OpenAI ปล่อยโมเดลแปลงเสียงเป็นข้อความ whisper-large-v3-turbo
ปรับย่อโมเดลโดยลดชั้น decoder ลงจาก 32 ชั้นเหลือ 8 ชั้น ทำให้พารามิเตอร์เดิม 1,550 ล้านพารามิเตอร์เหลือเพียง 809 ล้านพารามิเตอร์เท่านั้น
หลังจากปรับย่อลงแล้ว ทีมงานนำข้อมูลฝึกของโมเดล large-v3
เดิมมาฝึกซ้ำอีกสองรอบแล้ววัดประสิทธิภาพรวม พบว่าโมเดลกลับไปมีคุณภาพค่อนข้างดีใกล้เคียงกับโมเดลต้นทาง ยกเว้นภาษาไทยและกวางตุ้งเท่านั้นที่ประสิทธิภาพลดลงชัดเจน ในกรณีชุดข้อมูล Common Voice นั้นอัตราคำผิดภาษาไทยสูงขึ้นเกือบ 4 เท่าตัว
OpenAI เพิ่งประกาศรับเงินเพิ่มทุน 6,600 ล้านดอลลาร์ แถมท่าทีของบริษัทก็บอกไม่อยากให้ผู้ลงทุนเอาเงินไปให้บริษัทอื่น ถึงตรงนี้อาจมีคนสงสัยว่า OpenAI ต้องการเงินสดแค่ไหนกันแน่ หรือ 6,600 ล้านก็ยังไม่พอ
CNBC อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องบอกว่า OpenAI ได้ขอรับสินเชื่อวงเงิน 4,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมาพร้อมกับแผนการเพิ่มทุนในรอบนี้ด้วย ทำให้เงินสดรวมที่บริษัทได้มีมากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยธนาคารที่ให้สินเชื่อมีทั้ง JPMorgan Chase, Citi, Goldman Sachs, Morgan Stanley, Santander, Wells Fargo, SMBC, UBS และ HSBC
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อต้นปีนี้ OpenAI เปิดตัวโมเดลสร้างวิดีโอจากข้อความ Sora สร้างเสียงฮือฮามากมาย แต่หลังจากเวลาผ่านมาหลายเดือน สถานะของ Sora ยังเป็นแค่การทดสอบภายใน ยังไม่เปิดให้ใช้งานทั่วไป
เท่านั้นยังไม่พอ ล่าสุด Tim Brooks หนึ่งในสองหัวหน้าทีมวิจัย Sora (เครดิตบนหน้าเว็บ OpenAI) ประกาศ "ย้ายวิก" ข้ามมาทำงานกับ Google DeepMind เรียบร้อยแล้ว เขาระบุว่าจะมาทำงานด้านสร้างวิดีโอตามที่ตัวเองถนัด รวมถึงทำเรื่องการจำลองโลก (world simulator) ด้วย
OpenAI เปิดตัว Canvas อินเทอร์เฟซสำหรับการใช้งาน ChatGPT แบบใหม่ ซึ่ง OpenAI บอกว่าเหมาะกับงานเขียนเนื้อหาบทความ หรืองานเขียนโค้ด ซึ่งแตกต่างไปจากวิธีการแชทสนทนาแบบเดิม
Canvas ทำงานโดยเปิดเป็นหน้าต่างแยกจากกล่องแชทหลัก เป็นพื้นที่ให้สามารถจัดการสิ่งที่ต้องการ ปรับแต่งผลลัพธ์ ระบุความต้องการเฉพาะได้ง่ายขึ้นกว่าวิธีการป้อน Prompt ไปมา
การทำงานมีสองโหมดคือ Writing ซึ่ง Canvas มีปุ่มทางลัดทั้ง ระบุการแก้ไขข้อความเฉพาะส่วน, สั่งปรับความยาวของบทความ, ปรับระดับภาษา-ความยากเนื้อหา, ตรวจไวยากรณ์, แทรกอีโมจิ และโหมด Coding มีปุ่มทางลัด ให้ตรวจสอบโค้ดเฉพาะส่วน, เพิ่ม Log, เพิ่ม Comment, สั่งแก้บั๊ก, ส่งออกเป็นภาษาโปรแกรมอื่น
หลังจาก OpenAI ประกาศรับเงินจากนักลงทุนรอบล่าสุด 6,600 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการ 157,000 ล้านดอลลาร์ ทำให้ OpenAI ขยับอันดับขึ้นมาเป็นบริษัทสตาร์ทอัป (มี Venture Capital ลงทุน และยังไม่เข้าตลาดหุ้น) ที่มีมูลค่ากิจการสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก
อ้างอิงข้อมูลจาก CBInsights มีสองบริษัทที่มูลค่ากิจการสูงกว่า OpenAI ได้แก่ ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok 225,000 ล้านดอลลาร์ และ SpaceX บริษัทด้านอวกาศของ Elon Musk มูลค่ากิจการ 200,000 ล้านดอลลาร์
มีประเด็นน่าสนใจจากการประกาศรับเงินลงทุนรอบล่าสุดของ OpenAI ที่สูงถึง 6,600 ล้านดอลลาร์ บนมูลค่ากิจการ 1.57 แสนล้านดอลลาร์ โดย OpenAI ได้แจ้งกับผู้ลงทุนรอบนี้ ว่าบริษัทไม่ต้องการให้พวกเขา ไปลงทุนในบริษัท AI คู่แข่ง
Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องบอกว่า OpenAI ระบุรายชื่อ 5 บริษัท ที่มองว่าเป็นคู่แข่งสำคัญในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ Anthropic, xAI ของ Elon Musk ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI, Safe Superintelligence ของ Ilya Sutskever ผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI, Perplexity และ Glean
OpenAI ประกาศรายละเอียดเพิ่มทุนรอบใหม่ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ โดยได้เงินจากนักลงทุนรวม 6.7 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.2 แสนล้านบาท ที่มูลค่ากิจการ 1.57 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 5.16 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนรอบล่าสุดที่ 8.6 หมื่นล้านดอลลาร์ เกือบเท่าตัว
OpenAI บอกว่าเงินทุนก้อนใหม่นี้ จะนำมาใช้เพิ่มจำนวนพลังการประมวลผล และสร้างเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อช่วยผู้คนแก้ปัญหาที่มีความยาก ทำให้บริษัทยังคงความเป็นผู้นำด้านงานวิจัย AI
OpenAI ปิดรอบการรับเงินลงทุนรอบใหม่ด้วยเงินลงทุน 6,600 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 220,000 ล้านบาท มูลค่าบริษัทล่าสุดอยู่ที่ 157 พันล้านดอลลาร์หรือประมาณ 5.2 ล้านล้านบาท
ผู้ลงทุนเดิมอย่างไมโครซอฟท์และ NVIDIA ยังคงเพิ่มเงินลงทุนในรอบนี้ รวมถึงกองทุน venture capitals อย่าง Thrive Capital ที่ลงทุนก่อนหน้านี้แล้ว ขณะที่กองใหม่เข้ามาเพิ่มเติม เช่น SoftBank, Fidelity ที่หายไปคือแอปเปิลที่เคยแสดงความสนใจจะลงทุน โดยเงินลงทุนรอบนี้เป็นการลงทุนแบบตราสารหนี้แปลงสภาพ และจะแปลงกลายเป็นหุ้นต่อเมื่อบริษัทแปลงร่างให้กลายเป็นบริษัทแสวงหากำไรเต็มตัวสำเร็จ ไม่ถูกอั้นกำไรและถูกควบคุมโดยฝั่งมูลนิธิตามโครงสร้างเดิมอีกต่อไป
Fortune ออกรายงานพิเศษ โดยได้สัมภาษณ์แหล่งข่าวภายใน OpenAI หลายคน หลังจากผู้บริหารระดับสูงหลายคนประกาศลาออก รวมทั้ง Mira Murati ซีทีโอ ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่กี่เดือน ผู้บริหารหลายคนก็ลาออก เช่น Ilya Sutskever ที่เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง หรือ Jan Leike หัวหน้าทีมความปลอดภัย AI ทั้งหมดเพื่อตอบคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นที่ OpenAI?
