องค์กรสื่อสาธารณะรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา 2 แห่งคือ National Public Radio (NPR) และ Public Broadcasting Service (PBS) ประกาศหยุดใช้งาน Twitter แล้ว หลังถูกแปะป้ายว่าเป็นสื่อที่ได้รับเงินทุนจากรัฐบาล (Government-funded Media)
Twitter ยุค Elon เพิ่งเพิ่มป้าย Government-funded Media เข้ามาเพื่อบ่งบอกว่าได้เงินทุนจากรัฐบาล แต่กลับใช้ป้ายเหล่านี้กับสื่อสาธารณะ (public broadcasting) ที่ไม่ได้เงินจากรัฐโดยตรงด้วย เช่น BBC, PBS, NPR สร้างความไม่พอใจให้สื่อเหล่านี้ ที่มีสถานะเป็นอิสระและไม่ถูกกำกับดูแลโดยรัฐบาล ("government" ไม่ใช่ "state")
Spotify แอปฟังเพลงสตรีมมิ่ง ประกาศความร่วมมือกับ Strava แอปเก็บข้อมูลการออกกำลังกาย เปิดตัวฟีเจอร์ที่น่าจะมีนานแล้ว แต่ก็เพิ่งมีเป็นทางการนั่นคือการเชื่อมต่อเพลงจาก Spotify ในแอป Strava โดยตรง
ฟีเจอร์นี้ทำให้ผู้ใช้งาน Strava สามารถสั่งเล่นเพลงและควบคุมเพลงได้โดยตรงผ่านแอป Strava ได้เลย ทำให้ไม่ต้องสลับแอปใช้งานไปมานั่นเอง
Ian Geller รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Spotify บอกว่า เป้าหมายใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของบริษัท คือไปอยู่ในทุกที่ ที่ผู้ใช้งานของเราอยู่ ซึ่งหมายถึงขณะที่พวกเขาวิ่ง อยู่ในฟิตเนส หรือที่ไหนก็ตาม ด้วยการเชื่อมต่อกับ Strava ก็จะทำให้เพลงตามไปกับพวกเขาได้อย่างสะดวกขึ้น
เว็บไซต์ Nikkei Asia รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า แอปเปิลกำลังเจรจากับบรรดาซัพพลายเออร์ เพื่อเตรียมตั้งสายการผลิต MacBook ในประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกจากจีน
ในรายงานไม่ได้ระบุชื่อซัพพลายเออร์ แต่บอกว่าเป็นโรงงานที่ตั้งอยู่ในประเทศอยู่แล้ว และมีการผลิต-ประกอบสินค้าให้กับแบรนด์อื่นด้วย โดยเปิดเผยว่าข้อเสนอแรกแอปเปิลต้องการให้ไปสร้างโรงงานผลิตที่เวียดนาม แต่ซัพพลายเออร์ดังกล่าวเสนอว่าน่าจะตั้งฐานการผลิตที่ไทย เนื่องจากมีพื้นที่และสถานที่อยู่แล้ว โดยคาดว่าจะก่อสร้างสายการผลิตได้เสร็จภายในปีนี้
เราเห็น NVIDIA ออกฟีเจอร์ RTX Video Super Resolution (VSR) ช่วยอัพสเกลวิดีโอสำหรับการเล่นผ่านเว็บเบราว์เซอร์ กันมาแล้ว ล่าสุดฟีเจอร์ VSR ใช้งานกับแอพเล่นวิดีโอยอดนิยม VLC ได้แล้วเช่นกัน
ตัวเทคนิคเบื้องหลังยังทำงานเหมือนกัน คือใช้ฟีเจอร์ AI ของจีพียู (Tensor Core) ช่วยอัพสเกลวิดีโอให้ความละเอียดสูงขึ้น โดยที่ภาพยังคมชัดอยู่
การใช้งานจำเป็นต้องใช้ VLC 3.0.19 เวอร์ชันแยก RTX Beta ด้วย ยังไม่อยู่ใน VLC เวอร์ชันหลัก และเปิดใช้งานฟีเจอร์ VSR ใน NVIDIA Control Panel ก่อน
ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวจาก Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์ขาประจำสินค้าใหม่แอปเปิลว่า iPhone รุ่นใหม่ของปีนี้หรือ iPhone 15 ในรุ่น Pro จะเปลี่ยนมาใช้ปุ่มด้านข้างแบบสัมผัสไม่ขยับ (Solid-State Button) ซึ่งจะเปลี่ยนทั้งปุ่มปรับเสียง และปุ่ม Power เป็นแบบสัมผัสด้วย Taptic Engines แต่ล่าสุดก็ Kuo คนเดิม บอกว่าแอปเปิลระงับแผนเปลี่ยนปุ่มสำหรับ iPhone 15 Pro แล้ว
Kuo บอกว่าแอปเปิลพบปัญหาทางเทคนิคที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ก่อนจะเริ่มเข้าสายการผลิตหลัก ทำให้แอปเปิลตัดสินใจเปลี่ยนกลับมาใช้ปุ่มแบบเดิมไปก่อน ซึ่งต้องปรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ไม่น่าจะใช้เวลานานมากนักจนกระทบกับแผนเปิดตัวและจำหน่ายสินค้า
กูเกิลออก Android 14 Beta 1 หลังออกรุ่น Developer Preview มาแล้วสองรุ่น โดยมีของใหม่ดังนี้
Warner Bros. Discovery ประกาศรวมร่างบริการสตรีมมิ่งในเครือ HBO Max และ Discovery+ เข้าเป็นตัวเดียว ใช้ชื่อใหม่ว่า Max ตรงตามข่าวลือก่อนหน้านี้
HBO Max เป็นสตรีมมิ่งสายหนังและซีรีส์ของ Warner Bros. ส่วน Discovery+ เป็นสตรีมมิ่งสายไลฟ์สไตล์ของ Discovery เมื่อทั้งสองบริษัทควบรวมกิจการกันในปี 2022 ก็ถึงเวลาต้องควบรวมสตรีมมิ่งเข้าด้วยกันเป็นตัวเดียว
ค่าบริการของ Max มีทั้งหมด 3 แพ็กเกจ ได้แก่
ปีที่แล้ว NVIDIA เปิดตัวซอฟต์แวร์ชื่อ RTX Remix เป็นการนำเกมเก่าๆ มาแกะ asset พวกไฟล์ภาพ-โมเดลในเกม แล้วสามารถเปลี่ยน asset ของใหม่เข้าไปใส่ในตอนรัน ถือเป็นวิธีการใหม่ในการม็อดเกมหรือรีมาสเตอร์เกมเก่า โดยไม่ต้องยุ่งกับเอนจินของเกม ในกรณีที่เกมไม่ได้เปิดทางให้ม็อดได้แต่แรก
OBS Studio ซอฟต์แวร์สตรีมวิดีโอชื่อดัง รองรับการเข้ารหัสวิดีโอแบบ AV1 มาสักระยะหนึ่งแล้ว
ล่าสุดใน OBS Studio 29.1 Beta รองรับการสตรีมวิดีโอ AV1/HEVC (H.265) ผ่านโปรโตคอล Real-Time Messaging Protocol (RTMP) ทำให้สามารถสตรีมขึ้นเผยแพร่บน YouTube ได้แล้ว การสตรีมวิดีโอแบบ AV1 ที่ใช้การเข้ารหัสมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่ายุคก่อนราว 60% ส่งผลให้การสตรีม 4K 60fps เกิดขึ้นได้จริง
OBS Studio รองรับ AV1 กับจีพียูทั้ง 3 ค่ายใหญ่ แต่ NVIDIA ก็ระบุว่าทำงานอย่างใกล้ชิดกับ OBS และ YouTube เพื่อให้การ์ดจอ GeForce RTX ซีรีส์ 40 สามารถสตรีม AV1 ได้อย่างราบรื่น
ตอนนี้ฟีเจอร์สตรีม AV1 ยังมีสถานะเป็น Beta ทั้งฝั่ง OBS และ YouTube
