สินค้าใหม่ของอินเทลที่เปิดตัวในงาน CES 2019 คือ ซีพียู Core 9th Gen เดสก์ท็อปชุดใหม่ โดยมีซีพียูที่ห้อยรหัส F ที่ปิดการทำงานของจีพียู UHD 630 มาขายคู่กับซีพียูที่ไม่มี F และเปิดใช้ซีพียูตามปกติ
ล่าสุดมีราคาจากอินเทลออกมาแล้วว่า ซีพียูแบบห้อย F กับไม่ห้อย F นั้นคิดราคาเท่ากัน
ตัวอย่างคือตัวท็อปสุด Core i9-9900K ที่ออกในเดือนตุลาคม 2018 มีราคาขายปลีกที่แนะนำ (Recommended Customer Pricing) อยู่ที่ 488 ดอลลาร์ ส่วน Core i9-9900KF ที่เปิดตัวมาในรอบนี้ ก็มีราคา 488 ดอลลาร์เท่ากัน
Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ให้สัมภาษณ์สื่อ และวิจารณ์ Radeon VII จีพียูตัวใหม่จากคู่แข่ง ว่าประสิทธิภาพ "อ่อนด้อย" (เขาใช้คำว่า lousy) และจะถูก GeForce RTX 2080 บดขยี้ในการแข่งเบนช์มาร์ค
ฝั่งของ Lisa Su ซีอีโอ AMD ก็ตอบกลับเพียงว่า Huang คงยังไม่ได้เห็นผลิตภัณฑ์ของจริง และเธอจะไม่ตอบโต้ใดๆ เพราะไม่ใช่แนวทางของเธอ
Su พูดถึงประเด็นว่าจีพียู Radeon VII ยังไม่มีเทคโนโลยี Ray Tracing ที่เป็นจุดขายของฝั่ง NVIDIA ว่าเกมจำนวนมากยังไม่ซัพพอร์ตเทคโนโลยีนี้ และตอนนี้คอนซูเมอร์ที่ซื้อการ์ดไปก็ยังไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก
AMD ค่ายผู้ผลิตซีพียูและจีพียูที่มีชื่อเล่นในวงการว่า “ค่ายแดง” เปิดตัวจีพียูรุ่นใหม่ในชื่อ Radeon VII ในงาน CES 2019 ที่มีข้อมูลน่าสนใจหลายมุม ขออนุญาตไล่เรียงดังนี้:
อีกข่าวที่หลายคนรอคอยคือ NVIDIA ประกาศออกจีพียู GeForce RTX ซีรีส์ 2000 สำหรับโน้ตบุ๊กเกมมิ่ง โดยจะมีครบไลน์ทั้ง GeForce RTX 2060, 2070, 2080
NVIDIA บอกว่า GeForce RTX สำหรับโน้ตบุ๊กมีกำหนดออกวันที่ 29 มกราคม และมีโน้ตบุ๊กเกมมิ่งรอเปิดตัวมากกว่า 40 รุ่น ในจำนวนนี้มีโน้ตบุ๊กดีไซน์บางเบา Max-Q 16 รุ่น
ฟีเจอร์ของ GeForce RTX สำหรับโน้ตบุ๊กที่เพิ่มมาจาก RTX รุ่นเดสก์ท็อป ได้แก่ G-SYNC, WhisperMode ลดเสียงพัดลมลง, Battery Boost ที่ช่วยยืดอายุของแบตเตอรี่
โน้ตบุ๊กที่ใช้ GeForce RTX 2060/2070 จะมีโปรโมชั่นแถมเกม Battlefield V หรือ Anthem ส่วน 2080 จะได้ทั้งสองเกมเลย
NVIDIA เปิดตัว GeForce RTX 2060 น้องเล็กในซีรีส์ RTX 2000 ตามความคาดหมาย
สเปกของ GeForce RTX 2060 ใช้สถาปัตยกรรม Turing โดยมีหน่วยประมวลผล Tensor Core จำนวน 240 คอร์, มาพร้อมแรม GDDR6 6GB
NVIDIA บอกว่าประสิทธิภาพของ RTX 2060 อยู่ที่ 52T Tensor flops ถ้าเทียบกับ GeForce GTX 1060 แล้วเหนือกว่ากัน 60% และถ้าเทียบกับ GeForce GTX 1070 ก็ยังสามารถเอาชนะได้