Durk Kingma หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI อีกคน (ที่ไม่ดังมากนัก) ประกาศว่าเขาเข้าไปทำงานกับบริษัทคู่แข่ง Anthropic
Kingma เป็นหนึ่งในทีมนักวิจัย AI ที่ร่วมก่อตั้ง OpenAI ในปี 2015 เขาอยู่กับบริษัทจนถึงปี 2018 แล้วย้ายไปอยู่กับ Google Brain/DeepMind จนถึงปี 2024 และล่าสุดย้ายมาอยู่กับ Anthropic ที่ก่อตั้งโดยอดีตพนักงาน OpenAI ที่แนวทางไม่ตรงกัน
Kingma บอกว่าแนวทางการพัฒนา AI ของ Anthropic ตรงกับความเชื่อของเขา และมีเพื่อนร่วมงานเก่าๆ จาก OpenAI และ Google ย้ายมาอยู่ที่นี่กันหลายคน
OpenAI ประกาศฟีเจอร์ฝั่งนักพัฒนาชุดใหญ่ โดยฟีเจอร์สำคัญคือการเปิด API รับข้อมูลเสียงโดยตรงเปิดทางสร้างแอปพลิเคชั่นคุยแบบธรรมชาติใน Advanced Voice Mode จากเดิมที่นักพัฒนานอก OpenAI ไม่สามารถทำแอปเหมือนกันได้
การรับเสียงจะสามารถใช้งานได้ทาง Realtime API ที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ผ่าน WebSocket แทน HTTP แบบเดิม แม้จะออกแบบมาเพื่อคุยเสียงเป็นหลักแต่ที่จริงก็ใช้คุยแชตข้อความปกติได้ พร้อมกันนี้ Chat API เดิมก็จะรองรับข้อมูลเสียงและโมเดล GPT-4o สามารถตอบกลับเป็นเสียงได้เหมือนกัน แม้จะไม่ตอบกลับทันทีเหมือน Realtime API
มีรายงานจาก The Information เปิดเผยผู้ลงทุนอีกรายในการเพิ่มทุนรอบใหม่ของ OpenAI ที่ซีเอฟโอคาดว่าจะประกาศได้ในสัปดาห์นี้นั่นคือ SoftBank โดยคาดว่าจะร่วมลงทุนเป็นเงิน 500 ล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้มีรายงานจำนวนเงินรวมจากนักลงทุนที่ OpenAI จะได้รับในรอบนี้อยู่ที่ราว 6,500 ล้านดอลลาร์ บนมูลค่ากิจการ 1.5 แสนล้านดอลลาร์ แต่ OpenAI อาจต้องปรับโครงสร้างองค์กรให้รองรับระบบส่วนแบ่งกำไรเพื่อนักลงทุนด้วย
SoftBank และ OpenAI ไม่ได้ออกมาให้ความเห็นต่อรายงานข่าวนี้
ในรายงานเรื่องเอกสารคาดการณ์ผลประกอบการของ OpenAI ที่ประเมินรายได้ปีนี้ 3.7 พันล้านดอลลาร์ มีอีกข้อมูลที่น่าสนใจคือแผนการขยับขึ้นราคาบริการ Subscription ChatGPT Plus
ปัจจุบันค่าบริการ ChatGPT Plus อยู่ที่ 20 ดอลลาร์ต่อเดือน แต่เพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น OpenAI อาจขึ้นราคาเป็น 22 ดอลลาร์ ภายในสิ้นปีนี้ และถ้ายังไม่พอ ภายในปี 2029 อาจเพิ่มราคาเป็นถึง 44 ดอลลาร์
ตัวเลขนี้อาจเกิดหรือไม่เกิดขึ้นจริงก็ได้ เพราะ OpenAI น่าจะใช้ตัวเลขนี้ในการทำต้นแบบคาดการณ์รายได้ ขณะที่ TechCrunch มีข้อมูลสำรวจพบว่าตรงราคา 20 ดอลลาร์นี้ คนใช้งานจำนวนมากก็รู้สึกว่าแพงอยู่แล้ว
The Wall Street Journal รายงานจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ว่าตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ถึงแผนการเพิ่มทุน OpenAI รอบใหม่ ซึ่งมีรายชื่อแอปเปิล เป็นหนึ่งในผู้ร่วมลงทุนด้วย ล่าสุดแอปเปิลได้ตัดสินไม่เข้าร่วมการลงทุนแล้ว
Sarah Friar ซีเอฟโอของ OpenAI เปิดเผยว่าข้อตกลงการเพิ่มทุนทั้งหมดจะสรุปได้ภายในสัปดาห์หน้า โดยมีตัวเลขเงินลงทุนรวมไม่เป็นทางการอยู่ประมาณ 6,500 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการประมาณ 1.5 แสนล้านดอลลาร์ และไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายสำคัญใน OpenAI คาดว่าจะลงทุนเพิ่มในรอบนี้อีกประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์
