ต่อจากเมื่อวานนี้ ในวันที่สองของงาน IBM InterConnect 2017 มีการแถลงและขึ้นพูดของฝ่ายบริหารฝั่งพันธมิตรของ IBM โดยมากแล้วเป็นการเน้นย้ำถึงความร่วมมือเดิม แต่ก็มีความร่วมมือใหม่ขึ้นมาด้วยเช่นกัน คนที่นำแถลงในครั้งนี้คือ Ginni Rometty ซีอีโอของ IBM และสวมบทบาทเป็นพิธีกรบนเวทีเองด้วย
หมายเหตุ ผมมาร่วมงานนี้ตามคำเชิญของทาง IBM ประเทศไทย
ที่งาน IBM InterConnect 2017 จัดขึ้นที่เมือง Las Vegas ปีนี้ IBM ได้มีการแถลงความร่วมมือและบริการใหม่ๆ มากมาย ในวันแรกมีการแถลงความร่วมมือในงานเป็นจำนวนมาก นอกเหนือไปจากการนำ Hyperledger มาเป็นบริการบน IBM Cloud ดังต่อไปนี้
หมายเหตุ ผมมาร่วมงานนี้ตามคำเชิญของทาง IBM ประเทศไทย
IBM ประกาศเปิดตัว IBM Blockchain for Hyperledger Fabric v1.0 เป็นบริการสำหรับลูกค้าองค์กรและภาคธุรกิจ ให้เช่าระบบ Blockchain แบบ as a Service ที่รันบนคลาวด์ของ IBM
Hyperledger Fabric เป็นซอฟต์แวร์ blockchain แบบ open-source ในโครงการ Hyperledger ภายใต้ Linux Foundation ที่มี IBM และ Intel เป็นผู้สนับสนุนหลัก ขณะที่ส่วนที่ IBM นำมาให้บริการนี้เป็นเกรดระดับองค์กร ที่รองรับการทำธุรกรรมมากกว่า 1,000 ครั้งต่อวินาที บน ecosystem ที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก
จากการที่ IBM จัดงาน IBM Connect 2017 ที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ร่วมชมในงานนี้ พร้อมโอกาสสัมภาษณ์คุณ George Ugras ซึ่งเป็น Managing Director ของ IBM Ventures บริษัท VC ของ IBM สั้นๆ (ผมเพิ่งรู้ว่ามีจากงานนี้ด้วยซ้ำ) ถึงแนวทางและนโยบายของ IBM Ventures ที่อาจจะแตกต่างจาก CVC ของหลายๆ บริษัทอยู่ไม่น้อย
เป็นเวลากว่า 6 ปีมาแล้วที่ IBM เผยโฉมปัญญาประดิษฐ์ Watson ในการแข่งขันรายการ Jeopardy จนปัจจุบัน Watson ก็มีพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเทคโนโลยี Cognitive Computing ที่ IBM พยายามชูในฐานะเทคโนโลยีเบื้องหลัง Watson ที่ IBM ระบุว่าเป็นมากกว่าปัญญาประดิษฐ์ แต่เป็นการประมวลผล วิเคราะห์และเรียนรู้ข้อมูลขนาดใหญ่
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cognitive Computing ได้จากบทความ รู้จัก IBM Watson ระบบ Cognitive Computing แห่งยุคข้อมูลมหาศาล
หลังจากที่ปล่อยให้คู่แข่งอย่าง D-Wave นำหน้าไปหนึ่งก้าวด้วยการเปิดตัวคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 2,000 คิวบิต ก็ถึงทีของ IBM ที่จะออกมาเผยถึงโครงการด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมของตัวเองถึง 2 หัวข้อด้วยกัน
IBM ประกาศความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับ Salesforce เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้าน AI ร่วมกัน ส่งผลให้ Watson ของ IBM มีโอกาสได้ร่วมงานกับ Einstein แพลตฟอร์ม AI ของ Salesforce
ภายใต้ความร่วมมือนี้ Watson จะเข้าไปวิเคราะห์ข้อมูลของ Salesforce Intelligent Customer Success Platform เพื่อหาแนวโน้มทางธุรกิจร่วมกับ Einstein ที่ทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว กระบวนการพัฒนาให้ AI ทั้งสองระบบทำงานร่วมกันจะเสร็จในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
