ความพยายามของแอปเปิลในการสั่งห้ามขายสินค้าของซัมซุงในสหรัฐ ประสบความสำเร็จเข้าจนได้ เมื่อศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว (preliminary injunction) ห้ามขาย Galaxy Tab 10.1 จนกว่าจะมีคำสั่งยกเลิก (ส่วนคดียังเดินหน้าต่อไป)
ผู้พิพากษา Lucy Koh ให้เหตุผลว่าถึงแม้ซัมซุงมีสิทธิในการแข่งขัน แต่ก็ไม่มีสิทธิแข่งขันโดยผลิตภัณฑ์ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และคดีนี้หลักฐานสนับสนุนของแอปเปิลชัดเจนจนเธอเห็นด้วยกับการสั่งคุ้มครองชั่วคราว
ซัมซุงสามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งนี้ได้ และคำสั่งนี้ไม่มีผลต่อแท็บเล็ตรุ่นใหม่ๆ อย่าง Galaxy Tab 2
ที่มา - AllThingsD
Friendthem เตรียมฟ้อง Facebook หลังจากที่เพิ่งปล่อยฟีเจอร์ Find Friends Nearby ได้ไม่นาน โดยอ้างว่าขโมยแนวคิดของตนเอง
Friendthem เป็นแอพสำหรับการขอเป็นเพื่อนบน Facebook โดยใช้ Location Service เข้ามาช่วยในการหาบุคคลที่อยู่ใกล้ตัวเรา แก้ปัญหาความสับสนจากการที่ผู้ใช้งานมีชื่อซ้ำกันหลายคน มีทั้งบน iOS และ Android
The Telegraph รายงานว่า จากการที่เฟซบุ๊กยอมจ่ายเงินราว 10 ล้านดอลลาร์เพื่อให้ผู้ฟ้องร้องยอมความคดีที่บริษัทถูกฟ้องว่านำภาพของผู้ใช้ไปให้แบรนด์สินค้าหรือบริการใช้โฆษณาแบบเรื่องเล่าที่เรียกว่า Sponsored Stories บริษัทเตรียมเปิดให้ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะไม่ให้ชื่อและรูปภาพของผู้ใช้ถูกนำไปใช้ในการโฆษณาได้
คดีสิทธิบัตรระหว่างแอปเปิลกับโมโตโรลาที่ฟ้องกันมาตั้งแต่ปี 2010 จบลงโดยการยกฟ้อง (dismiss) ซึ่งผู้พิพากษา Richard Posner ให้เหตุผลว่าทั้งสองบริษัทไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดความเสียหายจากการละเมิดสิทธิบัตรตามที่กล่าวอ้าง
คดีระหว่างสองบริษัทนี้แยกเป็น 2 ส่วนคือ แอปเปิลฟ้องโมโตโรลาว่าละเมิดสิทธิบัตร 4 รายการ และโมโตโรลาฟ้องแอปเปิลว่าละเมิดสิทธิบัตร 1 รายการ โดยการยกฟ้องคดีทั้งหมดเป็นประโยชน์กับโมโตโรลามากกว่าเพราะมีโอกาสแพ้สูงกว่า
ผู้พิพากษา Posner ให้ความเห็นว่าการที่แอปเปิลขอให้ศาลสั่งโมโตโรลาห้ามขายมือถือ จะสร้าง "หายนะ" แก่อุตสาหกรรมมือถือ และวิจารณ์โมโตโรลาว่าเอาสิทธิบัตรพื้นฐานเกินไปมาขอให้สั่งห้ามขายมือถือแอปเปิล
คดีระหว่างออราเคิลกับกูเกิลใกล้ได้ข้อยุติ เพราะล่าสุดออราเคิลตัดสินใจเรียกค่าเสียหายจากกูเกิลจากส่วนละเมิดลิขสิทธิ์โค้ด เป็นมูลค่า 0 ดอลลาร์
เหตุผลที่ออราเคิลไม่เรียกร้องค่าเสียหายจากกูเกิล เพราะต้องการเร่งปิดคดีในศาลชั้นต้นให้จบโดยเร็ว เพื่อจะเดินหน้ายื่นอุทธรณ์ต่อไป
ในขั้นต่อไป กูเกิลจะต้องยื่นคำร้องให้ออราเคิลจ่ายค่าทนายให้ ซึ่งก่อนหน้านี้กูเกิลเปิดเผยแล้วว่าจะเรียก 300,000 ดอลลาร์ (แต่ยังไม่ได้ยื่นเอกสาร)
ผู้พิพากษา William Alsup กล่าวในศาลว่าเขาไม่แน่ใจว่าจะได้พบผู้ที่มีส่วนกับคดีนี้อีกหรือไม่ คาดว่าคดีนี้จะสิ้นสุดในเร็วๆ นี้
