การประชุมสุดยอดด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตของสหประชาชาติ หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Internet Governance Forum (IGF) ประจำปีนี้ ได้เปิดการประชุมอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อบ่ายวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น ที่ศูนย์ประชุมและจัดแสดง Lütfi Kırdar ณ กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี โดยประกอบด้วยตัวแทนจากทางสหประชาชาติ รัฐบาลตุรกี ตัวแทนภาครัฐประเทศต่างๆ และผู้มีส่วนร่วม
Larry Magid นักเขียนของนิตยสาร Forbes ออกมาระบุถึงประเด็นและทิศทางของการประชุม IGF (Internet Governance Forum อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่) ในปีนี้ โดนระบุว่าประเด็นที่น่าจะอยู่ในความสนใจสำคัญหลักๆคือเรื่องของ Network Neutrality (ที่เรารู้จักกันในนาม Net Neutrality), สิทธิมนุษยชน และการป้องกันเยาวชนเป็นหลัก
ปัญหาความเป็นกลางของอินเทอร์เน็ต หรือ net neutrality ในสหรัฐฯ เริ่มเป็นปัญหาที่กระทบผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปแล้ว เมื่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP เริ่มจำกัดความเร็วในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ เว้นแต่ว่าเจ้าของบริการนั้น ๆ ยอมเสียเงินให้กับทาง ISP เอง ซึ่งก่อนหน้านี้บริการที่กระทบกับนโยบายเก็บเงินสองทางของ ISP นี้อย่างจัง คือบริการสตริมมิ่งภาพยนตร์อย่าง Netflix
ผู้บริหารของ Comcast นาย David Cohen บอกว่า เขาคาดว่าบริษัทของเขา ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ จะหันมาเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ตตามการใช้งานจริงภายใน 5 ปีข้างหน้านี้ โดยเขาบอกว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะใช้งานไม่เกินโควต้าที่ให้ต่อเดือนอย่างแน่นอน
นาย Cohen บอกว่าก่อนหน้านี้เขาไม่เคยคิดว่าจะต้องหันมาทำอะไรแบบนี้ แต่อนาคตเป็นสิ่งที่คาดการณ์ยาก แค่ลองดูเมื่อ 5 ปีก่อน เรายังไม่เคยได้ยินสิ่งที่เราทุกวันนี้เรียกกันว่า iPad เลย
นาย Tom Wheeler ประธาน FCC ได้เขียนจดหมายตอบกลับบริษัทไอที หลังจากที่บริษัทเหล่านั้นรวมตัวกันลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึง FCC เพื่อต่อต้านกฎ Pay-for-Priority ที่กำลังจะมีจะมีการลงมติเห็นชอบในวันพฤหัสที่จะถึงนี้ โดยประธาน FCC กล่าวว่าตัวเขาเองก็ตระหนักถึงความเป็นกลางของอินเทอร์เน็ต (Net Neutrality) เช่นเดียวกัน
ก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาว่า FCC ของสหรัฐออกมาเสนอกฎเรื่อง Pay-for-Priority ซึ่งเป็นกฎที่ทำให้ ISP สามารถเรียกเก็บเงินจากผู้ให้บริการเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต (content privider) ในการทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงเนื้อหานั้นๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการทำลาย "ความเป็นกลางทางอินเทอร์เน็ต" (Net Neutrality) ลง โดยล่าสุดทาง FCC มีกำหนดการจะลงมติในการออกกฎนี้ในวันพฤหัสหน้า
FCC หรือหน่วยงานกำกับดูแลการสื่อสารของสหรัฐฯ ได้ออกมาเสนอว่าต่อไปนี้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) สามารถจะเข้าเจรจาต่อรองกับผู้ให้บริการเนื้อหา (Content provider) โดยการเรียกเก็บเงินเพื่อที่จะทำให้การเข้าถึงเนื้อหาของลูกค้าของ ISP สามารถทำได้ “ดีขึ้น” ซึ่งการเจรจานี้สามารถเรียกง่าย ๆ ว่า pay-for-priority
