หลังจากอินเทลปล่อยซอร์สโค้ดของชุดซอฟต์แวร์ Board Support Package ไม่กี่วัน ตอนนี้อินเทลก็ปล่อยซอร์สโค้ดเฟิร์มแวร์ทั้งหมด Arduino 101 แล้ว
เฟิร์มแวร์หลักนี้จะรันอยู่บนคอร์ x86 ขณะที่ sketch จากคอมไพล์เลอร์ Arduino จะรันอยู่บนคอร์ ARC และสื่อสารกันด้วย callback ตอนนี้หน้าที่หลักของคอร์ x86 คือการสื่อสาร Bluetooth LE และการเชื่อมต่อ USB
การเปิดเฟิร์มแวร์เช่นนี้จะทำให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึงฟังก์ชั่นมีโมดูล Curie มีอยู่แล้วแต่เฟิร์มแวร์ดั้งเดิมของ Arduino 101 ไม่รองรับ เช่นการอัพโหลด sketch ผ่าน Bluetooth LE, หรือการเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานระดับลึก
หลังจากแถลงตัวเลขผลประกอบการไปแล้ว และประกาศว่าจะปลดคนงานกว่า 12,000 คน สำนักข่าว BBC ของอังกฤษ รายงานว่า Intel จะปลดคนงานตามแผนงานการปรับโครงสร้างบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของตลาด ที่ความต้องการอุปกรณ์อย่างพีซีนั้นเริ่มลดลง ภายใน 12 เดือนจากนี้
ภายใต้แผนงานนี้ Intel จะใช้เงินกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในการปรับโครงสร้างบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริการฝ่ายการเงิน (Chief Financial Officer: CFO) Stancy Smith จะเข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยรับผิดชอบยอดขาย การผลิต และการดำเนินงาน (ไม่ระบุตำแหน่ง) ส่วน CFO คนใหม่ทาง Intel จะเริ่มกระบวนการสรรหาตั้งแต่ตอนนี้
ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมายอดขายพีซีทั้งอุตสาหกรรมตกลง 11.5% ส่วนราคาหุ้นของ Intel ก็ตกลงไปแล้วกว่า 8.4% ในปีนี้
ที่มา - BBC
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรกของปี 2016 มีรายได้รวม 13,801 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน กำไรสุทธิ 2,629 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 19% อย่างไรก็ตามบริษัทประเมินตัวเลขในไตรมาส 2 ว่าจะเติบโตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ซีอีโอ Brian Krzanich กล่าวว่าตัวเลขที่ออกมาสะท้อนว่ากลยุทธ์ของบริษัทยังดำเนินต่อไปได้ดี ที่จะเปลี่ยนผ่านจากบริษัทด้านพีซี ไปสู่บริษัทที่รองรับกลุ่มคลาวด์และอุปกรณ์เชื่อมต่อหลายพันล้านชิ้น นอกจากนี้บริษัทยังประกาศปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยจะมีการปลดพนักงานออกราว 12,000 คน คิดเป็น 11% ของพนักงานทั่วโลก
สำหรับรายได้แยกตามส่วนธุรกิจนั้น กลุ่ม Client Computing เติบโต 2%, กลุ่ม Data Center เติบโต 9% ขณะที่กลุ่ม Internet of Things เติบโตถึง 22%
ที่มา: Intel
