Michael Dell ซีอีโอของ Dell ออกมาโพสต์บนบล็อกของบริษัทเกี่ยวกับทิศทางของ VMware หนึ่งในบริษัทลูกของ EMC ที่จะเกิดขึ้นหลังจากการควบรวมกิจการที่ประกาศไปเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา โดยระบุว่าจะปล่อยให้ VMware มีอิสระในฐานะบริษัทลูกต่อไป
Dell ระบุว่า VMware ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่มีค่าที่สุด (crown jewel) ของ EMC และเต็มไปด้วยพนักงานที่มากไปด้วยความสามารถ โดยจะปล่อยให้ VMware บริหารงานอย่างอิสระแบบที่ EMC ทำกับ VMware ในปัจจุบัน โดยจะไม่ปิดกั้นความร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ แต่อย่างใด
ทั้งนี้ Dell ระบุว่า EMC และ Dell (บริษัท) จะยังคงเป็นคู่แข่งกันและดำเนินกิจการแยกกันต่อไปจนกว่าการควบรวมกิจการกันจะเสร็จสิ้น
Red Hat ประกาศเข้าซื้อ Ansible Inc. บริษัทผู้ดูแลการพัฒนาโครงการ Ansible ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา โดยไม่เปิดเผยมูลค่าการซื้อขายแต่อย่างใด
ทาง Red Hat ระบุว่า Ansible จะเข้ามาช่วยให้ลูกค้าของ Red Hat สามารถควบคุมคลาวด์ได้ง่ายขึ้น ทั้งคลาวด์สาธารณะและคลาวด์ส่วนตัวในองค์กร, สามารถส่งมอบบริการใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น, ควบคุมการติดตั้งและอัพเกรด OpenStack ได้ง่ายขึ้น, และช่วยอำนวยความสะดวกในการปรับไปใช้ container
เดลล์ประกาศเข้าซื้อ EMC ด้วยเงินสดหุ้นละ 24.05 ดอลลาร์ต่อหุ้น พร้อมกับหุ้นของ VMware ประเภท Tracking Stocks มูลค่าประมาณ 9 ดอลลาร์ต่อหุ้น รวมนักลงทุนจะได้มูลค่า 33.15 ดอลลาร์ต่อหุ้น สูงกว่าราคาตลาดล่าสุดที่ 27.87 ดอลลาร์
เดลล์ออกจากตลาดหุ้นไปตั้งแต่ปี 2013 การควบรวมกับ EMC รอบนี้จะทำให้เดลล์กลายเป็นบริษัทด้านสตอเรจขนาดใหญ่ รวมเอาสินค้าทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เอาไว้ด้วยกัน
ความคืบหน้าของข่าวลือ Dell เสนอซื้อ EMC ล่าสุดเว็บไซต์ Re/code อ้างแหล่งข่าววงในว่า Dell ยื่นขอเสนอซื้อหุ้น EMC ในราคาหุ้นละ 27.25 ดอลลาร์แล้ว
ถ้า EMC ตอบรับข้อเสนอนี้ การซื้อกิจการจะมีมูลค่าสูงถึง 50 พันล้านดอลลาร์ เป็นการควบกิจการบริษัทไอทีที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และก่อนหน้านี้ก็มีข่าวว่า Michael Dell ซีอีโอของ Dell เดินสายคุยกับสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อระดมเงินสดมาซื้อ EMC ด้วย
ตามข่าวยังบอกว่ามีบริษัทลงทุน Elliott Management สนใจซื้อกิจการของ EMC แต่เสนอราคาถูกกว่า Dell
ที่มา - Re/code
บริษัท LogMeIn เจ้าของซอฟต์แวร์ควบคุมคอมพิวเตอร์แบบรีโมทจากระยะไกล ซื้อกิจการแอพจัดการรหัสผ่าน LastPass
LastPass ระบุว่าจะยังให้บริการธุรกิจต่อไปเช่นเดิม การไปอยู่กับ LogMeIn จะช่วยให้มีทรัพยากรไปพัฒนาซอฟต์แวร์ได้รวดเร็วกว่าเดิม
ส่วน LogMeIn อธิบายการซื้อกิจการครั้งนี้ว่าเพื่อลุยตลาด identity and access management ให้มากขึ้น โดย LastPass มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้ชื่นชอบเป็นทุนอยู่แล้ว
คนเขียน PHP คงคุ้นเคยกับชื่อบริษัท Zend Technologies เจ้าของซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวเนื่องอย่าง Zend Framework, Zend Studio และ Zend Server
