นักวิจัยจาก Politecnico di Milano, Linklayer Labs, และ Forward-looking Threat Research ของ Trend Micro ค้นพบข้อบกพร่องที่เกิดจากโปรโตคอล CAN (Controller Area Network) ที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ในรถยนต์สมัยใหม่
ข้อบกพร่องนี้เกิดจากมาตรฐานของ CAN ในการจัดการกับ error ของ message หรือ frame ที่วิ่งอยู่ใน CAN bus โดยถ้าอุปกรณ์ใดส่งข้อมูล error ออกมามากจนเกินไป ก็จะเข้าสู่สถานะ Bus Off หรือถูกตัดออกจาก CAN โดยอัตโนมัติ
กลุ่ม USB 3.0 Promoter Group ที่มีสมาชิกอย่างแอปเปิล ไมโครซอฟท์ อินเทล ฯลฯ เตรียมออกสเปกของ USB 3.2 ที่พัฒนาต่อจาก USB 3.1
ของใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือ ส่งข้อมูลได้แบบ multi-lane ในสายเคเบิลเส้นเดียว รองรับการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 10Gbps x2 เลน (สายเคเบิล USB-C รองรับอยู่แล้ว แต่มาตรฐานการส่งข้อมูลที่ต้นทาง-ปลายทาง ยังไม่รองรับจนกระทั่งเวอร์ชันนี้)
การส่งข้อมูลที่ 10Gbps จำเป็นต้องให้อุปกรณ์ทั้งสองฝั่งเป็น USB 3.2 และใช้สายเคเบิล USB-C ที่ผ่านการรับรอง SuperSpeed USB 10 Gbps ซึ่งเริ่มใช้ใน USB 3.1 Gen 2
เอกสารสเปก USB 3.2 จะเผยแพร่ต่อสาธารณะในงานประชุม USB Developer Days North America ในเดือนกันยายนนี้
กลุ่ม Khronos Group ออกมาตรฐานการแสดงผลกราฟิกด้วยจีพียูบนเว็บ WebGL เวอร์ชัน 2.0 แล้ว
ของใหม่ที่สำคัญของ WebGL 2.0 คือพัฒนาบนฟีเจอร์ของ OpenGL ES 3.0 (WebGL เวอร์ชัน 1.0 ใช้ OpenGL ES 2.0 ที่เก่ากว่า) ส่งผลให้การแสดงผลกราฟิกบนเว็บทันสมัย ทัดเทียมกับการแสดงผลกราฟิกบนอุปกรณ์พกพาที่ใช้ OpenGL ES 3.0 กันเป็นมาตรฐาน
ฟีเจอร์ของ WebGL 2.0 จะไม่เท่ากับ OpenGL ES 3.0 ซะทีเดียว มีบางฟีเจอร์ถูกตัดออกไปเพื่อป้องกันปัญหาประสิทธิภาพ แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่า WebGL 2.0 ได้ฟีเจอร์ด้านการแสดงผลกราฟิกเกือบทั้งหมดของ OpenGL ES 3.0 มาด้วย
กลุ่ม Khronos Group ผู้พัฒนามาตรฐานกราฟิก OpenGL และ OpenCL เปิดตัวคณะทำงาน OpenXR ที่มีเป้าหมายสร้างมาตรฐานกลางให้วงการ AR/VR
Khronos บอกว่าผู้เล่นในตลาด AR/VR ตอนนี้กระจัดกระจาย ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ใช้งานข้ามค่ายไม่ได้ กลุ่ม OpenXR ต้องการเข้ามาเป็นคนกลางแก้ปัญหา 2 ระดับคือ สร้างเลเยอร์กลางสำหรับฮาร์ดแวร์ AR/VR เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม AR/VR และสร้าง API เชื่อมระหว่างเอนจินเกมกับแพลตฟอร์ม AR/VR (ดูภาพประกอบ)
กลุ่มมาตรฐาน 3GPP ผู้กำหนดมาตรฐานด้านโทรคมนาคม ประกาศโลโก้ 5G อย่างเป็นทางการแล้ว โดยมีลักษณะคล้ายกับโลโก้ LTE ของเดิม แต่ปรับรูปลักษณ์ของคลื่นใหม่ให้โฉบเฉี่ยวขึ้นกว่าเดิม
โลโก้ LTE และ LTE-Advanced ใช้คลื่นสีแดง ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นสีเขียวใน LTE-Advanced Pro ส่งผลให้เทคโนโลยี 5G ยังคงใช้คลื่นสีเขียวตามมาด้วย
