สมาชิกรัฐสภาและ EU ประกาศบรรลุข้อตกลง บังคับใช้พอร์ตประเภทเดียว ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้ง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และกล้องดิจิทัล ตามที่คณะกรรมการยุโรปโหวตผ่าน และนำเสนอร่างไปก่อนหน้านี้ โดยกำหนดเป็นพอร์ต USB-C มีผลในฤดูใบไม้ร่วง หรือครึ่งหลังของปี 2024
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นที่ถูกบังคับใช้ในประกาศนี้ยังมี อีรีเดอร์ หูฟังเอียร์บัด เฮดโฟน เฮดเซต วิดีโอเกมพกพา ลำโพงพกพา ยกเว้นแล็ปท็อป ที่จะมีผลบังคับใช้ 40 เดือน นับจากวันที่คำสั่งนี้เริ่มมีผล
แอปเปิล ไมโครซอฟท์ และกูเกิล ประกาศแผนความร่วมมือ เพื่อรองรับและผลักดันมาตรฐานการล็อกอินยืนยันตัวตนแบบไร้รหัสผ่าน ทั้งบนสมาร์ทโฟน เดสก์ท็อป และเบราว์เซอร์ ที่จัดทำโดย FIDO Alliance และ World Wide Web Consortium (W3C)
ประโยชน์สำหรับผู้ใช้งาน จะทำให้ลดขั้นตอนการล็อกอินซ้ำหลายครั้ง เป็นการลงชื่อยืนยันการใช้งานครั้งเดียว แล้วใช้งานได้ต่อเนื่องในทุกจุด
สองความสามารถใหม่ที่เพิ่มเติมมาในการล็อกอินของมาตรฐาน FIDO ได้แก่ (1) เข้าถึงข้อมูลประจำตัวจากการลงชื่อแบบ FIDO (Passkey) ได้ผ่านอุปกรณ์หลายเครื่อง รวมทั้งเครื่องใหม่ โดยไม่ต้องดำเนินการทุกบัญชี (2) ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบสิทธิ์แบบ FIDO บนอุปกรณ์พกพาใกล้ตัว เพื่อใช้ล็อกอินเข้าเว็บไซต์ หรือระบบปฏิบัติการใด ๆ
Video Electronics Standards Association (VESA) สมาคมที่ออกมาตรฐานด้านจอแสดงผล (เป็นหน่วยงานเดียวกับที่ออกมาตรฐาน DisplayPort) ประกาศออกมาตรฐาน Adaptive-Sync การแสดงผลภาพโดยมีอัตรารีเฟรชเรตไม่คงที่ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ variable refresh rate (VRR)
VRR เป็นเทคโนโลยีการแสดงผลที่แต่ละฉากอาจมีอัตรารีเฟรชไม่เท่ากัน เช่น ฉากคุยกันที่ภาพไม่ค่อยเคลื่อนไหวมีอัตรารีเฟรชต่ำ แต่ฉากแอคชั่นมีอัตรารีเฟรชสูง
ก่อนหน้านี้เราอาจคุ้นกับมาตรฐานของบริษัทการ์ดจอ เช่น NVIDIA G-Sync หรือ AMD FreeSync แต่มาตรฐาน Adaptive-Sync ของ VESA เป็นขององค์กรกลางที่ไม่ขึ้นกับบริษัทใด
ความคืบหน้าประเด็นที่คณะกรรมการยุโรป หรือ European Commission เสนอบังคับใช้พอร์ต USB-C กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท โดยมีเป้าหมายในการลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ล่าสุดคณะกรรมาธิการด้านการปกป้องตลาดและผู้บริโภคยุโรป ลงคะแนนเสียง 43 ต่อ 2 สนับสนุนการแก้ไขระเบียบบังคับตามที่เสนอ
ข้อกำหนดใหม่ระบุว่าอุปกรณ์อย่าง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เฮดโฟน เฮดเซต วิดีโอเกมพกพา และลำโพงพกพา ที่สามารถชาร์จผ่านสายได้ จะต้องรองรับพอร์ต USB-C มีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์ที่เล็กเกินไปสำหรับการใส่พอร์ต USB-C เช่น สมาร์ทวอทช์ สายรัดข้อมูลสุขภาพ