ในแง่ของการทำ raytracing สามารถประมวลผลลำแสงได้ 5 Gigarays ต่อวินาที และสามารถเล่น Battlefield V แบบเปิด raytracing แล้วยังรักษาเฟรมเรต 60 FPS
ราคาเริ่มที่ 349 ดอลลาร์ (ประมาณ 12,000 บาท) วางขายวันที่ 15 มกราคม 2019 โดยช่วงนี้ยังจะมีโปรโมชั่น ซื้อการ์ดแล้วแถมเกม Anthem หรือ Battlefield V ด้วย
3DCenter.org สื่อฮาร์ดแวร์ภาษาเยอรมันรายงานข้อมูลจาก DigiKey ผู้ค้าส่งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ว่า ราคาเม็ดแรม GDDR6 แบนด์วิดธ์ 14 Gbps ของ Micron ราคาสูงกว่า 70% เมื่อเทียบราคาเม็ดแรมชนิด GDDR5 8Gbps ในความจุเดียวกัน ซึ่งแรม GDDR6 ตอนนี้ถูกนำมาใช้แล้วบนการ์ดจอซีรีส์ GeForce RTX 20 ของ NVIDIA ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ GDDR6 ยังมีเม็ดแรมอีกหลายสเปคทั้ง 12 และ 13 Gbps แต่ NVIDIA เลือกใช้แต่เม็ดแรม 14 Gbps เท่านั้น อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้การ์ดรุ่นดังกล่าวตั้งราคาออกมาสูง สอดคล้องกับข่าวลือก่อนหน้าที่ว่าค่ายนี้จะออกมา RTX 2060 ที่จับกับแรม GDDR5 เพื่อราคาที่ย่อมเยากว่า
เสริม: มีผลเบนช์มาร์ก GeForce RTX 2060 หลุดออกมาก่อนวันเปิดตัวอย่างเป็นทางการวันที่ 7 มกราคม 2562 นี้ โดยจะวางตัวใกล้ๆ GeForce GTX 1070 Ti เดิม ในราคา 349 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 11,300 บาท) ไว้เปิดตัวแล้วเรามาดูกันละเอียดอีกทีครับ
CJSCOPE ผู้ผลิตโน้ตบุ๊กประเภท OEM จากไต้หวัน เผยข้อมูลของเครื่อง HX-970 GX รุ่นใหม่ของตนที่จะมากับจีพียู GeForce RTX 2080 บนหน้าเว็บไซต์ของตน
GeForce RTX 2080 รุ่นดังกล่าวจะมาในรูปแบบการ์ด MXM เสียบลงบนเมนบอร์ดอีกที โดยสเปคจีพียูจะมี CUDA Core ที่ 2944 หน่วย ใช้แรม GDDR6 8GB สัญญาณนาฬิกาพื้นฐานที่ 1515 MHz เท่ากับรุ่นเดสก์ท็อป แต่พอมาเป็นบูสต์จะแรงกว่านิดหน่อย (จากเดิม 1800MHz เป็น 1847MHz) รวมถึงยังมีจีพียูรุ่นรองอย่าง RTX 2070 และ RTX 2060 ให้เลือกด้วย
ทั้งนี้สเปคของโน้ตบุ๊กรุ่นดังกล่าวดูเหมือนจะหดชุดซีพียูและชิปเซ็ตอินเทลของเดสก์ท็อปเข้าไปในฟอร์มของโน้ตบุ๊ก โดยเลือกได้ตั้งแต่ชิป Core i3-8100 ถึง i7-9900K กับชิปเซ็ต Z370 และได้จอ 17.3” แบบด้าน ละเอียด 1080p ที่ 120Hz รองรับ G-SYNC เสร็จสรรพ ราคาเริ่มต้นที่ราว 58,000 ดอลลาร์ไต้หวัน (ประมาณ 61,700 บาท)
