ซีพียูรหัส Broadwell เลื่อนกว่ากำหนดมานานเกือบปีด้วยเหตุผลด้านการผลิต แต่ในที่สุดอินเทลก็ออกมาเผยข้อมูลของ Broadwell เป็นบางส่วน ก่อนจะเปิดเผยรายละเอียดแบบเต็มๆ ในงาน IDF 2014 เดือนกันยายน
Broadwell เป็นซีพียูในขา "tick" ของอินเทลตามยุทธศาสตร์ tick-tock โดยรอบนี้จะคงสถาปัตยกรรมซีพียูเดิมจาก Haswell (ปรับแต่งเล็กน้อย เปลี่ยนจากเดิมไม่เยอะ) แต่เปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตจาก 22 นาโนเมตร มาเป็น 14 นาโนเมตรแทน
ของใหม่ใน Broadwell จึงแยกเป็นส่วนของเทคโนโลยีการผลิต และส่วนของสถาปัตยกรรมซีพียูครับ เริ่มจากเทคโนโลยีการผลิตกันก่อนเลย (ข่าวนี้ภาพเยอะหน่อยนะครับ)
การสู้รบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วจำนวนมาก พร้อมกับสร้างความขัดแย้งในชาติอื่นๆ ที่สนับสนุนคนละฝั่ง เมื่อวานนี้บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ขนาดใหญ่อย่างอินเทลก็ถูกลากเข้าไปในความขัดแย้งนี้ด้วย เมื่อมีผู้ทำเว็บ http://www.newsroom-intel.com/
โดยจงใจเลียนแบบ http://newsroom.intel.com/
ของจริงและแสดงข่าวระบุว่าอินเทลกำลังถอนการลงทุนออกจากอิสราเอล
ผู้สร้างเว็บปลอมนี้ใช้ชื่อแทนตัวเองว่า Nick Veritas เขาระบุว่าทำไปเพื่อประท้วงอินเทลและข้อความในแถลงการณ์ปลอมก็เอามาจากหลักจรรยาบรรณ (code of conduct) ของอินเทลเอง
เว็บ DatacenterDynamics ลงบทสัมภาษณ์ Patrick Buddenbaum ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดสินค้าองค์กรเล่าถึงเหตุผลที่อินเทลต้องออกชิปรุ่นพิเศษ E7-8895v2 เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยออกให้กับออราเคิลโดยเฉพาะ
ชิปต้นแบบของ E7-8895v2 นั้นคือชิป E7-8890v2 ที่ออกมาก่อนหน้าเล็กน้อย โดยตัวชิป E7-8890v2 มีคอร์ทั้งหมด 15 คอร์ ทำงานต่อเนื่องที่สัญญาณนาฬิกา 2.8GHz อินเทลออกแบบชิปใกล้เคียงกันเพิ่มเติมมาอีก 2 ตัวได้แก่ E7-8891v2 ใช้งานได้ 10 คอร์แต่รันต่อเนื่องที่ 3.2GHz และ E7-8893v2 ใช้งานได้ 6 คอร์ ทำงานต่อเนื่องที่ 3.4GHz
ไมโครซอฟท์เริ่มเข้าตลาดฮาร์ดแวร์ด้วยบอร์ด The Sharks Cove ที่ร่วมมือออกแบบกับอินเทลและผลิตโดย CircuitCo ผู้ผลิตบอร์ดพัฒนาแบบเดียวกันอีกหลายรุ่น เช่น BeagleBoard หรือ MinnowBoard
บอร์ด The Sharks Cove จะใช้ซีพียู Atom Z3735G สี่คอร์ สัญญาณนาฬิกา 1.33GHz, แรม 1GB, และหน่วยความจำแฟลช 16GB
บนตัวบอร์ดมีพอร์ต HDMI, microSD, MIPI, USB 2.0, และพอร์ต GPIO สำหรับเซ็นเซอร์อีกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่มีทั้ง Wi-Fi และ LAN ให้ ต้องเชื่อมต่อผ่าน USB เท่านั้น
ราคาขาย 299 ดอลลาร์ เริ่มสั่งล่วงหน้าได้แล้ว ราคานี้รวมค่าไลเซนส์ Windows 8.1 สำหรับใช้งานบนบอร์ด, ชุดเครื่องมือพัฒนาไดร์เวอร์, ส่วน IDE นั้นใช้งานร่วมกับ Visual Studio Express 2013
