Alibaba Group ประกาศทำข้อตกลงขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ใน Sun Art Retail Group ที่ทำธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต RT-Mart และ Auchan เป็นเงิน 1.31 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง (1.7 พันล้านดอลลาร์) ให้กับบริษัทการลงทุน DCP Capital ของจีน โดย Alibaba จะบันทึกขาดทุนจากการขายหุ้น Sun Art 1.8 พันล้านดอลลาร์
เมื่อเดือนที่แล้ว Alibaba ได้ตกลงขายธุรกิจห้างสรรพสินค้า Intime แบบขาดทุน ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ที่ต้องการโฟกัสเฉพาะธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จึงทยอยขายธุรกิจค้าปลีกออฟไลน์ออกไป
Alibaba Group ได้ทำข้อตกลงกับ E-Mart เชนค้าปลีกรายใหญ่ในเกาหลีใต้ เพื่อควบรวมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ให้บริการในประเทศของสองบริษัทเข้าด้วยกัน
โดย AliExpress ที่เป็นบริษัทในเครือ Alibaba กับ Gmarket ของ E-Mart ได้ตั้งบริษัทร่วมทุน ถือหุ้นฝั่งละ 50% จากนั้นจะเปลี่ยนธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาเป็น Gmarket ทั้งหมด มูลค่ากิจการของบริษัทร่วมทุนใหม่นี้อยู่ที่ประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์
Alibaba Group เปิดเผยว่ากลุ่มบริษัทได้ตกลงขายธุรกิจห้างสรรพสินค้าในจีน Intime โดยจะบันทึกขาดทุนจากดีลนี้ 1,300 ล้านดอลลาร์ โดยการขายธุรกิจห้างสรรพสินค้านี้ เพื่อเป็นไปตามการปรับกลยุทธ์บริษัทที่จะโฟกัสธุรกิจหลักอีคอมเมิร์ซ
Amazon เริ่มให้บริการขายรถยนต์ออนไลน์ Amazon Autos โดยเริ่มจากรถยนต์แบรนด์ Hyundai กับลูกค้าในสหรัฐอเมริกา ตามที่เคยประกาศไว้เมื่อ 1 ปีก่อน
การขายรถยนต์ออนไลน์ของ Amazon ไม่ใช่การขายตรงจากบริษัท Hyundai เอง แต่เป็นการนำรถยนต์ของดีลเลอร์ในแต่ละพื้นที่มาขึ้นระบบออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าค้นหาตัวเลือกรุ่นรถยนต์ สี ออพชั่นที่ต้องการ การสั่งซื้อ จ่ายเงิน ไฟแนนซ์ และเลือกวิธีรับรถที่ตัวเองสะดวก กระบวนการทั้งหมดทำผ่านหน้าเว็บของ Amazon ที่ลูกค้าคุ้นเคยอยู่แล้ว และช่วยแก้ปัญหาเรื่องการต่อรองราคากับดีลเลอร์ต่างๆ เพราะเป็นราคาขายจริงบนหน้าเว็บ Amazon ที่ทุกคนเห็นเหมือนกันหมด เพิ่มความโปร่งใสให้กระบวนการซื้อรถยนต์
Amazon ประกาศเข้าสู่ธุรกิจขายรถยนต์ออนไลน์ในชื่อ Amazon Autos ให้ลูกค้าสามารถค้นหา และออกคำสั่งซื้อรถยนต์หรือรถบรรทุกได้ผ่านดีลเลอร์
ในช่วงแรก Amazon Autos ยังจำกัดเฉพาะรถยนต์ของ Hyundai ขายใน 48 เมืองทั่วสหรัฐอเมริกา ตามดีลเลอร์ของ Hyundai ที่มี โดยจะเพิ่มรถยนต์ค่ายอื่น และเพิ่มเมืองที่ให้บริการภายในปี 2025 ต่อไป
บทบาทของ Amazon จะเป็นตัวกลางให้ลูกค้าค้นหาดีลเลอร์และรถยนต์รุ่นที่ต้องการ รวมทั้งกระบวนการออกสินเชื่อ ลายเซ็นดิจิทัลสัญญาซื้อขาย ส่วนการรับรถยนต์สามารถตกลงกับดีลเลอร์ได้เมื่อขั้นตอนทำสัญญาเสร็จสิ้น นอกจากนี้ Amazon ยังรองรับการนำรถยนต์มือสองมาขายเพื่อทำส่วนลดด้วย
