Karen Bradley เลขาธิการกระทรวงวัฒนธรรมของอังกฤษออกมาบอกว่า รัฐบาลควรเก็บภาษี Facebook และ Twitter เพิ่มเพื่อนำเงินมาระดมทุนในโครงการสร้างความตระหนักเรื่อง cyber bullying เพราะ Facebook และ Twitter สร้างภาวะกดดันและความทุกข์ทรมานจากภัยกลั่นแกล้งออนไลน์ในหมู่วัยรุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัจจุบันมีมูลนิธิมากมายที่ทำแคมเปญส่งเสริมความตระหนักด้านความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต มูลนิธิเหล่านี้ควรมีทุนเพิ่มเติมเพื่อดำเนินงาน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการระบุตัวเลขเงินที่จัดเก็บอย่างชัดเจนเพราะยังอยู่ระหว่างการหารือกัน
ฝรั่งเศสและเยอรมนีเตรียมหาช่องทางให้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Google, Apple, Facebook และ Amazon ควรจะเริ่มจ่ายภาษีอย่างเท่าเทียมกัน หลังจากที่ผู้นำประเทศในแถบยุโรปเริ่มสับสนว่าบริษัทเหล่านี้หาผลประโยชน์อย่างไรและการเก็บภาษีก็เริ่มเป็นประเด็นในยุโรปมากขึ้นหลังจากที่บริษัทขนาดใหญ่ๆ มักจะมาตั้งสำนักงานใหญ่ในไอร์แลนด์และลักเซมเบิร์กเพราะมีอัตราภาษีต่ำ
เดิมรัฐบาลเกาหลีใต้มีนโยบายลดภาษีให้กับบริษัทที่ลงทุนด้านหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรอยู่ที่ 3-7% ขึ้นอยู่กับขนาดของการลงทุน เพื่อเป็นการกระตุ้นกระทรวงด้านนี้ในประเทศ โดยนโยบายนี้จะหมดอายุในปี 2019
แต่ทว่าอาจด้วยความกลัวการเข้ามาแย่งงานมนุษย์ของเครื่องจักรและหุ่นยนต์ รัฐบาลของนาย มุน แจ-อิน ได้ทบทวนมาตรการลดภาษีดังกล่าวหลังหมดอายุ ทำให้หลังปี 2019 บริษัทที่ลงทุนด้านหุ่นยนต์และเครื่องจักรอาจได้รับการลดภาษีเหลือเพียง 1-5% เท่านั้น เพื่อลดแรงดึงดูดในการลงทุนด้านนี้ลงเล็กน้อย
ทั้งนี้ถึงแม้กฎหมายนี้จะไม่ได้เป็นการเก็บภาษีหุ่นยนต์ (Robot Tax) โดยตรงอย่างที่ Bill Gates เคยเสนอ แต่คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมด้านนี้ก็มองว่ามีความใกล้เคียงกัน
ช่วงนี้มีคนแชร์ข่าวเรื่อง "Google/Facebook ยอมจ่ายภาษีในออสเตรเลีย กว่า 2 พันล้านเหรียญ" ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนในรายละเอียดอยู่พอสมควร บวกกับกระแสความพยายามเก็บภาษีบริษัทออนไลน์ต่างชาติของบ้านเรา ทาง Blognone จึงคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะขยายความในเรื่องนี้ครับ
อย่างแรกเลยคือข่าวการเก็บภาษีของออสเตรเลียไม่ใช่ข่าวใหม่ เพราะกฎหมายผ่านสภาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2017 และเพิ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2017 มันจึงถูกนำมาพูดถึงอีกครั้ง
อย่างที่สองคือ Google/Facebook ไม่ได้จู่ๆ หันมา "ยอมจ่ายภาษี" ให้กับออสเตรเลียแบบง่ายๆ แต่จริงๆ แล้วมันคือกฎหมายฉบับใหม่ของออสเตรเลีย ที่พยายามเก็บภาษีบริษัทข้ามชาติทุกราย ไม่ใช่แค่ Google/Facebook ตามที่เป็นข่าว
เป็นไปได้ว่า Airbnb เรียนรู้ปัญหาทางกฎหมายที่ตัวเองเจอจากประเทศต่างๆ ก่อนหน้านี้สมาคมโรงแรมหรูร่างเอกสารทางกฎหมายต่อสาธารณชนให้รู้ว่า Airbnb มีปัญหาและละเมิดกฎหมายอะไรบ้าง
