ที่ผ่านมา อินเทลเปิดตัวจีพียู Arc สำหรับโน้ตบุ๊ก, Arc Pro สำหรับโน้ตบุ๊ก ส่วนจีพียูเดสก์ท็อปตระกูล Arc ยังมีวางขายเพียงรุ่นเดียวคือ A380 ที่เป็นตัวล่างสุด (แถมช่วงแรกก็มีปัญหาไดรเวอร์)
วันนี้อินเทลออกมาประกาศสเปกของ Arc รุ่นเดสก์ท็อปทั้ง 4 ตัว แม้ยังไม่ประกาศวันวางขายแต่ก็น่าจะใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว
Intel และ Broadcom รายงานการทดสอบส่งข้อมูลผ่าน Wi-Fi 7 ที่มาตรฐานยังไม่ออกเป็นทางการแต่เริ่มมีชิปที่รองรับแล้ว โดยทั้งสองบริษัทระบุว่านี่เป็นการทดสอบข้ามผู้ผลิต (cross vendor) เป็นครั้งแรก
Wi-Fi 7 จะใช้คลื่น 6GHz ซึ่งเปิดให้ใช้งานเสรีเพียงบางประเทศเท่านั้น ทาง Broadcom ระบุว่ากำลังพูดคุยกับประเทศต่างๆ เพื่อให้เปิดคลื่น 6GHz ให้ใช้งานได้เพิ่มขึ้น ตัว Wi-Fi 7 มีฟีเจอร์ในการใช้คลื่นให้เต็มที่กว่าเดิม เช่น การเชื่อมต่อหลายย่านความถี่ และการใช้แถบคลื่นที่ไม่ต่อเนื่อง (multi-resource unit puncturing)
มาถึงวันนี้ อินเทลยังไม่สามารถวางขายการ์ดจอแยก Intel Arc เวอร์ชันเดสก์ท็อปได้ตามแผน (เดิมทีบอกขายภายในไตรมาส 2) ตอนนี้ยังมีเพียงจีพียูรุ่นล่างสุด Intel Arc A380 วางขายแค่รุ่นเดียว แถมรีวิวก็ออกมาแย่เพราะปัญหาบั๊กของไดรเวอร์ และมีปัญหาประสิทธิภาพในการเล่นเกมที่เก่าสักหน่อย
สัปดาห์ที่ผ่านมา Lisa_Pearce ผู้บริหารฝ่ายกราฟิกของอินเทล ต้องออกมาเขียนบล็อกยอมรับว่าคุณภาพของไดรเวอร์มีปัญหาจริง และชี้แจงในประเด็นต่างๆ ดังนี้
อินเทลประกาศรายละเอียดเพิ่มเติมของซีพียูรุ่นถัดๆ ไป ได้แก่ Meteor Lake, Arrow Lake, Lunar Lake ที่จะออกในปี 2023-2024 (ปลายปีนี้จะมี Raptor Lake ที่นับเป็น Core 13th Gen ซึ่งเป็นเวอร์ชันอัพเกรดของ Alder Lake ที่ออกช่วงต้นปี)
Meteor Lake (น่าจะนับเป็น 14th Gen) จะเป็นชิปรุ่นแรกของอินเทลที่ใช้ดีไซน์แบบ tile-based นำชิ้นส่วนต่างๆ มาต่อกันบนชิปตัวเดียวด้วยเทคโนโลยีแพ็กเกจ 3D stacking ที่เรียกว่า Foveros (อ่านรายละเอียดเรื่อง Foveros)
แล็บท็อปกลายเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับคนทำงานที่ต้องพกติดตัวไปด้วยตลอด โดยเฉพาะยุคการทำงานแบบไฮบริดในปัจจุบัน ที่สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้กันมากขึ้น ทำให้แล็บท็อปสำหรับธุรกิจส่วนใหญ่ ถูกออกแบบมาในลักษณะบางเบาสวยงาม แต่ด้วยความบางเบานั้นก็อาจจะต้องแลกมาด้วยประสิทธิภาพในการประมวลผลและแบตเตอรี่ที่ลดน้อยลง
