รายงานจาก IDC ถึงสภาพตลาดพีซีทั่วโลกพบว่าอยู่ในอาการไม่ดีนัก เมื่อตลาดพีซีทั่วโลกเติบโตเพียง 2.3% แม้แต่ภูมิภาคที่เติบโตต่อเนื่องอย่างเอเซียแปซิฟิคก็ยังมีอัตราเติบโตลดลง 1%
นักวิเคราะห์จาก IDC ระบุว่าสาเหตุสองประการ คือ ปัญหาเศรษฐกิจในยุโรป และการเข้ามาของอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต ทำให้ความต้องการของพีซีลดลง
รายงานนี้ออกมาพร้อมๆ กับรายงานการใช้อินเทอร์เน็ตในจีนจาก China Internet Network Information Centre (CNNIC) ว่าจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือเพิ่มเป็น 388 ล้านคนแซงหน้าพีซีที่มีผู้ใช้เข้าอินเทอร์เน็ต 380 ล้านคนไปแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตร้อยละ 60 ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ
ดัชนี TIOBE ที่พยายามวัดความนิยมของภาษาโปรแกรมออกสถิติเดือนกรกฎาคมพบสิ่งน่าสนใจคือภาษา Objective-C ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด ได้คะแนนในดัชนีจนแซงหน้าภาษา C++ ไปแล้ว
ภาษา C++ มีความนิยมเป็นอันดับสามรองจากภาษา C และ Java มาตั้งแต่เริ่มวัดดัชนี TIOBE ช่วงกลางปี 2001 แต่ความนิยมตามดัชนีก็ตกลงมาเรื่อยๆ อย่างช้าๆ เช่นเดียวกับภาษา Java ที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมลดลงเช่นเดียวกัน
น่าสนใจว่าขณะที่ภาษา Objective-C นั้นได้รับความนิยมเพราะการเติบโตของ iOS เป็นหลัก การเติบโตของแอนดรอยด์ที่ใช้ Java เป็นแกนกลางกลับไม่สามารถดันความนิยมให้กลับขึ้นมาตามดัชนีนี้ได้
ที่มา - TIOBE
ABI Research ออกบทวิเคราะห์ว่าปีนี้แท็บเล็ตรัน Windows (รวม Windows 7, Windows 8 และ Windows RT) จะมีผลต่อตลาดแท็บเล็ตเพียงเล็กน้อย โดยจะมียอดส่งมอบราวร้อยละ 1.3 ของตลาดแท็บเล็ตทั้งหมดของปี เนื่องจาก Windows 7 ไม่ได้รับการยอมรับในวงการแท็บเล็ต และ Windows 8/Windows RT ออกสู่ตลาดช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี นอกจากนั้น ABI Research ยังตั้งคำถามถึงกลยุทธ์การขาย Surface กับลูกค้าองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์รัน Windows อยู่แล้ว โดยตั้งคำถามว่าแท็บเล็ตนี้จะเข้าไปแทนที่อุปกรณ์เดิมหรือเป็นอุปกรณ์เสริมจากอุปกรณ์หลักที่มีอยู่แล้วในสำนักงานกันแน่
ไม่มีใครปฏิเสธว่าแอพบน iOS นั้น ณ ปัจจุบันถือว่ามีความน่าสนใจ และน่าจับตามองที่สุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งด้วยกัน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่นักพัฒนาส่วนมากเลือกที่จะพัฒนาแอพลงบน iOS ก่อน และในขณะที่จำนวนแอพมีแต่จะมากขึ้นเรื่อยๆ แอพชื่อดังที่เราคุ้นหูกลับมาจากบริษัทหน้าเดิมๆ หรือแอพที่มาจากบริษัทชื่อดังอยู่แล้ว จนน่าสงสัยว่านักพัฒนารายเล็กๆ นั้นสมควรจะมาลงเล่นในตลาดนี้หรือไม่
