่าเร็วกว่าชิป NVIDIA A100 สองเท่าตัว อย่างไรก็ดี NVIDIA A100 นั้นวางตลาดมานานแล้ว และรุ่นล่าสุดคือ H100 เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนมีนาคม
ที่งาน Intel Vision 2022 งานแสดงเทคโนโลยีของอินเทล Pat Gelsinger ซีอีโออินเทลระบุแนวทางทำบริษัทต่อไปจากนี้ว่าเตรียมพาอินเทลไปสู่ธุรกิจบริการและซอฟต์แวร์มากขึ้นเรื่อยๆ โดย Gelsinger พูดถึงอินเทลว่าแม้คนจะรู้จักในฐานะบริษัทชิป แต่ที่จริงแล้วอินเทลมีวิศวกรซอฟต์แวร์ถึง 17,000 คน มากกว่า VMware ที่เขาเคยเป็นซีอีโอก่อนหน้านี้เสียอีก
อินเทลเปิดตัว Intel Core รหัส HX สำหรับโน้ตบุ๊กเวิร์คสเตชั่นที่ต้องการพลังประมวลผลสูงสุด นับเป็นกลุ่มสุดท้ายใน Core รุ่นที่ 12
ตอนนี้ข้อมูลยังค่อนข้างน้อย โดยอินเทลระบุว่าซีพียูตระกูลนี้จะมีจำนวนคอร์สูงสุด 16 คอร์ และสัญญาณนาฬิกาสูงสุด 5GHz เทียบเท่ากับ Core i9 ที่ออกมาก่อนหน้านี้ เช่น Core i9-12900E
ตอนนี้ยังไม่ระบุว่ามีรุ่นย่อยกี่รุ่น แต่สักพักเราน่าจะเห็นโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ๆ ใช้ซีพียูตระกูล HX มากขึ้นเรื่อยๆ
ที่มา - Intel
Pat Gelsinger ซีอีโออินเทล ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ถึงภาพรวมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยเขาคาดว่าจะอยู่ในภาวะสินค้าขาดแคลนต่อไปถึงปี 2024
ส่วนสาเหตุนั้น Gelsinger บอกว่ามาจากเครื่องจักรที่จำเป็นสำหรับกระบวนการผลิตมีจำกัด ไม่สามารถส่งมอบได้ จึงส่งผลให้โรงงานต่าง ๆ ไม่สามารถขยายกำลังผลิตรองรับความต้องการได้ทัน ก่อนหน้านี้เขาคาดว่าปัญหาทั้งหมดจะดีขึ้นในปี 2023 แต่ตอนนี้มองว่าปัญหาจะขยายออกไป
ในส่วนของอินเทลนั้น เขาบอกว่าบริษัทได้ร่วมลงทุนและมีความสัมพันธ์ที่ดีอยู่แล้ว กับบรรดาผู้ผลิตเครื่องจักร อินเทลอยู่ในตำแหน่งที่ดีอยู่แล้ว แต่บริษัทเหล่านี้ก็ต้องผลิตเครื่องจักรให้ทุกคนบนข้อจำกัด
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2022 รายได้รวม 18,353 ล้านดอลลาร์ ลดลง 7% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 8,113 ล้านดอลลาร์
Pat Gelsinger ซีอีโออินเทลกล่าวว่า ไตรมาสแรกเป็นการเริ่มต้นที่แข็งแกร่ง ออกมาดีกว่าที่บริษัทประเมินไว้ และบริษัทยังมีโอกาสในตลาดมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์อีกมาก ตามกลยุทธ์ IDM 2.0
กลุ่มธุรกิจ Client Computing มีรายได้ลดลง 13% เป็น 9,294 ล้านดอลลาร์ ส่วนกลุ่ม Datacenter และ AI เพิ่มขึ้น 22% เป็น 6,034 ล้านดอลลาร์ อินเทลยังบอกว่ากลุ่มธุรกิจ Network และ Edge, Mobileye และ Intel Foundry Services ต่างมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นสถิติใหม่สูงสุด
อินเทลประกาศความสำเร็จในการผลิตชิปควอนตัมบนเวเฟอร์ขนาด 300 มิลลิเมตรที่เป็นมาตรฐานสำหรับการผลิตชิปทั่วไป เปิดทางสำหรับการสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาดใหญ่ซึ่งต้องการคิวบิตนับล้าน
