เป็นที่รู้กันว่าราคาค่าตัวของอุปกรณ์ตระกูล Mac ของแอปเปิลสูงกว่าพีซีหรือแล็บท็อปทั่วไปมาก แต่จากจัดซื้ออุปกรณ์ตระกูล Mac ให้พนักงานใช้ IBM กลับพบว่าค่าใช้จ่ายในระยะยาวนั้นถูกกว่าพีซีค่อนข้างมาก
Fletcher Previn รองประธานฝ่าย Workplace as a Service ของ IBM เผยว่าถึงแม้ราคาของ Mac จะสูงกว่า แต่เมื่อคำนวนค่าใช้จ่ายในระยะยาวแล้ว ถือว่าถูกกว่าพีซี ที่ได้ราคาที่ดีที่สุดจากไมโครซอฟท์ราว 3 เท่า เนื่องจากพนักงานที่ใช้พีซีพบปัญหาและต้องโทรเรียกซัพพอร์ทมากกว่า Mac ถึง 2 เท่า รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจัดการและติดตั้งที่มากกว่า ซึ่งทำให้ IBM ประหยัดไปได้ราว $273 - $543 ต่อ Mac 1 เครื่อง
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2016 มีรายได้รวม 19,226 ล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,853 ล้านดอลลาร์ โดยเมื่อพิจารณารายได้ตามส่วนธุรกิจนั้น กลุ่มธุรกิจตามกลยุทธ์ใหม่ (คลาวด์, Analytics, อุปกรณ์พกพา และความปลอดภัย) ยังคงเติบโตเป็นระดับตัวเลขสองหลัก และคิดเป็นรายได้ 40% ของรายได้รวม
ซีอีโอ Ginni Rometty กล่าวว่าการเติบโตนี้สะท้อนความเป็นผู้นำของไอบีเอ็มในการส่งมอบโซลูชั่นด้านคลาวด์ให้กับลูกค้า โดยมี Watson และ IBM Cloud เป็นแพลตฟอร์มหลักที่เข้าไปช่วยสร้างตลาดใหม่ และเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม
ที่มา: IBM
บริษัทไอทีหลายราย นำโดย AMD, Google, IBM, Mellanox, Micron ประกาศตั้งกลุ่ม OpenCAPI Consortium เพื่อพัฒนามาตรฐานบัสส่งข้อมูลความเร็วสูง Open Coherent Accelerator Processor Interface (OpenCAPI) เพื่อส่งข้อมูลระหว่างซีพียูไปยังหน่วยความจำพิเศษ (advanced memories) ตัวช่วยประมวลผล (accelerator เช่น จีพียูหรือ FPGA) และคอนโทรลเลอร์สำหรับงาน I/O
OpenCAPI ออกมาแก้ปัญหาสถาปัตยกรรม I/O ในปัจจุบันที่ใช้งานซีพียูหลักเยอะมาก และแนวทางการประมวลผลแบบใหม่ๆ ที่หันมาใช้ accelerator ช่วยประมวลผลมากขึ้น ทางกลุ่มจึงพัฒนาบัสแบบใหม่ขึ้นมา รองรับการส่งข้อมูล 25 Gbps ที่อัตรา latency ต่ำมาก (เทียบกับ PCIe ทำได้สูงสุด 16 Gbps)
Facebook, Amazon, Google, IBM และ Microsoft ประกาศจับมือก่อตั้งองค์กรความร่วมมือด้านปัญญาประดิษฐ์ในชื่อ Partnership on Artificial Intelligence to Benefit People and Society (Partnership on AI) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่เปิดพื้นที่ให้หน่วยงานพัฒนา AI ได้ทำวิจัยและแบ่งปันคำแนะนำ รวมถึงรายงานการวิจัยภายใต้สิทธิบัตรเปิดในด้านต่างๆ ร่วมกัน
Box เจ้าของบริการคลาวด์สตอเรจสำหรับตลาดองค์กร เปิดตัวบริการใหม่ Box Relay สำหรับงานด้าน workflow ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาร่วมกับ IBM
Box Relat ใช้สร้าง workflow สำหรับงานประเภทใดๆ ก็ได้ในองค์กร เช่น การออกใบแจ้งหนี้, การตรวจทานและอนุมัติสัญญา, การอบรมพนักงานใหม่ โดยผู้ใช้สามารถสร้าง workflow ของตัวเองได้ตามต้องการ หรือจะเลือกจากเทมเพลตที่มีอยู่แล้วก็ได้ ระบบมีความสามารถพื้นฐานครบครัน เช่น ให้คู่ค้าภายนอกเข้ามาใช้งานร่วมด้วยได้ มีระบบกำหนดเวลาสิ้นสุด (due date) และติดตามสถานะความคืบหน้าของงานได้แบบเรียลไทม์
ตอนนี้สถานะของ Box Relay ยังอยู่ในช่วง private beta