หนึ่งในสารพัดคดีที่ซัมซุง-แอปเปิลฟ้องกันไปมาทั่วโลกครับ ในส่วนของคดีสิทธิบัตรเรื่อง 3G ศาลนครหลวงเฮกตัดสินแล้วว่าแอปเปิลผิดจริง และละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุง
ซัมซุงออกมาแสดงความยินดีกับผลตัดสินคดีครั้งนี้ และบอกว่าจะเรียกค่าเสียหายจากแอปเปิลต่อไป ก่อนหน้านี้ซัมซุงเคยใช้คดีสิทธิบัตรขอให้ศาลสั่งห้ามนำเข้า iPhone ในเนเธอร์แลนด์ แต่ศาลปฏิเสธคำขอนี้
ที่มา - CNET
แม้ว่าโดยดั้งเดิม YouTube จะเป็นเว็บไซต์สตรีมวิดีโอ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งรวบรวมเพลงจากทั่วโลกไว้อย่างมหาศาล มากพอที่จะมีเว็บไซต์ให้บริการแปลงวิดีโอจาก YouTube เป็นไฟล์เพลงสกุล .mp3 เพื่อนำไปฟังได้สะดวกขึ้น
แน่นอนว่าการแปลงวิดีโอดังกล่าว ผิดกฏการใช้งานของ YouTube แต่ก็ไม่มีการเคลื่อนไหวในแง่กฎหมายแต่อย่างใด จนกระทั่งเจ้าของเว็บไซต์ให้บริการแปลงวิดีโอจาก YouTube เป็น MP3 ชื่อว่า YouTube-MP3.org นาย Philip ได้รับการเตือนจาก Harris Cohen ทนายของกูเกิลว่าให้ปิดบริการดังกล่าวลง มิเช่นนั้นจะถูกฟ้อง หลังจากนั้นไม่นานกูเกิลก็บล๊อคเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ดังกล่าวไม่ให้เข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ของ YouTube ได้
ข่าวนี้เป็นข่าวสั้น ๆ (แต่ต้องเขียนเป็นข่าวใหม่จนกว่า Blognone จะมีระบบข่าวสั้น) จากครั้งที่แล้วที่แอปเปิลได้ยื่นคำร้องแก่ศาลให้แบนการจำหน่ายมือถือ Galaxy S III ของซัมซุงเนื่องจากสินค้าดังกล่าวละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล ล่าสุด Lucy Koh ผู้พิพากษาได้ปฏิเศษคำร้องดังกล่าวแล้ว
โดยผู้พิพากษาคนนี้ได้ออกมาบอกกับแอปเปิลว่า ถ้าแอปเปิลยังจะเพิ่มเติมอะไรเกี่ยวกับคดีระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงที่ศาลนี้อีก การเปิดการสอบสวนคดีระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงจะต้องถูกเลื่อนออกไปเรื่อย ๆ
ที่มา - Engadget
เอาไปเอามาการจ่ายเงินครั้งแรกในคดีระหว่างออราเคิลกับกูเกิล กลับเป็นฝ่ายออราเคิลที่ต้องเสียค่าทนายให้กูเกิลก่อนแล้ว 300,000 ดอลลาร์
Galaxy S III เพิ่งประกาศข่าววางจำหน่ายในสหรัฐไปไม่กี่วัน แอปเปิลก็ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างรวดเร็วโดยยื่นฟ้องศาลเขตแคลิฟอร์เนียเหนือว่า Galaxy S III ละเมิดสิทธิบัตรของตัวเอง และขอให้ศาลสั่งห้ามขาย Galaxy S III ในสหรัฐ
ในคำฟ้องของแอปเปิลระบุว่า Galaxy S III ใช้เทคโนโลยีเดียวกับ Galaxy Nexus ที่แอปเปิลฟ้องละเมิดสิทธิบัตรไปก่อนหน้านี้ โดยสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องมีสองรายการคือเรื่อง unified search และเรื่อง links for structures
ด้านโฆษกของซัมซุงแถลงว่า Galaxy S III จะวางขายตามกำหนดเดิมคือวันที่ 21 มิถุนายนนี้ และบอกว่ายินดีจะต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
