คนแถวนี้คงรู้จักบริการจำพวก Amazon Web Service กันเป็นอย่างดี ที่ดังหน่อยคงหนีไม่พ้นบริการเก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆอย่าง Amazon S3
ปัญหาคือถ้าเรามีข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ อยากส่งขึ้นไปเก็บบน S3 แต่เน็ตที่บ้านไม่ค่อยแรง กว่าจะอัพโหลดเสร็จคงใช้เวลาหลายวัน แบบนี้จะทำอย่างไรดี?
ทาง Amazon จึงออกบริการใหม่ Amazon Web Services Import/Export คือเรามีหน้าที่เอาข้อมูลใส่ฮาร์ดดิสก์หรือสื่ออื่นๆ ส่งเป็นพัสดุไปให้ถึง Amazon ในสหรัฐหรือไอร์แลนด์ จากนั้นพนักงานของ Amazon จะทำหน้าที่อัพโหลดข้อมูลของเราให้เอง แล้วค่อยส่งฮาร์ดดิสก์กลับคืนมา
กูเกิลเปิดตัวบริการ Gone Google ซึ่งเป็นโปรแกรมเครื่องคิดเลขออนไลน์เอาไว้สำหรับคำนวณหาความคุ้มค่าในการใช้บริการ cloud computing อย่าง Google Apps ซึ่งตัวเลขที่ได้จาก Gone Google นั้นได้มาจากการประมาณค่าว่า เมื่อลูกค้าได้ใช้บริการ Google Apps แล้วจะลดค่าใช้จ่ายและเวลาได้มากน้อยเพียงใด
ช่วงงาน Google I/O ข่าวกูเกิลจะเยอะหน่อยนะครับ แม้จะถูกกลบด้วยข่าว Android 2.2 Froyo และ Google TV แต่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่น่าสนใจอีกตัว (แถมมาเงียบๆ) คือ Google Storage for Developers
มันคืออะไร? อธิบายง่ายๆ ว่ามันคือ Amazon S3 เวอร์ชันกูเกิล ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆของกูเกิล ตอนนี้มันยังเป็นผลิตภัณฑ์ใน Google Labs และมีชื่อ "for Developers" ห้อยท้ายอยู่ แต่อนาคตอีกไม่นานมันจะเหลือแค่ "Google Storage" แน่นอน
Google Storage for Developers คิดราคาพื้นที่ GB ละ 17 เซนต์ต่อเดือน ในช่วงแรกยังเปิดให้นักพัฒนาเฉพาะในสหรัฐเท่านั้น
เมื่อปลายปีก่อน อเมซอนเคยประกาศแผนการตั้งฐานศูนย์ข้อมูลของกลุ่มบริการคลาวด์คอมพิวติงก์ที่ชื่อ AWS ไปยังภูมิภาคเอเชีย (ข่าวเก่า) และแล้วแผนการดังกล่าวก็เป็นจริง เมื่ออเมซอนได้เปิดฐานบริการ AWS ที่สิงคโปร์อย่างเป็นทางการ และตอนนี้อเมซอนเปิด Availability Zone ไปแล้วสองแห่งที่สิงคโปร์ โดยในขณะนี้ มีลูกค้าของบริการ AWS หลายเจ้ากำลังย้ายแอพพลิชันไปทำงานยังศูนย์ข้อมูล AWS ที่สิงคโปร์
สืบเนื่องมาจากข่าวเก่าที่ VMware และ Salesforce.com จับมือกันให้บริการ cloud computing ภายใต้ชื่อบริการ vmforce แต่ทว่าในข่าวนั้น ทั้งสองบริษัทไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของ vmforce แต่อย่างใด
ไมโครซอฟท์เปิดตัวเครื่องมือใหม่สำหรับฝ่ายไอทีองค์กร มันคือ Windows Intune ระบบซ่อมบำรุงคอมผ่านกลุ่มเมฆของไมโครซอฟท์ ผู้ดูแลระบบสามารถเฝ้าดูสถานะ จัดการ แก้ไข ปรับแต่งคอมทั้งหมดในองค์กรได้จากเว็บ
เครื่องลูกข่ายจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม Windows Intune เพื่อส่งสถานะและเปิดช่องทางในการดูแลรักษาให้กับเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ แล้วผู้ดูแลระบบค่อยจัดการผ่านเว็บของ Windows Intune อีกต่อหนึ่ง บริการนี้ไมโครซอฟท์คิดเงินครับ ตอนนี้ยังเป็นแค่รุ่นเบต้าและยังไม่เปิดเผยราคา แต่ในรุ่นจริง องค์กรที่ใช้ Windows Intune จะได้รับสิทธิ์อัพเกรดเครื่องลูกข่ายเป็น Windows 7 Enterprise ได้ฟรี (แปลว่าค่าสมาชิกน่าจะแพง)
