Amazon ประกาศมีสินค้าจัดส่งในปี 2017 ประมาณ 5 พันล้านรายการที่จัดส่งให้แก่ลูกค้าสมาชิก Prime นอกจากนี้ยังเผยสินค้าขายดีบน Amazon Prime ของสหรัฐฯ ประจำปี 2017
Spotify เจอปัญหาลิขสิทธิ์เพลงเป็นระยะๆ แต่คราวนี้บริษัทถูกฟ้องร้องด้วยมูลค่าสูงมาก โดย Wixen Music Publishing บริษัทบริหารจัดการลิขสิทธิ์เพลงให้นักแต่งเพลง ฟ้องคดีในศาลรัฐบาลกลางของรัฐแคลิฟอร์เนียระบุว่า Spotify สตรีมเพลง "Free Fallin", "Light My Fire" ของวง Doors และเพลงอื่นๆ นับหมื่นเพลง โดยไม่มีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ โจทก์คำนวณความเสียหายเป็นเงินอย่างน้อย 1.6 พันล้านดอลลาร์
บริษัทรถยนต์ Aptiv ร่วมมือกับ Lyft เปิดบริการเรียกรถให้คนที่เข้าร่วมงาน CES 2018 ที่ลาสเวกัส ผู้เข้าร่วมสามารถเรียกรถอัตโนมัติจากบริษัท Aptiv ได้ผ่านแอพ Lyft เรียกรถไปไปยังจุดหมายต่างๆ เฉพาะในลาสเวกัสได้กว่า 20 แห่ง ให้บริการเฉพาะวันที่ 9-12 มกราคม
ที่งาน CES มีการนำเสนอเทคโนโลยีรถอัตโนมัติมาก่อนแล้วดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การร่วมมือกันของบริษัทรถยนต์กับบริการเรียกรถเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้มีความคุ้นเคยกับการเรียกใช้บริการรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะตามมาในอนาคต
เยอรมนีผ่านกฎหมาย Network Enforcement Act ไปเมื่อกลางปี 2017 หากโซเชียลมีเดียไม่ยอมลบข้อความ Hate Speech ภายใน 24 ชั่วโมงจะต้องถูกปรับสูงสุด 60 ล้านดอลลาร์ ล่าสุดกฎหมายดังกล่าวมีผลแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2018
กฎหมายระบุว่าโซเชียลมีเดียซึ่งมีผู้ใช่งานเกิน 2 ล้านคน เมื่อมีเนื้อหาที่ถูกรายงานว่าเป็น Hate Speech แล้วไม่ลบออกภายใน 24 ชั่วโมง จะต้องถูกปรับถึง 60 ล้านดอลลาร์ ซึ่งไม่เพียงมีผลต่อ Facebook, Twitter, Google แต่รายเล็กอย่าง Reddit, Tumblr, Vimeo, Flickr ก็ได้รับผลกระทบด้วย
กฎข้อห้ามการโพสต์บน Facebook คือ ต้องไม่เป็น Hate Speech หรือเข้าข่ายดูถูกเหยียดหยาม ข่มขู่คุกคามกลุ่มคนโดยใช้ศาสนา สีผิว ชาติพันธุ์เป็นข้ออ้าง แต่รายละเอียดของเนื้อหาที่เป็น Hate Speech ในตำราของ Facebook กับคนทั่วไปอาจไม่สอดคล้องกัน ผู้ใช้งาน Facebook ส่วนหนึ่งจึงยังพบโพสต์ Hate Speech บน Facebook แม้จะรายงานโพสต์ไปแล้วก็ตาม
หัวเว่ยประกาศตัวเลขรายได้รวมจากการขายสมาร์ทโฟน มีการเติบโตช้าที่สุดในรอบ 4 ปี โดยปี 2018 ทางบริษัทตั้งเป้าจะขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยมไปยังตลาดโลกมากขึ้น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหัวเว่ย Ken Hu ระบุคาดว่ายอดรายได้ในปี 2017 จะเพิ่มขึ้น 15 % เป็น 6 แสนล้านหยวน (92.08 พันล้านดอลลาร์)
เว็บไซต์ Axios เผยแพร่บทความวิเคราะห์แนวทางของ Facebook ในปี 2018 ระบุว่า Mark Zuckerberg จะพยายามแก้ปัญหาเพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่น และพยายามรักษาไว้ซึ่งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีประสิทธิภาพที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์
