Financial Times รายงานอ้างอิงคนภายในภาครัฐว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีคำสั่งให้หน่วยงานภาครัฐทั้งหมด ให้เลิกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์ของตะวันตกทั้งหมดภายใน 3 ปี
กฎหมายนี้พรรคคอมมิวนิสต์ประกาศอย่างลับ ๆ ตั้งแต่ต้นปีแล้ว ขณะที่กรอบเวลาในการเปลี่ยนแปลงจะเป็นยุทธศาสตร์ 3-5-2 คือเปลี่ยน 30% แรกภายในปี 2020, อีก 50% (เป็น 80%) ภายในปี 2021 และ 20% สุดท้ายภายในปี 2022
นักวิเคราะห์จาก China Securities คาดว่าจะมีฮาร์ดแวร์ราว 20-30 ล้านชิ้นที่ถูกเปลี่ยน ขณะที่นักวิเคราะห์อีกส่วนก็เห็นว่าความยากจะอยู่ที่การเปลี่ยนซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน เพราะซอฟต์แวร์เวนเดอร์ส่วนใหญ่พัฒนาโซลูชันให้รองรับระบบปฏิบัติการณ์ของตะวันตกเสียส่วนใหญ่
สรรพากรออสเตรเลีย (Australian Taxation Office - ATO) ผู้รับผิดชอบโครงสร้างยืนยันตัวตนประชาชนออนไลน์เตรียมปล่อยแอป myGovID แอปพลิเคชั่นสำหรับยืนยันตัวตนออนไลน์บนแอนดรอยด์เดือนตุลาคมนี้ หลังจากปล่อยเวอร์ชั่น iOS มาตั้งแต่กลางปี
myGovID เป็นระบบล็อกอินกลางสำหรับบริการภาครัฐ ที่อัพเกรดจากระบบ AUSkey เดิมของรัฐบาลออสเตรเลียที่เป็นแอปเดสก์ทอปและพัฒนาด้วยจาวา โดยระบบใหม่จะเป็นแอปบนโทรศัพท์มือถือ ส่วน AUSkey นั้นมีกำหนดปิดบริการในปี 2020 ส่วนระบบบริการประชาชนออนไลน์อีกส่วนคือ myGov ที่ให้บริการ อื่นๆ เช่น การค้นหางาน, ขอข้อมูลสุขภาพ น่าจะนำมารวมกันได้หลังจาก myGovID เปิดบริการจริง
ที่งาน AWS Public Sector Summit ที่สิงคโปร์ Tan Kok Yam รองเลขาธิการสำนักงานโครงการ Smart Nation และรัฐบาลดิจิตอลของสิงคโปร์ บรรยายถึงการใช้งานคลาวด์เพื่อสร้างบริการให้กับผู้ใช้ซึ่งมีทั้งประชาชนและบริษัท พร้อมกับเปิดเผยแผนการเปิดบริการใหม่ภายในปี 2020
จากปัญหาการเลือกตั้งเมื่อปี 2016 ที่มีข่าวว่าถูกแทรกแซงจากต่างประเทศ การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้า รัฐบาลสหรัฐเลยพยายามหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ ด้วยการเชิญตัวแทนจากบริษัทไอทีทั้ง Facebook, Google, Twitter และ Microsoft ไปจนถึงหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้ง FBI, หน่วยข่าวกรองแห่งชาติและกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ
สถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีนสหรัฐยังคงตึงเครียดต่อไป โดยเฉพาะล่าสุดที่รัฐบาลจีนสั่งระงับการสั่งซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐ ซึ่งรัฐบาลทรัมป์อ้างว่าจีนผิดคำพูดที่สัญญาเอาไว้จากการประชุมทวิภาคีรอบล่าสุด
หนึ่งในมาตรการตอบโต้ นอกจากเรื่องกำแพงภาษีแล้วยังคงเกี่ยวข้องกับ Huawei ที่เป็นหนึ่งในหมากบนกระดานสงครามครั้งนี้ โดย Wilbur Ross รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ออกมาเปิดเผยว่าว่าสัปดาห์ที่ผ่านมามีบริษัทสหรัฐยื่นคำขอเข้ามาเพื่อดำเนินธุรกิจกับ Huawei กว่า 50 คำร้อง ทว่ากระบวนการตัดสินใจให้ใบอนุญาตตอนนี้ถูกระงับเอาไว้ก่อน จากความตึงเครียดที่กลับมาเพิ่มขึ้นครั้งนี้