ช่วงหลังๆ การปรับปรุงปัญหาข้างต้นไม่ได้มีแค่ฝั่งผู้ผลิตแล็บท็อปแต่เพียงอย่างเดียวแล้ว ผู้ผลิตซีพียูอย่าง Intel ก็หันมาปรับปรุง พัฒนาซีพียูและชิปเซ็ตให้ตอบโจทย์การใช้งานในกลุ่มแล็บท็อปธุรกิจมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่ง Lenovo Yoga 7i ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างแล็บท็อปธุรกิจที่เรื่องการประมวลผลและแบตเตอรี่เริ่มไม่เป็นปัญหาแล้ว
อินเทลขึ้นประกาศหน้าเว็บไซต์ว่า จีพียูรุ่นใหม่ๆ ของตัวเอง ได้แก่ จีพียูออนบอร์ดในซีพียู 12th Gen และจีพียูแยกตระกูล Arc จะไม่รองรับ DirectX 9 (D3D9) อีกต่อไป เป็นผลให้ไม่สามารถเล่นเกมเก่าๆ ที่ต้องพึ่งพา DirectX 9 ได้แบบเนทีฟ แต่ยังสามารถเล่นได้ผ่านอีมูเลเตอร์กราฟิก D3D9On12 ของไมโครซอฟท์ ที่ใช้วิธี mapping DirectX 9 บน DirectX 12 และมีอยู่แล้วบน Windows 10 โดยเพิ่งเปิดเป็นโอเพนซอร์สในปี 2021
อินเทลเปิดตัวจีพียู Intel Arc รุ่นแรก A-Series สำหรับคอนซูเมอร์มาตั้งแต่เดือนมีนาคม แต่ประสบปัญหาสินค้าวางจำหน่ายล่าช้า จนตอนนี้ก็ยังไม่สามารถขายได้ในวงกว้าง
แต่ดูท่าอินเทลไม่สนใจเรื่องการวางขายแต่อย่างใด และเดินหน้าเปิดตัว Intel Arc Pro A-Series สำหรับกลุ่มคนทำงานสายกราฟิกและเวิร์คสเตชันต่อทันที
David Zinsner ซีเอฟโอของอินเทล ตอบคำถามในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 2/2022 ยืนยันข่าวลือก่อนหน้านี้ ว่าอินเทลจะขึ้นราคาชิป
Zinsner ใช้คำว่า "we are increasing pricing" อย่างชัดเจน เขาบอกว่าจะเริ่มมีผลในไตรมาส 4 เป็นต้นไป เหตุผลมาจากปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อที่ยาวนาน ทำให้อินเทลจำเป็นต้องส่งต่อต้นทุนไปยังลูกค้า เขายังบอกว่าหากเป็นภาวะเงินเฟ้อช่วงสั้นๆ อินเทลสามารถแบกรับภาระตรงนี้ได้ แต่ถ้ามันเกิดขึ้นติดต่อกันนานๆ ก็รับไม่ไหวเช่นกัน
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่า การขึ้นราคาของอินเทลจะมีผลกับผลิตภัณฑ์ตัวไหนบ้าง และขึ้นราคาเท่าไร
อินเทลประกาศบนหน้าเว็บ ว่าปรับสถานะของจีพียูออนบอร์ดรุ่นเก่าๆ (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Intel Graphic "Gen9" แต่ใช้กับซีพียู Core รุ่นเก่านับตั้งแต่ Gen 6-10 รวมถึง Celeron, Pentium, Atom ยุคเดียวกัน) เป็น legacy software support
ความหมายคือ ไดรเวอร์ของจีพียูเหล่านี้ได้ยังได้อัพเดตต่อ แต่มีเฉพาะการแก้บั๊กสำคัญและช่องโหว่ความปลอดภัยเท่านั้น ไม่มีการออกไดรเวอร์ที่มีฟีเจอร์ใหม่ๆ หรือรองรับเกมที่ออกใหม่ตั้งแต่วันแรก (Day0 Game Support) อีกแล้ว โดยไดรเวอร์จะเปลี่ยนรอบการอัพเดตมาเป็นรายไตรมาสแทน
