จากการสำรวจในอเมริกาตอนเหนือของ Evans Data ได้ผลว่าภาษา VB กำลังลดความนิยมลงเรื่อยๆ โดยมีอัตราการใช้งานลดลงถึง 35% จากปีที่แล้ว ส่วนญาติๆ อย่าง VB.NET ก็เกาะๆ กันมา ลดลง 26% เช่นกัน สาเหตุหลักเป็นไปได้ว่าคนเลิกทำเดสก์ท็อปแอพลิเคชั่นแล้วหันไปหาเว็บแอพลิเคชั่นมากขึ้น จากการสำรวจก็ช่วยยืนยันทฤษฏีนี้ เมื่อพบว่านักพัฒนากว่า 80% กำลังพัฒนา RIA กันอยู่ และอัตราการเติบโตของเว็บ AJAX ก็เพิ่มขึ้น 10% จากปีที่แล้ว ผลสำรวจยังสรุปออกมาว่า ขณะนี้ Java ได้ส่วนแบ่งการตลาดกว่า 45% ตามมาติดๆ ด้วย C/C++ 40% และ C# 32% (งงเหมือนกันว่าทำไมบวกแล้วเกิน 100)
อินเทลตัดสินใจไม่รอให้มาตรฐาน 802.11n ได้รับรองในขั้นสุดท้าย โดยจะรวมเอามาตรฐาน 802.11n ที่ยังเป็นฉบับดราฟท์อยู่นี้เข้าไปในชุด Centrino รุ่นใหม่ที่จะออกในปีหน้า งานนี้ทางอินเทลระบุว่านอกจากความเร็วที่เพิ่มขึ้นมากแล้ว ผู้ใช้ยังได้ประโยชน์ในแง่ของรัศมีในการใช้งานที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 (แน่นอนว่าตัวเลขกลมๆ พวกนี้มีไว้เพื่อการค้า เราคงต้องรอผลทดสอบกันต่อไป)
การที่อินเทลนำมาตรฐานรุ่นดราฟท์เข้ามาใน Centrino จะมีผลให้มีเครื่องที่ได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีนี้เป็นจำนวนมากจนเราอาจจะมั่นใจได้มากขึ้นว่ามาตรฐานตัวจริง ก็น่าจะทำงานร่วมกับมาตรฐานรุ่นปัจจุบันได้ แต่อย่างไรก็ตามการมองในแง่นี้ก็ไม่ได้มีอะไรมารับประกันจริงๆ
ในที่สุด RedHat ก็ปล่อยตัว JBoss Application Server beta1 ออกมาแล้ว ในตลาดตอนนี้ AS ที่สนับสนุน JavaEE 5 เต็มตัวแล้วผ่านการรับรองก็มีเพียง Glassfish และ AS ของ SAP เท่านั้น
รุ่น 4.0 ที่ผ่านมาถึงแม้จะใช้ความสามารถของ JavaEE 5 ได้บางส่วนแต่ก็ยังไม่ทั้งหมด สำหรับคนที่สนใจเรื่องนี้ ผมอยากให้จับตามองศึกระหว่าง JBoss 5.0 กับ BEA WebLogic ตัวใหม่เป็นพิเศษ ผมคาดว่่าในอนาคตคงมีการขับเคี่ยวกันพอสมควร
ผมหายจากการโพสข่าวไปสักพัก ข่าวจาวาช่วงนี้ก็ยังทรงๆ ครับ ไม่ค่อยมีข่าวชาวบ้านทั่วไปอ่านรู้เรื่องออกมาเท่าไหร่ แต่ก็ยังพอจะหยิบจับมาได้บ้าง
หลังจากปล่อยอินเทลนำหน้าไปเป็นเดือน เอเอ็มดีก็ออกตัวไล่อินเทลด้วยชิปตระกูล FX-70 ที่สร้างขึ้นมาเพื่อสถาปัตยกรรม 4x4 ของเอเอ็มดีเอง โดยสถาปัตยกรรมใหม่นี้จะรองรับซีพียูสองตัว เชื่อมต่อกันผ่านบัส HyperTransport โดยในตอนนี้มีชิปเซ็ตของทาง nVidia เท่านั้นที่รองรับสถาปัตยกรรมนี้
แต่งานนี้แฟนๆ เอเอ็มดีอาจจะออกเสียงเฮกันไม่ได้เต็มปาก เพราะชิปตัวใหม่นี้กลับทำความเร็วต่ำกว่า QX6700 ของทางอินเทลแทบทุกการทดสอบ แถมการกินพลังงานก็สูงกว่าพอสมควร โดยเฉพาะในงานที่ต้องการพลังคำนวณจากคอร์เดียวเช่นเกม เอเอ็มดีกลับทำได้แย่กว่าอย่างเห็นได้ชัด
