Amazon Elastic Compute Cloud (Amazon EC2) ได้เปิดตัวบริการโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ประเภทใหม่ชื่อว่า Cluster GPU Instances ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถใช้พลังประมวลผลจากโปรเซสเซอร์กราฟิก NVIDIA Tesla GPU ได้ โดยเซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้มาพร้อมกับ Tesla M2050 (Fermi) จำนวน 2 หน่วย, โปรเซสเซอร์ Intel Nahalem X5570 ทั้งหมด 8 คอร์, หน่วยความจำหลัก 22 กิกะไบต์, พื้นที่จัดเก็บข้อมูล 1,690 กิกะไบต์ และมาพร้อมกับ 10 Gigabit Ethernet อีกทั้งสนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมด้วย CUDA และ OpenCL
ในตอนนี้ Cluster GPU Instances เปิดให้บริการโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ได้เพียงในสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันออก (US - North Virginia) และสนับสนุนแค่เพียง Linux มีราคาค่าเช่าที่ 2.10 เหรียญต่อชั่วโมง
ไมโครซอฟท์ได้ประกาศสมัครงานสองตำแหน่ง (แต่ต่อมาประกาศดังกล่าวก็ถูกลบหายไปเฉยๆ) ประกาศแรกระบุว่าต้องการคนมาร่วมพัฒนาบริการบน Windows Azure และรวมบริการดังกล่าวกับบริการออนไลน์อื่นๆ ของบริษัทและยูทิลิตี้แบ็คอัพใน Windows 8 เข้าด้วยกัน อีกประกาศหนึ่งระบุว่าต้องการคนมาบริการบน Windows Live และรวมบริการบน Windows Live ที่มีเข้ากับ Windows 8
แนวทางซอฟต์แวร์บนกลุ่มเมฆของ Adobe ยิ่งชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดเปิดบริการเพิ่มอีก 2 ตัว
Adobe SendNow เป็นบริการแชร์ไฟล์ขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับการทำงานร่วมกันผ่านอินเทอร์เน็ต แนวคิดก็คล้ายๆ กับ Dropbox ผสมพวก Rapidshare ไฟล์ที่อัพโหลดไปจะอยู่ได้ 7 วัน ถ้าอยากให้อยู่นานกว่านั้นก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
Adobe CreatePDF อันนี้ก็ตามชื่อครับ สร้าง PDF ผ่านเน็ต สามารถรวมเอกสารหลายๆ ชิ้นออกมาเป็น PDF ไฟล์เดียวได้ แต่ถ้าอยากได้ความสามารถสูงๆ พวกนี้ก็ต้องเสียเงินเช่นกัน ตอนนี้มีแบบใช้ฟรีกับเอกสารได้ 5 ฉบับ
คุณ Michael Dell ได้กล่าวในอีเวนต์แห่งหนึ่งที่ฮ่องกงว่า เดลล์ได้รับเสียงตอบรับจากเหล่านักพัฒนา [ของบริษัท] ว่าพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับสมาร์ทโฟนบนแพลตฟอร์ม Windows นั้นง่ายกว่าบนแพลตฟอร์ม Android
นอกจากนั้น เขายังเผยว่าจะเปิดตัวแท็บเล็ตหลากรุ่นในปีหน้า และยังมีแผนจะซื้อบริษัทที่ทำด้านโซลูชันการประมวลผลบนกลุ่มเมฆ (cloud computing) อีกด้วย แต่เขาก็ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดแต่อย่างไร
ที่มา: สำนักข่าวรอยเตอร์ ผ่าน Engadget
หมายเหตุ: ข้อความใน [] เสริมโดยผู้เขียนข่าวลง Blognone
Google และ SpringSource (บริษัทลูกของ VMware) ได้ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้เหล่านักพัฒนาในองค์กรสามารถพัฒนา ติดตั้ง และบริหารจัดการแอพพลิเคชันบนกลุ่มเมฆใดๆ บนอุปกรณ์ใดๆ ก็ได้ ที่งานสัมมนา SpringOne 2GX Developer Conference ประกอบด้วย
OpenStack ชุดซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สำหรับสร้าง cloud computing (ข่าวเก่า) ได้ไมโครซอฟท์มาเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่อีกราย
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Cloud.com ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรายหนึ่งของ OpenStack เพื่อให้ Hyper-V ซอฟต์แวร์ทำ virtualization ที่อยู่ใน Windows Server 2008 ทำงานร่วมกับ OpenStack ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ OpenStack สามารถทำงานกับวินโดวส์ได้ดีขึ้น