กลุ่มบริษัทผู้ผลิตซีพียูรายใหญ่เกือบทุกราย ได้แก่ ASE (จากไต้หวัน), AMD, Arm, Intel, Qualcomm, Samsung, TSMC รวมถึงผู้ให้บริการคลาวด์อีก 3 รายคือ Google, Meta, Microsoft ร่วมกันเปิดตัวมาตรฐาน Universal Chiplet Interconnect Express (UCIe) สำหรับการให้ชิปเล็ต (chiplet) จากต่างค่ายสามารถนำมาประกอบกันได้บนแพ็กเกจชิปเดียวกัน
มาตรฐาน UCIe กำหนดตั้งแต่การเชื่อมต่อทางกายภาพ โปรโตคอลสื่อสาร ซอฟต์แวร์ และการทดสอบความเข้ากันได้ โดยตัวของ UCIe อิงอยู่บนมาตรฐานเดิมที่มีอยู่แล้วในตลาดคือ PCIe และ Compute Express Link (CXL) ที่ริเริ่มโดยอินเทล อย่างไรก็ตาม สังเกตว่าบริษัทชิปรายใหญ่ที่ยังไม่เป็นสมาชิกคือ NVIDIA
มาตรฐาน USB ในปัจจุบันมีความสับสนอย่างมาก เพราะมีทั้งเรื่องอินเทอร์เฟซของหัวเสียบ (USB Type-C), อัตราการส่งข้อมูล (USB4) และกำลังในการชาร์จ (USB Power Delivery หรือ USB PD)
ล่าสุดกลุ่ม USB-IF พยายามแก้ปัญหานี้โดยออกโลโก้ใหม่ ที่รวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน โดยระบุอัตราการส่งข้อมูล 20/40 Gbps (USB4) และกำลังการชาร์จ 60w/240w (USB PD 3.1) ไว้ที่ตัวโลโก้บนแพ็กเกจต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจง่ายขึ้นว่าสายและที่ชาร์จอะไรได้บ้าง แทนการเขียนเวอร์ชันของสเปก (USB 4, USB PD 3.1) ที่ผู้บริโภคอ่านแล้วไม่รู้ว่าคืออะไร
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ซึ่งเทียบได้กับหน่วยงานรัฐบาลของสหภาพยุโรป ออกข้อเสนอเรื่องการบังคับใช้พอร์ต USB-C กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท เพื่อลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์
กฎข้อนี้มีชื่อเรียกว่า Radio Equipment Directive ตอนนี้ยังมีสถานะเป็นข้อเสนอจาก EC ที่ต้องรอไปโหวตรับรองในรัฐสภายุโรปก่อน หากโหวตผ่านแล้วจะมีเวลาเตรียมตัวก่อนบังคับใช้จริงอีก 24 เดือน
รายละเอียดของกฎมีทั้งหมด 4 ข้อคือ
USB-IF ได้อัพเดตรายละเอียดสเปคของ USB-C เวอร์ชัน 2.1 เพิ่มรายละเอียดฮาร์ดแวร์กำหนด และข้อจำกัดหลายรายการ แต่มีประเด็นที่สำคัญคือขยายช่วงกำลังไฟไปสูงสุดถึง 240 วัตต์ จากปัจจุบันเวอร์ชัน 2.0 รองรับสูงสุดที่ 100 วัตต์
กำลังไฟที่สูงขึ้น จะทำให้ USB-C สามารถรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ จอภาพความละเอียด 4K, เกมมิ่งแล็ปท็อป ไปจนถึงเครื่องพิมพ์
ถึงแม้ระดับกำลังไฟ 240 วัตต์ ก็อาจยังไม่เพียงพอสำหรับฮาร์ดแวร์หลายประเภท แต่ตัวที่ขยายมานี้ก็น่าจะทำให้เห็นอุปกรณ์มากขึ้นที่รองรับ USB-C เวอร์ชันใหม่นี้
กลุ่มมาตรฐาน Zigbee Alliance ก่อตั้งในปี 2002 เพื่อพัฒนามาตรฐาน ZigBee เป็นหลัก แต่ระยะหลังกลุ่ม Zigbee Alliance ออกมาตรฐานใหม่ๆ ในชื่ออื่นมาอีกหลายตัว วันนี้จึงประกาศเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น Connectivity Standards Alliance (CSA) เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงนี้ ปัจจุบัน CSA มีสมาชิกประมาณ 350 บริษัท
