หลังจากที่เคยมีภาพออกมาสร้างความฮือฮาในอินเทอร์เน็ตได้พอควรกับ Optimus Keyboard เมื่อประมาณปีที่แล้ว กับคอนเซปว่าสามารถแก้ไขการแสดงผลบนปุ่มได้อย่างอิสระโดยการนำเทคโนโลยีการแสดงผลอย่าง OLED เข้ามาใช้
การแข่งขันในเทคโนโลยี Virtualization เริ่มระอุขึ้นเรื่อยๆ โดยในตอนนี้ผู้แข่งขันหลักๆ สามเจ้าคงเป็นเป็น VMware, ไมโครซอฟท์ และ Xen ทางด้าน Xen นั้นฟรีอยู่แล้วเนื่องจากเป็นโอเพนซอร์ส งานนี้ไมโครซอฟท์และ VMware เลยยอมไม่ได้ ในวันเดียวกันเลยมีสองเทคโนโลยีออกมาให้เราใช้กันฟรีๆ คือ VMware Server และ Virtual PC 2004
VMware Server นั้นอาจจะเรียกได้ว่าเป็นตัวเพิ่มความสามารถจาก VMware Player ที่ฟรีไปก่อนหน้านี้แล้ว ความสามารถที่เพิ่มมาก็เช่นการรองรับ SMP ทำให้ัตัว guest OS มองเห็นซีพียูได้หลายชุด หรือจะเป็นการจัดการผ่านเว็บ
ไม่รู้จะจะจัดเข้าหมวดไหน เอาว่าอ่านกันฮาๆ แล้วกัน (หรือคนแถวนี้จะอ่านกันจริงจัง?) หลังจากที่เรามีเบราว์เซอร์สำหรับ Web2.0 อย่าง Flock กันมาแล้ว หรือจะเป็นเบราว์เซอร์เล็กและเร็วอย่าง Galeon หรือ k-meleon ที่ล้วนใช้ Gecko กันเป็นหลัก ในตอนนี้เราก็มีเบราว์เซอร์เฉพาะทางกันอีกตัวหนึ่งแล้วคือ Heatseek ที่มุ่งเน้นสำหรับคนต้องการบราวเซอร์สำหรับเว็บ "เฉพาะทาง" โดยเฉพาะ ผู้สร้างคือหนึ่งในบอร์ดของ Heatseek คือ Rob Lord ผู้ก่อตั้ง Songbird นั่นเอง
ถ้าใครเป็นแฟน Opera (เห็นแถวนี้พอมีอยู่บ้าง) คุณสามารถร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนา Opera 10 ได้ที่เว็บไซต์ Opera Watch ซึ่งทีมงาน Opera สัญญาว่าจะเข้ามาดู wishlist อย่างแน่นอน ที่เห็นฮิตๆ คือ Update Manager กับ JavaScript Debugger แบบเดียวกับของ Firefox ครับ
นอกจากนี้ Opera ยังไปอยู่ใน Ubuntu Dapper แล้ว สามารถ apt ได้โดยไม่ต้องดาวน์โหลดมาลงเอง การที่ Opera เอาโฆษณาออกในเวอร์ชันหลังๆ ทำให้มีดิสโทรลินุกซ์หลายเจ้ารวม Opera เข้ามามากขึ้น สำหรับ Ubuntu ถ้าอยากใช้ต้องเพิ่มบรรทัดนี้เข้าไปที่ /etc/apt/sources.list ก่อนนะ
แม้ช่วงหลังๆ จะแผ่วปลายไปบ้างไฟร์ฟอกซ์ยังคงสามารถรุกส่วนแบ่งตลาดได้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดตัวเลขในสหรัฐนั้นก็ผ่านร้อยละ 15 ตามรายงานของ OneStat.com ส่วนตัวเลขทั่วโลกนั้นขึ้นมาอยู่ที่ ร้อยละ 12.93
ภูมิภาคที่ได้รับความนิยมสูงสุดยังคงเป็นยุโรป โดยตัวเลขนั้นวิ่งเข้าใกล้ร้อยละ 30 เต็มที โดยเฉพาะเบอร์หนึ่งอย่างเยอรมนีนั้นสามารถทำส่วนแบ่งได้ถึงร้อยละ 39 ทำให้เราอาจจะมีความหวังที่จะเห็นตัวเลข 50 กันอย่างไม่นานเกินรอ
