ท่ามกลางประเด็นสงครามการค้าและสงครามเย็นด้านเทคโนโลยีที่กำลังร้อนแรงระหว่างจีนและสหรัฐ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงของจีน ได้เดินทางไปเยือนสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการเพื่อสานสัมพันธ์ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
การพูดคุยระหว่าง สี จิ้นผิงและวลาดิเมียร์ ปูติน ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดข้อตกลงในระดับระหว่างรัฐเท่านั้น แต่บริษัทจากทั้งสองชาติก็มีการพูดคุยและลงนามในข้อตกลงระหว่างกันนอกรอบด้วย โดยหนึ่งในนั้นคือข้อตกลงระหว่าง Huawei และ MTC โอเปอเรเตอร์ของรัสเซีย เพื่อให้ Huawei เข้ามาพัฒนาและวางโครงข่ายเทคโนโลยี 5G ในรัสเซีย โดย MTC แถลงว่าภายใต้ความร่วมมือนี้ น่าจะทำให้บริษัทสามารถเริ่มทดสอบ 5G ในช่วงปี 2019-2020 ได้
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์ South China Morning Post รายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันว่า Foxconn หยุดไลน์การผลิต Huawei บางส่วน เพราะยอดขายสมาร์ทโฟนตกลง
ล่าสุดโฆษก Huawei ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าวแล้ว พร้อมยืนยันว่า กระบวนการผลิตทั่วโลกยังคงระดับปกติ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเพิ่มหรือลดแต่อย่างใด
ประเด็นข่าวลือเรื่อง Huawei ลดกำลังการผลิตเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าจะมีออกมา เพราะ Huawei ถูกบีบทุกทางไม่ว่าจะแอนดรอยด์, ชิปเซ็ตไปจนไปไลเซนส์ชิป จนทำให้ทุกคนคิดไปในทางเดียวกันว่าผลกระทบแรกๆ ของ Huawei คือยอดขายสมาร์ทโฟน
IEEE ออกประกาศยกเลิกแบนพนักงานหัวเว่ยจากการเป็นบรรณาธิการและทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบงานวิจัย (reviewer) โดยระบุเหตุผลว่าได้รับการชี้แจงจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (Department of Commerce) ผู้รับผิดชอบกระบวนการจำกัดสิทธิ์ของหัวเว่ย ว่า IEEE สามารถร่วมงานกับพนักงานหัวเว่ยได้ต่อไป
หลังจากถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า IEEE เอาตัวเองเข้าไปยุ่งกับการเมืองและสงครามการค้า ทาง IEEE ชี้แจงว่าที่ต้องแบนพนักงานหัวเว่ยก็เพื่อป้องกันอาสาสมัครและสมาชิกคนอื่นๆ ของ IEEE ไม่ให้มีปัญหาทางกฎหมายภายหลัง โดยระบุว่าทางองค์กรตระหนักว่าเรื่องของวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีเป็นเรื่องของทั้งโลก และเป้าหมายของ IEEE คือการทำให้เทคโนโลยีก้าวหน้าไปเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ
สื่อฮ่องกง South China Morning Post รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวไม่ระบุตัวว่า การแบน Huawei ของสหรัฐอเมริกาส่งผลกระทบต่อยอดขายสมาร์ทโฟนของบริษัทแล้ว โดย Foxconn ซึ่งเป็นผู้รับจ้างผลิตสมาร์ทโฟนให้ Huawei ได้หยุดไลน์การผลิตบางไลน์แล้ว
Zhao Ming ประธานของแบรนด์ Honor ปฏิเสธว่าไม่รู้ข่าวเรื่องการหยุดไลน์การผลิต แต่เขาก็ยอมรับว่าเป้าหมายที่ Huawei จะแซงซัมซุงขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของโลกในปี 2020 อาจต้องเปลี่ยนแปลง เพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปจากเดิม
สำนักข่าว Nikkei อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนสองแหล่งระบุว่าบริษัท Synopsys ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ออกแบบชิป และผู้ขายพิมพ์เขียวโมดูลพื้นฐานในชิปได้หยุดทำธุรกิจกับหัวเว่ยตามคำสั่งรัฐบาลสหรัฐฯ แล้ว
หลัง Google ตัดสัมพันธ์กับ Huawei ทำให้รายชื่อสมาร์ทโฟน Huawei ถูกถอดออกจากทั้งรายชื่อบน Android, Android Enterprise และ รายชื่อสมาร์ทโฟนที่ทดสอบ Android Q เบต้า
ล่าสุด Android Police ค้นพบว่ารายชื่อสมาร์ทโฟนที่ทดสอบ Android Q เบต้ากลับมามีชื่อของ Huawei Mate 20 Pro แล้ว ทว่าในหน้ารายชื่อ Android และ Android Enterprise ยังคงไม่มีรายชื่อของ Huawei เช่นเดิม
ที่มา - Android Q Beta Devices via Android Police
สมาพันธ์คอมพิวเตอร์จีน (China Computer Federation - CCF) ประกาศตัดสัมพันธ์กับ IEEE Computer Society หลังทาง IEEE ห้ามไม่ให้พนักงานหัวเว่ยทำหน้าที่บรรณาธิการวารสารหรือรีวิวงานวิจัย โดยระบุว่า IEEE ได้เฉออกจากแนวทางที่จะสนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อมนุษยชาติ และเสียใจที่ Computer Society ยอมต่อกฎหมายท้องถิ่นที่ละเมิดแนวทางเปิดกว้างในทางวิชาการ
ทาง CCF ระบุว่ามี 3 มาตรการ ได้แก่ หยุดสื่อสารและหยุดความร่วมมือกับ Computer Society ทั้งหมดชั่วคราว, ไม่แนะนำให้สมาชิกของ CCF ส่งงานวิจัยเข้าร่วมในงานประชุมวิชาการหรือวารสารของ Computer Society, แนะนำให้สมาชิกหยุดช่วย Computer Society รีวิวรายงานวิชาการ
IEEE ออกอีเมลแจ้งวารสารในเครือว่าหลังจากรัฐบาลสหรัฐฯ แบนหัวเว่ย ตอนนี้ทาง IEEE ก็ไม่สามารถทำงานร่วมกับพนักงานของบริษัทสำหรับการให้ทำหน้าที่บรรณาธิการวารสาร หรือเป็นผู้รีวิวรายงานวิชาการได้อีกต่อไป แม้พนักงานของหัวเว่ยจะเป็นสมาชิกระดับ IEEE Fellow อยู่หลายคน
IEEE หรือ Institute of Electrical and Electronics Engineers เป็นองค์กรที่รวมมาจาก American Institute of Electrical Engineers และ Institute of Radio Engineers โดยตัวองค์กรเองจดทะเบียนอยู่ในสหรัฐฯ แม้จะมีสมาชิกจากทั่วโลกและทำงานระดับนานาชาติก็ตามที แต่การเป็นองค์กรในสหรัฐฯ ก็ทำให้ IEEE ต้องทำตามประกาศของสหรัฐฯ
Huawei เริ่มใช้มาตรการทางกฎหมายตอบโต้คำสั่งแบนของรัฐบาลสหรัฐแล้ว โดยยื่นคำร้องต่อศาลสหรัฐให้หยุดคำสั่งแบนแล้ว
มีผู้ใช้มือถือ Huawei Mate Series จำนวนหนึ่งที่ใช้ฟังก์ชั่นอัพเดทระบบอัตโนมัติข้ามคืน รายงานพร้อมกันในเช้าวันนี้ว่า โทรศัพท์ไม่สามารถใช้งานได้ และขึ้นหน้าจอกู้คืนข้อมูล ผู้เขียนข่าวซึ่งใช้ Huawei Mate 9 ประสบปัญหาเดียวกัน ซึ่งเมื่อทดลองแก้ปัญหาด้วยการกู้ข้อมูลโดยดาวโหลดเวอร์ชั่นสุดท้ายก็ไม่สามารถกู้กลับคืนมาได้ ต้องล้างข้อมูลและคืนค่าเริ่มต้นจากโรงงานเท่านั้น ส่วนผู้ที่ประสบปัญหาท่านอื่นได้ลองนำเครื่องไปที่ศูนย์บริการ ทางศูนย์บริการไม่สามารถกู้คืนข้อมูลให้ได้ ต้องคืนค่าเริ่มต้นจากโรงงานได้เพียงช่องทางเดียว
Ren Zhengfei ซีอีโอหัวเว่ยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Bloomberg ระบุถึงความนิยมแบรนด์แอปเปิลถึงกับมองว่าแอปเปิลเป็นครู โดยต้องมองแอปเปิลที่ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของลูกค้าที่หัวเว่ยต้องเอาเป็นแบบอย่าง แม้ว่าแอปเปิลจะเป็นบริษัทสหรัฐฯ และตัวบริษัทหัวเว่ยถูกแบนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ทำให้กระทบต่อบริษัทมาก
