อินเทลเปิดตัวชิป Quark ไปตั้งแต่ปีที่แล้ว และเปิดให้นักพัฒนาเข้าถึงบอร์ด Galileo ได้เมื่อปลายปี ตอนนี้อินเทลออกบอร์ดรุ่นใหม่ที่ชื่อว่ Edison เป็นบอร์ดขนาดเล็กเท่าการ์ด SD ภายในเป็นซีพียู Quark สองคอร์ มี Wi-Fi และ Bluetooth ในตัว
บอร์ด Edison รองรับลินุกซ์และเครื่องมือโอเพนซอร์สอื่นๆ
งานนี้อินเทลประกาศจัดแข่ง Make It Wearable โดยให้นักพัฒนาใช้เทคโนโลยีของอินเทลมาพัฒนาอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ที่คำนึงถึงประโยชน์จริง, มีความสุนทรีย์ในการใช้งาน, อายุแบตเตอรี่, ความปลอดภัย, และความเป็นส่วนตัว เงินรางวัลของงานประกวดนี้รวม 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อุปกรณ์ที่เราน่าจะได้เห็นกันเยอะในงาน CES 2014 สัปดาห์หน้าคือ อุปกรณ์ลูกผสมโน้ตบุ๊ก-แท็บเล็ต ที่ใช้ระบบปฏิบัติการคู่ Windows/Android ในตัวเดียวกัน (ตัวอย่าง: รีวิว ASUS Transformer Book Trio)
เว็บไซต์ The Verge อ้างข้อมูลจากแหล่งข่าววงในว่าเจ้าของไอเดีย Dual OS จริงๆ แล้วไม่ใช่ใครอื่นแต่เป็น "อินเทล" ที่กำลังประสบปัญหายอดขายพีซีแบบดั้งเดิมหดตัว โดยแนวคิดของอินเทลคือการนำ Android มารันบน Windows ด้วยเทคนิคด้าน virtualization และไม่จำเป็นต้องบูตทีละตัว (ซัมซุงเคยใช้กับ ATIV Q แต่ไม่ประสบความสำเร็จนัก)
ถ้ายังจำกันได้ อินเทลมีโครงการใหญ่ชื่อ OnCue ที่ตั้งใจทำแพลตฟอร์มทีวียุคใหม่ แต่สุดท้ายก็มีข่าวลือออกมาว่าแท้งก่อนคลอด และเตรียมขายให้ Verizon
ล่าสุด Brian Krzanich ซีอีโอของอินเทลออกมายอมรับว่าล้มแผนนี้จริง โดยเขาอธิบายว่าตัวฮาร์ดแวร์ อินเทอร์เฟซ และแนวคิดเรื่องการดูดรายการทีวีทุกรายการเก็บไว้ 3 วันนั้นยอดเยี่ยมมาก แต่สุดท้ายแล้วธุรกิจทีวีตัดสินกันที่รายการที่จะนำมาฉาย ซึ่งอินเทลไม่มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้ การเจรจากับเจ้าของรายการทีวีจำเป็นต้องการันตียอดผู้ชมจำนวนมาก (อินเทลยังไม่มีผู้ชมแม้แต่รายเดียว) ทำให้สุดท้ายอินเทลต้องมองหาพาร์ทเนอร์รายอื่นให้มาช่วยตรงนี้แทน
จุดเด่นของ SSD นอกจากความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลแล้ว จุดเด่นสำคัญคือการอ่านและเขียนข้อมูลถี่ๆ เป็นจำนวนครั้งต่อวินาทีนั้นสูงมาก SSD ตามท้องตลาดปัจจุบันสามารถเขียนและอ่านได้หลายหมื่นครั้งต่อวินาที แต่แผนการของอินเทลรุ่นล่าสุดที่หลุดออกมา แสดงให้เห็นว่า SSD รุ่นต่อไปของอินเทลจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าทุกวันนี้มาก