ตำรวจสิงคโปร์ประกาศเปิดตัวสถานีตำรวจย่อย (neighbourhood police posts - NPP) ปรับปรุงใหม่เป็นตู้ kiosk อัตโนมัติ ทำให้สามารถทำธุรกรรมพื้นฐานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยโครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2013 และตอนนี้ก็ปรับปรุงไปแล้ว 21 สถานี
บริการจากตู้ kiosk นี้สามารถให้บริการหลักๆ ได้ เช่น ส่งคืนของหายที่พบ (มีตู้ dropbox ให้ใส่ของ), แจ้งความแบบไม่เร่งด่วน, จ่ายค่าปรับจราจร, โต้แย้งใบสั่งจราจร, สมัครใบขับขี่, แจ้งปัญหาการใช้งานท้องถนน, ขอใบรับรองประวัติอาชญากรรม สำหรับเจ้าหน้าที่สามารถเข้ามาล็อกอินขอดูหมายจับได้ด้วย
update: คำชี้แจงเพิ่มเติมจากไมโครซอฟท์ประเทศไทย ระบุกรณีของไทยไม่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐ
กรรมการกำกับหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) ประกาศปรับไมโครซอฟท์รวมกว่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการทำผิดกฎหมายต่อต้านการคอรัปชั่นในต่างประเทศ (Foreign Corrupt Practices Act - FCPA) โดยมีระบุถึงการพาเที่ยวอย่างไม่เหมาะสมและการให้ของขวัญ แก่เจ้าหน้าที่รัฐและลูกค้าเอกชนในไทยด้วย
คดีแบ่งออกเป็นสามส่วนได้แก่
เป็นประเด็นขัดแย้งมานาน กับโปรเจ็ค Dragonfly เสิร์ชเอนจินที่ Google จะทำในจีนโดยมีรัฐบาลควบคุม ล่าสุดในการให้การกับรัฐสภาเรื่องการผูกขาดของบริษัทไอที ผู้บริหารระดับสูงของ Google ยืนยันแล้วว่าโปรเจ็คดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้ว
หลังจากนั้นไม่นาน Donald Trump ปธน. ทวีตอ้างอิงคำพูดของ Peter Thiel ผู้ร่วมก่อตั้ง PayPal ที่บอกว่า Google ควรถูกสอบสวนฐานกบฏ จากการไปทำงานร่วมกับรัฐบาลจีนแทนที่จะเป็นกองทัพสหรัฐ โดยรัฐบาลจะเข้ามาดูเรื่องนี้ด้วย
หลังการเจรจาทวิภาคีที่การประชุม G20 จะเป็นไปในทางบวก ซึ่งเบื้องต้นรัฐบาลสหรัฐระบุว่าบริษัทสหรัฐสามารถทำธุรกิจกับ Huawei เฉพาะสินค้าที่วางขายทั่วโลกและ Huawei จะยังคงอยู่ใน Entity List ของกระทรวงพาณิชย์ที่บริษัทสหรัฐจะต้องขออนุมัติก่อนทำธุรกิจทุกครั้ง
ล่าสุด Wilbur Ross รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ออกมายืนยันอีกครั้งว่า Huawei จะยังคงอยู่ใน Entity List เช่นเดิม พร้อมชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมสืบเนื่องจากการประชุม G20 ว่ากระทรวงพาณิชย์จะอนุมัติให้บริษัทสหรัฐทำการค้ากับ Huawei เฉพาะกรณีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศเท่านั้น (ซึ่งก็น่าจะหนีไม่พ้นเรื่อง 5G)