BuzzFeed News เผยแพร่ 50 ข่าวปลอมบน Facebook ประจำปี 2017 พบว่าบรรดาข่าวปลอมในปีนี้มียอดแชร์ ยอดไลค์ และ engagement รวมกัน 23.5 ล้านครั้ง มากกว่าปี 2016 ที่มียอด engagement 21.5 ล้านครั้ง ก่อให้เกิดคำถามว่า Facebook แก้ปัญหาข่าวปลอมมากเพียงพอหรือไม่
BuzzFeed สอบถามไปยัง Facebook โดยโฆษก Facebook บอกว่า บริษัทกำลังพัฒนาเครื่องมือจัดการข่าวปลอมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าการป้องกันดังกล่าวได้เริ่มทำตั้งแต่ต้นปีต้นปี 2017 เชื่อว่าตัวเลขข่าวปลอมบน Facebook จะน้อยกว่านี้ ยอด engagement ก็จะลดลงด้วย ตอนนี้เรามีระบบที่มีประสิทธิภาพมากกว่าแต่ก่อน มันอาจไม่สมบูรณ์แต่ดีกว่าเมื่อก่อนมาก
Giving.sg คือช่องทางรับบริจาคของสิงคโปร์ แบบ 3 in 1 โดยในเว็บไซต์มีทั้งช่องบริจาค ระดมทุนเพื่อการกุศล และรับอาสาสมัครในโครงการต่างๆ ตัวเว็บไซต์ก่อตั้งขึ้นในปี 2015 มาจากการควบรวมของ SG Cares แพลตฟอร์มรับอาสาสมัครและ SG Gives ช่องทางรับบริจาค ปัจจุบันมียอดบริจาคให้แคมเปญและองค์กรต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ Giving.sg แล้ว 100 ล้านดอลลาร์ สิงคโปร์
จนถึงตอนนี้ Giving.sg มีผู้ลงทะเบียนใช้งานแล้ว 127,000 ราย, มีองค์กรการกุศล 487 แคมเปญเพื่อการกุศล 1,500 แคมเปญ
Giving.sg ดำเนินงานโดยศูนย์จิตอาสาแห่งชาติหรือ National Volunteer & Philanthropy Centre (NVPC) และได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม ชุมชนและเขาวชน ภายใน Giving.sg ผู้ใช้งานสามารถเลือกบริจาคโดยแยกประเภท เช่น ประเภทสวัสดิการผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อม ผู้พิการ สุขภาพ เป็นต้น ในเว็บไซต์ยังมีทางเลือกให้สร้างแคมเปญระดมทุนเพื่อช่วยเหลือเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ด้วย เช่น แคมเปญจากมูลนิธิ Agape ต้องการระดมทุน 10,000 ให้องค์กรที่ไม่แสวงกำไรที่ทำการช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดในสมองสามารถฟื้นตัวได้
Kim Young-won อายุ 77 ปี ชาวเกาหลีใต้ กำลังได้รับความนิยมในชุมชนออนไลน์ เมื่อเธอผันตัวมาเป็นนักกินบน YouTube หรือ mukbang โดยช่อง YouTube ของเธอมีคนติดตามกว่า 130,000 แต่ละคลิปมีคนดูหลายแสนครั้ง
mukbang หรือการถ่ายคลิปวิดีโอโชว์กินอาหารทีละเยอะๆ ได้รับความนิยมมากในเกาหลีใต้ ปัจจุบันมีบล็อกเกอร์โชว์กินมากมาย มีทั้งกินอาหารแปลกออกท่าทางตลกสร้างความสนุกสนานแก่คนดู แต่ Kim Young-won แค่กินอาหารธรรมดาๆ แต่เป็นอาหารที่เธออาจไม่มีดอกาสได้กินบ่อยถ้าไม่ได้มาเป็น mukbang โดยระหว่างกิน เธอแค่บอกความรู้สึก รสชาติอาหาร และแต่ละคลิปมียอดรับชมประมาณหลักแสนครั้ง นอกจากกินแล้ว ยังมีคลิปทำสไลม์ที่เด็กๆ นิยมเล่น และทำทาโกะยากิ รวมถึงไปท่องเที่ยวกับหลานสาวด้วย
