หลังจากที่แอปเปิลได้ให้คำให้การเปิดขั้นตอนการพิจารณาคดี คราวนี้ถึงตาซัมซุงได้ออกมาให้คำให้การเปิดเป็นครั้งแรกแล้ว โดยซัมซุงได้ออกมาบอกว่าสิ่งที่ซัมซุงทำไม่ได้เป็นการลอกเลียนแบบ แต่เป็นการแข่งขัน
ซัมซุงบอกว่าพวกเขายอมรับว่า iPhone เป็นสินค้าที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และเป็นสินค้าที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคน รวมถึงตลาดที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน และสินค้าที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจย่อมทำให้เกิดความต้องการที่จะผลิตสินค้าที่ดีกว่าเพื่อการแข่งขัน
สำนักข่าวรอยเตอร์สได้ออกมาเผยข้อมูลเกี่ยวกับคดีความระหว่างแอปเปิลกับซัมซุง ที่จะกำลังจะเริ่มการพิจารณาคดีในเร็ว ๆ นี้ โดยแอปเปิลเริ่มให้คำให้การแก่ศาลก่อน และได้เตรียมสไลด์ที่จะนำมาแสดงให้ศาลเห็น โดยในภาพแอปเปิลได้เลือกที่จะโชว์มือถือของซัมซุงก่อนที่แอปเปิลจะเริ่มวางขาย iPhone และหลังจากที่ iPhone วางจำหน่ายแล้ว (กดเข้ามาดูรูป)
เอกสารคดีความระหว่าง Samsung กับ Apple เผยให้เห็น ว่า Designer ของ Apple ได้แรงบันดาลใจจากงานออกแบบของ Sony และนำมาไช้ใน iPhone
ภาพข้างในครับ
ที่มาระบุว่า Richard Howarth ส่งโน้ตให้ Ive ว่าการออกแบบ (รูปทางซ้าย) ทำให้เครื่องดูเล็กลงและมีรูปร่างที่ดูดีกว่ามาก Howard ยังบอกด้วยว่าออกแบบ (รูปทางช้าย) ดูเก่ากว่าแต่จะมีประโยชน์กว่า
ตามที่ Samsung บอก apple เปลี่ยน design จากภาพด้านขวาเป็นด้านซ้ายในช่วงปี 2006 หลังได้รับแรงบันดาลใจจาก Sony
ข่าวนี้เป็นเรื่องของคดีฟ้องร้องหนังม้วนยาวของแอปเปิล-ซัมซุง โดยศาลจะเรียกทั้งสองมาไต่สวนคดีเพิ่มเติมในสัปดาห์หน้า ทั้งสองบริษัทต้องส่งเอกสารประกอบการฟ้องร้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ผู้สื่อข่าว Ashby Jones แห่ง The Wall Street Journal ได้พบเนื้อหาที่น่าสนใจในเอกสารแจงเหตุผลของฝั่งซัมซุงดังนี้ครับ
ซัมซุงได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์สื่อสารมายาวนานนับตั้งแต่ปี 1991 และอีกมากในกลุ่มสมาร์ทโฟนจนถึงปัจจุบัน ถ้าพูดตามจริงแล้วแอปเปิลเพิ่งมาเริ่มขาย iPhone หลังจากซัมซุงได้เริ่มพัฒนาโทรศัพท์มือถือถึงเกือบ 20 ปี จึงกล่าวว่าได้ว่าที่ iPhone ขายได้แต่ละเครื่องทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งก็ต้องมาจากสิทธิบัตรเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่ซัมซุงได้ถือครองอยู่นั่นเอง
ก่อนหน้านี้ที่มีข่าวออกมาว่าการเจรจาระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงสิ้นสุดลง โดยไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใด ๆ ได้เลย ล่าสุด FOSS Patents ได้ออกมาเผยว่าแอปเปิลต้องการเรียกร้องค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินประมาณ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 8 หมื่นล้านบาทจากการฟ้องร้องในชั้นศาลกับซัมซุง โดยแอปเปิลได้ใช้วิธีเรียกค่าไลเซ่นส์ตามจำนวนสินค้าที่ซัมซุงได้วางขาย เช่น