ไม่ค่อยเกี่ยวกับคอมเท่าไร แต่เจอบน Slashdot น่าสนใจดีเลยเขียนซะ
ตอนนี้ประชาชนในรัฐ Vermont ของสหรัฐสามารถเลือกใช้พลังงานทางเลือกใหม่ได้ โดยไม่ใช่แก๊สโซฮอลล์หรือไบโอดีเซลแบบที่บ้านเราชอบพูดกัน แต่เป็นไฟฟ้าที่ผลิตจากฟาร์มวัวครับ
IBM เตรียมเปิดตัว Lotus Notes 7.0.1 เวอร์ชันสำหรับลินุกซ์ในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ Notes เวอร์ชันลินุกซ์ใช้พื้นฐานจาก Eclipse Framework เป็นหลัก โดยมีราคาเท่ากับตัวบนวินโดวส์หรือแมคอินทอช ผู้ใช้ Notes เดิมสามารถเปลี่ยนมาใช้เวอร์ชันบนลินุกซ์ได้ฟรี แถม Notes เวอร์ชันนี้สนับสนุน OpenDocument มาในตัวอีกด้วย
จริงๆ IBM ตั้งใจจะเปิดตัว Notes รุ่นสำหรับลินุกซ์ในเวอร์ชันหน้าที่มีโค้ดเนมว่า "Hanover" แต่เนื่องจากมีลูกค้าเรียกร้องเข้ามาเป็นจำนวนมาก จึงตัดสินใจออกในรุ่น 7.0.1 แทน
ที่มา - ZDNet
ใครเคยเจอปัญหาน่ารำคาญอย่างพวก DNS ของ ISP ที่ใช้อยู่ไม่ยอมอัพเดตเว็บกันสักที หรือบาง ISP ดันฟอร์เวิร์ดเราไปหน้าโฆษณาเวลาเราพิมพ์ผิด ปัญหาพวกนี้กำลังหมดไปเมื่อมีบริการอย่าง OpenDNS เข้ามาแข่ง
โดย OpenDNS เป็นบริษัทที่เปิดขึ้นมาเพื่อให้บริการ DNS ฟรีๆ พร้อมเพิ่มความสามารถเช่นการป้องกัน Phishing ได้ในระดับ DNS เองเลย หรือจะเป็นการแก้คำผิดพื้นฐานอย่างเช่น www.blognone.cm ก็เข้าเว็บนี้ได้ วิธีใช้ก็ง่ายๆ แค่ตั้ง DNS Server ไปที่ 208.67.222.222 กับ 208.67.220.220
จากบล็อกของทีมงาน MSN Spaces ได้ประกาศถึงการมาของ Windows Live Spaces โดยมีความสามารถที่เปลี่ยนไปหลายอย่าง เช่น Friends Explorer สำหรับแสดงรายชื่อเพื่อน โดยได้รวมเอา Windows Live Messenger เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังสามารถตกแต่ง Spaces ด้วยอ็อบเจ็กต่างๆ จาก Windows Live Gadgets อีกด้วย ตัวอย่าง
ที่มา - The official Spaces Team blog
ในที่สุด ตัว release candidate ของ Firefox 2.0 Beta 1 ก็ได้ออกมาเผยโฉมบน FTP ของ Mozilla แล้วครับ โดยออกมาสำหรับลินุกซ์, แมค และวินโดวส์ แต่พึงทราบไว้ว่า นี่เป็นแค่ release candidate เท่านั้นครับ ดังนั้นเมื่อตัว official Beta 1 ออกมาอาจจะไม่เหมือนกันเสียทีเดียว โดยสำหรับตัว official Beta 1 ทาง Mozilla วางแผนไว้ว่าจะออกในวันที่ 11 กรกฎาคมครับ
หลายคนอาจเคยเห็นชื่อ Electronic Frontier Foundation หรือ EFF ตอนคดี Rootkit ของโซนี่เมื่อปีก่อน EFF เป็นหน่วยงานไม่หวังผลกำไรที่คอยต่อสู้เรื่องสิทธิและเสรีภาพในยุคดิจิทัล พอเปรียบเทียบได้กับพวก NGO หรือสหภาพแรงงานยุคใหม่นั่นล่ะครับ
