กูเกิลออกไลบรารีสำหรับบันทึกไฟล์ภาพเป็น JPEG ตัวใหม่ชื่อ Jpegli มีอัตราการบีบอัดภาพดีกว่าเดิม 35% เมื่อเทียบกับไลบรารี libjpeg62 ตัวที่ใช้งานกันแพร่หลายในปัจจุบัน
Jpegli ถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ใช้เทคนิคใหม่ๆ ในการเข้ารหัส/ถอดรหัส (encode/decode) ไฟล์ JPEG โดยยังคงความเข้ากันได้กับมาตรฐาน JPEG ของเดิม และถึงแม้ทำงานบีบอัดได้ดีขึ้น ไฟล์ภาพขนาดเล็กลง แต่ก็ยังความเร็วในการบีบอัด-คลายการบีบอัด ได้ระดับเดียวกับ libjpeg-turbo และ MozJPG
โครงการ xz ถูกฝังโค้ดวางทางเข้าเซิร์ฟเวอร์ผ่านช่องทาง secure shell นับเป็นเรื่องน่าตระหนก Russ Cox ก็ออกมาเรียบเรียงช่วงเวลาการทำงานของคนร้ายกลุ่มนี้
xz เป็นโครงการโดย Lasse Collin ที่ออกแบบไฟล์โดยใช้กระบวนการบีบอัดแบบ LZMA โดยรวมแล้วมันบีบอัดได้ดีกว่า gzip พอสมควร ไฟล์โดยรวมมีขนาดเพียง 70% ของ gzip จึงได้รับความนิยมสูง ตัวเคอร์เนลลินุกซ์เองก็ใช้กระบวนการบีบอัดนี้ แต่โครงการเริ่มมาตั้งแต่ปี 2005 และ Lasse ก็ดูแลโครงการเรื่อยมา
WordPress ออกเวอร์ชัน 6.5 โค้ดเนม “Regina” มีของใหม่ดังนี้
ที่มา - WordPress
NetBSD โครงการระบบปฏิบัติการสายยูนิกซ์ตระกูล BSD อีกตัว ออกเวอร์ชัน 10.0 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรกในรอบ 4 ปี (เวอร์ชัน 9.0 ออกปี 2020)
ของใหม่ใน NetBSD 10.0 มีทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพหลายจุด รองรับฮาร์ดแวร์ใหม่จำนวนมากโดยเฉพาะบอร์ดสาย Arm, ปรับปรุงการทำงานกับ virtualization ทั้ง Xen และ HyperV, รองรับ WireGuard สำหรับการเชื่อมต่อ VPN, ปรับปรุงการเข้ารหัส cryptography ให้แข็งแรงขึ้น
ที่มา - NetBSD, Notebookcheck
Andres Freund นักพัฒนาจากไมโครซอฟท์รายงานถึงโค้ดของโครงการ xz โปรแกรมบีบอัดที่ได้รับความนิยมกว้างขวาง แต่มีสัปดาห์ที่ออกมามีเวอร์ชั่นใหม่ 5.6.0 และ 5.6.1 ที่มีพฤติกรรมแปลกๆ เมื่อสอบสวนเพิ่มเติมกลับพบว่าโค้ดเหล่านี้ถูกใส่เพิ่มเข้ามาในสคริปต์ build จาก tarball โดยไม่มีโค้ดใน repository จริง
จากการสอบสวนเพิ่มเติม พบว่าแม้ตัวโค้ดเองจะไม่ได้ทำงานผิดปกติอะไรเมื่อไลบรารี liblzma
ถูกเรียกจาก OpenSSH ไลบรารีจะพยายามแทรกฟังก์ชั่นเข้าไปแทนฟังก์ชั่นถอดรหัสกุญแจ RSA ใน OpenSSH แม้จะยังไม่มีข้อมูลเต็มรูปแบบว่าโค้ดพยายามทำอะไร แต่ก็แสดงเจตนาว่านักพัฒนาพยายามแทรกโค้ดเพื่อเจาะระบบ secure shell
Linux Foundation ประกาศตั้งโครงการ Valkey ซึ่งเป็นการ fork โครงการ Redis ที่เพิ่งปรับเปลี่ยนไลเซนส์ซอฟต์แวร์จาก BSD มาเป็น SSPL ตามแนวทางของบริษัท Redis Inc. ผู้พัฒนาหลักของโครงการ