Perplexity ผู้พัฒนาบริการค้นหาข้อมูลด้วย AI ประกาศเพิ่มเครื่องมือ ผู้ช่วยค้นหาข้อมูลสินค้าเพื่อประกอบการเลือกซื้อ โดยมีเป้าหมายให้ผู้ใช้งานได้คำตอบที่ตรงจุด ง่าย และสนุก โดยบริการนี้มีผลเฉพาะผู้ใช้งานเสียเงินแบบ Pro ในอเมริกาเท่านั้น
ในการทำงานนั้น เมื่อผู้ใช้งานค้นหาสินค้าตามเงื่อนไขที่ต้องการ Perplexity จะแสดงรายละเอียดสินค้าที่ตรงกับความต้องการ พร้อมข้อมูลสรุปประกอบการตัดสินใจ โดยมีปุ่ม Buy with Pro เพื่อทำคำสั่งซื้อทันทีแบบไม่มีค่าส่ง ทำให้ทุกอย่างจบในที่เดียว แต่หากร้านค้านั้นยังไม่รองรับ Buy with Pro ลิงก์จะเชื่อมต่อไปที่เว็บไซต์ของร้านค้านั้น
Amazon เปิดตัวหน้าร้านใหม่ Amazon Haul ซึ่งนิยามว่าเป็นร้านขายสินค้าราคาถูกอย่างบ้าคลั่ง (Crazy Low Price) เพื่อแข่งขันกับอีคอมเมิร์ซจากจีนอย่าง Temu และ Shein ตามแผนที่บริษัทเคยบอกก่อนหน้านี้
Amazon Haul สามารถเข้าได้ผ่านทางแอปมือถือหรือเว็บไซต์บนมือถือสำหรับลูกค้าในสหรัฐอเมริกา สินค้าที่ขายมีครบทุกหมวดหมู่ไม่ว่าจะเป็น แฟชัน ของใช้ในบ้าน ไลฟ์สไตล์ อิเล็กทรอนิกส์ การันตีว่าเป็นสินค้าที่ราคาถูก ไม่เกิน 20 ดอลลาร์ต่อชิ้น เฉลี่ยต่ำกว่า 10 ดอลลาร์ พร้อมระบบรับประกันสินค้าของ Amazon โดยคืนสินค้าได้ฟรีภายใน 15 วัน หากสินค้านั้นมีราคาสูงกว่า 3 ดอลลาร์
รายงานประจำปีเศรษฐกิจดิจิทัลภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ e-Conomy SEA 2024 ประจำปีนี้ออกมาแล้ว ซึ่งจัดทำโดยความร่วมมือของกูเกิล, Temasek และ Bain & Company เพื่อนำเสนอทิศทางเศรษฐกิจดิจิทัลของหนึ่งในภูมิภาคที่มีการเติบโตสูงต่อเนื่องหลายปีในโลก โดยรายงานยังคงจัดทำเนื้อหาใน 6 ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
มูลค่าเงินในธุรกิจรวมหรือ GMV ปีนี้เพิ่มขึ้น 15% จากปี 2023 เป็น 2.63 แสนล้านดอลลาร์ (ไม่รวมธุรกิจฟินเทค) คิดเป็นรายได้ของธุรกิจ 8.9 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 14% และรายงานปีนี้เริ่มวัดผลการทำกำไรของธุรกิจดิจิทัลเป็นปีแรกพบว่าเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเป็น 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์
YouTube เปิดตัวโปรแกรมแอฟฟิลิเอต YouTube Shopping ในไทยอย่างเป็นทางการ ร่วมมือกับ Shopee ช่วยให้ครีเอเตอร์สามารถรับค่าคอมมิชชันเมื่อผู้ชมซื้อสินค้าที่แนะนำ
ไทยคือประเทศที่ 4 ของโลกที่เปิดตัวโปรแกรมแอฟฟิลิเอต YouTube Shopping และเป็นประเทศที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยก่อนหน้านี้ ได้เปิดตัวไปแล้วในสหรัฐอเมริกา เกาหลี และอินโดนีเซีย
กูเกิลประกาศยกเครื่องบริการค้นหาสินค้า Google Shopping ใหม่ทั้งหมด โดยนำปัญญาประดิษฐ์โมเดล Gemini มาเป็นพื้นฐานของการค้นหา เพื่อให้ผู้ใช้งานค้นหา ค้นพบ ในรูปแบบที่ปรับแต่งสำหรับแต่ละคนได้ดีขึ้น