The Verge เผยแพร่บทความวิพากษ์ YouTube โดยระบุว่า YouTube ในปี 2017 มีทั้งเรื่องร้ายและดี เรื่องดีคือ YouTube ยังคงเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฐานผู้ใช้งาน 1.5 พันล้านราย จากการวิเคราะห์ของ Forbes ยังบอกว่าช่อง 10 อันดับแรกของ YouTube มีรายได้รวมกัน 127 ล้านดอลลาร์ มากกว่าปีก่อนหน้า 80% นอกจากนี้ ฐานผู้ใช้ที่เป็นเด็กก็ขยายตัวเป็นกลุ่มใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ คอนเทนต์เด็กได้รับความนิยมมากเป็นอันดับต้นๆ บนแพลตฟอร์ม
ข้อมูลจาก SocialBlade ที่ติดตามข้อมูลวิดีโอออนไลน์ ระบุว่า 5 ใน 15 ช่อง YouTube ที่ได้รับความนิยมทั่วโลกเป็นช่องเด็ก ขณะเดียวกัน ฐานผู้ใช้เด็กคือดาบสองคมสำหรับ YouTube เพราะปัญหาใหญ่ของ YouTube ในช่วงนี้คือคอนเทนต์แฝงที่ไม่เป็นมิตรต่อเด็กทั้งที่เจาะกลุ่มผู้ชมเด็ก
งานหนักอย่างหนึ่งของตำรวจคือตรวจสอบหลักฐานรูปถ่ายไฟล์วิดีโอที่ยืนยันการกระทำชำเราเด็ก ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อสภาพจิตของตำรวจในระยะยาว ตำรวจอังกฤษจึงพยายามใช้ AI เข้ามาช่วยทำแทน และจะย้ายข้อมูลที่มีความอ่อนไหวไปบนคลาวด์
ประเทศจีนมีนโยบายควบคุมเนื้อหาออนไลน์เคร่งครัด และเคร่งครัดมากขึ้นเมื่อสี จิ้นผิง เป็นผู้นำสูงสุด เราจึงได้ยินข่าวจีนบล็อกเว็บไซต์บ่อยครั้ง ล่าสุดมีตัวเลขออกมาแล้วคือตั้งแต่ปี 2015 จนถึงตอนนี้ รัฐบาลจีนบล็อกเว็บผิดกฎหมายไปแล้วถึง 13,000 เว็บไซต์ และบล็อกบัญชีผู้ใช้ตามโซเชียลและเว็บไซต์ถึง 10 ล้านบัญชี
คณะกรรมการประจำสภาประชาชนแห่งชาติ หรือ Standing Committee of the National People's Congress ออกมารายงานตัวเลขเว็บไซต์ที่รัฐบาลบล็อก และยังระบุเพิ่มด้วยว่า ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน รัฐบาลเรียกคุยผู้ทำเว็บไซต์ไม่น้อยกว่า 2,200 เว็บ
ข้อมูลที่ Reuters ได้รับจาก Xinhua ระบุว่ามีข้อมูลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจีน โดย 90% เห็นด้วยกับแนวทางรัฐบาลปิดกั้นเนื้อหาออนไลน์ 63.5% ระบุว่าเนื้อหาออนไลน์ในระยะหลังนี้มีความรุนแรงทางเนื้อหาลดลง
AI กับการพัฒนาเกมส์เป็นสิ่งที่อยู่ร่วมกันมานานอีกทั้งยังมีพัฒนาที่รวดเร็ว แต่ความสามารถของ AI ในบริษัทเกมส์ก็ไม่ได้แพร่ออกไปยังภายนอก เป็นช่องว่างที่เห็นได้ชัดระหว่าง AI ในเกมส์ กับ AI ในอุตสาหกรรมอื่น Ubisoft จึงตั้ง La Forge ศูนย์วิจัย AI ที่มีเป้าหมายเพื่อลดช่องว่างดังกล่าว โดยเน้นทำวิจัย AI ที่สามารถนำไปพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ นอกเหนือจากนำมาใช้เพื่อพัฒนาเกมส์อย่างเดียว
Amazon เข้าซื้อสตาร์ทอัพทำกล้องวงจรปิดแบบไร้สายขนาดเล็ก Blink คาดว่าเป็นการเข้าซื้อเพื่อปรับปรุงและสร้างความเชื่อถือในบริการ Amazon Key ส่งของถึงในบ้านแม้ลูกค้าไม่อยู่บ้านให้แก่สมาชิก Prime ดูพฤติกรรมส่งสินค้าเรียลไทม์ผ่านกล้อง Amazon Cloud Cam
Google และ Samsung ต่างใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือให้ผลิตภัณฑ์ VR ได้เข้าถึงผู้บริโภคกว้างขวางขึ้น รายใหญ่อีกรายอย่าง Sony ก็คงไม่น้อยหน้า โดย Sony ประกาศโปรเจกต์ VR "Lost in Music" ประสบการณ์ดนตรีผ่าน VR โดยร่วมมือกับศิลปินดัง Khalid