เมื่อวานนี้ Donald Trump แถลงหลังการเจรจาทวิภาคีกับจีนในการประชุม G20 ว่าอนุญาตให้บริษัทสหรัฐกลับมาทำธุรกิจกับ Huawei แล้ว แต่ก็ไม่ได้ให้ความกระจ่างว่าแค่ไหนอย่างไร รวมถึงสถานะของ Huawei ที่อยู่ใน Entity List
ล่าสุด Larry Kudlow ประธานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติของสหรัฐให้ความกระจ่างเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการยืนยันกับ Fox News ว่ากระทรวงพาณิชย์จะอนุญาตให้ทำการค้าเฉพาะสินค้าที่วางขายทั่วโลก (general availability) และไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง อย่างเช่นไมโครชิปหรือบริการด้านเทคโนโลยี ขณะที่อุปกรณ์หรือสินค้าที่มีความอ่อนไหวด้านความมั่นคงจะไม่เข้าเกณฑ์นี้ด้วย
หลังเป็นประเด็นและสร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่จากคำสั่งประธานาธิบดี ที่ห้ามบริษัทอเมริกันทำธุรกิจกับบริษัทที่อาจเป็นภัยกับความมั่นคง ซึ่งแน่นอนว่าหวยลงที่ Huawei
ล่าสุดจากการเจรจาทวิภาคีระหว่างสหรัฐและจีนในการประชุม G20 ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นไปในทางบวก ซึ่งไม่เพียงลดความตึงเครียดของสงครามการค้าเท่านั้น Trump ยังตอบคำถามสื่อหลังการเจรจาด้วยว่ารัฐบาลสหรัฐจะกลับมาอนุญาตให้บริษัทอเมริกันส่งสินค้าให้กับ Huawei อีกครั้งแล้ว แต่ก็ยังคงกังวลเรื่องประเด็นความปลอดภัยและความมั่นคงอยู่ (Huawei ยังคงอยู่ใน Entity List) ซึ่งรัฐบาลสหรัฐจะพูดคุยหาทางออกประเด็นนี้ต่อไป Trump ก็ไม่ได้บอกชัดเจนว่าจะนำ Huawei ออกจาก Entity List นอกจากเพียงว่าจะกลับไปพูดคุยหาทางออกต่อไป
เมื่อมีภัยร่วมก็ไม่น่าแปลกหาก 3 ก๊กแห่งอุตสาหกรรมเกมอย่าง Sony, Nintendo และ Microsoft จะร่วมมือกัน อย่างล่าสุดจากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน จนส่งผลกระทบแม้กระทั่งกับอุตสาหกรรมเกมจากการขึ้นภาษี
Sony Interactive Entertainment, Nintendo America และ Microsoft ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกความยาว 7 หน้าไปยังสำนักงานผู้แทนการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา แสดงความกังวลและไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการกำหนดสินค้าประเภทเกมคอนโซลเข้าไปในรายการสินค้าที่จะถูกเก็บภาษี 25% หากนำเข้าจากจีน
ทั้งสามบริษัทระบุว่าต้นทุนภาษีดังกล่าว สุดท้ายแล้วจะกลับมาทำร้ายชาวอเมริกันเอง ทั้งผู้บริโภค, นักพัฒนาเกม, ร้านค้าไปจนถึงผู้ผลิต รวมถึงจะส่งผลให้ชาวอเมริกันตกงานจำนวนมากด้วย (อ่านรายละเอียดเต็มๆ ได้ท้ายข่าว)
เดือนที่แล้ว ปธน. สหรัฐออกคำสั่งบริหาร ห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารที่อาจเป็นภัยความมั่นคง ซึ่งแน่นอนว่าเป้าหมายหลักคือจีน ล่าสุด Wall Street Journal รายงานอ้างอิงแหล่งข่าววงในว่ารัฐบาลกำลังพิจารณา บังคับให้อุปกรณ์ 5G ที่จะใช้งานในประเทศทั้งหมดต้องไม่ถูกผลิตในจีนด้วย
