หลังจาก OpenAI เปิดตัว o1 โมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามลำดับขั้น ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ตอบคำถามวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ OpenAI ก็เผยแพร่ System Card เพื่อรายงานผลการประเมินความเสี่ยงของโมเดลปัญญาประดิษฐ์นี้ด้วย
ผลการประเมินภาพรวมความเสี่ยงของโมเดล o1 อยู่ที่ระดับปานกลาง (Medium) จาก 4 ระดับ Low-Medium-High-Critical ซึ่งสูงที่สุดในทุกโมเดลที่ OpenAI เคยเผยแพร่ออกมา หัวข้อที่ o1 ถูกจัดระดับความเสี่ยงปานกลางได้แก่ การโน้มน้าวความคิด (Persuasion) และ CBRN (สามารถสร้างสูตรเคมี, ชีววิทยา, รังสีวิทยา และนิวเคลียร์)
OpenAI เปิดตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์รุ่นใหม่ตระกูล o1 เป็นโมเดลเน้นตอบคำถามด้านวิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, และการเขียนโปรแกรม แนวทางการทำงานต่างจากโมเดลก่อนหน้านี้คือ o1 มีความสามารถ "ค่อยๆ คิด" ก่อนจะทำให้คำตอบ ทำให้สามารถตอบสนองต่อคำสั่งที่ซับซ้อน เช่น การสร้างเกมตามกำหนด
โมเดลมี 3 ตัว ได้แก่ o1, o1-preview, และ o1-mini การทดสอบชุดทดสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ AIME o1 ได้ 74.4% ขณะที่ o1-mini ได้ 70% หากเทียบผู้เข้าแข่งจริงก็อยู่ระดับ 500 คนแรกของสหรัฐฯ ในระดับมัธยมแล้ว ส่วนการทดสอบแข่งเขียนโปรแกรม Codeforce นั้น o1 ได้ Elo 1673 ขณะที่ o1-mini ได้ 1650 เป็น percentile ที่ 86 ของผู้เข้าแข่งทั้งหมด
เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว The Wall Street Journal รายงานข่าวว่า OpenAI กำลังเจรจากับนักลงทุนเพื่อรับเงินลงทุนรอบใหม่ ที่มูลค่ากิจการมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ ล่าสุด Bloomberg อ้างแหล่งข่าวว่าตัวเลขที่ OpenAI เจรจาขอรับเงินเพิ่มทุนอยู่ที่ประมาณ 6,500 ล้านดอลลาร์ ด้วยมูลค่ากิจการ 1.5 แสนล้านดอลลาร์
รายชื่อกลุ่มนักลงทุนในตัวเลขล่าสุดนี้เหมือนกับรายงานของ The Wall Street Journal โดยมีกองทุน Thrive Capital เป็นลงทุนหลัก ร่วมด้วยไมโครซอฟท์ รวมถึงแอปเปิลและ NVIDIA
นอกจากเงินลงทุนแล้ว OpenAI ยังเจรจาขอรับเงินกู้ในแบบเงินทุนหมุนเวียนจากสถาบันการเงินอีกประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์
มีรายงานจาก The Information อ้างแหล่งข่าวใน OpenAI บอกว่าบริษัทเตรียมเปิดตัวความสามารถเพิ่มเติมใน ChatGPT ซึ่งมีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ในชื่อ Strawberry ที่เป็นปัญญาประดิษฐ์เน้นการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล สำหรับคำถามด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์
