ปัญหาการพัฒนาแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ที่สำคัญ คือ อีมูเลเตอร์นั้นทำงานช้ามากเพราะมันเป็นอิมเมจที่สร้างเพื่อสถาปัตยกรรม ARM แต่มารันบนพีซีที่เป็น x86 แม้ช่วงหลังอินเทลจะช่วยทำอิมเมจ x86 ให้หลายรุ่น แต่ก็ยังไม่ซัพพอร์ตเต็มที่ ข้อจำกัดสำคัญคืออิมเมจ x86 นั้นจะไม่มี Google API มาให้ ทำให้ทดสอบทแอพพลิเคชั่นได้ไม่ครบถ้วน
แต่ใน SDK ตัวล่าสุด กูเกิลก็ปล่อยอิมเมจ x86 ของตัวเองมาแล้ว เพิ่มเติมจาก "Intel x86 Atom System Image" โดยอิมเมจใหม่ของกูเกิลจะใช้ชื่อ "Google APIs (x86 System Image)"
อิมเมจใหม่นี้จะรองรับเฉพาะ API 19 หรือ Android 4.4.2 เท่านั้น สำหรับความเร็ว หากใช้ความสามารถ Virtualization (Intel VT) ความเร็วที่ได้ก็จะเกือบเท่าฮาร์ดแวร์จริง
อินเทลทุ่มเทอย่างหนักให้นักพัฒนาหันกลับมาพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับซีพียูแพลตฟอร์ม x86 อีกครั้ง ในงาน MWC รอบนี้ก็มีการเปิดตัวชุดพัฒนา Intel INDE ชุดเครื่องมือพัฒนาสำหรับแอพพลิเคชั่นแบบเนทีฟ (C/C++) โดยมีจุดเด่นคือพัฒนาทีเดียวรองรับ Android ทั้ง ARM และ x86 พร้อมกับ Windows 7 และ 8.1 ไปพร้อมกัน
อินเทลเตรียมเข้าแข่งขันทั้งในอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ตัวเองกินส่วนแบ่งตลาดไม่ได้มากนักในช่วงสองปีที่ผ่านมา และเตรียมเข้าสู่ตลาดคอมพิวเตอร์แบบสวมใส่ได้ด้วยชิป Quark ตอนนี้ทาง ARM ก็จับชิป Quark มาสาธิตว่าเอาเข้าจริงแล้วชิปอินเทลก็ยังร้อนเกินไปอยู่ดี
ARM ทดสอบนาฬิกาที่ใช้ชิป Cortex-A9 แล้ววัดอุณหภูมิขณะใช้งานว่าร้อนเพียง 28 องศาเซลเซียสเท่านั้น ขณะที่ชิป Quark ที่ทำงานบนบอร์ดกาลิเลโอนั้นร้อนถึง 60 องศาเซลเซียส
ตามที่เกริ่นกันไว้ไม่นานมานี้ อินเทลได้เปิดตัวชิป Atom แบบ 64 บิตตัวล่าสุดในโค้ดเนม Merrifield สำหรับสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตอย่างเป็นทางการแล้ว
Merrifield จะใช้เลขรหัสว่า Atom Z3480 โดยผลิตบนสถาปัตยกรรม Silvermont ขนาด 22 นาโนเมตร เป็นซีพียูดูอัลคอร์ความถี่ 2.13GHz ร่วมกับจีพียู PowerVR 6 โดยอินเทลบอกว่า Merrifield เป็นชิปตัวแรกที่รองรับ Integrated Sensor Solution ซึ่งช่วยให้แอพสามารถทำงานต่อได้ แม้ว่าจะอยู่ในสถานะกินไฟต่ำ (เช่นการเข้าโหมด sleep) ซึ่งช่วยให้แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานขึ้นด้วย
ตลาดซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่เรื่อยๆ ล่าสุดอินเทลได้เปิดตัว Xeon E7 v2 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ (32 ซ็อคเก็ต) ที่เน้นงานด้าน big data โดยเฉพาะ
Xeon E7 v2 จะยังใช้สถาปัตยกรรม Ivy Bridge (ตามชื่อห้อย v2, ถ้า v3 ถึงจะเป็น Haswell) โดยแบ่งเป็น 3 รุ่นย่อยคือ 8800/4800/2800
จุดเด่นของมันคือการรองรับหน่วยความจำปริมาณมากๆ (ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากๆ ในการทำ in-memory analytics) ซึ่ง Xeon E7 v2 รองรับหน่วยความจำสูงถึง 1.5TB ต่อซ็อคเก็ต, นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ด้าน I/O คือ Intel Data Direct I/O ช่วยให้การอ่านเขียนข้อมูลจากดิสก์ดีขึ้นถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับ Xeon E7 รุ่นแรก