รุ่น DC P3700 หรือชื่อรหัส Fultondale จะใช้เทคโนโลยี HET MLC ความจุ 200GB, 400GB, และ 800GB ประสิทธิภาพการอ่าน 2.8GB/s และ 450,000 IOPS ส่วนประสิทธิภาพการเขียน 1.7GB/s และ 150,000 IOPS ด้วยความเป็น HET MLC ความคงทนของ P3700 จะทำให้สามารถเขียนซ้ำทั้งไดรฟ์วันละ 10 รอบต่อเนื่องได้ถึง 5 ปี
เทคโนโลยีการผลิตชิปกำลังขยับจากระดับ 22 นาโนเมตร มุ่งหน้าไปสู่ 14 นาโนเมตร (นำโดยอินเทล) แต่ดูเหมือนว่าแผนการจะไม่ง่ายอย่างที่คาด
อินเทลออกมาประกาศล่วงหน้าว่าแผนการ 14 นาโนเมตรจะไปช้ากว่าที่คาด ด้วยเหตุผลสำคัญคืออัตราการผลิตสำเร็จหรือ yield rate ต่ำกว่าที่ต้องการมาก
ตามธรรมชาติของการผลิตชิปภายใต้เทคโนโลยีใหม่ อัตรา yield rate จะต่ำในช่วงแรกๆ (โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเปิดโรงงานใหม่) และค่อยๆ พัฒนาขึ้นตามกาลเวลา เพียงแต่กรณีของรอบ 14 นาโนเมตรนั้นมีอัตรา yield rate ต่ำกว่ารอบ 22 นาโนเมตรอยู่พอสมควร
งานประชุมผู้ถือหุ้นของอินเทลที่ระบุถึงชิป Bay Trail ว่าจะวางขายต้นปี ยังมีการพูดถึงกำหนดการอื่นๆ เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง เช่นในแง่ของเป้าหมาย อินเทลตั้งเป้ายอดส่งมอบแท็บเล็ตให้ได้เป็นสี่เท่าของปีนี้ โดยแท็บเล็ตที่ใช้ชิปอินเทลจะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 99 ดอลลาร์ขึ้นไป
ภายในปลายปี 2014 อินเทลจะเปิดตัวชิป SoFIA มันคือชิป SoC ที่รวมเอาโมเด็ม 2G และ 3G ไว้ในตัว ขณะที่คู่แข่งมักต้องแยกโมเด็มออกไป แนวทางนี้น่าจะทำให้ชิป IA ของอินเทลแข่งขันได้ดีขึ้นมาก และตามกำหนดการ SoFIA รุ่น LTE จะออกในปี 2015 ตามมา
Blognone รายงานข่าวโครงการทีวีออนไลน์ OnCue ของอินเทลอยู่เรื่อยๆ ซึ่งระยะหลังดูเหมือนว่าโครงการนี้จะมีปัญหามากมายจนต้องเลื่อนวันเปิดตัวออกไป
ล่าสุดมีข่าววงในออกมาว่าโครงการนี้ยังไม่ทันคลอดก็ดูจะเปลี่ยนเจ้าของเสียแล้วครับ โดย Bloomberg รายงานข่าวว่าอินเทลเตรียมขายหน่วยธุรกิจนี้ทิ้งภายในปีนี้ บริษัทหนึ่งที่น่าจะสนใจซื้อคือ Verizon ที่จะซื้อไปเสริมทัพบริการทีวีสตรีมมิ่งของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีข่าวว่าซัมซุงและบริษัทลงทุน Liberty Global ก็มีการเจรจากับอินเทลเช่นกัน
คาดว่าอินเทลจะเรียกราคาที่ 500 ล้านดอลลาร์ และเมื่อขายเสร็จอินเทลคงพับแผนการทำบริการทีวี เหลือเพียงแค่การผลิตชิปให้กับเจ้าของใหม่ของหน่วยธุรกิจนี้เท่านั้น
Brian Krzanich ซีอีโอของอินเทลกล่าวในที่ประชุมกับนักลงทุนว่า บริษัทพร้อมแล้วกับ Atom รุ่น 64 บิต โดยเราจะเริ่มเห็นแท็บเล็ต 64 บิตที่ใช้ Atom Bay Trail รัน Windows 8.1 ในไตรมาสแรกของปีหน้า และแท็บเล็ต Bay Trail ที่รัน Android แบบ 64 บิตตามมาหลังจากนั้นไม่นาน