อินเทลเปิดตัว SSD สำหรับกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปซีรีย์ใหม่ Pro 2500 ที่มาพร้อมกับการเข้ารหัสไดร์ฟในตัว โดย SSD Pro 2500 จะมาในสองขนาดหลักๆ คือ 2.5" ที่ความจุ 120GB-480GB และ M.2 ที่ความจุ 180GB, 240GB และ 360GB ความเร็วอ่านเขียนอยู่ที่ 540MB/s 48,000 IOPS และ 490MB/s 80,000 IOPS ตามลำดับ
สำหรับการเข้ารหัสในตัวของ SSD Pro 2500 นั้นใช้แบบ AES-256 และรองรับการจัดการแบบรีโมตโดยทีมไอทีของบริษัท ผ่าน Intel SSD Pro Administrator Tool
สำหรับค่าตัวของ SSD Pro 2500 เปิดราคาเริ่มต้นที่ 95 เหรียญ (ประมาณ 3,000 บาท) สำหรับรุ่น 120GB และแพงสุด 305 เหรียญสำหรับรุ่น 480GB (ประมาณ 9,700 บาท)
อินเทลออกซีพียูใหม่ทั้งหมด 4 ซีรีส์ โดยแบ่งเป็นกลุ่ม Core "Haswell" และกลุ่ม Celeron/Pentium ที่ใช้แกน "Bay Trail" ดังนี้
คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สมบูรณ์ในชิปตัวเดียว หรือใช้ชิปประกอบร่วมกันไม่กี่ตัวในกลุ่มไมโครคอนโทรลเลอร์ (microcontroller) หรือ system-on-chip ทั้งหลายได้ครับความนิยมมานานในงานควบคุมโรงงานหรือภาคการศึกษาและวิจัยต่างใช้ชิปในสถาปัตยกรรมที่ความซับซ้อนต่ำ และใช้ผลิตชิปกินพลังงานต่ำกันมาเป็นเวลานานนับสิบปี
โลกของคอมพิวเตอร์ฝังตัวที่ใช้ชิปเหล่านี้ก็พัฒนาขึ้นพร้อมกับเทคโนโลยีการผลิตที่ไปไกลขึ้นเรื่อยๆ วันนี้ชิปกินพลังงานต่ำเช่น ARM มีชุดคำสั่งที่ซับซ้อนไม่ต่างจากพีซีเต็มรูปแบบเมื่อหลายปีก่อน ปีที่แล้วอินเทลก็ออกชิป x86 ในตระกูล Quark ที่เตรียมบุกตลาด
ตามปกติแล้ว ซีพียูสายเซิร์ฟเวอร์ของอินเทล (Xeon) จะตามหลังซีพียูสายเดสก์ท็อปในเรื่องรุ่นของสถาปัตยกรรมอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น อินเทลเปิดตัว Core ที่ใช้แกน Haswell ตั้งแต่ต้นปี แต่เพิ่งอัพเกรด Xeon E3 ให้เป็น Haswell เมื่อเดือนที่แล้ว
ล่าสุดเป็นคิวของ Xeon E5 โดยอินเทลเริ่มส่ง Xeon E5 รหัส "Grantley" ที่ใช้แกน Haswell ให้ผู้ผลิตเครื่องเซิร์ฟเวอร์แล้ว และสินค้าจริงจะเริ่มขายภายในไตรมาสที่สามนี้
ฟีเจอร์ของ Grantley นอกจากการเปลี่ยนมาใช้แกน Haswell ยังมีการรองรับแรม DDR4 และมีจำนวนคอร์มากขึ้นกว่า Xeon E5 รุ่นก่อน
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2014 มีรายได้รวม 13,831 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 2,796 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นถึง 40%
รายได้แยกตามกลุ่มธุรกิจของอินเทลก็มีการเติบโตสอดคล้องกับภาพรวม โดยกลุ่มพีซีเติบโต 6% กลุ่มศูนย์ข้อมูลเติบโต 19% กลุ่ม Internet of Things เติบโต 24% ขณะที่กลุ่มมือถือกลับตรงข้ามโดยลดลงถึง 83%
ที่มา: อินเทล
คดี 4 บริษัทไอทีรายใหญ่ ได้แก่ กูเกิล, แอปเปิล, อินเทล, และ อโดบี ร่วมมือกันทำสัญญาไม่ชิงตัวพนักงานระหว่างกัน มีการเปิดเผยหลักฐานใหม่เป็นอีเมลภายในของกูเกิลที่พูดถึงการชิงตัววิศวกรกับเฟซบุ๊กที่ได้อยู่ในกลุ่มพันธมิตรไม่ชิงตัวพนักงาน
