Apple iOS
Mark Gurman แห่งสำนักข่าว Bloomberg ซึ่งเป็นอีกคนที่รายงานข่าวลือแอปเปิลล่วงหน้าได้ค่อนข้างแม่น ออกรายงานคาดการณ์สิ่งที่แอปเปิลจะประกาศในงาน WWDC 2018 ที่จะมีขึ้นสัปดาห์หน้า เอาไว้ดังนี้
แอปเปิลออกอัพเดตซอฟต์แวร์ชุดใหญ่ โดยคราวนี้เน้นไปที่รายการเกี่ยวข้องกับ HomePod มีรายละเอียดดังนี้
สำหรับ iOS สามารถอัพเดตแบบ OTA ได้เลยที่ Settings > General > Software Update
จากประเด็นที่ Steam ออกมาบอกว่าแอปแคสต์เกม Steam Link ถูกปฏิเสธไม่ให้ขึ้น App Store ของแอปเปิล ก็มีคนอีเมลไปสอบถามเรื่องนี้กับ Phil Schiller รองประธานฝ่ายการตลาดของแอปเปิล ซึ่งเขาชี้แจงมาว่าเป็นเรื่องจริง
Schiller อธิบายว่าทีมตรวจสอบแอปพบว่าแอปดังกล่าว ละเมิดข้อกำหนดหลายอย่าง อาทิ เนื้อหาที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้นมา (UGC), การซื้อของภายในแอพ (In-App Purchase) และอีกหลายข้อ ซึ่งแอปเปิลกำลังพูดคุยกับ Valve เพื่อหาทางออกให้แอปนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของ App Store
ถึงแม้ Schiller จะไม่ได้อธิบายปัญหาทั้งหมด แต่ก็พอจะทำให้เข้าใจได้ว่าเรื่องขัดแย้งทางธุรกิจ ก็น่าจะเป็นการซื้อสินค้าภายในแอปนั่นเอง
ถึงแม้ Steam จะประกาศเปิดตัวก่อนหน้านี้ว่าแอป Steam Link ที่ใช้แคสต์เกมจากพีซีไปบนสมาร์ทโฟน จะมีให้ใช้งานบน iOS ด้วย (ตอนนี้มี Android เวอร์ชันเบต้า) แต่ล่าสุด Steam แถลงว่าแอปเปิลได้ปฏิเสธที่จะให้แอปดังกล่าวขึ้น App Store แล้ว
Steam อธิบายลำดับเหตุการณ์ว่า ในวันที่ 7 พฤษภาคม แอปเปิลได้อนุมัติให้แอป Steam Link พร้อมดาวน์โหลด ซึ่ง Valve ก็แถลงข่าวในวันที่ 9 พฤษภาคม แต่จากนั้นแอปเปิลก็แจ้งถอดแอป โดยให้เหตุผลว่าแอปนี้มีข้อขัดแย้งในทางธุรกิจ ซึ่งเป็นไปตามกฎของ App Store ส่วนที่ตอนแรกแอปผ่านการตรวจสอบ ก็เพราะทีมเดิมนั้นไม่ได้คิดถึงประเด็นนี้
Google Maps เพิ่มลูกเล่นเปลี่ยนไอคอนลูกศรที่แทนตำแหน่งรถยนต์ของตัวเอง เป็นไอคอนรถยนต์หลากชนิดหลากสีสัน ทั้งรถซีดาน, SUV, รถกระบะ เป็นต้น
ผู้ใช้กดที่ลูกศร ระบบจะแสดงแถบไอคอนรถต่างๆ ให้เลือก สร้างสีสันขณะใช้ Google Maps นำทาง ตอนนี้ใช้ได้เฉพาะอุปกรณ์ iOS และทาง Google ก็ไม่ได้ระบุว่าจะใช้ได้บนแอนดรอยด์หรือไม่ หรือใช้ได้เมื่อไร
ฟีเจอร์ใหม่อย่างหนึ่งของ Windows 10 April 2018 Update ตัวล่าสุดคือ Nearby Share ที่เทียบได้กับ AirDrop ของฝั่งแอปเปิล ตอนนี้ Nearby Share ยังรองรับเฉพาะการแชร์ระหว่างอุปกรณ์ Windows ด้วยกันเท่านั้น
แต่ไมโครซอฟท์กำลังจะเพิ่ม Nearby Share ให้รองรับอุปกรณ์ Android และ iOS ด้วย โดยใช้ Bluetooth ในการตรวจหาว่ามีพีซีเครื่องใดบ้างอยู่ใกล้ๆ แล้วค่อยส่งข้อมูลผ่าน Bluetooth หรือ Wi-Fi อีกทีหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ไมโครซอฟท์ยังไม่ประกาศว่าจะเปิดฟีเจอร์นี้เมื่อไร
ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ Windows 10 โดยฟีเจอร์ Timeline ของ Windows 10 April 2018 Update จะซิงก์กับอุปกรณ์ iOS/Android ได้ด้วย ช่วยให้ผู้ใช้เห็นประวัติการทำงานแบบข้ามอุปกรณ์
วิธีการต่อเชื่อมมือถือเข้ากับ Windows 10 จะต่างกันอยู่บ้าง โดยฝั่ง iOS จะทำผ่านแอพ Microsoft Edge แต่ของ Android จะเป็นแอพ Microsoft Launcher แทน (ต้องอัพเดตเป็นเวอร์ชันใหม่ล่าสุดด้วย) จากนั้นเราจะเห็นประวัติการท่องเว็บบนมือถือ โผล่ขึ้นมาใน Timeline บนพีซี
Tim Cook ซีอีโอแอปเปิล ให้สัมภาษณ์กับ The Sydney Morning Herald ถึงประเด็นที่มีข่าวลือว่า macOS จะรวมเข้ากับ iOS บน iPad โดยเขามองว่าการทำแบบนี้ เป็นการลดทอนคุณค่าของสิ่งหนึ่งเพื่ออีกสิ่งหนึ่ง เพราะทั้ง Mac และ iPad ต่างเป็นอุปกรณ์ที่น่าทึ่งทั้งคู่ เนื่องจากแอปเปิลผลักดันทั้งสองผลิตภัณฑ์ไปในทิศทางที่ควรจะเป็น การรวมสองสิ่งนี้ทำให้เราต้องเสียข้อดีบางอย่างไป
เขายังเสริมว่า ในมุมของแอปเปิลการทำแบบนี้มีข้อดีคือทำให้บริษัทบริหารจัดการง่ายขึ้น แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่แอปเปิลจะเลือกทำ เราควรให้ประสิทธิภาพสูงสุดกับเครื่องมือ เพื่อให้คนใช้งานมันได้เต็มที่มากกว่า
สุดท้ายเมื่อถามว่าปัจจุบันเขาใช้ Mac หรือ iPad เป็นหลัก คำตอบคือใช้ Mac เวลาทำงาน ส่วน iPad ใช้เวลาอยู่บ้านและเดินทาง
เมื่อต้นเดือนที่แล้วไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว Soundscape แอพซึ่งจะช่วยให้ผู้มีปัญหาการมองเห็นสามารถออกเดินทางไปยังที่ต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ
สิ่งที่น่าสนใจของ Soundscape คือความตั้งใจของทีมพัฒนาที่ได้ออกแบบให้แอพดังกล่าวแตกต่างไปจากแอพนำทางแบบ step by step อื่นๆ ฟังก์ชั่นหลักของ Soundscape จึงไม่ใช่เพียงแค่การพาผู้มีปัญหาการมองเห็นไปยังจุดหมายปลายทาง แต่เป็นการช่วยเติมเต็มช่องว่างในการรับรู้สภาพแวดล้อมรอบตัวผ่านการให้เสียงสามมิติเพื่อช่วยระบุทิศทางของสิ่งที่น่าสนใจระหว่างผู้ใช้กำลังเดินทางให้อัตโนมัติ
แอปเปิลออกอัพเดตใหญ่ iOS เวอร์ชัน 11.3 แล้วในวันนี้ หลังจากปล่อยเวอร์ชันทดสอบมา ซึ่งมีฟีเจอร์สำคัญเพิ่มขึ้นมาหลายรายการ ได้แก่
ผลการศึกษาจากบริษัทวิจัย Consumer Intelligence Research Partners (CIRP) ล่าสุด เกี่ยวกับความภักดี (loyalty) ในการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟน พบว่าอัตราความภักดี (ไม่ย้ายค่าย) ของ Android สูงกว่า iOS ซึ่งเป็นเช่นนี้มาระยะหนึ่งแล้ว
