ตำรวจออสเตรเลียดำเนินคดีชายวัย 31 ปีผู้สร้างบริการ iSpoof ที่ใช้สำหรับทำเว็บไซต์ธนาคาร, สรรพากร, หรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถืออื่นๆ เพื่อให้บริการสำหรับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ต่างๆ ไปหลอกเหยื่อชาวออสเตรเลียอีกทีหนึ่ง โดยเว็บให้บริการครบวงจร รวมถึงการปลอม caller ID ในโทรศัพท์ให้ตรงกับชื่อหน่วยงาน
คดีนี้อาศัยการตามจับมาหลายปี โดยตำรวจเนเธอร์แลนด์ทลายเซิร์ฟเวอร์ไปเมื่อปี 2021 และผู้ร่วมแก๊งในลอนดอนถูกจับไปเมื่อปี 2022 โดยทราบว่ามีชาวออสเตรเลียร่วมเครือข่าย แต่หาตัวไม่พบ จนกระทั่งตำรวจได้เบาะแสว่ามีเหยื่อถูกนำชื่อไปเปิดบัญชีโดยไม่ได้รับอนุญาต
Anthropic บริษัท LLM เปิดตัว Claude 3.5 Sonnet โมเดล LLM ขนาดกลาง อัพเดตจาก Claude 3 ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยความพิเศษคือรอบนี้เปิดตัวเฉพาะรุ่นกลาง Sonnet แต่ก็มีความฉลาดเหนือกว่า Claude 3 Opus รุ่นใหญ่สุดที่เปิดตัวมาก่อนหน้านี้แล้ว
Alibaba จัดการแข่งขัน Alibaba Global Math Competition การแข่งขันคณิตศาสตร์ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2018 แต่ปีนี้มีความพิเศษคือเปิดให้ AI เข้ามาแข่งขันด้วย อย่างไรก็ดีทีมที่ใช้ AI ตกรอบทั้งหมดตั้งแต่รอบคัดตัว เหลือผู้เข้าแข่ง 802 คน
คะแนนรอบคัดตัวต้องการคะแนนขั้นต่ำ 45 คะแนน แต่ทีม AI ที่ได้คะแนนสูงสุดได้เพียง 34 คะแนนเท่านั้น และคะแนนเฉลี่ยของ AI อยู่ที่ 18 คะแนนพอๆ กับผู้เข้าแข่งทั่วไป โดยผู้เข้าแข่งที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดทำคะแนนได้ถึง 113 คะแน ข้อสอบมีทั้งหมด 7 ข้อ มีทั้งแบบตัวเลือกและแบบแสดงวิธีทำ
HTMX เฟรมเวิร์คเว็บขนาดเล็กที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นมากในช่วงหลังออกเวอร์ชั่น 2.0 หลังจากออกเวอร์ชั่น 1.0 มาตั้งแต่ปี 2020 โดยปรับเปลี่ยนด้วยการย้ายส่วนขยายต่างๆ เช่น Server Side Events, Web Sockets, Preload ออกเป็นโครงการแยกและเปิดให้อัพเดตเวอร์ชั่นได้แยกจากโครงการหลัก
หลังจากแยกส่วนขยายออกไปแล้ว เวอร์ชั่นนี้จึงถอดฟีเจอร์ที่เคยอยู่ในโครงการหลักออกไปต่างหาก ปรับ API ให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น แต่โดยรวมแล้วการใช้งานยังคงเดิมอยู่แม้จะไม่สามารถทำงานกับโค้ดเดิมได้แล้วเพราะ API เปลี่ยน ที่สำคัญคือถอดการรองรับ Internet Explorer ออกทั้งหมด
หลังจากบริษัท DeepComputing จากฮ่องกงเปิดตัวโน้ตบุ๊ก DC-Roma RISC-V Laptop IIa ตอนนี้ทาง Framework ผู้ผลิตโน้ตบุ๊กที่เน้นความสามารถในการซ่อมแซมได้ง่ายก็ออกมาประกาศว่าจะมีเมนบอร์ด RISC-V สำหรับโน้ตบุ๊ก Framework 13 ของบริษัทด้วย