อีเมลระบุว่ากูเกิลมีนโยบายยื่นข้อเสนอให้กับพนักงานของตัวเองเพื่อดึงตัวพนักงานไว้ภายในหนึ่งชั่วโมงหลังทราบว่าพนักงานคนใดได้รับเสนอตำแหน่งงานจากเฟซบุ๊ก แสดงให้เห็นว่าการที่มีบริษัทขนาดใหญ่นอกกลุ่มพันธมิตรไม่แย่งตัวพนักงานกันเช่นนี้ทำให้กูเกิลต้องแข่งขันด้วยการเพิ่มผลตอบแทนให้พนักงาน
อินเทลอัพเดตบอร์ด Galileo เป็นรุ่น Gen 2 โดยแกนกลางยังคงเดิม เช่น ซีพียู XC1000 และแรม 256MB แต่ปรับแต่งพอร์ตต่างๆ ได้แก่
ฟีเจอร์ส่วนสำคัญที่สุดคงเป็นข้อสุดท้าย ตามออฟฟิศทั้งหลายที่จ่ายไฟแบบ PoE กันอยู่แล้วก็สามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ในสำนักงานเพิ่มเติมกันได้สบาย
ช่วงหลังเราเริ่มเห็นอินเทล "รับงานนอก" ใช้โรงงานของตัวเองผลิตชิปให้บริษัทอื่นๆ มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การรับจ้างผลิตชิป FPGA ให้บริษัท Altera เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว
กลุ่มพันธมิตรที่ประกอบด้วย Atmel, Broadcom, Dell, Intel, Samsung, Wind River ประกาศตั้งกลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรม Open Interconnect Consortium (OIC) เพื่อกำหนดสเปกกลางสำหรับการสื่อสารในโลกของ Internet of Things (IoT)
สมาชิกในกลุ่มจะร่วมกันพัฒนาโพรโทคอลเปิดและซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่อิงอยู่บนมาตรฐานเหล่านี้ โดยช่วงแรกจะเน้นสินค้าแนวสมาร์ทโฮมและโซลูชันสำหรับที่ทำงาน
การรวมกลุ่มมาตรฐาน IoT เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนหน้านี้เราเห็นข่าวกลุ่ม AllSeen Alliance ที่นำโดย Qualcomm และมีสมาชิกอย่าง LG, Microsoft, Panasonic, Sharp เข้าร่วม
พานาโซนิคเปิดตัว 3E แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ที่บริษัทมีความร่วมมือกับอินเทลและไมโครซอฟท์ โดยพื้นฐานของเครื่องมาจากต้นแบบแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาของอินเทล Intel Education 2-in-1 ที่ปรากฏโฉมเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา สเปคเป็นดังนี้
Intel กำลังพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดความสูง 45 เซนติเมตร ที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยจะขายเป็นชุดชิ้นส่วนต่างๆ อย่างมอเตอร์ แบตเตอรี่ แผงวงจร ฯลฯ และให้ผู้ซื้อไปพิมพ์ขึ้นรูปเองจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และประกอบเข้ากับโครงร่างเอง โดย Intel ตั้งชื่อให้ว่า Jimmy และจะพัฒนาให้สามารถรับคำสั่งในการช่วยเหลือคนได้เล็กๆ น้อยๆ อย่างเปิดปิดไฟ หยิบหนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่โต้ตอบกับคนด้วยเช่นกัน
Xeon Phi การ์ดเสริมสำหรับการประมวลผลขนานประสิทธิภาพสูงจากอินเทลเปิดตัวรุ่นต่อไป โดยมีจุดขายหลักที่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่ารุ่นเดิม 3 เท่าตัว เป็น 3 TFLOPS ที่การคำนวณ double precision
