ไมโครซอฟท์เตรียมเปิดบริการ Bing Chat Enterprise แชตสำหรับใช้งานภายในองค์กร และ Microsoft 365 Copilot ที่เปิดตัวมาก่อนหน้านี้
Bing Chat Enterprise เป็น Bing Chat เวอร์ชั่นพิเศษ ที่เปิดใช้กับผู้ใช้บัญชี Microsoft 365 แบบองค์กร ในระดับ Business Standard ขึ้นไป เมื่อผู้ใช้ล็อกอิน Bing ด้วยบัญชีองค์กรก็จะเห็นเมนู Bing Chat สำหรับองค์กร ความพิเศษคือ Bing Chat Enterprise จะป้องกันข้อมูลรั่วไหลเป็นหลัก ไม่มีการเก็บล็อกการใช้งานเสมอ และรับประกันว่าข้อมูลจะไม่ถูกนำไปฝึกปัญญาประดิษฐ์ใดๆ อีก แต่ฟีเจอร์ที่หายไปคือปลั๊กอินต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหลผ่านทางปลั๊กอิน
ไมโครซอฟท์ออกรายงานถึงกลุ่มแฮกเกอร์ Storm-0558 ที่โจมตีจากประเทศจีนโดยมีแนวทางมุ่งขโมยข้อมูล โดยคนร้ายสามารถขโมยกุญแจเซ็นโทเค็นของ Azure AD ออกไปจากไมโครซอฟท์ได้ ทำให้สามารถเซ็นโทเค็นปลอมตัวเป็นบัญชีผู้ใช้อะไรก็ได้ของเหยื่อ
หน่วยงานที่ถูกโจมตีคือฝ่ายบริหารฝั่งพลเรือนของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Federal Civilian Executive Branch - FCEB) โดยพบล็อกใน Microsoft 365 ว่ามีรายงาน MailItemsAccessed
ซึ่งเป็นการเข้าอ่านเมลจากไคลเอนต์ต่างๆ แต่ที่แปลกออกไปคือค่า AppID
นั้นไม่เคยพบ แปลว่าอยู่ๆ ก็มีคนใช้อีเมลไคลเอนต์ประหลาดเข้ามาอ่านอีเมล
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ประกาศแผนเปลี่ยนฟอนต์ดีฟอลต์ใน Microsoft Office จาก Calibri ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2007 โดยมีตัวเลือกจำนวนหนึ่ง ล่าสุดไมโครซอฟท์ได้ข้อสรุปแล้ว
โดยหลังจากสอบถามความเห็นจากลูกค้า ไมโครซอฟท์บอกว่า Aptos คือฟอนต์ที่ผู้ใช้งานชอบมากที่สุด (ในตอนให้สอบถามความเห็น ฟอนต์นี้คือ Bierstadt) เป็นฟอนต์ที่ไม่มีเชิง (sans-serif) ปรับใช้ได้ในหลายภาษา
Aptos จะมาเป็นฟอนต์ดีฟอลต์ในบริการทั้งหมดของ Microsoft 365 ไม่ว่าจะเป็น Word, Outlook, PowerPoint และ Excel เริ่มมีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และอัพเดตกับผู้ใช้งานทั่วโลกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ไมโครซอฟท์ออกรายงานเหตุการณ์ที่บริการ Microsoft 365 ซึ่งรวมทั้ง Teams และ Outlook ไม่สามารถใช้งานได้หลายชั่วโมง เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยบอกว่าระบบถูกโจมตี DDoS จากกลุ่มคนที่ไมโครซอฟท์ใช้รหัสเรียกแทนว่า Storm-1359 ตามแนวทางการเรียกชื่อที่เคยประกาศก่อนหน้านี้
ไมโครซอฟท์บอกว่าผู้โจมตีใช้การสร้างเซิร์ฟเวอร์เสมือนส่วนตัว (VPS) จำนวนมากบนคลาวด์ แล้วเปิดพร็อกซีจากนั้นจึงใช้เครื่องมือ DDoS ทำให้ทราฟิกที่เข้ามาใน Microsoft 365 เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติ กระทบกับผู้ใช้งานทั่วไป ทั้งนี้ไม่มีหลักฐานว่าข้อมูลลูกค้าถูกเข้าถึงหรือนำออกไปได้