โดยตัวเลขล่าสุดนั้น Android มีระดับความภักดีที่ 91% ส่วน iOS อยู่ที่ 86% โดยกลุ่มตัวอย่างในการวัดมาจากผู้ใช้สมาร์ทโฟนในอเมริกา คิดย้อนหลังไป 12 เดือนว่าไม่มีการเปลี่ยนค่าย
Vulkan มาตรฐาน API กราฟิกของ Khronos Group ที่ออกแบบมาใช้แทน OpenGL กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่ผ่านมา Vulkan ยังไม่สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการฝั่งแอปเปิล แม้จะใช้ได้บนระบบปฏิบัติการหลักๆ อย่าง Windows/Android ได้ตั้งแต่ต้นแล้วก็ตาม ด้วยเหตุผลว่าแอปเปิลยังสงวนท่าทีในเรื่องนี้ เพราะมี Metal ของตัวเองอยู่แล้ว
แอปเปิลออกอัพเดตซอฟต์แวร์ชุดใหญ่วันนี้ ประกอบด้วย iOS 11.2.6, macOS 10.13.3, tvOS 11.2.6 และ watchOS 4.2.3 ซึ่งทั้งหมดออกมาเพื่อแก้ปัญหาบั๊กอักษรภาษาเตลูกูที่สามารถทำให้เครื่องค้างได้
ในข้อมูลอัพเดตของ iOS 11.2.6 ยังระบุว่าในเวอร์ชันนี้ มีการแก้ไขปัญหาที่แอพภายนอกบางตัว ไม่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมได้
ซอฟต์แวร์ทั้งหมดเปิดให้อัพเดตแล้วตามช่องทางเดิม
ที่มา: 9to5Mac
มีการรายงานบั๊กตั้งแต่เมื่อต้นสัปดาห์ว่า iOS จะเกิดอาการเครื่องค้างและไม่สามารถทำงานได้ หากมีการเปิดดูข้อความที่มีตัวอักษรภาษาเตลูกูของอินเดีย ซึ่งกระทบทั้งแอพ iMessage, Facebook Messenger และ WhatsApp ซึ่งอาการเดียวกันนี้เกิดขึ้นได้กับแอพ Message บน macOS และบน Apple Watch อีกด้วย
บั๊กดังกล่าวพบได้ใน iOS เวอร์ชันล่าสุด 11.2.5 แต่ไม่พบใน 11.3 ที่อยู่ในสถานะเบต้า ซึ่งตัวแทนของแอปเปิลออกมายอมรับปัญหานี้และบอกว่าจะออกอัพเดตแก้ไข เร็วกว่ากำหนดออกของ 11.3 แปลว่าเราจะเห็นอัพเดตย่อยอีกครั้งก่อนที่ 11.3 จะออกมา รวมทั้งในระบบปฏิบัติการอื่นด้วย
Mark Gurman นักเขียนของ Bloomberg ที่มีประวัติปล่อยข่าวลือฝั่งแอปเปิลถูกต้องอยู่บ่อยๆ รายงานข่าวว่า แอปเปิลเตรียมปรับระบบการวางแผนฟีเจอร์ของ iOS ใหม่ จากเดิมที่วางแผนกันปีต่อปี เปลี่ยนมาเป็นการวางแผนล่วงหน้า 2 ปีแทน
แอปเปิลจะยังออก iOS เวอร์ชันใหม่ปีละครั้งเช่นเดิม แต่การวางแผนแบบใหม่จะช่วยให้ฟีเจอร์ที่เสร็จไม่ทันในปีแรก สามารถขยับไปอยู่ในเวอร์ชันถัดไปได้ ข้อดีคือเราจะได้เห็นฟีเจอร์ที่สมบูรณ์มากขึ้น มีบั๊กน้อยลง ซอฟต์แวร์มีคุณภาพมากขึ้น เพราะไม่จำเป็นที่จะต้องออกถ้ายังไม่พร้อม
จากข่าว ซอร์สโค้ด bootloader สำหรับ iOS หลุด ซึ่งต่อมาแอปเปิลก็ยืนยันว่าเป็นของจริง
เว็บไซต์ Motherboard อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดกับผู้ปล่อยซอร์สโค้ด ระบุว่าผู้ที่นำโค้ดออกมาคือ "พนักงานระดับล่างของแอปเปิล" ที่เคยทำงานในสำนักงานใหญ่ในเมือง Cupertino เหตุการณ์เกิดขึ้นในปี 2016 โดยพนักงานคนนี้ได้รับการกระตุ้นจากเพื่อนฝูงในแวดวง jailbreak ให้แอบนำซอร์สโค้ดออกมา
