รายงานจาก Hebei Youth Daily ของจีนกล่าวว่า ขณะนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีนได้เริ่มเข้ายึด iPad ตามร้านค้าต่างๆ ในจีน และมีบางร้านค้าที่ตัดสินใจเอา iPad ลงจากชั้นวางขายของไปก่อนเพื่อที่จะได้ไม่ถูกยึดไปเหมือนกับร้านอื่นๆ (แต่ก็ยังแอบขายต่อไป) ส่วนรายงานจากทาง China.com กล่าวว่ารัฐบาลจีนได้ยึด iPad 2 ไปแล้วกว่า 45 เครื่อง
สาเหตุของการไล่ยึด iPad ครั้งนี้ยังไม่แน่ชัด แต่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับคดีละเมิดเครื่องหมายทางการค้าชื่อ IPAD ระหว่างแอปเปิลและบริษัท Proview Technology ที่เริ่มมีความเคลื่อนไหวเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว
แอปเปิลได้ขอให้ศาลแคลิฟอร์เนียสั่งห้ามขาย Galaxy Nexus เป็นการเบื้องต้น โดยมีเหตุผลว่า Galaxy Nexus ได้ละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล 4 ใบได้แก่
Gianfranco Lanci คืออดีตซีอีโอของ Acer ที่มีความขัดแย้งกับบอร์ดจนต้องลาออก และ
รายงานจาก FOSS Patents บอกว่าโมโตโรล่าต้องการเรียกค่าไลเซ่นส์แอปเปิล 2.25% จากยอดขายสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยี 3G/UMTS ตามสิทธิบัตร FRAND ของโมโตโรล่าในคดีที่มาการฟ้องกันในประเทศเยอรมนี โดยหากตีราคาเป็นจำนวนเงินแล้ว แอปเปิลอาจจะต้องจ่ายเงินให้กับโมโตโรล่า 15 ดอลลาร์สำหรับเครื่อง iPhone 4S รุ่นที่มีราคาต่ำสุด
ในขณะเดียวกัน แอปเปิลกล่าวว่าการที่แอปเปิลได้เลือกซื้อชิ้นส่วน 3G/UMTS จาก Qualcomm ที่ต่างก็มีข้อตกลงแลกเปลี่ยนสิทธิบัตรกับโมโตโรล่าอยู่แล้วทำให้แอปเปิลมีสิทธิในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้
ต่อเนื่องจากข่าวศาลเยอรมนีตัดสิน iCloud ละเมิดสิทธิบัตร Motorola ซึ่งทำให้ทางแอปเปิลต้องถอด iPhone (ไม่นับ iPhone 4S) และ iPad ออกจาก Apple Store ตอนนี้ ศาลเยอรมนีได้พักคำตัดสินชั่วคราวแล้ว ทำให้แอปเปิลสามารถกลับมาขายสินค้าดังกล่าวได้อีกครั้งหนึ่ง
สาเหตุที่ทำให้ศาลเยอรมันนีพักคำตัดสินนั้น เพราะแอปเปิลยื่นอุทธรณ์พร้อมกับให้เหตุผลว่า Motorola คอยปฏิเสธที่จะให้แอปเปิลใช้สิทธิบัตรในคดีนี้ ทั้งๆ ที่สิทธิบัตรนี้ได้ถูกประกาศเป็นสิทธิบัตรมาตรฐานอุตสาหกรรมตั้งแต่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว
ข่าวนี้ต่อจาก แอปเปิล "อาจ" แพ้คดีสิทธิบัตรโมโตโรลาในเยอรมนี ในประเด็นเรื่อง iCloud และ Mobile Me
วันนี้ศาลเยอรมนีตัดสินแล้วว่าแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับ push notification ของ Motorola จริง อย่างไรก็ตาม แอปเปิลยังมีสิทธิอุทธรณ์คดีได้ต่อไป
ศาลพาณิชย์ของฝรั่งเศสตัดสินให้กูเกิลผิด เนื่องจากใช้อำนาจเหนือตลาดของ Google Maps แจกฟรีจนโปรแกรมแผนที่ของฝรั่งเศสแข่งขันไม่ได้
ผู้ฟ้องคดีนี้คือบริษัท Bottin Cartographes ซึ่งให้บริการแผนที่ออนไลน์แบบเก็บเงิน แต่เมื่อเจอกลยุทธ์ Google Maps แจกฟรีทำให้สูญเสียรายได้
กูเกิลจะต้องจ่ายค่าเสียหายให้ Bottin Cartographes มูลค่า 500,000 ยูโร (20 ล้านบาท) และจ่ายค่าปรับอีก 15,000 ยูโร ซึ่งตัวแทนของกูเกิลฝรั่งเศสบอกว่าขอดูรายละเอียดคำตัดสินก่อน แล้วจึงจะตัดสินใจว่าจะอุทธรณ์หรือไม่
คดีของ The Pirate Bay เป็นคดีที่ยืดเยื้อยาวนานมาตั้งแต่ปี 2009 (อ่านรายละเอียดในแท็ก The Pirate Bay กันเองนะครับ) โดย คดีในศาลชั้นต้นเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2009 และยุติใน