กลุ่มบริษัทไอทีที่ประกอบด้วย Intel, Arm, Google, Samsung, Qualcomm, Fujitsu, Imagination, VMware ร่วมกับ Linux Foundation ก่อตั้งกลุ่ม Unified Acceleration (UXL) Foundation พยายามสร้างมาตรฐานเปิดสำหรับชิปเร่งการประมวลผล (accelerator) ที่มีหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาด
งานของ UXL จะอิงกับสเปก oneAPI ที่ Intel บุกเบิกมาหลายปีแล้ว เพื่อมาถ่วงดุลกับ CUDA ของ NVIDIA ที่เป็นเจ้าตลาดนี้มายาวนาน และกลายเป็นตัวช่วยรักษาส่วนแบ่งตลาดจีพียูของ NVIDIA เนื่องจากซอฟต์แวร์จำนวนมากในวงการนั้นอิงกับ CUDA (เหมือน Intel ไปเรียกพวกมาช่วยสนับสนุน oneAPI)
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราเห็น Rust ถูกนำไปใช้เขียนซอฟต์แวร์พื้นฐานสำคัญๆ หลายตัวที่เดิมสร้างด้วย C/C++ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยที่ระดับตัวภาษา Rust เอง ตัวอย่างโครงการลักษณะนี้คือ su/sudo ตัวใหม่ที่เขียนด้วย Rust, Rustls โครงการทดแทน OpenSSL, mod_tls ของ Apache เป็นต้น
ในโลกของลินุกซ์ยังมีซอฟต์แวร์พื้นฐานที่เรียกรวมๆ ว่า coreutils (ย่อมาจาก Core Utilities) ตัวอย่างที่ใช้บ่อยๆ คือคำสั่งอย่าง ls, ln, more, chmod, chown, cat, printenv, wc เป็นต้น ซอฟต์แวร์เหล่านี้ถูกสร้างโดยโครงการ GNU มายาวนานตั้งแต่ยุค 90s และพัฒนาด้วยภาษา C
Drew DeVault ผู้ก่อตั้งบริษัท SourceHut แพลตฟอร์มพัฒนาซอฟต์แวร์ ประกาศแยกโครงการ Redis ออกมาเป็นโครงการโอเพนซอร์สในชื่อ Redict หลังจาก Redis Labs ประกาศเปลี่ยนไลเซนส์ไปเป็น SSPL ที่กระทบต่อการให้บริการคลาวด์
การแยกโครงการนี้ทำพร้อมกับเปลี่ยนไลเซนส์แน่นขึ้นเล็กน้อยเป็น LGPL ซึ่งสามารถทำได้ เพราะเดิม Redis ใช้ BSD-3 เข้ากันได้กับ LGPL และนักพัฒนา Redict อนุญาตให้ใช้โค้ดใหม่เป็น LGPL ผสมไปกับโค้ดเดิมที่ดึงมาจาก Redis
โครงการที่แยกออกมาจาก Redis มีก่อนหน้านี้แล้ว เช่น โครงการ KeyDB ที่แยกออกมาเพื่อพยายามซัพพอร์ตการประมวลผลแบบ multithread ก็ได้รับความนิยมพอสมควร
ไมโครซอฟท์ปล่อยโครงการ Garnet ระบบแคชประสิทธิภาพสูงที่ใช้โปรโตคอล RESP ของ Redis ทำให้สามารถใช้ไคลเอนต์ Redis ต่อเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ Garnet ได้ทันที
ทีมพัฒนา Garnet คือ Microsoft Research ที่ใช้ Garnet สาธิตงานวิจัยหลายตัวสำหรับการออกแบบระบบแคชประสิทธิภาพสูง โครงสร้างหลักเป็นสโตร์สองชุด ชุดหนึ่งเก็บข้อมูลสตริง อีกชุดเก็บข้อมูลอื่นที่ซับซ้อนกว่า เช่น Set, Hash, List, หรือ Geo การเชื่อมต่อ TLS และอ่านข้อมูลสตอเรจถูกออกแบบให้ไม่สวิตช์เธรดระหว่างการทำงานเพื่อลด overhead
