Pat Gelsinger ซีอีโอ VMware ที่ครองตำแหน่งมานานถึง 8 ปีประกาศลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปรับตำแหน่งซีอีโอของอินเทล การลาออกจะมีผลเป็นทางการวันที่ 12 กุมภาพันธ์ และ Pat จะไปรับตำแหน่งซีอีโอที่อินเทลในวันที่ 15
Pat จบการศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้าและเป็นลูกหม้อของอินเทลที่ทำงานกับบริษัทมานานถึง 30 ปีจนขึ้นถึงตำแหน่งซีทีโอ จากนั้นจึงออกไปรับตำแหน่งซีโอโอที่ EMC และมาเป็นซีอีโอของ VMware ในที่สุด เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมเขียนหนังสือ Programming the 80386 ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1991 หรือ 30 ปีที่แล้ว
อินเทลโชว์ "พรีวิว" (แปลว่ายังไม่มีของ) ซีพียูรุ่นใหม่ 2 ตัวที่จะทยอยเปิดตัวในปีนี้
ตัวแรกคือ Core 11th Gen สำหรับเดสก์ท็อป (รหัส S) โค้ดเนม "Rocket Lake" ที่หวังจะมาทวงคืนบัลลังก์แชมป์จาก Ryzen 5000
อินเทลระบุว่า Rocket Lake รุ่นท็อปสุด Core i9-11900K มีจำนวนคำสั่งต่อรอบ (IPC หรือ instructions per cycle) เพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับซีพียู Gen 10 ที่ระดับเดียวกัน (i9-10900K), ยังเป็นซีพียู 8 คอร์ 16 เธร็ด, คล็อค 4.8/5.3GHz, อัพเกรดมาใช้แรม DDR4-3200 เทียบเท่าฝั่ง AMD, รองรับ PCIe 4.0 จำนวนทั้งหมด 20 เลน
ซีพียูกลุ่ม Tiger Lake ใหม่อีกตัว นอกจาก Core 11th รหัส H35 สำหรับโน้ตบุ๊กเกมมิ่งสายบางเบา คือสินค้ากลุ่ม vPro สำหรับภาคธุรกิจตามรอบปกติ (ที่ออกหลังรุ่นคอนซูเมอร์ประมาณครึ่งปี) โดยอินเทลเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า 11th Gen Intel vPro Platform
แกนหลักของ 11th Gen vPro ยังเป็น Tiger Lake รหัส U ที่ใช้จีพียู Iris Xe แต่เพิ่มมาด้วยฟีเจอร์ความปลอดภัยของลูกค้าฝั่งองค์กร ฟีเจอร์ที่เป็นของใหม่จริงๆ รอบนี้คือ
ปีที่แล้วเราเห็น อินเทลเริ่มต้นซีพียู Gen 11 ด้วยซีพียูโน้ตบุ๊ก Tiger Lake รุ่นกินไฟต่ำรหัส U และเริ่มมีสินค้าโน้ตบุ๊กออกทำตลาดกันแล้ว
อินเทลเริ่มปี 2021 ด้วยการเปิดตัวซีพียู Gen 11 สำหรับโน้ตบุ๊กรหัส H แต่ก็ถือเป็น H รุ่นพิเศษที่อินเทลเรียกว่า "H35 Series" กินไฟ 35 วัตต์ จับตลาดเซกเมนต์โน้ตบุ๊กเกมมิ่งรุ่นบางเบา (Ultraportable Gaming) ส่วนรุ่น H เต็มรูปแบบจริงๆ จะเปิดตัวตามมาภายในไตรมาส 1/2021
Bloomberg รายงานว่า Intel กำลังพูดคุยกับ TSMC และ Samsung ถึงกระบวนการจ้างผลิตชิป เพื่อแก้ปัญหากระบวนการผลิตชิปของตัวเองที่เริ่มตามหลังคู่แข่งไปไกลขึ้นเรื่อย ๆ
ก่อนหน้านี้ Bob Swan ซีอีโอของ Intel เคยบอกว่าจะเปิดเผยเรื่องนี้พร้อมแผนการจ้างผลิตชิปในการประกาศผลประกอบการ วันที่ 21 มกราคมนี้