บริการ Microsoft 365 พบปัญหาในการใช้งานหลายบริการ โดยเริ่มมีรายงานผู้ใช้งานที่พบปัญหาจาก Downdetector ตั้งแต่เวลาประมาณ 21.00น. ขณะที่ไมโครซอฟท์เริ่มยืนยันปัญหาที่ Outlook เวอร์ชันเว็บตั้งแต่ 21.57น. และระบุบริการที่ได้พบปัญหาเช่นกันคือ Microsoft Teams, SharePoint Online และ OneDrive for Business
ไมโครซอฟท์อัพเดตต่อมาที่เวลา 00.26 ว่าบริการทั้งหมดกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
อย่างไรก็ตามเมื่อเวลา 03.15น. ไมโครซอฟท์แจ้งว่าพบปัญหาเดิมอีกครั้ง และกำลังตรวจสอบอยู่
ไมโครซอฟท์ขยายฟีเจอร์ Copilot ให้แอพในชุด Microsoft 365 เพิ่มฟีเจอร์ที่ชาว PowerPoint รอคอย คือการใช้ Dall-E โมเดลสร้างภาพด้วย AI ตามคำสั่ง เพื่อให้มีภาพประกอบในสไลด์โดยไม่ต้องไปตามหาภาพเองแล้ว
ในแง่เอนจินสร้างภาพด้วย Dall-E คงไม่ต่างจากแอพไมโครซอฟท์ตัวอื่นๆ ที่ใช้อยู่ก่อนแล้ว (เช่น Bing, Microsoft Designer) แต่การที่มันเข้ามาอยู่ใน PowerPoint โดยตรง ย่อมช่วยลดความจำเป็นต้องใช้งานภาพ ClipArt แบบดั้งเดิมลงได้เยอะ
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows 365 Frontline เป็นบริการสตรีมเดสก์ท็อปผ่านเบราว์เซอร์ Cloud PC สำหรับองค์กรที่มีพนักงานแบบพาร์ทไทม์หรือพนักงานแบบเข้ากะ (shift worker) ที่สลับกันมาใช้พีซีเครื่องเดียวกัน เช่น พยาบาล พนักงานในโกดังสินค้า ฯลฯ แต่ยังต้องการเดสก์ท็อปและพื้นที่เก็บข้อมูลแยกของแต่ละคน
ความแตกต่างสำคัญของ Windows 365 Frontline กับไลเซนส์ของไมโครซอฟท์แบบอื่นๆ (เช่น Windows 365 Enterprise) คือวิธีคิดค่าไลเซนส์ที่ถูกกว่ากันมาก ซื้อไลเซนส์เดียวสามารถใช้กับพนักงานได้ 3 คน เท่ากับว่าหากองค์กรมีพนักงานแบบพาร์ทไทม์ 300 คน ก็ซื้อเพียง 100 ไลเซนส์เท่านั้น (สูตรคำนวณแบบง่ายๆ คือหนึ่งวันมี 3 กะ สลับกันใช้งานพีซีเครื่องเดียวกัน)
ไมโครซอฟท์เพิ่งเปิดตัว Microsoft 365 Copilot เพิ่มฟีเจอร์ AI ให้กับแอพตระกูล Word, Excel, PowerPoint, Outlook, Teams แต่มีแอพตัวหนึ่งที่ถูกมองข้ามไปในตอนนั้นคือ OneNote
ล่าสุด OneNote ได้ฟีเจอร์ Copilot กับเขาบ้างแล้ว รูปแบบการใช้งานคล้ายกับ Word คือสามารถใช้โมเดลภาษา LLM ช่วยร่างแผน สรุปโน้ต สร้างรายการลิสต์ จัดฟอร์แมตในโน้ตของเราได้
ตัวอย่างการใช้งานที่ไมโครซอฟท์นำมาโชว์คือ ให้ร่างแผนการจัดปาร์ตี้ฉลองวันจบการศึกษา จากนั้นสั่งให้สรุปแผนที่ร่างขึ้นมาเป็น to-do list