จากผลการสำรวจของ app promo บริษัทการตลาดแอพพลิเคชันที่ได้ไปสอบถามนักพัฒนาแอพบน iOS ได้ข้อมูลว่าแอพกว่า 59% นั้นไม่ทำกำไร และนักพัฒนาถึง 80% ระบุว่าไม่สามารถประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้ด้วยการทำแอพเพียงอย่างเดียว
ช่วงหลังมานี้มีการรายงานยอดเปิดใช้งานแอนดรอยด์อยู่เป็นระยะๆ ตัวเลขสุดท้ายคือ 700,000 เครื่องต่อวัน ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากผู้ใช้ในสหรัฐฯ
ทว่าตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไปอาจต้องเปลี่ยนความคิดแบบนั้นเสียแล้ว หลังจากผลการเก็บข้อมูลจาก Flurry เผยว่ายอดเปิดเครื่องของสมาร์ทโฟนในจีน (นับรวม iOS, แอนดรอยด์) แซงสหรัฐฯ แล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยสัดส่วนล่าสุดในเดือนมีนาคมอยู่ที่ 24% ต่อ 21% (ดูกราฟได้ด้านล่าง)
ส่วนแบ่งตลาดแท็บเล็ตดูเหมือนจะมีที่ให้แค่สองสายคือแอนดรอยด์และไอแพดเท่านั้น สองปีที่ผ่านมาแอนดรอยเองยังตามหลังไอแพดอยู่มาก แต่หลังจาก Ice-Cream Sandwich และสงครามแท็บเล็ตแอนดรอยด์ด้วยกันเองกำลังระอุ หลายคนก็คาดกันว่าแอนดรอยด์น่าจะครองส่วนแบ่งในแง่ของยอดขายเอาชนะไอแพดได้ในที่สุด รายงานในส่วนของ IDC ก็ออกมาแล้วว่า แอนดรอยด์นั้นน่าจะเอาชนะไอแพดได้ประมาณปี 2016 และประเมินว่าตลาดแท็บเล็ตรวมปีนี้จะสูงถึง 106.1 ล้านเครื่อง
ตัวเลขที่น่าสนใจของ IDC เช่น ไตรมาสที่สี่ของปี 2011 นั้น Kindle Fire ตัวเดียวมีส่วนแบ่งตลาดไปถึง 16.8% หรือประมาณ 4.7 ล้านตัว WebOS ที่เคยครองตลาดอยู่ 5% จากการลดลงราคาล้างสต๊อกก็หายไปจากตลาดเป็นที่เรียบร้อยในไตรมาสที่สี่
แม้ปีที่ผ่านมาตลาดพีซีจะเจอมรสุมหลายอย่างนับแต่น้ำท่วมในไทย ไปจนถึงการบุกตลาดอย่างหนักของแท็บเล็ต แต่การ์ตเนอร์ก็ยังเชื่อว่าตลาดพีซีจะเติบโตต่อเนื่องในสองปีข้างหน้า โดยปีนี้ตลาดพีซีน่าจะเติบโต 4.4% มาอยู่ที่ 368 ล้านเครื่อง และทะลุ 400 ล้านเครื่องในปี 2013
แม้ตัวเลขจะดูสูงแต่ก่อนหน้านี้ตลาดพีซีเคยเติบโตเกิน 10% มานานหลายต่อหลายปี การเติบโตที่เลขหลักเดียวเช่นนี้แสดงแนวโน้มที่ถดถอยของตลาดพีซีอย่างชัดเจนแล้ว
Windows 8 และ Ultrabook ดูจะเป็นความหวังของโลกพีซีที่จะปรับตัวกลับมาเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอีกครั้งหลังจากถูกแบ่งส่วนแบ่งตลาดจากแท็บเล็ตมาโดยตลอด แต่พีซีก็ยังเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับคอมพิวเตอร์เพื่องานธุรกิจ ดังนั้นมันคงไม่หายไปจากชีวิตของเราในเร็วๆ นี้