งานวิจัยนี้อินเทลร่วมกับศูนย์วิจัย QuTech ที่[ร่วมกันวิจัยคอมพิวเตอร์ควอนตัมมาตั้งแต่ปี 2015 โดยพยายามแก้ปัญหากระบวนการผลิตชิปควอนตัมในระดับงานวิจัยทุกวันนี้ที่กระบวนการผลิตเป็นแบบเฉพาะ และมีอัตราความสำเร็จ (yield) ต่ำ ทำให้ในอนาคตหากต้องการสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่จำนวน qubit สูงมากๆ ก็จะเป็นปัญหา
อินเทลประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อกิจการ Granulate Cloud Solutions บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับจัดการเวิร์กโหลดแบบเรียลไทม์ด้วย AI จากอิสราเอล ทั้งนี้มูลค่าของดีลไม่มีการเปิดเผย แต่ TechCrunch อ้างแหล่งข้อมูลว่าอยู่ที่ประมาณ 650 ล้านดอลลาร์
Sandra Rivera รองประธานบริหารของอินเทลกลุ่มธุรกิจ Datacenter และ AI กล่าวว่าวันนี้ลูกค้าด้านคลาวด์และ Data Center มีความต้องการซอฟต์แวร์ที่ช่วยรองรับการสเกลและประมวลผลสูง ในการติดตั้งขยายฮาร์ดแวร์ ซึ่งซอฟต์แวร์ของ Granulate จะเข้ามาช่วยเสริมในส่วนนี้
เทคโนโลยีของ Granulate จะเรียนรู้พฤติกรรมของแอพพลิเคชัน และปรับแต่งขั้นตอนการ deploy ให้ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด จึงช่วยทั้งความเร็วและลดต้นทุน โดยที่ลูกค้าไม่ต้องแก้ไขโค้ด
อินเทลเปิดตัว discrete GPU ของตัวเองแบรนด์ Arc อย่างเป็นทางการ โดย Arc ชุดแรกเป็นจีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กก่อน ใช้ชื่อว่า Intel Arc A-Series มีด้วยกัน 3 ระดับย่อยคือ Arc 3, Arc 5, Arc 7 ล้อไปกับการตั้งชื่อซีพียู i3, i5, i7 ที่เราคุ้นเคยกัน
แกนหลักของจีพียู Arc คือสถาปัตยกรรม Xe HPG ที่อินเทลใช้มาสักระยะแล้วในฝั่งซีพียูเซิร์ฟเวอร์ แต่นำบางส่วนมาปรับให้เหมาะกับตลาดเกมมิ่ง DirectX 12 Ultimate โดยมีฟีเจอร์ดังนี้
อินเทลออกซีพียู Core i9-12900KS รุ่นย่อยตัวใหม่ของ 12th Gen Alder Lake บนเดสก์ท็อป ซึ่งอินเทลโฆษณาว่าเป็นซีพียูเดสก์ท็อปที่เร็วที่สุดในโลก (the world’s fastest desktop processor)
12900KS เป็นรุ่นอัพเกรดขึ้นมาอีกนิดของ 12900K (ไม่มี S) ซีพียูตัวแรงที่สุดของเดิม โดยยังคงสเปก 16 คอร์ (สูตร P 8 + E8) 24 เธร็ดเหมือนเดิม ที่เพิ่มเข้ามาคือปรับคล็อคสูงสุด (max turbo frequency) จาก 5.2GHz เป็น 5.5GHz โดยต้องแลกกับอัตราการใช้พลังงาน (base power) 125W เพิ่มเป็น 150W
ราคาขายปลีกที่แนะนำคือ 739 ดอลลาร์ (ประมาณ 25,000 บาท) เริ่มวางขาย 5 เมษายน 2022
Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ให้สัมภาษณ์สื่อ โดยให้ข้อมูลว่าบริษัท NVIDIA กำลังสนใจจ้างโรงงานของอินเทลผลิตชิปด้วย
อินเทลเพิ่งประกาศเปิดธุรกิจรับจ้างผลิตชิปชื่อ Intel Foundry Services (IFS) เมื่อต้นปีที่แล้ว โดยมีลูกค้าบางรายให้ความสนใจ เช่น Qualcomm, Amazon แม้ยังไม่ได้เริ่มเดินสายการผลิตในตอนนี้ ส่วน NVIDIA เป็นบริษัทชิปที่ไม่มีโรงงานของตัวเอง และใช้วิธีจ้างโรงงานซัมซุงหรือ TSMC ผลิตให้
อินเทลประกาศลงทุนชุดใหญ่ในสหภาพยุโรป โดยแผนสิบปีจะมีการลงทุน 80,000 ล้านยูโร หรือเกือบ 3 ล้านล้านบาท นับรวมการลงทุนทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา, โรงงานในสายการผลิตต่างๆ, ศูนย์ออกแบบชิป, และโรงงานผลิตชิป