บอร์ด Arduino 101 หรือชื่อทางการค้านอกสหรัฐฯ คือ Genuino 101 เปิดตัวมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วและเพิ่งทำตลาดจริงจังไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เมื่อสองสัปดาห์ก่อนทางอินเทลก็ส่งบอร์ดตัวนี้มาให้ผมทดลองใช้งาน ผมได้ลองใช้งานมาระยะหนึ่งแล้วก็ถึงเวลามารายงานผลกัน
แต่ก่อนชุดพัฒนาสำหรับชิปรุ่นใหม่ๆ ของอินเทลหรือผู้ผลิตรายใหญ่อื่นๆ มักจะจำกัดให้กับพันธมิตรรายสำคัญเท่านั้น แต่ปีที่แล้วอินเทลสัญญาว่าจะเปิดชุดพัฒนา Xeon Phi รุ่นต่อไปให้นักพัฒนาทั่วไปเข้าถึงกันได้ง่ายขึ้น ตอนนี้ชุดพัฒนาก็เปิดรับสั่งแล้ว
ชุดพัฒนา Xeon Phi รุ่นต่อไปที่เป็นซ็อกเก็ตแทนที่จะเป็นการ์ดแบบรุ่นก่อนหน้านี้ มีสองรุ่นคือรุ่นเดสก์ทอป และรุ่นแร็กขนาด 2U ภายในมีสี่โหนด
ชุดแบบเดสก์ทอปราคา 4,982.88 ดอลลาร์ และชุดแบบแร็กราคา 19,703.14 ดอลลาร์ ติดตั้ง CentOS 7.2 และให้ไลเซนส์ Intel Parallel Studio XE มาด้วย ส่วนรุ่นแร็กจะได้ Intel Parallcel Studio XE Cluster Edition มาด้วย
อินเทลเตรียมออก Celeron/Pentium ตัวใหม่ "Apollo Lake" ชิปสำหรับใช้ในโน้ตบุ๊กราคาถูก (entry level) มาแทนที่ "Braswell" มีรายละเอียดดังนี้
โมดูล Curie ของอินเทลเปิดตัวมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และตอนนี้ก็มีบอร์ด Arduino 101 วางขายทั่วไป ตอนนี้ทางอินเทลก็ประกาศจะเปิดซอร์สชุดซอฟต์แวร์ Board Support Package (BSP) สำหรับโมดูล Curie
การเปิดซอร์สครั้งนี้น่าจะทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการนำโมดูล Curie ไปใช้ในสินค้าของตัวเองทำได้ง่ายขึ้น ตัวซอฟต์แวร์ที่ให้มาจะเปิดให้ใช้ฟังก์ชั่นพื้นฐานของ Curie เช่น USB, JTAG, หรือ Bluetooth LE
งาน Intel Developer Forum (IDF) ที่เสิ่นเจิ้นปีนี้ทางอินเทลเปิดตัวชุดพัฒนาหุ่นยนต์ Intel RealSense Robotic Development Kit เป็นบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก UP Board พร้อมกับกล้อง RealSense R200
UP Board ในชุด ใช้ซีพียู Atom x5-Z8350 พร้อมกับแรม 4GB และหน่วยความจำแฟลช eMMC 32GB มีพอร์ต USB 2.0 สี่พอร์ต และ USB 3.0 หนึ่งพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อกับกล้อง R200
ตัวกล้อง R200 สามารถจับความลึกได้ที่ระยะ 3-4 เมตรภายในอาคาร ภาพความลึกได้ความละเอียด 640x480 พิกเซลที่ 60 เฟรมต่อวินาที ส่วนภาพปกติได้ความละเอียด 1080p ที่ 30 เฟรมต่อวินาที
ราคา 249.99 ดอลลาร์เริ่มสั่งได้แล้วตั้งแต่ตอนนี้ เฉพาะในสหรัฐฯ, แคนาดา, จีน, ยุโรป, และญี่ปุ่น ส่งมอบสินค้าช่วงกลางปีนี้