ตัวมาตรฐาน 5G ยังไม่เสร็จดี โดยมาตรฐานเวอร์ชันแรก 5G Phase 1 (Release 15 เลขเวอร์ชันนับต่อจาก LTE) มีกำหนดเสร็จช่วงปลายปี 2018 ตามด้วย 5G Phase 2 (Release 16) ในปี 2020
HDMI Forum เผยรายละเอียด HDMI เวอร์ชัน 2.1 ที่รองรับความละเอียดและเฟรมเรตสูงขึ้น สามารถส่งสัญญาณภาพ 4K ได้สูงสุดที่ 120 เฮิรตซ์ และความละเอียด 8K ได้สูงสุด 60 เฮิรตซ์ (ต้องใช้สายที่มีความเร็ว 48 Gbps)
นอกจากนี้ยังมีการรองรับ Dynamic HDR แบบใหม่ที่จะปรับคุณภาพสีแบบฉากต่อฉาก หรือแม้กระทั่งเฟรมต่อเฟรม แทนที่จะเป็นการปรับทีเดียวตลอดวิดีโอ ในด้านของการเล่นเกมก็มีการรองรับ Game Mode VRR (variable refresh rate) ที่จะปรับอัตราการรีเฟรชหน้าจออัตโนมัติเพื่อลดการกระตุกและรักษาสภาพจอแสดงผล
สำหรับเรื่องเสียงก็รองรับระบบ object-based audio หรือการกำหนดตำแหน่งเสียงบนพื้นที่สามมิติจำลอง
Bluetooth SIG ได้ออกมาตรฐานใหม่สำหรับ Bluetooth 5 อย่างเป็นทางการ หลังจากที่เคยเปิดตัวมาตรฐานมาแล้วก่อนหน้านี้
สำหรับมาตรฐานใหม่ของ Bluetooth นี้ก็จะยังคงเน้นในเรื่องประสิทธิภาพ คือพื้นที่การใช้งานครอบคลุมขึ้น 4 เท่า, ความเร็วที่มากกว่าเดิม 2 เท่า, ข้อมูลส่งได้ใน broadcast message เพิ่มขึ้น 8 เท่า, ขอบเขตพลังงานที่กว้างขึ้นที่ครอบคลุมบ้านหรืออาคารเพื่อการเชื่อมต่อที่เสถียรมากขึ้น ซึ่งจะเหมาะกับผลิตภัณฑ์ประเภท IoT เนื่องจาก Bluetooth 4.2 ยังไม่เพียงพอต่อการเชื่อมต่อในบ้านมากนัก รวมถึงอุปกรณ์อย่าง smartwatch ด้วย
กลุ่ม Wi-Fi Alliance รับรองมาตรฐาน Wi-Fi รุ่นใหม่ 802.11ac "wave 2" ที่อยู่บนเทคโนโลยีเดิม แต่มีประสิทธิภาพดีขึ้น
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญของ "wave 2" คือ Multi-user Multiple Input Multiple Output (MU-MIMO) ช่วยให้เชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่าน Wi-Fi ได้จำนวนมากขึ้นบนเครือข่ายเดิม โดยที่ประสิทธิภาพไม่ตกลง นอกจากนี้ "wave 2" ยังขยายแบนด์วิดท์สูงสุดที่รองรับได้จาก 80MHz เป็น 160MHz และขยายจำนวนช่องสัญญาณในความถี่ย่าน 5GHz อีกด้วย
ชิปเซ็ตและอุปกรณ์ที่ผ่านมาตรฐาน 802.11ac wave 2 แล้วได้แก่
Bluetooth Special Interest Group (Bluetooth SIG) องค์กรกำหนดมาตรฐานของ Bluetooth ประกาศเปิดตัวมาตรฐาน Bluetooth 5 อย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (ตามเวลาท้องถิ่น) ซึ่งตรงกับรายงานข่าวก่อนหน้านี้
แถลงการณ์ระบุว่า Bluetooth 5 จะเพิ่มรัศมีทำการมากขึ้นถึง 4 เท่า ทำให้ใช้งานได้ไกลขึ้น (ไม่ระบุว่าเทียบกับมาตรฐาน Bluetooth รุ่นไหน) รวมไปถึงเพิ่มความเร็วมากขึ้นในขณะที่ยังคงใช้พลังงานต่ำ ทำให้เหมาะกับอุปกรณ์ในสาย Internet of Things ส่วนถ้าเป็นแบบ broadcast (กระจายข้อมูลอย่างเดียว) จะสามารถเพิ่มความสามารถ (capacity) ในการกระจายข้อมูลเพิ่มถึง 800%
