กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ยื่นเรื่องไปยังศาลอย่างเป็นทางการ ให้มีคำสั่งแยก Chrome ออกจาก Google มาเป็นอีกบริษัท หลังศาลมีคำตัดสินว่า Google มีพฤติกรรมผูกขาด Search
กระทรวงยุติธรรมอ้างอิงคำอธิบายของผู้พิพากษา Amit Mehta ที่ระบุในคำตัดสินว่า เบราเซอร์ Chrome มีส่วนช่วยในการผูกขาด Search ซึ่งนอกจากการแยกบริษัทแล้ว กระทรวงยังเสนอให้ Google เปิดไลเซนส์เรื่องข้อมูล อัลกอริทึม การแสดงผลการค้นหา ให้คู่แข่งนำไปใช้ปรับปรุงบริการของตัวเอง ไปจนถึงเรื่องความโปร่งใสในการแสดงผลโฆษณาและต้อยอมให้เว็บไซต์ opt-out การนำข้อมูลไปใช้เทรน AI
NVIDIA ชี้แจงหลังมีรายงานข่าวว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ส่งหมายเรียก เพื่อทำการสอบสวนประเด็นผูกขาดในธุรกิจเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ โดย NVIDIA บอกว่าบริษัทได้สอบถามไปยังกระทรวงยุติธรรมฯ แล้ว แต่ไม่มีการแจ้งหมายเรียกแต่อย่างใด
ตัวแทนของ NVIDIA บอกว่าบริษัทยินดีที่จะตอบทุกคำถามกับหน่วยงานกำกับดูแลเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท
ปัจจุบัน NVIDIA มีส่วนแบ่งตลาดในชิปประมวลผลปัญญาประดิษฐ์มากกว่า 80% ซึ่ง NVIDIA ชี้แจงเรื่องนี้ว่าลูกค้าเลือก NVIDIA เพราะประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสำหรับพวกเขา ในมุมลูกค้าเองพวกเขาก็สามารถเลือกใช้งานชิปประมวลผลใดก็ได้ที่ดีที่สุดสำหรับตน
Bloomberg รายงานว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ส่งหมายเรียก NVIDIA แจ้งการสอบสวนการผูกขาดในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ตามที่มีรายงานออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว โดยมีบริษัทผู้ผลิตชิป AI รายอื่นได้รับหมายเรียกนี้เช่นกัน
ประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐตั้งข้อสังเกตจนนำมาสู่การสอบสวน มีทั้งการออกแบบที่ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนค่ายผู้ผลิตชิปสำหรับงาน AI ได้ยาก รวมทั้งประเด็นที่บริษัทคู่แข่งร้องเรียนว่า NVIDIA ใช้อำนาจเหนือตลาดคิดราคาอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่แพงขึ้น หากใช้ชิปคู่แข่งในการประมวลผล
หลัง Google ถูกศาลตัดสินกรณีผูกขาด Search ล่าสุดแหล่งข่าวของ Bloomberg จากภายในกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) เผยว่า ทางกระทรวงกำลังพิจารณามาตรการในการจัดการการผูกขาดดังกล่าว
มาตรการที่กำลังพิจารณา ไล่ไปตั้งแต่เบาที่สุด อาจจะเป็น Google ต้องแบ่งปันข้อมูลกับคู่แข่ง และมีมาตรการป้องกันไม่ให้ Google สร้างความได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรม (unfair advantage) ในผลิตภัณฑ์ AI, สั่งแบนการทำสัญญาเอ็กคลูซีฟ, สั่งขาย Adwords (Google Ads), ไปจนถึงหนักสุดคือสั่งแยก Chrome และ/หรือ Android ให้ออกมาเป็นอีกบริษัท