หลังจากที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ผ่านกฎหมาย Net Neutrality เมื่อสองปีที่แล้วเป็นประเทศแรกของยุโรป ในที่สุด รัฐสภายุโรปก็ผ่านกฏหมายในลักษณะเดียวกัน โดยกฎหมายของรัฐสภายุโรปมีความเข้มแข็งกว่าของประเทศเนเธอแลนด์เสียอีก แต่ว่ากฎหมายนี้ก็ยังขาดข้อกำหนดการบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าน่าจะผ่านได้ในปลายปีนี้
เว็บไซต์ Wired รายงานว่า Google ระบุในเอกสารที่ตอบกลับ FCC (กทช. สหรัฐ) ว่า การบล็อคไม่ให้ผู้ใช้ตั้งเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่าย Google Fiber เป็นเรื่องชอบธรรม เนื่องจากผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมอย่าง Verizon และ Comcast ก็มีนโยบายลักษณะนี้เช่นกัน แต่ก็น่าสังเกตว่าผู้ให้บริการเหล่านั้นมีบริการเครือข่ายเพื่อต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของผู้ใช้งานให้เลือกสมัคร ซึ่ง Google ยังไม่มีบริการนี้แต่อย่างไร
ก่อนหน้านี้ Telia หนึ่งในผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือรายใหญ่ที่สุดของประเทศสวีเดนได้ออกมาแสดงท่าทีว่าบริษัทจะเริ่มเก็บเงินผู้ที่ใช้บริการ VoIP อย่าง Skype ผ่านเครือข่ายของตนเพิ่ม เนื่องจากปริมาณการใช้แบนด์วิธที่สูงทำให้กระทบกับการใช้งานทั่วไปของผู้ใช้รายอื่น ๆ แต่หลังจากที่มีกระแสต่อต้านออกมามาก ทั้งเรื่องความเป็นกลางของอินเทอร์เน็ต (net neutrality) Telia ได้ตัดสินใจที่จะไม่เก็บเงินผู้ใช้เพิ่มเพื่อใช้งาน VoIP แต่จะเก็บค่าดาต้าผู้ใช้ทุกคนเพิ่มแทนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน
กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกาได้เริ่มการสืบสวนกรณีความเป็นกลางของอินเทอร์เน็ต (net neutrality) ที่คราวนี้เกิดขึ้นกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอย่าง Comcast และ AT&T ที่เปิดให้บริการเคเบิลทีวีของตัวเองด้วยทำการจำกัดความเร็วการเข้าใช้บริการทีวีออนไลน์อย่าง Hulu และ Netflix ซึ่งพฤติกรรมนี้ถือว่าเป็นการขัดขวางการแข่งขันอย่างเสรี โดยทั้งหมดนี้ทำไปเพื่อบีบให้ผู้ใช้บริการหันมาเลือกใช้บริการของตนมากขึ้น
ทางกระทรวงเองยังสนใจอีกกรณี ที่ผู้ให้บริการเหล่านี้ไม่ยอมให้ผู้ใช้ดูทีวีออนไลน์ฟรีโดยไม่สมัครสมาชิกเคเบิลทีวีของตัวเองก่อน
ก่อนหน้านี้โซนี่ปรับเลื่อนเป้าหมายการให้บริการ IPTV ของตัวเอง หลังจากที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในสหรัฐเริ่มที่จะจำกัดจำนวนแบนด์วิธของผู้ใช้บริการ
เอกสารหลุดจาก ITU หรือสหภาพโทรคมนาคมนานาชาติอ้างว่า ITU เตรียมที่จะเก็บภาษีพิเศษเฉพาะบริการที่ใช้แบนด์วิธสูงอย่าง Facebook และ Netflix โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบนด์วิธที่เกิดขึ้นนอกสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มที่พยายามผลักดันภาษีดังกล่าวได้แก่นักล็อบบี้ยิสต์ต่าง ๆ ที่ทำให้กับบริษัทโทรคมนาคมใหญ่ยักษ์หลายรายของยุโรป ซึ่งกลุ่มนี้คือกลุ่มเดียวกันที่เชื่อว่ากูเกิล และผู้ให้บริการทางด้านเนื้อหาต่าง ๆ ก็ควรจะรับภาระรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากบริการเหล่านี้ด้วย