หลังจากมีสัญญาณว่าไปไม่รอดมาสักพักใหญ่ๆ แล้ว อินเทลก็ประกาศอย่างเป็นทางการว่ายุติธุรกิจหน่วยความจำ Optane ในงานแถลงผลประกอบการไตรมาสล่าสุด
Optane เป็นโครงการที่อินเทลร่วมกับ Micron ตั้งแต่ปี 2015 พัฒนาหน่วยความจำประเภท 3D XPoint ที่เร็วกว่าหน่วยความจำ NAND และใช้เป็นสตอเรจคั่นกลางระหว่างแรมกับ SSD แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอด อินเทลหยุดขายสินค้าในปี 2021 ในขณะที่ Micron ขายโรงงานทิ้ง
อินเทลระบุสั้นๆ แค่ว่าจะยุติธุรกิจนี้ และลงบัญชีด้อยค่าสินทรัพย์สินค้ากลุ่ม Optane ที่เหลือเป็นมูลค่า 559 ล้านดอลลาร์
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2022 รายได้รวมตามบัญชี GAAP อยู่ที่ 15,321 ล้านดอลลาร์ ลดลง 22% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และขาดทุนสุทธิ 454 ล้านดอลลาร์
ซีอีโอ Pat Gelsinger ยอมรับว่าผลการดำเนินงานไตรมาสนี้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเราจะต้องทำให้ดีขึ้น ผลกระทบหลักนั้นมาจากปัญหาเศรษฐกิจ แต่ก็มีปัจจัยจากการดำเนินงานของอินเทลเองด้วย
อินเทล และ MediaTek ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ในการผลิตชิปสำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยให้ Intel Foundry Services ส่วนธุรกิจรับจ้า
ผลิตชิปเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่ง MediaTek มองว่าจะช่วยให้บริษัทบริหารซัพพลายเชนได้ดีมากขึ้น จากการเพิ่มกำลังผลิตในอเมริกาและยุโรป
MediaTek เป็นผู้จัดส่งชิปให้กับสมาร์ทโฟนหลายราย โดยที่ผ่านมาใช้โรงงานของ TSMC ในการผลิตเป็นหลัก
ความร่วมมือนี้ เป็นไปตามแผนที่อินเทลประกาศไว้ในยุทธศาสตร์ IDM 2.0 นั่นคือการตั้งหน่วยธุรกิจ Intel Foundry Services หรือ IFS เพื่อรับจ้างผลิตชิปจากลูกค้าภายนอกในทุกสถาปัตยกรรม เนื่องจากมีโรงงานและเทคโนโลยีการผลิตรองรับอยู่แล้ว
เริ่มมีข่าวลือของ Raptor Lake ซีพียูรุ่นใหม่ของอินเทล (นับเป็น 13th Gen) ตามกำหนดวางขายช่วงปลายปีนี้
ECSM_Official นักปล่อยข่าวหลุดฮาร์ดแวร์จากฝั่งจีน ออกมาให้ข้อมูลว่าอินเทลจะเปิดตัว Raptor Lake ชุดแรกเป็นซีพียูเดสก์ท็อปตัวแรงรหัส K อย่างเป็นทางการในงาน Intel Innovation 2022 วันที่ 28 กันยายน 2022 และสินค้าจะวางขายจริง 17 ตุลาคม หลังจากนั้นจะเปิดตัวซีพียูชุดที่สองในงาน CES 2023 หลังปีใหม่
ซีพียู Raptor Lake ชุดแรกมีด้วยกัน 3 รุ่นย่อยคือ
Nikkei Asia รายงานข่าวไม่ยืนยันว่า อินเทลแจ้งลูกค้าว่าจะขึ้นราคาซีพียูและชิปต่างๆ ในปีนี้ เนื่องจากต้นทุนแพงค่าผลิตชิปแพงขึ้น