Wall Street Journal ระบุว่ารัฐบาลได้เข้าไปพูดคุยกับกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม ว่าสามารถพัฒนาและเข้ามาผลิตในสหรัฐเข้ามาได้หรือไม่ ขณะที่แนวคิดนี้ผุดขึ้นมาในฐานะส่วนหนึ่งของกระบวนการร่างกฎระเบียบและไกด์ไลน์ที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งประธานาธิบดีภายใน 150 วัน อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ยังไม่ใช่แนวคิดอย่างเป็นทางการและเพิ่งเริ่มพูดคุยเท่านั้น
การเปิดตัวเงินคริปโตสกุล Libra ที่นำโดย Facebook ถูกจับตาจากหน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศ
ล่าสุดกลุ่มประเทศ G7 ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก (ไม่รวมจีนและรัสเซีย) ประกาศตั้งคณะทำงานร่วม โดยมีตัวแทนจากธนาคารกลางของประเทศต่างๆ เพื่อศึกษาเรื่องการกำกับดูแลเงินแบบ Libra ที่เป็น stable coin แล้ว
คณะทำงานนี้ริเริ่มโดย Francois Villeroy de Galhau ผู้ว่าการธนาคารกลางของฝรั่งเศส ส่วนประธานจะเป็น Benoit Coeure หนึ่งในบอร์ดของธนาคารกลางแห่งยุโรป (European Central Bank หรือ ECB)
ต่อจากข่าว หน่วยงานรัฐหลายประเทศสั่งตรวจสอบโครงการเงินคริปโต Libra ของ Facebook ล่าสุดคณะกรรมาธิการด้านธนาคารของวุฒิสภาสหรัฐ (U.S. Senate Banking Committee) เรียกตัวแทนของ Facebook เข้าให้การแล้ว มีนัดหมายกันวันที่ 16 กรกฎาคมนี้
คาดว่า David Marcus หัวหน้าทีม blockchain ของ Facebook จะเป็นคนที่เข้ามาให้การ แต่ตอนนี้ยังไม่คำยืนยันจาก Facebook ว่าจะส่งใครมากันแน่
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการด้านการเงินของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ (House Financial Services Committee) ก็มีแผนจะเรียกผู้บริหารของ Facebook เข้ามาให้การในลักษณะเดียวกัน
หลังประกาศคำสั่งประธานาธิบดีของสหรัฐที่ส่งผลให้บริษัทสัญชาติอเมริกันไม่สามารถทำธุรกิจกับ Huawei ได้ จนอาจส่งผลกระทบในหลายๆ ด้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลกระทบในระยะกลางและระยะยาวมากกว่า อย่างไรก็ตามผลกระทบในระยะสั้นที่สุดของ Huawei คือเรื่องของความเชื่อมั่นในแบรนด์ และดูเหมือนว่าจะกระทบไม่น้อยเสียด้วย
Ren Zhengfei ผู้ก่อตั้ง Huawei ที่ระยะหลังปรากฎตัวต่อสื่อมากขึ้นได้ให้สัมภาษณ์กับ China Global Television Network ยอมรับว่าบริษัทคาดว่าน่าจะสูญเสียรายได้ราวๆ 3 หมื่นล้านเหรียญภายใน 2 ปีข้างหน้า จากมาตรการครั้งนี้ของรัฐบาลสหรัฐ ขณะเดียวกันยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลกก็น่าจะหายไปไม่เกิน 40% ด้วย เรียกได้ว่าเป้าหมายของการแซงซัมซุงเป็นเบอร์ 1 ถูกดับไปดื้อๆ
Reuters รายงานอ้างอิงคนที่เกี่ยวข้องว่าผู้ผลิตชิปในสหรัฐที่เคยเป็นซัพพลายเออร์ให้ Huawei ซึ่งรวมถึง Qualcomm และ Intel ได้เจรจาพูดคุยและล็อบบี้กระทรวงพาณิชย์ให้ผ่อนปรนมาตรการแบน Huawei