แหล่งข่าววงในเผยว่าศาลได้นัดผู้บริหารของแอปเปิลและซัมซุงเพื่อไกล่เกลี่ยคดีฟ้องร้องระหว่างกันเป็นครั้งที่สอง โดยรอบแรกคือเมื่อเดือนพฤษภาคม และผลของรอบนี้ก็เหมือนเดิมคือการไกล่เกลี่ยล้มเหลว
ตัวแทนของฝั่งแอปเปิลนั้นนำโดยซีอีโอทิม คุก ขณะที่ซัมซุงส่งรองประธาน Choi Gee-sung และหัวหน้าฝ่ายอุปกรณ์พกพา Shin Jong-Kyun มาไกล่เกลี่ย โดยแหล่งข่าวบอกว่าสาเหตุที่การเจรจายังไม่ลงตัวเพราะแอปเปิลมองว่าราคาของสิทธิบัตรที่ซัมซุงอ้างถึงนั้นสูงเกินไป ขณะที่ซัมซุงก็เชื่อว่าแอปเปิลอยู่ในสถานะเป็นรองเพราะมีสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย 4G น้อยกว่าซัมซุง
ท่าทางคดีระหว่างคู่นี้คงยืดเยื้อกันต่อไปยิ่งกว่าละครหลังข่าวภาคค่ำ
คดียืดเยื้อยาวนานเรื่องบริษัท Proview ฟ้องแอปเปิลว่าละเมิดเครื่องหมายการค้า iPad ในประเทศจีน น่าจะจบลงตั้งแต่ตอนที่แอปเปิลยอมจ่ายเงิน 60 ล้านดอลลาร์เพื่อขอสิทธิ์ใช้ชื่อในจีน แต่เรื่องนี้ก็ยังมีภาคต่อ
คดีแอปเปิลฟ้องซัมซุงละเมิดสิทธิบัตรในอเมริกายังมีเรื่องต่อเนื่อง โดยล่าสุดแอปเปิลได้เสนอศาลให้ถอดข้อกล่าวหาตอนหนึ่งที่ซัมซุงยื่นฟ้องไว้ โดยซัมซุงได้ยกคำพูดของสตีฟ จ็อบส์ในหนังสือชีวประวัติ Steve Jobs ที่ว่า "จะทำลายล้าง Android ทุกวิถีทาง" โดยระบุว่าคำพูดนี้แสดงให้เห็นว่าแอปเปิลมีอคติในการฟ้องร้องที่นำไปสู่ความคิดที่ไม่ถูกต้อง จนคนของแอปเปิลถูกทำให้เชื่อกันว่าต้องช่วยกันทำลาย Android ให้จงได้
แอปเปิลแย้งต่อศาลว่าการอ้างอิงนี้ไม่สมเหตุสมผล ซึ่งผู้พิพากษา Lucy Koh ก็เห็นด้วยโดยระบุว่าการพิจารณาคดีนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสตีฟ จ็อบส์ ประเด็นนี้จึงถูกยกไป
หลังจากที่ศาลอังกฤษบอกว่าสินค้าตระกูล Galaxy Tab ไม่ได้เลียนแบบ iPad เพราะว่าไม่มันดูไม่เจ๋งเท่า ล่าสุดศาลตัดสินแล้วว่าแอปเปิลจะต้องประกาศอย่างเป็นทางการว่า Galaxy Tab ไม่ได้ลอกเลียนดีไซน์ iPad แต่อย่างใด
โดยศาลกำหนดว่าเพื่อเป็นปรับภาพลบและความเข้าใจผิดที่เป็นผลจากคดีนี้ แอปเปิลจะต้องนำข้อความดังกล่าวขึ้นบนหน้าเว็บของตัวเองเป็นเวลาหกเดือน และลงข้อความนี้ลงในหนังสือพิมพ์และแมกกาซีนของอังกฤษอีกด้วย
ที่มา - Bloomberg
ศาลเยอรมันตัดสินคดีระหว่างแอปเปิลกับโมโตโรลาในยุโรปแล้ว โดยระบุว่า Motorola XOOM ไม่ได้ละเมิดการออกแบบของ iPad ตามที่แอปเปิลกล่าวหา เหตุผลคือรูปทรงของ XOOM ที่ด้านหลังโค้งเท่ากันหมดและด้านหน้าขอบค่อนข้างแหลมทำให้ XOOM มีความแตกต่างจาก iPad อย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ศาลก็ยกฟ้องคำกล่าวหาของโมโตโรลาที่บอกว่า iPad ละเมิดสิทธิบัตรของตัวเองเช่นกัน โดยคดีนี้ศาลสั่งให้แอปเปิลจ่ายค่าใช้จ่ายของคดี 2/3 และที่เหลือให้โมโตโรลาจ่าย
แอปเปิลยังมีคดีฟ้องโมโตโรลาเรื่องสิทธิบัตรมัลติทัชแยกเป็นอีกคดีหนึ่งครับ
ที่มา - Fox Business