ไมโครซอฟท์เปิดทดสอบแอปใหม่ในชื่อ Microsoft Loop เป็นระบบจดโน้ตที่สามารถใส่ตาราง กำหนดประเภทข้อมูลในแต่ละฟิลด์, และอ้างถึงข้อมูลจากเอกสารหน้าอื่นๆ ได้ง่าย ซึ่งเป็นรูปแบบคล้าย Notion ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงหลัง โดย Loop นั้นทดสอบวงปิดมาตั้งแต่ปี 2021 และตอนนี้ก็เปิดให้คนทั่วไปใช้งานแล้ว
ส่วนย่อยๆ ในเอกสารสามารถทำเป็น component เพื่อไปใช้งานที่อื่น เช่นวางใน Microsoft Teams และส่วนต่างๆ ของเอกสารใน Loop ยังสามารถเขียนคอมเมนต์, กดอีโมจิ, หรือเมนชั่นชื่อผู้ใช้คนอื่นๆ กันได้
ไมโครซอฟท์เปิดตัวฟีเจอร์ Microsoft 365 Copilot ฟีเจอร์ที่ฝังเอาปัญญาประดิษฐ์เข้าไปในซอฟต์แวร์ชุดออฟฟิศทั้งหมด ได้แก่ Word, Excel, PowerPoint, Outlook, Teams โดยไมโครซอฟท์โชว์ฟีเจอร์นี้โปรแกรมต่างๆ ได้แก่
บริการจำนวนมากของไมโครซอฟท์มีปัญหาพร้อมๆ กันโดยไม่ได้ดับไปทั้งหมด แต่มีผู้ใช้เจอปัญหาใช้งานบางอย่างไม่ได้เป็นระยะ
เว็บ Down Detector รายงานว่าบริการของไมโครซอฟท์หลายตัวมีปัญหาใกล้ๆ กัน รวมถึงขณะนี้เองก็เข้าหน้า Status ของไมโครซอฟท์ไม่ได้ทั้ง Azure Status และ Office 365 Status
อัพเดต: ไมโครซอฟท์รายงานว่าบริการทั้งหมดกลับมาเป็นปกติ ตั้งแต่ 21:47น.
ไมโครซอฟท์ออกแพ็กเกจ Microsoft 365 Basic รุ่นราคาถูก 1.99 ดอลลาร์ต่อเดือน หรือ 19.99 ดอลลาร์ต่อปี โดยได้พื้นที่ OneDrive 100GB, Outlook แบบไม่มีโฆษณา และฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม
แพ็กเกจนี้ไม่ใช่ของใหม่ เพราะไมโครซอฟท์มีแพ็กเกจ OneDrive Standalone 100GB ราคา 1.99 ดอลลาร์ต่อเดือนอยู่แล้ว สิ่งที่เปลี่ยนคือชื่อแพ็กเกจมาใช้แบรนด์ Microsoft 365 และเพิ่มของที่ได้อีกหน่อย เริ่มขายวันที่ 30 มกราคม 2023 เป็นต้นไป (ผู้ใช้แพ็กเกจ OneDrive 100GB เดิมจะย้ายมาเป็นแพ็กเกจใหม่ให้อัตโนมัติ)
ไมโครซอฟท์ประกาศเปิดตัวโครงการ Skills for Jobs เพื่อเสริมสร้างทักษะดิจิทัลที่จำเป็นต่อตำแหน่งงานยอดนิยม พร้อมทักษะพื้นฐาน ได้แก่ Digital Literacy & Productivity, Soft Skills และ Entrepreneurship โดยเปิดให้เรียนรู้หลักสูตรออนไลน์เพิ่มเติมอีกกว่า 350 คอร์สผ่าน LinkedIn Learning ได้ฟรีจนถึงปี 2568 พร้อมประกาศนียบัตร Career Essentials เพิ่มโอกาสในการได้รับจ้างงาน
โดยนับเป็นการต่อยอดจากโครงการ Global Skills Initiative (GSI) ที่ได้ให้การสนับสนุนกับผู้คนกว่า 80 ล้านคนทั่วโลกตั้งแต่ปี 2563 (มีผู้เรียนชาวไทยรวมกว่า 534,000 ราย)
ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ใหม่ให้กับ Excel ประจำเดือนธันวาคม 2022 มีของใหม่ที่น่าสนใจสองอย่างคือ Formula Suggestions และ Formula by Example ซึ่งมีผลกับผู้ใช้งาน Excel เวอร์ชันบนเว็บ
ฟีเจอร์แรก Formula Suggestions เป็นการแนะนำสูตรคำนวณ โดยเมื่อผู้ใช้งานพิมพ์ = ในเซลล์ Excel ก็จะแนะนำสูตรที่น่าจะต้องการใช้ขึ้นมา ในตอนนี้รองรับเฉพาะ SUM, AVERAGE, COUNT, COUNTA, MIN และ MAX รองรับเฉพาะเนื้อหาภาษาอังกฤษในตอนนี้ (ดูตัวอย่างท้ายข่าว)