Carly Fiorina อดีตซีอีโอหญิงของ HP มักถูกกล่าวโทษว่าเป็นที่มาของยุคตกต่ำของ HP เมื่อสองสามปีก่อน Fiorina เข้ามารับตำแหน่งปี 1999 และถูกไล่ออกไปเมื่อต้นปี 2005 หลังจากนั้น Mark Hurd ซีอีโอคนใหม่ก็พลิกฟื้นกิจการจนหุ้น HP กลับมาพุ่งอีกครั้ง
Fiorina จึงมีภาพลบสุดๆ ในขณะที่ Hurd ก็กลายเป็นฮีโร่ของชาว HP
แต่ Forbes กลับมองว่าการกลับมาอีกครั้งของ HP ไม่ใช่ฝีมือของ Hurd ซะทีเดียว เอาเข้าจริงมีหลายอย่างที่เป็นมรดกของ Fiorina และมันเพิ่งจะมาออกผล ดังนั้นการที่ Fiorina ถูกไล่ออกถือว่าตัดสินใจเร็วเกินไปหรือเปล่า หรือเป็นเพราะ Fiorina ดังเกิน คนข้างในเลยหมั่นไส้กันแน่
เค้าเขียนวิเคราะห์เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ Firefox ฮิต เหตุผลหลักๆ ที่ตรงกับเหตุผลที่ผมชอบ firefox คือ
นอกจากประเด็นเรื่องฟีเจอร์แล้วก็ยังมีการทำตลาดที่ยอดเยี่ยมของ SpreadFirefox ที่ใช้การตลาดแบบปากต่อปากอีกด้วย
ที่มา - OSWeekly
หลังจากเปิดทำการมาได้สองปี Blognone ก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเรื่อยๆ โดยเรื่องหลักคือเราต้องการเว็บข่าวที่มีการ "มีส่วนร่วม" ของผู้อ่านในระดับสูง เพราะผมสร้าง Blognone จากการอ่านหนังสือพิมพ์แล้วออกจะรำคาญว่าทำไมมันไม่มีข่าวนั้น หรือข่าวนี้ทำไมเขียนผิด ฯลฯ
Blognone เป็นเว็บข่าวที่หวังจะแก้ไขเรื่องพวกนั้นออกไป โดยเปิดโอกาสให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับข่าว ผ่านทางการออกความเห็น วันนี้เรากำลังเปิดโอกาสให้ผู้อ่านทุกท่านมีส่วนร่วมกันมากขึ้น ด้วยการให้สมาชิกทุกท่านสามารถเขียนข่าวกันได้ทันที โดยไม่ต้องไปทดลองเขียนกันในเว็บบอร์ดเหมือนแต่ก่อน
หลังจากอินเทลเริ่มถล่มเอเอ็มดีอย่างหนักในช่วงหลัง โดยเฉพาะชิป Core 2 Duo (คิดชื่อนี้ได้ไงเนี่ย...) ที่ราคาถูกกว่า แถมความเร็วเหนือกว่าอย่างค่อนข้างชัดเจน เอเอ็มดีก็ออกมายอมรับแล้วว่ายอดขายในไตรมาสที่สองของปีนี้ตกลงถึงร้อยละ 9
ขณะชิปรุ่นต่อไปของเอเอ็มดีที่ใช้สถาปัตยกรรม AM2 ที่เอเอ็มดีให้ความหวังไว้ทำความเร็วเหนือชิปรุ่นก่อนๆ ไม่มากนัก เอเอ็มดีไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะเล่นสงครามราคากับอินเทลที่บีบเข้ามาอย่างหนัก สภาพช่วงนี้ชวนให้นึกถึงสมัยเพนเทียมออกใหม่ๆ เอาเหมือนกัน
ที่ผมรำคาญที่สุดคือ Turion X2 ราคามันแพงไปหน่อยอ่ะ
หลังจากกูเกิลออก Google Checkout มาให้เจ้าของ Paypal อย่างอีเบย์ต้องร้อนๆ หนาวๆ การตอบโต้อย่างชัดเจนก็เริ่มต้นขึ้น เมื่ออีเบย์ห้ามไม่ให้ผู้ค้าในเว็บของตนใช้บริการ Google Checkout เพื่อรับชำระเงิน
