ซีอีโอ OpenAI สงสาร Elon Musk
หลัง Musk เสนอซื้อ OpenAI ซีอีโอ Sam Altman ปฏิเสธพร้อมเสนอซื้อ X กลับบ้างเหมือนกัน
จากนั้น Altman ก็บอกว่า ที่มัสก์ทำอย่างนี้ ก็เพราะพยายามจะทำให้ OpenAI พัฒนาช้าลง และบอกกับพนักงานในองค์กรว่า Musk กำลังทำให้ภายในองค์กรวุ่นวายขึ้น เพราะ OpenAI กำลังนำหน้าเขาอยู่
แถม Altman ยังให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ภายใต้การประชุม Paris AI Action Summit เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาด้วยว่า เขาคิดว่า Elon Musk แค่พยายามจะทำให้เราพัฒนาได้ช้าลง
ทนายความของ Elon Musk ยื่นเอกสารต่อศาลในประเด็นคำเสนอซื้อกิจการ OpenAI ส่วน Non-Profit มูลค่า 9.74 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยระบุความประสงค์ว่าพร้อมถอนการเสนอซื้อกิจการ หากบอร์ดของ OpenAI สามารถรักษาสถานะบริษัทเป็นองค์การกุศลไม่แสวงหากำไรไว้ได้ และจะไม่แปลงสภาพบริษัทเป็นบริษัทแสวงหากำไร (For-Profit)
เอกสารนี้ยืนยันว่า Musk จริงจังมุ่งมั่นที่จะซื้อกิจการ OpenAI ส่วน Non-Profit และพร้อมให้ผลตอบแทนกับผู้ลงทุนที่เหมาะสมจากการแลกสินทรัพย์ของส่วนนี้ออกไป ซึ่งคือมูลค่า 9.74 หมื่นล้านดอลลาร์
นอกจากประกาศแผนการออกโมเดล GPT4.5, GPT-5 และยกเลิกการออก o3 แล้ว Sam Altman ซีอีโอ OpenAI ได้อธิบายแผนเกี่ยวกับบริการค้นหาข้อมูลเชิงลึกสำหรับงานวิจัย Deep Research ของ ChatGPT ด้วย
มีผู้ใช้งานชื่อ seconds_0 บอกว่าสำหรับเขาแล้ว Deep Research เป็นเครื่องมือที่ดีมากระดับพร้อมจ่าย 1,000 ดอลลาร์ต่อเดือนเลย ซึ่งตอนนี้ Deep Research ยังจำกัดการใช้งานไว้ 100 คิวรีต่อวันเฉพาะลูกค้า Pro ซึ่ง Altman โควทโพสต์นี้และบอกว่าเขาเตรียมเปิดให้ลูกค้ากลุ่มอื่นใช้ Deep Research ได้ด้วย โดยลูกค้า Plus ใช้ได้ 10 คิวรีต่อเดือน และผู้ใช้งานฟรี 2 คิวรีต่อเดือน ซึ่งตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
OpenAI อัปเดตเอกสาร Model Spec ที่ใช้เป็นแนวทางกำกับวิธีคิดและควบคุมพฤติกรรมของโมเดล AI ซึ่งเผยแพร่ร่างฉบับแรกเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว โดยเอกสารนี้เผยแพร่ภายใต้ใบอนุญาต Creative Common CC0 นักพัฒนาและนักวิจัยจึงสามารถนำไปใช้งานต่อได้ฟรี หรือปรับแต่งตามต้องการได้
อัปเดตนี้ได้เพิ่มรายละเอียดหลายอย่างโดย OpenAI บอกว่ายังอยู่บน 3 แนวทางหลักคือ ปรับแต่งได้, มีความโปร่งใส และมุ่งส่งเสริมเสรีภาพทางปัญญาในการค้นหา ถกเถียง และสร้างสรรค์ ขณะเดียวกันยังคงกำกับเพื่อลดความเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
Sam Altman ซีอีโอ OpenAI ประกาศโร้ดแมปการออกโมเดลปัญญาประดิษฐ์รุ่นใหม่ของบริษัท โดยมีเป้าหมายลดความซับซ้อน ไม่ต้องการให้ผู้ใช้งานต้องมาเลือกว่าจะใช้โมเดลใดทำงาน ต้องการรวมโมเดล AI เป็นชุดเดียว เพิ่มความสะดวกกับผู้ใช้งาน
OpenAI มีโมเดลหลักที่เปิดให้ใช้งานตอนนี้คือตระกูล GPT ที่เน้นการให้คำตอบทันที รุ่นล่าสุดคือ GPT-4 และตระกูล o ที่เน้นการคิดเป็นขั้นตอน ซึ่งเพิ่งเปิดตัว o3 และ o3-mini โดย o3-mini เปิดให้ใช้งานแล้ว