NVIDIA เปิดตัว GeForce RTX ซีรีส์ 20 ที่ใช้สถาปัตยกรรม Turing มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว สิ่งที่หลายคนอาจรอกันอยู่คือ Turing รุ่นราคาถูกที่น่าจะใช้ชื่อรุ่นว่า GeForce RTX 2060
อย่างไรก็ตาม มีข่าวลือออกมาจากเว็บไซต์ Expreview ของประเทศจีนว่า NVIDIA เตรียมออก Turing อีกซีรีส์ที่ตัดฟีเจอร์ Ray Tracing ออกไป โดยเปลี่ยนมาใช้ "Turing Shaders" แทน และจะใช้ซีรีส์เล็กนี้แทนการออก GeForce 2050
ตามข่าวบอกว่า NVIDIA จะยังเรียก Turing รุ่นเล็กเป็น GeForce GTX (ไม่ใช่ RTX เพราะไม่มี Ray Tracing) ส่วนชื่อรุ่นยังสับสนระหว่างซีรีส์ 11 (1160) กับซีรีส์ 16 (1660 Ti)
คาดว่า NVIDIA จะเปิดตัวทั้ง GeForce RTX 2060 และ GeForce GTX 1660/1160 ในช่วงกลางเดือนมกราคม
เป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้วว่า NVIDIA จะต้องเปิดตัวจีพียูตระกูล Titan ที่เหนือกว่า GeForce หนึ่งขั้น (ก่อนหน้านี้เรียก GeForce Titan แต่ตอนนี้เหลือแค่ Titan เฉยๆ)
มาถึงยุคของ GeForce RTX สถาปัตยกรรม Turing ก็ไม่ผิดจากความคาดหมาย โดย NVIDIA ตั้งชื่อแบบตรงไปตรงมาว่า "Titan RTX" (รอบนี้มาพร้อมชื่อเล่น T-Rex)
Titan RTX มีสเปกดังนี้
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่างของ Windows 10 คือระบบไดรเวอร์แบบใหม่ที่เรียกว่า Universal Windows Driver (UWD) หรือ Windows Modern Drivers ซึ่งเป็นการจัดแพ็กเกจของไฟล์ไดรเวอร์แบบใหม่เป็น UWP เพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ใดก็ได้ทั้งเดสก์ท็อป แท็บเล็ต ไปจนถึงอุปกรณ์ฝังตัว
นโยบายของไมโครซอฟท์คือเริ่มให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เปลี่ยนมาใช้ UWD ตั้งแต่ Windows 10 October 2018 Update (v1809) เป็นต้นไป
ถึงแม้จีพียูตระกูล Radeon เดินทางมาถึงยุคสถาปัตยกรรม Vega แล้ว แต่ AMD ก็ยังไม่ทิ้งจีพียูสถาปัตยกรรม Polaris ตัวเดิม (ซีรีส์ 500) โดยล่าสุดออก Radeon RX 590 ตัวที่แรงกว่า 580 มาแล้ว
สเปกของ Radeon RX 590 เหมือนกับ RX 580 เกือบทุกอย่าง ทั้งจำนวนคอร์ (36 Compute Units, 2304 Stream Processors, 144 Texture Units) และแรม 8GB GDDR5 ความเร็ว 8 Gbps
จุดต่างสำคัญของ Radeon RX 590 คือเปลี่ยนมาใช้กระบวนการผลิต 12 นาโนเมตร (RX 580 ของเดิม 14 นาโนเมตร) ทำให้อัดคล็อคจีพียูได้สูงขึ้นเป็น 1469 MHz / 1545 MHz Boost (RX 580 คือ 1257 MHz / 1340 MHz) ทำให้ประสิทธิภาพสูงสุดเพิ่มมาเป็น 7.1 GFLOPs