เมนบอร์ดนี้พัฒนาโดย DeepComputing เช่นกัน และจะเปิดเผยหน้าตาในงาน RISC-V Summit Europe สัปดาห์หน้า โดยผู้ซื้อสามารถซื้อเมนบอร์ดไปใส่ตัวถัง Framework 13 ที่มีอยู่เดิม หรือจะซื้อเคส Cooler Master Mainboard Case ที่เคสออกมาก่อนหน้านี้เพื่อแปลงเมนบอร์ดโน้ตบุ๊กเดิมให้กลายเป็นมินิพีซีก็ได้
น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงถึงนโยบายของรัฐบาลในการสร้างบุคคลากรรองรับอุตสาหกรรมใหม่ในงาน IGNITE THAILAND : Future Workforce for Future Industry โดยวางเป้าหมายว่าภายใน 5 ปี ประเทศไทยจะมีกำลังคนด้าน เซมิคอนดักเตอร์ 80,000 คน, EV 150,000 คน, AI 50,000 คน
แนวทางการผลิตคนเช่นนี้ จะอาศัยโครงการ STEM Plus ปรับความสามารถของบุคคลากรเดิมที่ทำงานอยู่แล้วมาเพิ่มความสามารถในอุตสาหกรรมใหม่, Co-Op Plus ฝึกงานร่วมกับบริษัท 8 บริษัท, และการส่งนักศึกษาไปฝึกงานต่างประเทศระยะเวลา 6-9 เดือน โดยรวมจะส่งคนไปฝึกงานต่างประเทศถึง 1,600 คนต่อปี
TDK ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาแบตเตอรี CeraCharge แบตเตอรีแบบ solid-state ที่มีความจุพลังงานถึง 1kWh/L นับว่าเหนือกว่าแบตเตอรี solid-state ทุกวันนี้ประมาณ 100 เท่าตัว
CeraCharge อาศัย electrolyte แบบ oxide-based พร้อมกับขั้ว anode แบบ lithium alloy โดยแบตเตอรีนี้มีความปลอดภัยสูง
แม้ว่าความจุแบตเตอรีที่สูงขึ้นมากจะเป็นสิ่งที่วงการรถยนต์ไฟฟ้ารอคอยกัน แต่ TDK ก็ยังวางเป้าหมายใช้ CeraCharge กับอุปกรณ์ขนาดเล็กมากๆ ก่อน เช่น หูฟัง, สมาร์ตวอช, อุปกรณ์ IoT, หรือการใช้งานแทนแบตเตอรีแบบเหรียญตามรีโมตต่างๆ
ที่มา - TDK
Deepmind โชว์ความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ video-to-audio (V2A) ที่สามารถเติมเสียงเข้าไปยังวิดีโอได้ตามคำสั่ง เปิดแนวทางการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งการเติมเสียงใส่วิดีโอที่สร้างจากปัญญาประดิษฐ์ หรือจะเป็นการเติมเสียงใส่วิดีโอเก่าที่ไม่มีเสียงแล้ว
เนื่องจาก V2A รองรับพรอมพ์จากผู้ใช้ด้วย ทำให้สามารถปรับแต่งโทนของเสียงได้หลากหลายแม้จะเป็นวิดีโอเดียวกัน เช่น ต้องการใส่เพลงประกับซีนนั้นๆ หรือต้องการเพียงเสียงประกอบเฉยๆ
ปัญญาประดิษฐ์สร้างเสียงจากข้อความหรือภาพนั้นมีการนำเสนอมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ความได้เปรียบของ V2A คือมันเข้าใจวิดีโอมากพอที่จะสร้างเสียงที่ลงจังหวะกับวิดีโอพอดีได้ในตัว ฟีเจอร์สำคัญ เช่น การสร้างเสียงจากบทพูดแล้วซิงก์กับใบหน้าของตัวละครในวิดีโอ
Lamini บริษัทแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์แบบ LLM นำเสนอเทคนิคการปรับแต่งโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า Lamini Memory Tuning (LMT) โดยระบุว่าลดอาการหลอน (hallucinate) ของปัญญาประดิษฐ์แบบ LLM ได้ถึง 95%
