ผ่านมาเกือบปีหลังจากที่มีข่าวลือของแท็บเล็ตรุ่นใหม่จาก Xiaomi ล่าสุดมีผลการ benchmark ถูกอัพโหลดขึ้นมาแล้ว
ผลการ benchmark นี้มาจากแอพ Geekbench โดยแสดงรายละเอียดสเปกในส่วนของชิปเซ็ตไว้ค่อนข้างเยอะ และบอกชื่อผลิตภัณฑ์ชัดเจนว่าเป็น Xiaomi Mi Pad 2 ซึ่งทำคะแนนแบบใช้คอร์เดียวได้ 985 คะแนน และแบบใช้ทุกคอร์ได้ 3,268 คะแนน ส่วนสเปกอื่นๆ มีดังนี้
ส่วนของหน้าจอเคยมีข่าวลือมาก่อนหน้านี้ว่าจะเป็นหน้าจอขนาด 7.9 นิ้ว ความละเอียด 2048 x 1536 พิกเซล (เท่าเดิมเป๊ะ)
ให้หลังจากการเปิดตัวซีพียูรุ่นใหม่รหัส Skylake ไปเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายน เมื่อสัปดาห์ก่อนทางอินเทลประเทศไทยได้ส่งซีพียูรุ่นแรงสุดในปัจจุบันอย่าง Core i7-6700K มาให้ทาง Blognone ทดสอบ พร้อมกับชุดคิตอย่างเมนบอร์ด แรม DDR4 และ SSD ตัวแรงอย่าง 750 Series
เมื่อต้นปีนี้ อินเทลเปิดตัว Xeon D ซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์แบบ SoC ล่าสุดอินเทลขยายไลน์สินค้าตระกูล Xeon D-1500 เพิ่มเติม แบ่งเป็นซีพียู Xeon D สำหรับเซิร์ฟเวอร์ 3 รุ่นย่อย และซีพียูสำหรับอุปกรณ์สตอเรจและเครือข่ายอีก 8 รุ่นย่อย
นอกจากนี้ อินเทลยังออกชิปคอนโทรลเลอร์ Ethernet ตระกูล FM10000 (100 Gigabit แบบหลายโฮสต์) และ X550 (10 Gigabit) มาด้วย
เว็บไซต์ AnandTech เผยว่าเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกและอัพเดตเปิดใช้ฟีเจอร์ Speed Shift ของอินเทล ที่มากับชิปรหัส Skylake ซึ่งถูกใช้กับคอมพิวเตอร์หลายรุ่น อาทิ Surface Book กับ Surface Pro 4
AnandTech ให้ข้อมูลว่า เทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาต่อยอดจาก Speed Step ในปัจจุบัน โดย Speed Shift จะประเมินความถี่ของสัญญาณนาฬิกาและแรงดันไฟฟ้า (voltage) ขณะประมวลผล เพื่อผลักให้ซีพียูทำงานเต็มที่เมื่อมีการใช้งานหนัก และลดลงเมื่อไม่มีการใช้งาน แทนที่ระบบปฏิบัติการจะเป็นผู้ประเมิน ซึ่งช่วยยืดเวลาการใช้งานเครื่อง (battery life) และเครื่องตอบสนองต่อการประมวลผลหนักในเวลาอันสั้น (short-burst) อาทิ เบราว์เซอร์โหลดหน้าเว็บ ได้เร็วขึ้นเพราะซีพียูสามารถเร่งการประมวลผลได้เร็วกว่าที่ระบบปฏิบัติการสั่งให้ซีพียูทำงาน
ปลายปีที่แล้ว อินเทลเปิดตัว IoT Platform ของตัวเองเป็นครั้งแรก ปีนี้อินเทลประกาศอัพเกรด IoT Platform เป็นรุ่นที่สอง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ
Intel Security (McAfee เดิม) ประกาศยุทธศาสตร์ใหม่ด้านผลิตภัณฑ์สาย Endpoint (อุปกรณ์ไคลเอนต์ที่เชื่อมต่อเน็ต) โดยเน้นการคุ้มครอง lifecycle สามช่วงอายุคือ protect (ป้องกัน), detect (ตรวจจับ), correct (แก้ไข)
ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เปิดตัวมี 2 อย่าง อย่างแรกคือ McAfee Endpoint Security 10.X (X คือเลขเวอร์ชัน) ทำหน้าที่ส่วนของ protect โดยฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบเรียลไทม์ระหว่าง endpoint, ปรับปรุงประสิทธิภาพของการสแกน และเปิดกว้างในการเชื่อมกับซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่นมากขึ้น
อินเทลประกาศเข้าซื้อบริษัท Saffron ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อหาความเสี่ยงในธุรกิจ, ปรับแต่งประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้, และหาแนวโน้มทางธุรกิจ
ลูกค้าของ Saffron ตอนนี้เป็นกลุ่มองค์กรที่ใช้แพลตฟอร์มเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม แต่ทางอินเทลจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของฝ่าย New Devices Group ที่ดูแลกลุ่มสินค้า Internet of Things เพราะซอฟต์แวร์กลุ่มนี้สามารถนำมาประยุกต์วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากจากเซ็นเซอร์ได้ด้วย แต่ในแง่ธุรกิจแล้ว Saffron จะดำเนินการเป็นธุรกิจแยกออกไป
ที่มา - Intel
Fossil หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตสินค้าแฟชั่นชั้นนำ ประกาศเปิดตัว Q ผลิตภัณฑ์สายอุปกรณ์สวมใส่ของตนเองอย่างเป็นทางการ โดยผลิตภัณฑ์สายนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Intel และ Google ในการผลิตสินค้าชุดนี้ขึ้นมา มีทั้งที่เป็นนาฬิกาและสายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ
คุณสมบัติหลักๆ ที่มีร่วมกันของอุปกรณ์ทั้งหมดในสายนี้ คือ Q Activity ที่เป็นการตรวจจับกิจกรรมของร่างกาย (fitness tracking) โดยสามารถเชื่อมต่อเข้ากับแพลตฟอร์มอย่าง Google Fit หรือ UP by Jawbone ได้, Q Notifications ที่เป็นการแจ้งเตือนต่างๆ และ Q Curiosity ที่เป็นการแจ้งเตือนให้เปลี่ยนกิจกรรมในกรณีที่นั่งทำงานนานจนเกินไป
ผู้ผลิตพีซีสามรายใหญ่ของโลก ได้แก่ Dell, HP, Lenovo ร่วมกับอินเทลและไมโครซอฟท์ เปิดตัวแคมเปญโฆษณาใหม่ "PC Does What?" (แปลไทยประมาณว่า "พีซีทำแบบนี้ได้ด้วยเหรอ") โดยมีเป้าหมายเพื่อชูความสามารถของพีซี ให้คนทั่วไปรับรู้ว่าพีซีสามารถทำงานต่างๆ เหล่านี้ได้
แคมเปญนี้จะเปิดตัววันที่ 19 ตุลาคมนี้ แต่จากคลิปโฆษณาชิ้นแรกที่อินเทลโพสต์บน YouTube เราพอเห็นภาพว่าชูจุดขายเรื่องการพับจอเป็นแท็บเล็ตได้ ระบบเสียงคุณภาพเยี่ยม และแบตเตอรี่อยู่ได้นาน โดยใช้อุปกรณ์สาธิตเป็นโน้ตบุ๊กจากผู้ผลิตทั้งสามรายอย่างเท่าเทียมกัน