หลังคำตัดสิน แม้ Google จะยื่นอุทธรณ์ แต่ผู้พิพากษา Amit Mehta ได้สั่งให้ทั้ง Google และ DoJ เตรียมการเรื่องการฟื้นฟูการแข่งขันแล้ว
ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) ร่วมกับอัยการใน 38 รัฐ ฟ้องกูเกิลข้อหาผูกขาดบริการระบบค้นหา (Search) ซึ่งฟ้องไปตั้งแต่ปี 2020 โดยคำตัดสินคือกูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดจริง
ผู้พิพากษา Amit Mehta อธิบายในคำตัดสินว่ากูเกิลนั้นผูกขาดตลาดระบบค้นหาอยู่แล้ว และยังมีพฤติกรรมที่พยายามรักษาการผูกขาดตลาด ด้วยการทำข้อตกลงเอ็กซ์คลูซีฟกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนทั้ง Android และ iPhone, iPad ของแอปเปิล ซึ่งมองว่าเป็นพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันและทำเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดระบบค้นหาต่อไป
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) ร่วมกับคณะกรรมการกำกับดูแลการค้าของสหรัฐ (FTC) ยื่นฟ้อง TikTok ต่อศาลกลางรัฐแคลิฟอร์เนีย ระบุว่าบริษัทละเมิดกฎหมายการปกป้องข้อมูลความเป็นส่วนตัวของเด็ก ซึ่งกฎหมายนี้กำหนดให้แพลตฟอร์มออนไลน์ ต้องไม่เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งานเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง รวมทั้งต้องลบข้อมูลทั้งหมดหากถูกร้องขอจากผู้ปกครอง
DoJ ยังอ้างถึงคำสั่งของ FTC ในปี 2019 ที่สั่งปรับเงิน TikTok ในประเด็นเดียวกันนี้ จึงมองว่าเป็นการทำความผิดซ้ำ โดยเอกสารอ้างคำร้องเรียนจากผู้ปกครองจำนวนมากที่พบปัญหานี้
กระทรวงยุติธรรมเริ่มการสอบสวน NVIDIA ฐานผูกขาดจาก 2 กรณี คือการซื้อ Run:ai สตาร์ทอัพรัน AI บน Kubernetes และการใช้อำนาจเหนือตลาดกีดกันลูกค้า ไม่ให้ซื้อสินค้าของคู่แข่ง
กรณีแรกรายงานโดย Politico อ้างอิงคนในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นการสืบสวนเรื่องการผูกขาดจากการซื้อกิจการตามปกติ
ส่วนกรณีที่สองรายงานโดย The Information หลังกระทรวงยุติธรรมได้รับคำร้องจากคู่แข่งของ NVIDIA ที่กล่าวหาว่า NVIDIA ใช้อำนาจเหนือตลาด คิดราคาอุปกรณ์เน็ตเวิร์คราคาแพง หากลูกค้าซื้อชิป AI จากคู่แข่ง
The New York Times อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง บอกว่าหน่วยงานของสหรัฐเตรียมทำการสอบสวนบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ในประเด็นการผูกขาดในอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์หรือ AI
โดยกระทรวงยุติธรรม (DoJ) จะรับผิดชอบในการสอบสวน NVIDIA ส่วนคณะกรรมการกำกับดูแลการค้าของสหรัฐ (FTC) จะตรวจสอบ OpenAI และไมโครซอฟท์
ไมโครซอฟท์นั้นอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนของ FTC ในเรื่องเกี่ยวกับ AI อยู่แล้ว จากการตั้งซีอีโอ Inflection AI เป็นหัวหน้าฝ่าย Microsoft AI ซึ่ง FTC บอกว่ารูปแบบดีลนี้เป็นการซื้อตัวซีอีโอและเทคโนโลยีสำคัญเข้ามา เพื่อหลบเลี่ยงการซื้อกิจการโดยตรงที่ต้องรายงานต่อหน่วยงานกำกับดูแล