NVIDIA เปิดตัวการ์ด Quadro RTX 4000 รุ่นเล็กสุดในตระกูลเวิร์คสเตชั่นสำหรับสถาปัตยกรรม Turing หลังจากเปิดตัวรุ่น 8000, 6000, 5000 ไปตั้งแต่เดือนสิงหาคม
เมื่อเทียบกับรุ่นที่ออกมาก่อนหน้านี้ จะเป็นดังนี้
AMD เปิดตัวจีพียู 7 นาโนเมตรตัวแรกของโลก ตามที่เคยประกาศแผนไว้ล่วงหน้า โดยเริ่มจาก Radeon Instinct สำหรับเซิร์ฟเวอร์และเวิร์คสเตชัน
จีพียูรุ่นที่เปิดตัวคือ Radeon Instinct MI60 และ MI50 เป็นรุ่นต่อจาก Radeon Instinct MI25 รุ่นสูงสุดตัวเดิม และนอกจากกระบวนการผลิต 7 นาโนเมตรของ TSMC ก็มีฟีเจอร์อื่นๆ ดังนี้
ในงานแถลงข่าวของแอปเปิลเมื่อคืนนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์อีกตัวที่ไม่ได้ประกาศบนเวที แต่อัพเดตสเปกอย่างเงียบๆ คือ MacBook Pro 15 ที่อัพเกรดจีพียูจากเดิม AMD Radeon 500 Series ตัวเก่า โดยเพิ่มตัวเลือก AMD Radeon Pro Vega ตัวใหม่เข้ามา
สเปกนี้เลือกได้เฉพาะใน MacBook Pro 15 คอนฟิกท็อปสุด ซีพียู Core i7 2.6GHz (เริ่มต้น 2,799 ดอลลาร์) โดยลูกค้าสามารถเลือกเปลี่ยน Radeon Pro 560X เป็น Radeon Pro Vega 16 หรือ Vega 20 แทนได้
AMD ไม่เคยเปิดตัว Radeon Pro Vega 16 หรือ 20 มาก่อน แต่คาดว่าจีพียูตัวนี้เป็นตัวเดียวหรือใกล้เคียงกับ Radeon Vega M ที่มาพร้อมกับซีพียูอินเทล ซึ่งมีหน่วยประมวลผลกราฟิก 20 ชุดและแรม 4GB HBM2 เหมือนกัน
AMD หยุดสนับสนุนไดรเวอร์การ์ดจอแบบ 32 บิตแบบเงียบๆ ในทุกระบบปฎิบัติการอย่างเป็นทางการแล้ว โดยคนที่ยังใช้ระบบปฎิบัติการแบบ 32 บิตบน Windows 7 และ Windows 10 จะไม่ได้รับการอัพเดตไดรเวอร์ใดๆ อีกต่อไป
AMD ออกจีพียู Radeon RX 580 รุ่นลดสเปก 2048SP โดยวางระดับสินค้าอยู่ระหว่าง Radeon RX 580 กับ Radeon RX 570
จีพียู Radeon ซีรีส์ 500 ยังใช้สถาปัตยกรรม GCN รุ่นที่สี่ (Polaris 10) และใช้กระบวนการผลิต 14 นาโนเมตร ในขณะที่ Radeon ตัวล่าสุด Vega เปลี่ยนมาใช้สถาปัตยกรรมใหม่ และบางส่วนใช้กระบวนการผลิต 7 นาโนเมตรแล้ว
Radeon RX 580 รุ่นปกติมีจำนวนหน่วยประมวลผล stream processor ที่ 2,304 ตัว ส่วนรุ่นลดสเปกก็ตามชื่อรุ่นคือ 2,048 ตัว
สเปกอย่างอื่นของ Radeon RX 580 2048SP ใกล้เคียงกับ Radeon RX 570 มากกว่า เช่น คล็อค 1168MHz, มีแรมส่งข้อมูลได้ 7Gbps, อัตราการใช้พลังงาน 150 วัตต์ โดยยังไม่ระบุราคา (570 ราคา 169 ดอลลาร์ ส่วน 580 ราคา 199 ดอลลาร์)
หลังเปิดตัว GeForce RTX Series ความสนใจอาจไปโฟกัสอยู่ที่การ์ดจอรุ่นท็อปคือ GeForce RTX 2080 และ 2080 Ti ที่เริ่มวางขายแล้วในตอนนี้