ตัวมาตรฐาน ZigBee เองยังอยู่เหมือนเดิมและใช้ชื่อเดิม ของใหม่คือ CSA ออกมาตรฐานตัวใหม่ชื่อ Matter (ชื่อเดิมคือ CHIP) สำหรับเชื่อมอุปกรณ์สมาร์ทโฮมข้ามค่าย โดยมียักษ์ใหญ่ของวงการมาร่วมกันพร้อมหน้า ทั้ง Amazon, Apple, Google, Samsung SmartThings
กูเกิล-ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือระหว่างทีม Chrome และ Edge แก้ปัญหาเรื่องเว็บเบราว์เซอร์แต่ละตัวแสดงผลมาตรฐานเว็บไม่เหมือนกัน ใช้ชื่อโครงการว่า #Compat2021
โครงการนี้จะอ้างอิงข้อมูลจาก Web DNA (Web Developer Needs Assessment) ที่ริเริ่มโดย Mozilla สำรวจความเห็นของนักพัฒนาเว็บ และพบว่ามีปัญหาสำคัญ 5 ประการคือ CSS Flexbox, CSS Grid, CSS position: sticky, CSS aspect-ratio property, CSS transforms ที่พฤติกรรมของแต่ละเบราว์เซอร์ต่างกัน
ปกติแล้วอีเมลใน Gmail จะแสดงภาพโพรไฟล์ของผู้ส่ง ซึ่งเป็นภาพที่เราตั้งเองในสมุดที่อยู่เท่านั้น (แปลว่าถ้าไม่ตั้งค่าภาพเอาไว้ ก็จะแสดงเป็นรูปหัวคนสีเทาๆ)
ล่าสุดกูเกิลประกาศฟีเจอร์แสดงภาพโพรไฟล์ของแบรนด์ใน Gmail แล้ว โดยจะแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัย-การปลอมแปลงตัวตน ด้วยมาตรฐานใหม่ที่เรียกว่า Brand Indicators for Message Identification (BIMI) ที่กูเกิลร่วมกับพาร์ทเนอร์หลายราย เช่น LinkedIn, Fastmail, Twilio Sendgrid, Yahoo (ปัจจุบันอยู่ในเครือ Verizon) พัฒนาขึ้นมา
Khronos Group กลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรมด้านกราฟิก (ผู้ออกมาตรฐาน OpenGL และ Vulkan) ประกาศออกมาตรฐาน OpenCL เวอร์ชัน 3.0 ที่มาแบบแปลกๆ คือ "รีเซ็ต" จักรวาล OpenCL ใหม่ ข้ามเวอร์ชัน 2.x ในปัจจุบัน กลับไปยึดแกนของ OpenCL 1.2 ที่เก่ากว่าแทน
ต่อจากข่าว ยุโรปเตรียมเสนอใช้พอร์ต USB-C เป็นสายชาร์จมาตรฐาน
เมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา รัฐสภายุโรป (European Parliament) ได้ลงมติโหวตให้คณะกรรมการยุโรป (European Commission) เดินหน้าผลักดันให้เกิดมาตรฐานสายชาร์จ ด้วยคะแนนเห็นด้วย 582 เสียง, ไม่เห็นด้วย 40 เสียง, งดออกเสียง 37
มติของรัฐสภาระบุให้คณะกรรมการยุโรป ออกคำสั่งบังคับใช้เรื่องนี้ภายในเดือนกรกฎาคม 2020 และนอกจากเรื่องมาตรฐานสายชาร์จ รัฐสภายังเรียกร้องให้คณะกรรมการยุโรปผลักดันเรื่อง
อุปกรณ์แบบ 2 จอ Dual Screen กำลังจะออกมาถล่มตลาดในปีนี้ ในฝั่งของนักพัฒนาแอพก็ต้องเตรียมปรับแอพตาม ซึ่งไมโครซอฟท์ออก SDK สำหรับ Android มาให้แล้ว และจะออก SDK ของ Windows 10X ตามมาในเดือนหน้า
แพลตฟอร์มแอพตัวที่ 3 ที่ไมโครซอฟท์ผลักดันเช่นกันคือ เว็บแอพ ซึ่งไมโครซอฟท์พยายามเสนอมาตรฐานเว็บให้รองรับจอ Dual Screen ผ่านคุณสมบัติใหม่ของ CSS
ข้อเสนอของไมโครซอฟท์อ่านได้จาก GitHub แนวคิดของมันคือเสนอฟีเจอร์ให้กับ CSS 2 อย่างคือ
กลุ่ม Bluetooth SIG ผู้พัฒนามาตรฐาน Bluetooth ประกาศมาตรฐาน LE Audio ที่เตรียมเพิ่มฟีเจอร์หลายอย่างให้กับการส่งข้อมูลเสียง ได้แก่
