Margrethe Vestager ประธานกรรมาธิการต่อต้านการผูกขาดแห่งสหภาพยุโรป ที่ก่อนหน้านี้พูดถึงการเตรียมออกร่างกฎหมายให้ Apple ต้องอนุญาตให้มีแอปสโตร์อื่นนอกจากของ Apple เองบน iOS เพื่อให้การแข่งขันทางการค้าเป็นไปได้อย่างเท่าเทียมมากขึ้น
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) หน่วยงานบริหารของสหภาพยุโรป ประกาศเข้าสอบสวนพฤติกรรมของกูเกิล ว่ากีดกันบริษัทอื่นในการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ในการโฆษณาออนไลน์
EC ระบุว่ากูเกิลทำทุกอย่างในธุรกิจโฆษณาออนไลน์ ตั้งแต่การเก็บข้อมูลของผู้ใช้เพื่อโฆษณาแบบเจาะจง (targeted advertising) ไปจนถึงการขายพื้นที่โฆษณา
ข้อสงสัยของ EC คือธุรกิจโฆษณาแบบแสดงแบนเนอร์ (display ad คือไม่ใช่ search ad) ของกูเกิลเลือกปฏิบัติ หากเป็นโฆษณาของกูเกิลเองจะเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าเป็นโฆษณาของบริษัทอื่น (third party) จะเข้าไม่ถึงข้อมูลในระดับเดียวกัน
สหภาพยุโรปเริ่มโครงการใบรับรอง COVID-19 เป็นแบบแอปพลิเคชั่นและกระดาษพร้อม QR ใช้สำหรับยืนยันผล 3 ประเภท ได้แก่ การฉีดวัคซีน, ผลทดสอบ COVID-19 เป็นลบ, หรือเป็นผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้ว
หลักการโดยทั่วไปของใบรับรองนี้คือชาติสมาชิกสหภาพยุโรปจะไม่วางเงื่อนไขการเดินทางสำหรับผู้ถือใบรับรอง อย่างไรก็ดีแต่ละชาติอาจจะมีเงื่อนไขการยอมรับใบรับรองต่างกัน เช่น บางชาติอาจจะยอมให้เดินทางทันทีเมื่อฉีดเข็มแรก ขณะที่บางชาติจะมีเงื่อนไขต้องฉีดครบโดสเท่านั้น สำหรับรายการวัคซีนที่ยอมรับได้ ทุกชาติจะยอมรับวัคซีนในรายการ EU marketing authorisation เหมือนกันหมด แต่บางชาติอาจจะยอมรับวัคซีนตัวอื่นๆ เพิ่มเติม
คณะกรรมการยุโรป (European Commission หรือ EC) ร่วมกับคณะกรรมการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority หรือ CMA) ประกาศสอบสวน Facebook ว่าใช้ข้อมูลโฆษณาในระบบตัวเอง เพื่อเอาเปรียบคู่แข่งในตลาดที่ทับซ้อนกันหรือไม่
กรณีของ EC สนใจตลาดลงประกาศซื้อขายของบุคคลรายย่อย (classified ads) ที่ Facebook มีบริการ Facebook Marketplace มาแข่งกับเว็บลงประกาศซื้อขายรายอื่นๆ แต่เว็บลงประกาศเหล่านี้ก็ซื้อโฆษณาผ่านบริการ Facebook ที่เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คเช่นกัน ทำให้ EC สนใจว่า Facebook นำข้อมูลโฆษณาเหล่านี้มาเรียนรู้พฤติกรรมของคู่แข่ง แล้วพัฒนาให้ Facebook Marketplace ได้เปรียบกว่าหรือไม่
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ส่งจดหมายถึงแอปเปิล ให้รับทราบว่า EC ประเมินเบื้องต้น (preliminary view) ว่าแอปเปิลกีดกันการแข่งขันในตลาดเพลงสตรีมมิ่ง
มุมมองของ EC คือ แอปเปิลใช้เงื่อนไขเรื่อง in-app purchase (IAP) บน App Store ทำให้บริการ Apple Music ของตัวเองได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่งรายอื่นๆ
