AMD เปิดตัวจีพียู Radeon RX 5500 XT ซึ่งเป็นรุ่นย่อยใหม่ของ Radeon RX 5500 ที่เปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคม
ความแตกต่างระหว่าง RX 5500 กับ RX 5500 XT ต้องบอกว่าแทบไม่มี เพราะสเปกเหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่จำนวนคอร์จีพียู 22 คอร์เท่ากัน, สัญญาณนาฬิกาสูงสุดเท่ากันที่ 1845 MHz, สมรรถนะสูงสุดเท่ากันที่ 5.2 TFLOP
จุดต่างคือ RX 5500 XT มีคล็อคแบบที่ AMD เรียกว่า "Game Clock" (คล็อคเฉลี่ยขณะเล่นเกมทั่วไปในท้องตลาด) สูงกว่าเล็กน้อย (1717 MHz vs 1670 MHz) และมีให้เลือก 2 รุ่นย่อยคือแรม 4GB/8GB (RX 5500 ตัวธรรมดามีแต่ 4GB)
ที่งาน Supercomputing 2019 อินเทลเปิดตัวชิปกราฟิกชื่อรหัส Ponte Vecchio โดยออกแบบมาสำหรับงานศูนย์ข้อมูลเพื่อการประมวลผลข้อมูลแบบขนาน มากกว่าจะใช้แสดงกราฟิกจริงๆ
Ponte Vecchio ใช้สถาปัตยกรรม Intel Xe ผลิตที่เทคโนโลยี 7 นาโนเมตร ภายในแพ็กเกจมีหน่วยความจำในตัวเชื่อมต่อกับตัวชิปกราฟิกแบบแบนวิดท์สูง และเชื่อมต่อกับชิปอื่นภายนอกด้วยระบบเชื่อมต่อ Compute Express Link
Red Dead Redemption 2 เวอร์ชันพีซี เริ่มวางขายแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้ แต่เกมเวอร์ชันพีซีก็เต็มไปด้วยบั๊กมากมาย ทั้งปัญหาเกมรันไม่ขึ้น ค้าง แครช โดยทางต้นสังกัด Rockstar ก็เริ่มทยอยออกแพตช์แก้บ้างแล้ว
ARM เปิดตัวจีพียู Mali ระดับกลางรุ่นใหม่ Mali-G57 ที่ถอดฟีเจอร์มาจากจีพียูรุ่นท็อป Mali-G77 ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อกลางปี และถือเป็นรุ่นอัพเกรดต่อจาก Mali-G52 รุ่นก่อนหน้านี้
ของใหม่ใน Mali-G57 แน่นอนว่าเป็นประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ประหยัดพลังงานกว่าเดิม สถิติของ ARM เองระบุว่า Mali-G57 ประหยัดพลังงานเพิ่มจาก Mali-G52 ประมาณ 1.3 เท่า, มีประสิทธิภาพด้าน texture ดีขึ้นเท่าตัว
เราเห็น NVIDIA เปิดตัว GeForce RTX SUPER ที่เป็นซีรีส์ 20 กันไปแล้ว สิ่งที่คาดการณ์ได้ไม่ยากคือ GeForce GTX SUPER ที่เป็นซีรีส์ 16 (แต่เป็น Turing เหมือนกัน)
ล่าสุดมีภาพหลุดของ GeForce GTX 1660 SUPER ออกมาแล้ว สเปกโดยรวมของมันเหมือนกับ GeForce GTX 1660 แทบทุกอย่าง (1,408 คอร์, คล็อค 1530/1785 MHz) ซึ่งต่างจากเคสของ GeForce RTX SUPER ที่เพิ่มจำนวนคอร์และเพิ่มคล็อค
สิ่งที่ NVIDIA เพิ่มเข้ามาคืออัพเกรดแรมจาก GDDR5 เป็น GDDR6, เพิ่มอัตราการส่งข้อมูลแรมจาก 12 Gbps เป็น 14 Gbps (เท่ากับ GeForce GTX 1660 Ti ที่มีคอร์และคล็อคเยอะกว่า)
นอกจาก ประกาศอย่างเป็นทางการของโซนี่เรื่อง PS5 ทีมงานของโซนี่ยังให้สัมภาษณ์พิเศษกับ Wired โดยเผยข้อมูลเพิ่มเติมของ PS5 อีกดังนี้
