Berkshire Hathaway บริษัทการลงทุนของมหาเศรษฐีชื่อดัง Warren Buffett รายงานการถือครองหุ้นในไตรมาสที่ 1 ปี 2023 พบว่าได้ขายหุ้น TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของไต้หวัน ออกไปทั้งหมด หลังจากบริษัทรายงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่าได้ขายหุ้นออกไปจำนวนหนึ่ง
บริษัทของ Buffett เริ่มรายงานการซื้อหุ้น TSMC ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 เมื่อปีที่แล้ว โดยในเวลานั้นซื้อหุ้น TSMC ไปประมาณ 4,100 ล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ Buffett พูดถึงหุ้น TSMC ในการประชุมผู้ถือหุ้น Berkshire Hathaway ประจำปี บอกว่า TSMC นั้นเป็นบริษัทที่โดดเด่นมาก แต่ตอนนี้เขารู้สึกสบายใจที่จะลงทุนในบริษัทญี่ปุ่นมากกว่าไต้หวัน เนื่องจากประเด็นทางการค้าระหว่างอเมริกากับจีน
Google Cloud เข้าลงทุนใน Anthropic บริษัทสตาร์ตอัพด้าน AI ที่ก่อตั้งเมื่อปี 2021 โดยอดีตพนักงานของ OpenAI หลายคน ซีอีโอ Dario Amodei ยังเป็นหัวหน้าทีมพัฒนา GPT-2, GPT-3 และดูแลงานสายวิจัยของ OpenAI อีกด้วย
Anthropic นิยามตัวเองว่าเป็น AI safety and research company มีเป้าหมายพัฒนา AI ที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ แก้ปัญหาคำตอบมั่วๆ ของ AI ที่อาจสร้างอันตรายให้ผู้ใช้งาน ปัจจุบันบริษัทมีงานวิจัยด้านนี้ตีพิมพ์ออกมาแล้วชิ้น (รายชื่อ)
เว็บ Semafor อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง เผยว่าไมโครซอฟท์กำลังเจรจาเพื่อขอลงทุนใน OpenAI บริษัทผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์แชทบ็อต ChatGPT ด้วยวงเงินถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเงินลงทุนนี้คิดที่มูลค่ากิจการของ OpenAI 29,000 ล้านดอลลาร์ (ตามข่าวก่อนหน้า) ทั้งนี้หากดีลดังกล่าวเจรจาลงตัว คาดว่าจะประกาศเป็นทางการได้ภายในปีนี้
เว็บข่าว Semafor รายงานว่า Jared Birchall ผู้จัดการด้านการเงินของครอบครัว Elon Musk ได้สอบถามไปยังนักลงทุนบางรายว่าสนใจซื้อหุ้น Twitter บ้างหรือไม่ โดยเสนอขายหุ้นในราคา 54.20 ดอลลาร์ เท่ากับที่ Elon Musk ซื้อหุ้นจากนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
Ross Gerber หนึ่งในนักลงทุนที่ร่วมลงขันซื้อ Twitter กับ Elon Musk (รอบแรกลงเงินไม่ถึง 1 ล้านดอลลาร์) ยืนยันว่าได้รับการติดต่อเข้ามาจริงๆ ที่ราคาหุ้นดังกล่าว ซึ่งเขาบอกว่าขอรอดูความชัดเจนก่อนว่า Elon จะพา Twitter ไปทางไหน
ในข้อเสนอซื้อ Twitter มูลค่า 44 พันล้านดอลลาร์นั้นมีส่วนที่เป็นเงินกู้ด้วย 13 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจะต้องจ่ายดอกเบี้ยปีละประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์ มากกว่าเงินสดที่ Twitter ทำได้ในแต่ละปีด้วยซ้ำ
Berkshire Hathaway บริษัทด้านการลงทุนของมหาเศรษฐีนักลงทุนชื่อดัง Warren Buffett อัพเดตการถือครองหุ้นประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2022 มีประเด็นน่าสนใจคือบริษัทได้ซื้อ ADR หรือใบรับฝากหุ้นของ TSMC บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของไต้หวัน จำนวน 60.1 ล้านหุ้น มูลค่าราว 4,100 ล้านดอลลาร์ ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา
ทั้งนี้ Berkshire ไม่ได้ให้เหตุผลว่าทำไมจึงซื้อหุ้น TSMC แต่ก็สามารถเดาได้จากบทบาทของบริษัท ต่อวงการการผลิตชิปในช่วงที่ผ่านมา และความจำเป็นของชิปที่มีผลต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น
Sequoia Capital บริษัทลงทุนชื่อดังที่มีชื่อเสียงด้านการลงทุนสายเทคโนโลยี เปิดเผยจดหมายที่ส่งให้ผู้ร่วมลงทุน (limited partner) ว่า Sequioa มีการลงทุนในบริษัทคริปโต FTX สองก้อน ก้อนแรกผ่านกองทุน Global Growth Fund III (GGFIII) เป็นเงิน 150 ล้านดอลลาร์ ก้อนที่สองผ่านบริษัทในเครือ SCGE Fund อีก 63.5 ล้านดอลลาร์ เงินรวม 213.5 ล้านดอลลาร์ตอนนี้ถูกตีมูลค่าเป็นศูนย์แล้ว
Sequoia บอกว่าลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว ซึ่งมีทั้งได้ผลเป็นบวกมากๆ และลบมากๆ ซึ่งกรณีของ FTX ถึงแม้ตีมูลค่าเป็นศูนย์ แต่ก็มีผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุนของ Sequioa น้อยมาก คิดเป็น 3% ของกองทุน GGFIII และ 1% ของกองทุน SCGE อย่างไรก็ตาม บริษัทระบุว่าจะทำการบ้านให้มากขึ้นต่อไป
Lionel Messi ยอดนักเตะชาวอาร์เจนตินาได้ลงทุนเปิดบริษัทใหม่ชื่อ Play Time ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนที่ทำธุรกิจด้านสื่อกีฬาและเทคโนโลยี
Play Time เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโดยการลงทุนกับสตาร์ทอัพและบริษัทอื่นอีกต่อหนึ่ง โดยนอกจาก Messi แล้วยังมีผู้ร่วมลงทุนอีกคนคือ Razmig Hovaghimian ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและ CEO ของบริการสตรีมมิ่ง Viki และมีตำแหน่งบริหารใน Rakuten ด้วยอีกที่หนึ่ง ทั้งนี้บริษัท Play Time ที่ก่อตั้งใหม่นี้มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ San Francisco ประเทศสหรัฐอเมริกา
บริษัท อมรินทร์บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง ประกาศเข้าลงทุนในบริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด คิดเป็น 51% ของหุ้นทั้งหมด โดยจะลงทุนเป็นมูลค่ารวมไม่เกิน 204 ล้านบาท
เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ เป็นเจ้าของเว็บไซต์ Dek-D.com ที่ดำเนินการมาแล้วกว่า 23 ปี และยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และธุรกิจคอนเทนต์ สื่อโฆษณา
กลุ่มอมรินทร์มองว่าการลงทุนนี้ จะสามารถนำมาต่อยอดกับธุรกิจของกลุ่มบริษัทได้เป็นอย่างดี คาดว่าดีลทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในเดือนมิถุนายน 2567
ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ธนาคารไทยพาณิชย์เปิดตัว InnovestX แอปลงทุนตัวใหม่แทนที่ SCB Easy Invest ของเดิม (หลังเปลี่ยนชื่อ บล. จาก SCBS เป็น InnovestX ไปก่อนหน้านี้) โดยชูความเป็น "Super App" ด้านการลงทุน แอปเดียว รองรับทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุน ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงเชื่อมต่อกับ exchange อีก 3 เจ้าคือ FTX, Coinbase และ Bitkub
Sinch บริษัทจากสวีเดน ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มบนคลาวด์ สำหรับส่ง SMS, อีเมล และสื่อรูปแบบอื่น ประเภทเดียวกับ Twilio เป็นบริษัทล่าสุดที่ SoftBank ตัดสินใจขายหุ้นออกทั้งหมด