Richard Stallman กล่าวในงานประชุม international GPLv3 conference ครั้งที่ 5 ที่โตเกียวเมื่อสัปดาห์ก่อน (transcript) ว่าข้อตกลงระหว่าง Microsoft กับ Novell ในเรื่องสิทธิบัตรนั้นไม่ได้ละเมิด GPLv2 แต่อย่างใด (รวมถึงร่างปัจจุบันของ GPLv3 ด้วย)
สาเหตุก็เพราะในข้อตกลง ไมโครซอฟท์ไม่ได้ให้สิทธิ์ของสิทธิบัตรแก่ Novell (ซึ่ง GPLv2 Section 7 จะมีผล) แต่ไมโครซอฟท์เพียงแค่ให้การคุ้มครองทางสิทธิบัตรกับ"ลูกค้า"ของ Novell เท่านั้น
แน่นอนว่า GPLv3 จะถูกแก้ไขให้ครอบคลุมกับข้อตกลงทางกฎหมายอ้อมๆ แบบนี้ ซึ่ง Eben Moglen ตัวแทนของ Free Software Foundation กำลังดำเนินการอยู่
ข่าวเก่า: OLPC เครื่องแรกเดินทางถึง MIT (หมายเหตุ: เครื่องแรกกับล็อทแรกคนละอันกันนะ)
Chris Blizzard หนึ่งในทีม OLPC เขียนลงบล็อกว่าทางโครงการได้รับ OLPC ล็อทแรกจากโรงงานแล้ว (รูป) โดยมีคีย์บอร์ดต่างกัน 6 แบบตามแต่ละภาษา ซึ่งได้แก่ US, Nigeria, Thailand, Argentina, Brazil และ Libya
รีวิวออกมาหลายเจ้าแล้ว เผอิญผมเป็นแฟน Ars Technica เลยรอเขียนของ Ars ละกัน
ถัดจาก PS3 ก็ถึงคิวของ Wii ใจความหลักคือเป็นเครื่องขนาดเล็กที่ไม่แข่งพลังกราฟฟิก เน้นราคาถูกและจอยแบบใหม่ Ars ตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะคล้ายๆ PSP กับ DS ที่ PSP เหนือกว่าทุกด้านแต่ก็แพ้ DS ที่คนสร้างเกมออกมาได้ดึงดูดกว่า
ตอน PS3 ออกใหม่ๆ เราเห็นข่าวคนเอา Fedora Core 5 ไปรันกันบ้างแล้ว
ตอนนี้ Yellow Dog Linux ซึ่งเป็นดิสโทรที่เจาะกลุ่มที่ใช้สถาปัตยกรรม PowerPC จึงอาศัยช่วงเวลาสุดฮ็อตนี้ออก Yellow Dog Linux 5 โดยโฆษณาว่า For PlayStation 3 เป็นพิเศษ จริงๆ คือลงบนฮาร์ดแวร์อื่นๆ ที่เป็น PowerPC เช่น Mac ตัวเก่าๆ ได้ครับ - ดูรายชื่อ
ใกล้ครบรอบหนึ่งเดือนหลังการเซ็นสัญญาระหว่างโนเวลล์ ผู้ขายลินุกซ์อันดับสองของโลก ที่จับมือกับไมโครซอฟท์ไปอย่างชื่นมื่น ผลที่ได้คือเงินสดมากถึง 348 ล้านดอลลาร์ โดยหลักแล้วสัญญานี้คือการแลกสิทธิบัตรซึ่งกันและกัน ซึ่งก็มีการจ่ายเงินข้ามไปข้ามมา โดยสุดท้ายแล้วคนที่ได้เงินคือโนเวลล์
การตกลงครั้งนี้ มองครั้งแรกดูเป็นเรื่องดีกับโลกโอเพนซอร์สพอสมควร (อย่างน้อยก็ในสายตาของผม) เพราะการแลกสิทธิบัตรครั้งนี้หมายถึงโนเวลล์นั้นจะมีโอกาสหาลูกค้าระดับองค์กรได้เป็นจำนวนมาก เช่นการใช้ ASP และ Samba ในโนเวลล์ลินุกซ์ ตลอดจนการเข้าถึงไฟล์ฟอร์แมตของไมโครซอฟท์ นั้นจะอุ่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหากับไมโครซอฟท์แน่ๆ อย่างน้อยก็ในช่วงที่สัญญามีผลไปจนถึงปี 2012
ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมงานเสวนา "ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์" ภายใต้รัฐบาลรัฐประหาร: ทางมืดหรือสว่างของสิทธิเสรีภาพในโลกไร้พรมแดน
หลังจากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในวาระแรกที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอโดยนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เมื่อวันที่ 15 พ.ย. โดยให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 25 คนเพื่อแปรญัตติให้เสร็จภายใน 7 วัน
กองทุน ศ.คนึง ฦๅไชย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และหนังสือพิมพ์ทางอินเทอร์เน็ตประชาไท
เดือนนี้มีเรื่องน่าสนใจจุดประเด็นขึ้นมาเพียบ ล่าสุดศ.ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ออกมายืนยันแล้วว่าจะยกเลิกเข้าร่วมโครงการ OLPC ทางอ้อมด้วยการตัดออกจากงบประมาณปี 50 พร้อมกับโครงการพ่วงอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการแจกคอมพิวเตอร์ 250,000 เครื่องพร้อมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับโรงเรียนระบบประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมมูลค่าประมาณ 8.6 พันล้านบาท และโครงการประกวดบทความเพื่อชิงทุนการศึกษาโดยใช้งบจากหวยบนดินมูลค่าประมาณ 2 พันล้านบาท เมื่อยกเลิกโครงการเหล่านี้แล้วสิ่งที่คาดว่าจะมาทดแทนก็คือการเรียนฟรี 12 ปี งานนี้คงไม่เกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีซะแล้ว เพราะ OLPC ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาในแบบของท่านรมต.คนปัจจุบัน
นักวิจัยใน Citizen Lab ที่ University of Toronto ได้พัฒนาโปรแกรมแก้เซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต ที่ชื่อว่า psiphon (ออกเสียง “SY-fon” - คล้าย ๆ สายฝน เลยแฮะ) หลักการของง่าย ก็คือ การสร้าง private proxy นั่นเอง โดยจะต้องมีคนที่เป็น provider มีเจ้า psiphon บนเครื่อง แล้วคนที่เป็น user ก็เข้าไปใช้ผ่านเว็บบราวเซอร์
ก็ไม่รู้จะ work แค่ไหน ก็ลองดูกันต่อไป
โปรแกรมตัวนี้จะเริ่มให้ดาวน์โหลดวันที่ 1 ธันวาคมนี้ครับ
การประกาศวางมือของบิลล์ เกตส์ในปี 2008 และการวางจำหน่ายของ Windows Vista ที่ยืดเยื้อมานาน จะเป็นจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญของไมโครซอฟท์ไปสู่ยุคใหม่ โดยมีคำถามสำคัญว่า "ถัดจากวินโดวส์แล้วเราจะทำอะไร?"