Reuters รายงานข่าววงในว่า OpenAI จะพัฒนาชิป AI แบบคัสตอมตัวแรกของบริษัท (ที่เคยมีข่าวตั้งแต่กลางปี 2024 ว่า ร่วมมือกับ Broadcom และ TSMC) เสร็จภายในปีนี้ และจะส่งไปให้ TSMC เตรียมทดสอบการผลิต (ภาษาในวงการเรียก tape out) ที่ระดับ 3 นาโนเมตร
แหล่งข่าว Reuters บอกว่าชิปของ OpenAI จะเสร็จภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ส่วนเป้าหมายของการผลิตจริงเป็นจำนวนมากจะเป็นปี 2026 ส่วนหัวหน้าทีมออกแบบชิปคือ Richard Ho ที่เคยอยู่กับกูเกิลมาก่อน
ตามข่าวบอกว่าชิปของ OpenAI มีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาชิปของ NVIDIA และช่วยให้ OpenAI มีอำนาจต่อรองกับบริษัทผู้ผลิตชิปมากขึ้นด้วย
ประเด็น Elon Musk ประกาศเสนอซื้อกิจการ OpenAI ซึ่งจริงจังไหมยังไม่รู้ แต่ก็สร้างแรงกระเพื่อมได้พอสมควร ล่าสุดมีข้อมูลจากภายใน OpenAI ว่าซีอีโอ Sam Altman ได้เปิดเผยรายละเอียดและความเห็นกับพนักงานบริษัท
Altman บอกว่าถึงตอนนี้บริษัทยังไม่ได้รับข้อเสนออย่างเป็นทางการจาก Elon Musk และกลุ่มทุน ส่วนการจะถูกซื้อกิจการได้หรือไม่นั้นเขาบอกว่า โครงสร้างของ OpenAI ถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้ใครสามารถครอบงำธุรกิจได้ Elon เองก็มีบริษัทปัญญาประดิษฐ์คู่แข่ง ที่มีแนวทางไม่ตรงกับภารกิจของ OpenAI สิ่งที่เขาทำเพื่อให้เราวุ่นวายขึ้น เพราะตอนนี้เรานำหน้าเขาอยู่
การประกาศเสนอซื้อ OpenAI ของ Elon Musk และกลุ่มเพื่อนนักลงทุนที่มูลค่า 9.74 หมื่นล้านดอลลาร์ ถึงแม้ Sam Altman ซีอีโอ OpenAI จะปฏิเสธทันที จนดูเหมือนเป็นเกมป่วนครั้งใหม่ของ Musk มากกว่าจะตั้งใจซื้อจริง แต่เพราะคำเสนอซื้อนี้มีการออกเอกสารเป็นทางการ เรื่องนี้จึงเป็นการกระทำที่หวังผลบางอย่างแน่นอน และทำให้ Sam Altman ลำบากขึ้นด้วย
Altman ให้สัมภาษณ์ในเวลาต่อมาว่าคำเสนอซื้อนี้ Musk หวังทำให้ OpenAI เดินช้าลงเพราะเขาก็มีบริษัทปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาแข่งกับ OpenAI เรื่องเหล่านี้เป็นเทคนิคทางกฎหมายที่ทำเพื่อให้สิ่งต่าง ๆ ยุ่งยากขึ้น
ดราม่า Elon Musk ปะทะ Sam Altman ประจำวัน รอบนี้มาแบบยิ่งใหญ่เพราะ Elon Musk และพันธมิตร เข้าเสนอซื้อกิจการอย่างไม่เป็นมิตร (hostile takeover) ต่อ OpenAI ในราคาสูงถึง 9.76 หมื่นล้านดอลลาร์ (3.3 ล้านล้านบาท) โดย Elon ให้สัมภาษณ์กับ Wall Street Journal ว่าเขาต้องการให้ OpenAI กลับมาเป็นโอเพนซอร์สอีกครั้ง ซึ่งเขาแสดงให้โลกเห็นแล้วกับ Grok ของ xAI
แน่นอนว่า Sam Altman ย่อมปฏิเสธ และตอบโต้ผ่าน X/Twitter ว่า "no thank you but we will buy twitter for $9.74 billion if you want" และฝั่ง Elon เข้ามาด่ากลับว่า "swindler" (พวกขี้โกง)
OpenAI เปิดตัวหนังโฆษณาในระหว่างการแข่งขันซูเปอร์โบวล์วันนี้ โดยโฆษณาความยาว 60 วินาที ที่คาดว่าค่าลงโฆษณาสูงถึง 14 ล้านดอลลาร์ เล่าเรื่องราวของนวัตกรรมที่สร้างความก้าวหน้าให้มนุษยชาติแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่การค้นพบไฟในยุคหิน, อินเทอร์เน็ต, พันธุกรรม มาจนถึงปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถช่วยทำงานต่าง ๆ ได้
โฆษณานำเสนอด้วยการนำจุด (dot) มาสร้างเป็นรูปภาพเล่าเรื่องราวของแต่ละช่วงเวลา
Kate Rouch หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ OpenAI บอกว่าโฆษณาไม่ได้เล่าเรื่องของ AI ที่ซับซ้อนมาก เพราะต้องการให้คนทั่วไปรับรู้ว่า AI คืออะไร
หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของเยอรมนีเปิดเผยว่า OpenAI บริษัทปัญญาประดิษฐ์เจ้าของ ChatGPT เตรียมเปิดตัวสำนักงานสาขาในประเทศเยอรมนี ภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
Sam Altman ซีอีโอ OpenAI บอกว่าเยอรมนีมีผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีจำนวนมาก มีระบบการศึกษาที่ยอดเยี่ยม และอุตสาหกรรมก็รองรับนวัตกรรมใหม่ ๆ จึงเป็นอีกประเทศที่พร้อมปรับนำ AI มาใช้งานในด้านต่าง ๆ ซึ่งการเปิดสำนักงานแห่งแรกในเยอรมนีจะทำให้เพิ่มการเข้าถึงสำหรับประชาชนและภาคธุรกิจที่นี่
ปัจจุบัน OpenAI มีสำนักงานในยุโรปที่ปารีส บรัสเซลส์ และดับลิน
ที่มา: Germany Trade & Invest
The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องบอกว่า OpenAI เตรียมเผยแพร่หนังโฆษณาในช่วงการแข่งขันกีฬา Super Bowl เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่ามีอัตราค่าโฆษณาที่สูงมาก ตัวเลขที่รายงานตอนนี้คือ 8 ล้านดอลลาร์ต่อ 30 วินาที โดยถึงตอนนี้ OpenAI ยังไม่ได้ยืนยันข้อมูลหรือเผยแพร่หนังโฆษณาให้ได้ชมกันก่อน
การซื้อเวลาฉายโฆษณาของ OpenAI ปีนี้ อาจทำให้เราได้เห็นการแข่งขันโฆษณาจากบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่อีกครั้งบนธีมปัญญาประดิษฐ์หรือ AI จากค่ายต่าง ๆ เหมือนกับปีที่แล้วที่ทั้ง Google, Microsoft ต่างนำเสนอว่า AI ทำอะไรได้บ้าง
David Faber ผู้สื่อข่าวของ CNBC รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวเกี่ยวกับแผนการลงทุนใน OpenAI รอบใหม่ของ SoftBank วงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่มีข่าวก่อนหน้านี้ ว่ามูลค่ากิจการได้ข้อสรุปที่ 2.6 แสนล้านดอลลาร์
ตัวเลขนี้ลดลงจากที่รายงานก่อนหน้าว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ และหากอ้างตัวเลขแรกที่คุยกันรอบแรกอยู่ที่ 3.4 แสนล้านดอลลาร์
เงินลงทุนใหม่นี้ส่วนหนึ่ง OpenAI จะนำมาใช้ลงทุนกับโครงการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน AI ในอเมริกา Stargate (ที่ SoftBank ก็ร่วมลงทุนด้วย)
California State University (CSU) มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ที่มีขนาด 23 วิทยาเขต ประกาศซื้อ ChatGPT Edu ให้กับนักเรียน 460,000 คนและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยอีกกว่า 63,000 คน นับเป็นดีลที่ใหญ่ที่สุดในแง่จำนวนผู้ใช้ของ OpenAI
แม้ดีลนี้จะเป็นดีลใหญ่ที่สุด แต่ที่จริงก็มีมหาวิทยาลัยชื่อดังซื้อบริการ ChatGPT ไปให้บริการภายในองค์กรจำนวนมากก่อนหน้านี้ เช่น ฮาวาร์ด, London Business School, และมหาวิทยาลัย Oxford
OpenAI ระบุว่าการใช้ปัญญาประดิษฐ์เป็นติวเตอร์ช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น และการศึกษาของไมโครซอฟท์ก็พบว่าการที่แรงงานมีทักษะการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ทำให้หางานง่ายขึ้นด้วย
ที่มา - OpenAI
OpenAI ประกาศรีแบรนด์ด้วยตัวอักษร Typeface และโลโก้ใหม่ โดยตัวอักษรของ OpenAI ใช้ฟอนต์ใหม่ชื่อ OpenAI sans ซึ่งมีจุดสังเกตสำคัญคือคืออักษร O กลมสมมาตรขึ้น