แต่ในบรรดาแผนที่ประกาศมาทั้งหมดนั้น ส่วนที่ชัดเจนที่สุดคือโรงงานผลิตชิปที่ระบุว่าทันสมัยที่สุด (first-of-their-kind) สองโรงงานในเมือง Magdeburg ประเทศเยอรมัน โรงงานทั้งสองแห่งนี้จะผลิตชิปในระดับอังสตรอมที่อินเทลประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ตอนนี้โครงการอยู่ระหว่างการวางแผนและคาดว่าจะเริ่มลงมือก่อสร้างได้ภายในครึ่งแรกของปี 2023 คาดว่าจะเริ่มเดินสายการผลิตจริงปี 2027 มูลค่า 17,000 ล้านยูโร หรือกว่า 6 แสนล้านบาท
อินเทลประกาศว่า Mobileye บริษัทในเครือที่พัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ ได้ยื่นเอกสาร S-1 ต่อคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์สหรัฐฯ แล้ว เพื่อเตรียมนำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้นต่อไป ซึ่งอินเทลเคยประกาศแผนงานนี้เมื่อปีที่แล้ว
เนื่องจากเป็นเอกสารขั้นแรก อินเทลจึงยังไม่ได้ให้ข้อมูลว่า Mobileye จะขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวนเท่าใด และมูลค่ากิจการเท่าใด อย่างไรก็ตามสำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง ว่าบริษัทประเมินมูลค่ากิจการที่ราว 50,000 ล้านดอลลาร์
Mobileye เป็นบริษัทจากอิสราเอล เชี่ยวชาญการพัฒนาชิปด้านการมองเห็นของรถยนต์อัตโนมัติ อินเทลซื้อกิจการไปเมื่อปี 2017
กลุ่มบริษัทผู้ผลิตซีพียูรายใหญ่เกือบทุกราย ได้แก่ ASE (จากไต้หวัน), AMD, Arm, Intel, Qualcomm, Samsung, TSMC รวมถึงผู้ให้บริการคลาวด์อีก 3 รายคือ Google, Meta, Microsoft ร่วมกันเปิดตัวมาตรฐาน Universal Chiplet Interconnect Express (UCIe) สำหรับการให้ชิปเล็ต (chiplet) จากต่างค่ายสามารถนำมาประกอบกันได้บนแพ็กเกจชิปเดียวกัน
มาตรฐาน UCIe กำหนดตั้งแต่การเชื่อมต่อทางกายภาพ โปรโตคอลสื่อสาร ซอฟต์แวร์ และการทดสอบความเข้ากันได้ โดยตัวของ UCIe อิงอยู่บนมาตรฐานเดิมที่มีอยู่แล้วในตลาดคือ PCIe และ Compute Express Link (CXL) ที่ริเริ่มโดยอินเทล อย่างไรก็ตาม สังเกตว่าบริษัทชิปรายใหญ่ที่ยังไม่เป็นสมาชิกคือ NVIDIA
อินเทลเตรียมตัดคำสั่ง AVX-512 ออกจากซีพียู Alder Lake ทุกตัว หลังจากก่อนหน้านี้ยังเปิดให้ใช้งานได้ แม้สเปคจะระบุว่าไม่รองรับก็ตาม โดยหลังจากนี้จะเป็นการตัดฟิวส์จากโรงงานทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อีก
Alder Lake นั้นมีซีพียูสองแบบ คือ P-core และ E-core โดยตัว P-core ยังคงมี AVX-512 อยู่ แต่การเปิดใช้งานก็ขึ้นกับผู้ผลิตเมนบอร์ดที่บางรายพยายามปรับเฟิร์มแวร์ให้ใช้งานได้ ตอนนี้เริ่มมีรายงานว่าซีพียูบางรุ่นถูกปิด AVX-512 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ และทางโฆษกของอินเทลก็ยืนยันว่าจะปิดการใช้งานในอนาคตต่อไป
สำนักข่าว RBC ของรัสเซีย รายงานข่าวโดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวในแวดวงไอทีของรัสเซียว่า บริษัทผลิตชิปสัญชาติอเมริกันอย่างอินเทลและ AMD ได้ "แจ้งข่าวด้วยวาจา" ว่าจะหยุดส่งชิปให้กับผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ในรัสเซียชั่วคราว