ผลทดสอบ Garnet นั้นดีกว่า Redis 7.2, KeyDB, ไปจนถึง Dragonfly โดยเฉพาะในกรณีที่ส่งคำสั่งเป็นแบตช์ใหญ่ๆ และค่า latency ก็ต่ำกว่าชัดเจน
Redis ประกาศเปลี่ยนไลเซนส์โครงการจากเดิมเป็น BSD ที่ให้อิสระสูงมาเป็น SSPL แบบเดียวกับ MongoDB และ Elasticsearch
SSPL ออกแบบโดย MongoDB บังคับว่าผู้นำโค้ดไปให้บริการคลาวด์ต้องเปิดเผยซอร์สโค้ดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปด้วย ทำให้ในทางปฎิบัติไม่มีผู้ให้บริการคลาวด์รายใดนำโค้ดเหล่านี้ไปใช้หากไม่ได้ซื้อไลเซนส์ทางธุรกิจ
ทาง Redis ระบุว่าตั้งแต่ Redis 7.4 เป็นต้นไปผู้ให้บริการคลาวด์ต้องทำข้อตกลงกับบริษัท Redis ล่วงหน้า โดยทาง Redis ยอมรับว่าการเปลี่ยนไลเซนส์แบบนี้จะทำให้โครงการ Redis ไม่ใช่โอเพนซอร์สอีกต่อไป แต่ก็พยายามสร้างสมดุลระหว่างธุรกิจและการเปิดกว้างให้ใช้งาน
ที่มา - Redis
GNOME 46 ออกเวอร์ชันใหม่ตามรอบทุก 6 เดือน เวอร์ชันนี้มีของใหม่หลายอย่างดังนี้
xAI สตาร์ทอัพด้าน AI ของ Elon Musk โอเพนซอร์ส Grok-1 โมเดล LLM ของบริษัท ซึ่งในซอร์สมีทั้งค่าพื้นฐานจำเป็นคือ Weight และโครงสร้างเครือข่าย ตามที่ Musk เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้
Grok-1 เป็นโมเดลขนาด 314 พันล้านพารามิเตอร์ ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ Mixture-of-Experts (MoE) ตัวโอเพนซอร์สนี้เป็นโมเดลในระยะก่อนการเทรน (Pre-training) สถานะ ณ เดือนตุลาคม 2023 จึงยังไม่ได้ถูกปรับแต่งเพื่อแอพพลิเคชันหรือลักษณะการนำไปใช้งานใดโดยเฉพาะ
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ github.com/xai-org/grok
ที่มา: xAI
ข่าวสั้นจาก Elon Musk ในฐานะเจ้าของ xAI สตาร์ทอัพด้าน AI ที่มีแชทบอตถามตอบ Grok ให้บริการ โดยเขาโพสต์ข้อความใน X ว่า xAI จะโอเพนซอร์ส Grok ภายในสัปดาห์นี้
Musk เปิดตัว Grok เมื่อพฤศจิกายนปีที่แล้ว และชูจุดเด่นว่า Grok เรียนรู้ข้อมูลจาก X แบบเรียลไทม์ โดยจะเปิดให้ใช้งานกับผู้สมัคร X Premium
ศาลฝรั่งเศสตัดสินคดีฟ้องร้อง ให้บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ Orange แพ้คดีละเมิดการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้ไลเซนส์แบบ GPL
ซอฟต์แวร์ตัวนี้คือ Lasso เป็นไลบรารีภาษา C ด้านความปลอดภัย ใช้จัดการโปรโตคอลยืนยันตัวตน Security Assertion Markup Language (SAML) สำหรับทำ single sign-on โดยผู้พัฒนาคือบริษัท Entr'ouvert ของฝรั่งเศส ตัวซอฟต์แวร์มีไลเซนส์ 2 แบบคือ GPL สำหรับการใช้งานทั่วไป แต่ถ้าต้องการนำไปใช้เชิงพาณิชย์ต้องซื้อไลเซนส์จาก Entr'ouvert