โลโก้ดอกไม้บานมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยพื้นที่ตรงกลางมีขนาดมากขึ้น
ถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าโลโก้ใหม่ใช้ AI ออกแบบหรือไม่ คำตอบก็คือไม่ได้ใช้ โดยบริษัทใช้ทีมออกแบบใน OpenAI และกระบวนการที่มี AI คือการให้คำนวณความแตกต่างของแต่ละ Typeface
ที่มา: The Verge
OpenAI และ SoftBank ประกาศความร่วมมือเพื่อพัฒนาและทำตลาดปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูงสำหรับองค์กร (Advanced Enterprise AI) โดยมีชื่อเรียกว่า Cristal intelligence ซึ่งเป็นการรวมระบบและข้อมูลปรับแต่งการทำงานสำหรับลูกค้าองค์กรแต่ละราย
SoftBank จะลงทุนในสหรัฐอเมริกาสำหรับการพัฒนาโซลูชันนี้ 3,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี โดยดีพลอยให้กับทุกบริษัทในเครือ SoftBank ทำให้เป็นการใช้ Cristal intelligence ในวงกว้างครั้งแรก ร่วมกับเครื่องมือของ OpenAI ที่มีอยู่แล้วอย่าง ChatGPT Enterprise
ทั้ง OpenAI และ SoftBank ยังประกาศตั้งบริษัทร่วมทุนเรียกชื่อว่า SB OpenAI Japan เพื่อทำตลาด Cristal intelligence ให้กับบริษัทในญี่ปุ่นด้วย
OpenAI เปิดตัวความสามารถใหม่ของ ChatGPT เรียกชื่อว่า Deep Research สำหรับการค้นหา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลในเชิงลึก ที่มาพร้อมผลลัพธ์ซึ่งอธิบายเป็นลำดับขั้นตอน และให้แหล่งอ้างอิงประกอบ
OpenAI บอกว่า Deep Research เหมาะสำหรับคนทำงานที่ต้องอาศัยความรู้เชิงลึกเฉพาะด้าน เช่น การเงิน วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม กฎหมาย ซึ่งวิธีการค้นหาข้อมูลเชิงลึกเดิมนั้นใช้เวลามาก เพราะต้องยืนยันความน่าเชื่อถือข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอน นอกจากนี้ Deep Research ยังสามารถประยุกต์ใช้กับการค้นหาเปรียบเทียบข้อมูลสินค้าที่มีรายละเอียดเปรียบเทียบเยอะ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
Sam Altman ซีอีโอ OpenAI ได้เข้าร่วมเซสชัน AMA หรือ Ask-Me-Anything ของ Reddit เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (อย่าลืมว่าเขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วย) โดยมีประเด็นน่าสนใจเมื่อมีคนถามว่า OpenAI มีความคิดจะกลับมาเผยแพร่รายละเอียดเทคโนโลยีของโมเดล AI ต่อสาธารณะอีกครั้งหรือไม่
Altman ตอบว่าส่วนตัวเขาเชื่อว่าบริษัทเลือกผิดข้างที่ทำเทคโนโลยีปิด และเริ่มทบทวนกลยุทธ์โมเดลโอเพนซอร์สเหมือนกัน ซึ่งพนักงาน OpenAI บางส่วนก็หารือเรื่องนี้กันอยู่ แต่หลายคนก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้เปิดเผยรายละเอียด อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ไม่ใช่หัวข้อเร่งด่วนที่ OpenAI จะตัดสินใจในเวลานี้
OpenAI ประกาศปล่อยโมเดล o3-mini ตามที่เคยสัญญาไว้
OpenAI เปิดตัวโมเดลตระกูล o3 มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2024 ถือเป็นเวอร์ชันพัฒนาขึ้นจากโมเดล o1 เดิม (ข้าม o2 ไปด้วยเหตุผลเรื่องเครื่องหมายการค้ากับโอเปอเรเตอร์ O2) มีประสิทธิภาพตอบคำถามด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ (STEM) ได้ดีกว่า ตอบเร็วกว่า o1-mini โดยยังคงต้นทุนในการรันระดับเดียวกับ o1-mini