สามยักษ์ใหญ่ของวงการไอทีโลกคือ Amazon, Apple, Google ที่เป็นคู่แข่งกันหลายๆ เรื่อง เซอร์ไพร์สวงการด้วยการจับมือเป็นพันธมิตร Connected Home over IP (CHIP) พัฒนามาตรฐานสำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฮมร่วมกัน
ยักษ์ใหญ่ทั้งสามรายยังจับมือกับกลุ่มพันธมิตร Zigbee Alliance ที่มีอยู่เดิม (มีสมาชิกอย่าง IKEA, Samsung, NXP) เพื่อขยายจำนวนสมาชิกให้กว้างขวางขึ้นด้วย
โครงการ Connected Home over IP ระบุว่าจะพัฒนามาตรฐานการเชื่อมต่อแบบใหม่ ที่ใช้กระบวนการพัฒนาแบบโอเพนซอร์ส และเปิดกว้างให้ทุกคนใช้งานโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย (royalty-free) โดยอิงจากเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เช่น Alexa Smart Home, Apple HomeKit, Google Weave
เมื่อต้นปีนี้ เราเห็นการประกาศเปิดตัวมาตรฐาน USB 4 ตอนนี้เอกสารสเปกของ USB 4.0 เสร็จสมบูรณ์และเผยแพร่ต่อสาธารณะ เพื่อให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์นำไปพัฒนาสินค้ากันแล้ว
USB 4 เป็นการต่อยอดจากโปรโตคอล Thunderbolt ของอินเทล ทำให้ส่งข้อมูลได้ในอัตราสูงถึง 40Gbps (ต้องใช้กับสายที่เป็น USB 4 ด้วยถึงจะได้ความเร็วระดับนี้) ตัวพอร์ตเชื่อมต่อยังใช้พอร์ต USB Type-C ได้เหมือนเดิม และยังเข้ากันได้กับมาตรฐานรุ่นเดิมทั้ง USB 3.2, USB 3.0 และ Thunderbolt 3
ที่มา - USB
Khronos Group กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ผู้พัฒนามาตรฐานของวงการกราฟิก (เช่น OpenGL และ Vulkan) ประกาศออกสเปก OpenXR เวอร์ชันสมบูรณ์ 1.0
OpenXR ตั้งเป้าเป็นมาตรฐานกลางของวงการ AR/VR ให้ฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ข้ามค่ายสามารถทำงานร่วมกันได้ (คำว่า XR เป็นชื่อเรียกรวมๆ ของ AR และ VR) ตัวเอกสารสเปกฉบับเต็มสามารถอ่านได้จาก GitHub
สมาคม VESA หรือ Video Electronics Standards Association ประกาศออกสเปกของ DisplayPort 2.0 มาตรฐานการส่งข้อมูลวิดีโอเวอร์ชันใหม่ ที่มีแบนด์วิดท์สูงสุดทางทฤษฎีถึง 80Gbps สูงกว่าของเวอร์ชันก่อนคือ DisplayPort 1.3/1.4 ที่ทำได้ 32.4Gbps เกือบ 3 เท่าตัว
แบนด์วิดท์ของ DisplayPort 2.0 ทำให้รองรับการส่งวิดีโอความละเอียด 8K พร้อมฟีเจอร์ต่างๆ อย่างรีเฟรชเรตสูงๆ หรือภาพแบบ HDR ได้สบาย แต่เท่านั้นยังไม่พอ การที่แบนด์วิดท์สูงมากจนเกินพอ (ลำพังแค่ DisplayPort 1.4 ก็รองรับ 8K อยู่แล้ว) ส่งผลให้ DisplayPort 2.0 มีฟีเจอร์ multi-stream ส่งข้อมูลวิดีโอได้หลายชุดพร้อมกัน ต่อออกหลายจอพร้อมกันด้วยเคเบิลเส้นเดียว (ต่อแบบ daisy-chain)
มาตรฐานเว็บยุคแรกๆ ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรมาตรฐานกลางอย่าง W3C ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกในสังกัดหลายร้อยบริษัท แต่ภายหลังเมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาขึ้น กระบวนการพัฒนามาตรฐานของ W3C ก็ถูกวิจารณ์ว่าล่าช้าเกินไป
