สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) ตั้งกลุ่มทำงาน IEEE P2413 Working Group เพื่อสร้างมาตรฐานการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ Internet of Things (IoT)
เป้าหมายของกลุ่ม IEEE P2413 คือพยายามทำให้อุปกรณ์ IoT ข้ามค่ายสามารถสื่อสารกันได้ โดยจะพยายามดึงกลุ่มอุตสาหกรรมภาคเอกชนที่ทำเรื่อง IoT ที่มีอยู่จำนวนมาก (เช่น AllJoyn) รวมถึงองค์กรมาตรฐานสากล เช่น ETSI, ISO เข้ามาทำงานร่วมกัน คาดว่าทางกลุ่มจะสามารถออกมาตรฐานกลางได้ในปี 2016 เป็นต้นไป
ปัจจุบัน IEEE P2413 มีหน่วยงานเข้าร่วมเป็นสมาชิก 23 ราย เช่น GE, Cisco, Huawei, Qualcomm, ZigBee เป็นต้น
กลุ่ม Video Electronics Standards Association (VESA) ประกาศออกสเปกของมาตรฐาน DisplayPort เวอร์ชัน 1.3 ที่พัฒนาขึ้นจากเวอร์ชัน 1.2 (ออกปี 2009)
ที่การประชุม Internet Governance Forum 2014 ณ กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ช่วงบ่ายวันนี้ มีการสนทนาแลกเปลี่ยนกันในหัวข้อมาตรฐานอินเทอร์เน็ตกับการใช้งานจริงและความรับผิดชอบ โดยมีตัวแทนจากทางฝั่งผู้ออกมาตรฐาน ภาครัฐ และตัวแทนจากภาคเอกชน เข้าร่วมในการแลกเปลี่ยนหัวข้อดังกล่าว
กลุ่มอุตสาหกรรม Khronos ผู้ดูแลมาตรฐานกราฟิก OpenGL ประกาศออก OpenGL 4.5 ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงย่อย ของใหม่ได้แก่
ทีมงาน IE ของไมโครซอฟท์เผยว่า ได้ปรับปรุง Internet Explorer 11 Mobile บน Windows Phone 8.1 Update ที่บริษัทเพิ่งเปิดตัวไป ให้แสดงผลเว็บไซต์ได้เหมือนกับที่ปรากฏบน Android หรือ iOS ตามแนวคิดที่ว่า "เว็บควรทำงานได้ (just work) กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ นักพัฒนา หรือองค์กร" ถึงแม้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นบางส่วนจะไม่ถูกพัฒนาตามมาตรฐานกลางของ W3C ก็ตาม
จากการสำรวจเว็บไซต์สาหรับอุปกรณ์พกพาต่างๆ พบ 5 ประเด็นหลักที่ทำให้เว็บไซต์เหล่านั้นแสดงผลบน WP ได้ไม่ถูกต้องเหมาะสม คือ
คนที่ติดตามงาน Google I/O 2014 คงได้ยินชื่อโครงการ Polymer ของกูเกิลกันมาบ้าง มันคือ "ไลบรารีสำหรับสร้าง UI ด้วยเทคโนโลยีเว็บ" ที่พัฒนาขึ้นบนมาตรฐานเว็บตัวใหม่ Web Components ที่ว่ากันว่าจะปฏิวัติแนวคิดของการเขียนเว็บแบบเดิมๆ ไปอย่างสิ้นเชิง
บทความนี้จะแนะนำแนวคิดของ Web Components ในฐานะมาตรฐานที่กำลังพัฒนาขึ้นโดยคณะทำงานของ W3C ก่อนจะกล่าวถึง Polymer ในตอนต่อไป (ผู้อ่านควรมีพื้นฐานด้านการพัฒนาเว็บมาบ้างพอสมควร)
มาตรฐานตารางอักษร Unicode ออกเวอร์ชัน 7.0 แล้ว โดยมาตรฐานเวอร์ชันนี้ได้เพิ่มตัวอักษรใหม่เข้ามาอีก 2,834 ตัว
Unicode 7.0 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย (และภาษาหลักของโลกอื่นๆ) ของใหม่เน้นไปที่ภาษาคนใช้น้อยและสัญลักษณ์ใหม่ๆ ดังนี้
VESA เปิดตัวมาตรฐาน DockPort ซึ่งเป็นส่วนขยายของ DisplayPort เดิม โดยเป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลและจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ผ่านทางพอร์ท DisplayPort (ซึ่งเป็นมาตรฐานของ VESA เช่นกัน) นอกเหนือไปจากสัญญาณภาพ ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์มากกว่าหนึ่งรูปแบบผ่านสายเส้นเดียวในลักษณะเดียวกับ Thunderbolt ของ Intel เช่นการต่อพีซีเข้ากับจอภาพที่เป็น USB hub ในตัวได้โดยไม่ต้องต่อสาย USB อีกเส้นเป็นต้น