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวของ Bloomberg ระบุว่าจนถึงตอนนี้ Intel ก็ยังคงไม่ได้ข้อสรุปกับ TSMC เพราะยังรอดูการปรับปรุงกระบวนการผลิตของตัวเองจนนาทีสุดท้าย ขณะที่หากจะจ้าง TSMC ผลิตจริง ก็น่าจะใช้กระบวนการผลิตของ TSMC ที่ผลิตให้ลูกค้ารายอื่นอยู่แล้ว และคาดว่าชิป Intel จาก TSMC จะออกสู่ตลาดอย่างเร็วที่สุด 2023
ในงาน CES 2021 LG เปิดตัวโน้ตบุ๊กในรุ่น Gram ที่เน้นความบางเบา 5 ตัว โดยใช้ซีพียู Intel รุ่นที่ 11 Tiger Lake ได้รับการรับรองมาตรฐาน Intel Evo ที่การันตีแบตเตอรี่ใช้งานที่จอ 1080p ได้นานกว่า 9 ชั่วโมง, ตื่นจากโหมด sleep ภายใน 1 วินาที ,ชาร์จเร็ว 30 นาทีใช้งานได้นาน 4 ชั่วโมง เป็นต้น
อินเทลเปิดปี 2021 ด้วยกล้องวัดระยะลึกแบรนด์ RealSense ที่เริ่มทำตลาดมาตั้งแต่ปี 2014 รุ่นใหม่คือ RealSense ID Facial Authentication กล้องวัดระยะลึกพร้อมเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าในตัว (มี SoC ในตัว, ไม่ต้องเชื่อมต่อเครือข่าย) เหมาะกับการนำไปติดตั้งที่ประตู, จุดขายสินค้า (POS), ตู้ ATM หรือตู้ kiosk ชนิดอื่นๆ
กล้อง RealSense มีอัตราแม่นยำ 99.76%, สตอเรจเข้ารหัสข้อมูลใบหน้า แบ่งเป็น 2 รุ่นย่อยคือ F455 ที่เป็นกล่องสำเร็จรูปมาให้พร้อม ตัวละ 99 ดอลลาร์ และรุ่น F450 เป็นบอร์ดสำเร็จรูปเพื่อนำไปใช้เชื่อมกับโมดูลอื่น ตัวละ 75 ดอลลาร์
Linus Torvalds พูดคุยถึงซีพียู Ryzen 5000 ในฟอรั่ม real world technologies โดยประเด็นที่น่าสนใจคือเขาชี้ว่าแรม ECC นั้นสำคัญมาก และในโลกความเป็นจริง DRAM ไม่ได้น่าเชื่อถือขนาดนั้น พร้อมกับโทษว่าที่แรม ECC มีราคาแพงเพราะอินเทลเก็บฟีเจอร์นี้ไว้ใช้กับซีพียู Xeon สำหรับองค์กรเท่านั้น
ซีพียู Ryzen นั้นรองรับแรม ECC ในตัวมานาน แม้จะมีปัญหากับเมนบอร์ดบางรุ่นบ้าง และ AMD ไม่ได้โฆษณาว่ารองรับแต่โดยรวมคือหากหาข้อมูลล่วงหน้าก็สามารถใช้งานได้
จากที่ NVIDIA บอกว่ากำลังทำฟีเจอร์แบบเดียวกับ Smart Access Memory (SAM) ของ AMD Radeon RX 6000 ฝั่งของ AMD ก็ออกมาให้สัมภาษณ์เองว่า SAM จะใช้ได้กับทั้งซีพียูอินเทล และจีพียู NVIDIA ด้วย
SAM เป็นฟีเจอร์ที่เปิดตัวมาพร้อม Radeon RX 6000 ให้ซีพียูของ AMD สามารถเข้าถึงแรมของจีพียู Radeon โดยตรงผ่าน PCIe 4.0 เพื่อให้ประสิทธิภาพดีขึ้น โดยเฉพาะในการเล่นเกม
อินเทลเปิดตัวการ์ด H3C XG310 การ์ดสำหรับให้บริการสตรีมมิ่งเกมแอนดรอยด์และบริการวิดีโอสตรีมมิ่งเป็นหลัก แม้ว่าทางอินเทลจะระบุว่ายินดีทำงานร่วมกับบริษัทที่ต้องการใช้งานประเภทอื่นๆ โดยการเปิดตัวครั้งนี้มีผู้ผลิตเกมอย่าง Tencent Games มาเปิดตัวด้วย
H3C XG310 เป็นการ์ดที่ประกอบไปด้วยชิปสถาปัตยกรรม Xe-LP จำนวน 4 ชิป แต่ละชิปวางคู่กับแรม DDR4 ขนาด 8GB เชื่อมต่อด้วยไปป์ไลน์ขนาด 128 บิต การ์ดมีความยาว 3/4 ของความยาวเต็ม เชื่อมต่อด้วย PCIe 3.0 x16
ในงานเปิดตัว Intel Iris Xe Max เมื่อวันก่อน อินเทลให้ข้อมูลสั้นๆ ว่าเราจะเห็นจีพียู DG1 ตัวเดียวกันเป็นเวอร์ชันเดสก์ท็อปด้วย (ยังไม่ยืนยันว่าจะใช้แบรนด์ Iris Xe Max ด้วยหรือไม่)
