ไม่ว่า Apple จะทำอะไรเป็นอันต้องโดนขัดอยู่ตลอด ล่าสุด iCloud Communications ก็ประกาศยื่นฟ้อง Apple เนื่องด้วยชื่อ iCloud ที่เป็นบริการใหม่ของ Apple นั้น ไปซ้ำกันกับ iCloud ที่เป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับระบบการสื่อสารโดยตรง โดยเอกสารที่ทาง iCloud ยื่นฟ้องไปนั้น คือต้องการให้ Apple ประกาศยุติการให้บริการ iCloud ลงทั้งหมด และทำการทำลายสัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
งานนี้ท่าจะยาว เพราะ Apple เอง ก็หมดเม็ดเงินไปกว่า 4.5 ล้านดอลลาร์เพื่อให้ได้โดเมน iCloud.com มาครอง ก็คงจะจบเรื่องไม่ได้ง่ายๆ อย่างกรณีซัมซุง งานของเราๆ ก็ดูกันต่อไปครับว่าจะจบด้วยดีหรือว่าอย่างไร ว่าแต่ว่าป๊อปคอร์นพร้อมหรือยัง
หลังจากที่ทาง Apple ได้ออกมาเรียกร้องให้ทาง Lodsys หยุดส่งจดหมายขู่กับทางนักพัฒนาโปรแกรมบน iOS ล่าสุดทาง Lodsys ได้ออกมาตอบโต้ว่า "ใบอนุญาตที่ทาง Apple ได้ไปนั้นไม่ครอบคลุมถึงนักพัฒนาที่เป็นบุคคลที่สาม" ผ่านทางบล๊อกของบริษัท
นอกจากนี้ทาง Lodsys ได้ยื่นฟ้องนักพัฒนาโปรแกรม 7 ราย ได้แก่ Iconfactory, Quickoffice, Illusion Labs, Wulven Game Studios, และนักพัฒนาอิสระอีกสามคน ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรสองรายการ ซึ่ง Lodsys ได้กล่าวว่าการยื่นฟ้องในครั้งนี้เป็นการตอบโต้ "การคุกคาม" ของ Apple
หลังจากที่ศาลได้อนุญาตให้แอปเปิลดูสินค้าในอนาคตของซัมซุงที่ยังไม่เปิดตัวในกรณีที่แอปเปิลได้ยื่นฟ้องว่าซัมซุงทำการลอกเลียนแบบและละเมิดสิทธิบัตรของสินค้าตระกูล iOS ล่าสุด ซัมซุงได้ยื่นขอต่อศาลเพื่อขอดูสินค้าในอนาคตของแอปเปิล เช่น iPhone 4S หรือ iPhone 5, iPad 3 และกล่องบรรจุ
สำหรับสาเหตุของซัมซุง การได้เห็นสินค้าเหล่านี้ของแอปเปิลล่วงหน้าจะทำให้ซัมซุงสามารถที่จะเลี่ยงการฟ้องร้องด้วยการทำสินค้าที่หน้าตาไม่เหมือนกัน
ที่น่าตลกคือฝ่าย Manufacturing ของซัมซุงก็คงจะรู้ดีอยู่แล้วว่าแอปเปิลกำลังคิดจะผลิตอะไรออกมา เพราะว่าแอปเปิลเองก็สั่งซื้อชิ้นส่วนภายในของสินค้าตระกูล iOS จากซัมซุงมาเสมอ
วันเดียวกับที่กูเกิลเปิดตัวระบบจ่ายเงินผ่านมือถือ Google Wallet และ Google Offers ยักษ์ใหญ่แห่งวงการจ่ายเงินผ่านอินเทอร์เน็ตอย่าง PayPal ก็ยื่นฟ้องกูเกิลทันที ด้วยข้อหาละเมิดความลับทางการค้า (trade secret)
บุคคลที่สร้างความขัดแย้งในรอบนี้คือ Osama Bedier อดีตผู้บริหารของ PayPal ที่ย้ายมาอยู่กับกูเกิล และมาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงด้านระบบการชำระเงินของกูเกิล โดย PayPal กล่าวหาว่า Bedier นำความลับทางการค้าของบริษัทไปให้กูเกิล
นอกจากนี้ อดีตผู้บริหารของ PayPal อีกคนคือ Stephanie Tilenius ยังโดนฟ้องข้อหาละเมิดข้อตกลงในการจ้างงาน โดย Tilenius เป็นคนชวน Bedier ให้ย้ายมายังกูเกิลอีกทีหนึ่ง
