อินเทลยังไม่เปิดตัว Core รุ่นที่สี่รหัส Haswell อย่างเป็นทางการ แต่ก็ทยอยปล่อยข้อมูลออกมาเรื่อยๆ
Rani Borkar ผู้บริหารของอินเทลให้ข้อมูลกับสื่อว่าเป้าหมายหลักของ Haswell คือลดอัตราการบริโภคพลังงานโดยไม่สูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน โดยโน้ตบุ๊กทั่วไปที่ใช้ Haswell จะใช้แบตเตอรี่ได้นานกว่า Ivy Bridge ถึง 50%
จุดเด่นของ Haswell คือลดอัตราการใช้พลังงานในช่วง idle/standby ลงจากเดิมมากถึง 20 เท่า นอกจากนี้ก็มีประเด็นที่เรารู้กันก่อนแล้วคือประสิทธิภาพด้านกราฟิก ดีกว่าเดิม 2 เท่าบนโน้ตบุ๊ก และ 3 เท่าบนเดสก์ท็อป
Brian Krzanich เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งซีอีโอของอินเทลได้ไม่นานก็เริ่มปรับบริษัททันทีด้วยการตั้งแผนก New Devices เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต
เดิมอินเทลมีกลุ่มสินค้าอยู่สามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพีซี (โน้ตบุ๊กและเดสก์ท็อป), กลุ่มศูนย์ข้อมูล (เซิร์ฟเวอร์), และกลุ่มสื่อสาร (Wi-Fi และ 3G) โดยกลุ่ม New Devices นี้จะดูแลโดย Hermann Eul ที่เคยดูกลุ่มสื่อสารมาก่อน
Atom ตั้งแต่ตัว CloverTrail เริ่มได้รับการยอมรับในหมู่ผู้ผลิตเพิ่มมากขึ้นทั้งในตลาดเท็บเล็ตราคาถูกอย่าง Asus Fonepad และตลาดโทรศัพท์ที่มี Lenovo K900 แต่ข่าวลือล่าสุดคือผู้ผลิตแอนดรอยด์หมายเลขหนึ่งอย่างซัมซุงก็จะมาใช้ชิป Atom ใน Galaxy Tab รุ่นหน้าจอ 10 นิ้วรุ่นต่อไป
ข่าวนี้มาจาก GFXBench ที่มีผลทดสอบของ Samsung GT-P5200 ที่ดูจะเป็นตัวต่อของ Galaxy Tab 2 10.1 ที่มีเลขรุ่น GT-P5100
GT-5200 มีหน้าจอ 1280x800 และใช้แอดดรอยด์รุ่น 4.2.2 ชิป CloverTrail ที่สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 1.6 GHz
เว็บไซต์ The Atlantic มีบทสัมภาษณ์ Paul Otellini อดีตซีอีโอของอินเทลที่เพิ่งลงจากตำแหน่งไปเมื่อสัปดาห์ก่อน (และให้ Brian Krzanich ขึ้นเป็นซีอีโอคนใหม่)
บทสัมภาษณ์เน้นประเด็นเรื่องการเปลี่ยนผ่านของอินเทลจากยุคพีซีมาสู่ยุคของอุปกรณ์พกพาในหลายๆ มิติ (Otellini เป็นคนที่เห็นแนวโน้มนี้ตั้งแต่สมัยยังไม่เป็นซีอีโอ และพยายามผลักดันอินเทลให้มุ่งสู่อุปกรณ์พกพา แต่วัฒนธรรมองค์กรเก่าทำให้เปลี่ยนช้ากว่าที่ควร)
ความพยายามของอินเทลที่จะดึงนักพัฒนามาพัฒนาบนแอนดรอยด์ให้รองรับ x86 มีมานาน แต่ตอนนี้อินเทลออกเครื่องมือสำหรับการพัฒนาบนแอนดรอยด์เพื่อให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึงพลังประมวลผลได้ดีขึ้นไม่ว่าจะพัฒนาสำหรับ ARM หรือ x86 ในชื่อ Beacon Mountain
Beacon Mountain จะรวมเอาชุดซอฟต์แวร์ของอินเทลเช่น
อินเทลน่าจะเปิดตัวชิป Haswell รุ่นโมบายสำหรับโน้ตบุ๊กที่งาน Computex ในเดือนหน้า แต่ตอนนี้ทาง NEC ก็เปิดตัว LaVie โน้ตบุ๊กที่ใช้ชิป Haswell ออกมาแล้ว
LaVie L ตัวท๊อปของตระกูลจะใช้จอภาพเป็นจอสัมผัส LED-EX2 ความละเอียด Full HD พร้อมกับ Wi-Fi แบบ 802.11ac แรม 8GB ราคาประมาณ 200,000 เยน เริ่มวางตลาดในญี่ปุ่นวันที่ 16 ที่จะถึงนี้