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีข้อมูลหลุดจากเว็บไซต์อินเทลเกี่ยวกับซีพียู Core i7-6950X แบบ 10 แกนประมวลผลในนาม Broadwell-E ซึ่งไม่มีใครยืนยันข้อมูล จนกระทั่งวันนี้ ASRock ระบุในข่าวของตนว่าไบออสรุ่นใหม่ของเมนบอร์ดชิปเซ็ต X99 รองรับชิปเรือธงรุ่นดังกล่าวแล้ว รวมถึงรุ่นรองลงมาอย่าง i7-6900K, i7-6850K และ i7-6800K ตามลำดับ (อ่านสเปคข่าวลือเมื่อปีกลาย) นับเป็นการให้ข้อมูลอย่างเป็นทางการจากทางผู้ผลิตเมนบอร์ด แทนที่จะเป็นฝั่งอินเทลระบุเองครับ
ชิป Quark D2000 ของอินเทลเปิดตัวมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ตอนนี้อินเทลก็ประกาศบอร์ดพัฒนาออกมาแล้ว โดยชุดพัฒนาเป็นบอร์ดขนาดเล็กขาเชื่อมต่อเข้ากันได้กับ Arduino
ตัว Quark D2000 เป็นซีพียูแกน Pentium ที่ตัดหน่วยประมวลผลเลขทศนิยมและแคชออกไป บนตัวมันมีแรมเพียง 8KB และหน่วยความจำแฟลชอีก 32KB พร้อมหน่วยความจำแบบเขียนครั้งเดียวอีก 8KB ตัวซีพียูทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 32MHz
ตัวบอร์ดมีเซ็นเซอร์มาในตัวค่อนข้างครบ ทั้ง accelerometer, เข็มทิศ, เซ็นเซอร์อุณหภูมิ, และช่องใส่แบตเตอรี่ในตัว
ทาง Hack A Day ระบุว่าราคาขายปลีกจะอยู่ที่บอร์ดละ 15 ดอลลาร์น่าเสียดายว่าไม่มีช่องทางเชื่อมต่อไร้สาย แต่ที่เหลือการใช้งานก็ครบถ้วนแทบทุกอย่าง
เมื่อวานนี้ Intel ประกาศความร่วมมือเพิ่มเติมกับ Ontario Institute for Cancer Research และ Dana-Farbet Cancer Institute โดยมีเป้าหมายเพื่อการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาคลาวด์สำหรับงานด้านโรคมะเร็ง ที่ประกาศมาตั้งแต่ปี 2013
แม้ในรายละเอียดจะไม่มีการเปิดเผยให้กับสื่อมวลชน แต่โดยภาพรวมจะเป็นการแบ่งปันและทำงานในเชิงการวิจัยระดับโมเลกุลและการทำงานในเชิงภาพ (imagining data) ซึ่งตามปกติแล้วงานวิจัยเหล่านี้มักจะไม่แบ่งปันข้อมูลกัน ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี กฎหมาย และความปลอดภัย
ที่มา - Fortune
มัลแวร์เข้ารหัสข้อมูลเรียกค่าไถ่ LeChiffre เพิ่งโจมตีองค์กรขนาดใหญ่ของอินเดียไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ตอนนี้ Intel Security ได้ตัวอย่างมัลแวร์มาสองเวอร์ชั่นและพบว่าตัวมัลแวร์อิมพลีเมนต์การเข้ารหัสอย่างหละหลวมจนสามารถถอดรหัสด้วยตัวเองได้
มัวแวร์สองเวอร์ชั่นนั้นมีกระบวนการสร้างกุญแจเข้ารหัสเหมือนๆ กัน โดยเริ่มจาก ค่าคงที่ที่ต่างกันไปในแต่ละเวอร์ชั่น, ชื่อเครื่อง, วันที่, เลขเวอร์ชั่น, และชื่อผู้ใช้ แล้วสร้างกุญแจ Blowfish มาเข้ารหัสข้อมูล
อินเทลใช้นโยบายการออกรุ่นซีพียูแบบ Tick-Tock (สลับระหว่างเปลี่ยนสถาปัตยกรรมกับลดขนาดกระบวนการผลิต) มาหลายปี แต่ช่วงหลังรอบการออกรุ่นเริ่มไม่สม่ำเสมอเหมือนเคย และมาเสียรอบตอน Skylake (tock เปลี่ยนสถาปัตยกรรม) แล้วจะตามด้วย Kaby Lake (semi-tock เปลี่ยนสถาปัตยกรรมบางส่วน) ช่วงปลายปีนี้ แทนที่จะตามด้วย Cannonlake (tick ลดขนาดเป็น 10nm) ตามแผนเดิม
