ยังไม่จบจากที่ Verizon ออกโฆษณาเพื่อโจมตีคุณภาพของเครือข่าย 3G ของ AT&T (ดูข่าวเก่า) จนทาง AT&T ต้องมีการยื่นฟ้องต่อศาลให้ระงับโฆษณาชุดดังกล่าว (ดูข่าวเก่า) ล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาทาง Verizon ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลให้ยกคำฟ้องดังกล่าว โดยกล่าวหาว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ และ AT&T ไม่ได้ยื่นฟ้องเพราะโฆษณาของ Verizon ไม่เป็นความจริง แต่ AT&T ฟ้อง Verizon เพราะโฆษณานั้นเป็นความจริง และความจริงนั้นเจ็บปวด
บริษัท Psystar เป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องแมคโคลนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแอปเปิล ก่อนหน้านี้แอปเปิลเคยฟ้อง Psystar ในข้อหาละเมิด EULA ของ Mac OS X ซึ่ง Psystar แก้เกมด้วยการฟ้องกลับ แต่แอปเปิลก็ยื่นฟ้อง Psystar อีกคดีด้วยข้อหาผิดกฎหมาย DMCA (กฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐ) เพราะละเมิดลิขสิทธิ์ของ Mac OS X
เป็นมหากาพย์อีกตอนที่ไม่ดังในหมู่ผู้บริโภคทั่วไปมากนัก แต่หนังสือพิมพ์เชิงธุรกิจของอเมริกาสนใจกับข่าวนี้กันมาก (ดูข่าวเก่า eBay พิจารณาขาย Skype, สองผู้ก่อตั้ง Skype เตรียมซื้อคืนกิจการจาก eBay, Skype เป็นอิสระจาก eBay แล้ว)
ความเป็นมาแบบสั้นๆ มี 2 ข้อครับ
Cyanogen เป็น Android ROM แบบ mod ที่น่าจะดังที่สุด เนื่องจากมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีฟีเจอร์ถูกใจผู้ใช้ แต่ล่าสุด Cyanogen งานเข้าเสียแล้ว เพราะกูเกิลส่งจดหมายเตือนว่า ROM รุ่น Cyanogen นั้นรวมเอาโปรแกรมปิดซอร์สของกูเกิลอย่าง GMail, Google Maps, YouTube และ Google Voice เข้าไปด้วย เมื่อ Cyanogen แจก ROM ให้สาธารณชนทั่วไปจึงถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของกูเกิล
มีรายงานว่าแอปเปิลกับ Eigth Mile Style บริษัทของนักแรพชื่อดัง Eminem ได้ไปที่ศาลวันนี้เนื่องจากการที่ Eight Mile Style ได้แจ้งข้อหาให้กับแอปเปิลว่าแอปเปิลได้ทำการขายของ Eminem บนอินเทอร์เน็ตผ่านทาง iTunes ทั้ง ๆ ที่ไม่มีสิทธิที่จะทำเช่นนั้น เนื่องจาก Aftermath Records ค่ายเพลงที่จัดจำหน่ายเพลงให้กับ Eminem นั้นได้สำสัญญากับ Eminem ไว้ไม่เหมือนกับวงดนตรีอื่น ๆ
จากคำอ้างของ Eight Mile Style นั้น สัญญาของบริษัท Eight Mile Style นั้นระบุไว้ว่าค่ายเพลงจะต้องทำการซื้อสิทธิในการจัดจำหน่ายแยกอีกต่างหาก หากต้องการที่จะขายเพลงของ Eminem ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และค่ายเพลงนั้นก็รู้ ๆ อยู่แก่ใจว่าไม่มีสิทธิที่จะให้แอปเปิลนำเพลงเหล่านี้ไปขายบน iTunes