โดนัลด์ ทรัมป์ ยกเลิกการคุ้มครองนักเรียนเพศทางเลือกซึ่งเป็นนโยบายสมัยรัฐบาลโอบามา อนุญาตให้นักเรียนข้ามเพศเข้าห้องน้ำได้ตามเพศสภาพที่ตนเลือก การเพิกถอนนโยบายดังกล่าวทำให้มีกลุ่มนักเรียนออกมาประท้วง และยังมีบริษัทไอทีต้องออกโรงแสดงความเห็นอีกครั้ง ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกันคือไม่เห็นด้วยกับการเพิกเฉยของรัฐบาล
บริษัทที่ออกมาแสดงจุดยืนคือ Apple, Alphabet, Facebook, IBM, Lyft, Microsoft, Pinterest, Salesforce, Yahoo และ Zenefits ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างคำพูดจากบางบริษัท
เราอาจใกล้เห็นยุคของ IoT Commerce เมื่อ IBM จับมือกับ Visa เชื่อมเทคโนโลยี token ของ Visa เข้ากับแพลตฟอร์ม Watson IoT แม้การร่วมมือครั้งนี้จะยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม แต่ก็คาดเดาได้ว่าจะสามารถสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ได้ในอนาคต
Bret Greenstein รองประธานฝ่ายธุรกิจดิจิทัลของ IBM Watson IoT ระบุว่าเราไม่จำเป็นต้องซื้อของผ่านหน้าจออย่างเดียว จุดประสงค์ของการร่วมมือครั้งนี้คือเราจะสามารถซื้อของผ่านเอนด์พอยต์ (endpoint) ได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น เครื่องทำกาแฟ เครื่องปรินท์ รถยนต์ และอาจสร้างโอกาสทางธุรกิจในตลาดอาหาร สุขภาพได้
นับวันบทบาทปัญญาประดิษฐ์ยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ Watson จากค่าย IBM ก่อนหน้านี้เป็นผู้ช่วยจัดการเอกสารภาษี ล่าสุดก็มารับบทบาทเป็นผู้ช่วยตอบคำถามเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์แก่บริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ
IBM ฝึกฝน Watson เรื่องความปลอดภัยไซเบอร์มาตลอดทั้งปี 2016 ป้อนข้อมูลภาษาความปลอดภัยไซเบอร์ และเอกสารกว่าล้านฉบับ โดย Watson จะทำงานผสมผสานกับแพลตฟอร์มใหม่ของ IBM คือ Cognitive SOC ในการตอบโต้กับภัยไซเบอร์ผ่านเอนด์พอยต์ คลาวด์ เครือข่าย ในแพลตฟอร์มใหม่นี้มีแอพพลิเคชั่น IBM QRadar Advisor with Watson เป็นช่องทางเข้าสู่คลังข้อมูลเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ของ Watson โดยเฉพาะ ผู้ใช้ถามคำถามโดยใช้เสียง Watson จะบอกข้อมูลมาให้ เพื่อสามารถจัดการภัยไซเบอร์ได้ทันท่วงทีมากขึ้น
เนื่องจากเวลามีปัญหาเกี่ยวกับภัยไซเบอร์ ทีมสืบสวนต้องใช้เวลาในการค้นหานานคิดเป็น 20,000 ชั่วโมง และต้องค้นหาเหตุการณ์ภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกว่า 2 แสนเหตุการณ์ต่อวัน ปัญญาประดิษฐ์จึงสามารถลดขั้นตอนและเวลาในการสืบสวนลงได้เยอะ
IBM Watson ร่วมมือกับบริษัท H&R Block ทำปัญญาประดิษฐ์จัดการเรื่องเอกสารภาษีและสิทธิลดหย่อนภาษีที่คนอาจมองข้ามไป
ข้อมูลภาษีมีมหาศาล แค่รหัสภาษีจากรัฐบาลกลางก็มีมากกว่า 74,000 หน้าแล้ว ยังไม่รวมการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายภาษีประจำปีที่ส่งผลกระทบต่อคนเสียภาษี ด้วยข้อมูลจำนวนมากและรายละเอียดขนาดนี้ คนทำภาษีมีโอกาสพลาดรายละเอียดการลดหย่อนภาษีเล็กๆ น้อยๆ ได้ง่ายมาก การทำงานตรงนี้จึงจำเป็นต้องมีผู้ช่วย
โครงการดังกล่าวยังอยู่ในเฟสแรก เริ่มจากทาง H&R Block ป้อนข้อมูลภาษี ภาษาวงการภาษี คำถามที่พบบ่อย ความรู้เรื่องภาษีทั้งหมดเข้าระบบ IBM Watson ก่อน ให้ซอฟต์แวร์เรียนรู้เนื้อหา จากนั้นซอฟต์แวร์จะเป็นโซลูชั่นให้ลูกค้าด้วยการเชื่่อมโยงข้อมูลคลาวด์กับข้อมูลลูกค้า เพื่อระบุสิทธิลดหย่อนภาษีที่ลูกค้าควรจะได้รับ
การใช้งาน SAP HANA platforms บนเครื่อง IBM Power Systems ขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในองค์กรขนาดใหญ่ โดยทาง Nextech System Service เป็นผู้ให้บริการออกแบบ วางแผน และติดตั้ง SAP HANA บน IBM Power Systems ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานแบบเหนือชั้น
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2016 มีรายได้รวม 21,770 ล้านดอลลาร์ ลดลง 1% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 4,501 ล้านดอลลาร์
ถึงแม้ส่วนรายได้ของไอบีเอ็มจะยังคงลดลงต่อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่ 19 แต่กลุ่มธุรกิจใหม่ตามเป้าหมายบริษัท (คลาวด์, Analytics, อุปกรณ์พกพา และความปลอดภัย) ยังคงเติบโตถึง 11% และหากพิจารณาเฉพาะธุรกิจคลาวด์นั้นเติบโตถึง 33% อันเป็นผลจาก IBM Watson, IBM Blockchain และ IBM Cloud ที่มีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
David Holt นักวิเคราะห์จาก CFRA Research มองว่าถึงแม้รายได้จากธุรกิจใหม่ตามกลยุทธ์จะยังเติบโตได้ดีมาก แต่ก็น่าสนใจว่าเมื่อใดที่ภาพรวมรายได้ของไอบีเอ็มจะกลับทิศทางมาเพิ่มขึ้น
IBM ยังครองแชมป์บริษัทในสหรัฐอเมริกาที่จดสิทธิบัตรมากที่สุด เป็นปีที่ 24 ติดต่อกัน โดยในปี 2016 ที่ผ่านมา IBM ยังสร้างสถิติใหม่ จดสิทธิบัตรมากถึง 8,088 รายการในปีเดียว หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ย 22 รายการต่อวัน อีกทั้งยังเป็นบริษัทแรกที่ทำสถิติจดสิทธิบัตรได้เกิน 8,000 รายการอีกด้วย
IBM ระบุว่าในจำนวนนี้ มีสิทธิบัตร 2,700 รายการที่เกี่ยวข้องกับ AI, cognitive computing, cloud computing ซึ่งแสดงให้เห็นถึงทิศทางของบริษัทในยุคเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกที
IBM บอกว่าเหตุผลที่บริษัทจดสิทธิบัตรจำนวนมาก ไม่ใช่รายได้เรื่องการให้ไลเซนส์จากสิทธิบัตรเพียงอย่างเดียว แต่จดสิทธิบัตรเพื่อให้ครบ lifecycle ของวงจรการวิจัยและพัฒนาที่ยาวนาน เพื่อให้สามารถวนไปสร้างนวัตกรรมในรอบถัดไปได้อีก
“Nextech มีความตั้งใจที่จะทำให้แน่ใจว่าลูกค้าของเรานั้น จะได้รับความคุ้มค่าจากผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพของเรา และมีความพึงพอใจสูงสุดที่ได้รับบริการจากเรา”
ประโยคข้างต้นนี้ ได้ถูกระบุไว้ในข้อความวิสัยทัศน์ของบริษัท Nextech System Service จำกัด ซึ่งเป็นข้อความที่แสดงถึงการให้คำมั่นต่อลุกค้าทุกรายที่ได้เข้ามาใช้บริการของ Nextech ตั้งแต่วันแรกที่บริษัทได้ถูกก่อตั้งขึ้นมา โดยตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา Nextech เองได้รับการยืนยันจาก User ผู้ใช้บริการของบริษัทจำนวนหลายท่านว่า Nextech ได้ให้บริการทั้งด้านสินค้าและงานบริการที่ครบวงจรพร้อมคุณภาพที่ไว้ใจได้มาโดยตลอด
ถึงแม้ IBM มีบริการคลาวด์ของตัวเองทั้ง Softlayer และ Bluemix แต่บริษัทก็อนุญาตให้ลูกค้านำไลเซนส์ซอฟต์แวร์ในสังกัด IBM (เช่น DB2, Cognos, Websphere, Tivoli, Informix) ไปรันบนคลาวด์ยี่ห้ออื่นๆ ได้เช่นกันภายใต้นโยบาย BYOSL (Bring Your Own Software License)
ที่ผ่านมา IBM รับรองการนำซอฟต์แวร์ของตัวเองไปรันบน Amazon EC2 และ Microsoft Azure แต่ล่าสุด IBM ก็ประกาศรองรับ Google Compute Engine เพิ่มมาอีกรายแล้ว ส่งผลให้ตอนนี้ซอฟต์แวร์ของ IBM รองรับบริการ public cloud รายใหญ่ทั้งสามค่ายครบหมดแล้ว
IBM Security ประกาศตั้งศูนย์บัญชาการ X-Force Command Centers เพื่อรับมือกับภัยคุกคามด้านความมั่นคงไซเบอร์โดยเฉพาะ
ศูนย์บัญชาการแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Cambridge รัฐแมสซาชูเซตส์ จุดเด่นของศูนย์แห่งนี้คือมีระบบซิมูเลเตอร์ Cyber Range จำลองภัยคุกคามด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้ลูกค้าภาคเอกชนทดสอบ เช่น ลองยิงถล่มหรือแฮกระบบ เพื่อทดสอบความพร้อมของลูกค้า และฝึกฝนเจ้าหน้าที่ฝ่ายความปลอดภัยของลูกค้า ให้รับมือกับภัยคุกคามของจริง ตัวซิมูเลเตอร์ Cyber Range จะใช้ไวรัสหรือมัลแวร์ของจริงเฉกเช่นเดียวกับบรรดาแฮกเกอร์
นอกจากนี้ IBM ยังตั้งหน่วยรับมือภัยคุกคามชื่อ IBM X-Force Incident Response and Intelligence Services (IRIS) คอยให้คำปรึกษากับลูกค้า และช่วยสอบสวนหลักฐานในกรณีโดนแฮกไปแล้ว
ทุกองค์กรทั่วโลกมีแต่จะใช้งานระบบไอทีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งระบบหลังบ้านเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน ไปจนถึงระบบด้านข้อมูลและการทำตลาด เพื่อประสิทธิภาพในการแข่งขัน นโยบายของประเทศยังกำหนด ประเทศไทย 4.0 ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ ทำให้ทุกองค์กรต้องมองหาการติดตั้งระบบไอทีที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
คำถามที่ผู้บริหารองค์กรต่างๆ ได้รับคือ ปัจจัยสำคัญที่จะเลือกผู้ติดตั้งระบบไอที หรือ System Integrated (SI) คืออะไร
ไอบีเอ็มร่วมกับอินเทลและเลอโนโว เตรียมเปิดให้ทดสอบ Intel Optane ในปีหน้า สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการทดสอบประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใหม่ สามารถเข้าใช้งานได้ผ่านบริการ IBM Bluemix
Intel Optane เป็นหน่วยความจำแบบแฟลช (ข้อมูลไม่หายเมื่อปิดเครื่อง) ที่ความเร็วสูงจนกระทั่งใกล้เคียงหน่วยความจำหลัก ความเร็วเช่นนี้ทำให้แอปพลิเคชั่นต้องมองแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเสียใหม่เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
อินเทลเปิดตัว Optane มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่คาดว่าสินค้าจริงจะเริ่มส่งมอบได้ในปีหน้า
กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ร่วมกับไอบีเอ็มพัฒนาบริการ OriginCert API สำหรับการออกหนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee - LG) ทำให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงตัวเอกสารได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยขึ้น
สำหรับเอนจิน blockchian ที่ KBTG เลือกใช้ครั้งนี้เป็น Hyperledger Fabric การทำงานจะเป็นวงปิด (private blockchain) และตัวบริการจะเปิดให้ธนาคารอื่นๆ ที่สนใจเข้ามาร่วมใช้งานได้
ที่มา - จดหมายข่าวธนาคารกสิกรไทย
แอพทวงงานยอดนิยม Slack ประกาศความร่วมมือกับ IBM ในการนำระบบ Watson เข้ามาช่วยเพิ่มความฉลาดของบ็อตใน Slack
ในเบื้องต้น ตัวบ็อตมาตรฐานของ Slack ที่ไว้คอยช่วยเหลือผู้ใช้ (หรือที่เรียกกันว่า Slackbot) จะเปลี่ยนมาใช้เอนจิน Watson Conversation ช่วยให้การสนทนาแม่นยำมากขึ้น
ในระยะถัดไป IBM จะพัฒนาระบบบ็อตที่ช่วยงานด้านไอทีและเครือข่ายขององค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถติดตามสถานะและแก้ปัญหาระบบไอทีได้จากบ็อตของ Slack ที่ใช้เอนจิน Watson คอยวิเคราะห์และตอบคำถามให้ งานนี้ IBM บอกว่าบ็อตจะฉลาดขึ้นเรื่อยๆ จากการเรียนรู้แบบ machine learning เมื่อเจอข้อมูลจริงจำนวนมากๆ
IBM ประกาศความร่วมมือกับค่ายรถยักษ์ใหญ่ General Motors (GM) เพื่อนำระบบ Watson ไปพัฒนาระบบข้อมูลภายในรถยนต์ OnStar ของ GM
GM มีระบบนำทาง-แสดงข้อมูลภายในรถยนต์ชื่อ OnStar มานานพอสมควรแล้ว (อ่านเรื่องมหากาพย์ OnStar) แต่ก็มีข้อจำกัดในแง่ความปลอดภัยและความสะดวกในการใช้งานมาโดยตลอด ยิ่งช่วงหลัง OnStar ต้องมาเจอกับการแข่งขันจากฝั่งสมาร์ทโฟน ทั้ง Android Auto และ Apple CarPlay ส่งผลให้ GM ต้องรีบปรับปรุง OnStar ให้มีความสามารถทัดเทียมกัน
IBM เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ของแพลตฟอร์ม Watson หลายอย่าง ในงาน IBM World of Watson 2016 ที่ลาสเวกัส
IBM Watson เปิดตัวบริการใหม่ 2 ตัวสำหรับองค์กรที่ต้องการประมวลผลข้อมูลในยุค cognitive ได้แก่ IBM Watson Data Platform และ IBM Watson Machine Learning Service
IBM Watson Data Platform เป็นแพลตฟอร์มสำหรับเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ต่อในอนาคต ตัวแกนกลางของระบบคือ Apache Spark ที่รันบน IBM Cloud และสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลบางอย่างที่ IBM เคยไปลงทุนไว้ เช่น The Weather Company เพื่อนำข้อมูลไปผสมผสานกับข้อมูลที่องค์กรมีได้
ตัว Data Platform รองรับภาษาโปรแกรมหลากหลาย ทั้ง SQL, Python, R, Java, Scala และเชื่อมต่อกับบริการของพาร์ทเนอร์รายอื่นๆ เช่น Keen IO, RStudio ได้ด้วย
เว็บไซต์การเรียนรู้ออนไลน์ Udactiy ประกาศความร่วมมือกับ IBM Watson, Amazon Alexa และ Didi Chuxing บริการเรียกรถแท็กซี่รายใหญ่ของจีน เปิดตัวคอร์สอนวิชา AI ให้เรียนผ่านระบบออนไลน์
คอร์ส Artificial Intelligence ของ Udacity เป็นหลักสูตระยะสั้น (nanodegree) ออกแบบมาสำหรับตลาดแรงงานในอนาคตที่จะขาดแคลนทักษะด้าน AI อีกมาก เนื้อหาในคอร์สมีเรื่อง Search and Optimization, Logic, Reasoning & Planning, Building Models of Probability, Natural Language Processing, Computer Vision