TikTok เปิดตัวฟีเจอร์สติกเกอร์ GIF ที่ให้ผู้ใช้สามารถนำคลิปวิดีโอใน TikTok มาสร้างเป็นสติกเกอร์เพื่อเพิ่มความสนุกในการส่ง DM หาเพื่อน โดยต่อยอดมาจากก่อนหน้านี้ที่ TikTok เปิดให้สร้างสติกเกอร์แบบ GIF ผ่านการอัปโหลดรูปภาพหรือคลิปวิดีโอ
ขั้นตอนในการสร้างสติกเกอร์จากคลิปวิดีโอที่มีอยู่เพียงแค่ไม่กี่ขั้นตอน เริ่มแรกกดเข้าไปหน้าแชท และกดเลือกที่สติกเกอร์ คลิกไปที่ Create New Stickers โดยวิดีโอที่นำมาสร้างเป็นสติกเกอร์สามารถเลือกได้จากหลายช่องทางเช่น คลิปวิดีโอที่เรากด Like, Post หรือ Favorites ไว้ใน TikTok
หอสมุดเพลงแห่งชาติ (National Recording Registry) ของอเมริกา ประกาศ 25 ผลงานเพลง ที่ได้รับการเก็บบันทึกในฐานะข้อมูลทางวัฒนธรรมประจำปี 2023 โดยไฮไลท์คือมีเพลงจากวิดีโอเกมได้รับการบรรจุเป็นปีแรก คือ Ground Theme เพลงธีมของเกม Mario ซึ่งปรากฏครั้งแรกในเกม Super Mario Bros. เครื่อง Famicom (NES) ฉาก 1-1 ปี 1985
Ground Theme เป็นผลงานการประพันธ์ของ Koji Kondo นักแต่งเพลงของนินเทนโด ที่มีผลงานเพลงประกอบอีกหลายเกมนอกจากเกมตระกูล Mario อย่างเช่น The Legend of Zelda, Super Smash Bros.
เพลงอื่นที่ได้รับการเก็บบันทึกในหอสมุดปีนี้ เช่น Like a Virgin แห่ง Madonna หรือ All I Want for Christmas Is You ของ Mariah Carey
NVIDIA เปิดตัวจีพียู GeForce RTX 4070 สำหรับเดสก์ท็อปที่รอกันมานาน (จน 4070 โน้ตบุ๊กออกแซงหน้าไปแล้ว) ในราคา 599 ดอลลาร์ ถูกกว่า GeForce RTX 4070 Ti (4080 12GB รีแบรนด์) ที่เปิดตัวมาในเดือนมกราคม ตั้งราคา 799 ดอลลาร์)
GeForce RTX 4070 เป็นการ์ดระดับกลาง เน้นเล่นเกมความละเอียด 1440p โดยประสิทธิภาพดีกว่า 3070 Ti ที่เปิดตัว 599 ดอลลาร์เท่ากันถึงสองเท่า โดยที่ใช้พลังงานน้อยกว่า (200W เทียบกับ 290W) และหากเทียบกับ 3080 จะแรงกว่า 1.4 เท่า (ต้องเปิด DLSS3)
สเปกของ RTX 4070 คือ CUDA core 5888 คอร์, แรม 12GB GDDR6X ส่วนฟีเจอร์อื่นก็ตามมาตรฐานของสถาปัตยกรรม Ada Lovelace เช่น รองรับ DLSS3, รองรับวิดีโอแบบ AV1
Elon Musk ซีอีโอ Twitter ให้สัมภาษณ์พิเศษกับสำนักข่าว BBC จากสำนักงานใหญ่ของ Twitter ในซานฟรานซิสโก ซึ่งการสัมภาษณ์ได้ถ่ายทอดสดเสียงผ่านทาง Twitter Spaces ด้วย เนื้อหาหลักว่าด้วยชีวิตและการทำงานในช่วงที่ต้องเป็นซีอีโอ Twitter แพลตฟอร์มโซเชียลที่เขาซื้อกิจการมาด้วยมูลค่าถึง 44,000 ล้านดอลลาร์
Musk ยอมรับว่าการซื้อ Twitter เป็นเรื่องเจ็บปวดมาก อย่างไรก็ตามการดูแล Twitter ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อเลย เพราะมีเหตุการณ์ขึ้นลงเหมือนรถไฟเหาะอยู่ตลอด เขายอมรับว่าที่ต้องซื้อ Twitter เพราะศาลสั่งให้เขาต้องซื้อกิจการ