มีรายงานตัวเลขคาดการณ์ผลการดำเนินงานของ OpenAI ในปีนี้ โดยบริษัทประเมินว่าปีนี้จะมีรายได้รวมประมาณ 3.7 พันล้านดอลลาร์ และขาดทุนสุทธิประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ เฉพาะในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา OpenAI มีรายได้ประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1,700% เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมปี 2023
ตัวเลขนี้อาจช่วยอธิบายได้ว่าทำไม OpenAI จึงต้องทำการรับเงินเพิ่มทุนรอบใหม่ รวมทั้งปรับโครงสร้างบริษัทเพื่อให้นักลงทุนสนใจมากขึ้น ซึ่งประเด็นนี้อาจเกี่ยวข้องกับการลาออกของผู้บริหารระดับสูงหลายคนด้วย
CNBC อ้างอีเมลที่ OpenAI แจ้งกับผู้ลงทุนในบริษัท เป็นการรายงานความคืบหน้าแผนการเพิ่มทุนรอบใหม่ โดยซีเอฟโอ Sarah Friar บอกว่ามีเงินลงทุนที่เสนอเข้ามาเกินกว่าที่บริษัทต้องการ คาดว่าจะสรุปรายละเอียดได้ในสัปดาห์หน้า ซึ่งตัวเลขมูลค่ากิจการที่มีรายงานก่อนหน้านี้อยู่ที่ราว 1.5 แสนล้านดอลลาร์
Friar ยังพูดถึงประเด็นที่นักลงทุนอาจมีความกังวล จากการลาออกของผู้บริหารระดับสูงหลายคน ยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลกระทบ แต่บริษัทยังมีทีมงานผู้บริหารที่แข็งแกร่งอยู่
OpenAI ได้จัดการประชุมพนักงานทั้งบริษัท All-hands ในวันนี้ หลังการลาออกของผู้บริหารระดับสูงหลายคน รวมทั้งซีทีโอ Mira Murati ขณะเดียวกันก็มีรายงานข่าวว่า OpenAI มีแผนปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ให้ความสำคัญกับฝั่ง For-Profit มากขึ้น เพื่อให้นักลงทุนมีความสนใจที่จะใส่เงินเพิ่มทุน จึงอาจเกิดคำถามต่อเป้าหมายหลักองค์กรในการสร้าง AGI หรือปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถรอบด้าน
Bob McGrew ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายวิจัย และ Barret Zoph รองประธานฝ่ายวิจัยของ OpenAI โพสต์ข้อความประกาศการลาออกจากบริษัท ซึ่งเป็นการลาออกของผู้บริหารระดับสูงสองคนล่าสุด ถัดจากซีทีโอ Mira Murati ที่ประกาศลาออกไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้
Bob McGrew บอกว่าตอนนี้เขาต้องการเวลาพักผ่อน โดยผลงานสุดยอดที่เขาได้ส่งมอบไปแล้วคือโมเดล o1 ส่วน Barret Zoph บอกว่าหลังจากทำงานที่ OpenAI มานาน มีส่วนร่วมกับการนำ ChatGPT ออกสู่ผู้คน ก็น่าจะเป็นเวลาที่เขาออกไปหาโอกาสใหม่นอก OpenAI ซึ่งทั้งหมดเป็นการตัดสินใจส่วนตัวในเรื่องหน้าที่การงาน
Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง รายงานแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจของ OpenAI ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ โดยจะเปลี่ยนให้ส่วนธุรกิจแสวงหากำไร (For-Profit) เป็นส่วนหลักของบริษัท ไม่ถูกกำกับดูแลโดยบอร์ดของฝั่งธุรกิจไม่แสวงหากำไร (Non-Profit) ซึ่งเป็นโครงสร้างเฉพาะของ OpenAI ที่ใช้มานาน
ส่วน Non-Profit ของ OpenAI จะยังคงมีอยู่ต่อไป โดยปรับสถานะเป็นผู้ถือหุ้นรายเล็กในธุรกิจ For-Profit และยังคงเป้าหมายในการพัฒนา AGI หรือปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถรอบด้านและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
Mira Murati ซีทีโอ OpenAI เปิดเผยว่าตนเองได้ลาออกจากบริษัท หลังจากทำงานที่นี่มา 6 ปีครึ่ง โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้มีเวลาและพื้นที่สำหรับการค้นพบสิ่งใหม่ของตนเอง
Murati บอกว่านี่เป็นการตัดสินใจยากมาก จากนี้สิ่งที่ตนจะโฟกัสคือการถ่ายโอนงานและอำนาจที่ดูแลอยู่ให้เรียบร้อยดีที่สุด เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินต่อไปได้