Krzanich ให้ข้อมูลว่าแท็บเล็ต Android แบบ 64 บิตน่าจะราคาเริ่มต้นที่ 150 ดอลลาร์ แต่ยังไม่ชัดเจนว่ามันจะใช้ Android เวอร์ชันไหนกันแน่
ที่มา - PC World
ที่งาน SC13 อินเทลเปิดเผยรายละเอียดของหน่วยประมวลผลสำหรับงานประสิทธิภาพสูงที่ต้องการการคำนวณขนานจำนวนมาก เป็นหน่วยประมวลผลที่พัฒนาต่อจาก Xeon Phi โดยมีชื่อรหัสว่า Knight's Landing (KNL)
อินเทลระบุว่าแนวคิดการใช้หน่วยประมวลผลหลัก ร่วมกับหน่วยประมวลผลเฉพาะเพื่อมาทำงานขนานสร้างความยุ่งยากในการพัฒนาอย่างมาก เพราะนักพัฒนาต้องมานั่งคิดว่างานใดจะอยู่บนหน่วยประมวลผลหลัก งานใดต้องโยกไปให้หน่วยประมวลผลเสริม
ทุกวันนี้การทั้ง AMD และ NVIDIA ล้วนเสนอแนวทางการ "แก้ปัญหา" ความยุ่งยากของการย้ายงานไปอยู่บนหน่วยประมวลผลเสริม ด้วยการทำให้หน่วยความจำเป็นผืนเดียวกัน เช่น HSA ของ AMD และ CUDA 6 ของ NVIDIA
Andy Bryant ประธานบอร์ดของอินเทลกล่าวในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ยอมรับว่าอินเทลพลาดแนวโน้มของตลาดไอทีที่อุปกรณ์ขนาดเล็กลงและราคาถูกลงเรื่อยๆ อินเทลมีข้อมูลที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มเหล่านี้แล้วแต่กลับตามตลาดไม่ทันเอง และกลายเป็นคู่แข่งของอินเทลที่ได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีนี้ไปแทน
Bryant บอกว่าโดยส่วนตัวแล้วเขารู้สึกอับอาย (personally embarrassed) ที่อินเทลหลงทางจากแนวทางดั้งเดิมของตัวเองเสียเอง (หมายถึงการทำชิปคอมพิวเตอร์ในราคาถูกที่ทุกคนเข้าถึงได้) อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่าการเลือก Brian Krzanich เป็นซีอีโอคนใหม่ จะช่วยแก้ปัญหานี้ เพราะเขาเป็นคนที่มองโลกไอทีตามที่เป็นจริง ไม่ใช่มองในมุมมองที่อินเทลอยากให้เป็น
ดูเหมือนกระแสการเปิดร้านค้าของตัวเองจะยังฮิตต่อเนื่อง เพราะแม้แต่ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อย่างอินเทลยังมีแผนเปิดสโตร์ชั่วคราวของตัวเองที่เมืองนิวยอร์กตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายนนี้ ยาวไปจนถึงปลายเดือนมกราคม
อินเทลบอกว่าสโตร์ของตัวเองนั้นเป็นการตีความใหม่ ไม่มีการขายสินค้าภายในร้าน แต่จะมีอุปกรณ์ที่ใช้ชิปของอินเทลมาตั้งแสดงให้ทดลองใช้งานในร้าน หรือยืมเครื่องกลับไปลองใช้ที่บ้านได้ นอกจากนี้ยังมีกาแฟฟรีให้ทุกวัน และดูหนังฟรีทุกวันศุกร์อีกด้วย รวมๆ แล้วก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่อินเทลทำมาตลอด นั่นก็คือการเสริมแบรนด์นั่นเอง
อินเทลยังไม่ระบุว่าในร้านจะมีอุปกรณ์รุ่นไหนมาแสดงบ้าง ตัวอย่างคร่าวๆ ของสโตร์นี้ดูได้ท้ายข่าวครับ