การแข่งขันจาก AMD บีบให้อินเทลต้องเปิดตัวซีพียูใหม่ในราคาที่ถูกลงครึ่งหนึ่งจากรุ่นก่อน ทั้ง ซีพียูกลุ่ม Core X (Cascade Lake-X หรือ Core i9 รุ่นห้อยท้าย X) และ Xeon W-2200 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด
แต่เท่านั้นยังไม่พอ อินเทลยังประกาศหั่นราคา Core 9th Gen รุ่นเก่าด้วยเช่นกัน โดยรุ่นที่เข้าข่ายคือ Core 9th Gen สำหรับเดสก์ท็อป รุ่นที่ไม่มีจีพียูออนบอร์ดในตัว (รหัสห้อยท้าย F) ที่เคยเปิดตัวตั้งแต่เดือนมกราคม 2019 และตั้งราคาเท่ากับรุ่นมีจีพียู
AMD ปี 2019 ยังเดินหน้าทยอยปล่อยหมัดอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ล่าสุดเปิดตัวจีพียูใหม่ Radeon RX 5500 ซึ่งถือเป็นจีพียูรุ่นที่สองในตระกูล "Navi" หลังออก Radeon RX 5700 มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน
ความสามารถของ Radeon RX 5500 ก็ตามชื่อรุ่นคือ ลดหลั่นลงมาจาก Radeon 5700 ในราคาที่ถูกลง (แต่ยังอยู่บนสถาปัตยกรรมตัวใหม่ RDNA และใช้กระบวนการผลิต 7 นาโนเมตรเหมือนกัน) การเปลี่ยนแปลงหลักคือลดจำนวนคอร์ compute unit (CU) ลงเหลือ 22 CU (Radeon RX 5700 มี 36 CU)
มีข้อมูลหลุดจากสมาชิกในบอร์ด Reddit ที่ใช้ชื่อบัญชีว่า Dayman56 เป็นผลคะแนน benchmark ของจีพียู Gen12 ของทาง Intel ที่วัดด้วยโปรแกรม Compubench โดยทาง NotebookCheck เห็นว่านี่คือจีพียูออนบอร์ดใหม่ที่จะมาแทน Iris Plus เร็ว ๆ นี้ และคาดว่าจะมาพร้อมกับซีพียู Intel ที่ใช้รหัสว่า "Tiger Lake" (ดูผลคะแนนได้ในที่มา)
จากคะแนนที่ได้จาก Compubench นี้ ทางเว็บไซต์ NotebookCheck คาดว่าจีพียู Gen12 รุ่นใหม่ที่เข้ามาเสริมการทำงานให้ซีพียูจะมีสัญญาณนาฬิกาที่ 1.1GHz และ execution units ของจีพียูรุ่นใหม่นี้จะเพิ่มจาก Iris Plus รุ่นปัจจุบันที่มีเพียง 64 EUs ขึ้นมาเป็น 96 EUs และจากผล benchmark ระบุว่าตัวซีพียูหลักรองรับแรมได้ 16GB
อุปกรณ์สำคัญเมื่อจะ Live Streaming ก็หนีไม่พ้นฉากหลังเขียว (Green screen) หรือไม่ก็ต้องมี Webcam ที่สร้างเอฟเฟคฉากหลังเขียวได้แต่แบบไหนก็เสียเงินทั้งนั้น ปัญหานี้หมดไปเมื่อ NVIDIA ส่ง SDK สำหรับการ์ดจอซีรี่ย์ RTX ให้สร้างฉากหลังเขียวได้แม้จะใช้กล้อง Webcam ทั่ว ๆ ไปก็ตาม
โดยฟีเจอร์ใหม่ NVIDIA เปิดตัวไปในงาน TwitchCon ในชื่อ "RTX Broadcast Engine" ทำงานโดยใช้ Tensor Cores และ AI ในการ์ดจอซีรี่ย์ RTX มาประมวลผล มีสามฟีเจอร์หลัก คือ:
NVIDIA ประกาศแคมเปญซื้อ GeForce RTX แถมเกมใหญ่อย่าง Call of Duty: Modern Warfare ซึ่งเป็นภาครีบูทของ Modern Warfare ภาคแรก
เงื่อนไขก็ตรงไปตรงมาคือซื้อ GeForce RTX ที่เป็นซีรีส์ 20 ตัวใดก็ได้ (รวมถึงโน้ตบุ๊กเกมมิ่งที่ใช้ RTX) ก็จะได้แถม Call of Duty: Modern Warfare ทันที โดยเกมมีกำหนดออก 25 ตุลาคม 2019 แตจะเปิดให้เล่นแบบ Open Beta ในวันที่ 19 กันยายนนี้