ตามข่าวบอกว่าแคมเปญโฆษณาชุดนี้ใช้งบประมาณทั้งหมด 70 ล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้แอปเปิลใช้ชิปโมเด็ม 9X45 LTE ของ Qualcomm กับทั้งใน iPhone 6 และ iPhone 6s ตลอดเวลาที่ผ่านมา แต่ตอนนี้มีสื่อต่างประเทศรายงานว่า Intel กำลังให้พนักงานกว่า 1,000 คนพัฒนาโปรเจคชิปโมเด็ม 7360 LTE สำหรับให้แอปเปิลพิจารณาเพื่อใช้ใน iPhone 7 ภายในสิ้นปีนี้
ถ้าหากโปรเจ็คนี้สำเร็จ ชิปโมเด็มรุ่นดังกล่าวจะตั้งศูนย์การผลิตอยู่ที่ประเทศเยอรมนี ในโรงงานของ Infineon ที่เคยผลิตชิปโมเด็ม 3G ให้กับแอปเปิลเมื่อหลายปีก่อน และจะได้ชิปโมเด็มที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการจัดการแบตเตอรี่ที่ดีขึ้นมาก แถมชิปโมเด็มตัวนี้จะมีขนาดเล็กลง ทำให้สามารถใส่ชิ้นส่วนอื่นๆ เพิ่มเข้าไปได้อีก เช่น แบตเตอรี่ที่ใหญ่ขึ้น
Arduino ร่วมมือกับอินเทลเปิดตัวบอร์ดรุ่นล่าสุด Arduino 101 (ใช้ชื่อ Genuino 101 นอกสหรัฐฯ) ใช้ชิป Intel Quark และสร้างมาจากโมดูล Intel Curie เป็นพื้นฐาน
บอร์ด Arduino 101 จะมีราคาเริ่มต้น 30 ดอลลาร์ พอๆ กับบอร์ด Arduino ที่สั่งซื้อจากบริษัทโดยตรง แต่ซีพียูเป็น x86 32 บิตทำงานที่ 32 MHz พร้อมกับซีพียู ARC กินพลังงานต่ำ
ตัว Quark จะรันระบบปฎิบัติการ ViperOS
ตัวซีพียูใช้ไฟฟ้า 3.3 โวลต์ แต่พอร์ต I/O ทั้งหมดทนทานไฟ 5 โวลต์ได้ทั้งหมด ส่วนรับพลังงานต้องการไฟ 7-12 โวลต์
ความพิเศษเหนือกว่าบอร์ด Arduino อื่น คือ Arduino 101 จะมี Bluetoot LE มาให้ในตัว และมี accelerometer 6 แกนพร้อม Gyroscope มาให้ในบอร์ดเช่นเดียวกับ Intel Curie
เริ่มวางตลาดต้นปี 2016
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2015 มีรายได้รวมลดลงจากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนเล็กน้อย อยู่ที่ 14,465 ล้านดอลลาร์ ส่วนกำไรสุทธิลดลง 6% อยู่ที่ 3,109 ล้านดอลลาร์
รายได้จากการขายชิปให้กลุ่มพีซีของอินเทลลดลง 7% จากปีก่อนอยู่ที่ 8.5 พันล้านดอลลาร์ ส่วนกลุ่ม Data Center เพิ่มขึ้น 12% เป็น 4.1 พันล้านดอลลาร์ สอดคล้องตามแนวโน้มของอุตสาหกรรม
Stacy J. Smith ซีเอฟโออินเทลกล่าวว่าตัวเลขที่ออกมาบ่งชี้ว่าอินเทลไม่ใช่บริษัทที่ผูกติดกับพีซีแล้ว แต่สินค้าของอินเทลเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมากขึ้นทั้ง ยานยนต์, อุปกรณ์สวมใส่ และอื่นๆ
เมื่อครั้งเปิดตัว Surface Pro 4 กับ Surface Book นั้น ไมโครซอฟท์ไม่ได้ระบุรุ่นของซีพียูเจนเนอเรชั่นที่ 6 (Skylake) กับจีพียูของแต่ละรุ่นย่อยของอุปกรณ์ทั้งสอง แต่ต่อมาไมโครซอฟท์ได้เปิดเผยเรื่องดังกล่าวกับเว็บไซต์ PCWorld ถึงรุ่นของซีพียูกับจีพียู ซึ่งเมื่อประกอบกับข้อมูลจากเว็บอินเทลจะเป็นดังนี้