ก่อนหน้านี้การลดอาการหลอนของ LLM นั้นอาศัยการวางข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือต่างๆ เช่น องค์กรอาจจะมีชุดข้อมูลของตัวเองก็สามารถนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำถามมาวางในพรอมพ์ เรียกว่า Retrieval Augmented Generation (RAG) เทคนิคนี้เพิ่มความแม่นยำได้จริง แต่ก็มีข้อจำกัดเพราะกระบวนการดึงข้อมูลไม่สมบูรณ์
โครงการ NumPy ไลบรารีไพธอนสำหรับการจัดการข้อมูล array ขนาดใหญ่ ประกาศออกเวอร์ชั่น 2.0 นับเป็นการออกเวอร์ชั่นหลังหลังจาก 1.0 ออกมาตั้งแต่ปี 2006 โดยวางแผนเวอร์ชั่นนี้ตั้งแต่ปีที่แล้วที่จะปรับโครงสร้างเสียใหม่ ทำให้มี API และ ABI ที่ไม่เข้ากับโค้ดเดิม
จุดเปลี่ยนแปลงของ NumPy 2.0 บางส่วนมีการแจ้งเตือนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยจะขึ้นเป็น deprecated warning แต่ความเปลี่ยนแปลงบางส่วนก็ไม่สามารถแจ้งเตือนได้ ทำให้ผู้ที่ต้องการใช้งานควรทดสอบก่อนเสมอ
The Open Group และ IEEE ออกมาตรฐาน IEEE Std 1003.1-2024 และ Open Group Standard Base Specifications, Issue 8 เป็นชุดมาตรฐานอินเทอร์เฟซสำหรับการพัฒนาระบบปฎิบัติการที่รับประกันว่าโปรแกรมจะทำงานร่วมกันได้
POSIX เป็นมาตรฐาน API สำหรับโปรแกรมต่างๆ ทั้งโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา C และ shell script ว่าโปรแกรมเหล่านั้นจะทำงานได้ทุกที่
แม้ว่าจะเป็นมาตรฐานใหม่ แต่ในความเป็นจริงคำสั่งและ API ต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามามักมีอยู่ในระบบปฎิบัติการจำนวนมากอยู่แล้ว เช่น คำสั่ง gettext, realpath, xgetext คำสั่งบางส่วนถูกถอดไปแล้วหลังไม่ได้รับความนิยม เช่น fort77 หรือคำสั่งควบคุม batch job เช่น qalter, qdel, qhold
ParadeDB ผู้พัฒนา PostgreSQL เวอร์ชั่นสำหรับงานวิเคราะห์ข้อมูล เปิดตัว pg_lakehouse ที่เพิ่มฟีเจอร์ทำให้สามารถใช้งาน PostgreSQL แทนที่ฐานข้อมูลเฉพาะทางอย่าง DuckDB
ฟีเจอร์สำคัญของ pg_lakehouse คือการดึงข้อมูลภายนอกออกมาเป็นเหมือนตารางใน PostgreSQL โดยข้อมูลที่ดึงเข้ามาใส่ไปยัง Apache DataFusion ที่เป็นเอนจินการคิวรีแบบ analytics ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ DuckDB โดยก่อนหน้านี้ก็มีส่วนขยายอื่นคล้ายกัน แต่ pg_lakehouse ใช้ Apache OpenDAL สำหรับแปลงข้อมูลทำให้รองรับชนิดไฟล์จำนวนมาก หากการคิวรีใดไม่สามารถใช้ DataFusion ได้ก็จะถอยไปใช้เอนจิน PostgreSQL แทน
AWS ประกาศเปิด Region ใหม่ในประเทศไต้หวัน เริ่มให้บริการต้นปี 2025 ช่วงเดียวกับการเปิดบริการในประเทศไทย
ตอนนี้ AWS ให้บริการทั้งหมด 33 Region รวม 105 Availability Zone ทั่วโลก และกำลังเปิดบริการเพิ่มอีก 21 Availability Zone กับอีก 7 Region ได้แก่ มาเลเซีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย, ไทย, ยุโรป (region พิเศษสำหรับหน่วยงานรัฐ เรียกว่า AWS European Sovereign Cloud), และไต้หวัน