การไต่สวนในคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้องกูเกิล เรื่องผูกขาดธุรกิจเสิร์ชเอ็นจิน ยังคงดำเนินต่อไป โดยมีเอกสารที่ถูกเผยแพร่ว่ากูเกิลจ่ายเงินให้แอปเปิล เพื่อแลกกับให้กูเกิลเป็นเสิร์ชเอ็นจินค่าเริ่มต้น เฉพาะในปี 2022 มูลค่าดีลอยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2021 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 15,000 ล้านดอลลาร์
ดีลระหว่างกูเกิลกับแอปเปิลไม่ใช่เรื่องใหม่ และหลายคนก็ทราบดีอยู่แล้ว แต่มูลค่าที่กูเกิลจ่ายเงินให้แอปเปิลซึ่งเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เป็นหัวข้อหนึ่งที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ใช้อ้างว่ากูเกิลมีพฤติกรรมพยายามผูกขาดตลาดนี้ไว้นั่นเอง
จากข่าวใหญ่เมื่อปลายสัปดาห์ที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องแอปเปิล ว่ามีพฤติกรรมผูกขาดทางการค้านั้น อาจใช้เวลาในการสอบสวนและคงมีข้อมูลออกมาเพิ่มเติมเป็นระยะ อย่างไรก็ตามในสำนวนการฟ้องนั้น กระทรวงยุติธรรมสหรัฐระบุหลายประเด็นที่มองว่าแอปเปิลพยายามผูกขาดธุรกิจ บางประเด็นผู้อ่านก็อาจพยักหน้าเห็นด้วยได้ไม่ยาก แต่บางประเด็นก็อาจขมวดคิ้วสงสัยแทน
หัวข้อหนึ่งที่สื่อในอเมริกาหยิบมาตั้งคำถามว่าการฟ้องร้องนี้ เป็นการหยิบหลายเรื่องมาผสมกันเกินไป ก็คือการบอกว่า CarPlay ระบบเชื่อมต่อหน้าจอ iPhone กับหน้าจอรถยนต์ เป็นความพยายามของแอปเปิลในการผูกขาดระบบควบคุมของอุตสาหกรรมรถยนต์
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ร่วมด้วย 15 รัฐ และวอชิงตัน ดี.ซี. ยื่นฟ้องแอปเปิลต่อศาลกลางนิวเจอร์ซีย์ ข้อหามีพฤติกรรมผูกขาดทางการค้า ตามที่มีข่าวเมื่อวานนี้
Merrick B. Garland อัยการสูงสุดสหรัฐ กล่าวว่า iPhone เป็นธุรกิจที่แข็งแกร่งมากของแอปเปิล เป็นรายได้หลักของบริษัท ส่วนแบ่งเฉพาะในอเมริกามากกว่า 65% ด้วยราคาขายต่อเครื่องเฉลี่ยที่สูงกว่า 1,600 ดอลลาร์ สาเหตุหนึ่งเพราะบริษัทละเมิดกฎหมายผูกขาดทางการค้า ด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งลูกค้าและนักพัฒนา
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเตรียมยื่นฟ้องแอปเปิลอย่างเป็นทางการภายใน 1-2 วันนี้ ตามที่เคยมีรายงานออกมาก่อนหน้านี้ในประเด็นผูกขาดทางธุรกิจ
ในตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของสำนวน แต่คาดว่าเรื่องราวจะคล้ายกับกรณีที่เกิดขึ้นจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ว่าแอปเปิลจำกัดการเข้าถึงเนื่องจากเป็นระบบปิด ทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงประเด็นสำคัญที่เพิ่งมีการแก้ไขไปในกลุ่มสหภาพยุโรปคือ App Store