FerretDB ระบบฐานข้อมูลที่ใช้งานแทน MongoDB ออกเวอร์ชั่น 1.0 พร้อมใช้งานจริง โดยโครงการสามารถใช้งานแทน MongoDB ได้เกือบเต็มรูปแบบแม้จะมีความต่างกันในจุดเล็กๆ น้อยๆ หลายจุด
ตัว FerretDB เปิดตัวโครงการเมื่อปลายปี 2021 หลังจากทาง MongoDB เปลี่ยนไลเซนส์ จาก AGPLv3 ไปเป็น SSPL ซึ่งทำให้การใช้งานเพื่อบริการคลาวด์ทำแทบไม่ได้ ตัวโครงการเดิมของ FerretDB เคยใช้ชื่อ MangoDB แต่ก็มีเสียงเตือนกันหนักว่าเป็นการตั้งชื่อให้คนสับสน จึงเปลี่ยนมาเป็น FerretDB ในที่สุด
Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สายซัพพลายเปิดเผยว่าหน้าจอตระกูล Display ของ Apple ขนาด 27 นิ้ว ที่เป็น Mini-LED จะเริ่มผลิตแบบแมสและวางจำหน่ายในช่วงปี 2024-2025
Kuo บอกด้วยว่า Apple Display จะมีวัสดุระดับ high-end โดยนอกจากแพแนลจอที่เป็น Mini-LED แล้ว ตัว backplane ที่จากเดิมเป็น PCB backplane ใน iPad Pro (จอ Mini-LED เหมือนกัน) จะถูกเปลี่ยนเป็น backplane แบบกระจก ซึ่งทำให้ได้แพเนลและขอบจอที่บางลง รวมถึงช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น
เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท) แถลงว่าสามารถจับกุมตัวแฮกเกอร์ 9Near ที่โพสต์ขายข้อมูลคนไทย 55 ล้านรายการ ได้แล้ว โดยเจ้าตัวเข้ามามอบตัวกับตำรวจ
ขณะที่ข้อมูลคนไทย เจ้าตัวยอมรับว่าซื้อมาจาก Dark Web ในราคาเพียง 8,000 บาท แต่ได้มาไม่ถึง 55 ล้านรายการ พร้อมยืนยันว่าข้อมูลยังไม่ได้รั่วไหลไปไหน ส่วนการโพสต์ขายนั้น เพียงเพราะอยากรู้เท่านั้น
ตำรวจไซเบอร์ชี้แจงด้วยว่าจ่าสิบโทคนดังกล่าว เรียนจบปริญญาตรี คณะสารสนเทศ ทำให้มีความรู้ด้านนี้เป็นอย่างดี ขณะที่ภรรยาที่เบื้องต้นตกเป็นผู้ต้องสงสัยร่วมกระทำความผิด หลังการสอบปากคำก็พบว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ที่ผ่านมาเกมตระกูล Blizzard จะมีอัพเดตใหญ่แค่ Expansion Pack ที่เป็นโลกและเนื้อ (Act) รวมถึงอาชีพตัวละครเพิ่มมาอย่างละ 1 แต่ล่าสุดดูเหมือน Diablo IV จะมีแนวทางใหม่ คือได้อัพเดตเนื้อเรื่องทุกๆ 3 เดือน
นิตยสาร Game Informer ได้พูดคุยกับ Joe Piepiora ผู้ช่วยผู้กำกับเกม Diablo IV ระบุว่าตัวเกมจะได้รับอัพเดตเนื้อเรื่องใหม่ทุกๆ 3 เดือน ซึ่งจะสอดคล้องไปกับแมคคานิคและฟีเจอร์ใหม่ที่จะมาในอัพเดตนั้นๆ ซึ่งอัพเดตนี้จะมาพร้อมกับการอัพเดต seasonal battle pass ตามปกติ
โซนี่เป็นบริษัทเกมรายแรกๆ ที่มีบริการคลาวด์เกมมิ่งคือ PlayStation Now ที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2014 (ใช้เทคโนโลยีของ Gaikai ที่ซื้อมาในปี 2012) แต่ช่วงหลังๆ โซนี่กลับพูดถึง PlayStation Now น้อยมาก แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับไมโครซอฟท์ที่พูดถึง xCloud ตลอดเวลา โดยชะตากรรมล่าสุดของ PlayStation Now คือถูกยุบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ PlayStation Plus เมื่อต้นปี 2022 จากนั้นก็ไม่ค่อยถูกพูดถึงอีกเลย