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้มาจากคำร้องเรียนของ Spotify ทำให้ EC เริ่มเข้ามาสอบสวนแอปเปิลในเดือนมิถุนายน 2020 และได้ข้อสรุป (เบื้องต้น) ว่าแอปเปิลกีดกันการแข่งขันจริง จากนโยบายบังคับ IAP ผ่าน App Store และห้ามนักพัฒนาแอพโฆษณาวิธีการจ่ายเงินทางอื่น
หน่วยงานกำกับดูแลในสหภาพยุโรปคือ European Commission และหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในสหรัฐคือ SEC ได้อนุมัติดีลไมโครซอฟท์ซื้อ ZeniMax บริษัทแม่ของ Bethesda เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ยังไม่ชัดเจนว่าไมโครซอฟท์ต้องผ่านด่านการอนุมัติซื้อกิจการจากหน่วยงานอื่นๆ หรือในประเทศอื่นๆ อีกแค่ไหน แต่ VentureBeat รายงานว่าไมโครซอฟท์มีกำหนดแถลงข่าวออนไลน์เรื่องนี้ในวันที่ 11 มีนาคมนี้ ซึ่งอาจเป็นประกาศว่ากระบวนการซื้อ ZeniMax เสร็จสมบูรณ์แล้ว
คณะนิติบัญญัติของสหภาพยุโรปที่ทำงานเกี่ยวกับร่างกฎระเบียบด้านดิจิทัลของยุโรป 2 ฉบับคือ Digital Services Act (DSA) และ Digital Markets Act (DMA) เผยกับ Financial Times เล็งจะนำร่างกฎหมายของออสเตรเลียหรือ News Media Bargaining Code กฎหมายจ่ายเงินให้สำนักข่าวที่แสดงเนื้อหาบนแพลตฟอร์มมาปรับใช้ด้วย
คณะกรรมการยุโรป European Commission (เปรียบได้กับรัฐบาลของสหภาพยุโรป) เปิดเผยสัญญาซื้อวัคซีนที่เซ็นกับ AstraZeneca ต่อสาธารณะ หลังมีปัญหา AstraZeneca ผลิตวัคซีนได้ไม่ทันตามที่เซ็นสัญญาเอาไว้ พร้อมทั้งอนุมัติวัคซีนของ AstraZeneca ให้ใช้งานได้ในยุโรปแล้ว
หน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของยุโรป หรือ European Consumer Organisation (BEUC) ออกมาเรียกร้องให้หน่วยงานที่มีอำนาจ เข้าสอบสวนกรณี Joy-Con Drift ของ Nintendo Switch หลังได้รับคำร้องเรียนจากผู้บริโภคในประเทศต่างๆ มากถึง 25,000 คำร้อง
ปัญหา Joy-Con Drift หรือ "จอยเดินเอง" เป็นปัญหาเรื้อรังของ Nintendo Switch มายาวนาน และก่อนหน้านี้ กลุ่มผู้บริโภคเคยรวมตัวกันฟ้องนินเทนโด กันมาแล้ว
BEUC ส่งคำร้องอย่างเป็นทางการไปยังคณะกรรมการยุโรป (European Commission) และหน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศสมาชิก ในเอกสารระบุสถิติปัญหา Joy-Con ว่า 88% เกิดขึ้นภายใน 2 ปีแรกหลังซื้อเครื่องมาใช้งาน
คณะกรรมาธิการยุโรปสั่งปรับผู้จัดจำหน่ายเกม 5 รายคือ Valve, Bandai Namco, Capcom, ZeniMax (บริษัทแม่ Bethesda), Koch Media (บริษัทแม่ Deep Silver ที่จัดจำหน่าย Metro Exodus) ฐานล็อกคีย์เกม ไม่ให้สามารถรีดีมหรือใช้งานได้ข้ามโซน (geofencing)
ทั้ง 5 รายถูกปรับเป็นเงินรวมกันราว 6 ล้านยูโรโดย Koch Media ถูกปรับเยอะสุด 2.88 ล้านยูโร โดยคณะกรรมาธิการยุโรปให้เหตุผลว่าแนวทางธุรกิจแบบนี้ เป็นการปิดกั้นการเข้าถึงสินค้าดิจิทัลของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area - EEA) ที่ควรจะเข้าถึงกันได้หมด (มองประเทศสมาชิกนับเป็นเหมือนประเทศเดียว เขตเศรษฐกิจเดียว)