โครงการ Open Compute Project ที่นำโดยเฟซบุ๊กเพื่อสร้างฮาร์ดแวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์เฉพาะทางที่มีประสิทธิภาพสูง ตอนนี้หันมาบุกตลาดอุปกรณ์เครือข่ายโดยเริ่มจากสวิตซ์สำหรับติดตั้งบนตู้เซิร์ฟเวอร์ (top-of-rack switch)
สวิตซ์ตามมาตรฐานจะแบ่งเป็นสองส่วนได้แก่ตัวฮาร์ดแวร์ Open Network Switch, และซอฟต์แวร์ Open Network Install Environment (ONIE)
ในฝั่งฮาร์ดแวร์ตอนนี้มีผู้ผลิตสองรายออกมารองรับมาตรฐานแล้วได้แก่
อินเทลเปิดตัวบอร์ด Galileo มาตั้งแต่เดือนที่แล้ว ตอนนี้บริษัทจัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง Mouser ก็เปิดหน้าเว็บรับล่วงหน้าแล้ว โดยเปิดราคาขายปลีกที่ 69 ดอลลาร์หรือประมาณ 2,100 บาทต่อบอร์ด ระยะเวลารอสินค้า 7 สัปดาห์
อินเทลเคยระบุว่าบอร์ด Galileo จะมีราคาต่ำกว่า 60 ดอลลาร์ ราคาที่เปิดมานี้จึงน่าผิดหวังพอสมควร โดยเฉพาะประสิทธิภาพในแง่ของกราฟิกของชิป Quark นั้นด้อยกว่าชิปที่ใช้ในบอร์ด Raspberry Pi (ที่ราคาเพียง 35 ดอลลาร์) อยู่มาก
ในที่สุดความพยายามของอินเทลในการบุกตลาดชิปโมเด็ม LTE ก็สำเร็จ โดยบริษัทสามารถวางขายชิปโมเด็ม LTE ใต้แพลตฟอร์ม XMM 7160 (ข่าวเก่า) เรียบร้อยแล้ว
XMM 7160 เป็นชิปโมเด็มสำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต รองรับเทคโนโลยีสื่อสารทั้ง 2G/3G/4G โดยส่วนของ 4G LTE รองรับคลื่นถึง 15 ย่าน และเทคโนโลยี VoLTE ด้วย โดยอุปกรณ์ตัวแรกที่ใช้งาน XMM 7160 คือแท็บเล็ต Galaxy Tab 3 (10.1) รุ่น LTE ที่วางขายแล้วในเอเชียและยุโรป
นอกจากนี้อินเทลยังออกโมดูล LTE ที่เสียบกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต PCIe ในชื่อ Intel M.2 เพื่อให้ผู้ผลิตแอร์การ์ดอย่าง Huawei, Sierra Wireless, Telit นำไปผลิตเป็นแอร์การ์ด LTE มาขายต่อไป
บริษัท Altera เปิดตัวชิป FPGA รุ่นใหม่ Stratix 10 ที่มีชิป ARM Cortex-A53 อยู่ในตัว ชิป FPGA ที่มาพร้อมซีพียูในตัวนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกนัก และการปรับไปใช้ ARMv8 ก็เป็นการปรับตามรอบอัพเกรดสินค้าตามปกติ แต่ความพิเศษของชิปตัวนี้คือมันจะผลิตในโรงงานอินเทล
อินเทลประกาศเปิดโรงงานให้ผู้ผลิตที่ไม่มีโรงงานของตัวเองเข้ามาจ้างผลิตได้มาตั้งแต่ปี 2010 แต่จะพิจารณารับจ้างผลิตเป็นรายกรณี ที่ผ่านมามักเป็นชิปเฉพาะทาง ในกรณีของ Altera นี้แม้จะเป็นชิปทั่วไปมากขึ้น แต่ FPGA ของ Atera ก็มักใช้งานในอุปกรณ์เครือข่ายเป็นหลัก มันจึงไม่ใช่คู่แข่งกับอินเทลทั้งในตลาดเซิร์ฟเวอร์, พีซี, หรืออุปกรณ์โมบาย
Stratix 10 จะเริ่มเปิดสายการผลิตในปี 2014