ก่อนหน้านี้ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมของเบราว์เซอร์ Chrome และระบบปฏิบัติการ Chrome OS กล่าวไว้ว่าการเชื่อมต่อกับพริ้นเตอร์เป็นปัญหาหนักอกสุดของทีมพัฒนา (ดูข่าวเก่า) แต่ตอนนี้กูเกิลมีทางออกสำหรับปัญหานั้นแล้ว นั่นคือโยนการเชื่อมต่อพริ้นเตอร์เข้าสู่กลุ่มเมฆซะเลย โดยมีชื่อว่า Google Cloud Print
กูเกิลได้นำเสนอโซลูชันดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Chromium และ Chromium OS โดย Cloud Print มีเป้าหมายให้แอพพลิเคชันอะไรก็ได้บนแพลตฟอร์มอะไรก็ได้สามารถสั่งพิมพ์ไปยังพริ้นเตอร์อะไรก็ได้ กูเกิลเน้นว่า Chrome OS จะใช้ Cloud Print กับการพิมพ์ทุกรูปแบบ โดย Chrome OS จะไม่มี print stack และไดร์เวอร์มาให้
SpringSource บริษัทผู้พัฒนาเฟรมเวิร์คอย่าง Spring และ Grail (ปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของ VMware) เข้าซื้อกิจการของ RabbitMQ บริษัทที่อยู่เบื้องหลังในการพัฒนา API ใช้สำหรับพัฒนา cloud messaging technology เพื่อเพิ่มความสามารถด้าน messaging ไปยังเทคโนโลยีของตัวเอง
Rod Johnson ผู้จัดการทั่วไปของ SpringSource ให้เหตุผลในการซื้อครั้งนี้ว่า "ถึงแม้ messaging เป็นหัวใจที่ใช้ในการสร้างแอพพลิเคชันระดับ enterprise อยู่แล้ว แต่แอพพลิเคชันระดับ cloud กลับมีพื้นฐานของ messaging infrastructure แตกต่างกัน การซื้อ RabbitMQ จะช่วยให้เราขยายตลาดไปยัง cloud ได้ง่ายขึ้น"
VMware ร่วมมือกับ Salesforce.com เปิดตัวบริการคลาวด์คอมพิวติงก์ภายใต้ชื่อ vmforce แต่ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่า vmforce ทำอะไรได้บ้าง โดยบริษัททั้งสองจะเปิดเผยข้อมูลของบริการดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ vmforce.com ในวันที่ 27 เมษายนนี้
กรีนพีซได้มีรายงานพิเศษเมื่อวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า iPad อาจมีส่วนที่จะเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ผ่านความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นตามผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานบริการต่างๆ บนคลาวด์
ในรายงานระบุว่า แม้ว่าการผลิต iPad จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่การเปิดตัว iPad อาจส่งผลถึงความต้องการของผู้ใช้ในการใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น (เช่นการใช้งาน Facebook, Twitter, Google) ซึ่งบริษัทผู้ให้บริการจะจำเป็นต้องใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นในการทำงานเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ ซึ่งพลังงานที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็มักจะมาจากพลังงานที่สกปรกเช่นถ่านหิน
บริษัท Automattic ของคุณ Matt ผู้ก่อตั้ง WordPress ได้เปิดบริการสำรองข้อมูลบนกลุ่มเมฆให้กับเว็บที่ใช้ WordPress รวมถึงบริการระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนกรณีเว็บมีปัญหา (ล่ม, โดนแฮก) ในอนาคตจะรวมถึงการปรับรุ่นให้โดยอัตโนมัติ