ก่อนหน้านี้บริษัทที่ใช้ชื่อว่า Lodsys ได้ไล่ส่งจดหมายขู่นักพัฒนาโปรแกรมบน iOS ที่ขายส่วนเสริมของโปรแกรมจากในตัวโปรแกรมโดยตรง (In-App Purchase) ว่าได้ทำการละเมิดสิทธิบัตร ทำให้นักพัฒนาหลาย ๆ คนได้ออกมาเรียกร้องให้แอปเปิลทำอะไรซักอย่าง ล่าสุดแอปเปิลได้ส่งจดหมายโต้ถึง Lodsys ว่านักพัฒนาทั้งหมดบน iOS ถือไลเซ่นส์อย่างถูกต้องแล้ว เนื่องจากกระบวนการของ In-App Purchase ทั้งหมดต้องผ่านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ API ฯลฯ ของแอปเปิลซึ่งเป็นผู้ได้รับไลเซ่นส์อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้แอปเปิลยังได้ขอให้ Lodsys ทำการยกเลิกข้อเรียกร้องในจดหมายที่ส่งถึงนักพัฒนาก่อนหน้านี้ทั้งหมด
ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ นักพัฒนาแอพให้กับ iOS หลาย ๆ คนได้รับจดหมายจากบริษัท Lodsys ว่าพวกเขาได้ละเมิดสิทธิบัตรการซื้อส่วนเสริมของแอพจากภายในแอพ (In-App Purchase) ของบริษัท แม้ว่าในความจริงแล้วขั้นตอนในการซื้อส่วนเสริมเหล่านี้จะต้องดำเนินการผ่าน iTunes ของแอปเปิล
บริษัท Lodsys ที่ไม่เป็นที่รู้จักนี้ได้บอกว่านักพัฒนาที่ได้รับจดหมายทุกคนจะถูกฟ้อง หากไม่ทำการจ่ายค่าตอบแทนและบริษัทยังอ้างอีกว่าพวกเขามีสิทธิในการเข้าถึง 0.575% ของรายได้จากการซื้อส่วนเสริมภายในแอพทั้งหมดภายในสหรัฐอเมริกา นั่นก็หมายความว่าหากนักพัฒนามีรายได้ในส่วนนี้ 1 ล้านดอลลาร์ บริษัทนี้จะได้ไป 5,750 ดอลลาร์
ข่าวนี้ต่อจากข่าวเก่าเมื่อปีที่แล้ว แอปเปิลฟ้อง Kodak กลับฐานละเมิดสิทธิบัตร (ซึ่งเป็นการโต้กลับของแอปเปิลหลัง Kodak ฟ้องแอปเปิลและ RIM - สรุปว่าเรื่องนี้มี 2 คดีนะครับ)
ล่าสุดทางผู้พิพากษาของ ITC ได้ตัดสินแล้วว่า Kodak ไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล ซึ่งเป็นการปูทางให้ Kodak สามารถตกลงยุติคดีกับแอปเปิลได้ง่ายขึ้น (ก่อนหน้านี้ Kodak เคยเจรจายุติคดีกับ Samsung และ LG ในลักษณะคล้ายๆ กัน ซึ่งก็ได้เงินมาหลายร้อยล้านดอลลาร์)
ความคืบหน้าล่าสุดของคดีออราเคิลฟ้องกูเกิลข้อหา Android ละเมิดสิทธิบัตร Java
เดิมทีนั้น ออราเคิลได้ยื่นฟ้องกูเกิลว่าละเมิดสิทธิบัตรจำนวน 132 ชิ้น แต่เนื่องจากศาลประเมินว่าการพิสูจน์สิทธิบัตรว่าละเมิดหรือไม่นั้นกินเวลามาก จึงสั่งให้ออราเคิลลดจำนวนสิทธิบัตรที่จะฟ้องลงเหลือ 3 ชิ้น เพื่อที่ปริมาณงานของศาลจะลดลง
ข่าวนี้ฟังดูดีต่อฝ่ายกูเกิลมาก แต่เอาจริงก็ไม่ใช่แบบนั้น เพราะออราเคิลถูกบังคับให้ฟ้องเฉพาะสิทธิบัตรที่มั่นใจว่าผิดเน้นๆ จำนวน 3 ชิ้นเท่านั้น ถ้าศาลตัดสินว่าผิดจริงกูเกิลก็ผิดอยู่ดี แต่ในอีกมุม กูเกิลก็สู้คดีง่ายขึ้นด้วย เพราะมีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องป้องกันตัวและหาหลักฐานมาหักล้างสิทธิบัตรชิ้นใดบ้าง