อีเบย์ระบุว่าเป็นนโยบายของบริษัท ที่จะไม่รองรับบริการเก็บเงินจากผู้ให้บริการที่มีประวัติการให้บริการที่ยาวนานเพียงพอ เรื่องที่ทางกูเกิลก็ออกมาให้ความเห็นว่าความจริงแล้ว กูเกิลเองมีประวัติการรับชำระเงินมาค่อนข้างนานแล้ว โดยเฉพาะเมื่อนับบริการอย่าง AdWord หรือ Google Video
ถ้ายังตกลงกันไม่ได้ในเร็ววัน เดี๋ยวก็คงมีข่าวการฟ้องร้องมาให้เราอ่านกันต่อไป
หลังๆ เราเริ่มเห็นข่าวเมืองใหญ่หลายเมืองในโลกเริ่มประกาศติด Wi-Fi ให้ครอบคลุมทั้งเมือง ไม่ว่าจะเป็นซานฟรานซิสโก, ลอนดอน, ชิคาโก ตอนนี้เป็นคิวของปารีสบ้าง
เหตุผลคือปารีสต้องการเป็นเมืองที่มีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจไฮเทคมากขึ้น โดยเทศบาลกรุงปารีสจะช่วยอุดหนุนให้บริษัทเอกชนติดทั้ง Wi-Fi และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั้งเมือง ปัจจุบันที่อยู่อาศัย 60% ในปารีสมีเน็ตไฮสปีด เป้าหมายคือ 80% ในปี 2010
บ้านเราเหมือนจะยังสนใจกันแค่รถดับเพลิงกันอยู่
ที่มา - Ars Technica
อิทธิพลของบล็อกในฐานะสื่อนอกกระแสเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลายเรื่องก่อนที่จะมาเป็นข่าว CNN นั้นเริ่มมาจากบล็อกก่อน (เช่น การ์ตูนในเดนมาร์กที่ลบหลู่ศาสนาอิสลาม)
ทางกองทัพสหรัฐจึงมองว่า นี่เป็นโอกาสที่จะได้ข่าวกรองแบบใหม่ ที่อาจจะสดน้อยกว่าข่าวกรองจากสปายแบบ 007 แต่สดกว่าหาจาก CNN หรือสื่อในกระแสแน่นอน ซึ่งมันอาจช่วยป้องกันการก่อการร้ายหรือสงครามได้ จึงมีโครงการวิจัยข้อมูลจากบล็อกมาเป็นข่าวกรอง ในชื่อยาวเฟื้อย
"Automated Ontologically-Based Link Analysis of International Web Logs for the Timely Discovery of Relevant and Credible Information"
ความเดิมคือ ไมโครซอฟท์โดนกดดันอย่างหนักเรื่อง WGA แอบส่งข้อมูลในเครื่องกลับไปให้ไมโครซอฟท์ (ข่าวเก่า) แต่ตอนนี้ Mac OS X ก็ไม่น้อยหน้า แอบติดต่อกลับไปแอปเปิลเหมือนกัน
การติดต่อกลับนี้เกิดบน 10.4.7 ขึ้นไป โดย Dashboard จะทำการเช็คว่า Widget ที่คุณกำลังใช้อยู่นั้น เป็นอันเดียวกับที่อยู่บนเว็บแอปเปิลรึเปล่า (เข้าใจว่าป้องกัน Widget แปลกปลอม) วิธีการติดต่อคือมันจะรันโปรเซสชื่อ dashboardadvisoryd ขึ้นมาเป็นระยะ เพื่อส่งติดต่อกลับไปยัง URL ว่า http://www.apple.com/widgets/widgetadvisory
เวบไซต์ techweb.com ลงบทความเรื่อง 20 ปีไวรัสบนพีซี และมีการคัดเลือกไวรัสอันตรายตลอดกาลออกมา 10 อันดับ ชื่อแต่ละตัวคงคุ้นหูกันดี
ที่เหลืออีก 5 อันดับ ตามอ่านเอาที่ techweb ครับ มีใครเคยโดนตัวไหนกันไปบ้างมั้ย ?