ตามข่าวบอกว่าราคาสินค้าใหม่จะเริ่มมีผลกับซีพียูชุดใหม่ที่จะเปิดตัวช่วงครึ่งหลังของปีนี้ แต่ก็รวมไปถึงชิปด้านอื่นๆ เช่น ชิป Wi-Fi ด้วย ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าราคาจะเพิ่มขึ้นเท่าไร แต่คาดว่ามีตั้งแต่ขึ้นเป็นเลขหลักเดียว (single digit) ไปจนถึง 20%
อินเทลเป็นบริษัทที่เปลี่ยนผ่านตัวเองได้อย่างน่าสนใจในช่วงประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การประกาศยุทธศาสตร์ใหม่ IDM 2.0 เปิดโรงงานรับจ้างผลิตชิปให้คนนอก และไลน์อัพสินค้าใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหลายอย่าง บทความนี้จะสรุปแนวทางของอินเทลยุคใหม่ที่เปิดกว้างมากขึ้น ยืดหยุ่นกว่าเดิม ตัวซีพียูไม่จำกัดตัวเองแค่ x86 อีกต่อไป และฝั่งโรงงานผลิตชิปก็ไม่ได้แข่งแต่เรื่องนาโนเมตรเพียงอย่างเดียวอีกแล้ว
Kimbal Musk น้องชายของ Elon Musk (อ่อนกว่า 1 ปี และเคยทำบริษัท Zip2 บริษัทแรกของ Elon Musk ด้วยกัน) เข้าซื้อกิจการ Intel Drone Light Shows ธุรกิจโดรนของอินเทล
อินเทลมีธุรกิจโดรนสำหรับแสดงโชว์มานานพอสมควรแล้ว (เปิดตัวปี 2016) และเคยนำไปร่วมงานมหกรรมกีฬาใหญ่ๆ หลายครั้ง เช่น Super Bowl 2016, โอลิมปิกฤดูหนาว 2018, โอลิมปิกฤดูร้อน 2020 รวมถึงงานเปิดตัว Iconsiam ที่ประเทศไทยด้วย
มีข้อมูลหลุดของ Intel NUC Gen 12 รุ่นใหม่ "Serpent Canyon" จากโพสต์ภาษาจีน Baidu ตัวซีพียูยังเป็น 12th Gen Alder Lake เหมือนกับ NUC 12 Extreme "Dragon Canyon" ที่เปิดตัวเมื่อต้นปี สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือจีพียู Arc ของอินเทลเอง ไม่ต้องพึ่งพาจีพียูค่ายอื่นสำหรับเล่นเกมแล้ว (NUC 11 Enthusiast ใช้ RTX 2060)
ตามแผนการของอินเทล เราจะได้เห็น Core 13th Gen "Raptor Lake" เปิดตัวช่วงปลายปีนี้ โดยยังใช้สถาปัตยกรรมลักษณะเดียวกับ Core 12th Gen "Alder Lake" และกระบวนการผลิต Intel 7 (10nm) เหมือนกัน แต่มีประสิทธิภาพดีขึ้นจากการปรับสถาปัตยกรรมเล็กน้อย และการใช้กระบวนการผลิตรุ่นที่สองที่ปรับปรุงขึ้นจากเดิม จากนั้นถึงค่อยเปลี่ยนใหญ่ตอน 14th Gen "Meteor Lake" ในปี 2023
ล่าสุดมีเบนช์มาร์คของ Core i9-13900 โผล่ขึ้นมาในฐานข้อมูลของ SiSoftware เจ้าของโปรแกรมเบนช์มาร์คชื่อดัง Sandra ทำให้เราพอเห็นภาพว่าประสิทธิภาพของ Raptor Lake ดีขึ้นจริง เมื่อเทียบกับ Core i9-12900 ในปัจจุบัน ในบางการทดสอบดีกว่ากันถึง 50% เลยทีเดียว
อินเทลเผยรายละเอียดของกระบวนการผลิต Intel 4 (เทียบได้กับ 7nm แต่รีแบรนด์ชื่อใหม่ไม่ให้ตามหลังคู่แข่งเกินไป) ในงาน 2022 IEEE VLSI Symposium