เกิดสองคดีขึ้นในนิวยอร์ค และเดลาแวร์ โดยผู้ถือหุ้นของบริษัท On2 ที่กูเกิลเพิ่งเข้าซื้อไปด้วยราคา 106 ล้านดอลลาร์นั้นรวมตัวกันเรียกค่าเสียหายจากการขายครั้งนั้น โดยให้เหตุผลว่าราคาที่กูเกิลเสนอไปนั้นต่ำเกินไป
ราคาที่กูเกิลให้ไปนั้นคิดเป็น 60 เซนต์ต่อหุ้น ขณะที่ราคาตลาดก่อนหน้าการประกาศซื้อนั้นอยู่ที่ 38 เซนต์ต่อหุ้น ดูจะเป็นกำไรก้อนโต แต่เพียงไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้หุ้นของ On2 นั้นอยู่ที่ 65 เซนต์ต่อหุ้น และเคยสูงถึง 1.16 ดอลลาร์ต่อหุ้นในปี 2008
คำฟ้องระบุว่าไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าผู้บริหารของ On2 นั้นได้หาผู้เสนอราคาอื่นใดนอกจากกูเกิล และสัญญาซื้อขายระหว่างกูเกิลกับ On2 นั้นก็ปิดโอกาสการหาผู้ซื้อที่ให้ราคาดีกว่า
บริษัท Tsera ได้ทำการฟ้องทุกบริษัทที่ได้ใช้เทนโนโลยีสัมผัสเกือบทุกรูปแบบ แน่นอน นี่รวมไปถึงแอปเปิล, ไมโครซอฟท์, LG, Philips, Bang & Olufsen, iriver, Coby, Cowon หรือแม้กระทั่ง Meizu ข้อหาละเมิดสิทธิตามที่บริษัท Tsera ได้เป็นเจ้าของและถือสิทธิบัตรอยู่
โดยในสิทธิบัตรดังกล่าวได้มีชื่อว่า "วิธีการและอุปกรณ์สำหรับการควบคุมสินค้าอิเลคโทรนิกส์ที่พกพาได้ด้วยการใช้ Touchpad" ซึ่งหมายความว่าทุก ๆ บริษัทที่มีสินค้าลักษณะดังกล่าว ซึ่งได้แก่ ไอพ็อด, ไอโฟน, Zune, เครื่องเล่น iriver และอื่น ๆ เข้าข่ายหมด
อยากรู้เหมือนกันว่าคดีนี้จะเป็นอย่างไรและจบอย่างไร
กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ ได้ออกมายืนยันถึงการเริ่มการสืบสวนการลงทุนของกูเกิลในฟีเจอร์ Book Search โดยการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ผู้เขียนหนังสือและสำนักพิมพ์เป็นจำนวนเงินสูงถึง 125 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (รวมถึงประเด็นที่กูเกิลจะแบ่งส่วนแบ่งการขายหนังสือผ่าน Book Search กับผู้เขียนหนังสือและสำนักพิมพ์ด้วย) ว่าขัดกับกฏการป้องกันการผูกขาดหรือไม่
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายการป้องการผูกขาดได้กล่าวว่าการเริ่มการสืบสวนดังกล่าวเนื่องจากมีสัญญาณที่กูเกิลจะเติบโตเป็นผู้เล่นรายเดียว โดยไม่มีคู่แข่งเข้ามาเล่นด้วยในเรื่องของการค้นหาหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ระดับโลกเช่นนี้
ฟังดูอาจจะแปลกดีเหมือนกัน ไม่เคยทราบมาก่อนว่าสหภาพยุโรปเองสามารถที่จะทำการฟ้องร้องประเทศของตัวเองได้
ก่อนหน้านี้ผมเคยเขียนข่าวเกี่ยวกับการที่ ISP รายใหญ่หลาย ๆ รายตัดสินใจที่จะไม่เก็บ Log ข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้เพื่อที่จะปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นขัดกับความต้องการของสหภาพยุโรป ซึ่งได้มีการผ่านกฎหมาย Data Retention Directive หรือกฎหมาย "การเข้าถึงและควบคุมข้อมูล" เมื่อปีที่แล้ว