ข่าวนี้ต่อจากข่าว RIM โดนฟ้องเรื่องเครื่องหมายการค้า BBM ที่มีบริษัททีวี BBM Canada ฟ้อง RIM เรื่องเครื่องหมายการค้า BBM
ล่าสุดศาลแคนาดาตัดสินแล้วว่า RIM ไม่ได้ละเมิดเครื่องหมายการค้าของ BBM Canada แต่อย่างใด และสามารถใช้ชื่อ BBM ทำตลาดต่อไปได้ดังเดิม
คดีระหว่างออราเคิล-กูเกิลเดินทางมาถึงข้อยุติ (ในศาลชั้นต้น) เมื่อผู้พิพากษา William Alsup ตัดสินประเด็นสุดท้ายว่ากูเกิลไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ Java API ของออราเคิลแต่อย่างใด
(ข่าวเก่าสำหรับคนที่ไม่ได้ติดตามคดีนี้ สรุปความคืบหน้าคดี Oracle vs Google และ คณะลูกขุนตัดสิน กูเกิลไม่ละเมิดสิทธิบัตรออราเคิล)
คำตัดสินของผู้พิพากษา Alsup คือ "ตราบเท่าที่โค้ดที่ใช้สร้าง API นั้นต่างกัน ทุกคนมีเสรีภาพในการเขียนโค้ดที่ให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเท่ากับฟังก์ชันหรือเมธอดที่ใช้ใน Java API"
คดีระหว่างออราเคิลกับกูเกิล ส่วนของสิทธิบัตรมีคำตัดสินแล้ว โดยคณะลูกขุน 10 คนลงมติว่ากูเกิลไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของออราเคิล
สำหรับคดีส่วนสิทธิบัตรนี้ ออราเคิลฟ้องกูเกิลข้อหาละเมิดสิทธิบัตร 2 ใบ รวมประเด็นที่ละเมิด 8 ประเด็น ผลของคำตัดสินนี้ทำให้ประเด็นเรื่องสิทธิบัตรตกไป และเหลือแค่ประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์เท่านั้น (อ่านข่าวเก่า สรุปความคืบหน้าคดี Oracle vs Google ประกอบ)
ตอนนี้ในสหรัฐฯ HTC ยังไม่สามารถนำเข้ามือถือตัวชูโรงอย่าง HTC One X และ EVO 4G LTE ได้เนื่องจากศุลกากรสหรัฐฯ อ้างคำสั่งของ International Trade Council (ITC) ซึ่งสั่งแบนไม่ให้ HTC นำเข้ามือถือรุ่นดังกล่าวเนื่องจากละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล
หากย้อนกลับไปดูสงครามการฟ้องร้องกันระหว่างแอปเปิลกับ HTC แล้ว ก่อนหน้านี้แอปเปิลได้ฟ้อง HTC เนื่องจากว่า HTC ใช้ระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งแอปเปิลถือว่าเป็นการขโมยเทคโนโลยีของไอโฟนไปใช้ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม HTC ก็ได้ฟ้องแอปเปิลกลับในกรณีดังกล่าวแล้วเช่นกัน
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม HTC เชื่อว่าหลังจากที่พวกเขาได้เคลียร์เรื่องนี้กับศุลกากรแล้ว พวกเขาจะสามารถนำ HTC One X และ EVO 4G LTE ส่งให้กับลูกค้าที่สั่งซื้อไปแล้วได้ตามปกติ
คดีประวัติศาสตร์นี้เป็นข่าวตลอดมาในรอบเดือนนี้ (นับตั้งแต่เริ่มไต่สวนกันรอบใหม่) แต่หลายเรื่องที่เป็นข่าวก็เป็นประเด็นยิบย่อยเกินไป จนหลายครั้งไม่ได้นำมาเขียนเป็นข่าวบน Blognone (เช่น ใครมาให้การที่ศาลบ้าง) ดังนั้นขอสรุปเป็นข่าวเดียวแบบรวบรัดแทนนะครับ
ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า คดีระหว่างออราเคิลกับกูเกิลแยกการไต่สวนออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่