ทีมพัฒนา Chrome ออกมาประกาศว่า Chrome 52 (ตอนนี้สถานะยังเป็นรุ่นทดสอบ) จะรองรับมาตรฐาน ECMAScript (ชื่ออย่างเป็นทางการของ JavaScript) เวอร์ชัน 6 และ 7 แล้ว
สเปก ECMAScript 6 ผ่านเป็นมาตรฐานเมื่อกลางปีที่แล้ว สถานะของ Chrome 52 สามารถผ่านชุดทดสอบมาตรฐานได้ 98% แล้ว เบราว์เซอร์อีกตัวที่ได้คะแนนระดับเดียวกันคือ Safari Technology Preview ทำคะแนนได้ 99% ส่วน Edge และ Firefox อยู่ที่ 90% ใครสนใจตามไปดูตารางคะแนนกันได้
เทร็นด์เทคโนโลยีที่มาแรงที่สุดในปี 2016 หนีไม่พ้น VR ที่แพร่ระบาดไปทุกวงการ ฝั่งของวงการเว็บเอง ค่าย Mozilla ก็เสนอสเปก WebVR 1.0 API ออกมาแล้ว
เป้าหมายของ WebVR คือการแสดงผลเนื้อหาประเภท VR บนเว็บเบราว์เซอร์ โดยออกสเปกกลางเพื่อให้เบราว์เซอร์ทุกตัวใช้งานร่วมกันได้ (ฝั่งของคนทำแว่น VR ก็เขียนให้รองรับสเปก WebVR API อันเดียวพอ) ตัวเอกสารนี้พัฒนาโดยทีมของ Firefox และ Chrome ก็น่าจะการันตีส่วนแบ่งตลาดได้เยอะระดับหนึ่ง
สเปก WebVR 1.0 API ยังมีสถานะเป็น "ฉบับร่าง" และต้องรอฝั่งเบราว์เซอร์นำไปใช้งานด้วย ฝั่งของ Firefox ระบุว่าจะเริ่มพัฒนาฟีเจอร์ให้รองรับ WebVR เต็มรูปแบบในช่วงครึ่งแรกของปีนี้
WiFi Alliance ประกาศมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายใหม่ 802.11ah ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ประเภทสมาร์ทโฮม และ Internet of Things โดยเรียกมาตรฐานใหม่นี้ว่า "HaLow"
HaLow เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานบนย่านความถี่ 900MHz แบบไม่มีใบอนุญาติ ทำให้สามารถใช้งานได้ในระยะที่ไกลกว่าย่าน 2.4GHz เป็นเท่าตัว แต่กินกินพลังงานน้อยลง และทะลุทะลวงกำแพงได้ดีขึ้น ซึ่งไปด้วยกันได้ดีกับอุปกรณ์กลุ่มเป้าหมายที่ต้องใช้พลังงานเอาเรื่องในการทำงานให้ได้อย่างที่หวังกับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายในปัจจุบัน
เมื่อต้นปีนี้ กลุ่มมาตรฐานชาร์จไฟไร้สาย 2 กลุ่มคือ A4WP (Rezence) และ PMA ประกาศรวมตัวกัน เพื่อต่อกรกับกลุ่ม WPC เจ้าของแบรนด์ Qi
เวลาผ่านมาเกือบปี ทางกลุ่ม A4WP และ PMA ประกาศชื่อแบรนด์ใหม่ AirFuel Alliance เป็นที่เรียบร้อย ทางกลุ่มจะให้เวลาอีกระยะหนึ่ง (grace period) และเลิกใช้แบรนด์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ A4WP และ PMA อย่างถาวร
สมาชิกของกลุ่ม AirFuel Alliance มีทั้งหมด 195 บริษัท อย่างไรก็ตาม บางบริษัท (เช่น ซัมซุง) ก็สนับสนุนเทคโนโลยีฝั่ง WPC/Qi ด้วย อุปกรณ์ของ AirFuel จะรองรับการชาร์จสองแบบคือ inductive และ resonance โดยทำงานแบบ multi-mode ขึ้นกับว่าเจออุปกรณ์ประเภทใด
การเริ่มใช้งานทั้งพอร์ตใหม่ของ USB อย่าง USB Type-C พร้อมกับสเปคใหม่อย่าง USB 3.1 ดูจะสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้เอาเรื่อง ยิ่งเมื่อสามารถใช้งานแบบ Alternate Mode กับ Display Port สำหรับต่อจอภาพได้อีก ยังไม่รวมอีกหนึ่งฟีเจอร์อย่างการจ่ายไฟผ่าน USB Power Delivery ทำให้องค์กรที่กำกับสเปคอย่าง USB Implementers Forum (USB-IF) ต้องออกมาอธิบายเรื่องนี้ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