คณะกรรมาธิการยุโรปออกกฎใหม่ Digital Markets Act เพื่อกำกับดูแลบริษัท tech เน้นเรื่องการใช้ข้อมูล, การผูกขาดกีดกันการค้า มีการวางกรอบสิ่งที่บริษัทควรทำและไม่ควรทำกว้างๆ และหากบริษัทไม่ทำตามจะมีโทษปรับสูง 10% ของมูลค่าการซื้อขายทั่วโลก โดยสหภาพยุโรปมองบริษัท tech เป็นผู้รักษาประตู (gatekeeper) ในตลาดดิจิทัล จึงต้องมีการออกกฎให้แน่ใจว่า ผู้รักษาประตูทำสิ่งที่ถูกต้องและยุติธรรมกับทุกคน
Cedric O และ Mona Keijzer รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลของฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ตามลำดับ ลงนามร่วมกันในข้อเรียกร้องไปยัง EU สำหรับการออกมาตรการในกฎหมาย Digital Services Acts ที่กำลังจะออก เพื่อควบคุมและจัดการบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เจ้าของแพลตฟอร์มที่มีลักษณะ "gatekeeper" หรือผู้ควบคุมการเข้าออก (สินค้า, บริการ, ข้อมูล ฯลฯ)
หลังสหภาพยุโรปบังคับใช้ GDPR กฎหมายความเป็นส่วนตัวและการปกป้องข้อมูลซึ่งค่อนข้างพลิกโฉมในแง่กฎหมายและการควบคุมเรื่องการรักษาข้อมูลของบริษัทเทคโนโลยีจากภาครัฐ ตอนนี้สหภาพยุโรปกำลังร่างกฎหมายอีกฉบับชื่อ Digital Services Act ที่จะเน้นเรื่องการแข่งขันและการให้บริการ
ตัวกฎหมายคาดว่าน่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นปีนี้ แต่หนึ่งในรายละเอียดร่างแรกที่หลุดออกมาก็ค่อนข้างเคี่ยวแล้ว เมื่อสหภาพยุโรปพยายามจะบีบไม่ให้บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ผูกขาดกับข้อมูลผู้บริโภคที่ตัวเองเก็บได้ และจะบังคับให้แบ่งปันข้อมูลกับบริษัทเล็กกว่าที่ทำธุรกิจแบบเดียวกัน ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถทำการค้ากับข้อมูลชุดนั้นได้
การควบรวมกิจการ Fitbit ของ Google น่าจะยืดเยื้อไม่น้อย หลังจากไม่กี่วันที่ผ่านมา Google ให้คำมั่นกับคณะกรรมาธิการยุโรปว่าจะไม่ใช้ข้อมูลจาก Fitbit ด้านการโฆษณา แต่ดูเหมือนทาง EU จะต้องการมากกว่านั้น
Financial Times รายงานว่าคณะกรรมาธิการยุโรปต้องการบีบให้ Google สัญญา (น่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรที่มีผลผูกมัดทางกฎหมาย) ว่าจะไม่นำข้อมูล Fitbit ไปส่งเสริมการโฆษณา รวมถึงต้องเปิดให้บริษัทภายนอก เข้าถึงข้อมูลได้เทียบเคียง Google (grant third parties equal access)
Slack ประกาศว่ายื่นคำร้องไปยังคณะกรรมการยุโรป (European Commission) ในประเด็นการแข่งขันไม่เป็นธรรมจาก Microsoft Teams ที่แถมพ่วงไปกับ Office ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่แล้ว จึงบิดเบือนโครงสร้างราคาและทำให้ Slack แข่งขันได้ยาก
Slack ระบุว่ามั่นใจในคุณภาพผลิตภัณฑ์ของตัวเอง แต่ยอมรับพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายไม่ได้ ไมโครซอฟท์ทำผลิตภัณฑ์เลียนแบบ Slack แล้วนำไปผูกกับ Office ซึ่งเป็นพฤติกรรมแบบเดียวกับที่เคยใช้ตอนทำ IE แล้วพ่วงไปกับ Windows
ขั้นต่อไปคือ European Commission จะรับคำร้องเรียนของ Slack ไปพิจารณาว่าจะสอบสวนไมโครซอฟท์อย่างเป็นทางการหรือไม่