ประเด็นว่าเกมเป็นปัญหาสังคมกันแค่ไหนคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในบ้านเรากันไปอีกหลายปี แต่ภาพรวมของโลกเกมจำนวนมากกำลังพัฒนากลายเป็นการแข่งขันแบบเดียวกับกีฬาลีกมืออาชีพ ความเปลี่ยนแปลงนี้คนนอกวงการอาจจะมองไม่ออกนักว่าความนิยมในตัวผู้เล่นและความนิยมในการเข้าชมการแข่งขันที่มีคนสองกลุ่มไปนั่งกดคีย์บอร์ดเช่นนี้จะเป็นอาชีพได้อย่างไร
ความเปลี่ยนแปลงในวงการเกมเมอร์ระดับมืออาชีพเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างเร็วในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา สารคดีเรื่อง All Work All Play เป็นสารคดีเรื่องล่าสุดที่แสดงภาพของลีกเกมในปีนี้ว่าพัฒนาการไปถึงขั้นไหน
ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าซื้อ Havok เจ้าของซอฟต์แวร์ระบบฟิสิกส์ในเกม 3 มิติ จากอินเทล และไมโครซอฟท์ยังยืนยันว่าจะยังคงจับมือกับบริษัทอื่นๆ ในการใช้งานซอฟต์แวร์ของ Havok ได้ตามปกติ
Havok ปล่อย SDK ตัวแรกในปี 2000 (อ้างอิง) และถูกซื้อไปโดยอินเทลในปี 2007 ถูกใช้ในเกมอย่าง Halo, Assassin’s Creed, Call of Duty, Destiny, Dark Souls และ The Elder Scrolls ส่วนด้านมูลค่าการซื้อขายไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมา
ที่มา - ไมโครซอฟท์
สัญลักษณ์ที่คุ้นเคยของคนเล่นเกม
ช่วงนี้ยังมี SSD ตัวแรงเปิดตัวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเป็นอินเทลที่ออกมาเปิดตัว SSD DC P3608 สำหรับจับตลาดองค์กรโดยเฉพาะ ด้วยสเปคที่เรียกได้ว่าแรงกว่ารุ่นพี่อย่าง DC P3700 เลยทีเดียว
ตัว SSD DC P3608 จะมีขายเฉพาะแบบ HHHL เท่านั้น เนื่องจากตัวการ์ดประกอบด้วยไดรฟ์สองตัว จึงไม่สามารถทำขนาด 2.5 มม. ได้ และต้องการซอฟต์แวร์สำหรับปรับแต่งให้ทำงานแบบ RAID-0 เพื่อให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ โดยอินเทลเคลมประสิทธิภาพของ P3608 อ่านเขียนแบบสุ่มอยู่ที่ 850,000 IOPS และ 50,000-150,000 IOPS (ยิ่งความจุสูง ยิ่งเขียนช้าลง) ความเร็วในการอ่านเขียนต่อเนื่องอยู่ที่ 4.5-5 GB/s และ 2-3 GB/s โดยกินไฟตั้งแต่ 11.5 วัตต์ถึง 40 วัตต์ ผ่านอินเทอร์เฟซ PCIe 3.0 x 8 มีรุ่นความจุตั้งแต่ 1.6-4TB
Chromat ผู้ผลิตชุดชั้นในและชุดกีฬาสำหรับผู้หญิง เปิดตัวคอลเลคชั่นหน้าร้อนปี 2016 พร้อมกับสาธิตชุดที่สามารถปรับตัวได้ตามผู้สวมใส่โดยใช้โมดูล Intel Curie
ชุดที่นำมาสาธิตมีสองรุ่น คือ Chromat Adrenaline Dress ชุดที่ปรับโครงให้เป็นรูปร่างต่างๆ ได้ตามระดับอะดรีนาลีน, และ Chromat Aeros Sports Bra บราสำหรับออกกำลังกายที่สามารถปรับช่องระบายอากาศตามอุณหภูมิร่างกายและเหงื่อ