งานนี้ไมโครซอฟท์จะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค ส่วน Cloud.com รับหน้าที่พัฒนา โค้ดที่ได้จะส่งเข้ารวมกับ OpenStack
เมื่อสามวันก่อน อเมซอนประกาศโปรโมชั่นใหม่ "AWS Free Usage Tier" ให้ลูกค้าใหม่ทุกรายจะได้สิทธิ์ใช้บริการในกลุ่ม Amazon Web Services (AWS) เพื่อการประมวลผลบนกลุ่มเมฆบน EC2 ฟรี 1 ปี (เริ่มต้น 1 พ.ย.นี้) ประกอบด้วย Amazon S3, Amazon Elastic Block Store, Amazon Elastic Load Balancing และ AWS data transfer
ไฮไลต์โปรโมชั่นดังกล่าวมีดังนี้
คำเตือน: ชื่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในข่าวนี้จะชวนงงมาก โปรดใช้สติในการอ่าน
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Office 365 ซึ่งเป็น "ชุดผลิตภัณฑ์+บริการ" แบบครบวงจรสำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการซอฟต์แวร์สำหรับงานสำนักงาน
โดยเนื้อแท้มันไม่มีอะไรใหม่ แต่เป็นการรวมร่างของผลิตภัณฑ์เดิมหลายตัว อันได้แก่
ข้างในข่าวอันนี้จะเป็นวิดีโอถ่ายทอดสดจากงาน Microsoft TechNet: Power of The Cloud สำหรับผู้ที่สนใจติดตามเทคโนโลยีด้าน cloud computing จากค่ายไมโครซอฟท์ครับ
ผมพยายามคิดหาคำนิยามของ Exalogic อยู่นานมาก มาสรุปแบบสั้นๆ ได้ว่า Exalogic คือ "ทุกสิ่งทุกอย่างที่ Oracle ซื้อมาในรอบหลายปีหลัง ยัดลงในตู้เหล็กหนึ่งตู้"
เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บริการโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ของอเมซอนในนามว่า EC2 นั้นเคยเปิดตัว instance type ประเภท Cluster Compute เพื่อการประมวลผลสมรรถนะสูงโดยเฉพาะ [ข่าวเก่า]
สำหรับเดือนนี้ อเมซอนก็ได้เปิดตัว instance type ประเภทใหม่ล่าสุดชื่อ Micro Instance ที่มาพร้อมหน่วยความจำเพียง 613 เมกะไบต์ เพื่อการโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ที่มีภาระการประมวลผลน้อยหรือมีทราฟิกการให้บริการไม่สูงมาก ตัวอย่างเช่น การโฮสต์เว็บไซต์ที่มีจำนวนผู้เข้าชมน้อย เป็นต้น โดยอเมซอนคิดค่าบริการสำหรับโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ประเภท Micro Instance เพียงชั่วโมงละ 2 เซนต์ สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น Linux หรือ Unix และ 3 เซนต์ สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น Windows
เราไม่เห็นการประกาศ iTunes Cloud ในงานแถลงข่าวรอบล่าสุดของแอปเปิล แต่ในวันเดียวกัน โซนี่ได้ตัดหน้าประกาศบริการ "Music Unlimited" ซึ่งจะอยู่ใต้แบรนด์ร้านขายสื่อออนไลน์ Qriocity ที่ขายหนังแบบ video on demand มาก่อนหน้านี้
Qriocity นั้นเป็นความพยายามครั้งล่าสุดของโซนี่ (หลังจากล้มเหลวมาหลายรอบ) ในการรุกตลาดสื่อมัลติมีเดียผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมันจะเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ของโซนี่ทุกตัว (ตอนนี้เน้นหนักที่ Bravia รุ่นต่อเน็ตได้และ PS3) โดยในสหรัฐได้เปิดบริการ “Video On Demand powered by Qriocity” มาสักระยะแล้ว และในโอกาสเดียวกันนี้โซนี่ได้ขยายบริการไปยังฟากยุโรปแล้ว
ข่าวนี้มันจะชวนงงอยู่บ้างเพราะชื่อมันคล้ายๆ กันไปหมด ผมจะพยายามเขียนให้เข้าใจง่ายที่สุดนะครับ