Alki David ผู้สร้างภาพยนตร์ และนักดนตรีอีกกลุ่มหนึ่ง ยื่นฟ้องบริษัท CBS เจ้าของเว็บไอทีชื่อดัง CNET ในข้อหา "ส่งเสริมการละเมิดลิขสิทธิ์ครั้งใหญ่" จากการเปิดให้ดาวน์โหลดโปรแกรมแชร์ไฟล์ LimeWire บนเว็บไซต์ของตัวเอง
ข้อมูลจากคำฟ้องระบุว่า CNET และเว็บไซต์ download.com ในเครือเปิดให้ดาวน์โหลด LimeWire ไปถึง 220 ล้านครั้งนับตั้งแต่ปี 2008 คิดเป็น 95% ของยอดการดาวน์โหลดโปรแกรม LimeWire ทั้งหมด
ตามกฎหมายแล้ว โปรแกรมตระกูล P2P ไม่ผิดแต่อย่างใด แต่ผู้ฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนมากจะใช้เหตุผลว่าผู้แจกจ่ายโปรแกรมเหล่านี้ "ส่งเสริม" ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย ในกรณีของคดีนี้ Alki David เปรียบว่า CNET แจก "ปืน" และกระตุ้นให้คนไปก่ออาชญากรรม
คดีที่เกี่ยวข้องกับความผิดบนอินเทอร์เน็ต (ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ข้อมูลไม่เหมาะสม หรือการละเมิดลิขสิทธิ์) สิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่นอนคือการสืบหาผู้กระทำความผิดด้วยหมายเลข IP
ในสหรัฐมักมีคดีที่เจ้าของเนื้อหาสั่งฟ้องผู้ที่ดาวน์โหลดไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านเครือข่าย P2P ซึ่งหลักฐานที่สำคัญก็คือหมายเลข IP ของผู้ใช้ (และมักเป็นการฟ้องจำเลยเป็นกลุ่มหรือ class action)
อย่างไรก็ตาม เพิ่งมีคดีละเมิดลิขสิทธิ์คดีหนึ่งในสหรัฐ โดยบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลว่า "เจ้าของหมายเลข IP" จำนวนหนึ่งละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของบริษัท และขอให้ศาลอนุญาตให้สืบสวนต่อว่าหมายเลข IP เหล่านี้คือใครบ้าง
เมื่อวานนี้ Huawei เพิ่งจะฟ้อง ZTE ไปหยกๆ วันนี้ ZTE เอาคืนบ้าง ฟ้องกลับ Huawei ว่าละเมิดสิทธิบัตรเทคโนโลยี 4G (LTE)
หวง หลีปิง นักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินโนมุระ ให้ความเห็นว่า "เป็นเพราะ ZTE เติบโตดีเกินไป Huawei เลยพยายามที่จะใช้สิทธิ์ทางด้านสิทธิบัตรเพื่อไปขัดขวางการโตของ ZTE แต่ท้ายสุดแล้วคดีความด้านสิทธิบัตรแบบนี้ ก็มักจะจบลงที่การเจรจาและผลประโยชน์ที่จะจ่ายกันเองภายหลัง"
ทาง ZTE แถลงว่า "เราจะดำเนินการตามกฏหมายเพื่อที่จะปกป้องสิทธิบัตรของเราที่มีอยู่ทั่วโลกไม่ให้โดนละเมิดสิทธิ์โดยใครก็ตาม อย่างไรก็ดีเรารู้สึกว่าการแข่งขันทางสิทธิบัตรไม่ควรที่จะมาเป็นประเด็นหลักในการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้"
บริษัทจีนที่ร้อนแรงที่สุดแห่งยุค 2 รายคือ Huawei และ ZTE ต้องมาสู้กันเองเสียแล้ว
Huawei เป็นฝ่ายยื่นฟ้อง ZTE ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของ data card (ซึ่งเราเรียกกันว่าแอร์การ์ด) และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ LTE อีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ Huawei ยังกล่าวหาว่า ZTE ละเมิดเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับ data card ด้วย
