David Marcus หัวหน้าทีมส่วนธุรกิจเงินคริปโตของ Meta บริษัทแม่ Facebook ประกาศว่าเขาจะลาออกจากบริษัทสิ้นปีนี้ โดยไม่ได้บอกชัดเจนว่าจะไปทำอะไร แต่น่าจะกลับไปเริ่มต้นในฐานะผู้ประกอบการอีกครั้ง
Marcus เดิมเป็นประธานอยู่ที่ PayPal ต่อมาได้ย้ายมารับตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย Messenger ของ Facebook และย้ายไปอยู่ฝ่ายบล็อกเชนช่วงปี 2018 ซึ่งจากนั้น 1 ปี Facebook ก็เปิดตัว Diem (ตอนแรกชื่อ Libra) สกุลเงินดิจิทัลที่ Facebook อธิบายว่าทำให้การรับส่งเงิน ง่ายเหมือนกับการส่งข้อความใน Messenger
หน่วยงานด้านการแข่งขันและตลาดของอังกฤษ (Competition and Markets Authotiry - CMA) ออกคำสั่งให้ Meta บริษัทแม่ของ Facebook ต้องขายกิจการ Giphy แพลตฟอร์ม GIF ที่ Facebook ซื้อกิจการมาเมื่อปีที่แล้ว ออกไปเป็นบริษัทอิสระ ตามที่มีรายงานออกมาก่อนหน้านี้
CMA ให้เหตุผลว่าการที่ Facebook ซื้อ Giphy ทำให้เกิดการผูกขาดในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เป็นการปิดโอกาสทำเงินจากโฆษณาของ Giphy ซึ่งจะสร้างการแข่งขัน อีกทั้ง Giphy ยังทำให้คู่แข่งที่ต้องการเข้าถึงข้อมูล GIF บนแพลตฟอร์ม อาจต้องแชร์ข้อมูลให้ Facebook อีกด้วย
จากเดิมที่ Meta หรือ Facebook เดิมตั้งใจจะเปิดใช้งานเข้ารหัสแชทใน Facebook Messenger, Instagram เป็นค่าตั้งต้นในปี 2022 แต่ล่าสุดทาง Meta ยืนยันผ่าน Telegraph ว่าเลื่อนเปิดใช้งานเป็นปี 2023 เพราะมีหลายปัจจัยต้องพิจารณาเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน โดยเฉพาะเยาวชน
Facebook เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับระบบซื้อขายของในกลุ่ม ฟีเจอร์แรกคือร้านค้าของกลุ่ม (Shops in Groups) ให้แอดมินตั้งขายสินค้าบนเพจที่เชื่อมกับกลุ่มได้ โดยเน้นไปที่แอดมินอาสา และกลุ่มองค์กร
กลุ่มที่ Facebook ยกมาเป็นตัวอย่างคือกลุ่ม OctoNation กลุ่มขององค์กรไม่แสวงหากำไรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับปลาหมึกยักษ์ รายได้จากการขายของจึงถูกมอบให้องค์กรเพื่อให้ความรู้และสร้างรายได้ให้กับทีมงานที่เป็นทีมงานอาสา
ยังไม่แน่ชัดว่าหากกลุ่มนั้นไม่ใช่กลุ่มการกุศล และไม่ใช่กลุ่มขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่เป็นกลุ่มสนทนาสาธารณะ การให้แอดมินตั้งร้านขายสินค้าในกลุ่มได้ จะกลายไปเป็นช่องทางหาเงินเข้ากระเป๋าของแอดมินเองคนเดียวหรือไม่ คงต้องติดตามผลที่จะเกิดต่อไป
แม้ Facebook จะเปลี่ยนชื่อเป็น Meta และออกตัวเป็นหัวหอกในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เมต้าเวิร์ส แต่ล่าสุด Morgan Stanley สรุปในรีเสิร์ชโน้ตว่าบริษัทที่จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในวงกว้างของเมต้าเวิร์ส คือ Apple
Morgan Stanley ระบุว่าแม้ Facebook และ Google จะลงทุนกับ AR และ VR ไปมากเท่าไร สุดท้ายการใช้งานในวงกว้างจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ Apple เข้ามาร่วมแข่งในสนามนี้ด้วย โดยข้อสรุปนี้อ้างอิงมาจากแบบสำรวจ และการสนทนากับบริษัท AR/VR หลายเจ้า