OpenAI ประกาศว่าความสามารถสนทนาเสียง Advanced Voice Mode (AVM) ได้เริ่มเปิดให้ใช้งานสำหรับลูกค้าเสียเงินทุกคนแล้วทั้ง ChatGPT Plus และ ChatGPT Team หลังจากทดสอบในกลุ่มจำกัดและเลื่อนจากกำหนดเดิมก่อนหน้านี้ ส่วนลูกค้ากลุ่ม Enterprise และ Edu จะได้ใช้ในสัปดาห์หน้า
ฟีเจอร์ Advanced Voice ใน ChatGPT ยังได้รับการปรับปรุงอนิเมชันในหน้าสนทนา เปลี่ยนจากจุดสีดำ มาเป็นวงกลมสีฟ้า มีการปรับปรุงความเร็วและความลื่นไหลในการออกเสียงสนทนา และเพิ่มอีก 5 เสียงใหม่ได้แก่ Arbor, Maple, Sol, Spruce และ Vale รวมเป็นทั้งหมด 9 ตัวเลือกเสียง ส่วนเสียง Sky ถูกตัดออกไปเพราะประเด็นกับ Scarlett Johansson
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า LoveForm บริษัทด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ของ Jonathan Ive อดีตหัวหน้าทีมออกแบบของ Apple กำลังร่วมมือกับ OpenAI เพื่อพัฒนาฮาร์ดแวร์ AI ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและขอรับเงินจากนักลงทุน ล่าสุด Ive ยืนยันเรื่องนี้เองแล้ว
โดย The New York Times ได้สัมภาษณ์พิเศษ Ive ที่สำนักงานของ LoveForm ในซานฟรานซิสโก ซึ่งเขาพูดถึงโครงการพัฒนาฮาร์ดแวร์ AI ร่วมกับ Sam Altman ซีอีโอ OpenAI ซึ่งผ่านการพูดคุยร่วมกับ Brian Chesky ซีอีโอ Airbnb และกลุ่มนักลงทุนอีกหลายราย เงินลงทุนนั้นอาจสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ รวมทั้งอาจมี Masayoshi Son ซีอีโอ SoftBank ร่วมลงทุนด้วย
Fortune รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวใน OpenAI บอกว่าบริษัทได้จัดการประชุมพนักงาน และพูดถึงการเปลี่ยนโลโก้และชุดตัวอักษร (Typeface) ของ OpenAI แบบใหม่ โดยโลโก้เหลือเพียงตัวอักษร O เท่านั้น
รายงานบอกว่าพนักงานหลายคนไม่เห็นด้วยกับโลโก้ใหม่นี้ โดยมองว่าโลโก้ปัจจุบันที่เป็นรูปดอกไม้หกแฉกนั้นเหมาะสมอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามโลโก้ใหม่นี้ยังมีสถานะแบบร่างเป็นข้อเสนอเท่านั้น ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนได้อีกครั้ง
การเปลี่ยนโลโก้ใหม่ของ OpenAI เป็นส่วนหนึ่งในแผนการเพิ่มทุนรอบใหม่ และการปรับโครงสร้างองค์กรที่มีรายงานออกมาก่อนหน้านี้
OpenAI ประกาศเปลี่ยนแปลงในฝ่ายของคณะกรรมการด้านความปลอดภัยหรือ Safety and Security Committee ที่ตั้งขึ้นมาเมื่อเดือนพฤษภาคม เพื่อดูแลตรวจสอบให้คำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัย ของโครงการต่าง ๆ ใน OpenAI โดยเปลี่ยนสถานะให้เป็นคณะกรรมการอิสระ ที่คอยประเมินและให้ความเห็นกับบอร์ดของ OpenAI อีกครั้ง
คณะกรรมการอิสระด้านความปลอดภัยนี้มี Zico Kolter ผู้อำนวยการฝ่าย Machine Learning ที่ Carnegie Mellon University เป็นประธานกรรมการ และมีกรรมการได้แก่ Adam D’Angelo ผู้ก่อตั้ง Quora และซีอีโอ, Paul Nakasone อดีตนายพลกองทัพสหรัฐ และอดีตหัวหน้า NSA, Nicole Seligman อดีตรองประธานฝ่ายบริหารที่ Sony
สำนักข่าว Reuters มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการเพิ่มทุนของ OpenAI ที่มูลค่ากิจการ 1.5 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งมีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ ว่าเงื่อนไขหนึ่งคือ OpenAI อาจต้องปรับโครงสร้างองค์กรให้เป็นมิตรกับนักลงทุนมากขึ้น แต่ตอนนั้นยังไม่มีรายละเอียด