BusinessWeek มีสกู๊ปเรื่องนี้ สาระสำคัญอยู่ที่ว่ารูปแบบการบริหารของไมโครซอฟท์จะเปลี่ยนไป จากที่เกตส์คุมบังเหียนสูงสุดอยู่คนเดียว ก็จะกลายมาเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ขึ้นมารับผิดชอบในแต่ละธุรกิจแยกกันไป ไม่มีคนใดคนหนึ่งก้าวขึ้นมารับอำนาจต่อจากเกตส์ ตัวอย่างผู้บริหารรุ่นใหม่นี้ได้แก่ Steven Sinofsky อดีตหัวหน้าทีม Office ที่มาดู Windows, Ray Ozzie คนคิด Lotus Notes ที่มาดู Windows Live
จากข่าวของ Smarthouse.com.au ได้บอกไว้ว่าจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากไต้หวัน แอปเปิลกำลังง่วนอยู่กับการออกแบบเครื่องต้นแบบของ Tablet Mac เพื่อที่จะวางขายภายในปี 2007 โดยตั้งเป้าตลาดที่ผู้ใช้กลุ่มพื้นฐานและกลุ่มสถาบันการศึกษามากกว่าผู้ใช้กลุ่มนักธุรกิจ
"Mac tablet นั้นได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับแอพลิเคชั่นต่าง ๆ เช่นโปรแกรมควบคุมระบบไฟฟ้าในบ้านที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมระบบแสง เสียง อุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อความบันเทิง รวมไปถึงระบบรักษาความปลอดภัยในบ้านอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่โลกของคอมพิวเตอร์เต็มไปด้วยระบบไร้สาย ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างระบบต่าง ๆ ภายในบ้านเป็นไปได้ง่ายขึ้น"
ทุกวันนี้เรากำลังเข้าไปสู่โลกของสื่อแบบ HD ที่ให้ความจุระดับ 25-50 GB บนสื่อขนาดแผ่นซีดีรอม หรือจะให้ใกล้ตัวกันเข้ามาอีกนิด เราอาจจะเคยชินกับการมีแผ่นซีดีหรือดีวีดีแบบเขียนได้ไว้ในบ้านเผื่อเวลาที่ต้องการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ขึ้นมา
แต่ Sainul Abideen นักศึกษาจาก Muslim Educational Society Engineering College ได้นำเสนอเทคโนโลยีที่เชื่อได้ว่าง่ายกว่าเทคโนโลยีทุกวันนี้มาก ด้วยการพิมพ์แถบรหัสสีลงบนแผ่นกระดาษธรรมดา ทำให้พื้นที่กระดาษขนาดเท่าแผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ 90 ถึง 450 กิกะไบต์กันทีเดียว
งาน TLUG เมื่อวานนี้ก็จบลงด้วยดี ช่วงหลังมันมากหลายคนลุกขึ้นมาถกประเด็น สำหรับ vdo รอนิดนึงนะครับ
รวมบล็อกที่เขียนถึง
อินเดียนแดงเผ่า Mapuche ในประเทศชิลีได้ฟ้องไมโครซอฟท์ เนื่องจากการออกวินโดวส์ภาษา Mapuzugun ซึ่งเป็นภาษาที่ชาว Mapuche ใช้พูดกันเป็นส่วนมาก
เผ่า Mapuche มีประชากรประมาณ 400,000 คน ซึ่งหัวหน้าเผ่าได้ให้สัมภาษณ์ว่าภาษา Mapuzugun เป็นสิทธิ์ของชนเผ่า Mapuche และไมโครซอฟท์ควรจะปรึกษาทางเผ่า Mapuche ก่อนจะออกวินโดวส์รุ่นภาษาของตัวเอง ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่การมองว่าคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สามารถเป็นเจ้าของภาษาพูดได้หรือไม่
เรื่องนี้ศาลท้องถิ่นส่งคดีต่อให้ศาลสูงในเมือง Santiago เมืองหลวงของชิลีเป็นผู้พิจารณาคดี ไมโครซอฟท์ยังไม่ให้ความเห็นจนกว่าคดีจะได้ข้อยุติ
ในงาน Blognone Tech Day 2.0 คุณกำธรได้มาเดโม Sugar ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการของ OLPC ที่เปลี่ยนแนวจากระบบปฏิบัติการที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ตอนนั้นยังมีโปรแกรมไม่กี่ตัว แค่เบราว์เซอร์กับ chat
ล่าสุดมีคนเอาวิดีโอของ Sugar มาปล่อยไว้ที่ YouTube ความคืบหน้าคือมีระบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกเยอะ เช่น Word Processor ที่ใช้ AbiWord เป็นต้น ใครสนใจก็ลองไปดูกันได้ครับ ก่อนจะดูต้องย้ำคำพูดคุณกำธรอีกรอบว่า อย่าคิดว่ามันเป็นพีซี หรือมาแทนพีซี