หลังจากเดือนหน้าไปไม่นานคาดว่าผู้ผลิตจะทยอยเปิดตัวโน้ตบุ๊ก Haswell กันอีกชุดใหญ่ตอนนี้ถ้าใครไม่รีบอาจจะต้องต้องอดใจรอกันหน่อยครับ
Jennifer Healey นักวิจัยจากอินเทลกำลังทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันเพื่อพัฒนาระบบสื่อสารระหว่างเครื่องจักร ในกรณีนีี้คือรถยนต์ที่จะสามารถแชร์ข้อมูลระหว่างกันเอง
เธอระบุว่าอุบัติเหตุบนถนนร้อยละ 75 ในสหรัฐฯ ไม่ได้เกี่ยวกับยาเสพติด และอุบัติเหตุน่าจะลดลงได้หากรถสามารถสื่อสารถึงกันได้
ก่อนหน้านี้มีข้อเสนอให้รถยนต์สามารถส่งข้อมูลเพิ่มเติมออกไปทางอินฟราเรด เช่น ความเร็วรถ ทำให้รถสามารถรักษาระยะห่างระหว่างกันได้อย่างแม่นยำ แต่ในระบบของ Healey จะใช้สัญญาณวิทยุแบบรอบทิศทางเพื่อสื่อสารถึงกันโดยแต่ละคันจะระบุตำแหน่งของตัวเองด้วย GPS พร้อมกับข้อมูลเส้นทาง
แม้จะยังไม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ แต่ข้อมูลของซีพียูรุ่นใหม่จากอินเทลในรหัส "Haswell" ยังคงมีออกมาอย่างต่อเนื่อง หลังจากก่อนหน้านี้มีข้อมูลเกี่ยวกับจีพียูออกมา วันนี้ผลทดสอบแรกของ Haswell ก็ปรากฏบนเว็บไซต์เป็นครั้งแรกแล้ว
ตัวเลขผลการทดสอบที่ว่านี้ออกมาจากเว็บไซต์จีน RedQuasar ที่นำผลทดสอบของซีพียูรหัส Haswell สองรุ่นอย่าง Core i7-4770K และ Core i5-4570K ไปเทียบกับซีพียูรุ่นท็อปในรหัส Ivy Bridge อย่าง Core i7-3770K ในโปรแกรมทดสอบหลายตัว ได้แก่ 3DMark11, AIDA64, Cinebench 11.5, Fritz Chess Benchmark และ Super Pi benchmarks
เราเคยได้ยินข่าวของ Atom ที่ใช้สถาปัตยกรรม Silvermont มาแล้วครั้งหนึ่ง ในข่าว เอกสารสเปคของ Valleyview หลุดออกมา ล่าสุดอินเทลก็เปิดตัว Silvermont อย่างเป็นทางการเรียบร้อย และพร้อมลุยตลาดอุปกรณ์พกพาในเร็วๆ นี้ครับ
โดยรายละเอียดของ Silvermont คร่าวๆ ก็คือเป็นหน่วยประมวลผลที่ผลิตบนสถาปัตยกรรมขนาด 22 นาโนเมตรแบบ Tri-Gate transistor สามารถประมวลผลงานได้เร็วกว่าเดิม 3 เท่า และใช้พลังงานลดลงถึง 5 เท่าเมื่อเทียบกับรุ่นที่แล้ว และนอกจากนี้อินเทลยังระบุอีกว่าสถาปัตยกรรม Silvermont จะสามารถรองรับคอร์ได้สูงสุดถึง 8 คอร์อีกด้วย
เมื่อปลายปีที่แล้ว อินเทลประกาศว่าซีอีโอ Paul Otellini ที่อยู่ในตำแหน่งมาแปดปี (ตั้งแต่ปี 2005) จะลงจากตำแหน่ง และจะคัดเลือกบุคคลมาเป็นซีอีโอคนใหม่ต่อไป
วันนี้อินเทลประกาศชื่อซีอีโอคนใหม่แล้ว เขาคือ Brian Krzanich ซึ่งดำรงตำแหน่งซีโอโอ (ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ) นั่นเอง เขาทำงานกับอินเทลมาตั้งแต่ปี 1982 ปัจจุบันอายุ 52 ปี
Otellini จะลงจากทุกตำแหน่งของอินเทลในวันที่ 16 พฤษภาคมนี้ และ Krzanich จะขึ้นเป็นซีอีโอคนที่หกของอินเทลต่อไป เขาให้สัมภาษณ์ว่าจะนำพาอินเทลเข้าสู่ยุคใหม่ โดยจะคงไว้ทั้งธุรกิจชิปแบบเดิมที่บริษัทดำเนินกิจการได้ดี และธุรกิจชิปสำหรับอุปกรณ์จำพวก ultra-mobility ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