The New York Times รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของการสอบสวนประเด็นผูกขาดทางการค้าของแอปเปิลแล้ว โดยน่าจะยื่นฟ้องร้องได้ภายในครึ่งแรกของปี 2024
ประเด็นหลักที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้ในการฟ้องร้องแอปเปิลข้อหาผูกขาดทางธุรกิจ คือการออกแบบการทำงานที่เป็นระบบปิดของแอปเปิล เช่น Apple Watch เป็นสมาร์ทวอทช์ที่ทำงานได้ดีร่วมกับ iPhone มากกว่าการใช้สมาร์ทวอทช์อื่นหรือไม่ ไปจนถึงประเด็นร้อนล่าสุดอย่าง iMessage, ระบบการจ่ายเงิน Apple Pay, AirTag ทำงานได้ดีบน iPhone เมื่อเทียบกับแทร็กเกอร์อื่น, การปิดไม่ให้ใช้คลาวด์เกมมิ่ง เป็นต้น
มีเอกสารเพิ่มเติมเผยแพร่ออกมาจากคดีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้องกูเกิล เรื่องผูกขาดธุรกิจเสิร์ชเอ็นจิน ซึ่งระบุถึงผลประโยชน์ที่กูเกิลจ่ายให้แอปเปิล เพื่อแลกกับ Safari ตั้งค่า Google Search เป็นเสิร์ชค่าเริ่มต้น (default) ซึ่งที่ผ่านมาทราบเพียงตัวเลขคือระดับหมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี
ข้อตกลงของกูเกิลกับแอปเปิลนั้นระบุว่า กูเกิลจะจ่ายเงินส่วนแบ่ง 36% ของรายได้โฆษณาในเสิร์ชที่เกิดขึ้นบน Safari
ข้อมูลนี้เป็นหนึ่งในหลักฐานที่ทางการสหรัฐฯ มองว่ากูเกิลปิดโอกาสให้เสิร์ชรายอื่นเข้ามาพัฒนาแข่งขันได้ รวมทั้งเป็นข้อตกลงทางอ้อมไม่ให้แอปเปิลทำเสิร์ชออกมาแข่งด้วย เพราะจำนวนเงินที่จ่ายนั้นก็สูงมากพอ
ที่มา: 9to5Mac
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ยื่นฟ้องกูเกิลในข้อหาผูกขาดตลาดโฆษณาดิจิทัล (กลุ่ม display ad ไม่ใช่ search ad ที่เคยฟ้องแยกไปแล้วตั้งแต่ปี 2020 และคดียังอยู่ในชั้นศาล) จากการซื้อคู่แข่งและปรับเปลี่ยนวิธีการประมูลโฆษณาให้คู่แข่งเข้ามาสู้ไม่ได้
พฤติกรรมของกูเกิลที่ทำลายการแข่งขัน มีหลายอย่างประกอบกัน ได้แก่
แหล่งข่าวของ POLITICO และเอกสารระบุว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ (Department of Justice - DOJ) กำลังเตรียมสอบสวนเชิงลึกกรณีที่ Adobe ซื้อ Figma ด้วยมูลค่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ว่าเป็นการผูกขาดการค้าของฝั่งบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ออกแบบหรือไม่
กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ เปิดเผยว่าในระหว่างที่มีการสืบสวนคดีเกี่ยวกับ Huawei ได้มีสายลับของรัฐบาลจีน 2 คนพยายามติดสินบนคนของกระทรวงเพื่อล้วงข้อมูลผลการสืบสวนจากภายในกระทรวง
ทางการสหรัฐฯ ระบุชื่อสายลับดังกล่าวคือ Guochun He และ Zheng Wang ซึ่งต่างก็เคยทำงานให้กับ Huawei โดยทั้งคู่ได้พยายามสร้างความสัมพันธ์กับพนักงานของกระทรวงซึ่งไม่เปิดเผยชื่อรายหนึ่งตั้งแต่ปี 2017 และพยายามสอบถามเรื่องพยาน, หลักฐานและความคืบหน้าในเรื่องการตั้งข้อหาเพิ่มเติมกับ Huawei ในเวลานั้น
Bloomberg รายงานอ้างอิงคนในว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) กำลังเตรียมยื่นฟ้อง Alphabet กรณี Google มีพฤติกรรมผูกขาดในตลาดโฆษณา หลังสืบพยานและเตรียมคดีมาหลายปี