คดีส่วนลิขสิทธิ์ แบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเด็นย่อย คือ
มีความคืบหน้าเรื่องปัญหาเครื่องหมายการค้า I-PAD ที่บริษัท Proview เป็นเจ้าของชื่อนี้ในประเทศจีนจนเกือบทำให้แอปเปิลขาย iPad ในประเทศจีนไม่ได้ครับ เนื่องจากความต้องการแท้จริงของ Proview ซึ่งบริษัทมีสถานะการเงินไม่ดีนัก เป็นการอยากได้เงินค่าใช้ชื่อสินค้าจากแอปเปิลมากกว่า ซึ่งล่าสุดการเจรจาข้อตกลงก็เริ่มขึ้นแล้ว
กระบวนการทางกฏหมายของสัญญา True/CAT เดินหน้าไปเรื่อยๆ หลังจากที่หลายฝ่ายออกมาตรวจสอบและส่งเรื่องให้กับป.ป.ช. เพราะเป็นผู้มีอำนาจฟ้องร้อง วันนี้คณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบคดีนี้ก็สรุปออกมาแล้วว่าจะแจ้งข้อกล่าวหาคณะกรรมการ (บอร์ด) และผู้บริหารในขณะนั้น
กระบวนการก่อนเริ่มฟ้องร้องยังมีอีกหลายขั้น ระหว่างนี้จะต้องแจ้งข้อหาให้ผู้ถูกกล่าวหารับทราบเสียก่อน แล้วจึงให้เวลา 15 วันให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้าไปชี้แจงกับทางป.ป.ช. และการฟ้องร้องนั้นจะต้องรอให้ป.ป.ช. ชุดใหญ่เห็นชอบกับข้อกล่าวหาด้วยอีกครั้ง
คดีระหว่างออราเคิลและกูเกิลในเรื่องของจาวา กำลังดำเนินเข้ามาสู่ช่วงแรก คือ คดีลิขสิทธิ์ ที่ออราเคิลกล่าวหาว่ากูเกิลใช้โค้ดบางส่วนของออราเคิลในแอนดรอยด์โดยตรง ในคำฟ้องคือฟังก์ชั่น rangeCheck
ที่กูเกิลอ้างว่าเป็นโค้ดเพียง 9 บรรทัดใน 15 ล้านบรรทัดเท่านั้น อย่างไรก็ดี แม้คณะลูกขุนจะระบุว่าการใช้งานโค้ดของกูเกิลนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่กลับไม่สามารถตัดสินได้ว่ามันเป็น "การใช้งานอย่างเป็นธรรม" (fair use) ซึ่งกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ให้การรับรองไว้หรือไม่
ในส่วนของ API ที่เป็นชื่อฟังก์ชั่นและอาร์กิวเมนต์ของจาวานั้น คณะลูกขุนตัดสินว่ากูเกิลไม่ได้ละเมิด API ทั้ง 37 ชุดของจาวาแต่อย่างใด รวมถึงไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของคอมเมนต์โค้ดของจาวา
หลายคนคงรู้จักกับ Pair โซเชียลเน็ตเวิร์คสำหรับคนมีคู่ ที่เพิ่งเปิดตัวไปได้ประมาณเดือนเศษๆ และในขณะที่กำลังโตไปด้วยดี ตอนนี้ Pair ถูกฟ้องเข้าเสียแล้ว
คู่กรณีของ Pair คือ Pair Networks บริษัทให้บริการเว็บโฮสต์ติ้งที่อ้างว่า Pair นั้นละเมิดเครื่องหมายการค้าของบริษัท ซึ่งบริษัทที่ถูกฟ้องอย่าง TenthBit ผู้พัฒนา Pair ได้ออกมาแย้งว่าทั้งสองบริษัทอยู่ในธุรกิจคนละประเภทกัน ไม่น่าจะมีผลต่อความสับสนในแบรนด์ของแต่ละฝ่ายได้
ยังอยู่กับประเด็นรายได้ของ Android ที่กูเกิลไม่ยอมเปิดเผย แต่สุดท้ายก็ต้องยอมเพราะคดีกับออราเคิลทำให้ต้องเผยข้อมูลต่อศาล
ตามข่าวเก่า เอกสารของกูเกิลในปี 2010 ประเมินว่า Android จะสร้างรายได้ 278.1 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเอกสารชิ้นนั้นมีข้อมูลถึงแค่เดือน พ.ค. 2010 ว่ามีรายได้จริงๆ 132.1 ล้านดอลลาร์