ข้อมูลที่อินเทลยืนยันคือ มีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายหนึ่งที่ยังไม่เปิดเผยชื่อ เซ็นสัญญาทำการ์ด DG1 สำหรับเดสก์ท็อปแล้ว อย่างไรก็ตาม การ์ดตัวนี้จะยังไม่ขายปลีกให้ผู้บริโภคทั่วไป แต่จะขายให้กับ OEM นำไปใช้ในคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปแบบมีแบรนด์เท่านั้น
อินเทลเปิดตัวชิปกราฟิกแยก Iris Xe MAX นับเป็นชิปกราฟิกแยกตัวแรกหลังบริษัทพยายามพัฒนาชิปกราฟิกมานาน โดยชิปนี้ใช้สถาปัตยกรรม Xe-LP ที่พัฒนาจากวงจรเปิดที่อยู่ใน Intel Core รุ่นที่ 11
อินเทลวางตัวให้ Iris Xe Max ทำตลาดสำหรับโน้ตบุ๊กกลุ่มบางเบาต่อไป โดยโน้ตบุ๊กที่ใช้ Intel Core รุ่นที่ 11 ก็มีวงจรกราฟิก Xe-LP มาในตัวอยู่แล้ว แต่การเปิดตัวครั้งนี้อินเทลก็เสนอเทคโนโลยี Deep Link สำหรับกระจายโหลดออกไป โดยแอปพลิเคชั่นที่รองรับ Deep Link ต้องพัฒนาโดยอาศัยชุด SDK ของอินเทลเอง
ตัวชิป Iris Xe MAX จะผลิตด้วยเทคโนโลยี 10nm SuperFin อินเทลระบุว่าประสิทธิภาพโดยรวมเพียงพอสำหรับเล่นเกมยอดนิยมที่ความละเอียด 1080p ได้
อินเทลประกาศเข้าซื้อกิจการ SigOpt สตาร์ทอัพที่พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับปรับแต่งการสร้างตัวแบบ และระบบทดสอบของ AI โดยอินเทลกล่าวว่าจะนำเทคโนโลยีของ SigOpt มาใช้กับทั้งผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ด้าน AI ของอินเทล ตลอดจนโซลูชันซอฟต์แวร์สำหรับนักพัฒนา
หลังการควบรวมกิจการเสร็จสิ้น ซีอีโอ Scott Clark และซีทีโอ Patrick Hayes ของ SigOpt จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานด้าน Machine Learning แผนก Architecture, Graphics and Software (IAGS) ของอินเทล
ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า แต่มีข้อมูลเบื้องต้นว่า SigOpt มีลูกค้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่หลายราย ตัวผลิตภัณฑ์ยังมีสถานะเป็นเบต้า ได้รับเงินทุนจากผู้ลงทุนอาทิ In-Q-Tel, Andreessen Horowitz และ Y Combinator โดยวงเงินรวมน้อยกว่า 10 ล้านดอลลาร์
ในงาน The New XPS Virtual Launch วันนี้ Dell เปิดราคาโน้ตบุ๊กตระกูล XPS รุ่นใหม่ปลายปี 2020 ที่วางจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว ทั้งหมด 4 รุ่น คือ XPS 13, XPS 13 2-in-1, XPS 15 และ XPS 17 รายละเอียดราคาดังนี้
อินเทลเปิดตัวจีพียูแบบ discrete (dGPU) รุ่นแรกของตัวเองมาแบบเงียบๆ ในชื่อทางการค้าว่า Iris Xe Max ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแรงขึ้นจาก Iris Xe รุ่นมาตรฐานที่เป็นจีพียูออนบอร์ด (iGPU) ของ Tiger Lake
ก่อนหน้านี้ อินเทลเคยประกาศทำจีพียูแยกไว้อยู่แล้ว แต่ใช้ชื่อรหัสว่า DG1 โดยยังมีเฉพาะรุ่นสำหรับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM ใช้งานในโน้ตบุ๊กเท่านั้น ส่วนโน้ตบุ๊กรุ่นแรกที่ใช้ Iris Xe Max คือ Acer Swift 3x ที่เปิดตัวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