บริการนี้เริ่มใช้ฟรีใน WordPress.com หลายเดือนที่ผ่านมา แต่สำหรับเว็บที่ลง WordPress เอง จะคิดค่าบริการราวๆ $15 ต่อเดือน
ขณะนี้อยู่ในระยะทดสอบ สมัครได้ที่ VaultPress.com
ที่มา: VaultPress Blog
บริษัท Canonical ประกาศให้ทดสอบร้านขายเพลงออนไลน์ Ubuntu One Music Store แล้ว
ถ้าดูจากชื่อจะเห็นว่ามันเป็นแบรนด์ Ubuntu One บริการ cloud storage ที่มีใน 9.10 Karmic Koala อันนี้เข้าใจถูกแล้วครับ เพราะ Ubuntu เลือกใช้ร้านขายเพลงออนไลน์ 7digital อีกต่อหนึ่ง ความต่างจากการซื้อเพลงบนอินเทอร์เน็ตทั่วไป (เช่น iTunes) คือเพลงที่ซื้อจะถูกส่งไปเก็บที่ Ubuntu One ก่อน แล้วค่อยดาวน์โหลดมาที่เครื่องผ่านระบบ sync ของ Ubuntu One อีกต่อหนึ่ง
การซื้อเพลงจะทำผ่านโปรแกรม Rhythmbox โปรแกรมจัดการเพลงมาตรฐานของ Ubuntu แต่ทาง Canonical สัญญาว่าจะค่อยๆ ขยายไปยังโปรแกรมฟังเพลงตัวอื่นผ่านระบบปลั๊กอินในอนาคต
Google Apps คือการรวมบริการหลายตัวของกูเกิล เช่น Gmail, Google Calendar, Google Docs สำหรับผู้ใช้ภาคธุรกิจ โดยมีฟีเจอร์เพิ่มเติมเข้ามาจากรุ่นปกติบ้าง (เช่น พื้นที่การใช้งานเพิ่มขึ้น) บริการนี้ค่อนข้างได้รับความนิยมพอสมควร ตามตัวเลขของกูเกิลระบุว่ามีองค์กรกว่า 2 ล้านรายใช้งาน Google Apps
เมื่อมีผู้ใช้มากเข้า สิ่งที่ตามมาก็คือบริการเสริมต่างๆ ที่ขยายความสามารถของ Google Apps ออกไป เช่น โปรแกรมบัญชี โปรแกรมจัดการพนักงาน ฯลฯ ซึ่งในที่สุดกูเกิลได้เปิดร้าน Google Apps Marketplace เพื่อเป็นสื่อกลางซื้อขายโปรแกรมภายนอกเหล่านี้แล้ว
ไล่เลี่ยกับที่กูเกิลออกมาพูดว่า "อีกสามปี เดสก์ท็อปจะไม่สำคัญอีกต่อไป" สตีฟ บัลเมอร์ ซีอีโอของไมโครซอฟท์ได้กล่าวปาฐกถาที่ University of Washington พูดถึงทิศทางของบริษัทต่อจากนี้ ซึ่งไปในทางเดียวกันกับกูเกิลโดยมิได้นัดหมาย
หัวข้อที่บัลเมอร์พูดนั้นตรงไปที่ cloud computing ว่าเป็นเทคโนโลยีที่จะมาแน่นอนในอนาคต เขาพูดถึง cloud ใน 5 แง่มุม ได้แก่
รายงานการวิจัยจาก Juniper Research บอกว่าตลาด mobile cloud computing (แอพพลิเคชันบนมือถือที่เชื่อมต่อกับกลุ่มเมฆ เช่น Gmail บนมือถือ) จะเติบโตถึง 88% ระหว่างปี 2009-2014 โดยปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ แต่จะขึ้นไปสูงถึง 9.5 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3.1 แสนล้านบาท)
ปัจจัยหนุนที่สำคัญได้แก่
บริการประมวลผลบนกลุ่มเมฆของไมโครซอฟท์ใต้แบรนด์ Azure (ตอนนี้มี Windows Azure กับ SQL Azure) เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้วใน 21 ประเทศ (ไม่มีประเทศไทย)
คำว่า "เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ" แปลว่าเริ่มเก็บเงินค่าใช้งานครับ จากเดิมที่ปล่อยให้ทดสอบฟรีกันมาได้สักระยะ ความเห็นของ Roger Jennings ผู้เชี่ยวชาญด้าน cloud computing ซึ่งลองเอาโปรแกรมไปรันค้างไว้บน Azure บอกว่าเขาได้ uptime 100% ติดต่อกันหลายสัปดาห์ แสดงว่ามีเสถียรภาพอยู่ตัวสำหรับใช้งานจริงได้แล้ว
ในลำดับถัดไป ไมโครซอฟท์จะเพิ่มเว็บเซอร์วิส Azure AppFabric สำหรับช่วยพัฒนาโปรแกรมบน Azure และเพิ่มฟีเจอร์อื่นๆ เช่น private cloud เข้ามา