รอบนี้ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดว่ากระทรวงยุติธรรมจะฟ้อง Alphabet/Google ในแง่มุมไหน ขณะที่การยื่นฟ้องอาจเร็วที่สุดในเดือนหน้า ที่ศาลใดศาลหนึ่งระหว่างศาลในวอชิงตัน ที่มีคดีผูกขาด Search ค้างอยู่ หรือศาลในนิวยอร์ก ที่อัยการสูงสุดของมลรัฐมียื่นคดีผูกขาดโฆษณา Google ไว้อยู่
เมื่อปี 2020 Google เคยถูกฟ้องผูกขาดโฆษณามาแล้วครั้งหนึ่งจากทนายความจาก 10 รัฐ
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ประกาศนโยบายการดำเนินคดีตามกฏหมายคอมพิวเตอร์สหรัฐฯ (Computer Fraud and Abuse Act - CFAA) ระบุว่าหากนักวิจัยทดสอบระบบในรูปแบบที่พยายามหลีกเลี่ยงการสร้างความเสียหาย และทำไปเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยโดยรวมแล้วจะไม่ดำเนินคดี
แนวนโยบายชุดนี้ยังระบุถึงประเภทคดีที่จะไม่ดำเนินคดีตาม CFAA เช่น ลูกจ้างใช้คอมพิวเตอร์เข้าเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวกับงาน, ผู้ใช้เว็บไซต์ไม่ทำตามข้อตกลงการใช้งาน (เช่น เว็บระบุให้ใช้ชื่อจริง),
อย่างไรก็ดีหากอัยการมีข้อสงสัยว่าแฮกเกอร์ใช้การวิจัยความปลอดภัยเป็นการบังหน้า ก็จะมีส่วนงานอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มาพิจารณาคดีเป็นรายๆ ไปอีกชั้นหนึ่ง
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยื่นฟ้อง Till Kottman ชาวสวิสเซอร์แลนด์ผู้นำข้อมูลหลุดมาเปิดเผยหลายครั้ง เช่น เหตุการณ์ซอร์สโค้ดอินเทลหลุด หรือเหตุการณ์ภาพวงจรปิด Verkada หลุด จนไปถึงเหตุการณ์ซอร์สโค้ดหลุดจาก SonarQube
คำฟ้องระบุว่า Kottman เป็นผู้ดำเนินการเว็บไซต์ git.rip ที่เปิดเผยข้อมูลภายในขององค์กรต่างๆ กว่าร้อยองค์กร เขายังโปรโมทข้อมูลหลุดขององค์กรต่างๆ ผ่านทาง Telegram ในห้อง "ExConfidential"
ก่อนหน้านี้ Kottman เคยใช้ชื่อบัญชีว่า deletescape บนทวิตเตอร์ ก่อนจะถูกลบบัญชีไป
DOJ หรือกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ ออกประกาศฟ้องร้อง Xinjiang Jin หรือ Julien Jin ในข้อหาก่อกวนวิดีโอคอลที่จัดทำขึ้นเพื่อรำลึกเหตุการณ์สังหารหมู่หน้าจัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 ซึ่ง DOJ ไม่ได้ระบุว่าผู้ว่าจ้าง Jin คือใคร (ในเอกสารใช้คำว่า Company-1) แต่ Zoom ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ชัดเจนว่า ทางบริษัทคือผู้ว่าจ้าง Jin เอง
Zoom ระบุว่า Jin เป็นพนักงานที่มีหน้าที่ติดต่อประสานงานระหว่าง Zoom กับหน่วยงานด้านกฎหมายและข่าวกรองของจีน โดยการว่าจ้าง Jin มาเนื่องจากก่อนหน้านี้ Zoom ถูกบล็อคในประเทศจีน บริษัทจึงต้องร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศจีนเพื่อจัดการเซนเซอร์เนื้อหาที่รัฐบาลจีนไม่ต้องการ รวมถึงว่าจ้าง Jin เข้ามาเป็นผู้ติดต่อประสานงานระหว่าง Zoom กับรัฐบาลจีน