จากปฏิบัติการสายฟ้าแลบของ FBI บุกปิด-ยึด-จับเว็บไซต์ฝากไฟล์ Megaupload ก็สร้างแรงกระเพื่อมตามมามากมายหลายประเด็น
คดีนี้เป็นอีกหนึ่งคดีที่แอปเปิลฟ้องซัมซุงในหลายประเทศ และขอให้ศาลสั่งห้ามขาย Galaxy Tab เนื่องจากข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์การดีไซน์
ศาลชั้นต้นมีคำตัดสินเมื่อปีที่แล้วว่าซัมซุงไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของแอปเปิล ซึ่งแอปเปิลยื่นอุทธรณ์ และล่าสุดศาลอุทธรณ์ของเนเธอร์แลนด์ก็ยืนคำตัดสินของศาลชั้นต้น ว่าซัมซุงไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์การดีไซน์ของแอปเปิลเช่นเดิม
ตามข่าวยังไม่บอกว่าแอปเปิลจะทำอย่างไรต่อไปในคดีนี้ แต่สองบริษัทนี้ยังมีคดีความกันอีกเยอะในหลายประเทศ
ที่มา - รอยเตอร์, FOSS Patents
ความคืบหน้าของคดีออราเคิลฟ้องกูเกิลว่า Android ละเมิดทั้ง "สิทธิบัตร" และ "ลิขสิทธิ์" ของ Java ครับ
ความคืบหน้าของคดีระหว่างแอปเปิลและซัมซุงในเยอรมนี สำหรับคดีที่แอปเปิลฟ้องซัมซุง ศาลตัดสินให้แอปเปิลชนะซัมซุงไปแล้ว ซึ่ง
แอปเปิลยื่นฟ้องศาลเขต Dusseldorf ในเยอรมนีใหม่อีกรอบ โดยรอบนี้ขอให้ศาลสั่งแบนสมาร์ทโฟนของซัมซุงอีก 10 รุ่น
ข่าวต้นทางไม่ได้บอกละเอียดว่าทั้ง 10 รุ่นมีอะไรบ้าง แต่ที่ระบุชื่อมี Galaxy S Plus และ Galaxy S II ครับ นอกจากนี้ยังมีอีกคดีที่ฟ้องแยกให้แบนแท็บเล็ตซัมซุงอีก 5 รุ่นด้วย
ความคืบหน้าของคดีที่แอปเปิลยื่นฟ้องต่อ ITC ในปี 2010 ว่าโมโตโรลาละเมิดสิทธิบัตรสมาร์ทโฟนของตัวเอง ปรากฏว่าผู้พิพากษาของ ITC ตัดสินในชั้นต้นแล้วว่าโมโตโรลาไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิลแต่อย่างใด
ขั้นต่อไปคือคณะกรรมการ ITC จำนวน 6 คนจะพิจารณาคำตัดสินของผู้พิพากษา และตัดสินใจอีกครั้งว่าจะยืนตามคำพิพากษานี้หรือไม่
แอปเปิลปฏิเสธจะให้ความเห็นในคดีนี้ ส่วนตัวแทนของโมโตโรลาก็ออกมาแสดงความยินดีตามความคาดหมาย
ฝั่งโมโตโรลาเองก็มีคดีฟ้องแอปเปิลต่อ ITC ว่าละเมิดสิทธิบัตร 18 รายการของตัวเองเช่นกัน
มีข่าวแว่ว ๆ มาว่า Kodak จะล้มละลาย (MEconomics) แต่คราวนี้ ขอฮึดสู้อีกครั้งด้วยสิทธิบัตรที่ยังมีเหลือ ด้วยการฟ้อง 2 ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่อย่าง HTC และ Apple
ระบบ autocomplete ในบริการค้นหาของ Google กลายเป็นประเด็นทางกฎหมายอีกครั้ง โดยคราวนี้ศาลประเทศฝรั่งเศสได้ตัดสินให้ Google จ่ายค่าเสียหาย* 50,000 ยูโรให้กับบริษัทประกัน Lyonnaise de Garantie เนื่องจากระบบ autocomplete ได้แนะนำคำว่า "escroc" (คนโกง) ต่อท้ายชื่อ
แน่นอนว่า Google ยังคงใช้เหตุผลเดิมในการปกป้องตนเองว่า คำที่แนะนำขึ้นมาโดย Google Suggest นั้นเกิดจากอัลกอริทึมอัตโนมัติตามความนิยมในการค้นหา แต่ศาลก็ระบุว่า บริษัทได้ติดต่อไปที่ Google และ Google France เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวหลายครั้งแต่ไม่เป็นผล
นอกจากจะจ่ายเงินค่าเสียหายแล้ว ศาลยังสั่งให้ Google นำคำแนะนำดังกล่าวออก และเผยแพร่คำตัดสินบนหน้าแรกของ Google.fr เป็นเวลาเจ็ดวัน
ต่อจากข่าว Hasbro เจ้าของลิขสิทธิ์ Transformers ฟ้อง ASUS ละเมิดเครื่องหมายการค้า โฆษกของ ASUS ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อไต้หวันว่าสายการผลิต Transformer Prime จะเดินหน้าต่อไป โดยไม่ได้รับผลกระทบจากคดีฟ้องร้องของ Hasbro