การขยายตัวของ Box มาทำบริการอื่นๆ นอกเหนือจากสตอเรจ แสดงให้เห็นว่าบริษัทต้องการขยับขยายไปเล่นในตลาด enterprise software ในวงกว้างมากขึ้น
สมาคมเทนนิสของสหรัฐหรือ United States Tennis Association (USTA) ประกาศความร่วมมือกับ IBM ในการนำระบบวิเคราะห์และ Cognitive Computing บนคลาวด์ของ Watson มาใช้งานกับการแข่งขัน US Open เพื่อเพิ่มประสบการณ์การรับชมการแข่งขันของแฟนๆ ดังนี้
20th Century Fox ค่ายหนังรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ประกาศความร่วมมือกับ IBM ผ่านแผนกวิจัย (IBM Research) สร้างตัวอย่างภาพยนตร์ (trailer) เรื่อง Morgan โดยใช้ Watson เป็นคนคัดเลือกฉากที่จะนำเสนอในตัวอย่างภาพยนตร์ให้
วันที่ 26 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันแห่งความเท่าเทียมกันของผู้หญิง เป็นวันระลึกถึงสิทธิในการโหวตของผู้หญิงในสหรัฐฯซึ่งย้อนไปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 แน่นอนว่าทุกคนมีสิทธิในการโหวตเท่าเทียมกันแล้วตอนนี้ แต่เรื่องค่าจ้างผู้หญิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมไอทียังคงมีปัญหาอยู่
ข้อมูลใหม่จาก National Women’s Law Center เผยว่า ผู้หญิงอเมริกัน (ทุกสายงาน) หารายได้ได้น้อยกว่าผู้ชาย นับเป็นช่วงการทำงาน 40 ปี เป็นจำนวน 430,480 ดอลลาร์ และเมื่อมาดูข้อมูลเจาะไปที่ผู้หญิงเชื้อชาติแอฟริกัน-อเมริกัน ช่องว่างห่างขึ้นอีกเป็น 877,480 ดอลลาร์ ส่วนผู้หญิงเชื้อชาติลาติน ช่องว่างจะมากถึงหลักล้านดอลลาร์
ไอบีเอ็มประกาศความสำเร็จในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ Watson ในการวินิจฉัยโรคลูคิเมียเคสหายากภายในเวลาเพียง 10 นาที เทียบกับกระบวนการการแพทย์ปกติที่ใช้เวลาวินิจฉัยถึง 2 สัปดาห์
IBM ประเทศไทย ร่วมมือกับ Digital Venture จัดการประกวดแผนธุรกิจที่พัฒนาจาก IBM Watson (IBM Watson Business Case Competition) โดยใช้โจทย์ Fintech เปิดให้นักศึกษาหรือบุคคลทั่วไปสมัครเข้ามาผ่านเว็บไซต์ เป้าหมายคือให้ภาคการศึกษาเข้าถึงเทคโนโลยี Cognitive มากขึ้น
ในปัจจุบันที่ชีวิตมนุษย์เรามีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ การประมวลผลคอมพิวเตอร์แบบเดิมที่คุ้นเคยอาจจะไม่สามารถใช้ตอบคำถามที่มีความสลับซับซ้อนได้ และมีหลายบริษัทพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ด้วยการสร้างระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่
หนึ่งในผลผลิตของการพัฒนาเหล่านั้นคือ IBM Watson ที่กลายมาเป็นบริการและผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ของ IBM ซึ่งกำลังเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน
เมื่อพูดถึงระบบสตอเรจสำหรับองค์กรในปัจจุบัน เรากำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากสตอเรจแบบดิสก์ มาเป็นสตอเรจแบบแฟลช ซึ่งมีข้อดีกว่ากันชัดเจนเรื่องประสิทธิภาพ ในขณะที่ประเด็นเรื่องความจุต่อราคาที่เคยเป็นจุดอ่อน ก็กำลังหายไปเพราะราคาของสตอเรจแบบแฟลชลดลงเรื่อยๆ ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม สตอเรจแบบแฟลชเองก็มีหลากหลายระดับ ซึ่ง IBM ในฐานะผู้นำตลาดสตอเรจแบบแฟลชก็มี FlashSystem A9000 ที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด อ่านเขียนข้อมูลได้เร็วกว่าแฟลชแบบ SSD ทั่วไป และใกล้ขึ้นไปเทียบชั้นหน่วยความจำแบบ DRAM แล้ว