ตัวอย่างที่กูเกิลนำเสนอ เช่น หากต้องการค้นหาเสื้อแจ็คเกตสำหรับใส่เดินทางไปที่เมืองหนึ่ง ("Men’s winter jacket for Seattle) ผลการค้นหาจะแนะนำทั้งสภาพอากาศ เสื้อผ้าที่เหมาะสม พร้อมกับตัวเลือกสินค้าที่ตรงเงื่อนไขนั้น รวมทั้งมีฟีเจอร์ Try-on ให้ทดลองดูว่าขนาดชุดกับรูปร่างจะออกมาเป็นอย่างไร เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการกดซื้อ
Amazon เปิดตัว AI Shopping Guides ฟีเจอร์ใหม่เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้ โดยไม่ต้องค้นหาเปรียบเทียบ หรือดูข้อมูลเพิ่มมากเท่าอดีต
การทำงานของ AI Shopping Guides จะให้ข้อมูลเมื่อค้นหาสินค้าแต่ละประเภท เช่น สินค้าที่แนะนำเพราะได้รับความนิยมสูง จากนั้นให้ข้อมูลฟิลเตอร์ปัจจัยสำคัญที่ลูกค้าควรพิจารณา ด้วย UI แบบใหม่ ทำให้การค้นหาสินค้าตามเงื่อนไขทำได้ดีขึ้น โดยเฉพาะกับสินค้าประเภทใหม่ที่ลูกค้าคนนั้นไม่เคยซื้อมาก่อน
Amazon บอกว่าฟีเจอร์นี้รองรับเบื้องต้นมากกว่า 100 ประเภทสินค้า มีผลเฉพาะลูกค้าในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
TikTok เปิดตัวโซลูชันสำหรับบริการจัดการโฆษณาแบบอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ลงโฆษณาสามารถสร้าง จัดการ และวัดผลแคมเปญได้ง่ายยิ่งขึ้น
โซลูชันแรกสำหรับการสร้างโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายอัตโนมัติ Smart+ โดยผู้ลงโฆษณากำหนดกลุ่มคนดู งบประมาณ และเป้าหมาย จากนั้น Smart+ จะสร้างโฆษณา แคมเปญ กำหนดแผนให้ โดยผู้ลงโฆษณาสามารถติดตามดูผลลัพธ์ได้ รองรับทั้งการทำโฆษณาเว็บไซต์ แอป สินค้า จนถึงการสร้างกลุ่มลูกค้า (Lead Generation)
เครื่องมืออีกตัวที่ GMV Max สำหรับสร้างแคมเปญของ TikTok Shop บนเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดขายสินค้า (GMV) ลดเวลาในการตั้งค่าแคมเปญ พร้อมกำหนดการแสดงผลในจุดต่าง ๆ ของแอป
Alibaba ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในจีนเผยว่า Taobao และ Tmall แพลตฟอร์มร้านค้าของบริษัท จะรองรับการจ่ายเงินผ่าน WeChat Pay เป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเพราะที่ผ่านมา Alibaba ไม่ได้รองรับ WeChat Pay ในการจ่ายเงิน เนื่องจากต้องการผลักดัน Alipay ที่เป็นแพลตฟอร์มพันธมิตร
อย่างไรก็ตามยังไม่มีกำหนดอย่างเป็นทางการว่า WeChat Pay จะเปิดให้ใช้งานบนแพลตฟอร์มเมื่อใด
ตัวแทนของ Alibaba บอกว่าการรองรับ WeChat Pay เป็นไปตามแนวทางสร้างระบบเปิดกว้างให้กับพาร์ตเนอร์ และเพิ่มประสบการณ์ช้อปปิ้งที่สะดวกให้กับลูกค้าทุกคน ปัจจุบัน WeChat มีผู้ใช้งานรวมทั่วโลก 1.3 พันล้านบัญชี ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีน
IKEA เข้าสู่ตลาดซื้อขายสินค้ามือสอง โดยเปิดหน้าเว็บ IKEA Preowned เป็นตลาดออนไลน์ให้เจ้าของเฟอร์นิเจอร์ IKEA มาประกาศซื้อขายสินค้าระหว่างกันได้
ฟีเจอร์ของเว็บ IKEA Preowned ไม่ต่างอะไรจากเว็บซื้อขายสินค้ามือสองทั่วไป แต่เป็นหน้าเว็บและโดเมนเนมของ IKEA โดยตรง (preowned.IKEA.com) มีข้อมูลสินค้าครบถ้วนไม่ต่างอะไรจากหน้าเว็บสินค้าปกติของ IKEA สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือข้อมูลของผู้ขาย ภาพถ่ายสินค้าในปัจจุบัน และทำเลที่อยู่ของผู้ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อพิจารณาเลือกผู้ขายที่อยู่ใกล้ ไปรับของสะดวกได้
บริษัทวิจัยตลาดเทคโนโลยี Momentum Works เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับตลาดอีคอมเมิร์ซ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) โดยยอดขายสุทธิ (GMV) นับเฉพาะ 8 แพลตฟอร์มรายใหญ่ มีมูลค่ารวม 1.146 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2023 เพิ่มขึ้น 15% จากปี 2022
Shopee เป็นแพลตฟอร์มที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุด 48% ด้วย GMV มูลค่า 5.51 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามด้วย Lazada ที่ 1.88 หมื่นล้านดอลลาร์ และ Tokopedia ที่ 1.63 หมื่นล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามเมื่อต้นปี Tokopedia ได้ทำข้อตกลงให้ TikTok เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำให้จากนี้ TikTok Shop ที่รวม Tokopedia ด้วย จะมีส่วนแบ่งตลาดขึ้นเป็นอันดับ 2
ข้อมูลอื่นในรายงานที่น่าสนใจมีดังนี้
Etsy แพลตฟอร์มขายสินค้าทำมือ ประกาศการเปลี่ยนแปลงบนแพลตฟอร์ม โดย Josh Silverman ซีอีโอ Etsy บอกว่าเพื่อให้สะท้อนค่านิยมการเป็นแพลตฟอร์มสำหรับสินค้าทำมือ ใส่ความคิดสร้างสรรค์ ผลิตจากแรงงานคน ท่ามกลางกระแสที่นิยามคำว่างานสร้างสรรค์ มีการนำเครื่องมือต่าง ๆ มาช่วยเหลือมากขึ้น จนเกิดปัญหาความไม่ชัดเจนว่าอะไรที่เป็นสินค้าทำมือ
การเปลี่ยนแปลงนี้ Etsy บอกว่าสินค้าที่ขายบนแพลตฟอร์ม ต้องใส่ป้ายกำกับว่าเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 หัวข้อ ซึ่งมีรายละเอียดระบุเพิ่มเติม ได้แก่
Amazon เปิดตัวร้านขายเกมที่ให้ประสบการณ์เลือกซื้อแบบใหม่ในรูปแบบ 3D "Gaming Zone" จำลองบรรยากาศร้านเกม ซึ่งสามารถเลือกดู กดค้นหารายละเอียด และสั่งซื้อวิดีโอเกมได้เลยภายในร้าน 3D นี้
สินค้าที่ขายในร้านเกมนี้ ไม่ได้จำกัดแค่แผ่นเกมคอนโซลหรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ แต่มีตู้เกม ARCADE1UP ที่มาพร้อมเกม NBA Jam Deluxe, PAC-Man Deluxe ไปจนถึงอุปกรณ์เสริมในการเล่นเกม และเครื่องดื่มให้พลังงานด้วย
เยี่ยมชมร้าน 3D Gaming Zone ของ Amazon ได้ที่นี่
ที่มา: Toybook