เขายังระบุกับสื่อจีนว่าตัวเขาเองก็ยังคงซื้อไอโฟนใช้งานอยู่ โดยก่อนหน้านี้เมื่อ Meng Wanzhou ลูกสาวของ Ren ถูกจับในแคนาดาก็พบว่าเธอมีไอโฟน, ไอแพค, และแมคบุ๊กโปร
เว็บไซต์ Android Headliners ค้นพบว่า Huawei ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "Huawei Ark OS", "Huawei Ark", "Ark", "Ark OS" ต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหภาพยุโรป (EUIPO) โดยเพิ่งยื่นขอจดทะเบียนเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมานี้เอง
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการว่า Ark OS คืออะไร และมีความเชื่อมโยงกับ Hongmeng OS อย่างไรบ้าง แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงว่ามันคือระบบปฏิบัติการตัวเดียวกัน และ Ark OS คือชื่อของ Hongmeng OS ที่ใช้ทำตลาดนอกประเทศจีน
ที่มา - Android Headliners
หัวเว่ยแสดงความจริงจังกับ Hongmeng OS มาแล้วระยะหนึ่งด้วยการจดเครื่องหมายการค้าไว้ตั้งแต่ปี 2018 ตอนนี้ Richard Yu ซีอีโอฝั่งโทรศัพท์มือถือก็เริ่มกำหนดระยะเวลาทำตลาดว่าจะเริ่มขายโทรศัพท์ที่ใช้ Hongmeng OS ในจีนภายในปีนี้ ก่อนจะเริ่มทำตลาดนอกจีนปีหน้า
Alaa Elshimy ผู้อำนวยการหัวเว่ยภูมิภาคตะวันออกกลางยังยืนยันว่าบริษัทเตรียมพร้อมต่อเหตุการณ์เช่นนี้ไว้แล้ว โดยยืนยันว่าแอปทุกตัวบนแอนดรอยด์จะสามารถทำงานบน Hongmeng OS ได้ เพียงแค่เปลี่ยนหน้าร้านเป็น Huawei AppGallery เท่านั้น นอกจากนี้
FedEx ประเทศจีนแถลงขอโทษบริษัทหัวเว่ย หลังทางหัวเว่ยแถลงว่าจะพิจารณาความสัมพันธ์กับ FedEx เสียใหม่เนื่องจากส่งพัสดุของบริษัทผ่านสหรัฐฯ ทั้งที่ไม่จำเป็น โดยตอนนี้หัวเว่ยตกเป็นเป้าหมายของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ระบุว่าหัวเว่ยขายสินค้าให้ประเทศต้องห้าม และกำลังถูกบีบไม่ให้ซื้อสินค้าที่มีเทคโนโลยีของสหรัฐฯ
พัสดุสองชิ้นจากสำนักงานในญี่ปุ่นส่งออกไปในวันที่ 19 และ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา ไปถึงสำนักงานใหญ่ของ FedEx ในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม โดยทางหัวเว่ยระบุว่าพัสดุภายในเป็นเอกสารทางธุรกิจ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
ทาง FedEx แถลงขอโทษผ่านทาง Weibo โดยยืนยันว่าไม่ได้ถูกร้องขอจากหน่วยงานภายนอกใดๆ ให้ส่งของนอกเส้นทาง และพัสดุทั้งหมดก็ถึงปลายทางเรียบร้อยแล้ว
ต่อจากข่าว ผู้บริโภคทั่วโลกแห่ขายมือถือ Huawei เพราะไม่มั่นใจในอนาคตหลังโดนสหรัฐแบน ส่งผลให้ราคาขายต่อมือสองของมือถือ Huawei ในอังกฤษตกฮวบแล้ว
เว็บไซต์ซื้อขายมือถือมือสอง musicMagpie ประเมินราคาขายต่อของ Huawei P30 Pro รุ่นความจุ 128GB สภาพดี (good condition) แค่เพียง 100 ปอนด์ (4 พันบาท) เท่านั้น ถ้าเทียบกับมือถือคู่แข่งระดับเดียวกันคือ Samsung Galaxy S10+ รุ่นความจุ 128GB เท่ากัน ให้ราคาที่ 510 ปอนด์ (20,600 บาท)
พูดถึงกันมาเยอะกับระบบปฏิบัติการ Hongmeng OS ของ Huawei ล่าสุดมีข้อมูลอย่างเป็นทางการว่า Huawei จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "Hongmeng" เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ข้อมูลนี้มาจากเว็บไซต์ของสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศจีน (China's National Intellectual Property Administration) ระบุว่า Huawei ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้าคำว่า Hongmeng ตั้งแต่ 24 สิงหาคม 2018 และได้รับอนุมัติในวันที่ 14 พฤษภาคม 2019 มีอายุคุ้มครองนาน 10 ปี