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2016 มีรายได้รวม 20,238 ล้านดอลลาร์ ลดลง 2.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 2,504 ล้านดอลลาร์ ลดลง 27.4%
Ginni Rometty ซีอีโอไอบีเอ็มกล่าวว่า ที่ผ่านมาไอบีเอ็มยังดำเนินแผนงานต่อเนื่องเพื่อเป็นผู้นำในการส่งมอบสิ่งใหม่ๆ กับธุรกิจที่เหนือกว่าบริษัทอื่นในตลาด ซึ่งจะเห็นได้จากธุรกิจตามแผนกลยุทธ์ยังคงเติบโตที่ระดับตัวเลขสองหลัก อาทิ Analytics, คลาวด์, ความปลอดภัย หรือ Watson Health ซึ่งล้วนมี IBM Cloud อยู่เบื้องหลัง นอกจากนี้ไอบีเอ็มยังลงทุนเพื่อการเติบโต ในโอกาสใหม่อย่างเช่น คอมพิวเตอร์ควอนตัม, IoT หรือ Blockchain
ที่มา: ไอบีเอ็ม
เมื่อวานนี้ Microsoft ประกาศเพิ่มพันธมิตรภายใต้โครงการ Surface Enterprise Initiative ที่เป็นโครงการผลักดันการใช้อุปกรณ์ Surface ภายในองค์กร (คล้ายๆ กับกรณีที่ Dell ทำหน้าที่ขาย Surface ให้กับ Microsoft ในตลาดองค์กร) โดยมี IBM และ Booz Allen Hamilton เป็นสองบริษัทในการประกาศนี้
ตามข้อตกลงนี้ IBM จะขาย Surface ของ Microsoft ให้กับองค์กรต่างๆ ในรูปแบบของโซลูชั่นสำหรับการใช้งานในองค์กร (ข้อตกลงลักษณะเดียวกับ Apple ที่เคยทำมาแล้ว) โดยจะมีแอพลิเคชั่นเฉพาะทางติดตั้งมาเพื่อใช้กับ Surface เป็นการเฉพาะด้วย ส่วน Booz Allen Hamilton บริษัทที่ปรึกษาสายองค์กรภาครัฐของสหรัฐอเมริกา จะขายโซลูชั่นที่ใช้กับ Surface เช่นเดียวกับ IBM แต่เจาะไปยังตลาดของภาครัฐ องค์กรสาธารณะ และองค์การสาธารณสุข
นักวิจัยจาก IBM X-Force ได้ค้นพบช่องโหว่ในรอม MIUI ของ Xiaomi ที่ทำให้อุปกรณ์ที่ใช้ เสี่ยงต่อการถูกโจมตีแบบ man-in-the-middle
ช่องโหว่นี้ถูกค้นพบใน analytics package ในแอพบน MIUI ซึ่งเปิดโอกาสให้แฮ็กเกอร์สามารถดักการขออัพเดตแอพจากเครื่องไปยังเซิร์ฟเวอร์ และส่งอัพเดตปลอมที่อาจแนบมาด้วยมัลแวร์แทน และแม้ว่า MIUI จะมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์อัพเดตแต่ก็เป็นการตรวจสอบด้วยค่าแฮชจากไฟล์ JSON ที่ได้รับจากเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งอาจจะถูกแฮกเกอร์คั่นกลางการเชื่อมต่อและเปลี่ยนค่าไปได้
ทาง Xiaomi ได้ทราบถึงช่องโหว่นี้ และปล่อยอัพเดต MIUI เวอร์ชัน 7.2 เพื่ออุดช่องโหว่นี้เรียบร้อยแล้ว
IBM Cloud Video ได้ทำผลสำรวจผู้สมัครบริการบอกรับสมาชิกวิดีโอ เช่น Netflix, Hulu, Amazon โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 1,007 คนในสหรัฐเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยคำถามในแบบสอบถามก็มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานบ่อย ๆ, การยกเลิกสมาชิก ฯลฯ
ผลสำรวจของ IBM นั้นเผยว่า 31% ของผู้สำรวจบอกว่าพวกเขาได้ยกเลิกสมาชิกวิดีโอไปแล้ว ซึ่งเมื่อสนใจเฉพาะที่บริการของ Amazon หรือ Hulu นั้น ยอดยกเลิกบริการมีสูงถึง 40% และเมื่อถามถึงเหตุผลว่าทำไมผู้ใช้จึงยกเลิกบริการ 27% ตอบว่าเพราะมีโฆษณามากเกินไป, 25% เลิกเพราะเหตุผลด้านราคา, 20% บอกว่าเพราะมีวิดีโอน้อยไป และ 17% บอกว่าเพราะปัญหาด้านเทคนิค โดย 73% ในนั้นกล่าวถึงปัญหาการรอโหลดวิดีโอ
The Weather Company (TWC) บริษัทลูกของ IBM ประกาศความร่วมมือกับ Gogo ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านดาวเทียมสำหรับเครื่องบินเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ เปิดตัว Turbulance Auto PIREP System (TAPS) ระบบรายงานสภาวะอากาศและหลุมอากาศของเครื่องบินแบบใหม่ ที่ใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รายงานสภาพอากาศจริงให้แก่นักบิน