Airbnb จึงมีท่าทีรอมชอมต่อรัฐบาลท้องถิ่นมากขึ้นในประเทศแถบละตินอเมริกา โดยบอกว่าบริษัทจะจ่ายภาษี 3% ให้รัฐบาลเท่ากันกับที่โรงแรมต้องจ่าย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะตลาดในแถบละตินอเมริกาที่ Airbnb โตสูง
Bill Gates เคยเสนอไอเดียให้งานที่ใช้หุ่นยนต์ทำแทนมนุษย์จะต้องเสียภาษี โดยให้เหตุผลว่าช่วยชะลอสังคมที่หุ่นยนต์เป็นแรงงานสำคัญแทนมนุษย์ ไม่ให้มาถึงเร็วเกินไป ให้มนุษย์ได้มีเวลาเตรียมตัว และช่วยให้ผู้ใช้มีเวลามากขึ้นในการทำงานอื่นที่ดีกว่า
ไอเดียที่ว่าสร้างความฮือฮาในสังคมโลกไปช่วงหนึ่ง ล่าสุดไม่เพียง Bill Gates แต่ยังมี Jane Kim นักการเมืองชาวเกาหลีประจำการที่ซานฟรานซิสโกที่อยากรู้ว่าจะเป็นอย่างไรหากให้เสียภาษีหุ่นยนต์ จะสามารถเติมเต็มปัญหาความไม่เท่าเทียมกันได้หรือไม่
ปัญหาเรื่องการเลี่ยงภาษีของแอปเปิลโดยใช้บริษัทในไอร์แลนด์ ยังเป็นประเด็นถกเถียงกันในหลายประเทศ ก่อนหน้านี้มี ญี่ปุ่นที่เข้ามาสอบสวนแอปเปิลข้อหาส่งรายได้ไปไอร์แลนด์ โดยไม่เสียภาษีในญี่ปุ่น
Beijing Chaoyang Local Taxation Bureau สำนักงานสรรพากรท้องถิ่นรายงานความสำเร็จในการเก็บภาษีเหล่าเน็ตไอดอลที่แสดงออกไลฟ์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ โดยปี 2016 ที่ผ่านมาสามารถเก็บภาษีได้ถึง 60 ล้านหยวน หรือประมาณ 300 ล้านบาท จากรายได้ของเหล่าไอดอลรวมถึง 390 ล้านหยวน
แนวทางการไลฟ์ของเหล่าเน็ตไอดอลเพื่อให้แฟนๆ ซื้อของในแอปให้ได้รับความนิยมอย่างสูงในจีน และระบบภาษีในจีนยังไม่ได้มีระเบียบที่ตรงกับรายได้ประเภทนี้ เน็ตไอดอลที่ความนิยมสูงๆ อาจจะมีรายได้เดือนละหมื่นหยวนได้ไม่ยากนัก
สำนักงานสรรพากรของจีนแห่งนี้ส่งเจ้าหนัาที่ไปดูการไลฟ์ผ่านแพลตฟอร์มที่ไม่ได้ยื่นภาษีให้กับเน็ตไอดอล และบางแพลตฟอร์มก็ไม่ได้รวมรายได้จากส่วนแบ่งการซื้อสินค้าออนไลน์เหล่านี้ไว้ในการยื่นภาษี
กระทรวงการคลังเปิดเผยว่าเตรียมจะปรับโครงสร้างภาษีออนไลน์ เช่นเดียวกับที่หลายประเทศเริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว โดยจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% กับ 5 กลุ่มเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ ตั้งแต่อีคอมเมิร์ซอย่าง Lazada, Alibaba กลุ่มโซเชียลมีเดียที่มีรายได้จากโฆษณาอย่างเฟซบุ๊ก กูเกิลและ YouTube กลุ่มเว็บไซต์จองที่พักโรงแรม, กลุ่มเว็บไซต์จองตั๋วคอนเสิร์ต และเว็บไซต์นายหน้าขายสินค้าและบริการ อาทิ ประกันออนไลน์และเว็บไซต์หาคู่
กรมสรรพากรเผยสถิติประชาชนขอคืนภาษีผ่านระบบ PromptPay กว่า 60% หรือเป็นจำนวน 226,968 ราย และในบรรดาผู้ยื่นแบบรายการแสดงภาษีทั้งหมด มียื่นผ่านอินเทอร์เน็ตสูงถึง 85.99%
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ซึ่งเปิดให้ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2560 มีผู้ยื่นรายการมาแล้ว 1,221,162 ฉบับ ยื่นทางอินเทอร์เน็ต 1,050,018 ฉบับ คิดเป็น 85.99% ยื่นแบบกระดาษ 171,144 ฉบับ
ด้านผู้ขอคืนภาษีมีจำนวน 725,862 ราย เป็นการขอคืนภาษีผ่านพร้อมเพย์จำนวน 226,968 ราย คิดเป็น 60.20
IBM Watson ร่วมมือกับบริษัท H&R Block ทำปัญญาประดิษฐ์จัดการเรื่องเอกสารภาษีและสิทธิลดหย่อนภาษีที่คนอาจมองข้ามไป