เว็บไซต์ The Verge รายงานว่า Microsoft กำลังพิจารณาจะทำให้แอพบนแพลตฟอร์ม Android รันบน Windows และ Windows Phone ได้ และถึงแม้แผนการนี้จะยังอยู่ในขั้นต้น ก็มีคนใน Microsoft ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแผนการนี้ โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยกล่าวว่ามันอาจนำไปสู่จุดสิ้นสุดของแพลตฟอร์มทั้งสองในคราวเดียวกัน
แหล่งข่าวยังเสริมว่า หากบริษัทดำเนินแผนการนี้ต่อ เป็นไปได้ที่จะดึงบุคคลที่สามมาเป็น "enabler" เพื่อให้แอพบนแพลตฟอร์ม Android รันบนแพลตฟอร์มทั้งสองได้
เป็นที่รู้กันดีว่าจีพียูพลังแรงสูง ก็กินแบตเตอรี่มากไปตามแรงที่มี เราจึงไม่เห็นของแบบนี้ในอัลตร้าบุ๊กมากนัก แต่ในเร็วๆ นี้เราอาจได้เห็นจีพียูยุคใหม่จากอินเทลที่ให้พลังประมวลผลที่สูง แต่กินไฟต่ำลงแล้ว
โดยจีพียูตัวใหม่นี้ถูกนำมาโชว์ในงาน ISSCC โดยระบุว่าสามารถลดการใช้พลังงานได้สูงถึง 40% แต่ให้ประสิทธิภาพเทียบเท่าของเดิมได้ นอกจากจะใช้พลังงานลงแล้วจีพียูยังมีฟังก์ชันสำหรับเปลี่ยนไปโหมดเตรียมพร้อมอย่างรวดเร็ว และใช้พลังงานน้อยลงถึงสิบเท่าเมื่อเทียบกับระหว่างทำงานปกติ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของชิปตัวนี้
จีพียูตัวนี้พัฒนา และผลิตบนสถาปัตยกรรมแบบ 22 นาโนเมตร และใช้ทรานซิสเตอร์สามมิติตามซีพียูไปเรียบร้อย ส่วนจะเริ่มใช้กับผลิตภัณฑ์จริงเมื่อไร คงต้องรอดูกันต่อไปครับ
งาน ISSCC ปีนี้อินเทลนำเสนองานวิจัยใหม่แสดงเทคนิคการออกแบบชิปขนาดใหญ่ที่มีขนาดถึง 256 คอร์ ทำให้ต้องส่งข้อมูลไปมาระหว่างคอร์จำนวนมหาศาล ข้อจำกัดสำคัญคือการรักษาสัญญาณนาฬิกาให้ตรงกันทุกคอร์ กลายเป็นข้อจำกัดสำคัญ อินเทลจึงเสนอแนวทางออกแบบใหม่ ให้มีเครือข่ายบนชิป (Network-on-Chip) ทำให้แต่ละคอร์มีช่องทางสื่อสารระหว่างกันโดยไม่ต้องมีสัญญาณนาฬิกาตรงกัน หรือกระทั่งมีไฟเลี้ยงต่างกันได้
Stacy Rasgon จาก Bernstein Research ออกรายงานวิเคราะห์ระบุว่าอินเทลอาจจะเตรียมขายชิป Bay Trail สำหรับแท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือในราคาเกือบต้นทุน โดยมีกำไรขั้นต้นเพียงเล็กน้อย 1.2% และบางครั้งอาจจะขาดทุน
Rasgon อาศัยตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการปี 2014 ของอินเทลเองที่ระบุว่าสัดส่วนกำไรขั้นต้นจะลดลง 1.5% มาเทียบกับยอดขายชิปสำหรับแท็บเล็ตที่คาดว่าจะขายได้ 40 ล้านชุด ในราคาขายเฉลี่ย 20 ดอลลาร์ต่อชุด สร้างรายได้ให้อินเทลอีก 800 ล้านดอลลาร์ หากรายได้นี้ไม่สร้างกำไรเลยตัวเลขสัดส่วนกำไรขั้นต้นจะลดลงประมาณ 1.5% ตามที่อินเทลคาดการณ์ออกมาพอดี
Bay Trail ถูกวางตัวไว้เป็นชิปรุ่นสูงสำหรับแท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือ แต่ความไม่ไว้ใจชิปอินเทลทำให้อินเทลต้องใช้สงครามราคามาชิงส่วนแบ่งตลาด