IBM ประกาศความร่วมมือกับ Local Motors บริษัทผลิตรถยนต์จากรัฐแอริโซนาเปิดตัว Olli รถบัสไร้คนขับขนาด 12 ที่นั่งที่ขับเคลื่อนด้วย Watson เวอร์ชันที่ถูกปรับแต่งสำหรับการทำงานบน Olli โดยเฉพาะ
อย่างไรก็ตาม IBM ระบุว่า Watson ไม่ได้เป็นตัวควบคุมระบบรถโดยตรง แต่มีไว้เพื่อเพิ่มประสบการณ์บนรถของผู้โดยสาร โดยเฉพาะการพูดคุยและสั่งการกับตัวรถอย่างการขอคำแนะนำเรื่องร้านอาหารระหว่างการเดินทาง
IBM ระบุว่ารถบัส Olli ใช้ Watson APIs 4 ตัวคือ Speech to Text, Natural Language Classifier, Entity Extraction และ Text to Speech ขณะที่ตัวรถมีเซ็นเซอร์กว่า 30 แห่งรอบคัน สำหรับใช้ในการคำนวนและประมวนผลข้อมูลการขับขี่
ข่าวสั้นครับ The Weather Company บริษัทลูกของ IBM ที่ได้มาจากการซื้อกิจการในปีที่แล้ว ประกาศเปิดตัว Deep Thunder ระบบพยากรณ์อากาศที่บริษัทพัฒนาร่วมกับ IBM Research โดยอาศัยหลักการของ machine learning เข้ามาช่วยพยากรณ์สภาวะอากาศสำหรับท้องถิ่น ในระยะเวลาสั้นๆ ได้ ทำให้วางแผนธุรกิจได้ดีขึ้น
Deep Thunder เป็นระบบที่ใช้ machine learning เข้ามาพยากรณ์อากาศจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ และนำมาประเมินผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ อย่างเช่น จำนวนลูกค้าที่อาจจะลดลง หรือการบริหารสินค้าที่จำหน่าย ตลอดจนถึงในกรณีที่บริษัทประกันภัย ต้องประเมินความเสี่ยงและเบี้ยประกัน สามารถใช้บริการของ Deep Thunder เพื่อประเมินสภาพอากาศและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง
IBM เปิดศูนย์ Watson Center ที่ประเทศสิงคโปร์ เน้นเทคโนโลยีในอนาคต 2 กลุ่มคือ IBM Studios งานด้านดีไซน์และ Cognitive Computing ยุคใหม่ กับ IBM Garage เน้นการวิจัยเรื่อง Blockchain
Blognone ได้รับเชิญจาก IBM ให้ร่วมงานแถลงข่าวเปิดศูนย์แห่งนี้ด้วย
ผู้บริหารของ IBM ระบุว่าแวดวงเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปมาก การใช้คลาวด์และอุปกรณ์พกพากลายเป็นมาตรฐาน เมื่อคนนำไอทีเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น วิธีการสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักรจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญมาก ส่งผลให้ IBM ต้องลงทุนเรื่องนี้อย่างมาก คำตอบคือเทคโนโลยีกลุ่ม Cognitive Computing (ในทีนี้คือ Watson) และการดีไซน์
Tharman Shanmugaratnam รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ กล่าวปาฐกถาสั้นๆ ในโอกาสเปิดตัวศูนย์ IBM Watson Center Singapore เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน cognitive, AI, blockchain ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
รองนายก Tharman บอกว่าสิงคโปร์เป็นประเทศเล็ก มีคนน้อย เป้าหมายของรัฐบาลสิงคโปร์คืออยากให้ประชาชนทุกคนได้ทำงานที่มีคุณภาพ (ใช้คำว่า quality jobs) แม้การมาถึงของเทคโนโลยีใหม่ๆ จะทำลาย (disrupt) อุตสาหกรรมเก่าๆ บางอย่างลง ตำแหน่งงานบางอย่างจะหายไป แต่ในอีกมุม เทคโนโลยีเหล่านี้ก็เป็นตัวช่วย (enabling technology) สร้างตำแหน่งงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นด้วย