ทาง Chromat ระบุว่ากำลังสำรวจความเป็นไปได้อื่นๆ ที่จะสร้างเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ฉลาดขึ้น
อินเทลระบุในงาน IDF ที่ผ่านมาว่าจะส่งมอบโมดูล Curie ต้นแบบให้กับผู้ผลิตบางรายก่อน Chromat เองก็เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ได้รับโมดูลไปทดสอบความเป็นไปได้
อินเทล, โนเกีย, และอีริคสัน ร่วมมือกันเสนอมาตรฐาน NB-LTE (Narrow Band LTE) สำหรับการใช้งานกับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ต้องการส่งข้อมูลไม่มากนัก และสามารถทำงานได้โดยกินพลังงานต่ำ
NB-LTE ใช้คลื่นย่าน 700-900MHz แต่ละช่องใช้ย่านความถี่เพียง 200kHz เท่านั้น และรัศมีการให้บริการเสาส่งจะไกลถึง 15 กิโลเมตร ความเร็วในการดาวน์โหลด 200kbps และอัพโหลด 150kbps ความได้เปรียบของ NB-LTE เทียบกับมาตรฐานอื่นๆ คือมันสามารถอยู่ร่วมกับบริการ LTE ปกติได้ สามารถแชร์ฮาร์ดแวร์และคลื่นความถี่ร่วมกัน
ทางอินเทลระบุว่าชิปที่รองรับ NB-LTE จะเริ่มออกมาในปีหน้า
อินเทลประกาศก่อตั้งกรรมการตรวจสอบความปลอดภัยยานยนต์ (Automotive Security Review Board - ASRB) ที่จะมีนักวิจัยของตัวเองทำหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัยไซเบอร์ของยานยนต์และออกแนวทางการดูแลความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์
อินเทลจะส่งมอบชุดพัฒนาสำหรับรถยนต์ของตัวเองให้กับนักวิจัยใน ASRB หลังจากนั้นนักวิจัยที่พบแนวทางการพัฒนาความปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบสูงสุดจะได้รับรถยนต์จากอินเทล และรายงานการวิจัยจะเปิดเผยเป็นสาธารณะ
แนวทางของการคำนึงถึงความปลอดภัยไซเบอร์ฉบับแรกเปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว (PDF) และทางอินเทลระบุว่าจะอัพเดตเพิ่มเติมเรื่อยๆ ตามที่นักวิจัยรายงานเพิ่มเติมเข้ามา
อินเทลประกาศชุดสินค้า 3 ตัวสำหรับการให้บริการเครือข่ายความเร็วสูง และการให้บริการมีเดียระดับ 4K ในงาน IBC 2015
สินค้าทั้งสาม ได้แก่ Intel VCA ชุดคำสั่งเข้ารหัสภาพประสิทธิภาพสูงใน Xeon E5 ใช้ร่วม Intel Media Server Studio 2016 ที่เพิ่งเปิดตัวเพื่อสร้างเซิร์ฟเวอร์เข้ารหัสภาพประสิทธิภาพสูง, Intel Puma 7 SoC สำหรับให้บริการ DOCSIS 3.1 แบนวิดท์สูงสุด 5Gbps รองรับ Wi-Fi 802.11ac, และ Intel AnyWAN GRX550 ชิปประมวลผลเครือข่าย รองรับ WAN ทั้ง DSL/G.fast/ไฟเบอร์/แลน
สินค้ายังเป็นชิปและซอฟต์แวร์พื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อ กว่าเราจะได้เห็นเป็นสินค้าและบริการจริงๆ คงต้องรอผู้ผลิตนำมาขายกันอีกครั้ง