ความสามารถใหม่ใน ChatGPT นี้ คาดว่าจะเปิดให้ใช้งานในอีกสองสัปดาห์ แต่ยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าผู้ใช้งานจะได้ใช้ Strawberry ในรูปแบบใด ต้องจ่ายเงินเพิ่มหรือไม่
OpenAI เปิดเผยว่าปัจจุบันบริษัทมีลูกค้า ChatGPT แบบเสียเงินของภาคธุรกิจแล้วรวมมากกว่า 1 ล้านบัญชี ซึ่งคิดรวมทั้ง ChatGPT Enterprise, Team และ Edu ของกลุ่มสถาบันการศึกษา ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจาก 6 แสนบัญชี เมื่อเดือนเมษายน
ผู้ใช้งานทั้งสามกลุ่มแพ็คเกจมากกว่าครึ่งหนึ่งมาจากนอกสหรัฐอเมริกา โดยในสามประเทศที่มีผู้สมัครใช้งานจำนวนมากได้แก่ เยอรมนี ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ส่วนหมวดธุรกิจนั้นมีความหลากหลาย ทั้งมหาวิทยาลัย บริษัทยา อีคอมเมิร์ซ ไปจนถึงธนาคาร
United Daily News สื่อของไต้หวันรายงานอ้างอิงแหล่งข่าวในวงการเซมิคอนดักเตอร์ว่า OpenAI กำลังพัฒนาชิปเร่งการประมวลผล AI (ASIC) ของตัวเอง โดยจองไลน์การผลิตของ TSMC ที่ใช้เทคโนโลยี A16 แล้ว โดยก่อนหน้านี้มีข่าวลือแค่ Apple ที่จองไลน์การผลิตนี้ล่วงหน้าเอาไว้แล้ว
สื่อไต้หวันรายงานด้วยกว่า OpenAI พาร์ทเนอร์กับ Broadcom และ Marvell สำหรับพัฒนาชิป ASICS ตัวนี้ร่วมกัน โดยจะผลิตด้วยเทคโนโลยี 3nm ก่อนและค่อยเปลี่ยนมาเป็น A16 ขณะเดียวกัน ก่อนหน้านี้ OpenAI ก็มีเจรจากับ TSMC ในการตั้งไลน์การผลิตด้วยเทคโนโลยี A16 แยกออกมาเป็นของตัวเอง แต่จากการประเมินความคุ้มค่าในหลายๆ ด้าน ทำให้แผนนี้ไม่ได้ไปต่อ
มีรายงานจาก The New York Times บอกว่านอกจาก OpenAI จะมีข่าวเรื่องการเพิ่มทุนรอบใหม่ ที่อาจมีแอปเปิลกับ NVIDIA ร่วมเป็นผู้ลงทุนแล้ว OpenAI ยังมีแผนปรับโครงสร้างบริษัทใหม่ โดยบอกว่าเพื่อให้เป็นมิตรกับนักลงทุนมากขึ้น แต่ไม่ได้บอกว่ารายละเอียดว่าจะเป็นอย่างไร
OpenAI มีโครงสร้างบริษัทที่แตกต่างจากบริษัททั่วไป เนื่องจากมีเป้าหมายการก่อตั้งแบบไม่แสวงหากำไร แต่ต่อมาพบว่าการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับการทั่วไปหรือ AGI ต้องใช้เงินมหาศาล จึงปรับโครงสร้างให้รองรับเงินจากนักลงทุนโดยมีบริษัทลูกที่แสวงหากำไร (For-Profit) แต่จำกัดกำไร โดยผู้ลงทุนจะได้ผลตอบแทนคืนตามตัวเลขที่ตกลง และกำไรส่วนเกินจะส่งกลับ OpenAI บริษัทแม่เพื่อเป็นเงินทุนในการดำเนินงาน
OpenAI เปิดเผยว่าบริการแชทบอตปัญญาประดิษฐ์ ChatGPT มีผู้ใช้งานเป็นประจำทุกสัปดาห์ (Weekly Active Users) มากกว่า 200 ล้านบัญชีแล้ว ซึ่งตัวเลขเพิ่มมาเท่าตัวจากที่ OpenAI รายงานตัวเลข 100 ล้าน เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