ช่วงนี้ฝั่ง AMD ทำอะไรก็ดีไปหมด นอกจากยอดขายซีพียูไปได้สวย ยอดขายจีพียูก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
สถิตินี้มาจากบริษัทวิจัยตลาด JPR ที่เก็บส่วนแบ่งตลาดจีพียูทั้งหมดบนพีซี (Total Graphic Market Share) ในไตรมาส 2/2019 ซึ่งนับรวมทั้งจีพียูแบบออนบอร์ด (integrated) และจีพียูแยกเฉพาะ (discrete) ด้วย โดยสัดส่วนจีพียูแบบ discrete คิดเป็น 27% ของจีพียูทั้งหมด
Minecraft ประกาศรองรับฟีเจอร์ Ray Tracing อย่างเป็นทางการ โดยมีผลกับเวอร์ชัน Windows 10 และใช้ได้กับจีพียูที่รองรับ DirectX Raytracing (DXR) ซึ่งในปัจจุบันยังมีแค่ GeForce RTX แต่ก็จะรองรับจีพียูตัวอื่นๆ ด้วยในอนาคต
ผลของการรองรับ Ray Tracing ทำให้กราฟิกของ Minecraft ดูสมจริงขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะเรื่องแสง สี และแสงสะท้อนจากวัตถุต่างๆ (เช่น ผิวน้ำ) ดูภาพตัวอย่างได้จากวิดีโอด้านล่าง
ฟีเจอร์นี้จะเปิดใช้งานเป็น option และจะเริ่มเปิดให้ใช้งานแบบ Beta ในเร็วๆ นี้ ส่วนผู้ใช้ทั่วไปน่าจะได้เล่นกันในช่วงปีใหม่ 2020
ของใหม่อีกอย่างใน Windows 10 Insider Preview Build 18963 (20H1) นอกเหนือจาก Settings รองรับการปรับความเร็วเคอร์เซอร์เมาส์ และ อัพเดต Notepad ผ่าน Store คือ Task Manager แสดงอุณหภูมิของ GPU ได้แล้ว
ก่อนหน้านี้ Task Manager มีแท็บ Performance ที่สามารถดูอัตราการทำงานของฮาร์ดแวร์ชิ้นต่างๆ ในเครื่องได้ กรณีของ GPU สามารถดูอัตราการทำงาน (utilization) และปริมาณหน่วยความจำที่ใช้อยู่
ชิปกราฟิกที่ฝังตัวมาบนซีพียูของ Intel ที่ผ่านมาค่อนข้างเป็นที่รู้กันว่าประสิทธิภาพไม่ได้โดดเด่นอะไรมากนัก และมักถูกมองข้าม โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับชิปกราฟิกแยกจาก NVIDIA หรือ AMD
ล่าสุด PCWorld ค้นพบว่าประสิทธิภาพของชิปกราฟิกที่มาพร้อมกับซีพียู Core 10th Gen 'Ice Lake' กลับมาพร้อมกับประสิทธิภาพที่ดีกว่าบน Whiskey Lake เกือบเท่าตัว โดย PCWorld ทำกราฟเปรียบเทียบคะแนนประสิทธิภาพของชิปกราฟิกตั้งแต่ 4th Gen 'Haswell' มาจนถึง Ice Lake ที่ถูกวัดผลด้วย 3DMark Sky Diver ซึ่งชี้ว่าประสิทธิภาพตั้งแต่ Haswell จนมาถึง Whiskey Lake แทบไม่แตกต่างกันมากนัก ก่อนคะแนนจะพุ่งสูงบน Ice Lake รุ่นล่าสุด
ประเด็นปัญหาอันยาวนานของโลกโอเพนซอร์สคือ NVIDIA ไม่เปิดซอร์สโค้ดจีพียูของตัวเอง (ปล่อยเฉพาะไบนารีให้ดาวน์โหลด) ส่วนไดรเวอร์ Nouveau ที่ชุมชนโอเพนซอร์สพยายามสร้างขึ้นเอง ก็มีประสิทธิภาพด้าน 3D ไม่ดีนัก เพราะ NVIDIA ไม่เปิดสเปกการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้มากนัก (ต้อง reverse engineer กันเอง)