ข้อมูลภาษีมีมหาศาล แค่รหัสภาษีจากรัฐบาลกลางก็มีมากกว่า 74,000 หน้าแล้ว ยังไม่รวมการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายภาษีประจำปีที่ส่งผลกระทบต่อคนเสียภาษี ด้วยข้อมูลจำนวนมากและรายละเอียดขนาดนี้ คนทำภาษีมีโอกาสพลาดรายละเอียดการลดหย่อนภาษีเล็กๆ น้อยๆ ได้ง่ายมาก การทำงานตรงนี้จึงจำเป็นต้องมีผู้ช่วย
โครงการดังกล่าวยังอยู่ในเฟสแรก เริ่มจากทาง H&R Block ป้อนข้อมูลภาษี ภาษาวงการภาษี คำถามที่พบบ่อย ความรู้เรื่องภาษีทั้งหมดเข้าระบบ IBM Watson ก่อน ให้ซอฟต์แวร์เรียนรู้เนื้อหา จากนั้นซอฟต์แวร์จะเป็นโซลูชั่นให้ลูกค้าด้วยการเชื่่อมโยงข้อมูลคลาวด์กับข้อมูลลูกค้า เพื่อระบุสิทธิลดหย่อนภาษีที่ลูกค้าควรจะได้รับ
หลังจากกรมสรรพากรออกมาประกาศว่าปีนี้จะโอนคืนภาษีทางระบบโอนเงินพร้อมเพย์โดยให้ข้อมูลภายหลังว่าเป็นทางเลือกเพิ่มเติม และยังออกเช็คให้เหมือนเดิม ตอนนี้ผู้ที่เริ่มยื่นแบบภาษีพบว่าหน้าจอขอคืนภาษียังคงระบุว่าจะคืนเงินผ่านทางพร้อมเพย์โดยไม่มีทางเลือกอื่นระบุ
หน้าจอยืนยันการขอคืนเงินภาษีระบุข้อความ "กรมสรรพากรจะคืนเงินภาษีผ่านระบบโอนเงินแบบพร้อมเพย์ เพื่อความสะดวกในการในการรับเงินคืนภาษี ท่านสามารถลงทะเบียนกับธนาคารพาณิชย์ในราชอาณาจักร ที่ท่านมีบัญชีเงินฝากด้วยเลขประจำตัวบัตรประชาชนสำหรับการโอนเงินคืนภาษี"
สืบเนื่องจากที่กรมสรรพากรเตรียมจะคืนภาษีในปีหน้าผ่านทาง PromptPay ล่าสุดกรมสรรพากรออกมายืนยันแล้วว่าช่วงทางการคืนผ่าน PromptPay นั้นไม่บังคับ เป็นแค่ทางเลือก และยังคงมีการคืนภาษีผ่านเช็คเหมือนเดิม
อธิบดีกรมสรรพากรให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐว่า เป็นความเข้าใจผิดเรื่องการบังคับใช้ PromptPay จากการคืนภาษี โดยชี้แจงว่าจะคืนผ่านช่องทาง PromptPay ก่อน แล้วจึงจะคืนผ่านช่องทางเช็คตามปกติ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์
ที่มา - ไทยรัฐออนไลน์
update: สรรพากรยืนยันไม่บังคับคืนภาษีผ่าน PromptPay เป็นแค่ทางเลือก ยังมีจ่ายเป็นเช็คตามปกติ
กรมสรรพากรแถลงประชาชนยื่นภาษีผ่านเน็ต และผู้ที่จ่ายเกินสามารถรับเงินคืนได้ผ่านระบบ PromptPay
วันนี้ (22 ธันวาคม 2559) กรมสรรพากรออกมาแถลงให้ประชาชนยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2559 รวมถึงสิทธิลดหย่อนต่างๆ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. 2560 ผ่านอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือยื่นผ่าน RD Smart Tax Application และผู้ที่จ่ายภาษีเกิน กรมสรรพากรจะคืนภาษีให้ผ่านระบบ PromptPay
นอกจากนี้ยังระบุอีกว่าคนที่ยังไม่ผูกบัญชี PromptPay ให้ทำการลงทะเบียนด้วยหมายเลขบัตรประชาชนกับธนาคารที่ใช้บริการอยู่ อย่างไรก็ตาม จากการโทรศัพท์สอบถามกับกรมสรรพากร ยังไม่มีรายละเอียดแน่ชัดว่าถ้าคนที่ไม่มีบัญชี PromptPay จะคืนภาษีช่องทางใด
Adobe ประกาศจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (GST - Goods and Service Tax) จากค่าสมาชิก Creative Cloud ในออสเตรเลียตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมเป็นต้นไป