AMD โพสต์บล็อกของบริษัท ชูประเด็นว่าการ์ดจอ Radeon ระดับสูงสำหรับกลุ่มลูกค้า enthusiast (คิดที่ราคา 499 ดอลลาร์ขึ้นไป) ของค่ายตัวเองให้แรมกว่าค่ายคู่แข่ง GeForce เพราะเป็นแรม 16GB ขึ้นไปทั้งหมดแล้ว ในขณะที่บางรุ่นของ NVIDIA ยังให้แรม 8GB อยู่เลย
AMD ยังจัดการเปรียบเทียบเบนช์มาร์คของการ์ดสองค่ายที่ราคาไล่เลี่ยกัน เช่น Radeon RX 6800 XT (16GB) ราคา 579 ดอลลาร์ กับ GeForce RTX 3070 Ti (8GB) ราคา 639 ดอลลาร์ ว่าฝั่ง Radeon ชนะหมดในทุกเกมที่นำมาทดสอบ โดยปัจจัยหลักมาจากการให้แรมมากกว่า สอดคล้องกับความต้องการของเกมรุ่นใหม่ๆ ที่ต้องการแรมการ์ดจอมากขึ้นเรื่อยๆ
มีผู้พบข้อมูล จากเอกสารในคดีฟ้องร้องที่ศาลแคลิฟอร์เนียระหว่างนักเคลื่อนไหว Laura Loomer กับ Twitter และ Facebook เมื่อวันที่ 4 เมษายน ที่ผ่านมา ระบุตอนหนึ่งว่า "บริษัท Twitter Inc. ได้ควบรวมกิจการ มาเป็นส่วนหนึ่งของ X Corp. และไม่มีบริษัทนี้อีกแล้ว"
ปัจจุบัน Twitter เป็นบริษัทนอกตลาดหุ้น หลังการซื้อกิจการของ Elon Musk ทำให้ไม่ต้องรายงานเปิดเผยข้อมูลต่อ SEC หรือ กลต. สหรัฐ หากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในบริษัท ซึ่งรวมถึงการควบรวม-เปลี่ยนชื่อธุรกิจ
OpenAI ได้เปิดตัวโปรแกรม Bug Bounty เชิญชวนให้คนเข้ามารายงานบั๊กและช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่พบในระบบซอฟต์แวร์ของบริษัทไม่ว่าจะเป็น ChatGPT และ GPT-4 โดย OpenAI บอกว่ายินดีจะจ่ายเงินเริ่มต้น 200$ (ประมาณ 6,848 บาท) สำหรับช่องโหว่ความรุนแรงต่ำ ไปจนถึง 20,000$ (684,800 บาท) สำหรับช่องโหว่ระดับร้ายแรง
สำหรับขั้นตอนการส่งรีพอร์ตและการให้รางวัลทาง Open AI ร่วมมือกับแพลตฟอร์ม Bugcrowd จะระบุว่ารีพอร์ตที่ส่งได้รับรางวัลหรือไม่ ซึ่งตอนนี้มีรายงานที่ได้รับรางวัลไปแล้ว 11 ราย
โดยเมื่อเดือนที่แล้ว Greg Brockman ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI ก็ได้ทวีตข้อความลง Twitter ที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินให้กับคนที่พบบั๊กเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์
แอปเปิลออกอัพเดตเฟิร์มแวร์เวอร์ชัน 5E133 ให้กับผู้ใช้ AirPods 2, AirPods 3, AirPods Max, AirPods Pro รุ่นแรก และ AirPods Pro 2 วันนี้ โดยผู้ใช้งานไม่ต้องทำอะไร เพียงเชื่อมต่อหูฟังกับอุปกรณ์ iOS หรือ Mac ก็จะได้รับการอัพเดตเบื้องหลังอัตโนมัติ