หลังจากประกาศเข้าซื้อกิจการไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว แต่กระบวนการยังไม่สิ้นสุดเพราะต้องรอการรับรองจากหลายประเทศ
ล่าสุด Google ยืนยันกับคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ว่าจะไม่ใช้ข้อมูลข้อมูลสุขภาพที่ได้จาก Fitbit ในการยิงโฆษณา ด้วยหวังว่าจะได้รับการรับรองการซื้อกิจการ Fitbit สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ที่ทาง EU ได้ส่งแบบสอบถาม 60 ข้อเกี่ยวกับผลกระทบจากการซื้อขายไปยัง Google เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
โฆษกของ Google เผยว่า การซื้อขายในครั้งนี้ บริษัทให้ความสำคัญกับตัวอุปกรณ์มากกว่าข้อมูล และยินดีที่ได้ชี้แจงกับทางคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าทางบริษัทจะไม่ใช่ข้อมูลที่ได้จาก Fitbit เพื่อการโฆษณา
สหภาพยุโรปเพิ่งผ่านร่างแก้ไขกฎหมายว่าด้วยความเป็นธรรมและความโปร่งใสต่อบริการแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ช่วยลดอำนาจของเจ้าของแพลตฟอร์มแอปสโตร์อย่าง Apple, Google เหนือนักพัฒนาแอปลง โดยการแก้ไขกฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ราวฤดูใบไม้ร่วงนี้ (ช่วงเดือนกันยายนเป็นต้นไป)
ใจความหลัก ๆ ของการแก้ไขกฎหมายนี้ก็มี
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมการยุโรป (European Commission หรือ EC) หน่วยงานรัฐบาลของสหภาพยุโรป (EU) ประกาศเริ่มสอบสวนแอปเปิลอย่างเป็นทางการ ในข้อหา "ผูกขาด" แยกเป็น 2 กรณีคือ App Store และ Apple Pay
กรณีของ App Store เริ่มมาจากเรื่องร้องเรียนของ Spotify และผู้ให้บริการอีบุ๊กอีกราย (ที่ EC ไม่ได้ระบุชื่อ) ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงกับแอปเปิลในบริการ Apple Music และ Apple Books
ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ เงื่อนไขการหักส่วนแบ่งรายได้ 30% เมื่อจ่ายเงินสมัครบริการผ่าน in-app purchase (IAP) และเงื่อนไขที่แอปเปิลห้ามไม่ให้มีลิงก์หรือข้อความชวนไปจ่ายเงินนอกแอพ
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission - EC) ออกแนวทางการสร้างระบบติดตามผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19 หรือ contact tracing ที่ประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงกูเกิลและแอปเปิลที่กำลังออก API กลางให้ทุกประเทศใช้งานได้
แนวทางการใช้งานแอป contact tracing มีดังนี้
ต่อจากข่าว ยุโรปเตรียมเสนอใช้พอร์ต USB-C เป็นสายชาร์จมาตรฐาน
เมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา รัฐสภายุโรป (European Parliament) ได้ลงมติโหวตให้คณะกรรมการยุโรป (European Commission) เดินหน้าผลักดันให้เกิดมาตรฐานสายชาร์จ ด้วยคะแนนเห็นด้วย 582 เสียง, ไม่เห็นด้วย 40 เสียง, งดออกเสียง 37
มติของรัฐสภาระบุให้คณะกรรมการยุโรป ออกคำสั่งบังคับใช้เรื่องนี้ภายในเดือนกรกฎาคม 2020 และนอกจากเรื่องมาตรฐานสายชาร์จ รัฐสภายังเรียกร้องให้คณะกรรมการยุโรปผลักดันเรื่อง
