บริษัท Nielsen Entertainment เผยข้อมูลอุตสาหกรรมเพลงในปี 2014 จากระบบวิเคราะห์และเก็บสถิติ Nielsen SoundScan ได้ข้อมูลที่น่าสนใจคือ การขายเพลงผ่านช่องทางดิจิทัลนั้นมีสัดส่วนที่ลดลง 9% เหมือนปีที่แล้ว สวนทางกับการสตรีมเพลงที่เติบโตถึง 54% ซึ่งหากมองโดยรวมของตลาดดิจิทัลแล้วก็ยังคงเติบโตสูงอยู่
หากมองยอดขายเพลงเป็นอัลบั้ม (ทั้งแบบ physical และ digital) พบว่าปรับตัวลดลงถึง 11.2% แต่สิ่งที่น่าสนใจคือยอดขายแผ่นเสียงแบบไวนิลกลับเติบโตสูงถึง 52% ถือเป็นยอดขายที่เติบโตดีที่สุดตั้งแต่ปี 1991 แต่ทั้งนี้ยอดขายแผ่นเสียงแบบไวนิลมีเพียง 3.6% ของยอดขายเพลงเป็นอัลบั้มเท่านั้น และหากดูยอดขายซื้อขาดเป็นเพลงก็มียอดขายลดลง 12.5%
Google Search เริ่มแสดงเนื้อเพลงในหน้าผลการค้นหาแล้ว ในกรณีที่เราค้นด้วยชื่อเพลงแล้วตามด้วยคำว่า "lyrics" โดยกูเกิลจะแสดงเนื้อเพลงบางส่วน พร้อมลิงก์สำหรับแสดงเนื้อเพลงแบบเต็มๆ แบบเว็บ Google Play (พร้อมปุ่มกดซื้อเพลงบน Google Play Music)
กูเกิลระบุว่าเนื้อเพลงที่แสดงนั้นถูกลิขสิทธิ์เพราะกูเกิลซื้อสิทธิการใช้เนื้อเพลงมาด้วย
กูเกิลไม่ใช่รายแรกที่แสดงเนื้อเพลงในหน้าผลการค้นหา เพราะ Bing ทำมาก่อนแล้วเมื่อเดือนตุลาคม อย่างไรก็ตาม คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดย่อมหนีไม่พ้นเว็บรวมเนื้อเพลงทั้งหลาย ที่อยู่ได้ด้วยทราฟฟิกการค้นหาเนื้อเพลงจากกูเกิล
หลังจากที่ลือกันมานาน ในที่สุดทางไมโครซอฟท์ก็ประกาศขายกิจการ MixRadio ให้กับทาง LINE จากประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการแล้ว โดยไมโครซอฟท์ระบุว่าการขายกิจการของ MixRadio ครั้งนี้จะช่วยเพิ่มยอดผู้ใช้ของ MixRadio ให้มากขึ้นจากฐานผู้ใช้เดิมของ LINE
ทั้งนี้ผู้ใช้งาน MixRadio เดิมจะยังคงได้รับประสบการณ์ที่ดีเหมือนเดิม, ทีมงานของ MixRadio จะยังคงอยู่ที่เมืองบริสตอล สหราชอาณาจักรเหมือนเดิม และไมโครซอฟท์จะยังคงมีส่วนช่วยในการพัฒนา MixRadio บน Lumia ด้วย
ทำธุรกิจมาหลายอย่าง ในที่สุด LINE ก็หันมาทำธุรกิจเกี่ยวกับเสียงเพลงจนได้ ล่าสุดได้เปิดตัว LINE Music บริการฟังเพลงออนไลน์
LINE Music เป็นการร่วมลงทุนของ LINE, Avex Digital และ Sony Music Entertainment โดยจะมีการแบ่งรายได้ระหว่างกันในสัดส่วน 4:2:4 ซึ่งงานนี้มีการเตรียมตัวกันมาตั้งแต่เดือนตุลาคม แต่ด้วยความไม่พร้อมบางอย่างทำให้ต้องเลื่อนการเปิดตัวบริการนี้มาเป็นวันนี้ ส่วนกำหนดการเริ่มให้บริการจริงนั้นยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ
คราวนี้ LINE ก็จะให้บริการครบแทบทุกรูปแบบความบันเทิง ทั้งเกม ทั้งวิดีโอ และเสียงเพลง
อาดิดาส (Adidas) ประกาศความร่วมกับมือกับ MixRadio (ซึ่งยังไม่แยกจากไมโครซอฟท์เพราะยังหานักลงทุนไม่ได้) ในการผนวกบริการเพลงเข้ากับ miCoach SMART RUN นาฬิการันแอนดรอยด์สำหรับนักวิ่ง โดยอาดิดาสจะปล่อยอัพเดตให้นาฬิกา SMART RUN ในอนาคต
อาดิดาสกล่าวว่า ได้เตรียมรายการเพลง (playlist) ที่จะกระตุ้นหรือสร้างแรงบันดาลใจในการออกกำลังกายให้ถึงเป้าที่ผู้ใช้ตั้งไว้ ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดเพลงไปฟังแบบออฟไลน์ได้ (นาฬิกามีหน่วยความจำภายใน 4 กิกะไบต์) อย่างไรก็ตาม MixRadio มีให้บริการเฉพาะในบางประเทศเท่านั้น (ซึ่งรวมถึงไทย)
หลังจากที่ทางไมโครซอฟท์ยืนยันว่า MixRadio จะแยกออกจากบริษัท แต่ดูเหมือนว่าแผนการครั้งนี้ไม่ค่อยง่ายแล้ว เพราะว่าล่าสุด เว็บไซต์ TechCrunch รายงานจากแหล่งข่าววงในว่าไมโครซอฟท์กำลังมองหานักลงทุนที่จะเข้ามาอุ้มกิจการ MixRadio ต่อจากไมโครซอฟท์ แต่ปัญหาคือ นักลงทุนหลายรายอาจจะเมินดีลนี้ เนื่องจากนักลงทุนหลายรายลงทุนกับคู่แข่งอย่าง Spotify หรือ Deezer ไปแล้ว
จากข่าวเปิดตัวบริการเพลงออนไลน์ YouTube Music Key ที่เสียค่าบริการ 9.99 ดอลลาร์ต่อเดือน แล้วจะได้สิทธิใช้บริการเพลงออนไลน์อีกตัวคือ Google Play Music All Access ด้วย ทำให้เกิดคำถามว่าผู้ที่เสียเงินค่าสมาชิก All Access ไปแล้วจะทำอย่างไร
ล่าสุดกูเกิลตอบมาแล้วว่าสมาชิก Google Play Music All Access จะได้สิทธิ YouTube Music Key ด้วยเช่นกัน โดยจะเริ่มให้บริการในสัปดาห์หน้าเป็นต้นไป และแอพ Google Play Music ก็จะเพิ่มบริการมิวสิควิดีโอแบบไม่มีโฆษณาให้ด้วยเช่นกัน
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าระยะยาวแล้วกูเกิลจะรวมบริการทั้งสองตัวเข้าด้วยกันหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คือทั้งสองตัวยังไม่เปิดบริการในไทยครับ
หลังจากลือกันมานานเป็นปี ในที่สุดกูเกิลก็เปิดตัวบริการฟังเพลงออนไลน์แบบเหมาจ่ายรายเดือน YouTube Music Key อย่างเป็นทางการ โดยจะเริ่มให้บริการในสัปดาห์หน้าเป็นต้นไป
YouTube Music Key จะคิดค่าบริการ 9.99 ดอลลาร์ต่อเดือน (ช่วงเปิดตัวลดราคาเหลือ 7.99 ดอลลาร์) ให้ฟังเพลง/ดูมิวสิควิดีโอจาก YouTube แบบไม่จำกัด ไม่มีโฆษณา ฟังแบบออฟไลน์ได้ และเล่นวิดีโอแบบ background ได้ (ปิดจอมือถือหรือสลับไปแอพอื่นแล้วเพลงยังเล่นต่อ) ผู้สมัครบริการนี้จะยังได้สิทธิฟังเพลงจาก Google Play Music ที่มีเพลงกว่า 30 ล้านเพลงด้วย