AMD เปิดตัวซีพียู Ryzen 5000 ที่ใช้แกน Zen 3 ไปแล้ว สินค้าจะเริ่มวางขายจริง 5 พฤศจิกายน ตอนนี้จึงเริ่มมีผลทดสอบเบนช์มาร์คหลุดออกมาบ้างแล้ว
ข้อมูลที่ออกมาคือเบนช์มาร์ค PassMark CPU Mark ที่ซีพียูระดับกลางอย่าง Ryzen 5 5600X ทำคะแนนทดสอบแบบเธร็ดเดียวไว้ที่ 3,495 คะแนน เอาชนะซีพียูของอินเทลได้ทุกตัว แถมทิ้งห่างซีพียูที่แรงที่สุดของอินเทลในตอนนี้คือ Core i9-10900K ที่ทำไว้ 3,175 คะแนน หากเทียบกับซีพียู Ryzen รุ่นก่อนหน้า ตัวที่ดีที่สุดคือ Ryzen 7 3800XT ทำไว้ 2,888 คะแนน
อินเทลรายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2020 มีรายได้รวม 18,333 ล้านดอลลาร์ ลดลง 4% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน โดยรายได้จากกลุ่มธุรกิจ Data-centric ลดลง 10% ส่วน PC-centric เพิ่มขึ้น 1% และมีกำไรสุทธิ 4,276 ล้านดอลลาร์
อินเทลระบุว่ารายได้กลุ่ม Data-centric ที่ลดลงมาก มาจากกลุ่มลูกค้าองค์และหน่วยงานรัฐที่ชะลอการใช้จ่าย เฉพาะกลุ่มนี้รายได้ลดลงถึง 47% ส่วนกลุ่ม PC-centric รายได้เพิ่มขึ้นจากยอดขายโน้ตบุ๊ก
ที่มา: อินเทล
SK Hynix ผู้ผลิตชิปเมมโมรีจากเกาหลีใต้ประกาศการซื้อธุรกิจชิปเมมโมรี NAND ของ Intel คิดเป็นมูลค่าราว 9 พันล้านเหรียญ ซึ่งดีลนี้รวมถึงธุรกิจสตอเรจและโรงงานผลิตในจีนด้วย ยกเว้นแค่ส่วนชิป Optane (via Bloomberg)
นักวิเคราะห์มองว่าดีลนี้ดีกับทั้ง SK Hynix และคู่แข่งรายอื่น ๆ ในแง่ว่าสร้างความเสถียรในอุตสาหกรรม NAND จากการลดการลงทุนที่ไม่จำเป็นลง
ดีลนี้จะทำให้ SK Hynix เป็นผู้ผลิตชิป NAND เบอร์ 2 ของโลกทันทีโดยมีส่วนแบ่งที่รวมจาก Intel เข้ามาราว 23.2% ตามหลังซัมซุงที่ส่วนแบ่งตลาดราว 31.4%
อินเทลเปิดตัว Core 11th Gen "Tiger Lake" ซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กไปเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปคือซีพียู 11th Gen สำหรับฝั่งเดสก์ท็อปบ้าง
ล่าสุดอินเทลยืนยันแล้วว่าจะเปิดตัว Core 11th Gen "Rocket Lake" ในช่วงไตรมาส 1 ของปีหน้า 2021 โดยระบุข้อมูลแค่ว่าจะรองรับ PCIe 4.0 เท่านั้น กลุ่มเป้าหมายหลักของซีพียูชุดนี้คือเกมเมอร์ และอินเทลก็ระบุว่าจะทำงานกับสตูดิโอเกมหลายๆ แห่งอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ประสิทธิภาพออกมาดีที่สุดด้วย
สิ่งที่น่าจับตาคือ AMD จะเปิดตัว Ryzen 4000 รุ่นเดสก์ท็อปคืนนี้ตามเวลาบ้านเรา ซึ่งจะทำให้ AMD มีแต้มต่อในฝั่งเดสก์ท็อปนำหน้าอินเทลเป็นเวลาหลายเดือน
ในแผนการใหญ่ของอินเทลเรื่องจีพียู Xe นอกจากเรื่องประสิทธิภาพต้องต่อกรกับคู่แข่งให้ได้แล้ว ยุทธศาสตร์สำคัญอีกข้อคือการสร้าง ecosystem ขนาดใหญ่พอที่นักพัฒนาให้ความสนใจ ทำซอฟต์แวร์ให้รองรับ
บริษัทซอฟต์แวร์ความปลอดภัย McAfee ยื่นเอกสารต่อ ก.ล.ต. สหรัฐ เพื่อเตรียมขายหุ้น IPO กลับสู่ตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง โดยจะขายในตลาด Nasdaq และใช้ตัวย่อว่า "MCFE"