Zend Technologies อยู่ด้วยตัวเองลำพังมานาน ล่าสุดมีคนมาซื้อกิจการแล้วคือ Rogue Wave Software บริษัทซอฟต์แวร์เก่าแก่ (เปิดกิจการปี 1989) ที่ทำธุรกิจด้านเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ภาษา C/C++/Fortran มีผลิตภัณฑ์อย่าง Klocwork, OpenLogic เป็นต้น ลูกค้าของ Rogue Wave คือภาคธุรกิจหรือองค์กรขนาดใหญ่
Rogue Wave ระบุว่าซื้อกิจการ Zend เพื่อเสริมสายผลิตภัณฑ์ด้านเครื่องมือพัฒนาให้ครบ ตอนนี้บริษัทมีทั้ง C, C++, C#, Java และล่าสุดคือ PHP
The Wall Street Journal รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในว่า Dell ได้เจรจากับ EMC เพื่อขอซื้อกิจการทั้งหมด ซึ่งหากเป็นจริงด้วยมูลค่ากิจการของ EMC ตามราคาหุ้นปัจจุบันที่อยู่ราว 50,000 ล้านดอลลาร์ จะทำให้ดีลนี้กลายเป็นดีลควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุด
นอกจากจะขยายบริการผู้ช่วยอัจฉริยะให้สามารถใช้งานได้หลายอุปกรณ์ขึ้นแล้ว อีกภารกิจสำคัญของแอปเปิลคือการพัฒนา Siri ให้ประสิทธิภาพดีขึ้น ล่าสุดมีรายงานว่าแอปเปิลเข้าซื้อบริษัทหน้าใหม่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการรับคำสั่งเสียงมาเสริมทัพ Siri แล้ว
บริษัทที่ว่านี้คือ VocalIQ ผลงานเด่นคือการพัฒนาระบบที่ช่วยให้บริการผู้ช่วยอัจฉริยะ สามารถเข้าใจการใช้ภาษามนุษย์ได้ดีขึ้น เช่นความสามารถในการทำความเข้าใจกับคำถาม เมื่อไม่เข้าใจคำถามของผู้ใช้ และยังสามารถจดจำบทสนทนาก่อนหน้า และใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตอบคำถามได้ ซึ่งเหนือกว่าทุกระบบในปัจจุบันที่ทำไม่ได้แม้แต่การจดจำคำถามล่าสุดที่เพิ่งถามไป ตรงส่วนนี้ทำให้ระบบผู้ช่วยใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น
ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าซื้อ Havok เจ้าของซอฟต์แวร์ระบบฟิสิกส์ในเกม 3 มิติ จากอินเทล และไมโครซอฟท์ยังยืนยันว่าจะยังคงจับมือกับบริษัทอื่นๆ ในการใช้งานซอฟต์แวร์ของ Havok ได้ตามปกติ
Havok ปล่อย SDK ตัวแรกในปี 2000 (อ้างอิง) และถูกซื้อไปโดยอินเทลในปี 2007 ถูกใช้ในเกมอย่าง Halo, Assassin’s Creed, Call of Duty, Destiny, Dark Souls และ The Elder Scrolls ส่วนด้านมูลค่าการซื้อขายไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมา
ที่มา - ไมโครซอฟท์
สัญลักษณ์ที่คุ้นเคยของคนเล่นเกม
SMS อาจถือเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่ประสบความสำเร็จอย่างมากของมนุษยชาติ แต่ตัวเทคโนโลยีก็เริ่มถึงขีดจำกัดของมันในแง่ความหลากหลายของข้อมูลที่ส่ง ทำให้สมาคม GSM Association เริ่มพัฒนามาตรฐานใหม่ชื่อ Rich Communication Services (RCS) ขึ้นมาทดแทน
RCS หรือชื่อทางการค้า "joyn" มีความสามารถที่ระบบข้อความยุคใหม่ควรมีครบครัน เช่น การคุยแบบกลุ่ม แชร์ไฟล์ แชร์พิกัด สนทนาด้วยเสียง/วิดีโอ
Dialog Semiconductor ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่จากยุโรป (เป็นบริษัทลูกผสมอังกฤษ-เยอรมัน) ประกาศซื้อกิจการ Atmel บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ฝั่งสหรัฐ ด้วยมูลค่า 4.6 พันล้านดอลลาร์