ความพยายามที่จะแปลงให้โน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตรวมเข้าด้วยกันดูจะเป็นเทรนด์ของ "ผู้ผลิต" ในปีนี้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ผู้ผลิตชิปอย่างอินเทลที่พยายามชูธงว่าปีนี้เป็นปีแห่ง 2-in-1 ตลอดเวลา ส่วนทางด้านผู้ผลิตเองก็ตอบรับด้วยการออกโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ๆ ที่เป็น 2-in-1 ออกมาจำนวนมาก นับแต่รุ่นที่แปลกไปเลยอย่าง Acer R7 มาจนถึงรุ่นที่ไม่แปลกมากแต่ก็ยังพยายามคอนเซ็ป 2-in-1 เอาไว้อย่างเช่น Lenovo Yoga สองสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้ Dell XPS 12 มาทดสอบจากทางอินเทล หลังจากเล่นอยู่พักใหญ่ก็ลองเอามาเล่าประสบการณ์กันไว้
Dadi Perlmutter รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปกลุ่มงานสถาปัตยกรรมของ Intel เตรียมลงจากตำแหน่งและลาออกจาก Intel ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
Perlmutter ทำงานใน Intel มานาน 34 ปี และเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มตัวเลือกผู้ที่จะนั่งเก้าอี้ซีอีโอของ Intel ก่อนในท้ายที่สุดตำแหน่งดังกล่าวจะตกเป็นของ Brian Krzanich และทันทีที่เริ่มงานในเดือนพฤษภาคม ซีอีโอคนใหม่ของ Intel ก็จัดการรื้อโครงสร้างการบริหารงานในองค์กร โดยดึงส่วนงานผลิตภัณฑ์สำหรับพีซี, ระบบสื่อสารของอุปกรณ์พกพา และศูนย์ข้อมูล ซึ่งเดิมอยู่ในความรับผิดชอบของ Perlmutter มาดูแลเอง
ในระยะหลังนี้จะเห็นได้ว่าตลาดอุปกรณ์พกพาแข่งขันกันสูงขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้อุปกรณ์ในกลุ่มเมนสตรีมต่างก็หั่นราคากันแบบเผาขนเพื่อดึงดูดใจลูกค้า ทางฝั่งอินเทลเองที่เริ่มทำมาก่อน แต่ขยับช้ากว่าก็เริ่มเร่งจังหวะขึ้นในช่วงหลัง ล่าสุดผู้บริหารอินเทลออกมาประเมินราคาของอุปกรณ์พกพาที่ใช้ชิปอินเทลที่จะพากันลดราคาลงในเร็ววัน โดยจะเริ่มต้นกันที่ 99 เหรียญกันเลยทีเดียว
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2013 มีรายได้เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน อยู่ที่ 13.5 พันล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 3 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 48%
ซีอีโอ Brian Krzanich กล่าวว่าผลงานในไตรมาสที่ผ่านมาถือว่าเติบโตในระดับทรงตัวท่ามกลางภาวะอุตสาหกรรมที่ท้าทาย ส่วนซีพียู Broadwell จะเลื่อนจากกำหนดเดิมออกไปเล็กน้อย โดยเริ่มผลิตในต้นปีหน้า
กลุ่มสินค้าอื่นยกเว้นกลุ่มพีซียังคงมีการเติบโตที่ดี โดยเฉพาะกลุ่มศูนย์ข้อมูลที่เติบโตถึง 12.2%