โดย Sinch ระบุว่า SoftBank ได้ตกลงจะขายหุ้นทั้งหมดที่เหลืออยู่ 5.01% ให้กับ Johan Hedberg ซีอีโอชั่วคราวและเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Sinch และบริษัทลงทุน Neqst D2 ของ Erik Froberg ประธานบอร์ดบริษัท
อินเทลประกาศลงทุนในบริษัทด้านเซมิคอนดักเตอร์ 3 บริษัท เป็นชุดแรกในการลงทุนพันล้านดอลลาร์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมชิปที่ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยบริษัทหนึ่งในสามบริษัทคือ SiFive ผู้พัฒนาซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V
นอกจาก SiFive แล้ว อินเทลยังลงทุนในบริษัท Astera ผู้พัฒนาระบบเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับหน่วยความจำ ทำให้เร่งความเร็วงานบางประเภทเช่นงานปัญญาประดิษฐ์ และบริษัท Movellus ผู้พัฒนาระบบกระจายสัญญาณนาฬิกาในชิป ทำให้ชิปโดยรวมมีประสิทธิภาพดีขึ้น และประหยัดพลังงานลง
Kahoot! แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการเรียนรู้ ประกาศว่าบริษัทด้านการลงทุน General Atlantic จะเข้ามาเป็นผู้ลงทุนในบริษัทรายใหม่ ผ่านการซื้อหุ้นทั้งหมดที่ SoftBank ถืออยู่คิดเป็น 15% ของหุ้น Kahoot! ทั้งหมด และทำให้ General Atlantic กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของบริษัท
โดยดีลนี้ Kahoot! ไม่ได้ออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่แต่อย่างใด เป็นการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้น ซึ่งผลคือ SoftBank ที่ลงทุนใน Kahoot! ตั้งแต่ปี 2020 น่าจะขายหุ้นออกมาแบบขาดทุน โดยปัจจุบัน Kahoot! อยู่ในตลาดหุ้น Oslo ประเทศนอร์เวย์
มีรายงานจาก Bloomberg ว่า SoftBank เตรียมปลดพนักงานส่วนของกองทุน Vision Fund ออก 20% หลักจากผลประกอบการกองทุนในครึ่งแรกของปีขาดทุนสูงสุดในประวัติศาสตร์บริษัท ซึ่งส่วนของกองทุน Vision Fund มีพนักงานราว 500 คน พนักงานที่ได้รับผลกระทบจึงมีประมาณ 100 คน
DiDi เป็นบริษัทที่มีผลการลงทุนขาดทุนมากที่สุดในพอร์ตของ Vision Fund ตอนนี้ ซึ่งทำให้ซีอีโอ Masayoshi Son ออกมาเปิดเผยก่อนหน้านี้ ว่าบริษัทจะเข้มงวดและคัดเลือกบริษัทที่ลงทุนมากขึ้นกว่าเดิม
ตัวอย่างการตัดสินใจล่าสุดของ SoftBank ที่น่าจะสะท้อนแนวคิดปัจจุบัน คือการไม่ลงทุนเพิ่ม และขายหุ้นทั้งหมดของ Cruise สตาร์ทอัพรถยนต์ไร้คนขับของ GM ซึ่งผู้ซื้อหุ้นส่วนนี้ไปก็คือ GM นั่นเอง
Toyota ประกาศแผนการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าใน 2 ประเทศรวมเป็นเงิน 5.6 พันล้านเหรียญ
เงินส่วนแรก 2.5 พันล้านเหรียญ เป็นการขยายกำลังการผลิตแบตเตอรี่ของโรงงานใน North Carolina ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง อีกส่วนหนึ่งราว 3 พันล้านเหรียญ เป็นการลงทุนในประเทศญี่ปุ่นโดยหนึ่งในนั้นเป็นการลงทุนในโรงงานของ Prime Planet Energy & Solutions ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Toyota และ Panasonic
Tencent และ Sony เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ FromSoftware สตูดิโอผู้สร้างเกม Elden Ring, Sekiro, Bloodbourne, Dark Souls
บริษัทแม่ของ FromSoftware คือ Kadokawa กลุ่มทุนสื่อยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นที่ทำทั้งสิ่งพิมพ์และภาพยนตร์ หลังการเพิ่มทุนแล้ว Kadokawa ยังถือหุ้นใหญ่ 69.66% ใน FromSoftware, Tencent ถือ 16.25% และ Sony ถือ 14.09%