เมื่อต้นปีนี้ Parse บริษัทลูกของ Facebook ที่พัฒนาชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาแอพ ประกาศขยายบริการมาทำ Parse of IoT จับตลาด Internet of Things กับเขาด้วย โดยฮาร์ดแวร์ตัวแรกที่รองรับคือบอร์ด Arduino Yun และขยายเพิ่มเติมมายัง Raspberry Pi ในภายหลัง
เวลาผ่านมาประมาณครึ่งปี Parse ประกาศออก SDK เพิ่มเติมรองรับฮาร์ดแวร์อีก 4 ค่ายดังคือ Atmel, Broadcom, Intel, Texas Instruments โดยชุด SDK ทั้ง 4 จะอยู่ในกลุ่ม Partner SDK ที่บริษัทแต่ละรายมาช่วยพัฒนาให้ Parse
ในระหว่างเปิดตัวชิป Core รุ่นที่ 6 ในรหัส "Skylake" เมื่อช่วงเช้า พร้อมกับการเปิดตัว Core M รุ่นใหม่ที่ใช้ชื่อเรียกตาม Core i ด้วยการเติมตัวเลขไปข้างหลัง ในอนาคตอาจได้เห็นเจ้าชิปตัวนี้ไปไกลกว่าแค่บนโน้ตบุ๊ก-แท็บเล็ตแบบ 2-in-1 แล้ว
ความคืบหน้าของ Core M บนอุปกรณ์อื่นนอกจากพีซี มาจาก Kirk Skagen ผู้จัดการทั่วไปของอินเทลที่ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่ากำลังทดสอบ Core M ไปใช้กับอุปกรณ์ขนาดเล็กลง (ตัว Skagen ถึงกับบอกว่าเป็น phablet) ซึ่งอาจเปิดประตูสู่อนาคตของสมาร์ทโฟนที่สามารถใช้งานในระดับพีซีได้ ตามที่ไมโครซอฟท์วางทางไว้ด้วยการเปิดตัว Continuum ที่ทำให้อุปกรณ์หน้าจอเล็กสามารถใช้งานเป็นพีซีได้เมื่อต่อหน้าจอแยก
วันนี้อินเทลเพิ่งประกาศเปิดตัวซีพียู Core รุ่นที่หกรหัส Skylake ครบทุกไลน์ไป ฝั่งประเทศไทยก็มาเปิดตัวซีพียู Skylake ชุดแรกสำหรับกลุ่มเกมเมอร์ที่เปิดตัวไปก่อนหน้าทั้งสองรุ่นอย่าง Core i7-6700K และ Core i5-6600K ซึ่งเป็นซีพียูรุ่นปลดล็อกสามารถโอเวอร์คล็อกกันได้โดยตรง พร้อมวางขายตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เปิดราคารุ่น i7-6700K มาที่ 13,700 บาท และ i5-6600K ที่ 9,190 บาท
ผู้ผลิตเบราว์เซอร์ 3 รายใหญ่คือ Mozilla, Google, Microsoft ร่วมกับบริษัทไอทีอีกหลายราย ได้แก่ Amazon, Intel, Cisco, Netflix ประกาศตั้งกลุ่ม Alliance for Open Media พัฒนา codec วิดีโอยุคถัดไปที่ไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้สิทธิบัตร
ปัญหานี้เกิดจาก codec รุ่นหน้า H.265 มีค่าใช้งานแพงกว่า H.264 ในปัจจุบันมาก จนเป็นเหตุให้ Cisco ออกมาประกาศโครงการ Thor เพื่อเป็นทางเลือกใหม่เมื่อไม่นานมานี้
ฝั่งของ Google มีโครงการ VP9/VP10 ของตัวเอง และ Mozilla ก็มีโครงการแบบเดียวกันชื่อ Daala สุดท้ายทุกฝ่ายจึงมารวมกลุ่มกันเป็น Alliance for Open Media เพื่อพัฒนา codec ร่วมกัน
อินเทลเปิดตัวซีพียู Skylake ครบทั้งตระกูลหลังจากค่อยๆ เปิดตัวรุ่นเกมเมอร์ไปก่อนแล้ว
ซีพียูที่เปิดตัวพร้อมกันมีหลายสิบรุ่น แบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ตามนี้