ศาลยุติธรรม EU หรือ European Court of Justice (ECJ) ออกมาชี้แจงเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (20 ธันวาคม) ว่า Uber เป็นบริษัทผู้ให้บริการรถแท็กซี่ ไม่ใช่บริษัทเทคโนโลยี และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านการขนส่งแห่งชาติของยุโรป
LINE ประเทศญี่ปุ่น ลงทุนใน Mobike นำบริการแชร์จักรยานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการบริการภายในแอพพลิเคชั่น LINE ทางบริษัทระบุในการแถลงว่า พวกเราจะทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมการแชร์จักรยานในญี่ปุ่น และในอนาคตจะรวมฟังก์ชันการทำงานของ Mobike เป็นบริการแชร์จักรยานสำหรับแอพ LINE ที่มีผู้ใช้งาน 71 ล้านคนในญี่ปุ่น ผู้ใช้งานสามารถกดใช้บริการจักรยานและจ่ายเงินได้ด้วย LINE Pay ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการชำระเงิน
การลงทุนเกิดขึ้นระหว่างรอบการลงทุน ซีรีส์ A ไม่เปิดเผยจำนวนเงิน เป็นการระดมทุนที่มีขึ้นเมื่อ Mobike เตรียมเปิดตัวในฟุกุโอกะ ซึ่งเป็นเมืองที่สองหลังเปิดตัวในซัปโปโรและมีแผนจะขยายไปยังเมืองอื่นอีกในปี 2018
Facebook ออกเครื่องมือบรรเทาปัญหาคุกคามออนไลน์ และ cyber bullying คือป้องกันไม่ให้บัญชีที่เราเคยบล็อก กลับมาติดต่อหรือเพิ่มเราเป็นเพื่อนได้อีกแม้เขาคนนั้นจะลงทะเบียนมาใหม่ในอีกบัญชีหนึ่ง และเครื่องมือที่สองคือเพิกเฉยการสนทนาใน Facebook Messenger ได้ โดยไม่ต้องบล็อกผู้ที่ส่งข้อความเข้ามา
คุณแม่ชาวจีนรายหนึ่งฟ้องบริษัท MeeLive Network Technology เจ้าของแอพไลฟ์สตรีม Inke หลังจากที่ลูกสาวของเธอเสียเงินค่าทิปเพื่อจะได้คุยกับคนไลฟ์ผู้ชายบนแพลตฟอร์มรวมแล้วกว่า 98,000 ดอลลาร์ในระยะเวลา 3 เดือน แต่ศาลชั้นต้นปฏิเสธคำร้องเพราะมีหลักฐานการชำระเงินชัดเจน
แอพพลิเคชั่นไลฟ์สตรีม Inke เป็นแพลตฟอร์มไลฟ์จากบล็อกเกอร์หลากหลายไลฟ์สไตล์ คนดูสามารถกดเพื่อจ่ายเงินเป็นทิปพิเศษแก่คนไลฟ์ได้ โดยคุณแม่ Liu บอกว่าลูกสาววัย 16 ปีได้แอบเชื่อมบัญชีการใช้งานของคุณแม่เข้ากับแอพ
โดย Liu ต้องการให้ MeeLive Network Technology ซึ่งเป็นเจ้าของ Inke ควรให้เงินคืน
บริษัท MeeLive Network Technology ระบุในการพิจารณาว่าบัญชีการใช้งานถูกลงทะเบียนเข้ามาโดยใช้เลขประจำตัวประชาชนของ Liu การชำระเงินทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ชื่อของ Liu ทางบริษัทจึงไม่สามารถคืนเงินให้แก่เธอได้
อย่างไรก็ตาม Liu ก็ยืนยันจะยื่นอุทธรณ์ต่อ โดยระบุว่า "ผู้เยาว์ไม่สามารถต้านทานการล่อลวงได้ แต่ Inke ช่วยให้พวกเขาเข้าร่วมแพลตฟอร์มได้ ฉันคิดว่าบริษัทควรมีบรรทัดฐานด้านคุณธรรม"
Globe Telecom ผู้ให้บริการเครือข่ายและเทคโนโลยีในฟิลิปปินส์ ร่วมมือกับบริษัท Alibaba ทำ GCash บริการจ่ายเงินผ่าน QR code ตามร้านค้า