ตามข่าวบอกว่าซอร์สโค้ดถูกนำออกมาจำนวนเยอะกว่าที่หลุดขึ้น GitHub มาก ตอนแรกโค้ดถูกแชร์กันเฉพาะในแวดวงเพื่อนฝูง 5 คน แต่ภายหลังก็ถูกกระจายออกไปมากกว่านั้น และสุดท้ายก็มีคนนำมาปล่อยต่อสาธารณะจนได้
จากเหตุการณ์ซอร์สโค้ด iBoot ของ iOS ถูกโพสต์ลง GitHub แม้จะเป็นโค้ดส่วน bootloader แต่ก็ดูจะกระทบกับความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย ซึ่งแอปเปิลก็ออกมาชี้แจงเรื่องนี้แล้ว
โดยแอปเปิลออกแถลงการณ์ว่า ซอร์สโค้ดนี้เป็นโค้ดเก่าตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งหลุดออกมา แต่การออกแบบความปลอดภัยให้กับผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล กับการรักษาความลับของซอร์สโค้ดถือเป็นคนละเรื่องกัน ผลิตภัณฑ์แอปเปิลมีเลเยอร์หลายชั้นทั้งในส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อความปลอดภัย และแอปเปิลก็สนับสนุนให้ผู้ใช้งานอัพเดตซอฟต์แวร์เป็นเวอร์ชันล่าสุดเสมอ เพื่อความปลอดภัยนั่นเอง
ซอร์สโค้ด iBoot ตัว bootloader สำหรับ iOS ถูกโพสลง GitHub เมื่อวานนี้ และตอนนี้ GitHub เริ่มไล่ลบโค้ดออกแล้ว
โค้ดนี้ปรากฎครั้งแรกบน Reddit โดยผู้เผยแพร่อัพโหลดไว้ใน Mega.nz ตั้งแต่สี่เดือนก่อน โดยไม่มีคนสนใจมากนัก แต่เมื่อโค้ดเริ่มปรากฎบน GitHub ก็ได้รับความสนใจขึ้นมา
GitHub ไล่ลบโค้ดเหล่านี้ออกจากเว็บ แต่ตอนนี้ก็มีคนอัพโหลดใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ เช่น king4q/iBoot
ตัวโค้ดเป็นโค้ดสำหรับ iOS 9 และคอมไพล์ไม่ผ่านเนื่องจากมีไฟล์ไม่ครบ
เว็บไซต์ Axios รายงานว่า Craig Federighi หัวหน้าฝ่ายซอฟต์แวร์ของแอปเปิล ได้ประกาศแผนการพัฒนา iOS 12 กับทีมงานเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โดยให้ฟีเจอร์โดดเด่นใหม่ๆ ที่เดิมจะมีใน iOS 12 ให้เลื่อนไปออกในปีหน้า 2019 แทน อาทิเช่น การเปลี่ยนหน้า Home ใหม่ทั้งหมด, อินเทอร์เฟซของ CarPlay ตลอดจนการปรับปรุงแอพพื้นฐานเช่น อีเมล, รูปภาพ
แหล่งข่าวบอกว่าทีมงานส่วนที่เดิมต้องรับผิดชอบฟีเจอร์ใหม่เหล่านี้ จะปรับให้มาช่วยดูแลภาพรวมของ iOS 12 โดยให้ความสำคัญกับเรื่องความเสถียร ใช้งานลื่นไหล และไม่เกิดปัญหาแบบที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่า iOS 12 จะไม่มีฟีเจอร์เด่นใหม่ๆ เลย โดยฟีเจอร์หลายอย่างยังคงพัฒนาอยู่ตามแผนอย่าง AR, Health และระบบควบคุมการใช้งานของผู้ปกครอง
หลังแอปเปิลปล่อย iOS 11.3 ออกมาล่าสุด มีคนไปค้นพบโค้ดบางบรรทัดที่อ้างถึง 'modern iPad' ซึ่งช่วยเพิ่มน้ำหนักข่าวลือก่อนหน้าว่าแอปเปิลกำลังพัฒนา iPad Pro ใหม่ที่มาพร้อมกับ Face ID