แต่สินค้ารุ่นที่น่าจะขายดีกว่าคือรุ่นรองลงมาอย่าง GeForce RTX 2070 ที่ราคาย่อมเยากว่ากันมาก (499 ดอลลาร์สำหรับรุ่นปกติ และ 599 ดอลลาร์สำหรับรุ่น Founder's Edition -- เทียบกับ 2080 Ti ที่ราคา 1,199 ดอลลาร์) ในขณะที่ประสิทธิภาพลดลงมาจากรุ่นท็อปๆ ไม่มากนัก (ตามสเปกของ 2070 คิดเป็นประมาณ 75% ของ 2080)
ล่าสุด NVIDIA ประกาศวันวางขาย GeForce RTX 2070 เป็นวันที่ 17 ตุลาคม ส่วนราคาในไทยก็ต้องรอประกาศจากผู้ผลิตการ์ดรายต่างๆ กันต่อไปครับ
สื่อต่างประเทศเริ่มออกรีวิว NVIDIA GeForce RTX 2080 และ 2080 Ti ที่หลายคนรอคอยกัน ภาพรวมของรีวิวหลายสำนักชี้ตรงกันว่า ประสิทธิภาพดีขึ้นจาก GeForce GTX 1080/1080 Ti อย่างก้าวกระโดด และเราสามารถใช้การ์ดใบเดียวรันเกมที่ความละเอียด 4K เปิดตัวเลือกกราฟิกในเกมแบบสูงสุด แล้วยังรักษาเฟรมเรตเกิน 60 FPS ได้จริงๆ (ในกรณีของรุ่น 2080 Ti)
สถิติของ Engadget ลองเล่น FFXV ที่ความละเอียด 4K และตั้งค่าตัวเลือกกราฟิกเป็น high พบว่า 2080 Ti สามารถรันได้ระดับ 65-75 FPS, 2080 ที่ระดับ 49-54 FPS ในขณะที่ 1080 ทำได้ที่ 30-40 FPS เท่านั้น
ตัวเลขของ Ars Technica เล่น Shadow of Tomb Raider ที่ 4K ตั้งค่าแบบ ultra พบว่า 2080 Ti ทำได้ที่ 70 FPS, 2080 ทำได้ที่ 54 FPS ส่วน 1080 Ti อยู่ที่ 49 FPS
NVIDIA ยังทยอยปล่อยสินค้าตระกูล Turing ออกมาเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้เปิดตัวด้วย Quadro RTX จีพียูสำหรับมืออาชีพ และ GeForce RTX สำหรับคอนซูเมอร์
เวลาผ่านมายังไม่ทันครบเดือน NVIDIA ก็เปิดตัว Tesla T4 จีพียูสำหรับศูนย์ข้อมูลตามมา ถือเป็นผู้สืบทอดของ Tesla ซีรีส์ P ที่ใช้สถาปัตยกรรม Pascal และเปิดตัวเมื่อปี 2016
จุดเด่นของ Tesla T4 ไม่ได้อยู่ที่เรื่อง Ray Tracing (เพราะไม่จำเป็นต้องใช้งานและไม่มีมาให้) แต่เป็นเรื่องการประมวลผล AI โดยมันมี Tensor Core จำนวน 320 คอร์ และ CUDA Core อีกจำนวน 2,560 คอร์
Microsoft Azure กลายเป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายล่าสุดที่รองรับ NVIDIA GPU Cloud (NGC) ซึ่งเป็นการใช้จีพียูของ NVIDIA เร่งความเร็วการประมวลผลงานต่างๆ
ปกติเราคุ้นกับการใช้จีพียูช่วยเร่งการประมวลผล deep learning แต่มันก็ยังสามารถใช้กับงานด้านอื่นๆ ทั้ง high performance computing (HPC) และ visualization ในระดับมืออาชีพด้วย