ก่อนหน้านี้ AWS เปิดบริการ AWS Outposts และ AWS Local Zones ในไต้หวันอยู่ก่อนแล้วแบบเดียวกับประเทศไทยที่เปิดบริการขนาดเล็กก่อนมาเปิด Region เหมือนกัน
ที่มา - AWS
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการจัดการการหลอกลวงออนไลน์ แบ่งออกเป็นกระบวนการจัดการบัญชีม้าให้เปิดบัญชีใหม่ได้ยากและปิดบัญชีได้เร็วขึ้น ร่วมกับการออกบริการใหม่ให้ผู้ใช้สามารถป้องกันตัวเองได้มากขึ้น
สำหรับกระบวนการจัดการบัญชีม้านั้น จะมีมาตรการ 3 ระดับสำหรับกลุ่มผู้ต้องสงสัยรูปแบบต่างๆ
AWS ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ Passkey สำหรับการล็อกอินเข้าระบบด้วยกุญแจ USB, โทรศัพท์มือถือผ่านบัญชี Google/Apple, ล็อกบัญชีเข้ากับอุปกรณ์ที่รองรับ FIDO
แม้ว่า Passkey จะใช้แทนรหัสผ่านไปได้เลย แต่ตอนนี้ AWS ก็เลือกที่จะใช้รหัสผ่านต่อไป โดยใช้ Passkey เป็นแค่การล็อกอินขั้นที่สอง หน้าจอคอนโซลของ AWS เปิดให้เพิ่ม Passkey เข้าระบบเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ ไม่จำกัดจำนวนอุปกรณ์
การเพิ่มฟีเจอร์ครั้งนี้มาพร้อมกับการบังคับว่า root account จะต้องล็อกอินสองขั้นตอนเท่านั้น โดยยังบังคับเฉพาะ root account ของ AWS Organization ก่อนโดยจะค่อยๆ ไล่บังคับไปจนครบภายในปีนี้
Terraform Labs ผู้สร้างโทเค็น Luna ยอมความกับก.ล.ต.สหรัฐฯ (SEC) จ่ายค่าเสียหายรวม 4.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นการคืนผลประโยชน์จากการทำความผิด (disgorgement) 4.05 พันล้านดอลลาร์ และค่าปรับอาญา 420 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดีน่าจะไม่มีการโอนเงินจริงเท่าที่ตกลงกันเพราะ Terraform Labs นั้นล้มละลายไปแล้ว
ตัว Do Kwon ผู้ก่อตั้ง Terraform Labs เองถูกสั่งปรับ 80 ล้านดอลลาร์และสั่งให้โอนเงิน 204.3 ล้านดอลลาร์เข้าไปยังกองทุน
Starlink ออกรายงานถึงความคืบหน้าในการลดความหน่วง (latency) ของระบบลงเรื่อยๆ จากเดิมที่ค่ากลาง (median/p50) จากเดิมอยู่ที่ 48.5ms เหลือ 33ms และ 99% (p99) เดิมอยู่ที่ 150ms เหลือ 65ms เท่านั้น พร้อมกับประกาศเป้าหมายว่าจะลดให้เหลือ 20ms
แม้ว่า Starlink จะเป็นบริการดาวเทียมที่ความสูงถึง 500 กิโลเมตร แต่ในความเป็นจริงความหน่วงที่จากระยะทางที่คลื่นต้องเดินทางไปนั้นกินเวลาเพียงขาละ 1.8-3.6ms เท่านั้น โดยรวมสองขาไม่ถึง 10ms แต่จุดที่ทำให้เวลาหน่วงเพิ่มขึ้นคือ Fronthaul ที่ระบบเชื่อมต่อระหว่างดาวเทียมด้วยกันเองเพื่อส่งข้อมูลไปยังสถานีภาคพื้นดิน เมื่อข้อมูลวิ่งผ่านดาวเทียมไปเรื่อยๆ จะทำให้ความหน่วงเพิ่มขึ้น แถมระบบ buffer ในแต่ละ hop นั้นหลายจุดยังตั้ง buffer ไว้มากเกินไป