รัฐบาลออสเตรเลียพยายามจะเก็บภาษีจากการซื้อสินค้าดิจิทัลที่ชาวออสเตรเลียซื้อ (ไม่ว่าจะซื้อที่ไหน) มาซักพักแล้ว แต่ทว่าบริษัทเทคโนโลยีพยายามแย้งว่า การซื้อขายไม่ได้เกิดขึ้นในออสเตรเลีย เพียงเกิดการใช้งานผลิตภัณฑ์เพียงแค่เกิดขึ้นบนแผ่นดินออสเตรเลียเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลมองว่าฟังไม่ขึ้น ก่อนจะยกเลิกการละเว้นภาษีดังกล่าว
ที่มา - The Register
สืบเนื่องจากกรณีที่คณะกรรมาธิการยุโรปตัดสินว่า ประเทศไอร์แลนด์ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีแก่แอปเปิล เป็นจำนวนเงินกว่า 13 พันล้านยูโรนั้น ล่าสุดรัฐบาลไอร์แลนด์ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย พร้อมยื่นอุทธรณ์ต่อศาลยุโรป
Michael Noonan รัฐบาลคลังของไอร์แลนด์ ได้ขึ้นกล่าวต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของยุโรป (Economic and Monetary Affairs Committee) ว่าด้วยประเด็นทางเศรษฐกิจของไอร์แลนด์ โดยในช่วงท้าย นาย Noonan ได้ระบุว่ารัฐบาลไอร์แลนด์ ไม่เห็นด้วยโดยหลักการกับคำตัดสินของคณะกรรมาธิการยุโรปในประเด็นดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากยื่นอุทธรณ์ต่อศาลยุโรปในวันนี้ (ตามเวลาท้องถิ่น)
จากกรณี คณะกรรมาธิการยุโรปตัดสิน แอปเปิลเลี่ยงภาษีในไอร์แลนด์นาน 11 ปี มูลค่า 5 แสนล้านบาท ส่งผลให้หน่วยงานภาษีของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาสอบสวนในกรณีนี้ และพบว่ารายได้ที่แอปเปิลได้จาก iTunes ในญี่ปุ่น ถูกส่งไปที่บริษัทลูกของแอปเปิลในไอร์แลนด์ โดยไม่ได้เสียภาษีในญี่ปุ่นด้วย
ทางหน่วยงานภาษีจึงเรียกเก็บภาษีจากแอปเปิลเพิ่ม 12 พันล้านเยน (ประมาณ 4 พันล้านบาท) ซึ่งฝั่งแอปเปิลยังไม่ได้ให้ความเห็นอะไรในเรื่องนี้
ที่มา - Reuters
ต่อจากข่าว คณะกรรมการยุโรปตัดสิน แอปเปิลเลี่ยงภาษีในไอร์แลนด์นาน 11 ปี มูลค่า 5 แสนล้านบาท ฝั่งแอปเปิลนำโดยซีอีโอทิม คุก ก็เขียนจดหมายตอบโต้โดยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ลงมติว่าประเทศไอร์แลนด์ ให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่แอปเปิลมูลค่า 13 พันล้านยูโร (5 แสนล้านบาท) ซึ่งผิดกฎหมายของสหภาพยุโรป
รายละเอียดของคดีนี้มีความซับซ้อนสูงพอสมควร ทาง European Commission ทำแผนภาพ infographic มาให้ด้วย ควรดูภาพประกอบจะได้ไม่งงนะครับ
มลรัฐแมสซาชูเซตส์เตรียมจัดเก็บภาษีบริการเรียกรถผ่านแอพอย่าง Uber หรือ Lyft โดยจะนำเงินส่วนหนึ่งที่ได้ไปพัฒนาแท็กซี่ท้องถิ่นเดิม
ในเดือนนี้ผู้ว่าการรัฐเซ็นรับรองกฎหมายจัดเก็บภาษีดังกล่าวแล้ว กฎหมายระบุว่าในการเรียกรถหนึ่งครั้ง บริษัทต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงิน 20 เซนต์ แบ่งเป็น 5 เซนต์เพื่อพัฒนาแท็กซี่ท้องถิ่น 10 เซนต์เป็นของมลรัฐ และอีก 5 เซนต์กำหนดให้เป็นกองทุนเพื่อพัฒนาการขนส่งต่อไป
วิธีการจัดเก็บภาษียังต้องมีการร่างเพิ่ม แต่จะไม่มีการเพิ่มค่าบริการจากลูกค้า ในกฎหมายยังระบุอีกว่า เงินที่ได้จะช่วยพัฒนาวงการแท็กซี่ให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ การบริการ และความปลอดภัยที่ทันสมัย รวมถึงจะช่วยพัฒนาแรงงานด้วย และทั้ง Uber และ Lyft ก็ยินยอมในมาตรการดังกล่าว