The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องบอกว่า OpenAI กำลังเจรจาเพื่อรับเงินลงทุนรอบใหม่สูงถึง 40,000 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการประมาณ 300,000 ล้านดอลลาร์ โดยมี SoftBank เป็นแกนนำในการลงทุนรอบนี้
ตัวเลขเบื้องต้นส่วนที่ SoftBank จะลงทุนอยู่ที่ราว 15,000-25,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแหล่งข่าวบอกว่าตัวเลขมูลค่ากิจการที่คุยกันครั้งแรกนั้นอยู่ที่ 340,000 ล้านดอลลาร์ แต่มีการปรับลดลงมา
มูลค่ากิจการปัจจุบันของ OpenAI อยู่ที่ 157,000 ล้านดอลลาร์ จากการรับเงินลงทุนเมื่อเดือนตุลาคม 6,600 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง SoftBank ก็ร่วมลงทุนด้วยเช่นกัน
ไมโครซอฟท์เปิดให้ผู้ใช้ Copilot ทุกคน เข้าถึงโมเดล OpenAI o1 ที่มีจุดเด่นเรื่องการคิดอย่างมีเหตุผล (reasoning model) และมีความสามารถตอบคำถามด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เขียนโปรแกรม ดีขึ้นกว่าโมเดลรุ่นก่อนๆ มาก แลกกับการที่ต้องใช้เวลาประมวลผลนานขึ้นเป็นราวๆ 30 วินาที
ไมโครซอฟท์เรียกฟีเจอร์นี้ว่า Think Deeper เปิดให้ผู้ใช้ทุกคนใช้งานฟรี หากเข้าไปในเว็บหรือแอพ Copilot จะเห็นปุ่ม Think Deeper โผล่ขึ้นมาแล้ว เมื่อกดแล้ว Copilot จะใช้เวลานานขึ้นในการคิด และตอบคำถามให้ยาวและละเอียดมากขึ้น
Mark Chen (Chief Research Officer ของ OpenAI) แสดงความคิดเห็นผ่านทาง X (Twitter) ว่าขอแสดงความยินดีกับทีม DeepSeek ที่สามารถพัฒนาโมเดล LLM ให้มีความสามารถด้าน Reasoning เทียบเท่ากับ OpenAI o1 ได้
Chen กล่าวชื่นชมว่าทีมพัฒนา DeepSeek สามารถค้นพบแนวคิดหลักบางส่วนที่ทีม OpenAI ใช้ในการพัฒนา o1 ได้ด้วยตนเอง โดยระบุว่า "...they've independently found some of the core ideas that we did on our way to o1"
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเปิดเผยว่า Microsoft และ OpenAI กำลังสอบสวนว่าข้อมูลที่สร้างจากเทคโนโลยีของ OpenAI ถูกนำไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง โดยกลุ่มพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของจีนซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับ DeepSeek
เรื่องเริ่มจากทีมงานวิจัยด้านความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ได้ตรวจสอบ พบว่ามีการดึงข้อมูลจำนวนมากออกไปผ่าน API ของ OpenAI อย่างไม่ถูกต้อง ทางไมโครซอฟท์จึงแจ้งปัญหานี้ไปที่ OpenAI ให้ตรวจสอบเพิ่มเติมในกิจกรรมที่น่าสงสัยนี้ต่อไป
Microsoft, OpenAI และ DeepSeek ยังไม่ได้ออกมาให้ความเห็นต่อรายงานนี้
ที่มา: Bloomberg
OpenAI เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ChatGPT Gov ซึ่งนำ ChatGPT มาปรับแต่งสำหรับใช้งานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา พร้อมรองรับช่องทางในการใช้งานโมเดลใหม่ของ OpenAI ด้วย
หน่วยงานของรัฐบาลสามารถนำ ChatGPT Gov มารันได้ทั้งบนคลาวด์ของ Microsoft Azure หรือคลาวด์ที่ควบคุมเฉพาะ Azure Government ผ่านบริษัท OpenAI ของ Azure ทำให้หน่วยงานสามารถบริหารจัดการความปลอดภัยและปกป้องข้อมูลได้ตามเงื่อนไขของหน่วยงานนั้น ซึ่งรวมทั้งการจัดการข้อมูลที่ไม่ได้เผยแพร่ต่อสาธารณะด้วย