แต่ล่าสุด NVIDIA เหมือนกลับลำนโยบายเรื่องนี้ โดยเปิดเอกสารสเปกฮาร์ดแวร์จีพียูออกมาเป็นบางส่วนแล้ว ตัวเอกสารนี้เป็นโอเพนซอร์ส (ใช้สัญญาแบบ MIT) ดูได้จากบน GitHub
หลังจากเปิดตัว สถาปัตยกรรมซีพียู Core 10th Gen "Ice Lake" เมื่อเดือนพฤษภาคม ล่าสุดอินเทลเปิดตัวสินค้าชุดแรกออกมาแล้ว โดยเป็นซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กและอุปกรณ์พกพา ที่เรารู้จักกันในชื่อซีพียูรหัส U (โน้ตบุ๊กทั่วไป) และ Y (โน้ตบุ๊กกินไฟต่ำ) รวมทั้งหมด 11 รุ่นย่อย
วิธีการเรียกชื่อรุ่นของ Ice Lake ตรงตามข่าวก่อนหน้านี้ นั่นคือใช้เลขรหัส 4 ตัวเหมือนเดิม (ไม่ได้ขยับขึ้นเป็น 5 ตัว) โดยเลข 2 หลักแรกจะเป็น "10" แต่จะมีพิเศษจากระบบตั้งชื่อปกติของอินเทล โดยมีตัว G ห้อยท้ายเข้ามา เช่น G1, G3, G4, G7 ซึ่งตัวเลขนี้จะบ่งบอกถึงระดับประสิทธิภาพของจีพียูด้วยนั่นเอง
Morgan McGuire นักวิจัยของ NVIDIA พยากรณ์ว่าเราจะได้เห็นเกมใหญ่ๆ ระดับ AAA ที่ "บังคับ" ต้องใช้จีพียูที่รองรับฟีเจอร์ Ray Tracing ออกวางขายในปี 2023 หรือประมาณ 4 ปีข้างหน้า
หลักคิดของ McGuire คืออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมจะใช้เวลาปรับตัวกับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ประมาณ 5 ปี ตัวอย่างในยุคก่อนหน้านี้คือ จีพียู GeForce 256 ออกวางขายในปี 1999 และอีก 5 ปีหลังจากนั้น เราก็เห็นเกมอย่าง Doom 3 ที่จำเป็นต้องเรียกใช้จีพียูออกขายในปี 2004
กรณีของ Ray Tracing คือจีพียู GeForce ซีรีส์ 20 สถาปัตยกรรม Turing เริ่มออกขายในปี 2018 ซึ่งตอนนี้ยังมีเกมที่รองรับ Ray Tracing ไม่เยอะนัก (ยังไม่ต้องไปไกลถึงการบังคับว่าต้องใช้จีพียู Ray Tracing) แต่ McGuire ก็ประเมินว่าต้องใช้เวลาราว 5 ปีเช่นกัน
AMD ประกาศปรับลดราคาจีพียูตระกูล RX 5700 ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนที่แล้วลง ก่อนที่จะเริ่มจำหน่ายในวันที่ 7 กรกฎาคมนี้ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมและการแข่งขัน รวมทั้งให้ประโยชน์กับเหล่าเกมเมอร์
ราคาจีพียู RX 5700 ที่ปรับลดลงมีรายละเอียดดังนี้
AMD เปิดตัวการ์ดจอกลุ่ม Pro สำหรับตลาดเวิร์คสเตชันตัวใหม่ Radeon Pro WX 3200 มาแบบเงียบๆ จุดเด่นของมันคือเรื่อง "ราคา" เพียง 199 ดอลลาร์
Radeon Pro WX 3200 ยังใช้สถาปัตยกรรม Graphics Core Next (GCN) 4.0 ตัวเก่า (Polaris 14 นาโนเมตร) แต่สเปกโดยรวมถือว่าใกล้เคียงกับคู่แข่ง NVIDIA Quadro P1000 ที่ราคาแพงกว่าเกือบครึ่ง (ราคาขาย P1000 ประมาณ 350 ดอลลาร์) มีจำนวน shading unit 640 ตัว, แรม 4GB GDDR5, ประสิทธิภาพในการคำนวณทศนิยม FP32 ที่ 1.66TFLOPS, ใช้พลังงาน 50 วัตต์
Radeon Pro WX 3200 จะมีทั้งเวอร์ชันเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ก ในช่วงไตรมาสนี้เราคงเริ่มเห็นสินค้าที่ใช้ WX 3200 เริ่มวางขาย ส่วนคนที่อยากซื้อแต่ตัวการ์ดอย่างเดียวก็จะเริ่มซื้อได้ในเร็วๆ นี้