กูเกิลและบริษัทอื่น ๆ กว่า 47 บริษัทถูกฟ้องเนื่องจากการใช่้ Android ในเชิงเครื่องหมายการค้า
โดยการฟ้องร้องในครั้งนี้ ผู้ฟ้องคือบริษัท Android Data โดยนาย Erich Specht เจ้าของบริษัทอ้างว่าได้รับอนุญาตในการใช้เครื่องหมายการค้าภายใต้ชื่อ Android ตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2002 แล้ว
ก่อนหน้านี้ กูเกิลก็ได้ทำการยื่นขอใบอนุญาตในการใช้ Android เป็นเครื่องหมายการค้า เพียงแต่ว่าได้รับการปฏิเสธเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าสหรัฐ (USPTO) ได้ให้เหตุผลว่าทั้งกูเกิลและบริษัทของ Specht อยู่ในตลาดเดียวกัน ทำให้ผู้บริโภคอาจจะสับสนได้
อินเทลเริ่มทำการส่งจดหมายเป็นเชิงบีบบรรดาผู้ผลิตเกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์ม Ion ของ NVIDIA โดยเนื้อหาอธิบายเกี่ยวกับชิพเซ็ตของ Ion ว่าดัดแปลงมาจาก ชิพเซ็ต MCP79M/NCP7A (ซึ่งออกแบบมาสำหรับซีพียูตระกูล Core2) ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงที่อินเทลอนุญาตให้ NVIDIA ผลิตชิพเซ็ตให้กับซีพียูของบริษัทในช่วงปี 2004-2007 ได้ (ข่าวเก่า) เพราะเหมือนกับเอาสัญญาอนุญาตเก่าและชิพเซ็ตเก่ามาสร้างให้กับซีพียูใหม่ แต่อย่างไรก็ดี ชิพเซ็ตของทางอินเทล (945GSE) นั้นก็เป็นชิพเซ็ตตัวเก่าที่มีอายุกว่า 4 ปีแล้วเช่นกัน
ข่าวนี้มาจากข้อมูลในการไต่สวนคดี The Pirate Bay ที่กำลังดำเนินอยู่ (อันนี้ของวันที่ 5) สำหรับเรื่องคดี ดูข่าวเก่า 1, 2, 3 ประกอบ
นาย Peter Sunde Kolmisoppi โฆษกของ The Pirate Bay ได้ให้ข้อมูลกับผู้พิพากษาว่าคำกล่าวหาที่ว่า torrent ในเว็บนั้นเป็นของผิดกฎหมายนั้นไม่จริง จากข้อมูลที่เขาเคยสำรวจไฟล์ torrent บน The Pirate Bay แบบสุ่ม พบว่า 80% เป็นไฟล์ torrent ที่ชี้ไปยัง "เนื้อหาที่สามารถแชร์บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างถูกต้อง"
นอกจากนี้เขายังอ้างว่า วิดีโอที่อยู่บน YouTube นั้นผิดกฎหมายมากกว่าบน The Pirate Bay เสียอีก
Nvidia ประกาศฟ้อง Intel ในกรณีที่ทาง Intel ไม่ยอมรับแพลตฟอร์ม Ion ของทาง Nvidia ด้วยเหตุผลว่าข้อตกลงให้ทาง Nvidia ผลิตชิพเซ็ตให้กับซีพียูของ Intel ที่ลงนามในปี 2004 นั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงซีพียูตัวใหม่ๆที่ออกมาภายหลังปี 2007 (ซึ่งอะตอมก็เป็นหนึ่งในนั้น)
คดีระหว่างแอปเปิลกับ Psystar ยังไม่จบ แต่ดูเหมือนงานนี้แอปเปิลอาจจะต้องเครียดหนักเข้าไปใหญ่ เมื่อ PearC ผู้ผลิตแมคโคลนลักษณะเดียวกับ Psystar นั้นออกมายืนยันว่าถ้ามีเรื่องฟ้องร้องกันในชั้นศาลของยุโรปละก็ พวกเขาชนะแน่นอน
ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมกับ Mac OS X ยี่ห้อ PearC ได้ออกมาบอกว่าพร้อมที่จะตกลงกับแอปเปิลนอกชั้นศาล และหากแอปเปิลจะดำเนินคดีก็สามารถทำได้ และมั่นใจว่าชนะแน่นอน