เฟซบุ๊ก (Meta) ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์สำหรับการแปลภาษาหลายภาษา (multilingual translation) ที่ชนะโมเดลปัญญาประดิษฐ์แปลภาษาที่เจาะจงคู่ภาษาถึง 10 คู่ภาษาจาก 14 คู่ภาษา
แนวทางของเฟซบุ๊กสร้างโมเดลแปล 7 ภาษาเป็นภาษาอังกฤษ และโมเดลสำหรับแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาทั้ง 7 นั้นฝึก โดยโมเดลทั้งสองโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การค้นหาเอกสารที่แปลแล้วในเว็บ, หรือการใช้เอกสารภาษาเดียวเพื่อฝึกจากปัญญาประดิษฐ์แปลภาษาที่มีอยู่แล้ว (back translation), และการปรับแต่งโมเดลด้วยข้อมูลเฉพาะทาง (in-domain finetuning)
ปัญหาการฝังรหัสผ่านหรือคีย์ไว้ในซอร์สโค้ด ถือเป็นช่องโหว่ความปลอดภัยที่มักพลาดกันบ่อยๆ ทำให้บริการฝากซอร์สโค้ดอย่าง GitHub มีฟีเจอร์ชื่อ Secret Scanning คอยไล่ตรวจว่าในโค้ดมีการฝังคีย์ลักษณะนี้หรือไม่ (บังคับเฉพาะโค้ดแบบ public ส่วนโค้ดแบบ private เป็นฟีเจอร์แบบเสียเงิน และต้องเลือกเปิดเอง)
วิธีการคือ GitHub ร่วมกับบริษัทดังๆ หลายเจ้า เช่น AWS, Azure, Google Cloud, Dropbox, Slack, Stripe, Shopify, Twilio (รายชื่อทั้งหมด) เพื่อตรวจสอบแพทเทิร์นคีย์ของบริษัทเหล่านี้ และแจ้งเตือนบริษัทผู้ออกคีย์ให้ถอนคีย์ออก หากพบว่ามีคีย์ถูกเผยแพร่ในที่สาธารณะ
Meta ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เชื่อมต่อระบบโซเชียลในองค์กร Workplace (เดิมชื่อ Workplace from Facebook) เข้ากับ Microsoft Teams
ก่อนหน้านี้ ทั้งสองบริษัทเพิ่งประกาศความร่วมมือกันโดย หน้าจอ Facebook Portal จะรองรับวิดีโอคอลล์จาก Microsoft Teams ด้วย
AMD ประกาศข่าวได้ลูกค้ารายสำคัญคือ Meta (Facebook เดิม) สั่งซื้อซีพียู EPYC เพื่อใช้ในศูนย์ข้อมูลของตัวเอง โดยจะเริ่มจาก EPYC Gen 3 (Milan) ที่เปิดตัวเมื่อช่วงต้นปี 2021 ส่วนรายละเอียดจะแถลงเพิ่มเติมในสัปดาห์นี้
ที่ผ่านมา AMD ได้บริษัทคลาวด์ขนาดใหญ่ (hyperscale) เป็นลูกค้า EPYC หลายราย เช่น Azure, Google Cloud, Cloudflare ซึ่งกรณีของ Cloudflare เปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์เป็นรุ่นใหม่ที่ใช้แต่ EPYC Milan ล้วนๆ ด้วย
The New York Times อ้างแหล่งข่าวและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เผยว่า Meta หรือ Facebook เดิม ได้พูดคุยถึงแผนเปิดร้านค้า เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ของแผนก Reality Labs รวมทั้งเฮดเซต VR แว่นตา AR นอกจากนี้ยังอาจขายสินค้าอื่นจาก Facebook เช่น Portal ด้วย
รูปแบบร้านค้านั้น Meta ต้องการให้ผู้คนได้เข้าถึงและเข้าใจโลก Metaverse มากขึ้น ซึ่งวิธีการหนึ่งก็คือนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปให้ลูกค้าได้ทดลองประสบการณ์ใช้งานนั่นเอง ชื่อเดิมที่เคยพิจารณาใช้ก่อนประกาศตั้ง Meta มีทั้ง Facebook Hub, Facebook Innovations หรือ Facebook Reality Store