ข่าวนี้ได้รับการยืนยันจากสมาคมผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ของรัสเซีย (Association of Russian Developers and Electronics Manufacturers - ARPE) แต่โฆษกของอินเทลในรัสเซีย ยังตอบคำถามนี้อ้อมๆ ว่ากำลังเฝ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจะปฏิบัติตามคำสั่งของกระทรวงการคลังสหรัฐ ที่มีอำนาจห้ามส่งออกสินค้าไปขายให้กับบุคคลหรือหน่วยงานที่ระบุชื่อ
อินเทลเปิดตัว Intel Xeon D-2700 และ Intel Xeon D-1700 ซีพียูสำหรับงานกลุ่มระบบประมวลผลปลายทาง (edge computing) โดยทั้งสองตระกูลเป็นสถาปัตยกรรม Sunny Cove
ซีพียูกลุ่มนี้มักใช้งานในอุปกรณ์เน็ตเวิร์ค เช่น เสาสัญญาณโทรศัพท์, NAS, เซิร์ฟเวอร์ VPN, หรือเซิร์ฟเวอร์เก็บข้อมูล IoT เน้นการรับมือทราฟิกเน็ตเวิร์คเป็นหลัก อินเทลระบุว่าตัวซีพียูเองก็สามารถเข้ารหัสที่ระดับ 100Gbps (ต้องใช้ QuickAssist) และยังบีบอัดข้อมูลได้ระดับ 70Gbps
ตระกูล D-1700 มีตั้งแต่ 2-10 คอร์ และตระกูล D-2700 มีตั้งแต่ 4-20 คอร์ ตอนนี้มีบริษัทเน็ตเวิร์คที่กำลังพัฒนาอุปกรณ์เน็ตเวิร์คด้วยซีพียูทั้งสองตระกูลแล้ว เช่น ซิสโก้, Juniper Networks, Rakuten Symphony เป็นต้น
อินเทลเปิดตัว NUC 12 Extreme พีซีขนาดเล็กสำหรับเกมเมอร์ ที่ใส่การ์ดกราฟิกขนาด 12 นิ้วลงไปได้ มีสองรุ่น ได้แก่
ทั้งสองรุ่นมีช่อง PCIe x16 ความยาว 12 นิ้วมาให้ รองรับแรม DDR4-3200 ใส่แรมได้สูงสุด 64GB พร้อมช่อง M.2 อีก 3 ช่อง เชื่อมต่อภายนอกด้วย HDMI 2.0, Thunderbolt 4 ช่อง, Wi-Fi 6E, Bluetooth 5.2, 10GbE 1 ช่อง (รุ่น Core i9 มี 2.5GbE เพิ่มอีก 1 ช่อง)
เริ่มจำหน่ายจริงช่วงกลางปีนี้
ที่มา - Intel
อินเทลเข้าซื้อกิจการ Linutronix บริษัทจากเยอรมนี ที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์สายเรียลไทม์ (PREEMPT_RT) สำหรับงานอุปกรณ์ฝังตัวสายงานอุตสาหกรรม
การซื้อบริษัท Linutronix ไม่ได้เป็นการซื้อผลิตภัณฑ์ แต่เป็นการซื้อตัวทีมงาน (acquihire) โดยเฉพาะตัวซีทีโอ Thomas Gleixner ที่เป็นผู้ดูแลหลักของเคอร์เนลลินุกซ์สำหรับสถาปัตยกรรม x86 มาตั้งแต่ปี 2008 การมาอยู่ใต้ร่มของบริษัทใหญ่ระดับอินเทล แปลว่าทีมของ Gleixner จะยังทำหน้าที่พัฒนาเคอร์เนลต่อไปโดยไม่ต้องสนใจเรื่องการหารายได้มากนัก ส่วนธุรกิจของ Linutronix จะยังเดินต่อไปดังเดิม ในฐานะหน่วยย่อยอิสระภายใต้ฝ่ายซอฟต์แวร์ของอินเทล
ที่ผ่านมา อินเทลเปิดตัวซีพียู Core 12th Gen "Alder Lake" ไปแล้วทั้งหมด 3 ชุด ได้แก่ เดสก์ท็อประดับบน, เดสก์ท็อประดับล่าง, โน้ตบุ๊ก โดยกรณีของโน้ตบุ๊กแยกเป็นซีรีส์ H พลังสูง, P ระดับกลาง และ U ประหยัดไฟ
โน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียู Alder Lake ซีรีส์ H (95-115 วัตต์) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกมมิ่ง-เวิร์คสเตชัน เริ่มวางขายไปเรียบร้อยแล้ว วันนี้อินเทลประกาศเริ่มขายซีรีส์ P (28 วัตต์) และ U (9-15 วัตต์) อย่างเป็นทางการ ทำให้ Alder Lake เปิดตัวสินค้าครบทุกไลน์แล้ว
อินเทลเผยความคืบหน้าของเทคโนโลยีการผลิตชิป (process technology) ต่อเนื่องจากที่เคยประกาศรีแบรนด์ชื่อกระบวนการผลิตเมื่อกลางปี 2021 เลิกใช้ nanometer ห้อยท้าย
ชื่อกระบวนการผลิตที่อินเทลประกาศไว้มีทั้งหมด 5 รุ่น ได้แก่