จากข้อมูลสัมภาษณ์ที่ผู้ผลิตได้ให้กับ Computerworld ในอีเมลนั้นบอกว่า ตามกฎหมายประเทศเยอรมนีนั้น ข้อห้ามเพิ่มเติมหลังจากที่การซื้อสินค้าไปแล้วไม่มีความหมายและผลทางกฎหมายแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเมื่อผู้ใช้จะเห็น EULA ของแอปเปิลหลังจากที่ซื้อสินค้าและทำการเริ่มเครื่องตอนแรกแล้วเท่านั้น
ก่อนหน้านี้ นายเปเปอร์มาสเตอร์ เจ้าปัญหาสำหรับ IBM นั้นได้ถูกคำสั่งศาลไม่ให้ทำงานกับแอปเปิล เนื่องจาก IBM ได้อ้างว่าเขาผิดสัญญาการจ้างงานที่เคยทำไว้กับ IBM โดยการลาจาก IBM ไปหาคู่แข่ง
แต่ตอนนี้ ดูเหมือนว่าเขาจะสามารถทำงานกับแอปเปิลได้แล้ว โดยเขาจะทำงานในตำแหน่ง Senior Vice President (รองประธานอาวุโส) ของหน่วย Devices Hardware Engineering ตั้งแต่วันที่ 24 เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป โดยงานหลักของเขาส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการพัฒนาฮาร์ดแวร์เกี่ยวกับไอพ็อดและไอโฟนเป็นหลัก
จากรายงานในคดีระหว่าง Apple กับ Psystar จากเว็บ Groklaw.net นั้น แอปเปิลเชื่อว่ามีกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังบริษํท Psystar
ที่น่าสนใจคือ แอปเปิลเชื่อว่ามีบริษัทหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่เบื้องหลัง Psystar ซึ่งแอปเปิลอาจจะขอเพิ่มเข้าไปในรายชื่อของจำเลย หากแอปเปิลทราบว่าบุคคลนั้นเป็นใคร
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ชัดว่า แอปเปิลเชื่อว่ามีคนที่กำลังถือหาง Psystar อยู่ นั่นอาจจะเป็นเหตุผลที่อธิบายได้ว่าทำไมบริษัทกฏหมายยักษ์ใหญ่ต้องมาทำคดีที่น่าจะจบได้ภายในวันเดียวแบบนี้
ผู้เขียนได้อธิบายอีกว่า Psystar ขายเครื่องแมคโคลนได้มากกว่าความสามารถของบริษัทเล็ก ๆ ปกติเป็นอย่างมาก
ศาลรัฐแคลิฟอร์เนียได้ยกเลิกคำร้องขอฟ้องจาก Psystar ในเรื่องการผูกขาดตลาด Mac OS ของแอปเปิลแล้ว
โดยตามคำกล่าวของศาลนั้น ทาง Psystar จะต้องทำการแก้ไขคำร้องต่อศาล ให้มีมูลเหตุและการเรียงความที่ดีกว่านี้ภายในวันที่ 8 ธันวาคมที่จะถึงนี้ หากทำไม่ได้ ศาลจะยกเลิกคดีความต่อแอปเปิลในกรณีนี้
ข้ออ้างปัจจุบันสำหรับ Psystar ที่กล่าวหาว่าแอปเปิลนั้นผูกขาดได้มีการใช้คำว่า "แอปเปิลนั้นผูกขาดตลาด Mac OS" แต่ศาลกล่าวว่า "แอปเปิลได้ทำการแจ้งลูกค้าไว้แล้วว่าผู้ที่ทำการซื้อและติดตั้ง Mac OS จะสามารถใช้ซอฟต์แวร์นี้เฉพาะบนเครื่องคอมพิวเตอร์จาก แอปเปิลเท่านั้น ซึ่งแอปเปิลมีสิทธิเต็มที่ในการกระทำดังกล่าว"
คดีระหว่างแอปเปิลกับ Psystar ยังไม่จบ เนื่องจากแอปเปิลเองก็ทำการฟ้อง Psystar เช่นกัน
ปัญหายังไม่จบสำหรับแอปเปิล หลังจากที่นาย Tony Fadell ได้ลาออกจากแอปเปิลเพื่อจะได้มีเวลาดูแลครอบครัวได้มากขึ้น โดยตำแหน่งนี้ถูกนาย Mark Papermaster อดีตบุคคลสำคัญจาก IBM มาทำงานแทน