Nielsen รายงานผลการสำรวจผู้ที่เพิ่งซื้อมือถือใหม่ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาในสหรัฐอเมริกา พบว่าส่วนแบ่งยอดขายของ Android ตกลงมาอยู่ที่ 46.9% ในขณะที่ส่วนแบ่งยอดขายของไอโฟนโดยรวมทั้งหมดสูงขึ้นมาก โดยเห็นได้ชัดเจนจากเดือนตุลาคมที่มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 25.1% (Android อยู่ที่ 61.6%) แต่เดือนธันวาคมมีส่วนแบ่งอยู่ที่ 44.5% โดยเป็นรอง Android อยู่ประมาณ 2% เท่านั้น
Strategy Analytics บริษัทวิเคราะห์ตลาดเผยว่าภายในสิ้นปีนี้ ทั่วโลกจะมีการขายเครื่อง set-top box (ไม่รวมเครื่องเล่นเคเบิลทีวี) จำนวน 12 ล้านเครื่อง โดยจากจำนวนนี้มี Apple TV อยู่ที่ 4 ล้านเครื่อง ซึ่งหมายความว่าแอปเปิลมีส่วนแบ่งตลาด set-top box อยู่ที่ 32 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทิ้งห่างคู่แข่งรายอื่น ๆ อยู่มาก
เมื่อปีที่แล้ว สตีฟ จ็อบส์ ได้ออกมาบอกว่า Apple TV จะไม่ใช่สินค้าทำเล่น ๆ ของแอปเปิลอีกต่อไป และได้ประกาศ Apple TV รุ่นใหม่ที่รันระบบปฏิบัติการ iOS และวางขายที่ราคา 99 ดอลลาร์ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การที่แอปเปิลไม่ค่อยให้ความสนใจ Apple TV ในปีที่ผ่านมา ยังทำให้หลาย ๆ คนเห็นว่ามันก็ยังเป็น "งานอดิเรก" สำหรับแอปเปิลอยู่ดี
รายงานสรุปตลาดพีซีทั่วโลกในไตรมาสที่สามจากการ์ตเนอร์ออกมาแล้วในปีนี้ พบว่าตัวเลขการส่งมอบพีซีอยู่ที่ 91.8 ล้านเครื่องทั่วโลกโตขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว 3.2% น้อยกว่าการคาดการณ์ล่วงหน้า
อย่างไรก็ดี สถิติหลายอย่างน่าสนใจมาก เช่นเอชพีนั้นยังคงรักษาที่หนึ่งไว้ได้ด้วยยอดขายกว่า 16 ล้านเครื่องแถมยังเติบโต 5.3% เร็วกว่าตลาดรวม ขณะที่เลอโนโวนั้นได้รับผลจากการควบรวมกับ NEC ในญี่ปุ่นทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 25.2% เป็น 13.5 ล้านหน่วยขึ้นมาเป็นที่สอง
อันดับสองและสามคือ เดลล์และเอเซอร์นั้นอยู่ในอาการที่ไม่ดีนัก เดลล์นั้นมียอดขายลดลงเล็กน้อย 1.4% อยู่ที่ 10.6 ล้านเครื่อง ขณะที่เอเซอร์นั้นเหลือเพียง 9.6 ล้านเครื่องจากปีที่แล้วที่ขายได้ถึง 12.6 ล้านเครื่องตกมาเป็นอันดับสี่
ตัวเลขการศึกษาของ The NPD Group ระบุว่าในไตรมาส 2 ของปีนี้ iPhone 4 ยังคงเป็นสมาร์ทโฟนที่มียอดขายสูงสุดในอเมริกา แต่ที่น่าสนใจคืออันดับสองเป็น iPhone 3GS จากแอปเปิลเหมือนกัน ทั้งที่ iPhone 3GS อยู่ในตลาดมานานถึงสองปีแล้ว
กลยุทธ์ที่ทำให้ iPhone 3GS ยังครองตลาดได้แม้มีสเปกแย่กว่า iPhone 4 มากคือการใช้ราคาที่ถูกกว่าเป็นตัวดึงดูด โดย iPhone 3GS ความจุ 8GB แบบติดสัญญานั้นราคาเพียง $99 และล่าสุดยังลดราคาลงมาจนถึง $9 หรือฟรีไปเลยก็มี ผลการศึกษาระบุว่าผู้ใช้โทรศัพท์ระบบเติมเงินเพียง 8% ในปีก่อนเท่านั้นที่ใช้สมาร์ทโฟน แต่ในปีนี้เพิ่มมาถึง 22% ทำให้เห็นว่าพื้นที่สำหรับสมาร์ทโฟนที่เล่นราคาถูกยังเหลืออีกมาก