Daniel Ek ซีอีโอ Spotify เขียนบล็อกตอบโต้หลัง Taylor Swift ตัดสินใจถอดเพลงทั้งหมดออกจากระบบ พร้อมกับข่าวว่า Spotify จ่ายเงินให้ศิลปินน้อยมาก โดย Ek ระบุว่า Spotify จ่ายเงินให้ศิลปินแล้วรวมกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2008 และ 1 พันล้านดอลลาร์ก็เป็นการจ่ายในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาเท่านั้น สะท้อนแนวโน้มการเติบโตของการฟังเพลงสตรีมมิ่งได้ดี
ในตอนแรก ศิลปินหลายรายมีท่าทีที่ไม่แน่ใจกับบริการสตรีมมิ่งเพลงอย่าง Spotify ซึ่งสร้างรายได้ให้ศิลปินเพียงน้อยนิดต่อการฟังเพลงหนึ่งครั้ง นอกจากนี้ยังมีความไม่มั่นใจว่าบริการดังกล่าวจะทำให้เสี่ยงต่อการนำไปละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ศิลปินบางรายก็ได้ตัดสินใจถอดอัลบั้มตัวเองออกจาก Spotify ด้วยเหตุผลดังกล่าว
แต่ล่าสุด Cobalt Music Publishing บริษัทที่เป็นตัวแทนให้แก่ศิลปินอย่าง Paul McCartney บอกว่าศิลปินจากค่ายตัวเองได้รับรายได้ค่าส่วยจาก Spotify ในยุโรปมากกว่าจาก iTunes ถึง 13 เปอร์เซ็นต์
แม้ว่า Wi-Fi ตามสถานีรถไฟฟ้าหรือสถานีขนส่งจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีการรวมตัวกันของนักดนตรีเพื่อที่จะจัดแสดงการดนตรีขึ้นจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินของนครนิวยอร์ก แต่แทนที่จะเป็นการรวมตัวกันตามสถานีใดสถานีหนึ่ง นักดนตรีแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มจะกระจายตัวไปตามสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินต่างๆ แล้วใช้บริการ Wi-Fi ของแต่ละสถานี เพื่อเล่นดนตรีสดแบบ streaming แล้วนำมารวมกัน โดยระหว่างเล่นจะรอรับคำสั่งผู้ควบคุมวง (conductor) ไปด้วย (ลองดูวิดีโอท้ายข่าว เพื่อเข้าใจได้มากขึ้น)
ยุคของการขายเพลงออนไลน์แยกเป็นเพลงอาจเข้าสู่ช่วง "ขาลง" อย่างชัดเจน เพราะมีข่าว (ยังไม่ยืนยัน) ว่าหัวหอกของวงการนี้อย่าง iTunes Store มียอดขายเพลงลดลง 13-14% เทียบกับปีที่ผ่านมา
สถิติรายได้จากการดาวน์โหลดเพลงทั่วโลกในปี 2013 ลดลง 2.1% เทียบกับปี 2012 ดังนั้นข่าวข้างต้นอาจเป็นสัญญาณว่ารายได้ในปี 2014 จะลดลงกว่าเดิมมาก
ตลาดเพลงออนไลน์เริ่มขยับเข้าสู่บริการเพลงสตรีมมิ่งแบบเหมาจ่ายรายเดือนมาได้สักพักแล้ว และเป็นหนึ่งในเหตุผลที่แอปเปิลซื้อ Beats Music เข้ามาเสริมทัพ อย่างไรก็ตาม ตลาดนี้ไม่ง่ายเพราะมีการแข่งขันสูงจากผู้เล่นหลายราย เช่น Spotify, Pandora, Deezer