ในปี 2004 กลุ่มบริษัทผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ ตั้งกลุ่ม WHATWG ขึ้นมาทำงานกันเองโดยไม่ต้องพึ่ง W3C ส่งผลเทคโนโลยีเว็บหลายตัวถูกนำมาใช้งานในเบราว์เซอร์ก่อนที่จะอยู่ในเอกสารของ W3C ด้วยซ้ำ (ปัจจุบันสมาชิกของ WHATWG คือ Apple, Google, Microsoft, Mozilla)
USB-IF ได้อัพเดตข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐาน USB 3.2 ล่าสุดในงาน MWC 2019 โดย USB 3.2 รองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูล 3 มาตรฐาน ที่ดึงเอาสเปคของ USB 3.x มารีแบรนด์ใหม่ดังนี้
นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกร่วมกันโหวตอนุมัติการเปลี่ยนนิยามมาตรฐานของ "กิโลกรัม" ไปแล้วเมื่อกลางวันวันนี้ ณ ที่ประชุมทั่วไปด้านน้ำหนักและการชั่งตวงวัดที่เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส
การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนการนิยามจาก "น้ำหนัก 1 กิโลกรัมหนักเท่ากับมวลสารแบบประถมระหว่างประเทศของกิโลกรัม" เป็นการอ้างอิงจากค่าคงที่ธรรมชาติ โดยใช้ค่าคงที่ของพลังค์ (Planck Constant) แทน โดยการวัดเทียบค่าอย่างซับซ้อนเป็นเวลาหลายปี เพื่อให้ได้ค่าคงที่ของพลังค์ที่แม่นยำที่สุดออกมา นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงนิยามของหน่วย เคลวิน โมล และแอมแปร์ เพื่อให้มาอ้างอิงกับค่าคงที่ใหม่ของกิโลกรัมนี้ตามด้วย โดยจะมีผลในวันที่ 20 พฤษภาคมที่จะถึงนี้
กลุ่ม Wi-Fi Alliance ประกาศการเรียกชื่อมาตรฐาน Wi-Fi ใหม่ โดยมาตรฐานตัวใหม่ล่าสุด 802.11ax จะเรียกชื่อเป็น Wi-Fi 6 ซึ่งการใช้รุ่นเป็นตัวเลขนั้น จะทำให้ผู้ใช้งานทั่วเข้าใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งผู้ผลิตอุปกรณ์ก็สามารถทำการสื่อความเข้ากันของอุปกรณ์ได้ง่ายเช่นกัน
ทั้งนี้การเปลี่ยนชื่อเรียกเทคโนโลยี Wi-Fi เป็นตัวเลขจะมีผลทั้งหมด 3 รุ่น ดังนี้
สหภาพยุโรป หรือ EU เตรียมศึกษาปรับแผนใหม่ เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือใช้ที่ชาร์จมือถือแบบเดียวกันทั้งหมด หลังจากข้อเสนอที่เคยทำไปก่อนหน้านี้ไม่มีความคืบหน้า
EU เคยเสนอให้ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือเปลี่ยนมาใช้ที่ชาร์จแบบเดียวกันทั้งหมดเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว (ข่าวเก่า) ด้วยเหตุผลสนับสนุน คือสามารถลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ลงได้มากกว่า 5 หมื่นตันต่อปี อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคด้วย ในตอนนั้นบริษัทมือถือรายใหญ่ รวมทั้ง โนเกีย, แอปเปิล, ซัมซุง, หัวเหว่ย ต่างลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อให้สมาร์ทโฟนใช้ที่ชาร์จแบบเดียวกันทั้งหมดภายในปี 2011 และแม้ MOU ดังกล่าวหมดอายุในปี 2012 หลายบริษัทก็ยังคงร่วมลงนามต่อไปอีก 1-2 ปี