ทั้ง Dialog และ Atmel ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในชิปด้านระบบไฟฟ้า (power management) อยู่แล้ว แต่ Dialog ก็ระบุว่าซื้อกิจการ Atmel เพื่อขยายธุรกิจไปยังชิปสำหรับโทรศัพท์ รถยนต์ และ IoT เพื่อกระจายความเสี่ยงของธุรกิจไม่ให้ขึ้นกับอุตสาหกรรมหนึ่งมากเกินไป
ช่วงหลังเราเห็นบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ควบกิจการกันเองอยู่บ่อยครั้ง กรณีล่าสุดคือ NXP Semiconductors ประกาศซื้อกิจการ Freescale และก่อนหน้านี้คือ Avago Technologies ซื้อ Broadcom
ถ้าจำกันได้ เมื่อหลายเดือนก่อน Sharp ผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีรายใหญ่สัญชาติญี่ปุ่นประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ ซึ่งอาจจะรวมถึงการขายธุรกิจหน้าจอ LCD ออกไป ตอนนี้มีรายงานว่ามีคนสนใจซื้อธุรกิจ LCD ของ Sharp แล้ว
จากรายงานของ Nikkei ระบุว่า Hon Hai Precision Industry Co หรือที่คุ้นกันในชื่อ Foxconn วางแผนจะระดมทุนเพื่อเข้าซื้อธุรกิจหน้าจอ LCD มาจาก Sharp หลังจากก่อนหน้านี้เคยพูดคุยกันถึงการทำธุรกิจร่วม ก่อนจะจบลงในช่วงปี 2012 เนื่องจากทาง Sharp กังวลว่า Foxconn จะมีอำนาจในการควบคุมธุรกิจมากเกินไป
IBM ประกาศซื้อกิจการบริษัท StrongLoop ผู้เชี่ยวชาญการสร้างแอพด้วย Node.js เพื่อเสริมทัพธุรกิจด้านการพัฒนาแอพพลิเคชันของตัวเอง
หลังซื้อกิจการแล้ว IBM จะนำเทคโนโลยีของ StrongLoop ไปใช้งานทั้งการพัฒนาแอพบนคลาวด์ (Bluemix), อุปกรณ์พกพา (MobileFirst), เว็บแอพ (WebSphere) รวมถึงงานด้าน IoT เพื่อให้นักพัฒนาแอพยุคใหม่สามารถสร้าง API ให้บุคคลอื่นเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
ปัจจุบัน IBM เป็นสมาชิกระดับ platinum ของมูลนิธิ Node.js Foundation องค์กรกลางที่รับผิดชอบการพัฒนา Node.js
ที่มา - IBM
ไมโครซอฟท์ประกาศซื้อกิจการบริษัท VoloMetrix ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์องค์กร (organizational analytics) และความสัมพันธ์ของคนในองค์กร (people analytics)
เป้าหมายของไมโครซอฟท์ชัดเจนว่าต้องการนำเทคโนโลยีของ VoloMetrix ไปรวมกับชุด Office 365 ที่ภายหลังมีฟีเจอร์ Office Graph แสดงความเชื่อมโยงของคนในองค์กร และมีโปรแกรมใหม่ Delve มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์เหล่านี้
ทีมงานและเทคโนโลยีของ VoloMetrix จะถูกนำไปใช้กับ Delve Organizational Analytics ในไม่ช้า
ถือเป็นข่าวใหญ่ของสายซอฟต์แวร์จัดการอุปกรณ์พกพาในองค์กร (MDM) เมื่อ BlackBerry ประกาศแผนเข้าซื้อกิจการ Good Technology หนึ่งในบริษัทที่ทำซอฟต์แวร์และโซลูชั่นด้านนี้ที่เป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดนี้ (เคยถึงขั้นเขียนบล็อกเพื่อโจมตี)
ตามแผนการนี้ BlackBerry จะใช้เงินสด (cash) จำนวนทั้งสิ้น 425 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 15,000 ล้านบาท) เพื่อเข้าซื้อทั้งบริษัท แน่นอนว่าเป้าหมายเพื่อนำเอาโซลูชั่นของ Good เข้ามาเสริมทัพในฝั่งของซอฟต์แวร์และบริการ MDM ของ BlackBerry นั่นเอง
Hortonworks บริษัทซอฟต์แวร์ด้าน Big Data ที่เชี่ยวชาญ Hadoop (อ่านบทสัมภาษณ์คุณทัศพล อธิอภิญญา คนไทยใน Hortonworks) ประกาศซื้อกิจการบริษัท Onyara สตาร์ตอัพที่ทำด้าน data flow จากเซ็นเซอร์ที่ฝังอยู่ในอุปกรณ์ Internet of Things