บริษัทวิจัยตลาด Nielsen สำรวจข้อมูลผู้บริโภคตลาดสมาร์ทโฟนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าผู้ตอบแบบสำรวจ 24% ตอบว่ามีสมาร์ทโฟนแล้ว ซึ่งเพิ่มมาจาก 21% ในช่วงต้นปี 2010
ประเทศที่มีสมาร์ทโฟนมากที่สุดคือสิงคโปร์ 47% ส่วนประเทศไทย ไม่ระบุข้อมูลว่ามีสมาร์ทโฟนเท่าไร (อยากรู้ต้องจ่ายเงินซื้อรายงานฉบับเต็ม) แต่บอกว่าอัตราการเติบโตสูงที่สุดในภูมิภาค โตขึ้น 47% จากเดิม
คำถามต่อไปคือถามว่า ในอีก 12 เดือนข้างหน้าคุณจะซื้อสมาร์ทโฟนหรือไม่ ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทย 47% ตอบว่าซื้อแน่นอน/น่าจะซื้อ (สูงสุดในภูมิภาคคืออินโดนีเซีย 51%)
บริษัทวิจัยตลาด MarketResearch.com ประเมินอัตราการเติบโตของทีวีที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ (Connected TV จำคำนี้ไว้ดีๆ) ว่าจะเติบโตสูงมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ตัวเลขของ MarketResearch.com ระบุว่าระหว่างปี 2009-2014 ทีวีต่อเน็ตได้จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 58.3% และถ้าคิดเฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อัตราการเติบโตจะสูงกว่า 60%
เนื่องจากเป็นตลาดเกิดใหม่ ทำให้เราเริ่มเห็นผู้เล่นรายใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำทีวีมาก่อนอย่างกูเกิล ยาฮู แอปเปิล ไมโครซอฟท์ ลงมาเล่นในตลาดนี้กันถ้วนหน้า
ที่มา - AppMarket
แม้กูเกิลจะเป็นผู้นำด้านโฆษณาออนไลน์มายาวนาน แต่รายได้ส่วนใหญ่นั้นก็มาจากการโฆษณาบนผลค้นหาของกูเกิลเอง แต่พอเป็นโฆษณาที่ไม่ใช่การโฆษณาจากผลค้นหาแล้วาฮูก็ยังคงเป็นนำมายาวนาน จนกระทั่งไตรมาสแรกของปี 2011 ที่ผ่านมาก็เพิ่งเป็นครึ่งแรกที่กูเกิลเริ่มทำส่วนแบ่งจากตลาดโฆษณาแบบแบนเนอร์ (display ads) แซงเจ้าตลาดอย่างยาฮูมาได้
ตลาดโฆษณาออนไลน์ยังคงเป็นตลาดที่เติบโตสูงมาก โดยปีที่ผ่านมาตลาดส่วนนี้โตขึ้น 14.2% จาก 7.1 พันล้านดอลลาร์ในไตรมา่สแรกปีที่แล้วเป็น 8.1 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้
ส่วนตลาดโฆษณาในหน้าค้นหานั้นกูเกิลยังครองที่หนึ่งและมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 59.1% ในไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้วเป็น 59.6% ในไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่สองคือ Bing นั้นตามอยู่ห่างๆ ที่ 7.9%