DockPort ส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ในรูปแบบของ USB 3.1 ผ่านสาย DisplayPort ต่างกับ Thunderbolt ที่ใช้อินเตอร์เฟสแบบ PCI Express
เมื่อเดือนที่แล้ว เราคงได้เห็นข่าวที่ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าร่วมกลุ่มมาตรฐานระบบชาร์จไร้สาย WPC (เจ้าของเทคโนโลยี Qi) ล่าสุด PMA หรือ Power Matters Alliance (คู่แข่งตัวสำคัญของกลุ่ม WPC) ประกาศว่าไมโครซอฟท์ได้เข้าร่วมกลุ่ม PMA เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จนถึงตอนนี้เราก็ยังไม่รู้ว่า ตกลงแล้วไมโครซอฟท์กำลังคิดอะไรอยู่กันแน่เกี่ยวกับเรื่องของมาตรฐานระบบชาร์จไร้สาย และอีกอย่างคือ ตอนนี้คู่ชกหลัก ๆ ก็เหลือเพียงไม่กี่รายแล้วครับ
กลุ่มมาตรฐาน Wi-Fi Alliance ออกมาตรฐานใหม่สำหรับการใช้ NFC ร่วมกับการเชื่อมต่อ Wi-Fi (tap-to-connect) โดยเป็นส่วนหนึ่งของชุดมาตรฐาน Wi-Fi CERTIFIED Wi-Fi Protected Setup ที่เดิมรองรับการป้อน PIN และการกดปุ่มที่ตัวเราเตอร์อยู่ก่อนแล้ว
ผู้ใช้สามารถนำอุปกรณ์ที่ผ่านการรองรับตามมาตรฐานนี้ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กล้อง และอุปกรณ์แนวใหม่อื่นๆ มาแตะกันด้วย NFC เพื่อเซ็ตค่าเชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi ที่อุปกรณ์อีกตัวหนึ่งใช้อยู่ โดยผู้ใช้ไม่ต้องเลือกเครือข่ายและป้อนรหัสผ่านเลย (ใช้ได้กับทั้ง Wi-Fi ผ่านเราเตอร์ตามปกติ และ Wi-Fi Direct ระหว่างอุปกรณ์)
กลุ่ม Wireless Power Consortium (WPC) เจ้าของมาตรฐานชาร์จไร้สายที่เรารู้จักในชื่อ Qi ประกาศสมาชิกใหม่อีกสองรายคือ Microsoft และ Samsung Electro-Mechanics (บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักรกลของอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกประเภท อาทิ โมดูลกล้องสำหรับมือถือ)
WPC ยังบอกว่าในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีบริษัทเข้าร่วมกลุ่มมากมาย อาทิ IKEA, ZTE Corporation และ Aircharge เป็นต้น (รายหลังสุดเป็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ด้านการชำระเงินที่ต้องทำงานข้ามแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์)
ตอนนี้ WPC มีสมาชิกทั้งหมดมากกว่า 200 บริษัท (Nokia, Samsung อยู่ในกลุ่มนี้)
ข่าวแอปเปิลเปิดตัว CarPlay เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สร้างกระแสความสนใจต่อเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ smart device เข้ากับแผงคอนโซลในรถยนต์ (ที่มักเรียกกันว่า IVI หรือ in-vehicle infotainment) อยู่พอสมควร
ฝั่งคู่แข่งอย่าง Android เองก็เพิ่งประกาศข่าวไปเมื่อต้นปีว่าจะตั้งกลุ่ม Open Automotive Alliance (OAA) แต่ยังไม่มีอะไรออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน นอกจากนี้เราก็ยังเคยเห็นข่าวผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกันอย่าง Ford SYNC ที่ใช้เทคโนโลยีค่ายไมโครซอฟท์
ปัญหาเรื่องมาตรฐานการชาร์จไฟไร้สายที่มีหลายกลุ่มในท้องตลาด เริ่มจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น ล่าสุดกลุ่มมาตรฐาน 2 ค่ายประกาศจับมือแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกันแล้ว