KT ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) รายใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ ได้ออกมาแสดงท่าที่เดียวกันกับที่ ISP ใหญ่หลายรายในสหรัฐเคยทำมาก่อน ผ่านการบอกว่าผู้ให้บริการที่ใช้การรับส่งข้อมูลมากอย่าง YouTube และบริการสตรีมมิ่งประเภทต่าง ๆ ทำนาบนหลังคนอื่น (free-riding) มามากพอแล้ว
นาย Kim Taehwan รองประธานของ KT ได้ออกมากล่าวว่าบริษัทต้องการที่จะออกกฎสำหรับกลุ่มบริการที่ใช้แบนด์วิธมากกว่าคนอื่น และอาจทำให้เครือข่ายของพวกเขาทั้งหมดล่มได้ และผู้ให้บริการประเภทนี้ควรที่จะจ่ายเงินให้แก่ ISP
ปัญหาเรื่อง net neutrality เริ่มเข้าสู่วงการมือถือจนได้ (จากที่ก่อนหน้านี้มักคุยกันเฉพาะอินเทอร์เน็ตแบบมีสาย)
เครือข่าย Verizon ของสหรัฐออกบันทึกเผยแพร่บนเว็บไซต์ว่าบริษัทจะเริ่ม "จำกัดความเร็ว" ของลูกค้าที่ใช้ mobile data มากผิดปกติที่อยู่ใน 5% ของลูกค้าทั้งหมด การจำกัดความเร็วจะทำเป็นระยะๆ ในรอบบิลนั้นและรอบบิลถัดไป Verizon ให้เหตุผลว่ามาตรการนี้ทำไปเพื่อรักษาคุณภาพของบริการกับลูกค้าอีก 95% ที่เหลือ
ประเด็นเรื่อง net neutrality ยังเป็นที่ถกเถียงกัน และยังไม่มีข้อสรุปว่าผู้ให้บริการเครือข่ายควรจำกัดปริมาณ-ความเร็วของลูกค้าหรือไม่ รวมถึงแบ่งความเร็วของทราฟฟิกตามชนิดของข้อมูลด้วย
คณะกรรมการสื่อสารของสหรัฐ (FCC) ได้มีมติผ่านกติกา Limited Net Neutrality หรือร่างกติกา "ความเป็นกลางของเครือข่ายโดยมีข้อจำกัด" ด้วยเสียงโหวต 3-2 โดยหนึ่งในผู้ที่ให้ผ่านกติกานี้คือนาย Julius Genachowski ประธานของ FCC
มาตามนัดทันทีหลังจากที่ Google และ Verizon ได้ออกแผนเรื่อง net neutrality ออกมา (ข่าวเก่า) ซึ่งตามแผนนั้นจะไม่รวมเครือข่ายไร้สายเข้าไปในข้อตกลง ซึ่งแน่นอน AT&T เองก็ออกมาแสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า เห็นด้วยกับการที่ระบบการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายไร้สายต้องมีกฏที่แตกต่างจากการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายแบบมีสาย
AT&T อ้างว่าเนื่องจากความสามารถในการรองรับข้อมูลของเครือข่ายไร้สายค่อนข้างมีจำกัด ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญของ traffic จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำเพื่อทำให้ผู้ใช้ได้ประสบการณ์ที่ดีที่สุด แต่ก็ย้ำว่าทาง AT&T ยังสงวนท่าทีไม่ขอออกมาแสดงความเห็นในประเด็นอื่นๆ ของข้อตกลงแต่อย่างใด
หลังจากข่าวที่ Google จับมือกับ Verizon ออกข้อตกลงร่วมเรื่อง net neutrality (ข่าวเก่า) และมีปฏิกริยาจากฝ่ายต่างๆออกมามากมายวันนี้ผมจะนำมุมมองของคนที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่อง net neutrality จาก Harvard Business Review มาให้อ่านกันเพื่อจะได้ทำให้เราได้มองในมุมกลับว่าข้อเสียของ net neutrality ก็มีเหมือนกันครับ ข่าวนี้ผมนำมาเพื่อสอบถามความเห็นของทุกท่านว่าท่านคิดว่าอย่างไรกับประเด็นที่ผู้เขียนบทความต้นฉบับเขียนมาขอเชิญทุกท่านแสดงความเห็นได้เต็มที่ครับทั้งเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
ก่อนหน้านี้มีข่าวมานานแล้วว่าทาง FCC ของอเมริกาพยายามที่จะเพิ่มข้อบังคับใหม่ให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อทำให้ผู้บริโภคไม่ถูกเอาเปรียบโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแต่เรื่องก็เงียบหายไปเพราะไม่สามารถตกลงกันได้แต่สองสามวันที่ผ่านมาผมเห็นข่าวของ Google และ Verizon ที่ประกาศขอตกลงเรื่อง net neutrality ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและผมยังไม่เห็นทาง กทช. ออกมาให้ความเห็นในเรื่องนี้เลยผมเลยอยากจะนำบทสรุปของข้อตกลงระหว่าง Google กับ Verizon ที่ทาง Engadget ทำสรุปไว้มาแปลเพื่อสอบถามความเห็นของทุกๆท่านครับ