ตัวเลขอาจพอบอกได้ว่า ChatGPT ยังมีการเติบโต และเป็นผู้นำในตลาดแชทบอต Generative AI แม้ในภาพรวมจะมีการแข่งขันจากผู้เล่นรายอื่น ซึ่งรวมทั้งบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ GPT-4o mini
The Wall Street Journal มีรายงานเพิ่มเติมจากข่าวที่ OpenAI กำลังเจรจากับนักลงทุนเพื่อระดมทุนรอบใหม่ ซึ่งจะทำให้มูลค่ากิจการสูงกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ โดยมีรายชื่อบริษัทที่สนใจร่วมลงทุนใน OpenAI เพิ่มเติมได้แก่ แอปเปิล และ NVIDIA
อย่างไรก็ตามไม่มีรายละเอียดว่าทั้งสองบริษัทสนใจลงทุนเป็นวงเงินเท่าใด เพราะตามรายงานก่อนหน้านี้ Thrive Capital จะเป็นผู้ลงทุนหลักในรอบนี้ที่วงเงินหลายพันล้านดอลลาร์ โดยมีไมโครซอฟท์ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ร่วมลงทุนด้วยอีกจำนวนหนึ่ง
The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า OpenAI อยู่ในขั้นตอนเจรจาเพื่อรับเงินลงทุนรอบใหม่ วงเงินระดับหลายพันล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ โดยมีกองทุน Thrive Capital เป็นผู้ลงทุนหลักในรอบนี้ ส่วนไมโครซอฟท์ผู้ลงทุนรายหลักปัจจุบัน ก็จะร่วมลงทุนเพิ่มเติมด้วย
ประเมินว่าเงินลงทุนรอบนี้อาจสูงกว่าตัวเลข 10,000 ล้านดอลลาร์ ที่ไมโครซอฟท์ลงทุนใน OpenAI เมื่อต้นปีที่แล้ว ซึ่งเงินลงทุนตอนนั้นก็เป็นการส่งสัญญาณสำคัญ เพราะทำให้กระแสปัญญาประดิษฐ์เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้มูลค่ากิจการของ OpenAI ล่าสุดที่มีรายงานออกมาคือ 86,000 ล้านดอลลาร์
OpenAI ประกาศความร่วมมือกับบริษัทสื่อรายล่าสุดคือ Condé Nast เจ้าของนิตยสารหลายฉบับในสหรัฐ เช่น Vogue, The New Yorker, GQ, Vanity Fair, Wired, Architectural Digest และอื่น ๆ เพื่อแสดงเนื้อหาจากนิตยสารเหล่านี้ผ่านบริการของ OpenAI ทั้ง ChatGPT และต้นแบบของ SearchGPT ซึ่งดีลนี้ไม่มีการเปิดเผยมูลค่า
OpenAI บอกว่าหลังจากเปิดตัว SearchGPT ต้นแบบ ซึ่งรองรับการแสดงผลข้อมูลจากแหล่งต้นทางที่น่าเชื่อถือ และรวดเร็วตามเวลา จึงต้องเชื่อมต่อกับแหล่งข่าวต่าง ๆ พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึก ฟีเจอร์เหล่านี้จะถูกนำมาเพิ่มเติมใน ChatGPT ด้วยในอนาคต
OpenAI เปิดตัวชุดทดสอบปัญญาประดิษฐ์ SWE-Bench Verified ที่สร้างต่อจาก SWE-Bench ชุดทดสอบการเขียนโปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูง โดยแก้ปัญหาคุณภาพของชุดข้อมูลเดิมที่อาศัยการกวาด GitHub Issue มาเป็นโจทย์ให้ปัญญาประดิษฐ์
SWE-Bench อาศัยคำถามและชุดทดสอบซอฟต์แวร์เท่านั้น ในการทดสอบตัว AI จะมองไม่เห็นชุดทดสอบแต่เห็นเฉพาะปัญหา และต้องพยายามเขียนโปรแกรมให้รันผ่านชุดทดสอบให้ได้ แบบเดียวกับการสอบเขียนโปรแกรม แต่เป็นปัญหาจริงในการทำงาน