ในเอกสารแผนงานนั้น Meta เตรียมเปิดร้านค้าดังกล่าวทั่วโลก แต่มีโอกาสเช่นกันที่แผนงานทั้งหมดนี้อาจไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้
ตั้งแต่เดือน มิ.ย. ปี 2020 Facebook เปิดระบบ Subscriptions ให้ครีเอเตอร์ที่ผ่านเกณฑ์ เก็บเงินจากแฟนๆ รายเดือนเพื่อสร้างรายได้สำหรับสร้างเนื้อหาต่อไปได้ (โมเดลคล้าย Patreon) ล่าสุด Facebook ประกาศความเคลื่อนไหวเพิ่มเติม ครีเอเตอร์ใน 27 ประเทศ รวมไทยด้วย สามารถเปิด Subscriptions ได้ แต่ยังเป็นระบบ invite-only
ครีเอเตอร์สามารถโปรโมทระบบ Subscriptions ในหน้าโปรไฟล์ของตัวเอง และใช้ระบบชำระเงิน Facebook Pay ได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม นอกจากนี้ Facebook ยังจ่ายโบนัสให้กับครีเอเตอร์ $5 - $20 ถ้ามีคนมาติดตามเพิ่ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเม็ดเงินลงทุน 1,000 ล้านเหรียญเพื่อครีเอเตอร์ที่ Facebook ประกาศมาก่อนหน้านี้
Facebook กำลังทยอยออกอัพเดตใหม่ v34 ให้กับผู้ใช้ Oculus Quest อัพเดตนี้มาพร้อมฟีเจอร์ Space Sense ระบบที่จะทำงานร่วมกับ Guardian System ที่ให้ผู้เล่นตั้งค่าบริเวณที่จะใช้เล่น VR ได้
Space Sense ช่วยไฮไลท์วัตถุที่เข้ามาในบริเวณการเล่น (Guardians bound) ของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก สัตว์เลี้ยง หรือเก้าอี้ที่ถูกเลื่อน โดยจะไฮไลท์เป็นขอบสีชมพูเรืองแสง แม้จะเล่นเกมอยู่ มีระยะการทำงาน 9 ฟุต สามารถเข้าไปเปิดได้ในการตั้งค่าส่วน “Experimental Features” หลังอัพเดตเป็น v34 แล้ว
Meta AI (หรือ Facebook AI เดิม) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สร้างเซ็นเซอร์รับสัมผัส (tactile sensor) ในชื่อ ReSkin ที่สามารถสร้างได้ง่าย ราคาถูก เปิดทางให้หุ่นยนต์ราคาถูกสามารถรับรู้แรงกดและทำงานประณีต เช่นการจับวัตถุบอบบางได้
ทีมวิจัยระบุว่า ReSkin นั้นสร้างได้ในราคาเพียง 200 บาทต่อชุดเมื่อผลิตทีละ 100 ชุด โครงสร้างของเซ็นเซอร์อาศัยแผ่น Elastomer ประกบอยู่กับเซ็นเซอร์ด้านล่าง โครงสร้างแบบนี้ทำให้ตัววงจรแยกออกจากตัว "ผิว" และการซ่อมบำรุงเมื่อผิวชำรุดก็เพียงลอกออกเท่านั้น ตัวเซ็นเซอร์มีความหนา 3 มิลลิเมตร สามารถอ่านค่าแรงกดได้ 400 ครั้งต่อวินาที ตัวผิวมีความทนทานประมาณ 50,000 ครั้ง
สำนักข่าว CNBC เปิดเผยที่มาของแนวคิด Metaverse ว่ามาจาก Jason Rubin ผู้บริหารของ Oculus เขียนเอกสารภายในชื่อ "The Metaverse" เป็นสไลด์ความยาว 50 หน้าเมื่อปี 2018 กระตุ้นให้บอร์ดบริหารของ Facebook ต้องคิดเรื่องนี้อย่างจริงจัง
Jason Rubin เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอ Naughty Dog ในปี 1986 และโด่งดังในฐานะผู้สร้างเกม Crash Bandicoot เขาลาออกจาก Naughty Dog ในปี 2004 แล้วไปทำงานกับ THQ เป็นเวลาสั้นๆ ก่อนมาร่วมงานกับ Oculus ในปี 2014 จนถึงปัจจุบัน (ตำแหน่งปัจจุบันคือ VP Metaverse Content)