Nolan Lawson นักพัฒนาเว็บและแอพรายหนึ่งเขียนบทความนำเสนอปัญหาของวงการเว็บ ว่าทุกวันนี้เบราว์เซอร์พัฒนาเรื่องเทคโนโลยีเว็บไปมาก ผู้สร้างเบราว์เซอร์หลายค่ายทั้ง Google, Mozilla, Opera, Microsoft ต่างเข้ามามีส่วนร่วมในการร่างมาตรฐานเว็บกันเยอะ แต่ Safari ของแอปเปิลกลับแทบจะหยุดนิ่งในรอบหลายปีที่ผ่านมา
สเปกแผ่น Blu-ray รุ่นถัดไปเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยมันจะใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Ultra HD Blu-ray
รายละเอียดของสเปกเป็นไปตามข่าวก่อนหน้านี้ คือความละเอียดภาพ 4K (3840x2160), เฟรมเรต 60 fps, มีโหมดการแสดงผลแบบ HDR, รองรับมาตรฐานระบบเสียง object-based sound formats ในอนาคต (DTS:X และ Dolby Atmos) และมีฟีเจอร์แสดงความเป็นเจ้าของสิทธิเนื้อหา (digital bridge) ข้ามอุปกรณ์ ลักษณะเดียวกับ Ultraviolet ด้วย
แผ่น Ultra HD Blu-ray มีความจุ 2 ระดับคือ 66GB (แบบสองเลเยอร์) และ 100GB (แบบสามเลเยอร์) ครับ
ต่อจากข่าว Blink ยกเลิกแผนรองรับมาตรฐาน Pointer Events และ W3C ออกมาตรฐาน Pointer Events ฉบับจริง แต่ยังไร้วี่แววการสนับสนุนจากแอปเปิล-กูเกิล
ฝั่งทีม Chromium ของกูเกิลประกาศเปลี่ยนใจอีกรอบ หันมาสนับสนุนมาตรฐาน Pointer Events ในเอนจิน Blink ใหม่อีกครั้ง หลังได้รับความเห็นจากบรรดานักพัฒนาเว็บและนักพัฒนาเฟรมเวิรค์ชื่อดังอย่าง jQuery/Dojo ว่า Pointer Events เป็นมาตรฐานสำคัญที่ควรมี
นอกจาก Vulkan แล้ว กลุ่ม Khronos ยังออกสเปก OpenCL 2.1 รุ่นรับฟังความเห็น (provisional spec) มาพร้อมกัน
สำหรับคนที่ไม่รู้จัก OpenCL เป็น API มาตรฐานสำหรับใช้ GPU ประมลผลงานทั่วไปที่ไม่ใช่งานกราฟิก (GPGPU) โดยมาตรฐานรุ่นล่าสุดก่อนหน้านี้คือ OpenCL 2.0 ที่ออกในปี 2013
ของใหม่ของ OpenCL 2.1 มีดังนี้
องค์กรมาตรฐานเว็บ W3C ออกมาตรฐาน Pointer Events อย่างเป็นทางการ (ปรับสถานะเป็น W3C Recommendation จากเดิมที่เป็นฉบับร่าง) อย่างไรก็ตาม เส้นทางเบื้องหน้าของมาตรฐานนี้ก็ไม่ง่ายเพราะยังไม่มีวี่แววว่า Safari และ Chrome จะรองรับ
วงการเว็บยุคจอสัมผัสเริ่มใช้งาน Touch Events ที่เริ่มโดย Safari บน iPhone แต่ข้อจำกัดของมันคือถูกออกแบบมารองรับเฉพาะนิ้วสัมผัสเท่านั้น ภายหลังไมโครซอฟท์ได้สร้างมาตรฐาน Pointer Events ที่ครอบคลุมการชี้ตำแหน่งด้วยปากกาและเมาส์เพิ่มมา และเสนอมาตรฐานนี้ไปยัง W3C
เก็บตกข่าวเก่า กลุ่ม Video Electronics Standards Association (VESA) ผู้กำกับสเปคมาตรฐานของ DisplayPort เปิดสเปคของ Embeded DisplayPort (eDP) รุ่นใหม่ 1.4a ที่รองรับหน้าจอโน้ตบุ๊กความละเอียดสูงสุดถึง 7680x4320 พิกเซล (8K) ไปเลยทีเดียว