หลังจากเมื่องานเปิดตัว iPhone 6 และ 6 Plus รวมถึง Apple Pay และ Apple Watch ไป ก็ได้มีการประกาศแจกอัลบั้มใหม่ของ U2 อย่างอัลบั้ม "Songs of Innocence" ให้กับผู้ใช้งาน iTunes ทุกคนทั่วโลก แต่ทว่า การแจกอัลบั้มครั้งนี้กลับสร้างความไม่ค่อยพอใจให้กับผู้ใช้สักเท่าไร เพราะการแจกครั้งนี้มาในรูปแบบเชิงยัดเยียดเสียมากกว่า
เคยหรือไม่ที่หลายครั้งเราร้องเพลงโปรดได้ แต่เกิดอาการลืมเนื้อร้องขึ้นมาอย่างกะทันหัน หรือไม่ก็มีบางคำที่เราอาจจะลืมไปจากเนื้อร้อง/ออกเสียงไม่ชัด ล่าสุด Bing ได้เพิ่มคุณสมบัติในการค้นหาเข้าไป โดยจะแสดงเนื้อเพลงที่เราต้องการขึ้นมาทันที (ภาพดูได้ท้ายข่าว)
โดยเนื้อหาของเพลงที่เราต้องการหาเนื้อร้อง จะแสดงขึ้นมาเป็นผลการค้นหาแรก และแสดงแบบเต็มๆ โดยทีมงานระบุว่าจะใช้เนื้อเพลงที่มีคุณภาพดีที่สุด (ในที่นี้คงหมายถึงตรงกับที่เพลงร้องมากที่สุด) เพื่อให้ผลถูกต้องที่สุด (ผมทดสอบกับเพลง I (Who Have Nothing) ของ Tom Jones ก็ขึ้นครับ)
Valve เปิดตัว Steam Music Player ตัวเล่นเพลงในระบบของ Steam รองรับการเล่นเพลงที่ชอบขณะเล่นเกมได้ รูปแบบการใช้งานสามารถสั่งได้จากหน้า Steam Overlay สั่งเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องออกจากเกมก่อน
ผู้ใช้งานสามารถสั่งให้ Steam Music Player เล่นไฟล์ MP3 ในเครื่องได้ และยังรองรับ "Steam Soundtracks DLC" หาเพลงประกอบเกมมาฟังได้ฟรี ถ้าหากเราซื้อเกมนั้นและติดตั้งไว้ในเครื่องแล้ว
เว็บไซต์ TechCrunch อ้างแหล่งข่าววงในว่าแอปเปิลจะปิดบริการเพลงออนไลน์ Beats Music (ที่ได้มาจากการซื้อ Beats) และตอนนี้เริ่มโยกวิศวกรในทีม Beats Music ไปทำงานในทีมอื่นๆ บ้างแล้ว
อย่างไรก็ตาม โฆษกของแอปเปิลออกมาโต้ว่าการปิด Beats Music นั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
เว็บไซต์ Re/code เช็คข้อมูลเพิ่มเติมจากข่าวนี้โดยแหล่งข่าวบอกว่าแอปเปิลจะไม่ "ปิด" Beats Music แต่อาจปรับเปลี่ยนชื่อแบรนด์แทน
Beats Music มีสมาชิกไม่เยอะนัก (หลักแสน) เมื่อเทียบกับธุรกิจเพลงใต้แบรนด์ iTunes ของแอปเปิลแล้วมีฐานลูกค้าน้อยกว่ากันมาก
เราเห็นข่าวลือเรื่อง YouTube จะเปิดบริการเพลงออนไลน์แบบเสียเงินอยู่เรื่อยๆ ส่วนข่าวลือรอบล่าสุดบอกว่ากูเกิลจะใช้ชื่อ YouTube Music Key ทำตลาดครับ