แม้ว่า Android จะเป็นแพลทฟอร์มที่ผู้ใช้ในสหรัฐอยากได้ไปใช้มากที่สุดก็ตาม แต่ดูเหมือนว่านักพัฒนายังให้ความสนใจกับการพัฒนา App ให้กับ iOS มากกว่า Android และกว่าสองในสามของนักพัฒนากลุ่มตัอย่างยังเห็นด้วยอีกว่ามันคือการ "จบเกม" (Game Over) แล้วสำหรับแพลทฟอร์มอื่น ๆ เช่น RIM, โนเกีย, ไมโครซอฟท์และ HP
จากรายงานของ Appcelerator ที่ทำการสำรวจนักพัฒนาจำนวน 2,760 คน นักพัฒนาได้ให้เหตุผลว่าปัญหา Fragmentation บนแพลทฟอร์มของ Android เป็นสาเหตุหลักที่นักพัฒนา App ให้กับ Android โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนนี้ เมื่อปัญหา Fragmentation นั้นแย่กว่าเดิมหากดูจากสินค้าแท็ปเล็ตต่าง ๆ ที่กำลังผลิตออกมา
รายงานสำรวจตลาดสมาร์ตโฟนจาก Nielsen ประจำไตรมาสแรกของปี 2011 เฉพาะในสหรัฐฯ ออกมาแล้วพบว่าความเปลี่ยนแปลงยังคงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อผลสำรวจระบุว่า Android เป็นโทรศัพท์ที่มีผู้ซื้อ "อยากได้" เป็นเครื่องต่อไปมากที่สุดถึง 31% เทียบกับ 26% ในไตรมาสที่แล้ว ขณะที่ iPhone นั้นมีผู้อยากได้เป็นเครื่องถัดไปลดลงเหลือ 30% เทียบกับ 33% ในไตรมาสที่แล้ว ทำให้ Android เป็นระบบปฎิบัติการสมาร์ตโฟนที่มีผู้ใช้อยากได้เป็นเครื่องต่อไปมากที่สุด
บริษัทโฆษณา M&C Saatchi ออกรายงาน Brand Desire ผลสำรวจแบรนด์ที่ผู้บริโภคนิยม โดยใช้ผลสำรวจจากผู้บริโภคกว่า 17,000 ทั่วโลก
ถ้าคิดคะแนนเฉลี่ยของทั้งโลก อันดับหนึ่งเป็นของ "แอปเปิล" (ตามคาด) ตามด้วย "กูเกิล" และ "BMW" (อยากรู้อันดับที่เหลือต้องซื้อรายงานฉบับเต็มกันเองครับ)
แต่บางประเทศแอปเปิลก็ไม่ได้ที่หนึ่งเสมอไป ในประเทศจีน "BMW" เป็นอันดับหนึ่ง, ในสิงคโปร์คือ "Singapore Airlines", ในเยอรมนีคือ "WWF" องค์กรพิทักษ์สัตว์ป่าที่เราคุ้นกับโลโก้รูปแพนด้านั่นเอง
ที่มา - Fortune
จากรายงานล่าสุดของ Nielson พบว่าแอปเปิลมีส่วนแบ่งโทรศัพท์สมาร์ทโฟนใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว โดยรายงานนี้เป็นตัวเลขจากเดือนตุลาคมที่่ผ่านมา แอปเปิลมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า RIM แล้วที่ 27.9% มากกว่า RIM ที่ 27.4% ในขณะเดียวกัน Android เองก็ตามมาติด ๆ ที่ 22.7%
ในรายงานเดียวกันพบว่า ระบบปฏิบัติการจากแอปเปิลและ Android เป็นระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟนที่ผู้ใช้ต้องการใช้งานที่สุดหากสามารถที่จะเลือกได้ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้หญิงมีความต้องการซื้อไอโฟนมาใช้เป็นมือถือเครื่องต่อไปมากกว่ามือถือยี่ห้ออื่น ๆ ในขณะที่ผู้ชายเริ่มที่จะสนใจซื้อมือถือที่รัน Android มาใช้เป็นมือถือเครื่องต่อไป
สำหรับรายละเอียดอื่น ๆ ที่น่าสนใจ แนะนำให้เข้าไปอ่านตามที่มาครับ