Ernest Cu ประธาน Globe ระบุเป้าหมายว่าต้องการให้มีผู้คนจ่ายเงินด้วยสมาร์ทโฟนมากขึ้น และตั้งเป้าว่าจะสามารถใช้จ่ายผ่าน GCash ได้ในร้านค้า 4,000 แห่ง นอกจากนี้ Globe ยังร่วมมือกับ SM Investments ผู้นำด้านการค้าปลีกในฟิลิปปินส์และ Robinsons เพื่อขยายบริการใช้จ่ายไปยังห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตด้วย
Globe Telecom ไม่ใช่รายเดียวที่ออกบริการ QR payment ยังมี PLDT ผู้ให้บริการเครือข่ายที่ทำบริการ PayMaya มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาโดยทางบริษัทบอกว่ามีผู้ใช้งานแล้ว 8 ล้านราย ส่วน GCash ของ Globe มีผู้ใช้ราวๆ 5 ล้านราย โดย Globe ใช้กลยุทธ์ทำความร่วมมือกับร้านค้าและมีเป้าหมายจะเพิ่มจำนวนผู้ใช้เป็น 20 ล้านรายในระยะยาว
แต่ความท้าทายคือ ในฟิลิปปินส์ การใช้จ่ายผ่าน QR ยังเป็นเรื่องใหม่ และมีชาวฟิลิปปินส์เพียง 30% ที่มีบัญชีธนาคาร Globe จึงผลักดันกลยุทธ์สิทธิพิเศษให้ผู้ใช้ที่จ่ายผ่าน GCash เพื่อเป็นตัวเร่งพฤติกรรมใช้จ่ายไร้เงินสด
NYX แบรนด์เครื่องสำอางให้ลูกค้าดูการสาธิตแต่งหน้าโดยบิวตี้บล็อกเกอร์ในลุคต่างๆ ผ่าน Samsung Gear VR และยังสามารถใช้ตัวควบคุมกดเลือกดูข้อมูลสินค้าระหว่างที่บิวตี้บล็อกเกอร์สาธิตการใช้เครื่องสำอาง NYX ไปพร้อมๆ กันได้ เปิดใช้งานในร้านค้าบางแห่งที่นิวยอร์คและลอสแองเจลิส
สำหรับบิวตี้บล็อกเกอร์ที่จะแต่งหน้าในลุคต่างๆ กันมีสามคนคือ Kristen Leanne, Mykie และ Karen Sarahi Gonzales ผู้ใช้เลือกดูได้ทีละคน และระหว่างการแต่งหน้าจะมีตัวผลิตภัณฑ์ปรากฏอยู่ข้างหน้า ใช้ตัวควบคุมกดดูข้อมูลชื่อสินค้า ราคา และหมายเลขเฉดสีได้ และยังสามารถกด zoom in, zoom out ไปบนใบหน้าของผู้สาธิตการแต่งหน้าได้ เช่นอยากตรวจสอบพื้นผิวรองพื้น สีอายชาโดว์เมื่ออยู่บนหนังตา เป็นต้น ถือเป็นการสาธิตการแต่งหน้าที่ให้ข้อมูลครอบคลุม ไม่เหมือนดูผ่านคลิปวิดีโอทั่วไป
Farhad Manjoo คอลัมนิสต์ด้านเทคโนโลยี และผู้เขียนหนังสือ "True Enough: Learning to Live in a Post-Fact Society" ว่าด้วยความพยายามครอบโลกธุรกิจของ Apple, Amazon, Facebook และ Google โดย Farhad Manjoo เขียนบทความว่าปี 2017 เป็นปีแห่งจุดเปลี่ยนของบริษัทเทคโนโลยี โดยปี 2017 มีหลายเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีต้องมีส่วนรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกออฟไลน์ ไม่ว่าบริษัทจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม
ฟีเจอร์เรียก Hey Google ตามด้วยคำสั่งการใช้งานยังมีจำกัดเฉพาะอุปกรณ์ลำโพงอัจฉริยะ Google Home และมีการทดลองใช้ในสมาร์ทโฟนช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ล่าสุด Android Police รายงานว่าฟีเจอร์ Hey Google ได้ขยายไปยังสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นมากขึ้น
มีเรื่องน่าประทับใจเกิดขึ้นและแชร์กันผ่านทวิตเตอร์อย่างแพร่หลาย เป็นเรื่องของ Spencer Sleyon แรปเปอร์หนุ่มวัย 22 ปี อาศัยอยู่ใน East Harlem นิวยอร์ค กับ Rosalind Guttman หญิงชราวัย 81 ปี อาศัยอยู่ในชุมชนผู้เกษียนอายุในฟลอริด้า พวกเขากลายมาเป็นเพื่อนสนิทกันมากผ่านเกมมือถือ Words With Friends