อีกฟีเจอร์คือ Formula by Example โดยเมื่อผู้ใช้งานเริ่มใส่ข้อมูลแบบ manual แต่มีแพทเทิร์น ติดต่อกันหลายเซลล์ Excel จะแนะนำผลลัพธ์ที่เหลือให้ พร้อมกับแนะนำสูตรที่ใช้งานมาให้เพื่อยืนยัน คล้ายกับฟีเจอร์ Flash Fill
ปี 2022กำลังผ่านไปพร้อมกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจหลายอย่างที่สร้างความผันผวนให้กับธุรกิจอย่างหนัก ทำให้องค์กรจำนวนมากมองหาหนทางประหยัดค่าใช้จ่ายในปี 2023 ที่จะถึงนี้ การนำพาธุรกิจให้เดินต่อ สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ก็หนีไม่พ้นเรื่องของโดยการนำเทคโนโลยีมาช่วยขับเคลื่อน แล้วจะทำอย่างไรให้การลงทุนนั้นคุ้มค่า ไม่ต้องจ่ายซ้ำซ้อน ในขณะเดียวกันก็ต้องคงความปลอดภัยให้ได้มาตรฐานสูงสุดไปพร้อมกัน การมองหาโซลูชั่นที่ปกป้ององค์กรตั้งแต่เซิร์ฟเวอร์ภายในไปจนถึงอุปกรณ์ต่างๆ ของพนักงานจำนวนมากที่ต้องได้รับการปกป้องอย่างครบถ้วน ตามแนวทาง จ่ายน้อยกว่าแต่ได้มากกว่า (do more with less) จึงเป็นเทรนด์สำคัญสำหรับปี 2023 นี้
ไมโครซอฟท์ประกาศเป็นพันธมิตรกับกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (London Stock Exchange Group - LSEG) โดยไมโครซอฟท์จะเข้าซื้อหุ้นของ LSEG จากผู้ถือหุ้นเดิม คือ Blackstone/Thomson Reuters Consortium สัดส่วนรวม 4% ขณะที่ LSEG ก็จะหันมาใช้บริการของไมโครซอฟท์ทั้ง Microsoft 365 และ Azure
LSEG สัญญาว่าช่วงสิบปีข้างหน้าจะใช้บริการคลาวด์และซัพพอร์ตจากไมโครซอฟท์ รวมอย่างน้อย 2.8 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่มีโอกาสอื่นๆ รวมด้วย เช่น การเชื่อม LSEG Workspace เข้ากับ Microsoft 365 ก็น่าจะทำให้รายได้ของไมโครซอฟท์จากดีลนี้รวมสูงกว่า 5 พันล้านดอลลาร์
จากข่าว ไมโครซอฟท์จะเลิกใช้ชื่อ Office เปลี่ยนเป็น Microsoft 365 ล่าสุดไมโครซอฟท์โชว์คลิปของแอพ Microsoft 365 ตัวใหม่บนวินโดวส์แล้ว
แอพ Microsoft 365 ตัวใหม่มาแทนแอพ Office Hub ของเดิม หน้าที่หลักของมันคือเป็นจุดรวมเอกสารต่างๆ ในระบบ Microsoft 365 ที่เราใช้งาน แต่ก็รองรับการแสดงไฟล์ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในชุด Office ด้วย (ในคลิปโชว์ตัวอย่างไฟล์ PDF และ Figma)
ฟีเจอร์อื่นๆ ของแอพ Microsoft 365 คือการแสดงแอพขององค์กรเอง และแอพจากบริษัทอื่นๆ (third party) ที่เข้ามาเชื่อมต่อกับระบบ Microsoft 365, หน้าแสดง Feed บอกสิ่งที่เราควรรู้ประจำวัน เช่น นัดหมายประชุมถัดไป หรือ เนื้อหาที่โพสต์-ส่งทางเมลจากคนที่เราติดตาม