ในงาน WWDC24 แอปเปิลสาธิตการพัฒนาอุปกรณ์ Matter ด้วย Swift แบบ Embedded Swift บนชิป ESP32 โดยสามารถสร้างอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับ HomeKit ได้โดยง่าย
Embedded Swift เป็น subset ของภาษา Swift เต็มรูปแบบ เพื่อลดรูปให้ไบนารีที่ได้มีขนาดเล็กพอ เช่น ฟีเจอร์ reflection แต่โค้ดที่เขียนด้วย Embedded Swift นั้นจะทำงานด้วย Swift เต็มรูปแบบได้เสมอ โดยแอปเปิลพยายามผลักดันการใช้งานรูปแบบนี้มาระยะหนึ่งแล้ว และเพิ่มตัวอย่างมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ก็ยังเป็นโครงการระดับทดลองอยู่
Matter เป็นมาตรฐานกลางสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ที่น่าจะกลายเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในบ้านในยุคต่อไป
NLP-Voice Research Lab, KBTG Labs ห้องวิจัยของ KASIKORN Business—Technology Group (KBTG) รายงานถึง THaLLE โมเดล LLM ที่ปรับแต่งเพื่อเพิ่มความสามารถด้านการเงิน โดยวัดจากการสอบ Chartered Financial Analyst (CFA)
การสอบ CFA ระดับต้นนั้นเป็นการสอบแบบตัวเลือก โดยผู้สอบต้องทำคะแนนให้สูงกว่า 70% ที่ผ่านมามีปัญญาประดิษฐ์แบบ LLM ที่ทำคะแนนสูงกว่า 70% นี้อยู่แล้วแต่เป็นโมเดลขนาดใหญ่ เช่น GPT-4o นั้นทำคะแนนในชุดทดสอบ Flare CFA ได้ถึง 88% หรือ Gemini 1.5 Pro ก็ทำคะแนนได้ถึง 78% ขณะที่โมเดล LLM ขนาดเล็กไม่เกิน 8B นั้นนำคะแนนได้ไม่สูงนัก มีเพียง Qwen2-7B ที่ได้คะแนน 68%
หลังจากไมโครซอฟท์เปิดตัว Copilot+ PC โดยอาศัยชิป Snapdragon X Elite สถาปัตยกรรม Arm ทั้งหมดก็มีคำถามอยู่บ้างว่าชิปตัวนี้จะรองรับระบบปฎิบัติการอื่นๆ หรือไม่ และหากรองรับจะมีผู้ผลิตผลิตเครื่องของมาขายหรือเปล่า ที่งาน Computex ทาง Tuxedo ผู้ผลิตพีซีลินุกซ์จากเยอรมนีก็ออกมาประกาศว่ากำลังพัฒนาโน้ตบุ๊กอยู่
แนวทางนี้ไม่น่าแปลกใจนักเพราะทุกวันนี้ลินุกซ์จำนวนมากก็คอมไพล์รองรับสถาปัตยกรรม Arm กันอยู่แล้ว และทาง Qualcomm เองก็ออกมระบุว่ากำลังพัฒนาไดร์เวอร์ชิป Snapdragon X Elite ให้กับลินุกซ์อยู่
ไมโครซอฟท์ประกาศถอดฟีเจอร์ Copilot GPTs ในบริการ Copilot Pro หลังจากเพิ่งเปิดบริการมาครึ่งปีเท่านั้น โดยระบุว่าบริษัทกำลังหันไปเน้นการสร้าง GPT สำหรับองค์กรแทน
Copilot GPTs เป็นฟีเจอร์ที่คล้าย GPTs ของ ChatGPT ใช้สำหรับการสร้างแชตบอตเฉพาะทาง
ฟีเจอร์ GPT Builder จะถูกถอดออกตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคมนี้ ส่วน Copilot GPT ที่สร้างไปแล้วจะถูกลบออกในวันที่ 14 กรกฎาคม
ที่มา - Microsoft
ศาลสิงคโปร์สั่งจำคุก Kandula Nagaraju เจ้าหน้าที่ฝ่าย Quality Assurance (QA) ของบริษัท NCS ผู้ให้บริการไอทีในสิงคโปร์ หลังจากที่ Kandula ล็อกอินเข้าระบบเพื่อลบ virtual machine ของบริษัทออกจากระบบไปถึง 180 เครื่องล้างแค้นที่ถูกไล่ออก
Kandula ทำงานกับ NCS ตั้งแต่ปลายปี 2021 จนถึงปลายปี 2022 และเมื่อครบสัญญาบริษัทก็แจ้งไม่ต่อสัญญากับเขา ทำให้ Kandula ผิดหวังเพราะมองว่าทำงานได้ดี หลังจากนั้น Kandula กลับไปยังอินเดียแต่ก็ได้รหัสผ่านระบบของ NCS กลับไปด้วย เขาทดลองล็อกอินหลายครั้งจนะกระทั่งกลับมาหางานที่สิงคโปร์ในช่วงเดือนมีนาคม 2023 เขาเขียนสคริปต์ลบเซิร์ฟเวอร์ของ NCS ทั้งระบบที่เขาเข้าถึงได้ 180 เครื่อง
ในการบรรยายคีย์โน้ตของงาน Apple WWDC 2024 เมื่อคืนที่ผ่านมาระหว่างการเปิดตัวชุดบริการ Apple Intelligence นั้นแอปเปิลยอมรับว่าต้องส่งข้อมูลบางส่วนขึ้นคลาวด์เนื่องจากต้องการประสิทธิภาพการประมวลผลที่สูงขึ้นเกินกว่าชิปบนอุปกรณ์จะรับไหว แต่แอปเปิลก็พยายามรักษาความเป็นส่วนตัวให้ใกล้เคียงกับการประมวลผลบนอุปกรณ์โดยตรงด้วย Private Cloud Compute คอมพิวเตอร์บนคลาวด์ออกแบบเฉพาะสำหรับการประมวลผลที่ยืนยันได้ว่าปลอดภัย
แอปเปิลเปิดข้อมูลเพิ่มเติมของโมเดล LLM ภายใน Apple Intelligence ที่ใช้สำหรับการช่วยสรุปข้อความ, แก้คำผิด, ปรับคำ, หรือช่วยจัดลำดับความสำคัญของข้อความต่างๆ โดยส่วนประกอบพื้นฐานที่สุดคือ Apple Foundation Models ที่เป็นโมเดลของแอปเปิลเอง
ตัว Apple Foundation Models ฝึกบนเฟรมเวิร์ค AXLearn ที่แอปเปิลปล่อยเป็นโอเพนซอร์สตั้งแต่ปี 2023 โดยโมเดลตัวนี้สร้างจาก JAX และ XLA ตัวโมเดลจริงฝึกชิป TPU ของกูเกิลและ GPU ของแอปเปิลเอง ข้อมูลที่ใช้ฝึกนั้นเป็นข้อมูลที่ซื้อมาหรือการดูดเว็บเข้ามาผ่านทาง AppleBot โดยเว็บต่างๆ สามารถใส่ไฟล์ robots.txt เพื่อไม่ให้แอปเปิลเข้าไปดูดเว็บได้ สุดท้ายคือการปรับจูนแบบอาศัยมนุษย์ reinforcement learning from human feedback (RLHF)
แอปเปิลเปิดตัวฟีเจอร์ AI ของตัวเองโดยเรียกว่า Apple Intelligence ที่เป็นชุดฟีเจอร์ด้านปัญญาประดิษฐ์จำนวนมาก ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ง่ายขึ้นแบบเดียวกับ Samsung Galaxy AI
แอปเปิลระบุว่าพยายามจะใช้พลังประมวลผลของชิปในอุปกรณ์ผู้ใช้เป็นหลัก แต่ในกรณีที่การประมวลผลบางอย่างไม่สามารถประมวลผลในอุปกรณ์ได้จะส่งข้อมูลขึ้นคลาวด์อยู่ดี โดยเรียกว่า Private Cloud ที่่จะเปิดให้นักวิจัยเข้าตรวจสอบความปลอดภัยโค้ดที่รันอยู่ในคลาวด์ว่าเคารพความเป็นส่วนตัวผู้ใช้จริง ขณะที่ตัวโทรศัพท์นั้นจะยืนยันโค้ดที่จะรันบนคลาวด์ว่าถูกตรวจสอบแล้วจึงส่งข้อมูลให้ และข้อมูลที่ส่งไปแล้วจะถูกประมวลผลอย่างเดียวไม่เก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์อีก ภายใน Apple Intelligence นั้นจะทำ "semantic index" แปลงข้อมูลให้ค้นหาได้ตามคำบรรยาย เพื่อให้บริการต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้น