ก่อนหน้านี้ OpenAI ได้เปิดตัว SearchGPT ซึ่งเป็นบริการค้นหาข้อมูลแบบเรียลไทม์จากอินเทอร์เน็ตพลัง AI ที่หลายคนมองว่าทำให้การแข่งขันกับกูเกิลดูเข้าใกล้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม SearchGPT เป็นบริการสถานะต้นแบบ ที่ใครต้องการต้องลงชื่อ waitlist ก่อน
ล่าสุดคนที่สมัครรอใน waitlist แต่ยังไม่ได้คำเชิญทดสอบใช้งาน ต่างได้รับอีเมลจาก OpenAI โดยบอกว่าตอนนี้ผู้ใช้งานที่ยังไม่ได้รับคำเชิญ ก็จะต้องรอต่อไปก่อน ซึ่งหากบริการขยายจำนวนผู้ใช้งานก็จะแจ้งอีกครั้ง ในหน้าสมัคร waitlist ตอนนี้ก็ปิดรับสมัครเพิ่มเติมด้วย
OpenAI ประกาศว่าได้อัปเดตโมเดล Generative AI เวอร์ชันย่อยของ GPT-4o ในชื่อ chatgpt-4o-latest ซึ่งบอกว่าเริ่มอัปเดตให้ผู้ใช้งาน ChatGPT ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว
ในรายละเอียดเพิ่มเติม (Release Note) OpenAI บอกว่าโมเดลใหม่ที่อัปเดตนี้ได้แก้ไขบั๊กและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งมาจากที่ OpenAI ค้นพบเองและจากฟีดแบ็กของผู้ใช้งาน โดย OpenAI ไม่ได้ระบุรายละเอียดสิ่งที่แตกต่างไปจากโมเดลก่อนหน้านี้
OpenAI ประกาศว่าผู้ใช้งาน ChatGPT แบบฟรี สามารถสร้างรูปภาพด้วย DALL·E 3 สองรูปภาพต่อวัน จากก่อนหน้านี้ความสามารถถูกจำกัดให้เฉพาะลูกค้าเสียเงิน ChatGPT Plus และ Enterprise
การสร้างรูปภาพด้วย DALL·E 3 สามารถทำได้ผ่าน Prompt ใน ChatGPT ได้เลย
OpenAI บอกว่าตอนนี้กำลังทยอยอัปเดต DALL·E 3 ให้ผู้ใช้งาน ChatGPT แบบฟรี บางคนจึงอาจยังไม่ได้ความสามารถดังกล่าวในตอนนี้
ที่มา: The Verge
OpenAI ประกาศแต่งตั้ง Zico Kolter เป็นกรรมการบอร์ดของ OpenAI โดยประวัติของ Zico เป็นอาจารย์สาขา Computer Science และเป็นผู้อำนวยการแผนก Machine Learning ที่ Carnegie Mellon University มีผลงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างปัญญาประดิษฐ์ที่ปลอดภัย ไว้ใจได้ และการพัฒนาตัวจำแนก Machine Learning
นอกจากนี้ Zico จะเข้าร่วมเป็นกรรมบอร์ดด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของ OpenAI ซึ่งปัจจุบันมีกรรมการคือ Bret Taylor, Adam D’Angelo, Paul Nakasone, Nicole Seligman, ซีอีโอ Sam Altman และผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคของ OpenAI
Bret Taylor ประธานบอร์ด OpenAI กล่าวว่า Zico จะเข้ามาเสริมความเข้าใจทางเทคนิคเชิงลึกและมุมมองในการสร้างปัญญาประดิษฐ์ที่ปลอดภัย เป็นประโยชน์กับมนุษยชาติ
สำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลอ้างจากคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง 4 คน บอกว่าเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว อินเทลได้รับข้อเสนอให้ลงทุนใน OpenAI ที่เวลานั้นยังมีสถานะเป็นบริษัทวิจัยปัญญาประดิษฐ์ที่ไม่แสวงหากำไร กำลังวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับ Generative AI