Bambang Brodjonegoro รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอินโดนีเซียประกาศว่าบริษัทต่างชาติที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตแก่ประชาชนในอินโดนีเซียต้องทำการเสียภาษีจากรายได้แก่รัฐ มิฉะนั้นอาจถูกบล็อคการให้บริการ หรือจำกัดแบนด์วิดท์ในประเทศ
Brodjonegoro อธิบายว่าบริษัทต่างชาติอย่าง Google, Facebook หรือ Twitter ต้องดำเนินการจัดตั้งสาขา หรือตั้งบริษัทลูกเป็นนิติบุคคล พร้อมทั้งเสียภาษีตามข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยเรื่องการประกอบธุรกิจของบริษัทต่างชาติในอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับที่บังคับใช้กับกลุ่มบริษัทน้ำมันที่เข้าไปลงทุน
Ghost แพลตฟอร์มบล็อกที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นมากในช่วงหลัง ประกาศย้ายตัวองค์กร Ghost Foundation จากสหราชอาณาจักรไปยังสิงคโปร์ จากกฎหมาย VATMOSS ของสหภาพยุโรปที่เปลี่ยนระบบการคิดภาษี VAT ของสินค้าดิจิตอลจากเดิมคิดตามประเทศผู้ขาย เป็นการคิดตามประเทศผู้ซื้อซึ่งทำให้ระบบภาษีซับซ้อนขึ้นมาก และทาง Ghost ต้องเขียนระบบออกใบเสร็จใหม่ไปแล้วสองครั้ง
คดีความตั้งแต่ปี 2013 ที่ทางการอิตาลีสอบสวนแอปเปิลได้ข้อสรุป หลังทางการอิตาลีสรุปว่า Apple Italia เลี่ยงภาษีระหว่างปี 2008-2013 จริง โดยมูลค่าความเสียหาย คิดเป็นภาษีที่ต้องจ่ายสูงให้รัฐถึง 880 ล้านยูโร (ประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท)
Apple Italia เป็นสาขาย่อยของ Apple Europe ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไอร์แลนด์ ซึ่งมีอัตราภาษีต่ำกว่าอิตาลีเกินครึ่ง (อิตาลีเสีย 27.5% ไอร์แลนด์ 12.5%) โดยแอปเปิลใช้วิธีลงบัญชีรายรับที่ไอร์แลนด์แทนเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง
แอปเปิลยอมรับความผิดแต่โดยดี และเจรจายุติคดีกับทางการอิตาลี โดยเสียภาษีลดลงเหลือเพียง 318 ล้านยูโร
การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2558 มีมติเห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงการคลัง เรื่องมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) สำหรับการลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในการประกอบธุรกิจ โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
เรื่องนี้อาจกลายเป็นประเด็นใหม่ของธุรกิจออนไลน์ เมื่อเมืองชิคาโกเริ่มเก็บ "ภาษีคลาวด์" สำหรับ "บริการด้านความบันเทิง" ที่เผยแพร่ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ภาษีคลาวด์มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Amusement Tax โดยจะเก็บภาษีกับบริการด้านความบันเทิง เช่น การแสดง นิทรรศการ ภาพยนตร์ ละครสัตว์ กีฬา ฯลฯ ที่เผยแพร่ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นมีสายหรือไร้สาย รวมถึงผ่านสื่อวิทยุ-โทรทัศน์แบบเดิมด้วย ภาษีตัวนี้จะเก็บเฉพาะบริการแบบเสียเงินเท่านั้น (ด้วยอัตรา 9%) และจะนับเฉพาะรายได้จากผู้ชมที่อยู่ในเมืองชิคาโกเท่านั้น เริ่มมีผลวันที่ 1 กรกฎาคมเป็นต้นไป