วิสัยทัศน์ของ Rubin วาดภาพ metaverse ออกมาเป็นการใช้ชีวิตในเมืองเสมือนจริง แต่งตัวอวตารของตัวเองได้ มีสกุลเงินเสมือน และเมื่อเจอกับคนอื่นที่น่าสนใจก็สามารถแต่งงานกันได้
Meta หรือ Facebook เก่า เริ่มลุยงาน Metaverse ด้วยการเข้าซื้อบริษัท Within ผู้สร้างแอป Supernatural แอปเกมฟิตเนสที่ใช้แว่น VR สวมให้เหมือนเรากำลังออกกำลังกายอยู่ในอีกโลกหนึ่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ Within มาช่วยปรับปรุงฮาร์ดแวร์ใน Meta's Reality Labs เพื่อรองรับแอปฟิตเนส VR ในอนาคต
นอกจาก Project Cambria ที่เป็นแว่น VR ระดับสูง Mark Zuckerberg ยังพูดถึงแว่นต้นแบบอีกตัวคือ Project Nazare เป็นแว่น AR ลักษณะคล้ายแว่นติดกล้อง Ray-Ban Stories ที่เปิดตัวไปแล้ว แต่เป็นแว่น AR สมบูรณ์แบบคือแสดงภาพบนจอแว่นได้ด้วย
ตอนนี้ยังไม่มีภาพของ Project Nazare ให้ดูกัน แต่มีสาธิตภาพที่มองเห็นผ่านแว่น จะเป็นการแสดงกราฟิกขึ้นมาทับบนโลกจริง (เหมือน HoloLens) เพื่อให้ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ผ่านเกมโซเชียลร่วมกันได้
Facebook โชว์ภาพแว่นโค้ดเนม Project Cambria ซึ่งเป็นแว่นรุ่นใหม่ระดับไฮเอนด์ มีฟีเจอร์ระดับสูงอย่าง social presence, color Passthrough, pancake optics รวมถึงการเชื่อมต่อกับ Presence Platform มี passthrough API สำหรับนำภาพวัตถุภายนอกมาแสดงในแว่น (ลักษณะเหมือน HoloLens ของไมโครซอฟท์)
Facebook ประกาศชัดว่า Project Cambria ไม่ใช่ Oculus Quest 3 แต่จับอีกตลาดที่เทคโนโลยีสูงกว่านั้น ราคาแพงกว่า และเป็นแว่นที่เปิดโลกสู่ metaverse ตามวิสัยทัศน์ของบริษัท กำหนดการเปิดตัว Cambria บอกคร่าวๆ แค่ว่าปีหน้า 2022
ยังอยู่ที่ข่าว Facebook เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta เพื่อสะท้อนวิสัยทัศน์ว่าบริษัทต้องการไปไกลกว่าการเป็นโซเชียลมีเดีย มุ่งสู่โลกเสมือนหรือ Metaverse โดยตัวย่อในการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แนสแดค จะเปลี่ยนจาก FB เป็น MVRS มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2021 เป็นต้นไป ส่วนโครงสร้างการเงินยังคงเหมือนเดิม
กรณีนี้อาจเทียบได้ว่าคล้ายกับกรณีของกูเกิล ที่ปรับโครงสร้างบริษัทโดยตั้งโฮลดิ้ง Alphabet ขึ้นมา และให้กูเกิลเป็นบริษัทย่อยในนั้น แต่ตัวย่อหุ้นของกูเกิลยังใช้ GOOG เหมือนเดิม และจำนวนหุ้นก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง
เรื่องชื่อบริษัทมีผลมากจริงๆ จากการที่ Facebook รีแบรนด์เป็น Meta ส่งผลให้หุ้นบริษัทอื่นที่ใช้ชื่อเดียวกันขึ้นด้วย โดย Meta Materials บริษัทเทคโนโลยีด้านวัสดุในแคนาดาหุ้นขึ้น โดยหลังจากปิดการซื้อขายในวันพฤหัสบดี หุ้นของ Meta Materials ซึ่งซื้อขายภายใต้ชื่อ MMAT เพิ่มขึ้นมากถึง 25%