Tencent จะถือหุ้นผ่านบริษัทลูก Sixjoy Hong Kong Limited และฝั่ง Sony เป็น Sony Interactive Entertainment Inc. บริษัทแม่ของ PlayStation
การออกหุ้นเพิ่มทุนมูลค่า 36,399,550,000 เยน (ราว 9.6 พันล้านบาท) เงินส่วนนี้จะถูกนำไปใช้ขยายธุรกิจของ FromSoftware ต่อไป
CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในโลกประกาศแผนลงทุนสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขนาดกำลังการผลิต 100 GWh ในประเทศฮังการีเพื่อป้อนแบตเตอรี่ให้ลูกค้าในยุโรป
โครงการสร้างโรงงานแบตเตอรี่แห่งใหม่นี้ใช้เงินลงทุน 7.34 พันล้านยูโร โดยจะก่อสร้างบนพื้นที่ 221,000 ตารางเมตร (ประมาณ 140 ไร่) ในเขตอุตสาหกรรม Southern Industrial Park เมือง Debrecen ทางตะวันออกของฮังการี โดยงานก่อสร้างจะเริ่มภายในปีนี้ ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ออกจากโรงงานนี้จะถูกป้อนให้กับลูกค้ากลุ่มผู้ผลิตรถยนต์หลายราย ทั้ง Mercedes-Benz, BMW, Stellantis และ Volkswagen
SoftBank รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ตามปีการเงินบริษัท 2022 สิ้นสุดเดือนมิถุนายน ขาดทุน 3.16 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการขาดทุนมากที่สุดในประวัติศาสตร์บริษัท จากสองปัจจัยคือภาพรวมตลาดหุ้น ทำให้บริษัทที่ SoftBank มีราคาหุ้นปรับลดลง ตลอดจนปัญหาเงินเยนอ่อนค่า ทั้งนี้ส่วนของกองทุน SoftBank Vision Funds ขาดทุนรวม 2.92 ล้านล้านเยน
Klarna สตาร์ตอัพด้านการเงินแนวผ่อนชำระ (Buy Now Pay Later หรือ BNPL) จากสวีเดน ซึ่งเคยครองแชมป์สตาร์ตอัพที่มูลค่ากิจการสูงที่สุดในยุโรป 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 1.7 ล้านล้านบาท) ระดมทุนรอบใหม่ที่มูลค่าบริษัทลดลงเหลือเพียง 6.7 พันล้านดอลลาร์ (2.4 แสนล้านบาท) หรือลดลงเกือบ 7 เท่า
Klarna ระดมเงินก้อนใหม่ 800 ล้านดอลลาร์ บริษัทบอกว่าเป็นการระดมทุนก้อนใหญ่ในช่วงเวลาที่ตลาดทุนตกลงเยอะที่สุดในรอบ 50 ปี และบอกว่า Klarna ยังรักษามูลค่าของบริษัทได้ดีกว่าบริษัทระดับเดียวกัน ที่มูลค่าหายไปถึง 80-90%
Savvy Gaming Group บริษัทลงทุนด้านเกมของกองทุน Public Investment Fund (PIF) ของรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ประกาศเข้าลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ ซื้อหุ้น 8.1% ของ Embracer Group บริษัทเกมจากสวีเดนที่กำลังมาแรงจากการควบกิจการสตูดิโอเกมจำนวนมาก
Public Investment Fund (PIF) กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (sovereign wealth fund) ของประเทศซาอุดีอาระเบีย เข้าถือหุ้นในนินเทนโด 5% ถือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 5 ของบริษัทแล้ว
PIF ถือเป็นกองทุนความมั่งคั่งที่ใหญ่ที่สุดกองหนึ่งของโลก และกระจายลงทุนในบริษัทจำนวนมากทั่วโลก ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงคือ เข้าลงทุนกับกองทุน SoftBank Vision Fund และการซื้อสโมสรฟุตบอล Newcastle United ของอังกฤษ
SoftBank Group รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/2022 ซึ่งเป็นการปิดปีงบประมาณ FY 21 ด้วยพอดี ถึงแม้รายได้เพิ่มเป็น 6.2 ล้านล้านเยน (ประมาณ 1.67 ล้านล้านบาท) แต่กลับขาดทุนเป็นประวัติการณ์ 1.46 ล้านล้านเยน (ราว 4 แสนล้านบาท)