ฟีเจอร์อย่างหนึ่งของ CSS3 ที่นักออกแบบเว็บควรให้ความสนใจคือ CSS3 Regions ที่ช่วยให้เว็บมีหน้าตาคล้ายสิ่งพิมพ์มากขึ้น โดยนักออกแบบสามารถกำหนด "พื้นที่" ในการแสดงผลข้อความที่ต่อเนื่องกันได้ (เช่น กำหนดพื้นที่เป็นรูปทรงต่างๆ ที่ไม่ใช่สี่เหลี่ยม หรือ กำหนดพื้นที่ที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่ให้ข้อความไหลต่อกัน ภาพตัวอย่างท้ายข่าว)
CSS3 Regions เป็นข้อเสนอของค่าย Adobe เพื่อเป็นมาตรฐานเว็บในอนาคต อย่างไรก็ตาม เบราว์เซอร์ที่รองรับ CSS3 Regions ยังมีเพียงเบราว์เซอร์สาย WebKit เท่านั้น (IE กับ Firefox ยังไม่สนใจ)
ในงาน SIGGRAPH 2013 ซึ่งเป็นงานประชุมด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิกที่จะมีทั้งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และนักวิจัยจากหลาย ๆ มหาวิทยาลัยเข้ามาร่วมสัมนากัน ทาง Khronos Group ซึ่งเป็นผู้กำหนดคุณลักษณะของ API ต่าง ๆ หลายตัว ได้ประกาศเปิดตัวมาตรฐาน OpenGL เวอร์ชัน 4.4, OpenCL เวอร์ชัน 2.0 และ OpenCL SPIR
OpenGL 4.4
ฟีเจอร์ใหม่ของ OpenGL 4.4 นั้นจะเป็นฟีเจอร์ระดับล่าง ๆ โดยส่วนขยายตัวที่เด่น ๆ ที่ถูกเข้ามารวมอยู่ในแกนของ OpenGL เวอร์ชั่นนี้นั้นก็มี
กระทรวงอุตสาหกรรม ออกประกาศฉบับที่ 4496 (พ.ศ. 2555) เรื่องข้อกำหนดการทำให้เนื้อหาเว็บสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ หรือ มอก.2565-2555 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 โดยอ้างอิงกับข้อกำหนด WCAG 2.0 ของ W3C มีจุดประสงค์ให้เนื้อหาของเว็บไซต์สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้โดยทุกคน ซึ่งรวมถึงผู้พิการและผู้สูงอายุให้สามารถรับสื่อข้อมูล ข่าวสาร การใช้บริการ ของเว็บไซต์ได้เท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป ผู้จัดทําเว็บสามารถเอามาตรฐานนี้มาใช้อ้างอิงเพื่อนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาจัดทำเว็บไซต์ให้ผ่านข้อกำหนด และสามารถนำไปใช้เป็นข้อกำหนดคุณสมบัติในการจัดซื้อจัดจ้างได้
ไมโครซอฟท์เปิดเว็บไซต์ใหม่ modern.IE เป็นศูนย์รวมเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาเว็บที่ต้องการทดสอบเว็บกับ IE เวอร์ชันต่างๆ
เครื่องมือที่ไมโครซอฟท์เตรียมไว้ให้มีดังนี้
ที่มา - Exploring IE
กลุ่มมาตรฐาน Wireless Gigabit Alliance หรือ WiGig ที่มุ่งเป้าพัฒนาระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูง 7Gbps (ข่าวเก่า) ซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทใหญ่หลายราย เช่น Broadcom, Intel, AMD, Microsoft, Cisco, Samsung, Qualcomm ประกาศเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม Wi-Fi Alliance แล้ว
ข้อตกลงนี้จะทำให้มาตรฐาน WiGig กลายเป็นส่วนหนึ่งของ Wi-Fi (สเปกแบบเดิมแต่เปลี่ยนชื่อมาสังกัด Wi-Fi) โดยเน้นไปที่การสื่อสารผ่านความถี่ 60GHz เดิมของ WiGig เป็นหลัก
W3C ผู้ดูแลมาตรฐานวงการเว็บ ปรับสถานะของมาตรฐาน HTML5 และ Canvas 2D เป็น "candidate recommendation" หรือ "ร่างฉบับก่อนสมบูรณ์" เรียบร้อยแล้ว
candidate recommendation ในที่นี้แปลว่า HTML 5.0 จะไม่มีฟีเจอร์เพิ่มจากนี้แล้ว และงานที่เหลือจะเป็นการเก็บบั๊กให้มาตรฐานออกมาสมบูรณ์ต่อไป ทางคณะทำงานของ W3C ประเมินว่า HTML 5.0 จะเปลี่ยนสถานะจาก candidate recommendation เป็น recommendation (มาตรฐานจริง) ช่วงกลางปี 2014 หรืออีก 1 ปีครึ่งนับจากนี้