ข่าวนี้เป็นความคืบหน้าของ Philip Matesanz นักเรียนชาวเยอรมันวัย 21 เจ้าของเว็บไซต์บริการแปลงวิดีโอบน YouTube เป็น MP3 ที่ชื่อ YouTube-MP3.org ซึ่งถูกทนายของกูเกิลเตือนว่าจะฟ้องร้อง โดยล่าสุด Matesanz เผยว่าเขาได้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญในเยอรมันสองคนให้มาช่วยทำคดีแล้ว รวมทั้งทำจดหมายรณรงค์เข้าชื่อให้ผู้ใช้เว็บไซต์ร่วมลงชื่อสนับสนุนว่าสิ่งที่เว็บเขาทำอยู่ถูกต้อง
จากกรณีแอปเปิลขอให้ศาลสั่งห้ามขาย Galaxy Tab 10.1 และ Galaxy Nexus ในสหรัฐ ซึ่งภายหลังซัมซุงก็ยื่นอุทธรณ์และศาลก็ยกเลิกคำสั่งห้ามขายเป็นที่เรียบร้อย
เว็บไซต์ FOSS Patents ค้นพบว่าในเอกสารคำร้องของซัมซุงมีหลักฐานแนบมาเป็น "จดหมายจากทนายของแอปเปิล" ส่งไปยังโอเปอเรเตอร์และร้านขายมือถือต่างๆ ในสหรัฐ ในระหว่างที่คำสั่งคุ้มครองของศาลยังมีผลบังคับใช้ ขอให้ร้านค้าเหล่านี้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล โดยหยุดขาย Galaxy Tab 10.1 และ Galaxy Nexus ในทันที (Please comply with the order by ceasing immediately)
จากคดีฟ้องร้องกันในสหรัฐฯ เป็นผลให้ Galaxy Nexus ถูกศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามขายจนกว่าคดีจะรู้ผล หลังจากนั้นไม่นานกูเกิลก็ให้สัมภาษณ์ว่าจะกลับมาขายในสัปดาห์หน้า และตอนนี้ Galaxy Nexus ก็กลับมาประจำการใน Play Store แล้ว
เพียงแต่ว่าระยะเวลาส่งของจากเดิมที่ส่งได้ภายในสองวัน ถูกปรับเพิ่มเป็น 2-3 สัปดาห์ และแน่นอนว่ามาพร้อมกับ จะมีอัพเดต Jelly Bean (ที่แก้ปัญหาสิทธิบัตรไปแล้ว) ตามมาเร็วๆ นี้ ส่วนราคาก็ลดลงเหลือ 349 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามที่ประกาศก่อนงาน Google I/O นั่นเอง
ที่มา - Engadget
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เปิดเผยว่า องค์กรจะจัดงานประชุม Patent Roundtable ในวันที่ 10 ต.ค. นี้ เพื่อให้ผู้ผลิตมือถือรายหลัก หน่วยงานของรัฐ และผู้ดูแลมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาพูดคุยและแก้ปัญหาคดีความเกี่ยวกับสิทธิบัตรและปัญหาการปฏิบัติตามนโยบายเกี่ยวกับสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานในวงการอุตสาหกรรมที่มีอยู่
Hamadoun Touré เลขาธิการของ ITU เปิดเผยว่า ปัญหานี้จะต้องได้รับการพูดคุยเพื่อแก้ไขโดยด่วน เนื่องจากวัตถุประสงค์ของสิทธิบัตรก็เพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมใหม่ไม่ใช่เพื่อการทำลายล้าง หากมีการยอมรับในความต้องการของผู้ถือครองสิทธิบัตร ผู้ใช้งาน และตลาด จะทำให้เกิดกฎหมายที่สร้างความเท่าเทียมกันในอุตสาหกรรมได้
หลังจากจบคดีในศาลชั้นต้น ที่ออราเคิลสามารถเรียกค่าเสียหายจากกูเกิลได้ไม่เกิน 300,000 ดอลลาร์ (และตัดสินใจไม่เรียกเลยในที่สุด) ตอนนี้กูเกิลก็เรียกร้องค่าใช้จ่ายในคดีกลับไปยังทางออราเคิลแล้วเป็นเงิน 4 ล้านดอลลาร์