ช่วงนี้เป็น "ขาลง" ของบริษัท RIM จริงๆ เพราะนอกจากมีปัญหาเรื่องการแข่งขัน, BlackBerry 10 ล่าช้ากว่ากำหนด แล้วยังต้องเผชิญกับคดีเรื่องเครื่องหมายการค้าซ้ำอีก
ข่าวเก่าไปนิดนึงนะครับ แต่เป็นความเคลื่อนไหวต่อจากข่าว บิล เกตส์ ขึ้นศาลให้การคดี Novell ฟ้องไมโครซอฟท์กีดกัน WordPerfect เลยคิดว่าไม่น่าจะทิ้งไปเฉ
ต่อเนื่องจากข่าวเมื่อปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ฟ้องโมโตโรล่าเพราะโทรศัพ
ข่าวต่อเนื่องจาก แอปเปิลชนะคดี HTC ที่ศาล ITC, คำสั่งห้ามนำเข้าโทรศัพท์แอนดรอย
แม้ว่าแอปเปิลกับซัมซุงจะมีปัญหาทางด้านกฎหมายมากมายอยู่แล้ว ล่าสุดก็มีคดีใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก โดยจากการายงานของ Bloomberg ในครั้งนี้แอปเปิลได้ฟ้องต่อศาลออสเตรเลียกรณีซัมซุงก็อบหน้าตาเคสต่าง ๆ สำหรับแท็บเล็ตและมือถือจากแอปเปิลไป
ก่อนหน้านี้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เมื่อบริษัทผลิตเคสที่ใกล้ชิดกับซัมซุง "Anymode" ได้ปล่อยเคส "Smart Case" ออกมาสำหรับ Galaxy Tab 10.1 ที่มีรูปร่างหน้าตาใกล้เคียงกับ Smart Cover สำหรับ iPad 2 เป็นอย่างมาก (ดูรูปในข่าว) โดยในตอนแรกสินค้าดังกล่าวได้มีตรารองรับจากซัมซุงมาด้วย แต่หลังจากนั้นไม่นานซัมซุงก็ได้ออกมากล่าวบนบล็อกของตัวเองว่าบริษัทไม่ได้ทำการรองรับเคสแต่อย่างใด และเลิกการจำหน่ายเคสนี้ก่อนจะวางขายในตลาดจริงทันที
ข่าวนี้เป็นเหมือนฝันร้ายของเอซทีซีโดยฉับพลัน เพราะจากครั้งที่แล้วที่เอชทีซีพ่ายแพ้ต่อแอปเปิ้ล เพราะสิทธิบัตรที่ซื้อมาจาก S3 มันฟ้องแล้วข้อหาไม่ขึ้น! (ข่าวเก่า) แอปเปิ้ลก็ทิ้งท้ายไว้ว่ายังมีคดีที่ต้องสะสางกันอยู่ เพราะแอปเปิ้ลฟ้องเอชทีซีเนื่องจากข้อหาละเมิดสิทธิบัตรจำนวน 20 ใบ แต่เมื่อ ITC พิจารณาคดีชั้นต้นพบว่าผิดจริงอยู่ 2 ใบ และวันนี้ศาลยังคงยึดคำตัดสินของ ITC เช่นเคยครับ คือเอชทีซีละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิ้ลจำนวน 2 ใบ และสั่งห้ามนำอุปกรณ์เข้ามาจำหน่ายแล้ว
Tyler McGee รองประธานฝ่ายโทรคมนาคมของซัมซุงออสเตรเลีย ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Sydney Morning Herald ว่าการถูกแอปเปิลฟ้องและศาลสั่งห้ามขาย Galaxy Tab 10.1 ไปช่วงหนึ่ง ไม่ได้มีแต่ผลลบกับบริษัทเท่านั้น
McGee บอกว่า Galaxy Tab กลายเป็นศูนย์กลางความสนใจของสื่อมวลชน และส่งผลให้ Galaxy Tab 10.1 กลายเป็น "ชื่อสามัญ" (household name) ที่ใครๆ ก็รู้จัก
ตอนนี้ออสเตรเลียเลิกแบน Galaxy Tab แล้ว และซัมซุงบอกว่าขายดีมากจนของหมดสต๊อก แต่ก็ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขว่าขายได้เท่าไร
ซัมซุงออสเตรเลียจะทำตลาด Galaxy Tab 7.7 ภายในปีนี้ และ Galaxy Tab 8.9 ช่วงต้นปีหน้า ตอนนี้ซัมซุงเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออันดับหนึ่งของออสเตรเลียแล้ว
ต่อเนื่องจากข่าวเก่า ศาลเขต Mannheim ในเยอรมนีตัดสินคดีที่ Motorola ฟ้อง Apple Sales International (ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ไอร์แลนด์) ว่าผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลคือ iPhone รุ่นแรกจนถึง iPhone 4 (ไม่รวม iPhone 4S ที่ออกมาทีหลัง) ละเมิดสิทธิบัตรของ Motorola