เราเพิ่งผ่านยุคสมัยที่คนทำเว็บหลายๆ คนสร้างเว็บเฉพาะ IE6 มาได้ไม่นาน แต่ตอนนี้สถานการณ์กลับกันไปแล้ว เนื่องจากทั้งแอปเปิลและกูเกิลต่างใช้เอนจิน WebKit และเมื่อส่วนแบ่งตลาดมือถือของสองค่ายนี้รวมกันได้เยอะมาก ทำให้เว็บไซต์หลายๆ แห่งทดสอบเว็บภาคมือถือเฉพาะบน WebKit เท่านั้น
ไมโครซอฟท์ที่มี IE บน Windows Phone จึงออกมาเรียกร้องให้นักพัฒนาเว็บทดสอบเว็บให้ใช้งานกับ IE10 ได้ด้วย และเขียนบล็อกอธิบายการทดสอบเว็บกับ IE10 บน WP8 รวมถึงแนะนำให้นักพัฒนาเว็บหลีกเลี่ยงการใช้มาตรฐาน HTML เฉพาะของ WebKit (กลุ่ม -webkit- ทั้งหลาย) โดยเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานกลางของ W3C แทน
วันเวลาเปลี่ยนไป หลายอย่างก็เปลี่ยนแปลง
ถึงแม้เราเริ่มเห็นสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ อย่าง HTC 8X, Lumia 920, Nexus 4 มาพร้อมกับระบบชาร์จไร้สายเป็นมาตรฐาน แต่อนาคตของระบบชาร์จไร้สายก็ยังไม่สดใสนัก เพราะในตลาดมีมาตรฐานที่แตกต่างกันถึง 4 แบบ
ต่อเนื่องจากข่าวเก่าเรื่องการตั้งคณะทำงานขึ้นมาร่างมาตรฐาน HTTP/2.0 ตอนนี้คณะทำงานที่ว่านี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้วครับ เมื่อทาง IESG ที่เป็นหน่วยงานย่อยใน IETF หรือ Internet Engineering Task Force ที่เป็นหน่วยงานออกแบบร่างและรับรองมาตรฐานทางอินเทอร์เน็ตได้ให้อนุญาตให้มีคณะทำงานร่างมาตรฐาน HTTP/2.0 อย่างเป็นทางการแล้วครับ
W3C เสนอแก้ปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของมาตรฐาน HTML5 ที่ยังไม่ลงตัวสักที โดยเตรียมแผนการแบ่งเป็นรุ่นเสถียรและรุ่นไม่เสถียร ออกตามกำหนดเวลา (แบบเดียวกับ Ubuntu/Chrome/Firefox) ดังนี้
ตัวแทนของบริษัทที่เป็นสมาชิกกลุ่ม MPEG ไปประชุมกันที่สวีเดนเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมพัฒนามาตรฐานการบีบอัดวิดีโอตัวใหม่ High Efficiency Video Coding (HEVC) หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการคือ H.265
HEVC เป็นพัฒนาการอีกขั้นของการเข้ารหัสแบบ Advanced Video Coding (AVC) หรือ H.264 ที่เราคุ้นเคยกันดี โดยทางกลุ่ม MPEG คาดว่ามันจะบีบอัดข้อมูลได้มากกว่า H.264 ถึงสองเท่า
เจ้าภาพของงานนี้คือ Ericsson ซึ่งระบุว่า HEVC ถูกออกแบบมาสำหรับเล่นวิดีโอผ่าน mobile broadband ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไป ดังนั้นประสิทธิภาพในการบีบอัด HEVC จึงต้องดีขึ้นกว่า AVC เพื่อส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมือถือได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ในงาน SIGGRAPH 2012 ซึ่งเป็นงานประชุมด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิคที่จะมีทั้งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และนักวิจัยจากหลาย ๆ มหาวิทยาลัยเข้ามาร่วมสัมนากัน ทาง Khronos Group ซึ่งเป็นผู้กำหนดคุณลักษณะของ API ต่าง ๆ หลายตัว ได้ประกาศเปิดตัวมาตรฐาน OpenGL ES 3.0 และ OpenGL 4.3 ซึ่งเป็นคุณลักษณะของ API กราฟฟิคของอุปกรณ์แบบฝังตัว (Embedded System) และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
OpenGL ES 3.0
สำหรับ OpenGL ES 3.0 เป็นการนำ API บางส่วนจาก OpenGL 3 และ 4 มาเพิ่มลงไปใน OpenGL ES 2.0 โดย OpenGL ES 3.0 จะคงการเข้ากันได้กับ OpenGL ES 2.0 ไว้ ดังนั้นโปรแกรมเก่า ๆ ที่ใช้ OpenGL ES 2.0 จะสามารถทำงานอยู่บนอุปกรณ์ที่เป็น OpenGL ES 3.0 ได้เลย