Huawei บอกว่าพยายามเจรจากับ ZTE แล้วแต่ไม่เกิดผล จึงต้องใช้ไม้ตายสุดท้ายคือการฟ้องร้องนั่นเอง (Huawei ยื่นฟ้องใน 3 ประเทศคือเยอรมนี ฝรั่งเศส ฮังการี)
ส่วน ZTE ก็ตอบโต้ด้วยประโยคมาตรฐานว่าไม่ได้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ และบริษัทให้ความเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของคนอื่นมาโดยตลอด
หลังจากที่ Apple โดนฟ้องไปหมาดๆ ถึงกรณี iOS เก็บข้อมูพิกัดผู้ใช้ ล่าสุด Google ก็งานเข้าแล้วเช่นกัน เนื่องจากผู้ใช้ Android สองรายซึ่งเป็นชาวโอ๊กแลนด์เคาน์ตี้ ในรัฐมิชิแกนได้ทำการกล่าวหาและฟ้องร้อง Google ณ ศาลกลางสหรัฐ เมื่อ 2 วันก่อน ว่าบริษัทได้ทำการเก็บและข้อมูลพิกัดของเขาอย่างเป็นความลับ โดยอ้างว่าโทรศัพท์มือถือ HTC Inspire 4G ของทั้งสอง ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการ Android ได้ทำการติดตามที่อยู่ของเขาทั้งสอง "ราวกับว่าเป็นเครื่องมือสะกดรอยตาม ที่จะใช้ได้ต่อเมื่อมีหมายศาลเท่านั้น"
กรณี PSN โดนเจาะ ยังเป็นข่าวใหญ่ประจำสัปดาห์นี้ครับ ความเคลื่อนไหวเพิ่มเติมมีดังนี้
ข่าวแรกคือมีคนยื่นฟ้องโซนี่เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นชาวอเมริกันชื่อ Kristopher Johns ยื่นฟ้องศาลเขตแคลิฟอร์เนียเหนือ โดยข้อหาคือโซนี่ไม่ใส่ใจป้องกันข้อมูลสำคัญของผู้ใช้ เขายังบอกด้วยว่าโซนี่ล่าช้าเกินไปมากในการแจ้งผู้ใช้ PSN ว่าข้อมูลโดนเจาะ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถป้องกันข้อมูลส่วนตัวได้ทัน - CNET
ข่าวนี้ต่อจาก มาตามนัด!! Apple ฟ้อง Amazon ละเมิดชื่อ "App Store" แล้ว ทาง Amazon ได้ยื่นเอกสารต่อศาลในคดีที่แอปเปิลฟ้องละเมิดเครื่องหมายการค้าแล้ว โดย Amazon เลือกสู้คดีในประเด็นว่า "app store" เป็นคำสามัญทั่วไป (generic) ไม่ใช่ชื่อเฉพาะของแอปเปิลแต่อย่างใด (ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับคดีของไมโครซอฟท์)
ที่เจ็บแสบคือหลักฐานสนับสนุนของ Amazon ก็คือคำพูดของสตีฟ จ็อบส์ ในการแถลงผลประกอบการของแอปเปิลครั้งหนึ่ง ซึ่งตอนนั้นจ็อบส์ได้วิจารณ์ Android ว่ามีปัญหา fragmentation เพราะมี "app store" หลายอันให้เลือกใช้
ต้นฉบับคำพูดของจ็อบส์มีดังนี้
Bloomberg รายงานว่ามีผู้ฟ้องแอปเปิลกับศาลกลางสหรัฐ (Federal Court) ในข้อหาการละเมิดความเป็นส่วนตัว หลังจากที่พบว่าแอปเปิลทำการเก็บข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้ภายในอุปกรณ์ iOS โดยจดหมายฟ้องในครั้งนี้ถูกส่งให้กับศาลกลางในเมืองแทมป้า รัฐฟลอริด้า
โดยทนายของฝ่ายผู้ฟ้องได้ให้ข้อมูลกับ Bloomberg ว่าแอปเปิลไม่ควรจะทำอย่างนี้ เพราะขนาดเจ้าหน้าที่รัฐยังจำเป็นที่จะต้องมีหมายตรวจค้นจากศาลในการทำอะไรแบบนี้ ทำไมแอปเปิลไม่ต้องมีหมายค้นใด ๆ เลย