เราเห็นไมโครซอฟท์รีแบรนด์ Office 365 มาเป้น Microsoft 365 ตั้งแต่ปี 2020 แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์กำลังไปไกลกว่านั้น ถึงขั้นจะเลิกใช้แบรนด์ "Office" ไปเลย และเปลี่ยนมาเป็น Microsoft 365 แทน
การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลเฉพาะตัวแบรนด์คำว่า Office เท่านั้น ไม่มีผลต่อแอพในชุดอย่าง Word, Excel, PowerPoint ที่ยังเหมือนเดิมทุกอย่าง
สิ่งที่จับต้องได้ที่สุดคือแอพ Office ทั้งบนมือถือ, บนวินโดวส์ และเว็บแอพ Office.com จะถูกรีแบรนด์ใหม่เป็นแอพชื่อ Microsoft 365 แทน พร้อมโลโก้ใหม่เป็นวงหกเหลี่ยมสีม่วง แทนตัว O สีส้มแดงที่เราคุ้นเคยกันมานาน
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Teams Premium ซึ่งเพิ่มเครื่องมือต่าง ๆ ให้กับการใช้งาน Microsoft Teams เดิม ทั้งระบบจัดการความปลอดภัย, AI เสริมประสิทธิภาพใช้งาน ตลอดจนระบบบันทึกเนื้อหาย้อนหลัง
ตัวอย่างเครื่องมือที่เพิ่มมาเช่น Intelligent Recap ใช้ AI ตัดสรุปเนื้อหาการประชุมที่สำคัญ เช่น ส่วนที่เราถูกพูดถึง, เนื้อหาแชร์บนหน้าจอที่สำคัญ เพื่อให้การดูย้อนหลังไม่ต้องใช้เวลาเท่ากับความยาวการประชุม เหมือนมีคนช่วยจัดบันทึกการประชุมให้อีกที
ไมโครซอฟท์เปิดตัวแอป Places ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Microsoft 365 ซึ่งอธิบายว่าเพื่อรองรับการทำงานยุคใหม่แบบไฮบริด ที่มีทั้งคนทำงานออนไลน์ และคนที่ทำงานในสำนักงาน
Microsoft Places ให้ทีมงานอัพเดตข้อมูลแต่ละคน ว่าวางแผนทำงานจากที่บ้าน ในที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นในวัน-เวลาใดบ้าง เพื่อให้พนักงานแต่ละคนสามารถบริหารจัดการเวลาที่เหมาะสม เช่น เวลานี้ควรเดินทางไปพบทีมงานที่ใด หรือควรออกจากบ้านเวลาใดเพื่อเลี่ยงการจราจร เป็นต้น
บริการนี้ยังสามารถรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โต๊ะทำงานที่ว่าง ห้องประชุมที่ว่าง ห้องประชุมที่ใกล้ที่สุดสำหรับการนัดหมาย ในภาพรวมองค์กรยังสามารถบริหารจัดการการใช้พื้นที่ได้ดีขึ้นอีกด้วย
ไมโครซอฟท์เปิดบริการเว็บแอปใหม่ในชื่อ Designer เป็นบริการสร้างภาพกราฟิกสำหรับโพสโซเชียลหรือใช้ในสไลด์นำเสนอ โดยเบื้องหลังใช้ปัญญาประดิษฐ์สร้างภาพ DALL∙E 2 ของ OpenAI
ตอนนี้ Designer ยังเป็นบริการระดับพรีวิว ต้องลงทะเบียนแสดงความสนใจรอคิวเข้าใช้งาน แต่ไมโครซอฟท์ก็ระบุว่าในอนาคตมันจะเป็นบริการฟรี พร้อมกับฟีเจอร์พรีเมี่ยมจะกันให้กับผู้สมัคร Microsoft 365 และยังมีแผนจะรวมบริการนี้ไว้ใน Edge
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Meta โดยนำผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ มาเป็นพาร์ตเนอร์ที่รองรับการทำงานกับแพลตฟอร์ม VR ของ Meta ซึ่งมีทั้งส่วนการนำ VR มาใช้ในการทำงาน การเล่นเกม ตลอดจนความบันเทิงต่าง ๆ