Intel ได้เปิดเผยชื่อแบรนด์ GPU รุ่นใหม่ของตนว่า Iris และ Iris Pro โดยจะใช้ชื่อนี้กับ GPU บนชิพ Haswell รุ่นสูง ๆ ส่วน HD Graphics นั้นจะยังคงถูกใช้ในรุ่นล่าง ๆ ครับ ดังรายการต่อไปนี้
ช่วงปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีที่ช่วยเดาความต้องการของผู้ใช้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย อย่างที่เห็นในคีย์บอร์ดเดาคำล่วงหน้าใน SwiftKey หรือตัวช่วยที่บอกคำตอบโดยอิงจากข้อมูลรอบตัวเราอย่าง Google Now เป็นต้น
หลายคนที่เลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเล่นเกมที่ใช้พลังด้านกราฟิกสักหน่อย เมื่อเห็นคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีการ์ดจอแยก (dedicated) อย่าง Ultrabook หรือ All-In-One PC บางรุ่น ก็คงจะหันไปเลือกตัวเลือกอื่นๆ แทน แต่ในอนาคตนี้อาจจะไม่จำเป็นต้องเลือกทางอื่นก็ได้ครับ
ผลการทดสอบบน 3DMark11 ด้วย CPU รุ่นที่จะถูกใช้ใน Ultrabook อย่าง i7-4558U เทียบกับรุ่นปัจจุบันอย่าง i7-3687U นั้นแสดงให้เห็นว่า i7-4558U นั้นได้คะแนนสูงกว่าเป็น 2 เท่า หรือยิ่งถ้าเป็นรุ่นที่จะถูกใช้ในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะอย่าง i7-4770R เทียบกับรุ่นปัจจุบันอย่าง i7-3770K จะเห็นว่าได้คะแนนสูงกว่าเป็น 3 เท่า
แต่ทั้งนี้ยังไม่มีการเปรียบเทียบกับการ์ดจอแยกของค่ายอื่นๆ โดยตรงครับ
Intel เปิดเผยว่าเดือนหน้าอาจมีการเปิดตัวโน้ตบุ๊กด้วยราคาราว 200 ดอลลาร์เท่านั้น โดยใช้ระบบปฏิบัติการ Android
Dadi Perlmutter รองประธานผู้ควบตำแหน่งซีพีโอของ Intel กล่าวว่า การทำโน้ตบุ๊กในราคาราว 200 ดอลลาร์นั้นเป็นไปได้โดยการใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Atom พร้อมกับเลือกใช้ระบบปฏิบัติการ Android โดยเขากล่าวว่าหากจะใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 8 ทำราคาให้ได้ระดับนี้ถือเป็นเรื่องยาก เพราะต้องไปขอให้ Microsoft ลดราคาของระบบปฏิบัติการลงอีกมาก
Perlmutter ยังชี้อีกว่าในขณะที่โน้ตบุ๊กราคาถูกคงต้องหันไปใช้ชิป Atom บรรดาอุปกรณ์ที่ใช้ชิปตระกูล Core ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ Intel น่าจะมีราคาอยู่ในช่วง 399-499 ดอลลาร์
ความผิดหวังจาก Windows 8 ที่ไม่สามารถกระตุ้นตลาดพีซีกลับขึ้นมาได้ ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตและอินเทลโดยตรง ในตอนนี้ข่าวลือจากผู้ผลิตโน้ตบุ๊กระบุว่าอินเทลเริ่มหันไปสนับสนุนให้ผู้ผลิตสร้างโน้ตบุ๊กจากแอนดรอยด์แทนแล้ว
โน้ตบุ๊กแอนดรอยด์คงไม่ใช่เรื่องใหม่นัก ที่ผ่านมามีผู้ผลิตขนาดเล็กทำตลาดกันอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงหลังมานี้อินเทลลงทุนอย่างมากในการพัฒนาแอนดรอยด์รุ่นของตัวเองเพื่อให้เข้ากับแพลตฟอร์ม x86 และฮาร์ดแวร์ตัวอื่นๆ ได้ดี
ในการรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2013 ซีอีโอของอินเทล Paul Otellini กล่าวว่า บริษัทจะส่งมอบชิป Atom ควอดคอร์บนแพลตฟอร์ม Bay Trail ทันปลายปีนี้ และผู้ผลิตโน้ตบุ๊กที่รองรับการสัมผัสและใช้ชิป Atom ดังกล่าวจะสามารถตั้งราคาฮาร์ดแวร์ได้ต่ำถึง 200 ดอลลาร์ หรือราว 5,800 บาทได้ แต่เขาก็ไม่ได้ระบุว่าโน้ตบุ๊กราคาดังกล่าวนั้นจะมีหน้าจอขนาดเท่าใด
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2013 มีรายได้รวม 12.6 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 2 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 17%
Paul Otellini ประธานและซีอีโอของอินเทลกล่าวว่า ท่ามกลางสภาพตลาดที่ทรงตัว อินเทลก็ยังมีผลงานที่ดีในช่วงไตรมาสแรก โดยเปิดตัวโปรเซสเซอร์ของพีซีรุ่นใหม่ออกมา ตลอดจนเตรียมส่งมอบชิปสำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในไตรมาสปัจจุบันนี้
ที่มา: อินเทล
อินเทลประกาศความร่วมมือกับ Baidu ตั้งศูนย์นวัตกรรมด้านอุปกรณ์พกพาในประเทศจีน โดยที่ศูนย์นี้จะเน้นการพัฒนาบนฮาร์ดแวร์ของอินเทล (พีซี แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน) เพื่อเจาะตลาดจีนโดยมี Baidu ช่วยสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์ค้นหาและแผนที่
ความพยายามผลักดันอุปกรณ์พกพา x86 ของอินเทลในประเทศจีนนั้นชัดเจนมาก ที่ผ่านมาเราเห็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจีนออกสมาร์ทโฟน Atom กันไม่น้อย เช่น Lenovo K900 และ ZTE Geek
ที่งาน Intel Developer Forum 2013 ที่จัดขึ้น ณ เมืองปักกิ่ง อินเทลได้โชว์อัลตร้าบุ๊กหน้าจอ 10.1 นิ้วถอดแยกคีย์บอร์ดได้จากโตชิบา ที่ยังไม่เคยปรากฏที่ใดมาก่อน
จากภาพจะเห็นได้ว่าตัวแท็บเล็ตจะมีพอร์ต micro-HDMI, สล็อตการ์ด SD, USB 3.0 แบบเต็มอยู่ด้านขวาของเครื่อง ส่วนตัวคีย์บอร์ดแบบถอดแยกได้นั้นมีฐานล็อกตัวแท็บเล็ตขนาดใหญ่ มีไฟ backlit รวมถึงมี trackpad และ pointing stick นอกจากนั้นยังมีพอร์ต HDMI, USB, VGA (หากดูจากสีพอร์ต USB นั้น คาดว่าเป็น USB 2.0)
ในงาน Intel Developer Forum 2013 (IDF2013) นอกจากจะเปิดตัว Xeon รุ่นใหม่ยกตระกูลแล้ว พาร์ทเนอร์ของอินเทลอย่าง ZTE ก็ถือโอกาสมาเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ที่ใช้ชิป Atom CloverTrail+ ตัวที่สองของโลกอีกด้วย
สมาร์ทโฟนตัวนี้ใช้ชื่อว่า ZTE Geek มาพร้อมกับ Atom Z2580 ดูอัลคอร์ความถี่ 2GHz (ตัวเดียวกับที่ใช้ใน Lenovo K900) และยังรัน Android รุ่นล่าสุดอย่าง 4.2 Jelly Bean อีกด้วย ส่วนสเปคอื่นๆ จัดว่าอยู่ระดับกลางของตลาด ดังนี้ครับ
ในงาน Intel Developer Forum 2013 ที่จัดขึ้น ณ เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน อินเทลได้เปิดตัวซีพียูสำหรับตลาดองค์กรในปีนี้
ภายในปี 2013 อินเทลจะขยายไลน์ที่จับกลุ่มองค์กรมากขึ้นโดยแบ่งเป็นสี่กลุ่มโดยใช้ Atom, Xeon E3, Xeon E5 และ Xeon E7 ไล่ตามลำดับของการใช้งาน โดยส่วนเล็กที่สุดอย่าง Atom จะมีสามรหัส ตัวแรกคือ Briarwood สำหรับสตอเรจที่วางขายไปแล้ว ส่วนอีกสองตัวที่จะตามมาคือ Avoton สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก และ Rangeley สำหรับอุปกรณ์ในกลุ่มเน็ตเวิร์ค โดยทั้งคู่ผลิตในสถาปัตยกรรมขนาด 22 นาโนเมตร และจะเริ่มส่งของในไตรมาสสองของปี