Intel 4 ถือเป็นครั้งแรกที่อินเทลใช้เทคนิค EUV (extreme ultraviolet lithography) หลังจากที่คู่แข่งเริ่มใช้กันไปนานพอสมควรแล้ว และเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญของอินเทล หลังจากอยู่กับ 10nm มานาน
อินเทลระบุว่าการผลิตชิปด้วยกระบวนการ Intel 4 ให้ความถี่ดีขึ้น 21.5% จากกระบวนการ Intel 7 (10nm) โดยเทียบจากการใช้พลังงานเท่าเดิม หรือถ้าต้องการความถี่เท่ากันจะใช้พลังงานลดลง 40% ส่วนในแง่ความหนาแน่นของทรานซิสเตอร์เพิ่มขึ้น 2 เท่า
หลายครั้งที่คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ กลายเป็นอุปสรรคของผู้ใช้งาน ตั้งแต่เรื่องของขนาดที่ใหญ่เกินไป รูปแบบไหนเหมาะกับการใช้งานอะไร ไปจนถึงอยากอัพเกรดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในอนาคต ทำให้ผู้ใช้หลายคนรู้สึกยุ่งยากไม่น้อย
มีรายงานจาก Reuters อ้างเอกสารภายในของอินเทล ระบุว่าบริษัทแจ้งพนักงาน ให้หยุดการจ้างพนักงานใหม่รวมทั้งตำแหน่งที่เปิดรับแล้วทั้งหมดชั่วคราว มีผลเฉพาะฝ่าย Client Computing ที่ดูแลธุรกิจของพีซีเดสก์ท็อปและโน๊ตบุ๊ค บางตำแหน่งอาจกลับมาเปิดให้รับคนได้ใน 2 สัปดาห์ หากมีความจำเป็น
ตัวแทนของอินเทลชี้แจงรายงานข่าวดังกล่าวว่า บริษัทยังคงอยู่ในแผนงานเพื่อสร้างการเติบโตระยะยาว ในตอนนี้การโฟกัสที่ค่าใช้จ่ายและลำดับความสำคัญ จะช่วยบริษัทท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนสูง
ปัจจัยสำคัญน่าจะมาจากข้อมูลภาพรวมตลาดพีซีของปี 2022 ซึ่งคาดว่าจะเติบโตชะลอตัวลง ทั้งจากผลกระทบในยูเครน ตลอดจนการเปิดเมืองหลังการระบาดของโควิด
อินเทลมีจีพียูสำหรับคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงชื่อ Ponte Vecchio ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2019 โดยจะใช้กับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Aurora ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ มีกำหนดเสร็จช่วงปลายปี 2022
จีพียู Ponte Vecchio (นำชื่อมาจากสะพานโบราณในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี) มีแนวคิดใหม่ๆ หลายอย่าง นอกจากใช้สถาปัตยกรรม Xe ตามแนวทางจีพียูอินเทลสมัยใหม่ ยังนำแนวคิดเรื่อง tile หรือชิปย่อยๆ ที่ทำงานหน้าที่ต่างกัน ผลิตคนละโรงงานกัน (บาง tile ผลิตโดย TSMC) นำมาประกบกันแบบแนวตั้ง เป็นแพ็กเกจชิปที่อินเทลเรียกว่า Foveros รายละเอียดสามารถอ่านได้จากบทความเรื่อง Ponte Vecchio