แต่เอกสารชิ้นล่าสุดที่ใช้พิจารณาคดี กลับให้ข้อมูลว่าตลอดปี 2010 ทั้งปี Android นั้น "ขาดทุน" ด้วยซ้ำ
เราไม่รู้ตัวเลขการขาดทุนว่าเป็นเท่าไร และขาดทุนเพราะอะไร เนื่องจากเอกสารชิ้นนี้ไม่ได้เผยแพร่ออกมาด้วย แต่ผู้พิพากษา William Alsup พูดในศาลว่า Android ขาดทุนบางไตรมาสในปี 2010 ทำให้ตัวเลขรวมตลอดปีกลายเป็นติดลบ
ศาลยุติธรรมยุโรป ได้ตัดสินคดีที่ SAS Institute ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทางสถิติ SAS ได้ฟ้องร้องบริษัท World Programming โทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ โดยระบุว่าฟังก์ชันของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และภาษาโปรแกรม ไม่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
จุดเริ่มต้นของคดีนี้เกิดจากว่า บริษัท World Programming (WPL) ได้ออกผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ในชื่อ World Programming System เพื่อใช้ทำงานร่วมกับสคริปต์ของ SAS โดยผู้ใช้งานสามารถสร้าง แก้ไข และรันสคริปต์รูปแบบที่ใช้ใน SAS ได้ WPL ได้ซื้อไลเซนส์ Learning Edition ของ SAS มาเพื่อทำการศึกษาการใช้งาน และไม่มีสิ่งใดบ่งชี้ว่า WPL ได้เข้าถึงหรือคัดลอกซอร์สโค้ดของ SAS
โนเกียเป็นบริษัทล่าสุดที่เข้าสู่สงครามสิทธิบัตร โดยยื่นฟ้องคู่แข่ง 3 บริษัทคือ HTC, RIM, ViewSonic ในสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี
การฟ้องร้องครั้งนี้แยกเป็น 4 คดี ครอบคลุมสิทธิบัตรรวม 45 รายการ
ศาลสูงของอังกฤษมีคำตัดสินให้ ISP ทุกรายภายในประเทศปิดกั้นไม่ให้ลูกค้าของตัวเองใช้งานเว็บไซต์แชร์ไฟล์ยอดฮิต The Pirate Bay ด้วยเหตุผลเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์
คดีนี้เกิดจากสมาคมอุตสาหกรรมดนตรีของอังกฤษ (British Phonographic Industry - BPI) ขอให้ ISP บล็อคทราฟฟิกของ The Pirate Bay ซึ่งเป็นแหล่งละเมิดลิขสิทธิ์รายใหญ่ ซึ่งทางกลุ่ม ISP ปฏิเสธคำขอนี้ โดยระบุว่าต้องมีคำสั่งของศาลมาด้วย ทางสมาคม BPI จึงยื่นฟ้องศาลและศาลก็ตัดสินให้บล็อคตามคำขอ
แม้ไม่อยากเจอก็อาจจะต้องมาเจอกัน เพราะศาลเขตแคลิฟอร์เนียเหนือได้สั่งให้ผู้บริหารระดับ "ซีอีโอ" และหัวหน้าฝ่ายกฎหมายของทั้งแอปเปิลและซัมซุง มาเจอกันเพื่อไกล่เกลี่ยคดีที่ฟ้องร้องกันวุ่นวายของทั้งคู่
งานนี้ศาลนัดวันแล้วเป็นวันที่ 21-22 พฤษภาคมนี้
ฝังแอปเปิลคาดว่า Tim Cook จะเดินทางมาด้วยตัวเอง ซึ่งเขาก็ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า เขาไม่ชอบกระบวนการฟ้องร้อง และต้องการสร้างนวัตกรรม จึงเป็นไปได้ว่าถ้าซัมซุงยอมตามข้อตกลงบางอย่างของแอปเปิล (ในเรื่องการไม่ทำอะไรซ้ำหรือคล้ายกัน) ทางแอปเปิลอาจจะยอมไกล่เกลี่ยคดีก็เป็นได้
Jonathan Schwartz ซีอีโอคนสุดท้ายของซันก่อนขายกิจการให้ออราเคิล ไปให้การต่อศาลในฐานะพยานฝั่งกูเกิล