คำว่า 'modern iPad' ถูกพบครั้งแรกบน iOS 11.2.5 ก่อนที่จะปรากฎใน 11.3 อีกครั้ง โดยก่อนหน้านี้คำว่า 'modern iPhone' ก็เคยถูกพบในโค้ดก่อนการเปิดตัว iPhone X ไปแล้ว ทำให้มีการคาดกันว่าการอ้างอิง 'modern iPad' ในโค้ดบน iOS จะเป็นไปในลักษณะเดียวกันด้วย
ที่มา - 9to5Mac
แอปเปิลได้ออก iOS เวอร์ชัน 11.3 beta สำหรับนักพัฒนาในวันนี้ หลังจากปล่อย iOS 11.2.5 สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป โดยมีความน่าสนใจกว่าการปล่อย beta รุ่นอื่นคือแอปเปิลออกมาอธิบายของใหม่ที่จะมีใน 11.3 แบบละเอียดพอสมควร มีรายละเอียดดังนี้
แอปเปิลอัพเดตข้อมูลสถิติส่วนแบ่ง iOS ล่าสุดในหน้าเว็บของนักพัฒนา โดย iOS 11 มีส่วนแบ่งผู้ใช้งาน 65% แล้วของอุปกรณ์ iOS ทั้งหมด ตามด้วย iOS 10 ที่ 28% และรุ่นเก่ากว่านั้นรวม 7%
ในเดือนพฤศจิกายนสถิติ iOS 11 นั้นอยู่ที่ 52% และเดือนธันวาคมอยู่ที่ 59% สะท้อนว่ายังมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นตลอดเดือนละราว 6-7% แต่สถิตินี้ก็ยังน้อยกว่า iOS 10 ซึ่งในระยะเวลาใกล้เคียงกันมีส่วนแบ่งถึง 76% แล้ว
จากปัญหาบั๊ก chaiOS ที่สามารถทำให้มีลิงก์โจมตีช่องโหว่ใน iPhone จนเกิดปัญหาเครื่องค้างใน Message ล่าสุดตัวแทนของแอปเปิลยืนยันว่าจะออกอัพเดต iOS ที่ปิดช่องโหว่นี้ ภายในสัปดาห์หน้า
ตอนนี้ iOS เวอร์ชันสำหรับนักพัฒนาล่าสุดคือ 11.2.5 แต่เวอร์ชันสำหรับผู้ใช้ทั่วไปคือ 11.2.2 จึงไม่แน่ใจว่าอัพเดตที่จะออกมานี้จะเป็น 11.2.5 เลย หรือจะเป็นอัพเดตย่อยก่อน
เนื่องจากปัญหาช่องโหว่นี้ก็ทดสอบและพบบน macOS ด้วยอาการเดียวกัน จึงเป็นไปได้ว่าแอปเปิลก็จะออกอัพเดต macOS ในสัปดาห์หน้าด้วย
ที่มา: MacRumors
เป็นเรื่องอื้อฉาวส่งท้ายปีที่แล้ว กับกรณีที่แอปเปิลปรับ iPhone ให้ทำงานช้าลงถ้าแบตเตอรี่เริ่มเสื่อม จนบริษัทต้องออกมาขอโทษและปรับลดราคาค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ลง ล่าสุดแอปเปิลยอมถอยสุดๆ จากการเพิ่มฟีเจอร์ให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้เองว่าจะปรับลดประสิทธิภาพ iPhone ลงหรือไม่ กรณีที่แบตเตอรี่เริ่มเสื่อม
พบลิงค์ที่อาศัยช่องโหว่แอป Message ใน iOS ส่งผลให้ iPhone และ iPad ที่ใช้ iOS 10 และ 11 ค้างทันทีที่ได้รับข้อความแม้จะไม่ได้เปิดเข้าไปดู และจะถูกบังคับรีบูทในไม่กี่นาทีต่อมา นอกจากนี้ยังทำให้แอป Message ไม่สามารถใช้งานได้ ช่องโหว่นี้ยังมีผลกับแอป Message ใน Mac ด้วย
วิธีแก้คือต้องเข้าไปลบข้อความที่ได้รับนั้นออกไปถึงจะทำให้แอปกลับมาทำงานได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามบั๊กลักษณะนี้เคยถูกพบมาแล้วหลายครั้ง และไม่ใช่บั๊กร้ายแรง แค่สร้างความน่ารำคาญให้ผู้ได้รับเฉยๆ