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) ร่วมกับอัยการใหญ่อีก 11 รัฐ ยื่นฟ้องกูเกิลข้อหาผูกขาดบริการค้นหาและโฆษณาบนระบบค้นหา (search advertising) อย่างเป็นทางการ
ประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมชี้ว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาด คือการที่กูเกิลไปเซ็นสัญญาเอ็กซ์คลูซีฟกับบริษัทต่างๆ (เช่น เบราว์เซอร์ สมาร์ทโฟน และผู้ให้บริการโทรคมนาคมในสหรัฐ) เพื่อให้ตัวเองเป็นเครื่องมือค้นหาหลัก โดยจ่ายเงินจำนวนเป็นหลักพันล้านดอลลาร์ต่อปี และในสัญญาบางฉบับมีเงื่อนไขห้ามติดตั้งเครื่องมือค้นหาของคู่แข่ง ส่งผลให้ไม่มีบริษัทใดขึ้นมาแข่งขันกับกูเกิลได้เลย
ในบางกรณี เช่น ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ ยังเจอสัญญาบีบให้ติดตั้งแอพของกูเกิล (gapps) ทั้งชุด และต้องนำเสนอแอพของกูเกิลในตำแหน่งที่เด่นที่สุดด้วย
Wall Street Journal รายงานว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐกำลังจะสอบสวน Google หลังเตรียมบังคับใช้โปรโตคอล DNS over HTTPS บน Chrome ซึ่งจะทำให้ Google สามารถเข้าถึงข้อมูลทราฟฟิคของผู้ใช้งานได้แต่เพียงรายเดียว สุ่มเสี่ยงต่อการผูกขาดการเข้าถึงข้อมูล
ประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมจะสอบสวนคือ Google จะนำข้อมูลทราฟฟิคที่ผูกขาดเหล่านั้นไปใช้งานในเชิงพาณิชย์หรือไม่ หลังได้รับคำร้องเรียนหลังได้รับคำร้องเรียนจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะ ISP
กระบวนการควบรวมระหว่าง T-Mobile และ Sprint ยังคงไม่เสร็จสมบูรณ์ 100% เพราะยังไม่ได้รับการรับรองจากภาครัฐ โดยในกระบวนการเจรจาล่าสุด กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเสนอให้ T-Mobile/Sprint วางแผนและวางรากฐานที่สนับสนุนให้เกิดผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขในการรับรองการควบรวมกิจการ
Bloomberg รายงานอ้างอิงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาครั้งนี้ โดยข้อเสนอดังกล่าวของกระทรวงยุติธรรมต้องการให้ T-Mobile/Sprint สนับสนุนผู้ให้บริการรายใหม่ที่จะเข้ามาด้วยโครงข่ายและคลื่นสัญญาณของตัวเอง เพื่อต้องการรักษาสภาพการแข่งขันในกลุ่มผู้ให้บริการจากที่เดิมมี 4 รายและกำลังจะลดลงเหลือ 3 ราย
ผู้ให้บริการสตรีมมิงอย่าง Netflix กับรางวัลภาพยนตร์เป็นปัญหาที่ถกเถียงและขัดแย้งกันมาหลายปี ซึ่งถึงแม้ Roma ของ Netflix จะคว้ารางวัลใหญ่อย่างกำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
แต่ก็ใช่ว่าปัญหานี้จะหมดไปเพราะบอร์ดของ the Academy และพ่อมดวงการภาพยนตร์อย่าง Steven Spielberg ก็ยังคงค้านที่จะให้หนังสตรีมมิงมีสิทธิในการรับรางวัล และจะพูดคุยกับ the Academy เรื่องการจำกัดรางวัลจากหนังสตรีมมิง ซึ่งประเด็นนี้เองได้เข้าตาของกระทรวงยุติธรรม เพราะเกรงว่าจะเกิดการผูกขาดขึ้น