หลังจากโดนเรียกร้องในต่างประเทศที่หนักขึ้นเรื่อยๆ ไมโครซอฟท์ยอมถอยอีกก้าว ด้วยการประกาศให้การสนับสนุนโครงการโปรแกรมแปลงจาก Open XML ของไมโครซอฟท์ไปยังไฟล์ ODF
โปรแกรมดังกล่้าวพัฒนาขึ้นโดยบริษัทพันธมิตรของไมโครซอฟท์ที่เคยเป็นข่าวลือเมื่อนานมาแล้ว โดยตัวโปรแกรมจะอยู่บน SourceForge และใช้ไลเซนส์แบบ BSD
อย่างไรก็ตามไมโครซอฟท์ปฏิเสธที่จะรองรับไฟล์ ODF จากตัวโปรแกรมโดยตรง โดยระบุว่าความต้องการของลูกค้าไม่มากพอ พร้อมกับระบุว่าเนื่องจากความแตกต่างระหว่างฟอร์แมต โปรแกรมแปลงที่ว่านี้จึงยังขาดความสมบูรณ์ไปบ้าง
หลังจากที่ทำกันมานมนานมาก ในที่สุด JSR 220 EJB 3.0 ก็เดินทางมาถึงฝั่งฝันเสียที รุ่น Final Release ออกมาแล้วหลังจากออกรุ่นเค้าโครงร่างมาตลอด
ผมยังไม่สามารถหารายละเอียดว่ารุ่นนี้แตกต่างกับรุ่นเค้าโครงร่างสุดท้ายหรือไม่ แต่คาดไว้ว่าคงไม่ต่างกัน EJB3.0 มาพร้อมกับความสามารถที่น่าใช้กว่ารุ่น 2.0 มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
หลังจากคงความแข็งแกร่งด้านการเงินมายาวนาน บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโซนีี่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องกู้เงินจากธนาคารกันบ้างแล้ว ด้วยมูลค่าหนี้ถึงแปดหมื่นล้านเยน
แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าการกู้ครั้งนี้จะเกี่ยวข้องกับการลงทุนในช่วงหลังๆ เช่น PS3 แต่ทางโซนี่ระบุว่าการกู้ครั้งนี้ก็เพื่อการลงทุนเพิ่มเติม เช่นในโรงงานใหม่มูลค่าสี่แสนหกหมื่นล้านเยนในโตเกียว หรือโรงงานจอภาพแอลซีดีมูลค่าแสนล้านเยนที่ร่วมกับซัมซุง
แม้เงินที่กู้จะดูเยอะ แต่ด้วยขนาดบริษัทมูลค่า 9 ล้านล้านเยน เงินเท่านี้ก็ดูเหมือนจะไม่ได้แสดงถึงปัญหาด้านการเงินเท่าใหร่
เอามาให้ลองใช้กันก่อน แบบว่าเป็นสิทธิพิเศษคนอ่าน Blognone (เอ๊ะ ใช้อิทธิพล) อยากให้ใช้กันเยอะๆ จะได้ประหยัดแบนด์วิธของประเทศในภาพรวมครับ
ส่วนใครอยากให้มิเรอร์อะไรเพิ่ม ก็แจ้งมาได้ (ต้องเป็นโอเพนซอร์สที่มีคนใช้เยอะพอสมควรด้วยนะ)
ที่มา - Thai National Mirror