ตัวผู้ฟ้องเองต้องการให้ศาลสั่งให้แอปเปิลเลิกการเก็บข้อมูลเหล่านี้ทันที และอ้างว่าตนจะไม่ซื้อไอโฟนและไอแพ็ดอย่างแน่นอน หากรู้ว่ามีการเก็บข้อมูลในลักษณะนี้ ส่วนทางแอปเปิลเองยังไม่มีความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับการเข้าฟ้องในครั้งนี้แต่อย่างใด
ระหว่างการรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสของแอปเปิลในวันนี้ Tim Cook ยังได้ทำการพูดถึงปัญหาที่แอปเปิลมีกับซัมซุง โดย Tim Cook ได้ออกมาบอกว่าแอปเปิลเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของซัมซุง และทั้งสองบริษัทก็จะพยายามที่จะสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันต่อไป
Tim Cook ยังได้บอกอีกว่า ก่อนหน้านี้แอปเปิลได้พยายามที่จะไกล่เกลี่ยกับซัมซุงในเรื่องนี้แล้ว แต่สุดท้ายก็จำเป็นที่ต้องนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เนื่องจากส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอุปกรณ์พกพาของซัมซุงนั้นได้ล่วงเกินแอปเปิลมามากเกินไปเสียแล้ว
หลังคดีระหว่างโซนี่กับ geohot ได้ข้อยุติ ทาง geohot ก็ประกาศว่าเงินที่เขาเคยขอรับบริจาคเพื่อเป็นค่าทนายสู้คดีกับโซนี่ยังเหลืออยู่ 10,000 ดอลาร์ และเขาจะบริจาคเงินก้อนนี้ให้กับ Electronics Frontier Foundation (EFF) เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
EFF เป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่ต่อสู้เรื่อง "สิทธิ" ในโลกดิจิทัล มีผลงานช่วยเหลือด้านคดีมาแล้วมากมาย และมีกิจกรรมรณรงค์อื่นๆ ประกอบด้วย
ในที่สุดวันนี้ที่หลายๆ คนคาดไว้ก็มาถึง
แอปเปิลได้ฟ้องซัมซุงข้อหาเลียนแบบหน้าตา (look and feel) ของไอโฟนและไอแพด
จากแหล่งข่าว สมาร์ทโฟนตัวที่คาดว่าเป็นเป้าหมายในการฟ้องร้องครั้งนี้คือ Samsung Galaxy S 4G ที่รูปร่างหน้าตาไปคล้ายคลึงกับ iPhone 3G/3GS และแท็บเล็ต Samsung Galaxy Tab ที่หน้าตาไปคล้ายกับไอแพด
โดยข้อกล่าวหามีดังนี้
"แทนที่จะคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีและเอกลักษณ์เพื่อใช้กับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของตัวเอง แต่ซัมซุงกลับเลือกที่จะเลียนแบบทั้งเทคโนโลยี, ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ และรูปลักษณ์อันมีความสร้างสรรค์ของสินค้าจากแอปเปิล"
ต้นฉบับข้อกล่าวหา
ความนิยมในการใช้บริการบนกลุ่มเมฆซึ่งคิดค่าใช้งานตามการใช้งานจริงกำลังทำให้ตลาดในสหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงไปอย่างหนัก หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงนั้นคือบริษัทที่ไม่ค่อยมีประวัติในตลาดนี้มาก่อนอย่างกูเกิลกำลังเข้ามาบุกตลาดภาครัฐฯ อย่างเต็มกำลัง และสามารถชิงลูกค้ารายใหญ่ๆ ไปได้หลายราย การบุกนี้เป็นไปไม่ง่ายนัก เมื่อตลาดองค์กรนั้นบริการหลักๆ เช่นระบบเมลและงานเอกสารถูกครองอยู่โดยไมโครซอฟท์มาก่อน สงครามครั้งนี้กำลังย้ายจากสงครามน้ำลาย และสงครามการตลาดไปเป็นการต่อสู้ในชั้นศาลอย่างเต็มตัว