Bloomberg ไปเจอรูปหลุดที่คาดว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Meta หรือในชื่อบริษัทเก่าว่า Facebook เป็นนาฬิกาอัจฉริยะที่มาพร้อมติ่งกล้องบนหน้าปัดนาฬิกาเลย โดย Bloomberg ไปเจอรูปนี้จากแอปพลิเคชันที่ใช้งานร่วมกับ Ray-Ban Stories หรือแว่นตาอัจฉริยะที่เปิดตัวมาก่อนหน้านี้
Mark Zuckerberg ให้สัมภาษณ์กับ The Verge ถึงการเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Facebook เป็น Metaverse นอกจากเหตุผลเรื่องวิสัยทัศน์ใหม่ที่ไปไกลกว่าโซเชียลแล้ว มีประเด็นอื่นที่น่าสนใจดังนี้
สอดคล้องกับการเปลี่ยนชื่อบริษัท Facebook เป็น Meta บริษัทก็ประกาศเลิกใช้แบรนด์ Oculus และเปลี่ยนมาใช้แบรนด์ Meta แทน
Andrew Bosworth หัวหน้าฝ่าย AR/VR ที่เรียกว่า Facebook Reality Labs ประกาศแนวทางการเปลี่ยนชื่อแบรนด์ดังนี้
เฟซบุ๊กประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ว่าจะเป็นบริษัทสำหรับให้บริการโลกเสมือน (metaverse) ที่มีบริการอื่นๆ นอกจากสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก โดย Mark Zuckerberg ระบุว่าคำว่า meta มาจากภาษากรีกที่แปลว่า "ไกลไปกว่า" (beyond) และบริษัทเฟซบุ๊กเองก็กำลังไปไกลกว่าข้อจำกัดของหน้าจอ หรือข้อจำกัดของระยะทาง
แนวทางการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta ยังแปลว่าบริการอื่นๆ ไม่ต้องผูกกับเฟซบุ๊กเสมอไป บริการใหม่ๆ หลังจากนี้จะไม่ต้องการบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กเพื่อใช้งาน
ตอนนี้เฟซบุ๊กจดโดเมน meta.com ไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ทำอะไรนอกจาก redirect เข้าไปยังเฟซบุ๊กเฉยๆ
เว็บไซต์ Platformer ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นข่าวลือว่า Facebook จะเปลี่ยนชื่อบริษัท ว่าตอนนี้ Mark Zuckerberg ยังไม่ตกลงใจว่าจะเลือกชื่ออะไรดี ส่วนช่วงเวลาประกาศชื่อใหม่เป็นไปได้ตั้งแต่วันจันทร์หน้า (25 ต.ค.) ซึ่งเป็นการแถลงผลประกอบการประจำไตรมาส ไปจนถึงงาน Oculus Connect ในวันพฤหัสหน้า (28 ต.ค.)
ไอเดียเรื่องการเปลี่ยนชื่อบริษัท Facebook มีมานานตั้งแต่ปี 2016 โดย Antonio Lucio อดีตหัวหน้าฝ่ายการตลาด (CMO) ในเวลานั้น ที่อยากเปลี่ยนชื่อบริษัทให้ต่างจากชื่อบริการ แต่ไอเดียนี้ไม่ได้รับการตอบรับ
Facebook ประกาศตั้งทีม Metaverse Product Group ทำคอนเทนต์โลกเสมือนจริง ประกอบด้วยทีมย่อยคือ Horizon โซเชียลแบบ VR และทีมคอนเทนต์ที่ดึงมาจาก Facebook Gaming
หัวหน้าทีม Metaverse คือ Vishal Shah ที่ปัจจุบันเป็นผู้บริหารของ Instagram โดยจะขึ้นตรงกับ Andrew Bosworth หัวหน้าฝ่าย AR/VR ของ Facebook อยู่แล้ว
Bosworth บอกว่า Facebook มีทีมฮาร์ดแวร์อย่าง Oculus และ Portal ที่ย้ายตัวเราไปอยู่ในห้องเสมือนจริงร่วมกับคนอื่นๆ อยู่แล้ว แต่ยังขาดการสร้างประสบการณ์ที่ต่อเชื่อมพื้นที่เหล่านี้เข้าด้วยกัน เพราะสุดท้ายแล้ว การเคลื่อนย้ายตัวเองในโลกเสมือน ต้องง่ายในลักษณะเดียวกับการเดินข้ามห้องในโลกกายภาพจริงๆ