สืบเนื่องจากที่คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) จะเสนอมาตรการให้สายชาร์จมือถือมีมาตรฐานเดียว เพื่อลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถ้าหากดูสายชาร์จในท้องตลาดปัจจุบันก็แบ่งได้เป็น Micro USB, USB-C สำหรับ Android และ Lightning ของแอปเปิล ประกาศนี้ผู้ที่น่าจะกระทบหนักที่สุดคงเป็นแอปเปิล ล่าสุดมีท่าทีจากแอปเปิลออกมาแล้ว
โดยแอปเปิลออกแถลงการณ์ว่าข้อกำหนดนี้จะเป็นการหยุดนวัตกรรม มากกว่าส่งเสริมให้เกิดสิ่งใหม่ รวมทั้งส่งผลเสียกับลูกค้าและเศรษฐกิจของยุโรปด้วย อย่างไรก็ตามแอปเปิลเองก็ระบุเพิ่มเติมว่าการบังคับใช้นั้นที่จริงไม่จำเป็น เพราะภาพรวมอุตสาหกรรมก็เปลี่ยนมาใช้ USB-C เป็นสายชาร์จมากขึ้นอยู่แล้ว
เราเห็น ความเคลื่อนไหวจากฝั่งยุโรปที่ต้องการสร้างที่ชาร์จมือถือมาตรฐานเดียว มาได้สักพักใหญ่ๆ แต่ยังไม่เห็นผลมากนัก เพราะเป็นการเรียกร้องให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ "สมัครใจ" ใช้งาน
ล่าสุดคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission เทียบได้กับรัฐบาลกลางของยุโรป) เตรียมเสนอมาตรการที่เข้มขึ้นในการบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม สถานะของโครงการนี้เพิ่งเริ่มหารือกันในที่ประชุมรัฐสภา และต้องรอโหวตจากรัฐสภายุโรปที่ยังไม่ระบุวันชัดเจน
แอปเปิลได้เริ่มกระบวนการให้การต่อศาลอุทธรณ์แล้ว จากเหตุคณะกรรมาธิการยุโรปสั่งให้แอปเปิล จ่ายเงินภาษีคืนกับไอร์แลนด์มูลค่ากว่า 1.44 หมื่นล้านดอลลาร์ เนื่องจากมีการเลี่ยงภาษี โดยคำตัดสินชั้นต้นนั้นเกิดในปี 2016 แต่แอปเปิลได้อุทธรณ์ (อ่านรายละเอียดเดิมได้ที่นี่)
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา Google ประกาศว่าจะให้ผู้ใช้งานแอนดรอยด์ในยุโรปเลือกเบราว์เซอร์และเสิร์ชเอนจิน เพื่อแก้ปัญหาการถูกตัดสินว่าผูกขาด
ล่าสุด Google อัพเดตรายละเอียดเพิ่มเติมว่าจะให้ผู้ใช้เลือกผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจินตั้งแต่ในขั้นตอนการตั้งค่าหลังเปิดเครื่องครั้งแรกหรือรีเซ็ตเครื่องใหม่ ซึ่งจะมีผลเป็นเสิร์ชเอนจินตัวตั้งต้น ทั้งจากการเสิร์ชในหน้าโฮมและใน Chrome (ถ้าติดตั้ง)
เมื่อเดือนมีนาคม คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เสนอกฎหมายที่ว่าด้วยโปรโตคอลที่รถยนต์จะใช้สื่อสารระหว่างกัน และสื่อสารกับโครงสร้างสาธารณะต่างๆ ก่อนที่จะถูกบริษัทอย่าง Qualcomm, BMW และ Deutsche Telekom ร่วมกันยื่นเรื่องคัดค้าน
เหตุผลของทั้ง 3 บริษัทคือ Wi-Fi ประสิทธิภาพด้อยกว่า รวมถึงว่าไม่ต้องการจะลงทุนในเทคโนโลยีที่รู้ว่าไปไม่รอดแน่ๆ ในระยะยาว เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีที่กำลังจะมาและประสิทธิภาพดีกว่าอย่าง 5G ซึ่งล่าสุดคณะสมาชิกสภายุโรปยอมวีโต้ข้อเสนอนี้แล้ว และทำให้คณะกรรมาธิการยุโรปต้องกลับไปพิจารณาข้อเสนอใหม่ โดยจะต้องรอการรับรองโหวตจากสมาชิกอย่างเป็นทางการอีกครั้งในสัปดาห์หน้า