ไมโครซอฟท์ปรับผังองค์กรในสายเซิร์ฟเวอร์ใหม่อีกครั้ง โดยโยกกลุ่ม Windows Server & Solutions มารวมกับ Windows Azure แล้วตั้งชื่อใหม่เป็น Server & Cloud Division
ปัจจุบันไมโครซอฟท์มีหน่วยย่อยภายในบริษัททั้งหมด 5 สาย (รายชื่อ) สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้นในสาย Server and Tools Business (STB) เท่านั้น ซึ่งภายในสายนี้แยกย่อยเป็น Tools (Visual Studio) และ Server & Cloud Division ที่เพิ่งตั้งใหม่ครั้งนี้
สำหรับ Server & Cloud Division ประกอบด้วยหน่วยงานเดิม 3 ส่วนคือ Azure Development, Azure Marketing และ Windows Server and Solutions
ตลาดบริการ cloud computing ในไต้หวันกำลังเติบโตเป็นอย่างมาก โดยทาง Market Intelligence & Consulting Institute หรือ MIC ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยตลาดที่มีชื่อเสียงได้วิเคราะห์ว่า ปีนี้ตลาด cloud computing ในไต้หวันจะโตขึ้น 12.8 เปอร์เซ็นหรือคิดเป็นรายได้ประมาณ 5.56 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน โดยแบ่งเป็นรายได้จากบริการประเภท Infrastructure-as-a-Service (IaaS) จำนวน 5.07 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน และรายได้จากบริการประเภท Software-as-a-Service (SaaS) จำนวน 487 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน
หลังจากปล่อยให้ Amazon ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาด cloud computing ได้ระยะหนึ่ง ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัวบริการ cloud ของตัวเองในชื่อ Windows Azure ซึ่งเปิดตัวในงาน Professional Developers Conference 2008 เมื่อปีที่แล้ว
ในงาน Professional Developers Conference 2009 ที่เพิ่งเริ่มไปเมื่อวันนี้ Ray Ozzie แห่งไมโครซอฟท์ก็ได้ประกาศแผนการในอนาคตของ Windows Azure ว่าจะเริ่มเปิดบริการเชิงพาณิชย์อย่างจริงจังในวันขึ้นทศวรรษใหม่ 1 มกราคม 2010
Amazon Web Services (AWS) หรือกลุ่มบริการ cloud computing จากอเมซอนกำลังขยายฐานของศูนย์ข้อมูลไปยังทวีปเอเชียภายในปีหน้า โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปีหน้า อเมซอนจะเปิด Availability Zone* ของบริการ AWS หลายแห่งในประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศแรก และหลังจากนั้น อเมซอนจะเพิ่ม Availability Zone ไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย
หลังจากที่ออกรุ่นเบต้าอยู่ได้ร่วมปี (ข่าวเก่า) วันนี้ Panda Cloud Antivirus ก็ได้หลุดจากสถานะเบต้ามาเป็นรุ่นจริงแล้วครับ
ทวนกันอีกที โปรแกรม Antivirus แจกฟรีตัวนี้นั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์กลุ่มเมฆของ Panda ในการสแกนไวรัส แต่เมื่ออยู่ในสถานะที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต ก็ยังปกป้องไวรัสที่ค้นพบใหม่ๆ ได้จากการเทียบกับฐานข้อมูลเล็กๆ ที่ดาวน์โหลดเอาไว้ครับ และเนื่องจากตัวสแกนจริงๆ อยู่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นตัวโปรแกรมฝั่งผู้ใช้จะกินทรัพยากรระบบน้อยกว่าโปรแกรมอื่นๆ ซึ่งจากการทดสอบของ CNET นั้นพบว่าใช้แรมเพียง 56 MB ขณะสแกน และ 9 MB ขณะที่เปิดไว้เฉยๆ (โปรแกรมอื่นๆ ขณะสแกนนั้นกินราวๆ 150 MB)