ผู้บริหารของอินเทลและ OpenAI ได้หารือกันหลายครั้งช่วงปี 2017-2018 ข้อเสนอการลงทุนนั้นมีหลายอย่าง เช่น OpenAI เสนอให้อินเทลถือหุ้น 15% โดยจ่ายเงินสด 1 พันล้านดอลลาร์ รวมทั้งให้ข้อเสนอถือหุ้นเพิ่มอีก 15% แลกกับอินเทลต้องขายฮาร์ดแวร์ประมวลผลให้ OpenAI ที่ราคาต้นทุน
OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ในการเรียก ChatCompletion API ให้สามารถกำหนด format ของค่าที่คืนมาเป็นไปตาม JSON Schema ที่กำหนดได้เต็ม 100%
คำสั่งบังคับให้คืนค่าตาม JSON Schema ที่กำหนดนี้สามารถใช้กับ Chat Completion ได้ทุกโมเดล อย่างไรก็ดีโมเดลที่ทาง OpenAI ทดสอบแล้วได้ผลเต็ม 100% จะเป็น gpt-4o-2024-08-06
ที่เพิ่งออกมาวันนี้
ในกรณีที่โมเดลไม่สามารถตอบกลับตาม JSON Schema ที่กำหนดได้ จะไม่คืนค่าตามปกติ แต่ใส่ข้อความมาในฟิลด์ refusal
แทน ทำให้ผู้ใช้ตรวจสอบได้โดยง่ายว่ากำลังได้ข้อมูลตามต้องการหรือไม่
หลังจาก Elon Musk ถอนฟ้อง OpenAI และสองผู้ร่วมก่อตั้งคือ Sam Altman ซีอีโอ และ Gregory Brockman ประธานบอร์ด ไปเมื่อเดือนเมษายน โดยไม่ระบุเหตุผลแน่ชัด
ล่าสุด Elon กลับมายื่นฟ้อง OpenAI และสองผู้ก่อตั้งใหม่อีกรอบ (โดยไม่ระบุเหตุผลเช่นกันว่าทำไมกลับมา) โดยเนื้อหาในคำฟ้องส่วนใหญ่ยังเหมือนของเดิม คือเป็นเรื่องผิดสัญญา ละเมิดข้อตกลง โฆษณาเกินจริง และความใกล้ชิดกับไมโครซอฟท์ซึ่งทำให้ภารกิจของ OpenAI ผิดจากที่เขาวางไว้ในตอนแรก
John Schulman หนึ่งในพนักงานรุ่นก่อตั้งของ OpenAI ประกาศว่าเขาได้ตัดสินใจลาออกจาก OpenAI แล้ว โดยจะไปทำงานที่ Anthropic จึงถือเป็นการลาออกของพนักงาน OpenAI คนสำคัญอีกครั้ง จากก่อนหน้านี้มีการลาออกชุดใหญ่ของพนักงานในฝ่าย Superalignment ที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยของปัญญาประดิษฐ์
บทบาทของ Schulman ใน OpenAI เป็นหัวหน้าทีมร่วมรับผิดชอบส่วนโพสต์เทรนนิ่ง ที่ดูแลการปรับโมเดล AI สำหรับการใช้งานใน ChatGPT และ API สำหรับนักพัฒนาภายนอก โดยเขาทำงานที่ OpenAI เป็นแห่งแรกหลังจบการศึกษา
The Wall Street Journal มีรายงานพิเศษอ้างแหล่งข่าวภายใน OpenAI ว่าบริษัทมีโครงการพัฒนาเครื่องมือตรวจจับ ว่าบทความหรือเอกสารงานวิจัยนั้นใช้ ChatGPT เขียนให้หรือไม่
โครงการดังกล่าวเริ่มพัฒนาและหารือกันตั้งแต่เมื่อสองปีที่แล้ว ตัวเครื่องมือนั้นพร้อมใช้งานได้ตั้งแต่หนึ่งปีก่อน เหลือแค่ OpenAI อยากจะปล่อยออกมาเมื่อใดเท่านั้น
อ่านถึงตรงนี้อาจมีคำถามว่าแล้วทำไม OpenAI ไม่เผยแพร่เครื่องมือที่ดูเป็นประโยชน์นี้?