McAfee เคยอยู่ในตลาดหลักทรัพย์มาแล้วครั้งหนึ่ง จนโดนอินเทลซื้อกิจการในปี 2010 เลยออกจากตลาดหลักทรัพย์ไป แต่อินเทลก็ขายหุ้น 51% ของบริษัทออกในปี 2016 ให้กับบริษัทลงทุน TPG Capital ทำให้ McAfee กลายเป็นบริษัทอิสระ (ที่อินเทลถือหุ้นอยู่ 49%) และเตรียมกลับเข้าตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง
อินเทลเปิดตัวซีพียูสำหรับงานสาย IoT โดยมาพร้อมหน้าทุกระดับแบรนด์ ตั้งแต่ Core 11th Gen (Tiger Lake), Atom, Pentium, Celeron โดยใช้รหัสรุ่นห้อยท้ายตัว E ให้เห็นความแตกต่างจากรุ่นปกติ
ซีพียูทั้งสามรุ่นคือ Atom x6000E, Pentium, Celeron มีฟีเจอร์ใหม่ Programmable Services Engine (Intel PSE) มันคือไมโครคอนโทรลเลอร์ ARM Cortex-M7 ที่ช่วยแบ่งโหลดงานบางอย่าง (โดยเฉพาะงานกินพลังงานต่ำ) ออกจากซีพียูเพื่อประหยัดพลังงาน การที่มีหน่วยประมวลผลแยกอีกตัวยังรองรับการรีโมทเข้ามาจัดการ โดยไม่ต้องยุ่งกับซีพียูหลักได้ด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์หาก OS ที่รันบนซีพียูหลักค้างหรือไม่ตอบสนอง
สำนักข่าวจีนรายงานอ้างแหล่งข่าวไม่ระบุตัวตน ระบุว่าอินเทลได้ใบอนุญาตขายซีพียูให้กับหัวเว่ยได้ต่อไป ทำให้หัวเว่ยสามารถพัฒนาโน้ตบุ๊กต่อไปได้
แม้ว่าจะได้ชิปจากอินเทล แต่กฎห้ามบริษัทนอกสหรัฐฯ ขายชิปให้หัวเว่ยก็เพิ่งมีผลบังคับเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และบริษัทผู้ผลิตชิปอื่นๆ ก็เข้าคิวรอใบอนุญาตจากสหรัฐฯ กันอยู่ ไม่ว่าจะเป็น Macronix, Micron, SK Hynix, Qualcomm, Samsung, และ SMIC ไปจนถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีสูงอื่นๆ ที่ไม่ใช้แค่ชิป เช่น เลนส์กล้อง หรือแผงวงจร หากบริษัทเหล่านี้ไม่ได้รับใบอนุญาตแบบเดียวกับอินเทลก็น่าจะกระทบธุรกิจโดยรวมอย่างหนักอยู่ดี
สัปดาห์ที่แล้ว เว็บไซต์ฮาร์ดแวร์ต่างประเทศหลายรายเริ่มได้ Intel Core 11th Gen รหัส "Tiger Lake" ไปทดสอบกันแล้ว จุดที่น่าสนใจคือตัวจีพียู Iris Xe (อ่านว่า "เอ็กซ์อี") ที่อิงจากสถาปัตยกรรมใหม่ Xe-LP ให้ผลการทดสอบออกมาดี ชนะจีพียูแบบออนบอร์ดของคู่แข่งคือ Radeon Vega ใน Ryzen ซีรีส์ 4000U ได้แบบทิ้งห่าง
หน่วยประมวลผลรุ่นที่นำไปทดสอบคือ Core i7-1185G7 ซึ่งเป็นรุ่นท็อปสุดของ Tiger Lake ที่เปิดตัวมาในขณะนี้ ตัวจีพียู Iris Xe มีคอร์ (execution unit หรือ EU) จำนวน 96 คอร์ โดยโน้ตบุ๊กที่ทดสอบเป็นโน้ตบุ๊กตัวอย่าง (reference design) ของอินเทลเอง ยังไม่ใช่สินค้าที่วางขายจริง
หลังเปิดตัว Intel Gen 11th ไปเมื่อคืนนี้ ASUS ก็ประกาศเปิดตัวโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ที่มาพร้อม Intel Gen 11th คือ ZenBook Flip S, Zenbook Flip 13, Zenbook S, Zenbook 14 Ultralight, Zenbook Pro 15 และ Expertbook B9