ถึงแม้ Ponte Vecchio ที่ใช้ในเครื่อง Aurora ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี ล่าสุดอินเทลเปิดตัวจีพียูรุ่นที่สองแล้ว ใช้ชื่อว่า Rialto Bridge ซึ่งเป็นสะพานโบราณในเมืองเวนิส
อินเทลเปิดตัวจีพียู Arc อย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม โดยเริ่มจากจีพียูฝั่งโน้ตบุ๊กก่อน แต่สินค้ากลับต้องเลื่อนวางขายเพราะปัญหาซัพพลายเชนและซอฟต์แวร์ ทำให้ตอนนี้ยังไม่มีโน้ตบุ๊กที่ใช้ Arc วางขายจริงๆ ในตลาด
แต่ล่าสุดเริ่มมีโน้ตบุ๊กที่ใช้ Arc วางขายแล้วในประเทศจีนคือ Machenike รุ่น Dawn ขนาดหน้าจอ 16" ทำให้เราได้เห็นเบนช์มาร์คของ Arc ที่รันโดยผู้ใช้จริงๆ (ไม่ได้มาจากฝั่งอินเทล)
เบนช์มาร์คที่มีผลออกมาเป็น 3DMark ชุดทดสอบ Timespy และ Fire Strike โดยเป็นของ Intel Arc A730M รุ่นรองท็อปของโน้ตบุ๊ก (รุ่นท็อปสุดคือ Arc A770M) ได้ผลลัพธ์ที่ราว 10,000 และ 23,000 คะแนนตามลำดับ
Lee Jae-yong รองประธานของซัมซุง ซึ่งถือเป็นผู้บริหารสูงสุดของซัมซุงตอนนี้ (ประธานคือพ่อของเขาป่วยอยู่ในโรงพยาบาล) พบกับ Pat Gelsinger ซีอีโอของอินเทลที่เดินทางไปเกาหลีใต้ และหารือว่าจะทำอะไรร่วมกันได้ในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์
ซัมซุงและอินเทล ถือเป็นบริษัท Top 3 ที่มีเทคโนโลยีการผลิตชิปก้าวหน้าที่สุดในโลก (อีกรายคือ TSMC) การที่สองบริษัทนี้จับมือกันจึงน่าจับตาว่าจะส่งผลต่อการแข่งขันกับ TSMC อย่างไร
ในแถลงการณ์ของซัมซุงเอง ระบุว่าผู้บริหารทั้งสองคนหารือกันเรื่องชิปหน่วยความจำยุคหน้า, ชิปที่ผลิตแบบ fabless (ไม่มีโรงงานเอง) และ foundry (มีโรงงานเอง) รวมถึงธุรกิจด้านพีซีและอุปกรณ์พกพาด้วย
คอมแรง คอมเร็ว สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้า คอมไม่ปลอดภัย โอกาสที่ธุรกิจจะชะงัก หรือพ่ายแพ้ต่อคู่แข่งก็มีสูง ดังนั้นคงจะดีกว่าที่ในโลกธุรกิจจะใช้ คอมแรง, คอมเร็ว และคอมที่ปลอดภัย
Intel เล็งเห็นปัจจัยดังกล่าว จึงพัฒนา Intel vPro หรือเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ ตอบโจทย์ความต้องการ และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในโลกธุรกิจได้ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยที่สำคัญไม่แพ้กับฝั่งประสิทธิภาพในการทำงาน
Blognone อยากชวนมาทำความเข้าใจกันว่า ทำไมองค์กรธุรกิจถึงควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมกับ Intel vPro และการใช้งาน Intel vPro ในโลกธุรกิจจะต่างกับการใช้คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง CPU ของ Intel ที่ไม่มีแพลตฟอร์มเทคโนโลยีนี้แค่ไหน