บริษัทอ้างว่าผลิตภัณฑ์อย่างสมาร์ทโฟน, โน้ตบุ๊คหรือเซิร์ฟเวอร์โดยปกติใช้ชิ้นส่วนที่มีการใช้งานกันทั่วไปอยู่แล้ว และไม่น่าจะสร้างปัญหาด้านความมั่นคงเหมือนกรณีอุปกรณ์ 5G โดยการโต้แย้งครั้งนี้จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อช่วย Huawei แต่เพื่่อช่วยบริษัทและคนอเมริกัน
Financial Times รายงานว่า Google ได้ยื่นเรื่องไปยังรัฐบาลสหรัฐจากกรณีที่ต้องหยุดทำธุรกิจกับ Huawei โดยอ้างว่าการทำเช่นนี้อาจส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศมากกว่าที่คิด
Google อ้างว่าการไม่อนุญาตให้ Huawei ใช้แบรนด์แอนดรอยด์รวมถึงบริการของ Google เป็นการบังคับให้ Huawei ต้อง fork ตัวแอนดรอยด์ออกไปทำเอง ซึ่งจะมีความเสี่ยงที่จะถูกแฮกมากกว่า
ตอนนี้รัฐบาลเกาหลีใต้โดยกระทรวงมหาดไทยและความปลอดภัยได้เริ่มร่างแผนการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลจาก Windows ไปใช้ Linux ซึ่งทางหน่วยงานจะทดสอบการใช้งาน Linux บนเครื่องพีซี หากไม่มีปัญหาสำคัญด้านความปลอดภัยหรือความเข้ากันได้ ก็จะทยอยให้หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ใช้งานต่อไป
การที่รัฐบาลเกาหลีใต้เริ่มแผนการใช้งาน Linux ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกนัก เนื่องจาก Windows 7 กำลังจะหมดซัพพอร์ตทางเทคนิคแบบฟรีในเดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งหากจะจ่ายเงินเพื่อต่ออายุซัพพอร์ตให้เครื่องจำนวนมากจะมีค่าใช้จ่ายสูง
ประธานาธิบดีทรัมป์ออกประกาศภาวะฉุกเฉินด้านความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมลงนามในคำสั่งบริหาร สั่งห้ามไม่ให้บริษัทสัญชาติอเมริกัน ใช้งานอุปกรณ์สื่อสารจากบริษัทที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ซึ่งคำสั่งนี้น่าจะพุ่งเป้าไปที่บริษัทสัญชาติจีน โดยเฉพาะ Huawei ที่กำลังมีปัญหากันอยู่
หลังจากนี้ภายใน 150 วัน กระทรวงพาณิชย์จะร่างกฎระเบียบและไกด์ไลน์ในการสกัดกันไม่ให้บริษัทสื่อสารสัญชาติจีนเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีบทบาทใดๆ กับบริษัทสหรัฐ นอกจากนี้ Huawei ยังถูกเพิ่มไปในรายชื่อ Entity List ของ Bureau of Industry and Security (BIS) สังกัดกระทรวงพาณิชย์ด้วย ซึ่งเท่ากับว่าหากบริษัทสหรัฐจะขายสินค้าใดๆ ให้ Huawei ต้องได้รับการรับรองจาก BIS ก่อนด้วย
สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสิงคโปร์ (Immigration and Checkpoints Authority - ICA) ประกาศแผนการให้บริการประชาชนเพิ่มเติม โดยเตรียมให้ประชาชนรับเอกสารสำคัญ เช่น หนังสือเดินทาง, บัตรประชาชน, หรือเอกสารอื่นได้ทางช่องบริการอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง ภายในปี 2023 หลังจากอาคารศูนย์บริการแห่งใหม่สร้างเสร็จ