เราเห็นข่าวของ GeForce Super กันมาได้สักพักใหญ่ๆ วันนี้มันก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการในชื่อ GeForce RTX SUPER
GeForce RTX SUPER คือเวอร์ชันอัพเกรดของ GeForce RTX ที่ใช้สถาปัตยกรรม Turing ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วยการเพิ่มคอร์และเพิ่มคล็อค โดยมันจะมาแทนไลน์อัพของ GeForce RTX เดิมเป็นบางส่วน นั่นคือจีพียูตัวท็อปสุดจะยังเป็น GeForce RTX 2080 Ti เหมือนเดิม (999 ดอลลาร์) และตัวล่างสุดจะเป็น GeForce RTX 2060 เหมือนเดิม (349 ดอลลาร์) แต่ตรงกลางจะเปลี่ยนมาเป็นเวอร์ชัน Super แทน
GeForce RTX SUPER แบ่งออกเป็น 3 รุ่นย่อยคือ
AMD เปิดตัวจีพียู Radeon RX ซีรีส์ 5000 "Navi" ในงาน Computex แต่ยังไม่เผยรายละเอียดของสินค้าแต่ละรุ่น ซึ่งก็ตามมาประกาศข้อมูลในงาน E3 2019 ช่วงเช้าวันนี้
Radeon Navi ชุดแรกที่จะออกวางขาย มีทั้งหมด 3 รุ่นย่อย คือ
Radeon RX 5700 ทั้ง 3 รุ่นจะวางจำหน่ายวันที่ 7 กรกฎาคม 2019
AMD ประกาศข่าวเซ็นสัญญาความร่วมมือกับซัมซุง โดยซัมซุงจะซื้อไลเซนส์จีพียู Radeon เวอร์ชันปรับแต่ง (custom) ไปใช้กับชิป SoC ของตัวเอง ซึ่งจะใช้กับสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่นๆ
ข้อมูลที่ AMD เปิดเผยคือ เทคโนโลยี Radeon ตัวนี้คือ Radeon ตัวใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไป ใช้สถาปัตยกรรมตัวใหม่ RDNA ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีรุ่นเดียวกับที่ใช้ใน PlayStation 5 ด้วย
ก่อนหน้านี้ NVIDIA เคยโพสต์ทีเซอร์ถึงคำว่า "Super" แต่ไม่ได้แถลงอะไรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในงาน Computex 2019 เลย
เว็บไซต์ Wccftech รายงานข่าวลือว่ามันคือ "GeForce Super" ที่นำเอาการ์ดตระกูล Turing สามตัวคือ 2060, 2070, 2080 มาอัพเกรดให้คล็อคเริ่มต้นสูงขึ้น และใช้แรม GDDR6 เป็นมาตรฐาน ช่วยให้ประสิทธิภาพโดยรวมเพิ่มขึ้นอีกราว 5-15% จากเดิม
Wccftech บอกว่า NVIDIA น่าจะตั้งชื่อเรียกรุ่นว่า GeForce RTX 2080 Super แต่การ์ดตัวนี้จะยังเป็นรอง GeForce RTX 2080 Ti ที่ยังถือเป็นเรือธงของซีรีส์เช่นเดิม
ช่วงนี้แนวคิด Edge Server หรือการตั้งเซิร์ฟเวอร์ประมวลผล AI ที่ปลายทาง (แล้วค่อยส่งขึ้นคลาวด์) กำลังมาแรง เราเริ่มเห็นโซลูชันจากหลายๆ บริษัทออกสู่ตลาด เช่น ฮาร์ดแวร์ Coral ของกูเกิล, ซอฟต์แวร์จากไมโครซอฟท์, คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมของ Lenovo เป็นต้น
NVIDIA ในฐานะผู้สร้างหน่วยประมวลผลจีพียูสำหรับงาน AI ก็ไม่พลาดสงครามนี้เช่นกัน ล่าสุดเปิดตัว NVIDIA EGX โดยเรียกตัวเองว่าเป็น "GPU Edge Server"