Intel ประกาศความเร็วของพอร์ต Thunderbolt รุ่นถัดไปว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า จากเดิมที่ 10 Gbps เป็น 20 Gbps โดยความเร็วที่เพิ่มขึ้นนี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้สตรีมวิดีโอขนาด 4K ได้อย่างไม่มีปัญหา, รองรับ DisplayPort 1.2 เมื่อเชื่อมต่อกับจอระบบ DisplayPort, จัดการกับพลังงานได้ดีขึ้น และยังช่วยลดต้นทุนของผู้ผลิตอุปกรณ์อีกด้วย
Thunderbolt รุ่นที่กล่าวถึงนี้น่าจะเริ่มผลิตในช่วงหลังของปีนี้ครับ
ว่าแต่ อุปกรณ์ก็ยังแพงอยู่แบบนี้จะมีคนใช้สักกี่คนล่ะเนี่ย?
หลังจาก HP ประกาศโครงการเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก Moonshot เมื่อปลายปี 2011 วันนี้บริษัทก็เปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ พร้อมวางขายฮาร์ดแวร์รุ่นแรกแล้ว
เซิร์ฟเวอร์รุ่นแรกใช้ชื่อว่า Moonshot 1500 ประกอบด้วยแร็คขนาด 4.3U ที่สามารถเสียบ "ตลับเซิร์ฟเวอร์ลูก" (server catridge) ได้ 45 ตัว โดยเซิร์ฟเวอร์ลูกหนึ่งตัวใช้หน่วยประมวลผล Intel Atom "Centerion" S1260 2.0GHz ดูอัลคอร์, ใส่แรมได้สูงสุด 8GB, ฮาร์ดดิสก์หรือ SSD หนึ่งตัว รองรับความจุสูงสุด 1TB, Ethernet 2 พอร์ต (สเปกละเอียด)
อินเทลเริ่มเผยข้อมูลของ Atom รหัส "Avoton" ซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (microserver) ที่อยู่บนสถาปัตยกรรมใหม่ Silvermont ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมย่อยครั้งสำคัญของ Atom นับตั้งแต่ปี 2008
สถาปัตยกรรม Silvermont จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดอัตราการใช้พลังงานของ Atom อย่างก้าวกระโดด, รองรับการทำงานแบบ 64 บิต, มีคอนโทรลเลอร์ Ethernet ในตัว, รองรับ virtualization เป็นต้น
ชิป Atom ตัวแรกที่ใช้ Silvermont คือ "Avoton" ที่ใช้การผลิตระดับ 22 นาโนเมตร ชิปตัวนี้จะมาแทน Atom Centeron ที่วางขายอยู่ในปัจจุบัน (ผลิตที่ 32 นาโนเมตร ออกปลายปี 2012) และเริ่มมีผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์บางรายนำมาใช้ทำเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กกันแล้ว, เซิร์ฟเวอร์ Avoton จะเริ่มขายช่วงครึ่งหลังของปี 2013
อินเทลออก Intel Linux Graphics Installer ตัวช่วยอัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอค่ายอินเทลบนลินุกซ์ให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบันที่สุด
Intel Linux Graphics Installer จะทำหน้าที่ตรวจสอบเวอร์ชันของการ์ดจอ และเพิ่ม repository ของซอฟต์แวร์ที่ตรงกับการ์ดจอของเราให้ (ใช้ได้กับ Ubuntu 12.04/12.10 และ Fedora 17/18) จากนั้นก็อัพเดตผ่านระบบจัดการแพกเกจตามปกติ
ใครเข้าข่ายทั้งการ์ดจอและระบบปฏิบัติการ ตามไปดาวน์โหลดจากเว็บ Intel Open Source