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 อินเทลได้เปิดตัว Intel AppUp ร้านค้าแอพพลิเคชั่นสำหรับชิป Intel Atom ในงาน CES 2010 ทว่าวันเวลาผ่านไปกลับยิ่งพบกับความล้มเหลวของ Intel AppUp ถึงขนาดที่
เมื่องาน CES 2014 ที่เพิ่งจบไปไม่นาน อินเทลได้โชว์อุปกรณ์ใหม่อย่างหูฟัง Jarvis ที่สามารถใช้ค้นหา และถามคำถามได้ราวกับ Siri ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เป็นอุปกรณ์ที่ถูกทำให้ฉลาดขึ้น ซึ่งภายในเวทียังไม่มีข้อมูลของอินเทลออกมามากนักว่า Jarvis นั้นทำงานอย่างไร
เครื่อง NUC ของอินเทลแม้จะมีขนาดเล็ก แต่หลายรุ่นที่ผ่านมากลับมีราคาสูงประมาณหนึ่งหมื่นบาท ทำให้คนที่ต้องการใช้งานเล็กๆ น้อยๆ ในบ้านต้องคิดหนักสักหน่อยที่จะซื้อมาใช้งาน แต่ NUC รุ่นล่าสุด คือ DN2820FYKH ใช้ Celeron N2820 ซึ่งข้างในคือแกน Bay Trail-M
DN2820FYKH รองรับแรมแบบ SODIMM DDR3L สูงสุด 8 GB ใส่ดิสก์ 2.5 นิ้วได้หนึ่งลูก และใส่การ์ด Wi-Fi บน mini PCI ได้อีกหนึ่งการ์ด แต่ชิ้นส่วนเหล่านี้ต้องซื้อเพิ่มเองทั้งหมด แต่มีตัวรับสัญญาณอินฟราเรดให้ในตัว
Celeron ชุดใหม่ของอินเทลในตอนนี้จะแบ่งเป็นตระกูล 29xxU ที่ใช้สถาปัตยกรรม Haswell และ N28xx ที่ใช้สถาปัตยกรรม Bay Trail ถ้าใครขยาดว่า Atom ไม่แรงพอสำหรับการใช้งาน อาจจะต้องทดสอบกันสักหน่อยว่า N2820 จะแรงพอแล้วหรือไม่
เมื่อปี 2012 อินเทลตั้งฝ่าย Intel Media เพื่อพัฒนากล่องเซ็ตท็อป OnCue สำหรับรายการทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต แต่สุดท้ายโครงการนี้ล่มกลางทาง โดยมีข่าวว่าอินเทลเสนอขายให้ Verizon (ที่มีธุรกิจลักษณะนี้อยู่แล้ว) ไปดูแลต่อ
ข่าวลือเรื่องฝ่าย Intel Media มีมานานมาก วันนี้ข่าวจริงมาแล้ว Verizon ประกาศการซื้อธุรกิจ Intel Media จากอินเทลโดยไม่เปิดเผยมูลค่า โดย Verizon จะได้ทรัพย์สินทั้งหมดของ Intel Media และรับพนักงานของอินเทลในฝ่ายนี้เข้าเป็นพนักงานต่อ ทั้งหมดนี้ Verizon จะนำไปใช้กับธุรกิจวิดีโอออนไลน์ FiOS ของตัวเอง
Brian Krzanich ซีอีโอของอินเทลเคยพูดไว้เมื่อปลายปีว่า เราจะได้เห็นแท็บเล็ต Atom 64 บิต Bay Trail วางขายช่วงต้นปีนี้ (ข่าวเก่า) โดยเริ่มจากวินโดวส์ก่อน
ล่าสุด Krzanich ออกมาให้ข้อมูลว่าสำหรับแท็บเล็ต Android ที่ใช้ Atom 64 บิตจะตามมาในไตรมาสที่สองของปี ด้วยเหตุผลว่าตอนแรกอินเทลพัฒนา Bay Trail โดยเน้นวินโดวส์เป็นหลัก และเพิ่งหันมาพัฒนาซอฟต์แวร์บน Android ในภายหลัง (ก่อนหน้านี้ไม่นาน อินเทลเพิ่งประกาศว่าทำเคอร์เนล Android 64 บิตเสร็จแล้ว)
อินเทลประกาศแผนปลดพนักงานลง 5% หรือประมาณ 5,000 คนจากพนักงานทั้งหมด 107,000 คน โดยยังไม่ประกาศรายละเอียดว่าจะลดพนักงานฝ่ายใดลงบ้าง
อินเทลเพิ่งประกาศผลประกอบการไตรมาส 4 เมื่อวานนี้ และถึงแม้ว่ารายได้-กำไรจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แต่ในภาพรวมแล้วอินเทลก็ต้องรีบปรับตัวอย่างหนักเพื่อให้อยู่ได้ในยุค "หลังพีซี" ที่ธุรกิจพีซีไม่เติบโตขึ้นจากเดิมแล้ว เมื่อไม่นานมานี้อินเทลเพิ่งประกาศว่าจะยังไม่เปิดใช้โรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ล่าสุดที่แอริโซน่า และเปลี่ยนมาใช้วิธีอัพเกรดโรงงานเดิมแทน
อินเทลปลดพนักงานครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2006 โดยลดพนักงานลง 10,000 คน แต่หลังจากนั้นอินเทลก็เพิ่มจำนวนพนักงานมาตลอด
อินเทลรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2013 มีรายได้ 13.8 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 2.6 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 6% ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 62% จากปีก่อนอยู่ที่ 58%
ซีอีโอ Brian Krzanich กล่าวว่าไตรมาสที่ 4 บริษัทมีผลประกอบการที่ดีจากสัญญาณที่เริ่มดีขึ้นในกลุ่มธุรกิจพีซี นอกจากนี้ในงาน CES บริษัทยังเปิดตัวผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่เดิมไม่อยู่ในแผน แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็วมากขึ้นในการปรับตัวที่จะนำเสนอนวัตกรรมใหม่สู่ตลาด
สำหรับรายได้ในกลุ่มธุรกิจพีซีนั้นเพิ่มขึ้น 2%
ที่มา: อินเทล
คนแถวนี้คงคุ้นเคยกับโลโก้ Intel Inside เครื่องหมายรับรองมาตรฐานของอินเทลกันเป็นอย่างดี
เมื่อโลกเข้าสู่ยุคของการประมวลผลบนกลุ่มเมฆ อินเทลก็ริเริ่มทำโครงการคล้ายๆ กันในชื่อ Intel Cloud Technology เป็นการออกตราสัญลักษณ์รับรองว่าผู้ให้บริการกลุ่มเมฆรายใด "ใช้ซีพียูอินเทล" บ้าง
เดิมทีมีเพียงเจ้าพ่อใหญ่ Amazon Web Services รายเดียวที่ได้ตรารับรองนี้ แต่ล่าสุดอินเทลขยายจำนวนบริษัทที่ได้ตรารับรองเพิ่มอีก 16 บริษัทจากหลายประเทศ (เช่น Rackspace)
Erik Reid ผู้จัดการทั่วไปแผนกธุรกิจแท็บเล็ตของอินเทลให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ CNET ในงาน CES 2014 เกี่ยวกับแนวทางอุปกรณ์บูตได้ 2 ระบบที่อินเทลผลักดันไอเดียนี้ ว่า ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายต่าง ๆ กำลังทำความเข้าใจถึงแผนการเรื่องระบบบูต 2 ระบบ (Dual OS) ทั้ง Windows 8.1 และ Android ซึ่ง Android ได้รับความนิยมมากในโลกอุปกรณ์เคลื่อนที่
แน่นอนว่าผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายต่าง ๆ สนใจในแผนการนี้ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีอุปกรณ์ที่สามารถบูตได้ 2 ระบบออกมาจำนวนเท่าไรกันแน่
จุดอ่อนของ SteamOS 1.0 คือมันยังรองรับเฉพาะจีพียูของค่าย NVIDIA เพียงค่ายเดียวเท่านั้น แต่อัพเดตล่าสุดของ SteamOS รุ่นเบต้า (รหัส alchemist) ก็เริ่มรองรับไดรเวอร์จีพียูของอีกสองค่ายที่เหลือคือ Intel และ AMD/Radeon แล้ว
ไดรเวอร์จีพียูของ Intel นั้นเป็น Mesa 10.0.1 ส่วนของ AMD เป็น Catalyst 13.11 Beta 9
อย่างไรก็ตาม SteamOS ยังไม่รองรับฮาร์ดแวร์ที่เป็นการ์ดจอคู่ในระบบ Optimus (NVIDIA/Intel) ณ ตอนนี้