เงินสี่ล้านดอลลาร์แบ่งออกเป็นสามส่วน 2.9 ล้านดอลลาร์เป็นค่าทำสำเนาเอกสารและค่าจัดเรียงเอกสารเหล่านั้น 143,000 ดอลลาร์เป็นค่าพิมพ์หรือบันทึกเอกสารในคดี และอีก 986,000 ดอลลาร์ เป็นค่าผู้เชี่ยวชาญในคดี
ก่อนหน้านี้ศาลมีคำสั่งให้ออราเคิลจ่ายเงินให้กับกูเกิลเป็นค่าทนายไปก่อนแล้ว 300,000 ดอลลาร์
ที่มา - Wired
ก่อนหน้านี้ Facebook กับ Yahoo! มีคดีฟ้องร้องกันในชั้นศาลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์และเทคโนโลยีโฆษณา ล่าสุดดูเหมือนว่าทั้งสองฝ่ายจะเข้าใจกันดีแล้ว และได้เซ็นสัญญาให้สิทธิแลกใช้สิทธิบัตรกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากเรื่องสิทธิบัตร ทั้งสองฝ่ายยังได้ตกลงที่จะขายโฆษณาร่วมกันอีกด้วย นี่อาจจะแสดงให้เราเห็นว่าการฟ้องร้องกันในบางครั้งสุดท้ายก็ทำให้เกิด "ความเข้าใจ" กันก็เป็นได้
ที่มา - Engadget
สำนักข่าวรอยเตอร์สได้สัมภาษณ์ผู้พิพากษา Richard Poster ผู้ตัดสินคดีการฟ้องร้องกันระหว่างแอปเปิลกับโมโตโรล่า โดย Poster ซึ่งตอนนี้อายุ 73 ปีแล้วเผยว่าเขาไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์กับไอทีจำเป็นจะต้องมีสิทธิบัตร
Poster กล่าวว่า "มันยังไม่ชัดเจนว่าเราต้องการสิทธิบัตรในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เรามีอยู่ส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ" และเขายังบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับสิทธิบัตรทุกวันนี้ว่า "สุดท้ายแล้วเราก็มีแต่สิทธิบัตรที่แตกแขนงกันออกมาเรื่อย ๆ"
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม Poster เชื่อว่าอุตสาหกรรมยาและการแพทย์คืออุตสาหกรรมที่ต้องการสิทธิบัตรอยู่ เพราะว่า "ในการที่จะสร้างยาใหม่ออกมาได้ จะต้องมีการลงทุนอย่างมหาศาล"
ศาลยุติธรรมสหภาพยุโรปพิพากษาคดีระหว่างออราเคิลและ UsedSoft บริษัทขายไลเซนส์ซอฟต์แวร์มือสอง โดยระบุว่าสิทธิในการห้ามไม่ให้ส่งต่อสิทธิไปยังบุคคลอื่นนั้นหมดไปเมื่อขายผู้สร้างขายสิทธิไปแล้ว
สหภาพยุโรปเคยมีแนวทาง (EU directive) ออกมาก่อนแล้วว่าทรัพย์สินทางปัญญานั้นสามารถส่งต่อกันได้ โดยสิทธิของผู้สร้างที่ห้ามผู้อื่นส่งต่อจะหมดไปหลังจากได้ขายสิทธินั้นออกไปแล้ว แต่ออราเคิลก็ยังยืนยันว่าแนวทางนั้นจำกัดเฉพาะซอฟต์แวร์ที่ขายไปพร้อมสื่อ เช่น ดิสก์หรือซีดีรอม ไม่รวมซอฟต์แวร์ที่ดาวน์โหลดมา แต่ศาลไม่เห็นด้วย และระบุว่าสัญญาอนุญาตที่ให้กับผู้ซื้อนั้นส่งต่อได้ด้วยเช่นกัน
หนึ่งในคดีด้านสิทธิบัตรมือถือที่ฟ้องกันไปมาวุ่นวายอยู่ทั่วโลก สำหรับคดีที่แอปเปิลฟ้อง HTC ต่อศาลอังกฤษว่าละเมิดสิทธิบัตรของตัวเอง 4 ชิ้น ก็ได้ข้อสรุปเรียบร้อยแล้วว่า HTC ไม่ผิด
แต่ที่น่าสนใจกว่าคือศาลตัดสินใจว่าสิทธิบัตรที่แอปเปิลใช้ฟ้อง 3 ชิ้นเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ (invalid) ส่วนสิทธิบัตรอีกชิ้นก็พิสูจน์แล้วว่า HTC ไม่ได้ละเมิดแต่อย่างใด
โฆษกของ HTC แถลงความเห็นต่อคดีนี้ว่าถึงแม้จะชนะคดี แต่ก็ยังผิดหวังที่เห็นแอปเปิลนิยมใช้การต่อสู้ในศาลมากกว่าการต่อสู้ในตลาด