Alex Deucher วิศวกรของ AMD ที่อยู่ในทีมพัฒนาไดรเวอร์ HDMI 2.1 เปิดเผยในฐานข้อมูลบั๊กของไดรเวอร์ AMD บน Freedesktop.org ว่ากลุ่ม HDMI Forum ผู้กำหนดมาตรฐาน HDMI ไม่อนุญาตให้ AMD เปิดซอร์สโค้ดของไดรเวอร์ตัวนี้สู่สาธารณะ ส่งผลให้โลกลินุกซ์จะไม่มีไดรเวอร์ HDMI 2.1 แบบโอเพนซอร์ส แจกจ่ายได้เฉพาะไบนารีเท่านั้น
อินเทลเปิดซอร์สโค้ด Intel NPU Acceleration Library ไลบรารีภาษา Python สำหรับเรียกใช้งาน Neural Processing Unit (NPU) ในซีพียูรุ่นใหม่ๆ ของอินเทล นับตั้งแต่ Core Ultra (Meteor Lake) เป็นต้นไป
โลกปี 2024 เราคงจะได้ยินการพูดถึงชิป NPU กันมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้ผลิตซีพียูทั้งอินเทลและเอเอ็มดีต่างเริ่มใส่ NPU เข้ามาแล้ว ผนวกกับการดันคำว่า AI PC ของไมโครซอฟท์ในฝั่งการตลาดต่างๆ
ระบบเดสก์ท็อป KDE Plasma ออกเวอร์ชัน 6.0 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรกในรอบสิบปี นับจาก KDE Plasma 5.0 ในปี 2014
ของใหม่ใน KDE Plasma 6.0
บริษัท Buoyant ผู้พัฒนาหลักของ Linkerd ซอฟต์แวร์ service mesh ที่ใช้กันแพร่หลายในวงการ Kubernetes ประกาศปรับโมเดลธุรกิจใหม่ โดยนับตั้งแต่ Linkerd 2.15 เวอร์ชันล่าสุดเป็นต้นไป จะมีเฉพาะรุ่นเสถียรที่ต้องจ่ายเงินเท่านั้น
Linkerd เวอร์ชันโอเพนซอร์สจะยังมีอยู่เหมือนเดิม แต่จะมีเฉพาะ edge release ที่ออกใหม่ทุกสัปดาห์เท่านั้น ถ้าอยากได้รุ่นเสถียร (stable release) สำหรับงานโปรดักชัน การันตีว่าอัพเกรดเวอร์ชันแล้วไม่พัง จำเป็นต้องใช้ Buoyant Enterprise for Linkerd (BEL) เวอร์ชันเชิงพาณิชย์ ในราคา 2,000 ดอลลาร์ต่อคลัสเตอร์ (มีข้อยกเว้นให้องค์กรขนาดเล็กกว่า 50 คนใช้ฟรี)
กูเกิลเปิดตัว Gemma โมเดลภาษาแบบโอเพนซอร์ส ที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก Gemini โมเดลเชิงพาณิชย์ของตัวเอง และพัฒนาโดยทีม Google DeepMind เหมือนกัน มีโครงสร้างทางเทคนิคบางส่วนเหมือนกัน
กูเกิลปล่อย Gemma ออกมา 2 ขนาดคือ 2B และ 7B (ดาวน์โหลดได้จาก Kaggle หรือ Hugging Face) โดยระบุว่าโมเดลขนาด 7B สามารถเอาชนะคู่แข่งที่ระดับเดียวกันคือ Llama 7B ในเบนช์มาร์คต่างๆ ได้ค่อนข้างทิ้งห่าง และเอาชนะได้แม้กระทั่ง Llama 13B ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ด้วยซ้ำ
กูเกิลเปิดโครงการ Magika โมเดลปัญญาประดิษฐ์ขนาดเล็กสำหรับการระบุชนิดไฟล์ หรือ mime type เพื่อให้โปรแกรมต่างๆ จัดการไฟล์ได้ถูกต้อง
กระบวนการระบุชนิดไฟล์นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ชัดเจน โปรแกรม file สำหรับคาดเดาประเภทไฟล์นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกใน Unix เวอร์ชั่น 4 เมื่อปี 1973 หรือ 51 ปีมาแล้ว ทุกวันนี้โค้ดยังคงใช้งานกันต่อมาเรื่อยๆ โครงการ file นั้นใช้ระบบ source control ตัวแรกคือ RCS เมื่อปี 1987 ก่อนหน้า CVS ด้วยซ้ำ