บริการของ YouTube Music Key จะเหมือนบริการเพลงสตรีมมิ่งอื่นๆ คือฟังได้เฉพาะเพลง (ไม่รวมวิดีโอ) ฟังแบบออฟไลน์ได้ และไม่มีโฆษณา ส่วนค่าบริการอยู่ที่เดือนละ 9.99 ดอลลาร์ มีให้ทดลองใช้ฟรีก่อน 30 วัน
ข่าวรอบนี้เว็บไซต์ Android Police ได้ภาพหน้าจอของบริการ YouTube Music Key บน YouTube for Android มาด้วย จึงมีโอกาสสูงที่ข้อมูลนี้น่าจะเป็นของจริง (นอกจากนี้ยังค้นพบข้อมูลว่ากูเกิลจดโดเมน youtubemusickey.com เรียบร้อยแล้ว)
ท่าทีของแอปเปิลต่อ Beats ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เพียงไม่นานหลังการซื้อกิจการเสร็จสมบูรณ์ แอปเปิลก็มอบหมายงานให้ Ian Rogers ผู้บริหารสูงสุดของ Beats Music ฝั่งที่ดูแลกิจการเพลงออนไลน์ เข้ามาดูแลบริการวิทยุออนไลน์ iTunes Radio อีกหน้าที่หนึ่ง
การมอบหมายงานให้ Ian Rogers รับผิดชอบบริการเพลงออนไลน์ทั้งสองตัวของแอปเปิล ย่อมทำให้บริการทั้งสองตัวทำงานสอดคล้องกันมากขึ้น ส่วนในระยะยาวนั้นแอปเปิลจะควบรวม Beats Music กับ iTunes Radio หรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไปครับ
ที่มา - Wall Street Journal
ศิลปินสาวชื่อดัง Katy Perry ออกมิวสิกวิดีโอใหม่ This Is How We Do โดยมีอุปกรณ์ประกอบฉากเป็นสมาร์ทโฟน Lumia 930 สีเขียว และฉากการสนทนาวิดีโอผ่าน Skype อย่างชัดเจน (ประมาณนาทีที่ 1:50)
ในอดีต Katy Perry เคยร่วมมือกับไมโครซอฟท์/โนเกีย เพื่อโปรโมท Lumia 1020 ในมิวสิกวิดีโอเพลง Roar มาก่อนแล้ว
คลิปของทั้งสองเพลงอยู่ท้ายข่าวครับ
ที่มา - Windows Phone Central
This Is How We Do
เบื้องหลังเพลง Roar
Sonos ผู้ผลิตลำโพงไร้สายชื่อดัง ประกาศรองรับการเล่นเพลงและไฟล์เสียงจากเว็บไซต์ฝากไฟล์ชื่อดัง SoundCloud แล้ว
ก่อนหน้านี้ Sonos รองรับการเล่นเพลง "โดยตรง" จากบริการเพลงออนไลน์ชื่อดังหลายตัว เช่น Google Play Music, TuneIn Radio และ Deezer รูปแบบการใช้งานคือเชื่อมบัญชีผ่านแอพ Sonos Controller App บนสมาร์ทโฟนก่อน แล้วสั่งเล่นเพลงจากแอพ Sonos ไปออกลำโพงตัวที่ต้องการได้เลย
กูเกิลซื้อกิจการ Songza บริการแนะนำเพลงใหม่ที่น่าสนใจ โดยไม่เปิดเผยมูลค่า (The New York Times รายงานว่าอาจสูงถึง 39 ล้านดอลลาร์)
บริการเพลงสมัยใหม่มักนิยมใช้สถิติการฟังของผู้ใช้มาวิเคราะห์เป็น playlist แต่ Songza เลือกใช้ "ผู้เชี่ยวชาญ" มาคัดเลือกเพลงเป็น playlist ตามโทนของเพลงแนวต่างๆ