Onyara เป็นผู้สนับสนุนโครงการ Apache NiFi ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ทำเรื่องการไหลของข้อมูล (data routing) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในยุคที่เรามีเซ็นเซอร์อยู่รอบตัว และเซ็นเซอร์เหล่านี้ส่งข้อมูลออกมาตลอดเวลา แถมในหลายกรณียังต้องรับข้อมูลกลับมาประมวลผล เพื่อสื่อสารกันเองระหว่างเซ็นเซอร์แต่ละตัวด้วย
ดีลไมโครซอฟท์ซื้อโนเกียปิดไปตั้งแต่กันยายนปี 2013 ถึงกระนั้นทางคณะกรรมการทางการค้า (FTC) ของเกาหลีใต้เพิ่งจะประกาศรับรองดีลดังกล่าว หลังใช้เวลาพิจารณาการรับรองถึงเกือบ 2 ปี
FTC ให้เหตุผลว่าเกรงว่าไมโครซอฟท์จะทำให้โนเกีย กลายเป็นคู่แข่งของ LG และซัมซุงในเกาหลีใต้ ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้สิทธิบัตรของโนเกีย เล่นงานคู่แข่ง ซึ่งทางไมโครซอฟท์สามารถคลายข้อสงสัยตรงนี้กับทาง FTC ไปเมื่อปีกลายและทำให้ดีลนี้ได้รับการรับรองในเกาหลีใต้ในที่สุด
ที่มา - CNET
บริษัท Yellow Digital Marketing Group (YDM) ซึ่งเป็นบริษัทลูกด้านการตลาดของ Yellow Mobile ประเทศเกาหลีใต้ ประกาศเข้าซื้อกิจการ Computerlogy สตาร์ทอัพของไทยซึ่งทำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ (social media analytics) โดยไม่เปิดเผยมูลค่าทางการเงินในการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้
การซื้อกิจการในครั้งนี้เกิดจากการที่ต้องการดึง Computerlogy เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D Center) ของทาง YDM ในอนาคต
จากข่าวว่า Symantec เตรียมแยกบริษัท ที่เปลี่ยนเป็นการขายกิจการสตอเรจ Veritas แทน วันนี้ข่าวเป็นทางการมาแล้ว โดย Symantec จะขายกิจการสตอเรจแบรนด์ Veritas ให้กลุ่มบริษัทลงทุนด้วยมูลค่า 8 พันล้านดอลลาร์
กลุ่มบริษัทที่มาซื้อ Veritas ประกอบด้วย The Carlyle Group บริษัทลงทุนรายใหญ่ของสหรัฐ, GIC บริษัทลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ (คนละรายกับเทมาเสกที่คนไทยคุ้นชื่อกันดี) และบริษัทอื่นๆ การขายกิจการจะเสร็จสิ้นในวันที่ 1 มกราคม 2016
Symantec ซื้อ Veritas ในปี 2005 เวลาผ่านไปสิบปี Veritas ก็จะกลายเป็นบริษัทอิสระอีกครั้ง
วันนี้ (ตามเวลาในประเทศไทย) IBM ประกาศแสดงเจตจำนงที่จะเข้าซื้อกิจการของบริษัท Merge Healthcare ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการและประมวลผลภาพทางการแพทย์อย่างเป็นทางการ
IBM ระบุว่าการเข้าซื้อกิจการในรอบนี้ จะนำเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มของ Merge เข้ามาใส่ให้กับ Watson และทำให้ Watson สามารถประมวลผลข้อมูลแบบภาพได้ (ต้นฉบับระบุว่า เทคโนโลยีนี้จะทำให้ Watson สามารถ "เห็น" ได้) จากเดิมที่ประมวลผลได้เฉพาะข้อมูลแบบประเภทข้อความ/อักษรเท่านั้น ซึ่งทำให้ Watson สามารถประมวลผลภาพถ่ายรังสี, ภาพ MRI ทางการแพทย์ได้
Supplyframe บริษัทแม่ของ Hackaday เว็บข่าวสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเป็นร้านขายสินค้าในตัวประกาศเข้าซื้อ Tindie ตลาดขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ผู้ผลิตขายสินค้าโดยตรงสู่ผู้ซื้อ
Supplyframe มีเว็บในเครือด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก เช่น datasheet.net, supplyfx.com, จนถึงเว็บข่าวอิเล็กทรอนิสก์ภาษาจีนอย่าง EEFocus