ที่งาน CES ปีนี้ Hermann Eul รองประธานฝ่ายอุปกรณ์เคลื่อนที่และการสื่อสารของอินเทลออกมาระบุว่าการพอร์ตเคอร์เนลของแอนดรอยด์เพื่อให้ทำงานกับซีพียู 64 บิตได้ทำจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ไม่มีความชัดเจนว่าการพอร์ตของอินเทลนั้นทำอะไรไปบ้าง และการรองรับสถาปัตยกรรม 64 บิตนั้นจะทำได้มากน้อยแค่ไหน เพราะแม้ว่าแอนดรอยด์จะมีพื้นฐานมาจากลินุกซ์ที่รองรับ 64 บิตมานานแล้ว แต่ก็มีแพตซ์แก้ไขไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงระบบที่รวมเลเยอร์ต่างๆ ตั้งแต่ไลบรารีพื้นฐานไปจนถึงระบบหน้าจอที่หลายส่วนมีโค้ดแบบเนทีฟ
หลังจากอินเทลเปลี่ยนชื่อแบรนด์ McAfee เป็น Intel Security ก็มีคนไปสอบถาม John McAfee ผู้ก่อตั้งบริษัท (ก่อตั้งปี 1987 ลาออกจากบริษัทเมื่อปี 1994) ว่ามีความเห็นอย่างไร
John McAfee ที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทไม่ดีนักในช่วงหลังก็ตอบว่าเขาขอบคุณอินเทลมากที่เปลี่ยนชื่อบริษัท เพราะเขารู้สึก "โล่งใจ" ที่นามสกุลของเขาไม่ได้มีความสัมพันธ์กับ "ซอฟต์แวร์ที่ห่วยที่สุดในโลก" (หมายถึง McAfee Antivirus ในช่วงหนึ่ง) อีกต่อไป
ข่าวเล็กๆ ของงาน CES 2014 ที่น่าสนใจไม่น้อยครับ เรื่องต้องย้อนเยอะหน่อยคือสินค้าไอทีทั้งหลายทั้งปวงนี่มีส่วนประกอบที่เป็น "แร่ธาตุ" อย่าง tungsten, cassiterite, wolframite, coltan หรือทอง ซึ่งปัจจุบันหายากและมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ และจุดมีแร่เหล่านี้ก็มักเป็นภูมิภาคที่ยังไม่ค่อยพัฒนาทางเศรษฐกิจมากอย่างแอฟริกากลาง
เมื่อการขุดแร่เหล่านี้มาขายกลายเป็นแหล่งรายได้มหาศาล สิ่งที่ตามมาคือสงครามและความขัดแย้งในพื้นที่เหล่านั้นจนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก (เรียกว่า conflict mineral, ลักษณะเดียวกันกับ blood diamond) ซึ่งที่ผ่านมาก็มีเสียงเรียกร้องให้อุตสาหกรรมไอทีพยายามแก้ปัญหาเหล่านี้
อินเทลเริ่มบุกตลาด perceptual computing หรือรูปแบบการสั่งงาน-ควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการใหม่ๆ เช่น การดักจับความเคลื่อนไหวของมือและใบหน้า การสั่งงานด้วยเสียง (แนวเดียวกับ Kinect) มาได้สักพักใหญ่ๆ แล้ว (ข่าวเก่าปี 2012)
วันนี้ที่งาน CES 2014 อินเทลก็ได้ฤกษ์เปิดตัวแพลตฟอร์มด้าน perceptual computing ของตัวเองอย่างเป็นทางการในชื่อแบรนด์ Intel RealSense
Intel RealSense 3D camera
RealSense ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลายด้าน แต่ผลิตภัณฑ์แรกที่อินเทลส่งเข้าตลาดคือกล้อง Intel RealSense 3D ซึ่งเป็นกล้องที่วัดระยะความลึกเหมือน Kinect แต่ขนาดเล็กพอที่จะฝังในคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพาได้
แบรนด์ซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัย McAfee ที่เราคุ้นเคยกันมานาน มีวันต้องลาจากแล้วครับ เมื่ออินเทลที่ซื้อ McAfee มาตั้งแต่ปี 2010 ประกาศเปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยทั้งหมดของตัวเองเป็น Intel Security
ที่งาน CES 2014 นอกจากอินเทลได้เปิดตัว Edison พีซีขนาดการ์ด SD ใช้ซีพียู Quark, จัดประกวดงานประดิษฐ์คอมพิวเตอร์สวมใส่ได้ บริษัทยังโชว์ต้นแบบ (reference design) อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ ตามแนวคิดว่า "make everything smart" ดังนี้