ชิลีผ่านร่างกฏหมายหมายเลข 4915 ที่ว่าด้วยความเป็นกลางทางอินเทอร์เน็ตด้วยคะแนน 100 คะแนนงดออกเสียง 1 คะแนน โดยกฏหมายนี้จะรับรองสิทธิของผู้ใช้ที่จะได้รับบริการจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นกลาง โดยมีหลักห้าข้อใหญ่คือ
หลังจากนโยบาย network neutrality ของ FCC เป็นประเด็นร้อนให้ถกกันมาหลายยก ในสัปดาห์ที่แล้ว FCC ภายใต้การนำของรัฐบาลพรรคเดโมแครตก็ประกาศกฎ network neutrality ตามที่เคยให้ข่าวเอาไว้ก่อนหน้านี้
ต้องย้อนความก่อนว่า ในปี 2005 FCC เคยออกหลักการ 4 ข้อที่ช่วยการันตีว่าอินเทอร์เน็ตแบบบรอดแบนด์จะเป็นระบบเปิดที่คนทั่วไปสามารถเข้าใช้งานได้ หลักการ 4 ข้อนี้เรียกว่า Broadband Policy Statement หรือ Internet Policy Statement (PDF ต้นฉบับ) ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
เรียกได้ว่าฝ่ายต่อต้านหลักการ "ความเป็นกลางในการใช้เครือข่าย" (Network Neutrality) นอกจากซีอีโอของเวอไรซอนออกมาต้านแล้ว ล่าสุดวุติสมาชิกจอห์น แมคเคนก็ออกมาต้านเช่นกัน โดยในวันเดียวกับที่ FCC ให้เริ่มต้นการพิจารณาและลงในรายละเอียดของหลักการดังกล่าว คุณแมคเคนก็ได้เปิดประเด็นด้านกฎหมายที่อาจห้ามไม่ให้ FCC ออกกฏหมายควบคุมอินเทอร์เน็ต
Network neutrality กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐ เพราะบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งเสียประโยชน์จากนโยบาย network neutrality ต่างออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยที่ FCC จะออกกฎนี้
ประเด็นเรื่อง network neutrality (เครือข่ายที่ไม่เลือกปฏิบัติ) เริ่มเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐ สัปดาห์ก่อน FCC หรือ กทช. ของสหรัฐออกมาประกาศว่าจะสนับสนุนนโยบาย network neutrality ซึ่งก็โดนฝ่ายที่เสียประโยชน์อย่าง ISP ต่างๆ ออกมาคัดค้าน
แต่ฝ่ายที่สนับสนุนก็มี บรรดาซีอีโอจากบริษัทไฮเทคใหญ่ๆ ในสหรัฐได้เข้าชื่อกันในจดหมายเปิดผนึกถึง Julius Genachowski ประธานของ FCC คนปัจจุบัน ว่าพวกเขาสนับสนุนแนวทางของ FCC อย่างเต็มที่ นโยบาย network neutrality จะช่วยให้อินเทอร์เน็ตเปิดเสรีและส่งเสริมการแข่งขันอย่างยุติธรรม
เรื่องของความเป็นกลางในการใช้เครือข่าย (Network Neutrality) กำลังเป็นประเด็นร้อนที่ถกเถียงกันในกลุ่มอุตสาหกรรมการสื่อสารในสหรัฐฯ เมื่อ FCC ได้พยายามผลักดันที่จะออกข้อบังคับให้ผู้บริการเครือข่ายต่างๆ ไม่ให้ปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลหรือใช้แอพพลิเคชันต่างๆ อย่างการจำกัดความเร็ว P2P เป็นต้น โดย Julius Genachowski ประธานกรรมการของ FCC ได้ออกมาประกาศถึงหลักการ 6 ข้อของการให้บริการอินเทอร์เน็ต ได้แก่
กูเกิลจับมือกับนักวิจัยด้านเครือข่ายจากสถาบันหลายแห่ง เริ่มโครงการ Measurement Lab (เรียกย่อว่า M-Lab) โดยจะนำเอาเครื่องมือทดสอบระบบเครือข่ายที่ทีมวิจัยเหล่านี้สร้างขึ้น มาให้คนทั่วไปได้ทดสอบผ่านแพลตฟอร์มของกูเกิล
โครงการนี้จะช่วยให้นักวิจัยมีข้อมูลจริงสำหรับการวิเคราะห์หาปัญหาของเครือข่าย (เช่น เน็ตช้า โดนบีบ-บล็อค P2P) ส่วนกูเกิลเองซึ่งต่อสู้กับปัญหา network neutrality มาโดยตลอดก็จะได้รู้ว่าปัญหาอยู่ที่ไหน (ISP, เกตย์เวย์, etc.)