ที่ผ่านมาการอัพเดตก็น่าจะทำได้ตามปกติ แต่มีคำถามว่าหากผู้ใช้หูฟัง AirPods นั้น ไม่มีสินค้าอุปกรณ์แอปเปิลอื่น ๆ เลย (จะมีบ้างไหม?) แล้วจะอัพเดตเฟิร์มแวร์ได้อย่างไร
แอปเปิลอัพเดตข้อมูลในหน้าซัพพอร์ต สำหรับกรณีดังกล่าวว่าหากผู้ใช้งานไม่มีอุปกรณ์แอปเปิลเพื่ออัพเดตเฟิร์มแวร์เลย ก็ให้ติดต่อที่ Apple Store หรือผู้ให้บริการ AASP เพื่อขอให้ทำการอัพเดตเฟิร์มแวร์ให้ได้เช่นกัน
Elizabeth Holmes ผู้ก่อตั้งบริษัท Theranos สตาร์ทอัพที่หลอกลวงนักลงทุนว่าสามารถวิเคราะห์โรคได้จำนวนมากจากเลือดเพียงหยดเดียว เตรียมติดคุกจริงวันที่ 27 เมษายนนี้ หลังจากศาลอุทธรณ์ระบุว่ากระบวนการอุทธรณ์ไม่น่าทำให้คดีพลิกแต่อย่างใด จึงยืนยันให้เธอเข้าคุกตามที่ได้ตัดสินโทษไว้แม้จะมีการยื่นอุทธรณ์
กระบวนการอุทธรณ์น่าจะกินเวลาอีกอย่างน้อยหนึ่งปี ฝ่ายอัยการระบุว่า Holmes มีความเสี่ยงที่จะหนีคดีเพราะเธอจองตั๋วขาเดียวไปเม็กซิโกระหว่างการพิจารณาคดี แม้ว่า Holmes ระบุว่าเป็นการไปร่วมงานแต่งงาน และจองตั๋วไปเพราะคาดว่าจะได้รับการยกฟ้อง
Sunny Balwani ผู้บริหารของ Theranos ที่ถูกตัดสินโทษจำคุก 13 ปีตั้งแต่ปีที่แล้วก็อยู่ระหว่างการขอเลื่อนการรับโทษเช่นกัน
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ Android ชื่อ auto-archive เป็นการแบ็คอัพแอพที่นานๆ ใช้ทีขึ้นคลาวด์ของกูเกิล เพื่อประหยัดเนื้อที่ในเครื่อง
กูเกิลบอกว่าผู้ใช้มักลบ (uninstall) แอพเก่า หากต้องการติดตั้งแอพใหม่แล้วพื้นที่สตอเรจไม่พอ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลทั้งหมดในแอพของผู้ใช้ถูกลบไปด้วย
ฟีเจอร์ auto-archive ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยข้อมูลบางส่วนของแอพที่ไม่ค่อยได้ใช้จะถูกส่งขึ้นไปเก็บบนคลาวด์ของกูเกิลแทน แต่ยังคงไอคอนของแอพในเครื่องไว้ พร้อมแปะป้ายรูปก้อนเมฆเพื่อบอกว่าไฟล์อยู่ในคลาวด์ หากคลิกที่แอพก็จะโหลดข้อมูลกลับลงมาในเครื่องให้เหมือนเดิม
ไมโครซอฟท์ออกแพตช์ความปลอดภัย Patch Tuesday ของเดือนเมษายน 2023 โดยมีรายการสำคัญ เป็นการแก้ไขช่องโหว่ระดับ Zero-Day ที่มีการเปิดเผยรายละเอียดแล้ว 1 รายการ และแก้ไขช่องโหว่อื่นอีก 97 รายการ จึงควรอัพเดตโดยเร็วที่สุด
ในรายการอัพเดตนี้มีแพตช์ช่องโหว่ระดับรุนแรง (Critical) อยู่ 7 รายการ มีผลกับ Microsoft Message Queuing, Windows DHCP Server, Windows Layer 2 Tunneling Protocol, Windows Point-to-Point Tunneling Protocol และ Windows Raw Image Extension ส่วนช่องโหว่ Zero-Day CVE-2023-28252 แก้ไขปัญหาไดรฟ์เวอร์ Windows CLFS ที่ทำให้เข้าถึงสิทธิระดับ SYSTEM ได้ จึงควรอัพเดตโดยเฉพาะผู้ใช้ Microsoft Office