ความเปลี่ยนแปลงของ Phi รุ่นใหม่มีตั้งแต่ กระบวนการผลิตที่กำลังย้ายไปใช้เทคโนโลยี 14 นาโนเมตร, เพิ่มทางเชื่อมต่อจาก PCIe มาเป็นซ็อกเก็ตพิเศษ, รองรับการเขื่อมต่อระหว่างเครื่องด้วย Omni Scale Fabric โดยช่วงแรกจะขายการ์ดแยก และรวมเข้าไว้ในชิปภายหลัง, สุดท้ายคือเปลี่ยนไปใช้แรม HMC ของ Micron ตัวใหม่
Xeon Phi ตัวใหม่นี้จะวางตลาดครึ่งปีหลังของปีหน้า
อินเทลออกข่าวปรับประมาณการณ์รายได้ไตรมาสที่สองของปีนี้ ปรับเพิ่มจากเดิมประมาณไว้ที่ 13.0 พันล้านดอลลาร์ บวกลบ 500 ล้านดอลาร์ มาเป็น 13.7 พันล้านดอลลาร์ บวกลบ 300 ล้านดอลลาร์
เทียบกับไตรมาสที่สองของปีที่แล้ว อินเทลมีรายได้ 12.8 พันล้านดอลลาร์ และไตรมาสแรกของปีนี้ ก็อยู่ที่ 12.8 พันล้านดอลลาร์เช่นกัน
รายได้ที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากยอดขายในสินค้ากลุ่มพีซีที่กลับมาสูงขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาคาดว่าจะสูงกว่าที่ประมาณไว้ก่อนหน้านี้ จากเดิม 4,800 ล้านดอลลาร์เป็น 4,900 ล้านดอลลาร์
รายงานจริงจะออกวันที่ 15 กรกฎาคมนี้
ที่งาน Computex 2014 นอกจากอินเทลจะเปิดตัวชิปประหยัดพลังงาน Core M พร้อมโชว์เครื่องต้นแบบหน้าจอ 12.5 นิ้วที่มีความหนาเพียง 7.2 มิลลิเมตรและหนัก 670 กรัมเท่านั้น บริษัทยังโชว์ต้นแบบ docking station พร้อมชุดพัดลม (ต้นฉบับบอก a set of fans) สำหรับรีดพลังประมวลผลของ Core M ให้แรงขึ้นได้อีก
อินเทลกล่าวว่า dock ดังกล่าวช่วยให้ประสิทธิภาพการประมวลผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ทางเว็บไซต์ CNET ยังเสริมว่าในระหว่างการเดโมนั้นเสียงพัดลมเบามาก แต่เนื่องจากการเดโมนั้นไม่ได้เป็นงานที่เค้นการประมวลผลของซีพียูอย่างเต็มที่ จึงไม่ทราบว่าเมื่อซีพียูทำงานเต็มที่แล้วเสียงพัดลมจะดังกว่านี้หรือไม่และแค่ไหน
ในงานเปิดตัวชิปรุ่นใหม่ของอินเทล Core M ซึ่งเป็นชิปกินพลังงานต่ำมาก ได้โชว์ตัวแท็บเล็ตรุ่นต้นแบบที่นอกจากจะบางมากเพียง 7.2 มม. แล้ว ยังเป็นพีซีแบบไร้พัดลมอีกด้วย เมื่อเห็นแบบนี้แล้วใครๆ ต่างก็คงเตรียมถอยหนีเพราะคงสู้ราคาไม่ได้เป็นแน่ แต่หลายคนอาจต้องเปลี่ยนความคิด หลังจากที่อินเทลออกมาพูดถึงราคาของเจ้าพีซีตัวที่ว่านี้
เดือนที่แล้ว ARM นำเสนอจุดอ่อนของอินเทลที่มีปัญหาความเข้ากันได้, พลังงาน, และประสิทธิภาพเมื่อแปลงโค้ดจาก ARM ให้ไปรันบน x86 หนึ่งเดือนผ่านไป อินเทลก็ออกมาโต้ตอบแล้วครับ
อินเทลนำเสนอผลทดสอบคล้ายกับที่ ARM เสนอในงาน Techday โดยทดสอบแอพพลิเคชั่น 400 ตัวที่ได้รับความนิยมสูงสุดในแต่ละหมวดบนชิป CloverTrail+ และ Android JellyBean (รายงานของ ARM ใช้ 25 แอพพลิเคชั่นจากแต่ละหมวด รวมสำรวจ 100 แอพ) และพบว่าไม่ว่าอุปกรณ์จะใช้ชิป ARM หรืออินเทลก็ล้วนมีปัญหาในการรันบางแอพพลิเคชั่นทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีเครื่องที่ใช้ชิปอินเทลนั้นแม้จะพบปัญหาบ้างแต่ก็ไม่มากนัก โดยอัตราการรันโดยไม่มีปัญหาอยู่ที่ระหว่าง 97% - 99%