คณะกรรมการธิการยุโรปหรือ EC (European Commission) ประกาศว่าหน่วยงานได้ส่งคำขอข้อมูลเพิ่มเติมอย่างเป็นทางการ กับสองแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซคือ Temu และ Shein ภายใต้กฎหมายดิจิทัล DSA โดยให้ชี้แจงว่าแพลตฟอร์มได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด DSA หรือไม่
ประเด็นที่ EC สอบถามได้แก่ กระบวนการแจ้งเตือนและแก้ไขปัญหาหากพบสินค้าที่ไม่ถูกต้อง และระบบป้องกันไม่ให้ลูกค้าได้รับการเสนอสินค้าด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม ทั้งสองแพลตฟอร์มต้องส่งรายงานการกำกับดูแลประเด็นดังกล่าวต่อ EC ภายในวันที่ 12 กรกฎาคมนี้
Shein แพลตฟอร์มสินค้าแฟชั่นออนไลน์รายใหญ่ ได้ยื่นเอกสารไฟลิ่งแบบ Confidential เพื่อเตรียมนำหุ้นบริษัทซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนแล้ว โดยเอกสารไฟลิ่งดังกล่าวยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลทางการเงินต่อสาธารณะ
เดิม Shein มีแผนนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นในสหรัฐตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่ถูกหน่วยงานกำกับดูแลสอบสวนในเรื่องซัพพลายเชน ภาษีนำเข้าสินค้า และอีกหลายประเด็น จึงทำให้บริษัทตัดสินใจย้ายมาเข้าตลาดหุ้นที่สหราชอาณาจักรแทน
Shein ก่อตั้งในประเทศจีน และย้ายมาจดทะเบียนสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์เมื่อปี 2021 โดยซัพพลายเชนส่วนใหญ่ของบริษัทยังอยู่ในประเทศจีน จึงทำให้เป็นที่จับตามองของหน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐ
ตัวแทนของ Lazada ปฏิเสธรายงานข่าวซึ่งมีออกมาก่อนหน้านี้ว่า Alibaba บริษัทแม่ ได้เจรจากับบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศไทย เพื่อขายส่วนธุรกิจ Lazada เฉพาะในประเทศไทย โดยบอกว่าบริษัทไม่เคยมีการพิจารณาเรื่องนี้ และไม่เคยหารือกับผู้ลงทุนรายใด ทั้งหมดไม่เป็นความจริง
ปัจจุบัน Alibaba เป็นเจ้าของ Lazada จากการทยอยซื้อหุ้นมาหลายปี และซื้อกิจการทั้งหมดในปี 2016 โดยตอนนี้ Lazada อยู่ใต้กลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซต่างประเทศ ตามยุทธศาสตร์แบ่ง 6 กลุ่มธุรกิจเมื่อปี 2023 โดยนอกจาก Lazada แล้วยังมี AliExpress (ธุรกิจ B2C) และ Trendyol (อีคอมเมิร์ซในตุรกี)
จากงาน Business Messaging Summit Thailand 2024 Meta ได้มีการรายงานพฤติกรรมผู้ใช้งานในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของ Meta รวมถึงเปิดเผยฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่จะถูกเพิ่มเข้ามา
โดยตอนนี้ Meta มีเป้าหมายที่จะเป็นสื่อกลางเชื่อมต่อแพลตฟอร์มที่หลากหลายเข้ากับ Messenger เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย จึงเกิดเป็นฟีเจอร์ใหม่ ๆ ดังนี้
Amazon เผยรายละเอียดของ Project P.I. (ย่อมาจาก Private Investigator) เป็นการนำเทคนิค computer vision เข้ามาช่วยสแกนสินค้าว่าเสียหายหรือไม่ ก่อนบรรจุลงกล่องส่งไปหาลูกค้า เพื่ิอลดการคืนสินค้าหรือคำร้องเรียนจากลูกค้าลง