ตอนนี้เรายังไม่มีรายละเอียดของ Hongmeng OS มากนัก นอกเหนือจากที่ Richard Yu ผู้บริหารสูงสุดฝั่งธุรกิจคอนซูเมอร์ของ Huawei ที่ออกมาพูดถึงระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่ใช้กับอุปกรณ์ได้ทุกประเภท และบอกเพียงว่ามันรันแอพ Android และเว็บแอพได้
ข่าวเรื่องการแบน Huawei อย่างต่อเนื่องในรอบหลายวันนี้ สร้างความกังวลให้กับลูกค้าที่ใช้อุปกรณ์ของ Huawei และส่งผลให้ลูกค้าบางส่วนเริ่มมองหาโอกาสขายทิ้งกันแล้ว
สถิติที่มีรายงานคือ เว็บไซต์เทียบราคา PriceSpy ของสหราชอาณาจักร ระบุว่าผลิตภัณฑ์ของ Huawei มียอดคนเข้าชมผ่านหน้าเว็บไซต์น้อยลง 50% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า (นับเฉพาะในสหราชอาณาจักร) และ 26% (นับทราฟฟิกทั้งโลก) ส่วนมือถือของซัมซุง มียอดเข้าชมเพิ่ม 13% และ Xiaomi เพิ่ม 19% (นับเฉพาะในสหราชอาณาจักร)
ส่วนเว็บไซต์ซื้อขายมือถือมือสอง WeBuyTek รายงานว่ามีจำนวนมือถือ Huawei เสนอขายเพิ่มถึง 540% เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า จน WeBuyTek ต้องหยุดรับฝากขายมือถือ Huawei แล้ว
นอกจากสมาคม SD Association ผู้กำหนดมาตรฐาน SD Card ถอดสมาชิกของ Huawei ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมอีก 2 กลุ่มที่ประกาศตัดสัมพันธ์กับ Huawei เช่นกัน
กลุ่มแรกเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ Wi-Fi Alliance ผู้รับรองอุปกรณ์ที่ผ่านมาตรฐาน Wi-Fi เวอร์ชันต่างๆ ระบุว่าจำกัดการเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ของ Huawei เป็นการชั่วคราว (temporarily restricted) ตามประกาศของรัฐบาลสหรัฐ โดยยังไม่ได้ถอนสมาชิกภาพของ Huawei เป็นการถาวร
ต่อจากแอนดรอยด์, ซีพียู, ชิปโมเด็ม ล่าสุดเป็นคิวของการ์ดหน่วยความจำ microSD ที่ Huawei จะไม่สามารถใช้งานบนสมาร์ทโฟนตัวเองได้แล้ว
สมาคม SD (SD Association - SDA) ที่ออกมาตรฐาน SD การ์ดได้ยืนยันว่านำ Huawei ออกจากรายชื่อสมาชิกแล้ว ทำให้ Huawei ไม่สามารถผลิตหรือวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใดๆ ก็ตามที่รับรองมาตรฐานของ SD ได้ และแน่นอนว่าการตัดสินใจนี้เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งประธานาธิบดี ที่ทำให้ Huawei ไปอยู่ในรายชื่อ Entity List ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งบังคับให้บริษัทสัญชาติอเมริกันจะต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลก่อนจะทำธุรกิจด้วย
TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Company) บริษัทที่รับผลิตชิปสัญชาติไต้หวันที่มีลูกค้าใหญ่ๆ อย่างแอปเปิลและ NVIDIA ออกมายืนยันว่าไม่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งของปธน.สหรัฐ และ ณ ตอนนี้ยังสามารถผลิตชิปให้ Huawei ได้ต่อไปเช่นเดิม
อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักๆ ของ Huawei ไม่น่าใช่การหาผู้ผลิตชิป แต่เป็นเรื่องของการพัฒนาสถาปัตยกรรมชิปที่น่าจะเป็นงานช้าง เนื่องจาก Huawei พัฒนาชิปไม่ว่าจะชิปมือถือหรือเซิร์ฟเวอร์จากสถาปัตยกรรมของ ARM เป็นหลัก ทว่าก็ถูก ARM ระงับการทำธุรกิจไปแล้ว