ตอนนี้ยังไม่มีการประกาศว่าเมื่อรวมบริษัทกันแล้วจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แต่ประกาศก็ระบุว่า Hackaday มีชุมชน Hackaday.io สำหรับนักประดิษฐ์ที่มีคนลงทะเบียนแล้วกว่าแสนคน การรวมกันของสองเว็บก็จะเป็นชุมชนนักประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุด
Adidas ประกาศเข้าซื้อกิจการ Runtastic บริษัทผู้ผลิตแอพสุขภาพและการออกกำลังกาย ด้วยมูลค่า 240 ล้านดอลลาร์ (220 ล้านยูโร)
Runtastic ก่อตั้งขึ้นที่ออสเตรียในปี 2009 เป็นผู้ผลิตแอพสำหรับฟิตเนส สุขภาพและการออกกำลังกายมากกว่า 20 แอพ ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดรวมกว่า 140 ล้านครั้ง จากผู้ใช้งานจำนวน 70 ล้านคน นอกจากนั้นแล้วยังมีสายรัดข้อมือสุขภาพในชื่อ Runtastic Orbit อีกด้วย
Runtastic กล่าวว่าบริษัทยังคงทำงานจากออฟฟิศในออสเตรียและซานฟรานซิสโก ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ปกติ และจะมีแอพใหม่ออกภายในสิ้นปีนี้
หลังจากเจรจากันมานาน ในที่สุดโนเกียก็สามารถขายธุรกิจแผนที่ HERE ให้กลุ่มบริษัทรถยนต์จากเยอรมนี 3 รายคือ Audi, BMW, Daimler (เจ้าของ Mercedes-Benz) ในราคา 2.8 พันล้านยูโร กระบวนการขายจะเสร็จสมบูรณ์ในไตรมาสแรกของปี 2016
Rajeev Suri ซีอีโอของโนเกียระบุว่าการขาย HERE ทำให้โนเกียเสร็จสิ้นกระบวนการเปลี่ยนผ่านตัวเองมาสู่ยุคใหม่ ซึ่งประกอบด้วยการซื้อหุ้นทั้งหมดของ Nokia Siemens Network, การขายธุรกิจโทรศัพท์, และการขายธุรกิจแผนที่ นับจากนี้ไป โนเกียจะกลายเป็นบริษัทใหม่ที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเครือข่ายและบริการ
เส้นทางชีวิตที่ลุ่มๆ ดอนๆ ของ OUYA บริษัทเกมคอนโซล Android มาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว โดย Razer บริษัทอุปกรณ์เสริมเกี่ยวกับเกมรายใหญ่ประกาศเข้ามาซื้อกิจการด้านซอฟต์แวร์และทีมงานบางส่วนแล้ว
Razer เพิ่งประกาศทำ Forge TV เครื่องเกมคอนโซลที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android TV เมื่อต้นปีนี้ จึงเข้าซื้อธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ของ OUYA เพื่อเสริมทัพยุทธศาสตร์ด้านนี้ ทีมงานบางส่วนของ OUYA จะย้ายมาอยู่กับ Razer แต่ผู้ก่อตั้งบริษัท Julie Uhrman จะไม่ได้ย้ายไปทำกับ Razer ด้วย
Cisco เดินหน้าลุย ตัดธุรกิจที่ไม่ใช่งานหลักของบริษัทออกขาย ล่าสุดประกาศขายฝ่ายผลิตกล่องเซ็ตท็อป หรือที่เรียกว่า customer premises equipment (CPE) ให้กับบริษัทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ Technicolor จากฝรั่งเศส (ชื่อเดิมคือ Thomson) ด้วยมูลค่า 600 ล้านดอลลาร์
Technicolor มีธุรกิจด้านกล่องเซ็ตท็อปอยู่แล้ว การได้ฝ่าย CPE ของ Cisco มาจะทำให้บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดโลกเพิ่มเป็น 15% และมียอดขายรวมปีละ 60 ล้านกล่องทั่วโลก
Cisco ทำธุรกิจเซ็ตท็อปมาแล้วสิบปี บริษัทระบุว่าปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้านวิดีโอของตัวเองเป็นการมุ่งสู่คลาวด์เพียงอย่างเดียว โดยจะใช้วิธีจับมือเป็นพันธมิตรกับ Technicolor แลกเปลี่ยนสิทธิบัตร และพัฒนาเทคโนโลยีด้านวิดีโอต่อไป