เรื่องคือบริการด้าน cloud storage ของไมโครซอฟท์นั้นมีหลายตัวมากจนงง เช่น Windows Live Sync, Windows Live Mesh, SkyDrive ฯลฯ (อ่านที่ Ars Technica วิจารณ์) ไมโครซอฟท์เองก็คงรู้ปัญหานี้ เลยรวม Live Sync กับ Live Mesh เข้าด้วยกัน แล้วเรียกมันว่า Live Sync จากนั้นรวมมันเข้าในชุด Windows Live Essentials 2011 (หรือที่เราเรียกกันเองว่า Wave 4)
Amazon เป็นตัวอย่างที่ดีของบริษัทที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจเดิม (หนังสือและสินค้าปลีกออนไลน์) จากนั้นขยายกิจการมายังธุรกิจเกิดใหม่สองอย่าง (ซึ่งทำได้ดีทั้งคู่) อย่างแรกคือเว็บเซอร์วิสใต้แบรนด์ AWS และอย่างที่สองคือ Kindle
แต่เรากลับไม่มีรายละเอียดของสองธุรกิจนี้มากนัก ในส่วนของ Kindle นั้นบริษัทยังอุบเงียบ ไม่ยอมบอกว่าขายไปได้แล้วกี่เครื่อง (เพิ่งบอกตัวเลขของหนังสือไปนิดหน่อย) ส่วน AWS นั้นแทบไม่มีข้อมูลเลย
PEER 1 Hosting ผู้ให้บริการกลุ่มเมฆรายหนึ่ง ได้เปิดตัวบริการ GPU Cloud Computing เพื่อให้บริการพลังประมวลผลของ Tesla ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลกราฟิกหรือ GPU พลังเทราฟลอปของ NVIDIA โดยราคาของบริการอยู่ระหว่าง 0.70 ถึง 1.18 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมง สำหรับแอพพลิเคชันที่เหมาะกับการประมวลผลในบริการดังกล่าว ได้แก่ งานเรนเดอร์กราฟิก, ระบบวิเคราะห์การเงิน, และงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
บริการนี้คงจะเป็นบริการในฝันของหลายคน ช่วยย่นเวลาจาก 5 วันบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปเหลือเพียง 20 นาทีในการแกะรหัส WPA-PSK และ WPA2-PSK กับดิกชันนารี 135 ล้านคำบนคลัสเตอร์ขนาด 400 ซีพียูสนนราคาเพียง $35 หรือหากรอได้ก็จ่ายแค่ $14 เพื่อใช้คลัสเตอร์เพียงครึ่งหนึ่งแต่จะใช้เวลาเพิ่มเป็น 40 นาที และมีออปชั่นเพิ่มดิกชันนารีเป็นขนาด 284 ล้านคำที่ราคา $40 ใช้เวลาราว 55 นาที
นอกเหนือไปจากนี้ยังมีบริการแกะรหัสไฟล์ ZIP ราคาตั้งแต่ $34 ถึง $102 ขึ้นอยู่กับความยาวของรหัสผ่านที่ต้องการให้แกะ
อย่างไรก็ดีบริการนี้เป็นการแกะจากดิกชันนารีเพราะฉะนั้นมันมีโอกาสที่จะไม่เจอรหัสผ่าน และก็จะไม่คืนเงินโดยให้เหตุผลว่าหากคุณไปเสียเวลาแกะ 5 วันด้วยคอมพิวเตอร์ของคุณก็จะไม่เจอรหัสผ่านเช่นเดียวกัน
บริการประมวลผลบนกลุ่มเมฆ ไม่ว่าจะเป็น EC2, App Engine หรือ Azure ล้วนเป็นแพลตฟอร์มปิดด้วยกันทั้งสิ้น คำถามคือถ้าหากว่าเราต้องการสร้างกลุ่มเมฆขึ้นเองจะต้องทำอย่างไรดี คำตอบอาจเป็น OpenStack
OpenStack คือชุดซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สสำหรับสร้างระบบ cloud computing ตัวตั้งตัวตีในเรื่องนี้คือ Rackspace ผู้ให้บริการโฮสติ้งรายใหญ่ ซึ่งบริจาคโค้ดของระบบ cloud ที่ตัวเองใช้อยู่ (Rackspace Cloud Files) ให้เป็นโอเพนซอร์ส นอกจากนี้ยังมี NASA ที่บริจาคโค้ดโครงการ NASA Nebula มาร่วมอีกราย ซึ่งโค้ดสองชุดจะรวมเป็นซอฟต์แวร์ตัวเดียวกันในอนาคต
อเมซอนได้เปิดตัวคอมพิวเตอร์เสมือนหรือ instance type ชนิดใหม่ชื่อ cluster compute เพื่อรองรับการประมวลผลสมรรถนะสูงโดยเฉพาะ และเหมาะต่อการติดตั้งคลัสเตอร์ ทั้งนี้ คอมพิวเตอร์เสมือนหนึ่งเครื่องของ cluster compute มีสมรรถนะเทียบเท่า Intel Nehalem ทั้งหมด 8 คอร์ มาพร้อมกับหน่วยความจำ 23 กิกะไบต์ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล 1,690 กิกะไบต์ และติดตั้ง 10 Gigabit Ethernet โดยคิดค่าบริการที่ 1.60 เหรียญต่อชั่วโมง