ไมโครซอฟท์ส่งรายงานประจำปีให้กับ SEC หรือ กลต. สหรัฐ หลังจากรายงานผลประกอบการตามปีการเงินบริษัทไตรมาสที่ 4 โดยมีข้อสังเกตคือบริษัทได้เพิ่ม OpenAI มาเป็นหนึ่งในบริษัทที่เป็นคู่แข่งของธุรกิจหลักบริษัทด้วย
ในเอกสารนั้นไมโครซอฟท์พูดถึงการแข่งขันในแต่ละธุรกิจบริการ โดยส่วนการให้บริการลูกค้าองค์กร ไมโครซอฟท์บอกว่ามีหลายบริษัทที่ให้บริการ AI ในสเกลขนาดใหญ่สำหรับองค์กร ทั้งบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Amazon, กูเกิล รวมทั้งบริษัทที่เข้าสู่ตลาดนี้ไม่นานอย่าง Anthropic, OpenAI, Meta ตลอดจนบริการโอเพนซอร์สอื่น
มีรายงานจาก The Information อ้างเอกสายภายในไมโครซอฟท์ระบุว่า TikTok จ่ายเงินค่าใช้งาน Azure OpenAI Service ของไมโครซอฟท์ถึงเดือนละ 20 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหากประเมินตามแผนของไมโครซอฟท์ที่คาดมีรายได้จากบริการ AI บน Azure ปีละ 1 พันล้านดอลลาร์ (เดือนละ 83 ล้านดอลลาร์) เท่ากับ TikTok เป็นแหล่งรายได้ถึงเกือบ 25% เลย โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลช่วงเดือนมีนาคม ตัวเลขปัจจุบันจึงอาจสูงหรือน้อยกว่านี้
OpenAI ประกาศปล่อยฟีเจอร์ Advanced Voice Mode ของ ChatGPT ให้กับลูกค้า ChatGPT Plus กลุ่มเล็ก มีผลตั้งแต่วันนี้ บริการดังกล่าวยังมีสถานะเป็นอัลฟา โดยจะทยอยเปิดให้ใช้งานสำหรับลูกค้า Plus ทั้งหมดภายในช่วงปลายปีนี้
ฟีเจอร์ Advanced Voice Mode ได้ถูกนำเสนอการใช้งานเมื่อเดือนพฤษภาคม โดยสามารถใช้งาน ChatGPT แบบโต้ตอบด้วยเสียงพูดได้ อย่างไรก็ตามฟีเจอร์นี้ถูกวิจารณ์เนื่องจากตัวเลือกเสียง Sky มีผลลัพธ์คล้ายกับเสียงของ Scarlett Johansson แม้ OpenAI จะปฏิเสธ โดยบอกว่าเป็นเสียงของนักพากย์มืออาชีพคนหนึ่ง แต่ Scarlett Johansson ก็ออกมาแฉเพิ่มว่าเคยถูก OpenAI ติดต่อขอใช้เสียงสำหรับ ChatGPT มาแล้ว แต่ได้ปฏิเสธไป
OpenAI เปิดตัวบริการค้นหาหรือเสิร์ชพลัง AI ในชื่อ SearchGPT โดยระบุว่าเป็นเสิร์ชเอ็นจินที่ค้นหาและให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้จากบนอินเทอร์เน็ต สถานะของบริการตอนนี้เป็นต้นแบบ (Prototype) ทดสอบกับผู้ใช้งานจำนวนจำกัด หากสนใจต้องลงชื่อเป็น waitlist