บริษัทไมโครซอฟท์ในไต้หวันฉลองครบรอบ 20 ปีด้วยการเซ็นสัญญากับรัฐบาลไต้หวัน เพื่อก่อตั้งศูนย์ cloud computing ในปีหน้าภายใต้ชื่อ "ศูนย์ความเป็นเลิศด้านซอฟต์แวร์และบริการ" ซึ่งจะเป็นศูนย์ cloud computing แห่งแรกในเอเชียของไมโครซอฟท์ โดยศูนย์ดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายให้บริษัทผู้พัฒนาคอมพิวเตอร์ของไต้หวัน สามารถทดสอบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของตนกับผลิตภัณฑ์และบริการ cloud computing ของไมโครซอฟท์ได้ ทั้งนี้ คุณสตีฟ บัลเมอร์ซีอีโอของไมโครซอฟท์ยังได้กล่าวว่า ศูนย์แห่งนี้จะสานความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างบริษัทในไต้หวันกับไมโครซอฟท์ที่มีมายาวนานกว่า 20 ปี
อเมซอนเปิดตัวบริการ cloud computing บริการใหม่ชื่อ Amazon Relational Database Service หรือ Amazon RDS ทั้งนี้ อเมซอนกล่าวว่า Amazon RDS จะเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าในการติดตั้งและดูแลระบบฐานข้อมูล MySQL อีกทั้งลูกค้ายังสามารถเข้าไปจัดการฐานข้อมูลได้โดยตรงเสมือนว่าลูกค้ามีเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล MySQL เป็นของตนเอง และเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลนี้ยังมีความยืดหยุ่นในการรองรับภาระการประมวลผลและขนาดข้อมูลที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ อีกทั้งรองรับการสำรองข้อมูลแบบอัตโนมัติอีกด้วย โดยค่าเช่าเวลาประมวลผลเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลของ Amazon RDS มีราคาเริ่มต้นที่ 0.11 เหรียญต่อชั่วโมง ซึ่งขณะนี้ Amazon RDS ยังเป็นเวอร์ชันเบต้าอยู่
ไม่มีใครรู้ว่ากูเกิลมีเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดกี่ตัว รายละเอียดเกือบทั้งหมดของ IDC ของกูเกิลเป็นความลับ แต่ในงานสัมมนาด้านระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่จัดโดย ACM วิศวกรของกูเกิล Jeff Dean ได้กล่าวถึง "Spanner" ซอฟต์แวร์สำหรับกระจายงานคำนวณและเก็บข้อมูลที่กูเกิลกำลังพัฒนาอยู่ จุดเด่นคือมันสามารถทำงานข้าม IDC ได้ด้วย
สิ่งที่น่าสนใจคือ Jeff Dean เล่าว่า Spanner ออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์จำนวน 1-10 ล้านเครื่อง และเป้าหมายสูงสุดของกูเกิลคือระบบคอมพิวเตอร์ที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลกเพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการส่งข้อมูล โดยที่มันสามารถจัดการตัวเองได้อย่างอัตโนมัติ
กระทรวงพลังงานสหรัฐฯหรือ DOE มีแผนจะทุ่มงบประมาณถึง 32 ล้านเหรียญสำหรับสร้างศูนย์ทดสอบและสาธิตระบบ cloud computing (หรือ cloud testbed) ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความคุ้มค่าของการใช้ cloud computing ในการประมวลผลซอฟต์แวร์ทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยโครงการนี้มีชื่อเรียกว่า Magellan และจะติดตั้งโปรเซสเซอร์ Intel Nehalem เข้าไปในระบบมากกว่าพันหน่วย