เครื่องบน Azure รองรับการใช้จีพียู NVIDIA (ทั้ง Tesla V100, P100, P40) มานานแล้ว ข่าวนี้คือคอนเทนเนอร์จาก NVIDIA ที่ปรับแต่งให้ใช้กับแอพพลิเคชันด้าน deep learning และ HPC สามารถนำมารันบน Azure แล้วเรียกใช้จีพียูได้ทันที
Azure ถือเป็นคลาวด์รายหลังๆ ที่รองรับ NGC เพราะคู่แข่งทั้ง AWS, Google Cloud Platform, Alibaba Cloud ต่างรองรับมาก่อนแล้ว
NVIDIA Turing มาพร้อมกับหน่วยประมวลผล RT Core ที่คุยว่าสามารถประมวลผลกราฟิกแบบใหม่ๆ ได้เร็วกว่า Pascal ถึง 6 เท่า
แต่ในยุคที่เกมเกือบทั้งหมดยังไม่ทำ ray tracing คำถามที่ทุกคนสงสัยคงเป็นว่า Turing เร็วกว่า Pascal สักเท่าไร ล่าสุด NVIDIA แง้มคำตอบออกมาแล้วว่าประมาณ 1.5 เท่า (ตัวเลขเปรียบเทียบ GeForce RTX 2080 vs GeForce GTX 1080) และตัวเลขนี้จะขยับขึ้นเป็น 2 เท่าหากเกมนั้นใช้ฟีเจอร์ Deep Learning Super Sampling (DLSS) บน 2080 ด้วย
NVIDIA ยังบอกว่าสมรรถนะของ GeForce 2080 ยังช่วยเรื่องเฟรมเรตด้วย โดยเกมจำนวนมากสามารถรัน 4K ที่เฟรมเรต 60FPS ได้สบายๆ และบางเกมอย่าง Call of Duty: WWII สามารถอัดไปได้ถึง 100FPS
ข่าวที่น่าสนใจของโลกกราฟิกช่วงนี้หนีไม่พ้นการเปิดตัวจีพียูสถาปัตยกรรม NVIDIA Turing ที่ยักษ์เขียว NVIDIA ทยอยเปิดตัวการ์ดจอทั้ง Quadro RTX สำหรับมืออาชีพ และ GeForce RTX สำหรับเกมมิ่ง ในเวลาห่างกันเพียงไม่กี่วัน
NVIDIA ชูว่า Turing เป็นการอัพเกรดครั้งใหญ่นับตั้งแต่การเปิดตัว CUDA Core ในช่วงปลายปี 2006 หรือประมาณ 12 ปีก่อน และโดยเนื้อในแล้ว Turing ก็มีความแตกต่างจากรุ่นพี่ Pascal (GeForce 10) ที่ออกในปี 2016 อย่างมีนัยสำคัญ บทความนี้จะอธิบายข้อมูลโดยสรุปว่า Turing มีอะไรบ้าง
หลังจาก NVIDIA เปิดตัว GeForce RTX 2080 Ti ในราคาประมาณ 40,000 บาท ล่าสุด JIB เปิดจองการ์ดจอรุ่นดังกล่าวแล้ว โดยราคาสูงสุดเป็นรุ่น Galax RTX 2080 Ti Dual Black แรม 11GB DDR6 อยู่ที่ 47,900 บาท
NVIDIA เปิดชิปกราฟิกตระกูล GeForce RTX พร้อมกัน 3 รายการ ได้แก่ GeForce RTX 2080 Ti, GeForce RTX 2080, และ GeForce RTX 2070 ทั้งใช้คอร์ Turing แบบเดียวกับ Quadro RTX ที่เปิดตัวไปสัปดาห์ที่แล้ว
ความเปลี่ยนแปลงของชิป RTX ได้แก่
ก่อนที่ NVIDIA จะประกาศเปิดตัวการ์ดจอ GeForce 20 Series อย่างเป็นทางการในคืนนี้ ระหว่างนี้เว็บไซต์ Wccftech อ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อ ระบุว่าการ์ดจอรุ่นใหม่จะมีถึง 5 รุ่น และจะเริ่มต้นขายบางรุ่นเดือนสิงหาคมนี้เลย