ตามสเปคที่ออกมาของ eDP 1.4a จะทัดเทียมกับของ DisplayPort 1.3 ตรงที่เพิ่มแบนด์วิดท์ส่งข้อมูลไปเป็น 8.1Gbps ต่อเลน สูงสุดที่ 32.4Gbps แบบสี่เลน โดยรองรับความละเอียดสูงสุดที่ 7680x4320 พิกเซลที่ 60Hz และ 3840x2160 พิกเซล สำหรับหน้าจอความถี่สูงระดับ 120Hz
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมากลุ่มขับเคลื่อนวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต หรือ IESG ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยที่ทำหน้าที่ผลักดันมาตรฐานบนอินเทอร์เน็ตได้อนุมัติการส่งร่างมาตรฐาน HTTP/2 ขึ้นประกาศเป็นมาตรฐานใหม่แล้วครับ
โพรโทคอล HTTP/2 (เดิมเรียกว่า HTTP/2.0) ถูกร่างขึ้นจากโพรโทคอล SPDY/2 ที่กูเกิลพัฒนามาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานจาก HTTP/1.1 ที่ถูกประกาศใช้งานเมื่อปี ค.ศ. 1999 เป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพ ที่ทำให้ช่วยเพิ่มความเร็วการเชื่อมต่อ ปรับปรุงวิธีการเรียกใช้งานให้สามารถร้องขอข้อมูลหลายๆ ชิ้นได้ในครั้งเดียว ทำให้ลดภาระฝั่งนักพัฒนา เช่นการรวมไฟล์ css, js หรือการทำ css sprite ไปได้ด้วยครับ
เมื่อต้นปีที่แล้ว กลุ่มมาตรฐานชาร์จไฟไร้สาย PMA ประกาศความร่วมมือทางเทคโนโลยีกับกลุ่มมาตรฐานคู่แข่ง A4WP เจ้าของแบรนด์ Rezence โดยอุปกรณ์ของแต่ละฝ่ายจะรองรับระบบชาร์จของอีกฝ่ายด้วย
เวลาผ่านมาเกือบปี ระดับของความร่วมมือพัฒนาไปอีกขั้น โดยทั้ง PMA และ A4WP ตกลงจะรวมเป็นกลุ่มเดียวกันแล้ว โดยกระบวนการรวมกลุ่มจะเสร็จสิ้นช่วงกลางปี 2015
การเดินทางอันยาวนานของ HTML5 นับสิบปี ตั้งแต่การฟอร์มทีมร่างมาตรฐาน WHATWG ในปี 2004 ก็มาถึง "ก้าวแรก" เมื่อองค์กรกำกับมาตรฐานเว็บ W3C ประกาศรับรองมาตรฐาน HTML 5.0 อย่างเป็นทางการ (มีสถานะเป็น "Recommendation")
ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ HTML5 ก็เป็นไปตามที่ Blognone เสนอข่าวมาโดยตลอด (และทุกวันนี้เราก็ใช้กันเยอะแล้วเพราะเบราว์เซอร์รองรับกันก่อนเป็นมาตรฐาน) เช่น <audio>/<video>, Canvas, SVG, MathML เป็นต้น
สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) ตั้งกลุ่มทำงาน IEEE P2413 Working Group เพื่อสร้างมาตรฐานการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ Internet of Things (IoT)
เป้าหมายของกลุ่ม IEEE P2413 คือพยายามทำให้อุปกรณ์ IoT ข้ามค่ายสามารถสื่อสารกันได้ โดยจะพยายามดึงกลุ่มอุตสาหกรรมภาคเอกชนที่ทำเรื่อง IoT ที่มีอยู่จำนวนมาก (เช่น AllJoyn) รวมถึงองค์กรมาตรฐานสากล เช่น ETSI, ISO เข้ามาทำงานร่วมกัน คาดว่าทางกลุ่มจะสามารถออกมาตรฐานกลางได้ในปี 2016 เป็นต้นไป
ปัจจุบัน IEEE P2413 มีหน่วยงานเข้าร่วมเป็นสมาชิก 23 ราย เช่น GE, Cisco, Huawei, Qualcomm, ZigBee เป็นต้น
กลุ่ม Video Electronics Standards Association (VESA) ประกาศออกสเปกของมาตรฐาน DisplayPort เวอร์ชัน 1.3 ที่พัฒนาขึ้นจากเวอร์ชัน 1.2 (ออกปี 2009)