Maxim Dounin หนึ่งในนักพัฒนาหลักของโครงการ nginx ประกาศแยกโครงการออกมาในชื่อ freenginx หลังจากมีปัญหากับทาง F5 ในประเด็นแนวทางการพัฒนา
F5 เข้าซื้อ NGINX Inc. มาตั้งแต่ปี 2019 และ Dounin เองก็เป็นพนักงานของ F5 จนกระทั่งทาง F5 ปิดสำนักงานในรัสเซียไปเมื่อปี 2022 หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครน ตัว Dounin ระบุว่าเขาพัฒนา nginx ต่อโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน นอกจากนี้ประกาศของ Dounin ยังระบุถึงปัญหานโยบายความปลอดภัยของโครงการว่าถูกก้าวก่ายโดย F5 แต่เขาก็ไม่ระบุชัดเจนว่ามีปัญหากรณีใด
Fedora ประกาศแบรนด์ Fedora Atomic Desktops ดิสโทรย่อยที่ใช้ระบบแพ็กเกจแบบแก้ไขภายหลังไม่ได้ (immutable) โดยใช้ระบบจัดการแพ็กเกจ rpm-ostree ที่มองแพ็กเกจทั้งหมดในอิมเมจเป็นแผนภูมิต้นไม้
Project Atomic ของ Fedora เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2014 (Blognone รายงานครั้งแรกในปี 2016) โดยเริ่มจากการเป็นอิมเมจเพื่อใช้บนคลาวด์อย่างเดียว (ตอนหลังกลายเป็น Fedora CoreOS) แล้วขยายมายังตลาดเวิร์คสเตชันในชื่อ Fedora Silverblue
Ollama ซอฟต์แวร์สำหรับรันโมเดลปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม LLM ปล่อยไลบรารีสำหรับพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนภาษา Python และ JavaScript จากเดิมที่ต้องเขียน REST API โดยตรง
ไลบรารีทั้งสองตัวรองรับฟีเจอร์ของ Ollama ครบชุด ได้แก่ streaming สำหรับการคืนคำตอบทีละส่วน, multi-modal ใส่ภาพเป็นอินพุต, text completion สำหรับถามตอบปกติ, และ custom models สำหรับการกำหนด system prompt ด้วยตัวเอง
แนวทางการรัน LLM บนเครื่องไคลเอนต์เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย, คาดเดาระยะเวลารันได้แน่นอน, และโมเดลขนาดเล็กก็เริ่มมีประสิทธิภาพดีขึ้นในช่วงหลังๆ เช่น ไมโครซอฟท์เองก็เพิ่งปล่อยโมเดล Phi-2 ออกมา
Zed โปรแกรมแก้โค้ดที่เน้นประสิทธิภาพการตอบสนองต่อการพิมพ์ในระดับเกมมิ่งและรองรับการเขียนโค้ดร่วมกันในตัว ประกาศเปิดซอร์สโค้ดทั้งฝั่งไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดให้ใช้งานได้ฟรี โดยฝั่งไคลเอนต์มีสัญญาอนุญาตเป็น GPL และฝั่งเซิร์ฟเวอร์เป็น AGPL
Zed ชูจุดเด่นที่ latency จากการกดแป้นพิมพ์จนถึงการแสดงตัวอักษรบนหน้าจอต่ำกว่าโปรแกรมแก้ไขโค้ดอื่นๆ โดยอาศัยส่วนกราฟิกใน Apple Silicon และไลบรารีของตัวเองที่ชื่อว่า GPUI ที่เขียนด้วย Rust นอกจากการตอบสนองต่อการพิมพ์จะเร็วแล้ว ยังสามารถเปิดโปรแกรมได้เร็วและกินหน่วยความจำน้อย