ที่มา - YouTube
ผู้ผลิตซีพียูรายเล็กอย่าง VIA โดนอินเทลกดดันให้เลิกทำซีพียูแข่ง โดยมีข้อแลกเปลี่ยนเป็นสิทธิ์ในการใช้สิทธิบัตรของอินเทลสำหรับชิปเซ็ต
ทั้งสองบริษัทเคยมีคดีความกันมาก่อน คืออินเทลหาว่า VIA ละเมิดสิทธิบัตรของตัวเอง และเรื่องนั้นจบด้วยอินเทลอนุญาตให้ VIA ใช้สิทธิบัตร 4 ปี ซึ่งจะหมดสัญญาในปี 2007 นี้ เมื่อช่วงหลังซีพียูขนาดเล็กและประหยัดพลังงานของ VIA เริ่มได้รับความนิยมและกินตลาดอินเทลมากขึ้นเรื่อยๆ อินเทลจึงนำเรื่องต่อสัญญาการใช้สิทธิบัตรมากดดันตามข่าว
แหล่งข่าวเรื่องนี้เป็นคนในของการเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่าย ซึ่งการเจรจายังไม่จบ ยังไม่ใช่ข้อมูลอย่างเป็นทางการ ฟังหูไว้หูครับ
ที่มา - The Inquirer
ข่าวเก่า: วิเคราะห์ พรบ. นี้ที่ BioLawCom.de
การแข่งขันระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ครั้งที่ 7 NLC 2007 เปิดรับสมัครแล้วครับโดยแบ่งเป็นรุ่นนักเรียนกับรุ่นประชาชนโดยมีกำหนดการดังนี้ กำหนดการ
หมายเหตุ * จัดขึ้นพร้อมงานมหกรรมการประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย ** กำหนดการดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ตามการจัดงานมหกรรมการประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีการค้นพบบั๊กใน Password Manager ทำให้เว็บของแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงรหัสผ่านของเว็บอื่นๆ ได้ โดยแฮกเกอร์สามารถปลอมแบบฟอร์มในเว็บของตนว่าเป็นแบบฟอร์มของเว็บอื่น ทำให้ Firefox จะเติมรหัสผ่านเข้าไปให้เอง โดยผู้ใช้อาจะไม่ทันรู้ตัวเนื่องจากช่องรหัสผ่านนั้นอาจจะมองไม่เห็นก็ได้ หลังจากการยืนยันบั๊กหมายเลข 360493
ผู้เชี่ยวาญระบุว่าผู้ใช้ Firefox ควรหยุดใช้งาน Password Manager จนกว่าจะมีการแก้ไข และเว็บมาสเตอร์ควรตรวจสอบการโพสข้อความของผู้ใช้เว็บ เนื่องจากอาจมีการดักเอาข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บไปใช้ได้
เรื่องสำคัญเวลาจะเปลี่ยนระบบปฏิบัติการคือการหาไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์ที่มีอยู่ โดยสมัย Windows XP นั้นยังไม่น่ากลัวเท่าใหร่เพราะใช้ไดรเวอร์ร่วมกับ Windows 2000 ได้ แต่การอัพเกรดไปวิสต้าอาจจะยุ่งยากกว่านั้นมาก แต่ข่าววันนี้อาจจะเป็นข่าวดีสำหรับคนที่สนใจจะอัพเกรดไปใช้วิสต้า เพราะไมโครซอฟท์จะรวมเอาไดรเวอร์กว่า 19500 ตัวมาในดีวีดีตั้งแต่แรก พร้อมกับอีกกว่า 11700 ตัวที่สามารถดาวน์โหลดได้ผ่านทาง Windows Update ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับไดรเวอร์ประมาณ 10000 ตัวใน Windows XP และเพียง 2000 กว่าตัวในวินโดวส์อัพเดต ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะทุกวันนี้อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์เยอะขึ้นมา
ตอนผมไปเล่น Vista ที่งาน ICT Expo ก็งงๆ กับปุ่ม Shutdown ของ Windows Vista แต่ก็ไม่ได้คิดว่าเป็นประเด็นใหญ่ เผอิญ Joel Spolsky บล็อกเกอร์คนดังแห่ง Joel on Software เขียนถึงเรื่องนี้ แล้วมันพัวพันไปถึงเรื่องการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ดีด้วย เลยเอามาลงเผื่อใครจะสนใจ
Joel กดปุ่มลูกศรข้างๆ ปุ่ม Shutdown ใน Start Menu ของ Vista ให้ดูว่าเรามีตัวเลือกถึง 7 อันตอนจะเลิกใช้เครื่อง ซึ่งได้แก่