อย่างไรก็ตาม สิทธิบัตร 4 รายการนี้ยังอยู่ในคดีที่แอปเปิลฟ้อง HTC ในเยอรมนี ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการทางศาลครับ
ถัดจาก Galaxy Tab 10.1 แอปเปิลก็ประสบความสำเร็จอีกครั้ง โดยศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามขาย Galaxy Nexus ในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากคดีสิทธิบัตรกับแอปเปิล และปฏิเสธคำอุทธรณ์ของซัมซุงด้วย
ผลคือตอนนี้กูเกิลต้องถอด Galaxy Nexus ออกจากหน้าเว็บ Play Store ก่อนชั่วคราว แต่ก็มีรายงานว่ากูเกิลจะออกแพตช์แก้ให้กับ Galaxy Nexus โดยตัดฟีเจอร์เรื่อง local search ที่เป็นประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิบัตรออกไปก่อน
หนึ่งในคดียืดเยื้อยาวนานเรื่องเครื่องหมายการค้า iPad ในประเทศจีนมาถึงตอนจบแล้ว เมื่อศาลในประเทศจีนแถลงว่าแอปเปิลจะจ่ายเงิน 60 ล้านดอลลาร์ให้กับบริษัทไต้หวัน Proview ผู้ถือสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้า I-Pad ในจีน ซึ่งส่งผลให้แอปเปิลสามารถจำหน่าย iPad ในจีนได้ตามปกติเสียที เพราะจนถึงตอนนี้จีนก็ยังไม่มี new iPad ขายแต่อย่า
หลังจากที่คณะกรรมการการค้าสากลในสหรัฐ (ITC) ได้ตัดสินว่า Xbox 360 ของไมโครซอฟท์ได้ละเมิดสิทธิบัตรหลายใบของโมโตโรล่าเกี่ยวกับเทคโนโลยี Wi-Fi โดยล่าสุด ITC ได้ออกมาบอกว่าการดำเนินการลงโทษไมโครซอฟท์จะต้องถูกเลื่อนไปหลังจากที่คณะกรรมการได้ขอให้ผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีนี้ในตอนแรกกลับไปพิจารณาคดีอีกครั้งใหม่ ซึ่งโดยปกติแล้วการที่จะเริ่มพิจารณาคดีใหม่อีกรอบจะใช้เวลามาก และเป็นไปได้ว่าภายในปีนี้ไมโครซอฟท์จะไม่ถูกลงโทษใด ๆ
เคสนี้เป็นเคสที่น่าสนใจ เนื่องจากการที่ ITC ได้ส่งเรื่องกลับไปให้มีการพิจารณาอีกครั้งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก เช่นกัน
ที่มา - Engadget
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาลสหรัฐฯเพิ่งออกคำสั่งคุ้มครอง (preliminary injunction) ห้ามขาย Galaxy Tab 10.1 ล่าสุดศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามขาย Galaxy Nexus ด้วยแล้ว
ความพยายามของแอปเปิลในการสั่งห้ามขายสินค้าของซัมซุงในสหรัฐ ประสบความสำเร็จเข้าจนได้ เมื่อศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว (preliminary injunction) ห้ามขาย Galaxy Tab 10.1 จนกว่าจะมีคำสั่งยกเลิก (ส่วนคดียังเดินหน้าต่อไป)
ผู้พิพากษา Lucy Koh ให้เหตุผลว่าถึงแม้ซัมซุงมีสิทธิในการแข่งขัน แต่ก็ไม่มีสิทธิแข่งขันโดยผลิตภัณฑ์ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และคดีนี้หลักฐานสนับสนุนของแอปเปิลชัดเจนจนเธอเห็นด้วยกับการสั่งคุ้มครองชั่วคราว
ซัมซุงสามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งนี้ได้ และคำสั่งนี้ไม่มีผลต่อแท็บเล็ตรุ่นใหม่ๆ อย่าง Galaxy Tab 2
ที่มา - AllThingsD