Papermaster นั้นได้มีทำการเซ็นสัญญากับ IBM ก่อนหน้านี้ว่าจะไม่ทำงานกับบริษัทคู่แข่งหลังจากการออกจาก IBM เป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม โดยศาลเขตชั้นต้นนั้นได้มีคำสั่งคุ้มครอง IBM ไม่ให้นาย Papermaster ทำงานกับแอปเปิล (และบริษัทคู่แข่งอื่น ๆ) เนื่องจากการกระทำดังกล่าว เป็นการละเมิดข้อตกลงในสัญญา
บริษัท Media Rights Technologies (MRT) ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตเทคโนโลยีป้องกันการ Rip สื่อต่างๆ ได้ฟ้องบริษัทผลิต Media Player ชื่อดังเกือบทุกเจ้าตั้งแต่ Apple iPod/iTunes, Microsoft, Real Network และแม้แต่ Adobe Flash ในข้อหาที่บริษัทเหล่านี้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีการป้องกันการขโมยสื่อของตน และบอกว่าบริษัทเหล่านี้ได้ทำผิดกฎหมาย Digital Millennium Copyright Act
ทางบริษัทอ้างว่าเทคโนโลยี X1 SeCure Recording Control นั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันสูง และบริษัทเหล่านี้ได้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีของตนมาตลอด สงสัยเขาจะแน่มากครับ งานนี้
กลุ่มบริษัทที่ถูกตำรวจสวีเดนเข้ายึดเครื่องในกรณเข้าจับตรวจสอบเครื่องของ The Pirate Bay ที่เป็นแทรกเกอร์อันดับต้นๆ ของโลกในเวลานี้ โดยขณะที่ทางตำรวจมีหมา่ยศาลให้เข้ายึดเครื่องของ The Pirate Bay ไปตรวจสอบได้ มีการสั่งให้บริษัท PRQ ซึ่งเป็น ISP ของทาง The Pirate Bay หยุดให้บริการเครื่องทั้งหมดที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ทำให้บริษัทอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องได้รับความเสียหาย
กลุ่มบริษัทต้องการใ้ห้ทางตำรวจสวีเดนจ่ายเงินชดเชยต่อธุรกิจที่เสียหาย ในช่วงการเข้าตรวจค้นดังกล่าว โดนทางตำรวจยังคงไม่ให้เหตุผลว่าทำไมจึงหยุดการให้บริกา่รเครื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องไปด้วย
Sandisk บริษัทที่เราคงรู้จักกันดีในนามของผู้ผลิตหน่วยความจำสำหรับกล้องดิจิตอลรายใหญ่ของโลก ได้ประกาศฟ้องบริษัท STMicroelectornics ผู้ผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์อันดับหกของโลกในวันนี้
การฟ้องดังกล่าวเกิดขึ้นโดย ทางแซนดิสก์กล่าวหาว่าเอสทีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ได้ละเมิดสิทธิบัตรของตนในเทคโนโลยี แนนแฟลช ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว ทางแซนดิสก์ได้มาในปี 1997 โดยก่อนหน้านี้ทางซัมซุงก็ถูกฟ้องไปก่อนหน้าแล้ว แต่เรื่องจบลงด้วยดีหลังจากที่ทั้งสองได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีต่อกันในเดือนที่แล้ว