เหตุผลสำคัญมาจากกองทุน SoftBank Vision Fund ที่ขาดทุนยับเยิน 3.73 ล้านล้านเยน (ราว 1 ล้านล้านบาท) จากสภาพตลาดหุ้นทั่วโลกที่ตกหนักตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมา เลยลากให้ธุรกิจทั้งเครือ (ที่ส่วนอื่นมีกำไรขั้นต้น 3.26 ล้านล้านเยน ราว 8.8 แสนล้านบาท) ขาดทุนตามไปด้วย
Fidelity บริษัทหลักทรัพย์รายใหญ่ของสหรัฐฯ เปิดตัวกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 401(k) ในชื่อ Fidelity Workplace Digital Assets Account เปิดทางให้พนักงานของบริษัทที่เลือกใช้แผนนี้สามารถลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเช่นบิตคอยน์ได้
ตอนนี้กองทุนอยู่ระหว่างการจัดตั้ง แต่ก็มีบริษัท MicroStrategy ประกาศเป็นลูกค้าแล้วรายแรก ทำให้เมื่อเปิดตัวพนักงานของ MicroStrategy จะสามารถเลือกโยกเงินลงทุนไปสู่สินทรัพย์ดิจิทัลได้ ขณะที่ Newfront บริษัทให้คำปรึกษาการลงทุนระบุว่าบริษัทต่างๆ เริ่มสนใจเพิ่มทางเลือกให้พนักงานสามารถลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ
Epic Games บริษัทผู้สร้าง Fortnite ประกาศรับเงินลงทุนเพิ่มรอบใหม่ถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ จากโซนี่ ซึ่งเป็นนักลงทุนเดิมก่อนหน้านี้ ร่วมด้วย KIRKBI บริษัทโฮลดิ้งการลงทุนของกลุ่ม LEGO โดยแต่ละฝ่ายจะลงทุนรายละ 1,000 ล้านดอลลาร์ หลังดีลนี้เสร็จสิ้น มูลค่ากิจการของ Epic Games จะอยู่ที่ 31,500 ล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ Epic Games เพิ่งประกาศความร่วมมือกับ LEGO ไป
เงินลงทุนรอบใหม่นี้จะนำไปใช้พัฒนาและเสริมความแข็งแกร่งจากแต่ละฝ่าย สร้างประสบการณ์ความบันเทิง เครื่องมือสำหรับนักสร้างสรรค์ เป็นความบันเทิงดิจิทัลในรูปแบบ metaverse ใหม่ที่เป็นอนาคต
Berkshire Hathaway บริษัทด้านการลงทุนของ Warren Buffett ได้ยื่นเอกสารเปิดเผยข้อมูล ว่าบริษัทได้ซื้อหุ้นของ HP Inc. เกือบ 121 ล้านหุ้น มูลค่ารวมตามราคาหุ้นล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 4,200 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 11% ของหุ้นทั้งหมด ทำให้ Berkshire เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับที่ 1 ของบริษัท
HP Inc. เป็นบริษัทที่คุ้นเคยกันดีว่าอยู่ในธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และพรินเตอร์มายาวนาน บริษัทแยกธุรกิจส่วนลูกค้าองค์กรออกไปเป็นอีกบริษัทคือ HPE ในปี 2015
อินเทลประกาศลงทุนชุดใหญ่ในสหภาพยุโรป โดยแผนสิบปีจะมีการลงทุน 80,000 ล้านยูโร หรือเกือบ 3 ล้านล้านบาท นับรวมการลงทุนทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา, โรงงานในสายการผลิตต่างๆ, ศูนย์ออกแบบชิป, และโรงงานผลิตชิป
แต่ในบรรดาแผนที่ประกาศมาทั้งหมดนั้น ส่วนที่ชัดเจนที่สุดคือโรงงานผลิตชิปที่ระบุว่าทันสมัยที่สุด (first-of-their-kind) สองโรงงานในเมือง Magdeburg ประเทศเยอรมัน โรงงานทั้งสองแห่งนี้จะผลิตชิปในระดับอังสตรอมที่อินเทลประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ตอนนี้โครงการอยู่ระหว่างการวางแผนและคาดว่าจะเริ่มลงมือก่อสร้างได้ภายในครึ่งแรกของปี 2023 คาดว่าจะเริ่มเดินสายการผลิตจริงปี 2027 มูลค่า 17,000 ล้านยูโร หรือกว่า 6 แสนล้านบาท