Tharman ยกตัวอย่างตำแหน่งงานใหม่ๆ อย่างงานด้าน AI, cognitive และอีคอมเมิร์ซ
ไอบีเอ็มเข้าเป็นสมาชิกระดับแพลทินัมของ R Consortium แล้วในวันนี้ โดยสมาชิกระดับนี้มีสามรายคือ ไอบีเอ็ม, ไมโครซอฟท์, และ RStudio การเข้าเป็นสมาชิกระดับนี้ทำให้ไอบีเอ็มสามารถส่งตัวแทนเข้ามาเป็นกรรมการของ R Consortium เพื่อแนะแนวทางด้านเทคนิคของชุมชน R ต่อไป
ภาษา R ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ จากความต้องการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่และข้อมูลทางสถิติ ไมโครซอฟท์เองก็เพิ่มฟีเจอร์ภาษา R เข้ามาใน Visual Studio แล้ว การที่ไอบีเอ็มเข้ามามีส่วนร่วมในชุมชน R เช่นนี้ก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลเพราะลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ก็อาจจะต้องใช้งานเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ R มากขึ้นเรื่อยๆ
ข่าวสั้นทันเหตุการณ์ครับ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา IBM และ Cisco ประกาศความร่วมมือกันในด้าน Internet of Things (IoT) โดยระบุว่าจะพัฒนาระบบสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล (data analytics) ที่ทำให้ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของทั้งสองบริษัท ทำงานได้สะดวกมากขึ้น
ภายใต้ความตกลงนี้ ผู้ใช้บริการจะสามารถเข้าถึงบริการทั้งของ IBM (Watson IoT, Business Analytics) และ Cisco (edge analytics) ซึ่งจะนำเอาข้อมูลจากอุปกรณ์สาย IoT ที่วิ่งอยู่บนโครงสร้างของ Cisco มาวิเคราะห์กับระบบของ Watson IoT แทบจะทันทีจากจุดที่อุปกรณ์ตั้งอยู่ โดยระบุว่าอุตสาหกรรมอย่างเช่น โรงงาน แท่นจุดเจาะน้ำมัน บริษัทขนส่ง และเหมืองแร่ จะได้รับประโยชน์จากความร่วมมือในครั้งนี้
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว IBM ประกาศว่าได้เพิ่มโครงการ OpenZika ซึ่งเป็นโครงการประมวลผลข้อมูลเพื่อวิจัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัส Zika เข้า World Community Grid (WCG) โครงการประมวลผลแบบกระจาย (grid computing) เพื่องานที่ไม่แสวงหาผลกำไร
โครงการ OpenZika เป็นความร่วมมือระหว่าง Federal University of Goias ของบราซิล ร่วมกับมูลนิธิ Oswalso Cruz, Rutgers University's New Jersey Medical School, Collaborations Pharmaceuticals และ Skaggs School of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences ของ University of California San Diego ซึ่งจะร่วมกันหาการดื้อยาของไวรัส Zika
โครงการนี้เปิดแล้วบน WCG โดยไม่จำกัดแพลตฟอร์มที่ใช้รันสำหรับการประมวลผล ใครสนใจสามารถเพิ่มเข้าไปได้ทันทีครับ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา IBM ประกาศนำเอา NVIDIA Tesla M60 GPU accelerator เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ IBM Cloud ระบบคลาวด์ของตัวเองแล้ว โดยมาพร้อมกับ NVIDIA GRID เทคโนโลยี virtualization ของ NVIDIA
IBM ระบุว่าการนำเอา Tesla M60 GPU เข้ามาเสริมทำให้สมรรถนะของการประมวลผลดีขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะการประมวลผลที่อาศัยประโยชน์จาก GPU อย่างเช่นงานด้านกราฟิกหรือการวิเคราะห์ข้อมูล
ทั้งนี้ IBM เดิมมี Tesla K80 และ K10 GPU อยู่ในระบบคลาวด์ของตัวเองอยู่แล้ว
ที่มา - IBM