ปกติเราเห็นบรรดาผู้ผลิตชิป ARM ทั้งหลายแข่งกันเองเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นเจ้าของพิมพ์เขียวอย่าง ARM ออกมาอัดคู่แข่งตรงๆ ล่าสุดเพิ่งปล่อยวิดีโอเปรียบเทียบกับ Atom จาก Intel ที่ลงมาแข่งกันหนักขึ้นในช่วงหลัง
ในวิดีโอ ARM เทียบระหว่างชิป ARM Cortex-A9 ควอดคอร์ความถี่ 1.4GHz ไม่ระบุรุ่นกับ Atom Z2560 ดูอัลคอร์ความถี่ 1.6GHz รันอยู่บนแท็บเล็ตไม่ระบุสเปค (คาดว่าน่าจะเหมือนกัน) มาเล่นเกมแข่งรถอย่าง Need For Speed Most Wanted
จากผลที่ออกมาปรากฎว่า ARM อายุปีกว่าทำผลได้ดีกว่าทั้งระยะเวลาการโหลดเกม เฟรมเรตระหว่างเล่น แม้ว่าเลขจากผลทดสอบจะออกมาพอกัน หรือแพ้ Atom เสียด้วยซ้ำ
ส่วนชนะกันขาดแค่ไหน ลองดูท้ายข่าวครับ
ก่อนหน้านี้มีผลการทดสอบ Atom Bay Trail โดย AnandTech มารอบหนึ่งแล้ว คราวนี้เป็นของ Engadget รันเบนช์มาร์คเทียบกับ Tegra 4 และ Snapdragon 800 บน Android ครับ
Meg Whitman ซีอีโอของ HP จัดประชุมกับนักวิเคราะห์ทางการเงิน เธอยอมรับว่าแผนการพลิกฟื้นบริษัทช้ากว่ากำหนด โดยรายได้ของปีงบประมาณ 2014 จะเป็นช่วงของการสร้างเสถียรภาพ และจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นในปีงบประมาณ 2015
Whitman ยังยอมรับว่าบริษัทชักช้าไม่ทันกินในหลายๆ เรื่อง พลาดคำสั่งซื้อล็อตใหญ่เพราะส่งสินค้าไม่ทันตามที่ลูกค้าต้องการ และเธอก็อ้างคำพูดของลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งที่มักซื้อสินค้าจาก HP ว่าตัวแทนของ HP มาหาช้าไปเสมอ ซึ่ง Whitman ก็ระบุว่าจะต้องแก้ปัญหานี้ในปี 2014
เธอยังพูดถึงความเปลี่ยนแปลงในตลาดไอทีว่า อุปกรณ์ Wintel กำลังถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์ตระกูล ARM, พีซีกำลังถดถอยในขณะที่แท็บเล็ตเติบโต และคู่ค้าของบริษัทในอดีตอย่างอินเทล-ไมโครซอฟท์ก็กลายมาเป็นคู่แข่งเสียเอง
อินเทลเปิดตัวหน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things) โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ
ในงาน IDF อินเทลเพิ่งโชว์ Atom รหัส Bay Trail สำหรับแท็บเล็ตที่รันได้ทั้ง Windows และ Android ชื่อรุ่น Z3770 ในตอนนั้นได้เทียบประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ AMD A4-5000
ผลรอบก่อนอาจจะดูไม่ค่อยน่าเชื่อเพราะมาจากคนในอินเทล แต่ตอนนี้เว็บไซต์ได้แท็บเล็ตรุ่นทดสอบของอินเทลที่ใช้ชิปดังกล่าวมาแล้ว สเปคคร่าวๆ คือหน้าจอ 10" ความละเอียด 2560x1440 พิกเซล แรม 2GB และรัน Windows 8.1
ผลการทดสอบฝั่ง Windows พบว่า Z3770 ทำงานได้ในระดับใกล้เคียงกับ A4-5000 ตามที่อินเทลบอกไว้แต่แรก ส่วนฝั่งจีพียูจะได้คะแนนน้อยกว่ารุ่นโน้ตบุ๊กพอสมควร แม้ว่าจะใช้ชิป Intel HD4000 เหมือนกัน (น่าจะลดสัญญาณนาฬิกาลงมา)