ก่อนหน้านี้ ICA ประกาศให้บริการหลักต้องยื่นแบบออนไลน์ได้ทั้งหมด คิดเป็นบริการ 99% ที่ ICA ให้บริการ แผนการสำหรับอาคารใหม่คือนอกจากการยื่นขอบริการจะทำออนไลน์ได้แล้ว ตัวศูนย์บริการก็จะใช้เทคโนโลยีมาตรวจสอบคนรับเอกสารเป็นหลักเช่นกัน
Theresa May นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ยื่นหนังสือไล่นาย Gavin Williamson ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม หลังถูกกล่าวหาว่าทำข้อมูลเกี่ยวกับแผนการพัฒนา 5G ของรัฐบาลโดย Huawei หลุดออกไป
ด้านนาย Williamson ยืนยันว่าตนเองไม่ได้เป็นคนทำข้อมูลดังกล่าวหลุดออกไป พร้อมสาบานด้วยลูกสาวของตนเอง เขาชี้ด้วยว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นครั้งนี้เกิดจากความบาดหมางภายในคณะรัฐมนตรีและตนเองเป็นเหยื่อของศาลเตี้ย โดยก่อนหน้านี้ May ให้โอกาสเขาเลือกที่จะลาออกด้วยตัวเอง แต่เจ้าตัวปฏิเสธ เพราะเท่ากับเป็นการยอมรับข้อกล่าวหานี้
การบีบไม่ให้ประเทศพันธมิตรใช้งานอุปกรณ์ Huawei ของรัฐบาลสหรัฐเริ่มจริงจังและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดคืออาจจะไม่แบ่งปันข้อมูลหรือข่าวกรองกับประเทศพันธมิตรเหล่านันเลย จากการเปิดเผยของรองผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายนโยบายสารสนเทศ, การสื่อสารและไซเบอร์
รองผู้ช่วยรัฐมนตรีระบุว่า จุดยืนของรัฐบาลสหรัฐคือ ทำให้บริษัทที่ขายอุปกรณ์ 5G ที่ไม่น่าเชื่อถืออย่าง Huawei หรือเจ้าอื่นๆ อยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก และหากประเทศไหนที่ให้บริษัทเหล่านี้ดูแลอุปกรณ์ 5G ภายในประเทศ รัฐบาลสหรัฐก็จะต้องประเมินกระบวนการแบ่งปันข้อมูลกับประเทศเหล่านี้
ระบบตรวจคนเข้าเมืองของสหรัฐอเมริกาได้รับการออกแบบมาเพื่อติดตามผู้ที่เข้ามาในประเทศ แต่ล่าสุดเตรียมยกระดับใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าติดตามคนที่ออกนอกประเทศรวมถึงคนที่อยู่เกินระยะเวลาวีซ่าด้วย
โดยการทำงานของระบบคือ ผู้เดินทางถ่ายรูปสแกนใบหน้าก่อนจะขึ้นเครื่อง รูปเหล่านั้นก็จะใช่ระบุตัวตนควบคู่กับรูปในหนังสือเดินทางและวีซ่าเข้าสหรัฐฯ และถ้าข้อมูลไม่ตรงกันก็จะถูกหน่วยงานป้องกันชายแดนและศุลกากรสหรัฐฯหรือ CBP ตรวจสอบ โดย CBP ระบุว่าระบบจดจำใบหน้าจะสามารถสแกนผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ได้ 97% ภายใน 4 ปี
หลังหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐออกมาเตือนเรื่องการสอดแนมของ Huawei จนกระทั่งรัฐบาลรับลูกต่อออกคำสั่งแบนการใช้งานอุปกรณ์ Huawei ลามไปรัฐบาลประเทศพันธมิตร
ล่าสุด Huawei เดินเกมโต้กลับด้วยการยื่นฟ้องรัฐบาลสหรัฐแล้วที่ศาลแขวงเมือง Plano รัฐ Texas ที่ Huawei ไปตั้งสำนักงานใหญ่ โดยระบุว่าคำสั่งแบนของรัฐบาลผิดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นคำสั่งลงโทษ โดยที่ยังไม่มีการไต่สวนในชั้นศาลเลย ด้าน Guo Ping ประธาน Huawei ให้ความเห็นว่าบริษัทไม่มีทางเลือกแล้ว หลังจากพยายามเจรจาพูดคุยกับหน่วยงานรัฐของสหรัฐมาตลอด