อินเทลเผยแนวทางของชิปรุ่นต่อไปอย่าง Skylake (ตัวต่อจาก Broadwell) ว่าจะนำทางพีซีไปสู่ยุคของการเชื่อมต่อทุกสิ่งแบบไร้สายเสียบเสียที
เพื่อยืนยันกับแนวคิดที่ว่า ในงาน Computex ที่ผ่านมา อินเทลได้โชว์พีซีที่สามารถใช้งานได้แบบไร้สายในแทบทุกท่วงท่า ตั้งแต่การต่อหน้าจอแบบไร้สาย ร่วมกับการชาร์จไฟแบบไร้สาย
เทคโนโลยีที่อินเทลเลือกใช้คือ WiGig ระบบการส่งข้อมูลไร้สายความเร็วสูง 7Gbps ซึ่งทำให้พีซีสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น จอภาพ ที่ต้องการแบนด์วิธจำนวนมาก เมื่อขยับเครื่องเข้าไปอยู่ในระยะที่กำหนด
อินเทลประกาศชิปใหม่ที่งาน Computex ในชื่อว่า Core M เป็นชิปพลังงานต่ำมาก ใช้กระบวนการผลิต 14 นาโนเมตร โดยเครื่องต้นแบบหน้าจอ 12.5 นิ้วที่อินเทลแสดงในงานมีความหนาเพียง 7.2 มิลลิเมตรและหนัก 670 กรัมเท่านั้น
Intel Core M จะใช้สถาปัตยกรรม Broadwell ที่ยังไม่ได้เปิดตัวยกชุดเหมือนปีที่แล้ว แต่อินเทลเลือกเปิดตัวเฉพาะรุ่นโมบายออกมาก่อน
งานนี้คนที่เพิ่งซื้อ Macbook Air อาจจะต้องเตรียมทำใจ เพราะปกติ Macbook Air เป็นเครื่องรุ่นแรกๆ ที่อัพเกรดไปยังซีพียูรุ่นใหม่ของอินเทลก่อนแบรนด์อื่นๆ
อินเทลประกาศบุกรถยนต์อย่างเป็นทางการด้วย Intel In-Vehicle Solutions ซึ่งเป็นโซลูชันครบวงจรที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และแอพพลิเคชัน สำหรับให้ค่ายรถยนต์นำไปพัฒนาต่อบนระบบความบันเทิงและระบบนำทางภายในรถ
Intel In-Vehicle Solutions มีองค์ประกอบ 3 อย่างได้แก่
อินเทลและ Rockchip ประกาศพันธมิตรร่วมกัน โดย Rockchip จะผลิตชิป SoC ในตระกูล SoFIA ที่รวมเอาทั้ง Atom และ 3G ไว้ในชิปเดียวกัน โดยชิปตัวแรกจะเป็นชิปสี่คอร์พร้อม 3G ในตัว เริ่มวางตลาดครึ่งแรกของปี 2015
ก่อนหน้านี้อินเทลพยายามใช้พิมพ์เขียวของชิปของตัวให้ได้ประโยชน์มากขึ้น เช่นความร่วมมือกับ TSMC เพื่อผลิต Atom แต่สุดท้ายก็ไม่ได้มีการผลิตจริง หากรอบนี้ Rockchip เอาจริงกับการผลิต Atom เราน่าจะได้เห็น Atom แบบ SoC ในราคาถูกมาก
แพลตฟอร์ม SoFIA ในตอนนี้เองก็มีข่าวว่าอินเทลจะไม่ได้ผลิตเอง แต่จ้าง TSMC ผลิตให้ ทำให้ปีหน้าเมื่อ SoFIA เริ่มวางจำหน่าย สินค้าทั้งหมดจะมาจากโรงงานนอกอินเทล ส่วนโรงงานของอินเทลเองมีแผนจะเริ่มผลิต SoFIA เองในปี 2016
DigiTimes อ้างแหล่งข่าวไม่ระบุชื่อระบุว่าอินเทลกำลังเสนอ "แรงจูงใจ" ให้กับผู้ผลิตแท็บเล็ตในจีนเพิ่มเติมเพื่อให้หันมาผลิตแท็บเล็ตที่ใช้ชิปอินเทล หลังจากก่อนหน้านี้ดึงให้ผู้ผลิตแท็บเล็ตจีนอย่าง Ramos หันมาผลิตแท็บเล็ตที่ใช้ชิป Atom ได้ก่อนหน้านี้แล้ว
แรงจูงใจที่อินเทลเสนอให้ผู้ผลิตมีทั้งชิปราคาถูกและการสนับสนุนค่าการตลาด โดยตอนนี้มีผู้ผลิตใช้ชิปอินเทลประมาณ 20 ราย และอินเทลกำลังเร่งให้มีผู้ผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 30 รายเพื่อให้ได้ยอดภายในปีนี้เกิน 40 ล้านเครื่องตามที่ตั้งเป้าเอาไว้