สินค้าที่อยู่ในโกดังของ Amazon ก่อนจัดส่งจะถูกส่งเข้า image tunnel เพื่อถ่ายภาพ แล้วให้ Project P.I. ช่วยวิเคราะห์ความบกพร่องชนิดต่างๆ (เช่น ปกหนังสือยับ) แล้วแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่มนุษย์ เพื่อตัดสินใจว่าควรทำอย่างไรกับสินค้าที่มีปัญหานั้น เช่น นำไปขายเป็นสินค้ามือสอง (Amazon Second Chance) หรือบริจาค
คณะกรรมการธิการยุโรปหรือ EC (European Commission) ประกาศว่า Temu แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ เข้าเกณฑ์เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ขนาดใหญ่มาก (VLOP - Very Large Online Platform) ซึ่งมีข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมตามกฎหมาย DSA (Digital Services Act) ในการจัดการเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งเปิดเผยอัลกอริทึมในการคัดเลือกเนื้อหามาแสดงผล
มีรายงานว่ากูเกิลได้ตกลงร่วมลงทุนเป็นเงิน 350 ล้านดอลลาร์ ใน Flipkart บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอินเดีย โดยเข้าถือหุ้นส่วนน้อยที่มูลค่ากิจการ 37,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มทุนรอบล่าสุด ที่มี Walmart ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ปัจจุบันของ Flipkart เป็นแกนนำในการลงทุนรอบนี้ ซึ่งมีตัวเลขรายงานว่าอยู่ที่ประมาณ 600 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ Flipkart ยืนยันการเข้าร่วมลงทุนของกูเกิล แต่ไม่ได้ยืนยันตัวเลขมูลค่าที่รายงานออกมา
Flipkart บอกว่าการได้กูเกิลมาร่วมลงทุน ทำให้บริษัทได้ความร่วมมือในการใช้งานคลาวด์ เพื่อส่งเสริมการขยายธุรกิจ และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำหรับภายในองค์กรและลูกค้าทั่วประเทศ
Uzum สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซที่ให้บริการครบวงจรทั้ง แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์, บริการส่งอาหารเดลิเวอรี และบริการทางการเงินฟินเทค ในประเทศอุซเบกิสถาน เป็นสตาร์ทอัพรายแรกของประเทศที่มีสถานะยูนิคอร์น หรือมีมูลค่ากิจการมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ โดยบริษัทรับเงินทุน 114 ล้านดอลลาร์ จากการเพิ่มทุนรอบล่าสุด มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นเป็น 1,160 ล้านดอลลาร์
Uzum บอกว่าแพลตฟอร์มทั้งหมดมีผู้ใช้งานรวมเฉลี่ย 10 ล้านคนต่อเดือน (อุซเบกิสถานมีประชากรประมาณ 36 ล้านคน) และมีแผนการระดมทุนเพิ่มเติมอีกในปีนี้ รวมในซีรีส์ B ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์
แผนงานในปี 2024 ของ Uzum คือการลงทุนในธุรกิจขนส่งสินค้า เพื่อรองรับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ขณะเดียวก็ขยายธุรกิจฟินเทคเพื่อเชื่อมต่อธุรกิจและลูกค้าเข้าด้วยกัน