สำนักข่าว South China Morning Post (SCMP) อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวระบุว่าไมโครซอฟท์หยุดขายไลเซนส์วินโดวส์ให้กับหัวเว่ยแล้ว อย่างไรก็ดีแหล่งข่าวหนึ่งระบุว่าการหยุดขายนี้เป็นเพียงภาวะชั่วคราวเท่านั้น โดยก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ก็หยุดขาย Matebook บนหน้าร้านของตัวเองไปก่อนแล้ว
ไม่ว่าไมโครซอฟท์จะหยุดขายวินโดวส์ให้หัวเว่ยหรือไม่ ก่อนหน้านี้ก็มีข่าวว่าอินเทลหยุดขายชิปให้หัวเว่ยไปก่อนแล้ว ดังนั้นหากแก้คำสั่งแบนจากสหรัฐฯ ไม่ได้ อย่างไรเสียหัวเว่ยก็ไม่มีสินค้าฝั่งพีซีขายอยู่ดี
ต่อเนื่องจากกรณีกูเกิลตัดสัมพันธ์กับ Huawei โดยก่อนหน้านี้ Huawei ให้ข้อมูลว่าสมาร์ทโฟนในปัจจุบันจะได้อัพเดตแพตช์ความปลอดภัยต่อไป แต่ไม่เอ่ยถึงการอัพเกรดเวอร์ชันของ Android เป็นเวอร์ชันใหญ่ ก่อให้เกิดคำถามตามมาว่าตกลงแล้ว สมาร์ทโฟนของ Huawei จะได้อัพเวอร์ชันหรือไม่ (สถานะปัจจุบันคือ Huawei ยังไม่ตอบเรื่องนี้ตรงๆ)
ล่าสุดกูเกิลถอดชื่อของ Huawei Mate 20 Pro ออกจากหน้าเว็บ Android Q Beta Devices เรียบร้อยแล้ว กูเกิลเพิ่งประกาศในงาน Google I/O 2019 เมื่อต้นเดือนนี้เองว่ามีแบรนด์ใดบ้างเข้าร่วมทดสอบ Android Q ซึ่ง Huawei ก็เป็นหนึ่งในนั้น
สื่อโปรตุเกส Dinheiro Vivo รายงานข่าวว่า Huawei กำลังเจรจากับร้านขายแอพ Aptoide เพื่อเป็นทางเลือกแทน Google Play Store
Aptoide เป็นร้านขายแอพ Android ทางเลือกที่ได้รับความนิยมสูงตัวหนึ่ง ปัจจุบันมีแอพในระบบ 9 แสนตัว และมีผู้ใช้มากกว่า 200 ล้านคน
ประวัติของ Aptoide ก่อตั้งในปี 2009 โดยชาวโปรตุเกสชื่อ Paulo Trezentos กับ Álvaro Pinto บริษัทจดทะเบียนในยุโรป แนวคิดของร้านอิงมาจากระบบจัดการแพ็กเกจ APT ของ Debian ที่สามารถดึงแอพจากหลาย repository ได้ (ชื่อร้าน Aptoide คือ APT + droid)
ทางทีมงาน Aptoide ให้สัมภาษณ์ว่ากำลังเจรจากับ Huawei อยู่จริง แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดมากกว่านั้น
ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในญี่ปุ่น 3 รายได้แก่ NTT Docomo, KDDI, และ YMobile ของ SoftBank หยุดรับจองและเลื่อนจำหน่ายโทรศัพท์ Huawei P30 ทั้งหมดแล้ว โดยทาง YMobile ระบุว่าเหตุผลว่าไม่มั่นใจว่าลูกค้าที่ซื้อไปจะได้อัพเดตหรือไม่
ทั้งสามรายยังขายโทรศัพท์รุ่นอื่นของหัวเว่ยอยู่ โดยยังไม่ระบุท่าทีต่อรุ่นอื่นว่าจะหยุดขายหรือไม่
สำนักข่าว BBC รายงานว่าได้รับเอกสารภายในจากบริษัท ARM แจ้งให้พนักงานหยุดทำธุรกิจกับหัวเว่ยทั้งหมดเนื่องจากสถาปัตยกรรม ARM นั้นมี "เทคโนโลยีสหรัฐฯ"
ARM ไม่ได้ขายชิปโดยตรงแต่ขายสถาปัตยกรรมคำสั่ง (instruction set architecture - ISA) และพิมพ์เขียวของชิปเพื่อให้บริษัทต่างๆ นำไปปรับแต่งและผลิตขายด้วยตัวเอง บริษัทผู้ผลิตชิปเช่นแอปเปิล, ซัมซุง, หรือหัวเว่ย ต้องซื้อสิทธิ์ในการผลิตจาก ARM ก่อนจะผลิตชิป
ตัว ARM เป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร แต่เจ้าของบริษัทคือ SoftBank จากญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีซีพียูนั้นมักมีการซื้อเทคโนโลยีข้ามบริษัทกันไปมาหลายต่อ