กูเกิลบอกว่าบริการ Songza เดิมจะยังคงอยู่ต่อไป แต่กูเกิลจะผนวกเอาฐานข้อมูลเพลงของ Songza เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Google Play Music และในระยะยาวจะรวมถึง YouTube ด้วย
กูเกิลยังเดินหน้าเชื่อมประสบการณ์การค้นหาบนมือถือเข้ากับแอพต่างๆ (ทั้งที่เป็นของตัวเองและคู่ค้า) ต่อไป ฟีเจอร์ใหม่ของ Google Search บน Android คือเมื่อเราค้นหาชื่อศิลปิน-นักร้อง หน้าผลการค้นหาจะแสดงหมวด Listen on Your Apps ขึ้นมาเป็นอย่างแรก พร้อมรายชื่อแอพฟังเพลงที่เราติดตั้งอยู่ในเครื่อง
ตอนนี้ฟีเจอร์นี้รองรับแอพฟังเพลงดังนี้
เบื้องต้นฟีเจอร์นี้ยังใช้ได้เฉพาะในสหรัฐ แต่กูเกิลก็บอกว่ากำลังขยายไปยังประเทศอื่นๆ รวมถึงแอพฟังเพลงตัวอื่นๆ อย่าง Deezer ด้วย
วันนี้ Amazon ได้เปิดตัว Prime Music บริการสตรีมมิงเพลงออนไลน์ โดยค่าบริการยังไม่เปิดเผยออกมา แต่สามารถทดลองใช้ได้ฟรี 30 วัน ขณะที่สมาชิก Amazon Prime สามารถใช้บริการได้ฟรี
Prime Music มีเพลงที่ให้บริการกว่าล้านเพลง และมีให้เลือกฟังแบบเพลย์ลิสต์ด้วยเช่นกัน โดยไม่มีโฆษณาแทรก เพียงแต่ช่วงแรก จะยังไม่สามารถให้บริการเพลงจากค่าย Universal Music ได้ และณ ตอนนี้เป็นการให้บริการสตรีมมิงเพลงบนหน้าเว็บก่อนเท่านั้น และจะมีแอพพลิเคชันบน Kindle Fire, iOS, Android, พีซี และเครื่องแมคออกมาในอนาคต ซึ่งสามารถเปิดฟังแบบออฟไลน์ได้ตลอดเวลา
ที่มา - The Verge
หลังจากที่แอปเปิลประกาศเข้าซื้อกิจการ Beats ไปเมื่อวานนี้ ล่าสุด ทางไมโครซอฟท์ (อีกแล้ว) ทวีตพร้อมรูปภาพแอปเปิลที่ถูกกัดเป็นลายโลโก้ Nokia MixRadio โดยมีข้อความเขียนว่า "Beat this! Exclusive apps for your ears only ;)"
ในทวีตดังกล่าว ยังลงท้ายด้วย hashtag #MixRadio และแนบลิงก์ข่าวเกี่ยวกับการที่แอปเปิลประกาศว่าจะทำแอพ Beats Music บน Android และ Windows Phone ต่อไป จากเว็บไซต์ The Verge
หลังจากดีลแอปเปิลซื้อกิจการ Beats Electronics และ Beats Music ไปเมื่อเช้านี้ หลายคนเริ่มกังวลแล้วว่า อนาคตของ Beats Music ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จะเป็นอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะการรองรับข้ามแพลตฟอร์มทั้ง iOS, Android และ Windows Phone ว่าจะถูกปิดลงหรือไม่
และข้อสงสัยเหล่านี้ก็หมดไป เมื่อซีอีโอของแอปเปิลอย่างทิม คุก บอกกับผู้สื่อข่าวของ Financial Times ว่า Beats Music จะยังคงรองรับ Android และ Windows Phone เหมือนเดิมหลังจากที่ดีลจบลงแล้ว โดยคุกย้ำว่า "ทั้งหมด เป็นเรื่องเกี่ยวกับเพลง" ("it's all about music")