ปัญหาของอินเทลคือเริ่มเจอคอขวดเรื่องการลดขนาดกระบวนการผลิตลง ซึ่งไม่ง่ายเหมือนในอดีตอีกต่อไปแล้ว คำถามที่หลายคนสงสัยคืออินเทลจะทำอย่างไรต่อไปกับนโยบาย Tick-Tock
วันนี้มีคำตอบออกมาแล้วว่า "ยกเลิก" ครับ โดยอินเทลจะขยายรอบของขนาดกระบวนการผลิตให้นานกว่าเดิม กลายเป็นโมเดล "1 รอบ 3 ขั้นตอน 3 ปี" ที่เรียกว่า PAO (Performance-Architecture-Optimization) แทนที่จะเป็น 2 ปีเหมือนอย่างเคย
Andrew S. Grove ผู้บริหารอินเทลที่เป็นประธานบริษัทมาตั้งแต่ปี 1979 เป็นซีอีโอในปี 1987 และยังเป็นกรรมการในช่วงปี 1997-2005 เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 79 ปี หลังจากป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และเป็นโรคพาร์กินสัน
ช่วงเวลาที่เขาบริหารอินเทลเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดยุคหนึ่งของโลกพีซี เพราะเป็นช่วงเวลาเข้าสู่คอมพิวเตอร์ 32 บิต (80386) มาจนถึงช่วงเวลาออกชิปเพนเทียมที่มีบั๊กและอินเทลต้องจัดการมรสุมของบริษัท ไปจนถึงการสร้างแบรนด์ Intel Inside และเสียงจิงเกิลอันโด่งดัง ประสบการณ์ในช่วงเวลาที่เขาบริหารอินเทลถูกถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือ Only the Paranoid Survive ที่เป็นหนังสือบริหารธุรกิจที่ได้รับความนิยมสูงอีกเล่มหนึ่ง
วันก่อนเพิ่งนำเสนอข่าวลือของ NUC พีซีขนาดเล็กของอินเทลที่จะมากับสเปคเอาใจเกมเมอร์ ล่าสุดมีข้อมูลและภาพของ Skull Canyon อย่างเป็นทางการแล้ว ข้อมูลขอสรุปดังนี้
อินเทลประกาศซื้อกิจการบริษัท Replay Technologies เจ้าของเทคโนโลยี freeD (free dimensional) ที่เรนเดอร์ภาพวิดีโอกีฬา 3 มิติจากกล้องวิดีโอความละเอียดสูง 28 ตัวที่ตั้งอยู่รอบสนาม เพื่อให้แฟนกีฬาสามารถเห็นภาพมุมต่างๆ แบบ 360 องศาในช็อตสำคัญของการแข่งขัน (เช่น การทำ slam dunk ของบาสเก็ตบอล ดูวิดีโอประกอบเข้าใจง่ายกว่าครับ)
Replay Technologies เป็นบริษัทจากอิสราเอล ก่อตั้งในปี 2011 อินเทลบอกว่าทำงานร่วมกับ Replay มาตั้งแต่ปี 2013 เพราะ Replay ใช้ระบบเซิร์ฟเวอร์ของอินเทลในการประมวลผลวิดีโอ
หลังจากปล่อยอุปกรณ์ไอทีสวมใส่มาหลากหลายประเภท ตอนนี้มีรายงานว่าอินเทลเริ่มสนใจทำอุปกรณ์ AR/VR แบบสวมศีรษะบ้างแล้ว
รายงานชิ้นนี้ออกมาจาก The Wall Street Journal ที่ระบุว่าอินเทลกำลังซุ่มพัฒนาอุปกรณ์สวมศีรษะสำหรับใช้งาน AR/VR โดยจะผนวกเทคโนโลยีของตัวเองอย่าง RealSense 3D เข้าไปด้วย
หลังรายงานนี้ออกมา Achin Bhowmik หัวหน้าฝ่าย RealSense ของอินเทลบอกว่าแนวทางของอินเทลในมักจะมีนิสัยในการสร้างอุปกรณ์ใหม่ๆ เพื่อโชว์เทคโนโลยีก่อนจะให้บริษัทอื่นมารับช่วงต่อไป โดยโครงการทำอุปกรณ์ AR นี้ก็เป็นอีกหนึ่งในแผนของการก้าวข้ามยุคพีซีนั่นอง
Intel Security (McAfee เดิม) สำรวจความตื่นตัวด้านความปลอดภัยของอุปกรณ์ IoT ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์) ผลออกมาว่าประเทศไทยได้คะแนนต่ำสุดในภูมิภาค
วิธีการของ Intel Security คือสอบถามความเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม จำนวน 1,953 คน ผู้ตอบแบบสอบถามในไทยที่เห็นว่าควรปรับปรุงระดับความปลอดภัยของอุปกรณ์ IoT มีเพียง 39%, อินโดนีเซีย 40%, สิงคโปร์ 42%, มาเลเซีย 46%, ฟิลิปปินส์ได้คะแนนสูงสุด 53%
Intel Security ระบุว่าผลสำรวจออกมาผิดคาด เพราะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่ตลาด IoT น่าจะเติบโตเร็วที่สุด และขอเตือนให้หน่วยงานในภูมิภาคหันมาสนใจนโยบายด้านนี้กันโดยด่วน
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ Intel Security
เดือนที่แล้ว ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศข่าวสำคัญว่า ซีพียู Skylake จะรองรับ Windows 7/8 อีกแค่ 18 เดือน จากนั้นจะต้องอัพเกรดไปใช้ Windows 10 สถานเดียว และซีพียูรุ่นหน้าของอินเทลคือ Kaby Lake จะใช้ได้เฉพาะกับ Windows 10 เท่านั้น
ประกาศนี้ส่งผลให้เกิดคำถามว่าแล้วผู้ใช้ Windows Server จะต้องปฏิบัติตามนโยบายเดียวกันหรือไม่ คำตอบออกมาแล้วคือ Windows Server ที่ยังอยู่ในระยะซัพพอร์ต (2008, 2008 R2, 2012, 2012 R2) จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ และยังสามารถใช้งานบน Skylake ได้ตามปกติ
สินค้า IoT กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แนวทางการเชื่อมต่อระหว่างกันก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มบริษัทไอที ได้แก่ Arris, CableLabs, ซิสโก้, อิเล็กโทรลักซ์, GE Digital, อินเทล, ไมโครซอฟท์, Qualcomm, และซัมซุง ประกาศร่วมมือกันก่อตั้ง Open Connectivity Foundation (OCF) องค์กรวางมาตรฐานการเชื่อมต่อ IoT ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความมั่นคงปลอดภัย
อินเทลเปิดตัวชิป Atom ซีรีส์ x5 เพิ่มอีกสามรุ่น และนับเป็นการอัพเดต Atom ครั้งแรกในปี 2016 ด้วย โดยสเปคของทั้งสามรุ่นที่เปิดตัวมามีดังนี้
สำหรับสามชิปรุ่นใหม่ใหม่ที่เปิดตัวมาแบ่งเป็นสองรุ่นสำหรับอุปกรณ์พกพาอย่าง x5-Z8330 และ x5-Z8350 ทั้งคู่ยังเป็น Cherry Trail ที่ผลิตบนขนาด 14 นาโนเมตร ที่สเปคตามหน้ากระดาษใกล้เคียงกันมาก ด้วยซีพียูควอดคอร์ความถี่ 1.44GHz (เร่งได้เป็น 1.92GHz) พร้อมจีพียู HD 400 ความถี่ 200-500MHz รองรับแรม DDR3L-RS ซึ่งนอกจากสัญญาณนาฬิกาที่เพิ่มขึ้นแล้ว ส่วนอื่นๆ ใกล้เคียงกับรุ่นก่อนหน้าอย่าง x5-Z8300 อย่างมาก
เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว เหล่าผู้ผลิตเมนบอร์ดหลายเจ้า ได้ปล่อย BIOS เวอร์ชันที่สามารถโอเวอร์คล็อกให้กับซีพียูตระกูล Skylake ที่ไม่ใช่ตัว K ได้ ผ่านการปรับ base clock บนเมนบอร์ดชิปเซ็ต Z170
ล่าสุด อินเทลได้ขอความร่วมมือให้ผู้ผลิตเมนบอร์ดปิดช่องทางนี้แล้ว ผ่านการอัพเดต BIOS พร้อมเผยว่า บริษัทไม่แนะนำให้โอเวอร์คล็อกกับซีพียูที่ไม่ได้รองรับการทำเช่นนี้ และจะไม่อยู่ในประกันหากเกิดปัญหาขึ้นมา
ที่มา - PC World
William M. Holt หัวหน้าผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีและการผลิต (Technology and Manufacturing Group - TMG) ของอินเทลขึ้นบรรยายในงาน International Solid State Circuits Conference ระบุว่าอินเทลกำลังเตรียมเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตชิปตั้งแต่เทคโนโลยีพื้นฐานที่จะทำเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสี่ถึงห้าปีข้างหน้า
Holt ไม่ได้ระบุตรงๆ ว่าจะใช้เทคโนโลยีใดในการปรับปรุงสายการผลิต แต่ระบุสองเทคโนโลยีที่เป็นไปได้ คือ tunneling transistors และ spintronics ทั้งสองเทคโนโลยีจะเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบซีพียูใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ดี ในการใช้งานจริงน่าจะใช้เทคโนโลยีใหม่ร่วมกับชิปซิลิกอนดั้งเดิม
มาตรฐาน 802.11ad WiGig วางมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่อความเร็วสูงมาก (7Gbps) ที่คลื่นความถี่สูงมาก เป็นย่าน 60GHz ที่ผ่านมาผู้ผลิตหลายรายเริ่มทดสอบอุปกรณ์ของตัวเองบนมาตรฐานนี้ แต่ทางอินเทลและ Qualcomm ก็ประกาศความสำเร็จในการเชื่อมต่อข้ามผู้ผลิตหลังจากทำงานร่วมกันมาหลายเดือน
การทดสอบต้องทดสอบหลายรูปแบบ เช่น การเชื่อมต่อแบบ P2P, การเชื่อมต่อแบบ Access Point รวมไปถึงสภาพของการเชื่อมต่อแบบต่างๆ และทดสอบความเร็วที่ได้จากการเชื่อมต่อ โดยทั้งสองบริษัทแถลงว่าสามารถเชื่อมต่อที่ความเร็วหลายกิกะบิตต่อวินาทีได้สำเร็จ
อินเทลเปิดตัวซีพียูกลุ่มโน้ตบุ๊กพลังสูงและเวิร์คสเตชั่นอีกหลายรุ่น ทั้งหมดยังอยู่บนสถาปัตยกรรม Skylake 14nm ครับ อาทิ Core i7-6970HQ (สี่แกน แปดงาน 2.8GHz, แคช 8MB) ที่ราคา 623 เหรียญสหรัฐ ตามด้วย 6870HQ และ 6770HQ ตามลำดับ ซึ่งแหล่งข่าวระบุว่ายังไม่ใช่ตัวบนสุด จนกว่าจะมีชิปตระกูล Extreme Edition ออกมา และยังผลิตบนสถาปัตยกรรม Skylake อยู่
ส่วนกลุ่ม Xeon มีชิปตัวท็อปอย่าง E3-1575M v5 (สี่แกน แปดงาน 3GHz, แคช 8MB) ที่ราคา 1,207 เหรียญสหรัฐ ตามด้วย E3-1545M v5, E3-1515M v5 และอีกหลายรุ่นลดหลั่นลงมา