Ubuntu One บริการเก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆของ Ubuntu ได้ปรับโฉมของหน้าต่างตั้งค่าตัว client ที่มากับ Ubuntu ใหม่ จากเดิมที่เป็นหน้าต่างตั้งค่าปกติ (แอบใช้งานยาก) เปลี่ยนมาเป็นหน้าต่างสวยใสน่าใช้ขึ้นเยอะ
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการลงทะเบียนผู้ใช้ใหม่ ซึ่งสามารถทำได้จากหน้าต่างของ Ubuntu One เลย ก่อนหน้านี้ต้องทำผ่านเบราว์เซอร์เท่านั้น
ฟีเจอร์นี้ได้ใช้กันแน่ใน Ubuntu 10.10
ที่มา - OMG Ubuntu
กระแส Cloud Computing เป็นกระแสที่ค่อนข้างใหญ่ในโลกหน่วยงานระดับองค์กร Azure ของไมโครซอฟท์เองก็เป็นหนึ่งในกระแสนี้ มันเป็นบริการที่ถูกมองว่ามาแข่งกับ Google App Engine อย่างไรก็ตาม Azure เองไม่มีบริการฟรี เลยมีคำถามกันว่าจะแข่งกับ App Engine ที่ให้ฟรีค่อนข้างเยอะได้ และวันนี้คำตอบก็ออกมาเมื่อไมโครซอฟท์เปิด Windows Azure Platform Appliance (ต่อไปจะเรียกว่า Azure Appliance) ให้บริษัทต่างๆ สามารถติดตั้ง Azure ได้ในหน่วยงานกันเอง
ไมโครซอฟท์จับมือฟูจิตสึร่วมกันลุยตลาด cloud computing หรือ "บริการกลุ่มเมฆ" ทั้งนี้ ฟูจิตสึได้เตรียมศูนย์ข้อมูลสำหรับติดตั้ง Windows Azure ซึ่งเป็นแก่นของบริการกลุ่มเมฆของไมโครซอฟท์ และภายในสิ้นปีงบประมาณนี้ ฟูจิตสึจะก่อตั้งศูนย์ข้อมูลสำหรับบริการกลุ่มเมฆอีกหลายแห่ง ทั้งในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา โดยฟูจิตสึวางแผนทุ่มงบถึง 1.1 พันล้านเหรียญสำหรับธุรกิจบริการกลุ่มเมฆ รวมไปถึงงานวิจัยและพัฒนาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบริการกลุ่มเมฆอีกด้วย
ที่มา - MarketWatch
เป็นข่าวลือที่มีมาได้สักระยะแล้ว แต่กลับไม่ถูกประกาศในงาน WWDC รอบล่าสุด
เว็บไซต์ Boy Genius Report ได้อ้างแหล่งข้อมูลภายในของแอปเปิล ระบุว่า iTunes เวอร์ชันกลุ่มเมฆกำลังจะมา และมันมีฟีเจอร์ 3 อย่างดังนี้
ที่มา - Boy Genius Report
ข่าวนี้ยกตัวอย่างของ Google Docs แต่ผมคิดว่ามันแทนแนวคิดของ cloud computing หรือ "บริการกลุ่มเมฆ" ที่ขึ้นมาเป็นคู่แข่งของระบบไอทีในองค์กรแบบเดิมๆ ได้เช่นกัน
เรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดย Jim Whitehurst ซีอีโอของ Red Hat โดยเขาเล่าว่ามี CIO ของบริษัทลอจิสติกส์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งเล่าให้ฟัง
CIO คนนี้บอกว่า เขาได้รับมอบหมายงานจาก CMO (หัวหน้าฝ่ายการตลาด) ว่าต้องการระบบแชร์เอกสารระหว่างพนักงานของบริษัทที่อยู่ตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก เขากลับไปปรึกษากับทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ภายใน ซึ่งได้คำตอบว่าสามารถทำได้ แต่ใช้ระยะเวลาพัฒนาโปรแกรม 9 เดือน และงบประมาณ 14 ล้านดอลลาร์
AMD เคยเปิดตัว Opteron 6000 ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์ 8 และ 12 คอร์ ภายใต้รหัส Magny-Cours และ Opteron 4000 ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์ 4 และ 6 คอร์ ภายใต้รหัส Lisbon (ข่าวเก่า) ในข่าวล่าสุด AMD ตั้งใจปั้นให้ Opteron 4000 เจาะตลาดคลาวด์คอมพิวติงก์
เปิดบริการอย่างเป็นทางการแล้วครับสำหรับบริการ Cloud Gaming ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของใครที่ไม่แรง สามารถเล่นเกมส์ที่ต้องใช้ทรัพยากรเครื่องมาก ๆ ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งตัวเกมส์ก่อนให้ยุ่งยาก ถือว่าเป็นทางเลือกใหม่ของนักเล่นเกมส์ PC ที่ไม่อยากจะเสียเงิน upgrade เครื่องอีกต่อไป
ครั้งนี้เริ่มจากฝั่ง OnLive ก่อนครับที่เปิดตัวในงาน E3 ที่ผ่านมา รายละเอียดมีดังนี้