ถ้าเคยดูภาพยนต์ The Social Network คงจำได้ว่าคู่แฝด Winklevoss เป็นคนออกไอเดีย Facebook ในตอนแรก หลังจากการฟ้องร้อง Mark Zuckerberg ที่มาขโมยไอเดีย และได้ยอมความไปด้วยมูลค่าทรัพย์สินรวม 65 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งคู่ก็ได้กลับมาฟ้อง Mark Zuckerberg อีกรอบ ด้วยเหตุผลว่า Facebook ไม่ได้เปิดรายละเอียดทางการเงินทั้งหมด ทำให้พวกเขาได้เงินน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ที่สุดศาลก็ตัดสินออกมาว่าเงิน 65 ล้านเหรียญสหรัฐที่ได้ไปตอนแรกนั้นเหมาะสมแล้ว (ต้นฉบับใช้คำว่า Cameron and Tyler Winklevoss must accept their $65 million settlement from Facebook and move on)
มหากาพย์คดีของแฮ็กเกอร์นาม George Hotz "geohot" จบลงแบบง่ายๆ เมื่อฝ่ายกฎหมายของทั้งคู่สามารถไกล่เกลี่ยกันลุล่วง โดยโซนี่จะถอนฟ้อง geohot เพื่อแลกกับการที่ geohot จะไม่เจาะระบบ PS3 อีก (รายละเอียดของเงื่อนไขเป็นความลับ)
ในแถลงการณ์ร่วมของทั้งสองฝ่าย geohot บอกว่าเขาไม่ได้ตั้งใจที่จะสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้ PS3 หรือต้องการให้การเล่นเกมผิดลิขสิทธิ์ทำได้ง่ายขึ้น และเขายินดีที่สามารถจบคดีนี้ลงได้
ข้อตกลงนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา และต้องรอการอนุมัติจากศาลอีกรอบก่อนจึงจะมีผลสมบูรณ์
ความคืบหน้ากรณีที่บริษัท Mirror Worlds ฟ้องค่าเสียหายจากแอปเปิ้ล(Apple) ข้อกล่าวหาละเมิดสิทธิบัตร รวมเป็นเงิน 625.5 ล้านดอลลาร์ อ่านข่าวเดิมที่นี้ คณะผู้พิพากษาได้ตัดสินในวันที่ 4 เมษายน 2554 ถอนคําฟ้องเนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนข้อพิพาทดังกล่าว
ที่มา รอยเตอร์
บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิล แพ้คดีในศาลประเทศอิตาลีอีกครั้งหนึ่ง โดยคราวนี้เป็นคดีหมิ่นประมาท จากข้อความในระบบเติมข้อความอัตโนมัติ (autocomplete)
หลังจากที่ International Trade Commission หรือ ITC ได้ตัดสินว่าแอปเปิลมิได้มีความผิดในการละเมิดสิทธิบัตรของโนเกียแต่อย่างใดในคราวที่แล้ว คราวนี้โนเกียก็ได้ตัดสินที่จะยื่นคำร้องถึง ITC อีกรอบ โดยในคราวนี้ได้อ้างสิทธิบัตรของโนเกียที่ไม่ได้พูดถึงในการยื่นคำร้องคราวที่แล้วกว่าเจ็ดอย่าง ในฮาร์ดแวร์ที่แอปเปิลขายทั้งหมดตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นดนตรีพกพา คอมพิวเตอร์ และ แท็ปเล็ต
โดยสิทธิบัตรกลุ่มนี้ รวมไปถึงระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานมัลติทาสกิ้งได้, การ Sync ข้อมูลผู้ใช้, โทรศัพท์และการเชื่อมต่อและใช่้งานอุปกรณ์ Bluetooth