อย่างแรกคือระบบอวตารเสมือน Mesh for Microsoft Teams จะรองรับการทำงานกับเฮดเซต Meta Quest ช่วยให้เชื่อมต่อกันได้สมจริงกว่าเดิม
ความร่วมมือถัดมาคือตระกูลแอป Microsoft 365 จะรองรับการทำงานบนอุปกรณ์ Meta Quest ทำให้เปิดอ่านและใช้งานไฟล์ Word, Excel, PowerPoint, Outlook และ SharePoint ได้บน VR ซึ่งไมโครซอฟท์บอกว่าในอนาคตจะรองรับการเปิดคลาวด์พีซีที่รัน Windows 365 ได้ด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศว่า OneDrive บริการสตอเรจออนไลน์ มีอายุครบ 15 ปีแล้ว (เปิดตัว 9 สิงหาคม 2007) ซึ่งตัวบริการก็มีการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่มาโดยตลอด ส่วนตัวเลขผู้ใช้งานนั้น ไมโครซอฟท์บอกว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 240% และมีลูกค้าองค์กรรายใหญ่หลายแห่งเลือกใช้งาน
เพื่อฉลองครบรอบ 15 ปี ไมโครซอฟท์จึงประกาศปรับปรุงหน้าแรกของ OneDrive รูปแบบใหม่เรียกว่า OneDrive Home เพื่อช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงล่าสุด รวมทั้งมีฟิลเตอร์แยกประเภทต่าง ๆ ของไฟล์ และดูกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Viva Engage พอร์ทัลใหม่ที่จะเพิ่มเข้ามาใน Microsoft Teams เพื่อให้การสนทนาระหว่างเพื่อนร่วมงาน มีชีวิตชีวาและสีสันมากขึ้น ซึ่งไฮไลท์สำคัญก็คือความสามารถในการใส่วิดีโอแบบ Stories
ในหน้าของ Viva Engage จะมีพื้นที่แสดงโพสต์ต่าง ๆ ของเพื่อนร่วมงานเรียกว่า Storyline มีเนื้อหา 2 รูปแบบคือ Stories ในแถบบนสุด และโพสต์ทั่วไปทั้งแบบข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ซึ่งเรียกส่วนนี้ว่าฟีด
Stories ใน Viva Engage แตกต่างจาก Stories ในแอปโซเชียลอื่น โดยจะไม่ถูกลบออกไปใน 24 ชั่วโมง แต่จะแสดงเรียงในหน้าโปรไฟล์ของผู้ใช้งานแต่ละคน ซึ่งสามารถเข้าชมได้ผ่านแอปอื่นด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศเตือนวันสิ้นสุดการซัพพอร์ต Microsoft 365 Apps (ซึ่งก็คือแอพตระกูล Office ทั้งหลาย) รวมถึง Office 2013 และ Office 2016 บนระบบปฏิบัติการ Windows 7 และ Windows 8.1 ในวันที่ 10 มกราคม 2023 วันเดียวกับระยะสิ้นสุดการซัพพอร์ตของ Windows 8.1
ไมโครซอฟท์หยุดซัพพอร์ต Windows 7 ไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 แต่ลูกค้าบางกลุ่มอาจยังจ่ายเงินซื้อ Extended Security Updates (ESU) เพิ่มอีก 3 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 10 มกราคม 2023 เช่นกัน (เท่ากับว่า Windows 7 ESU จะหมดอายุพร้อม Windows 8.1) ส่วน Office เวอร์ชันที่ใหม่กว่านั้นคือ 2019 ไม่รองรับ Windows 7/8.1 ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว