โซนี่ยังดำเนินนโยบายเปิดกว้างต่อโลก Android ฝั่งโอเพนซอร์สต่อไป (ข่าวเก่า) ล่าสุดบริษัทประกาศเปิดซอร์สโค้ดของซอฟต์แวร์จัดการความร้อน (Thermanager – a thermal management) บน GitHub แล้ว
หน้าที่หลักของ Thermanager คือป้องกันไม่ให้อุปกรณ์พกพามีความร้อนสูงเกินไปจน overheat โดยโซนี่ระบุว่าการเปิดซอร์สครั้งนี้ใช้สัญญาอนุญาตแบบ BSD ที่เปิดกว้าง เพื่อให้นักพัฒนานำโค้ดของ Thermanager ไปใช้ต่อได้ง่ายยิ่งขึ้น
การเปิดซอร์สซอฟต์แวร์ที่ทำงานระดับใกล้ชิดกับฮาร์ดแวร์ลักษณะนี้ ย่อมจะส่งผลดีต่อรอมของ Xperia ที่มีคุณภาพมากขึ้นนั่นเองครับ
จากข่าวเก่า ที่ว่า Slackware ลินุกซ์ดิสทริบิวชัน รุ่นแรก ๆ ของโลก อาจจะปิดตัวเนื่องจากไม่มีแหล่งทุน แต่วันนี้ Patrick Volkerding ผู้ดูแลโครงการ Slackware ได้ประกาศปล่อยรุ่น 14.1 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดแล้ว
ในรุ่นนี้มีการปรับปรุงหลัก ๆ ดังนี้
อธิบายสั้นๆ มันคือคู่แข่งของ Apache Hive ที่พัฒนาโดย Facebook ครับ
อธิบายแบบยาวๆ คือบริษัทแบบ Facebook ที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลจำนวนมหาศาลระดับ petabyte มีงานเบื้องหลังที่ต้องดึงข้อมูลเก่าที่เก็บใน data warehouse (ที่เก็บด้วย Hadoop/HFS) มาวิเคราะห์อยู่บ่อยๆ ปัญหาคือระบบคิวรีข้อมูลอย่าง Hive ที่พัฒนาอยู่บนแนวคิด MapReduce นั้นออกแบบโดยเน้นสมรรถภาพโดยรวม (overall throughput) เป็นสำคัญ แต่สิ่งที่ Facebook ต้องการคือระบบคิวรีข้อมูลที่มีการตอบสนองรวดเร็ว (low query latency)
Cisco เตรียมปล่อยโค้ดการถอดรหัสสัญญาณ H.264 ให้เป็น open source เพื่อสนับสนุนระบบการสนทนาผ่านเว็บตามโครงการ WebRTC
ในปัจจุบันนี้ผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์หลายรายได้ปรับปรุงการทำงานให้ผู้ใช้สามารถสนทนาด้วยวิดีโอผ่านเว็บกันได้โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ใดๆ เพิ่มเติม ทว่าประเด็นที่สำคัญคือระบบการเข้ารหัสและถอดรหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ใช้กันอยู่นั้น บ้างก็นิยมเลือกใช้โค้ดที่ปลอดค่าใช้จ่ายอย่าง VP8 ในขณะที่ผู้พัฒนาบางรายก็หนุนหลังการใช้ H.264 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้กันแพร่หลายมากกว่า หากทว่าต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสิทธิเพื่อการใช้งาน
ข่าวช้าไป 4-5 วันนะครับ WordPress 3.7 “Basie” ออกรุ่นจริงแล้ว ของใหม่อาจเห็นไม่ชัดนัก เพราะเป็นฟีเจอร์เบื้องหลังซะเยอะ
ที่มา - WordPress
ในบรรดาซอฟต์แวร์ความปลอดภัย ตัวแรกๆ ที่ทุกคนต้องใช้งานกันคงเป็น Wireshark หรือชื่อเดิมคือ Ethereal โดยที่ผ่านมา Wireshark ใช้ GTK+ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาหน้าจอตลอดมา แต่ตอนนี้โครงการ Wireshark ก็ประกาศว่าจะหยุดพัฒนาบน GTK+ แล้วหันไปใช้ Qt เต็มรูปแบบแล้ว
ทีมงาน Wireshark ระบุว่าการตัดสินในนี้เป็นเพราะทุกวันนี้ GTK+ จะซัพพอร์ตให้หน้าจอเข้ากับระบบบนลินุกซ์และโซลาริสเท่านั้น ขณะที่แพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น OS X และวินโดวส์ นั้นกลับมีหน้าจอที่หลุดออกจากซอฟต์แวร์อื่นๆ ในแพลตฟอร์มของตัวเองมาก ขณะที่สายพัฒนา Qt นั้นกลับสามารถแสดงหน้าจอกลมกลืนกับระบบได้เป็นอย่างดี
Ubuntu ทดสอบรุ่นเบต้ามาตั้งแต่เดือนที่แล้ว ตอนนี้ก็ถึงเวลาออกรุ่นจริงให้ดาวน์โหลดกัน โดยมีโครงการข้างเคียงออกมาปล่อยรุ่นตัวจริงพร้อมๆ กันได้แก่ Kubuntu และ Xubuntu
สำหรับการอัพเกรดแกนกลางนั้น มีหลักๆ ได้แก่ เคอร์เนลลินุกซ์, LibreOffice 4.1, และเปลี่ยนไปใช้ Python 3.3 ตัวเดียวเท่านั้น ส่วนคนที่ต้องการใช้ Python 2.x นั้นต้องลงเพิ่มเอง
พร้อมกับรุ่นเดสก์ทอป Ubuntu 13.10 จะมีรุ่นโทรศัพท์ออกมาพร้อมกัน โดยไฟล์อิมเมจจะรองรับ Galaxy Nexus และ Nexus 4 จุดสำคัญคือตัว SDK ของโทรศัพท์นั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว และหันไปใช้ระบบแสดงหน้าจอ Mir ของ Canonical เองเรียบร้อย ขณะที่รุ่นเดสก์ทอปนั้นยังไม่พร้อมทำให้ต้องใช้ X11 ไปก่อน
คู่หูในอดีตอย่าง Ubuntu/GNOME นับวันยิ่งห่างไกลกันมากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่ทั้งสองมีรอบการออกทุก 6 เดือนเท่ากัน เวอร์ชันใหม่ล่าสุดทันกันตลอด แต่หลังจาก Ubuntu แยกวงหันไปทำเดสก์ท็อป Unity ของตัวเองก็เริ่มสนใจ GNOME น้อยลง
ล่าสุด Sebastien Bacher นักพัฒนาของบริษัท Canonical ออกมาเสนอว่า Ubuntu 14.04 LTS ที่จะออกในเดือนเมษายน 2014 ควรจะใช้งาน GNOME เวอร์ชันเก่า 3.8 ที่ออกเมื่อเดือนมีนาคม 2013 ก็พอแล้ว (แปลว่าช้าไป 2 รุ่น เพราะช่วงนั้น GNOME จะออกเวอร์ชัน 3.12)
Ubuntu 13.10 Saucy Salamander ออกรุ่น Beta ทดสอบระบบเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนออกตัวจริงในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
GNOME 3.10 มาแล้วตามระยะเวลาการพัฒนา 6 เดือน โดยในเวอร์ชันนี้มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจดังนี้
โปรแกรมเล่นมัลติมีเดียครอบจักรวาล VLC ออกรุ่นใหม่ 2.1 รหัส "Rincewind" มีของใหม่ดังนี้
ดาวน์โหลดได้แล้วบนวินโดวส์และแมค ส่วนบนลินุกซ์ก็รอแพ็กเกจจากดิสโทรที่ใช้ตามเดิมครับ
ที่มา - VLC
ปัญหาไดรเวอร์ของจีพียูค่าย NVIDIA บนลินุกซ์ถือเป็นปัญหาใหญ่ของโลกโอเพนซอร์สที่เรื้อรังมานาน (ถึงขนาดโดน Linus ชูนิ้วกลางให้กลางห้องประชุม)
อย่างไรก็ตาม ท่าทีของ NVIDIA เริ่มเป็นไปในทางบวกมากขึ้น เพราะล่าสุดวิศวกรของ NVIDIA ได้ส่งอีเมลถึงทีม Nouveau (โครงการพัฒนาไดรเวอร์แบบโอเพนซอร์สสำหรับจีพียู NVIDIA) ว่าบริษัทจะเริ่มเปิดเอกสารทางเทคนิคของ GPU บางส่วน เพื่อช่วยให้ไดรเวอร์ Nouveau ให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น บริษัทจะค่อยๆ เปิดเอกสารให้มากขึ้นในอนาคต และยินดีช่วยตอบคำถามของทีม Nouveau มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
Steam มีแนวโน้มจะทำคอนโซลของตัวเองมาโดยตลอด ข่าวการเปิดตัวที่ Steam ประกาศเมื่อสามวันก่อนก็คาดกันว่าจะเปิดตัว Steam Box แต่วันนี้อยู่ก็มีการเปิดตัว SteamOS ขึ้นมา
SteamOS มีพื้นฐานเป็นลินุกซ์ที่ Steam ลงทุนพัฒนาในช่วงหลัง แต่ที่สำคัญคือทาง Valve ระบุว่า Steam บนวินโดวส์และแมคจะสามารถส่งภาพในเกมไปเล่นบน SteamOS ได้ด้วย ทำให้เกมที่ไม่ได้พอร์ตไปลงลินุกซ์ก็ยังใช้เครื่องที่ติดตั้ง SteamOS ได้
โครงการโอเพนซอร์สทั่วไปจะมีเรื่องน่าหงุดหงิดอย่างหนึ่งคือการขอเพิ่มฟีเจอร์ที่โปรแกรมเมอร์ที่อยู่ในโครงการอาจจะไม่สนใจเพิ่มให้แม้จะมีคนพร้อมจ่ายเงิน กระบวนการปกติคือต้องหาโปรแกรมเมอร์ในโครงการแล้วขอจ้างเพื่อให้เพิ่มฟีเจอร์ให้ กลุ่มนักพัฒนากลุ่มหนึ่งจึงนำกระบวนการเช่นนี้ออกมาเป็นโครงการ Drupalfund
เป้าหมายของโครงการ Drupalfund คือนำความต้องการต่างๆ ในโครงการ Drupal ออกมาเป็นโครงการให้นักพัฒนาเสนอตัวรับแก้ไขหรือเพิ่มฟีเจอร์กันในราคาที่กำหนดแล้วเปิดให้คนที่ต้องการฟีเจอร์นั้นๆ มาระดมเงินสนับสนุนกันได้
ที่งาน LinuxCon ไลนัสขึ้นเวทีให้สัมภาษณ์ต่อทิศทางการพัฒนาลินุกซ์ว่าจะเป็นอย่างไรหลังจากพัฒนามาต่อเนื่อง 22 ปีเต็ม ประเด็นให้สัมภาษณ์มีหลายประเด็น ยกบางประเด็น เช่น
ความยากที่จะเข้าร่วมกับโครงการลินุกซ์
ไลนัสตอบว่าตอนนี้โครงการมีนักพัฒนาเป็นจำนวนมากและยอมรับว่าการเข้ามามีส่วนร่วมนั้นยากจริง แต่ในอีกทางหนึ่งก็มีงานมากมายที่ต้องทำ ทำให้บางอย่างเข้ามาร่วมได้ง่าย
การพัฒนาของฮาร์ดแวร์
ไลนัสระบุว่าภายในสิบปีข้างหน้า กฎของมัวร์จะเป็นจริงได้ยากเพราะติดข้อจำกัดของซิลิกอน และน่าสนใจว่าโลกฮาร์ดแวร์จะเป็นอย่างไรในตอนนั้น นอกจากนี้เขาระบุว่าเขาไม่อยากให้อะไรรันอยู่บนเครื่องเสมือนนัก และชอบให้เครื่องรันบนฮาร์ดแวร์จริงมากกว่า
หลัง OpenOffice ถูกแยกออกมาเป็น LibreOffice แม้โครงการจะได้รับความสนใจจากนักพัฒนาเพิ่มขึ้นมาก แต่โครงการก็ยังไม่มีการซัพพอร์ตอย่างเป็นทางการ จนวันนี้ Michael Meeks ทีมซัพพอร์ต OpenOffice ของ SUSE ประกาศลาออกจาก SUSE ไปยังบริษัท Collabora
บริการที่ Collabora ให้บริการจะเป็นระดับสูงที่ให้บริษัทรับซัพพอร์ตมาซื้อไปอีกทอด ได้แก่ การซัพพอร์ตระดับสาม, การอัพเดต LibreOffice บนวินโดวส์, อินทิเกรตซอฟต์แวร์เข้ากับระบบขององค์กร, เพิ่มฟีเจอร์และพัฒนาส่วนขยายของ LibreOffice, และการฝึกอบรมระดับสูง
Collabora จะเข้าเป็น Advisory Board ของ The Document Foundation ผู้ดูแลโครงการ LibreOffice และจะสนับสนุนงาน LibreOffice Conference ในปีนี้
โครงการเสริมของ Ubuntu อย่าง Kubuntu นั้นไม่สามารถซื้อซัพพอร์ตจาก Canonical โดยตรงได้ และทาง Canonical ก็ไม่ได้ลงมาช่วยพัฒนาอีกแล้วในช่วงหลัง แต่ชุมชน Kubuntu ก็ร่วมมือกับบริษัทให้บริการโอเพนซอร์ส Emerge Open เพื่อซัพพอร์ต Kubuntu ในเชิงการค้าแล้ว
ปัญหาขององค์กรจำนวนมากที่ต้องการใช้ลินุกซ์อย่างจริงจังคือหน่วยงานใหญ่ๆ มักมีนโยบายว่าซอฟต์แวร์ต้องมีซัพพอร์ตจึงสามารถใช้งานได้
ยานบินแบบไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle - UAV) มีราคาถูกลงมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ได้รับความนิยมในการใช้งานอื่นๆ นอกเหนือไปจากการทหาร ก่อนหน้านี้มีการทำซอฟต์แวร์ควบคุมยานบินเป็นโอเพนซอร์สมาก่อนแล้วในชื่อ Paparazzi แต่ตอนนี้ก็มีคนพัฒนาฮาร์ดแวร์ควบคุมยานบินแบบโอเพนซอร์สออกมาแล้วในชื่อ Lisa/S
Facebook เป็นเครือข่ายสังคมที่เชื่อมโยง "ความสัมพันธ์" ของผู้คนและวัตถุต่างๆ ซึ่งบริษัทได้ออกแบบแพลตฟอร์ม Open Graph มารองรับฟีเจอร์นี้ (ข่าวเปิดตัวเมื่อปี 2010) ระยะหลัง Facebook จึงมองข้อมูลต่างๆ ในระบบของตัวเองเป็น "กราฟ" (ในความหมายทางคณิตศาสตร์ ไม่ใช้กราฟเส้นแบบราคาหุ้นนะครับ) ไปซะเยอะ
ล่าสุด Facebook ออกมาอธิบายสถาปัตยกรรมเบื้องหลัง Open Graph ที่สามารถประมวลผลข้อมูลกราฟขนาดมหาศาล (Facebook มองไกลถึงระดับ "ล้านล้าน" ความสัมพันธ์)
วันนี้ทวิตเตอร์ได้ประกาศว่าบริษัทได้เข้าซื้อกิจการของ Marakana บริษัทที่เน้นการสอนคอร์สโอเพนซอร์สต่างๆ จำพวก Android, Java, HTML5, Python ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในละแวกเดียวกับสำนักงานใหญ่ของทวิตเตอร์ใน San Francisco
หลังจากนี้ Marakana จะหยุดให้บริการสอนแก่บุคคลภายนอกทั้งหมดและเตรียมเข้าร่วมกับทวิตเตอร์อย่างเต็มตัว คาดว่าการเสริมทัพครั้งนี้เป็นไปเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้านเทคนิคภายในองค์กรกับโครงการ Twitter University หลังจากที่บริษัทเติบโตขึ้นมาก นับตั้งแต่เปิดตัวไปเมื่อปี 2006
ผู้ใช้บริการออนไลน์อย่าง Google/Facebook คงคุ้นเคยดีกับระบบ phased update หรือการเปิดอัพเดตใหม่ให้ผู้ใช้ทีละกลุ่ม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ในการทดสอบคุณภาพของซอฟต์แวร์ก่อนจะเปิดใช้งานในวงกว้าง
ล่าสุดโครงการ Ubuntu เริ่มนำนโยบายนี้มาใช้กับการอัพเดตแพ็กเกจซอฟต์แวร์บ้างแล้ว โดยเริ่มจาก Ubuntu 13.04 รุ่นเสถียรในปัจจุบัน นโยบายของ Ubuntu จะแบ่งส่วนผู้ใช้งานดังนี้
จากกรณี Jean-Baptiste Quéru นักพัฒนาลาออกจากโครงการ AOSP เพราะปัญหาไดรเวอร์กับ Qualcomm ความคืบหน้าล่าสุดของเรื่องนี้คือกูเกิลปล่อยไฟล์อิมเมจและไดรเวอร์ (ไบนารี) ของ Nexus 7 2013 ให้ดาวน์โหลดแล้ว
ไฟล์ไบนารีที่เปิดให้โหลดประกอบด้วยไดรเวอร์ของ Qualcomm, Broadcom และ ASUS ซึ่งกรณีของ Qualcomm ประกอบด้วยไดรเวอร์ของกล้อง, GPS, Wi-Fi, Bluetooth, เซ็นเซอร์, media playback, DRM, DSP, USB
การปล่อยไฟล์คราวนี้น่าจะทำให้ปัญหาเรื่องไดรเวอร์คลี่คลาย ที่เหลือก็ต้องดูว่าเส้นทางของ Jean-Baptiste Quéru จะไปทางไหนต่อครับ
Jean-Baptiste Quéru (รู้จักกันในชื่อ JBQ) พนักงานของกูเกิลที่ดูแลเรื่อง build image ของ Android Open Source Project (AOSP) ประกาศว่าเขาออกจากโครงการ AOSP แล้ว แต่ยังทำงานอื่นในกูเกิลต่อไป
JBQ โพสต์ข้อความใน Google+ ของเขาอธิบายเหตุผลว่าไม่มีประโยชน์ที่จะดูแลระบบปฏิบัติการที่ใช้กับ "อุปกรณ์เด่นตัวใหม่" ไม่ได้ เพราะ GPU ไม่รองรับ แถมเขารู้ปัญหานี้ล่วงหน้ามา 6 เดือนแต่ทำอะไรไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจแก้ไขเรื่องนี้
รายงานจาก Forrester สำหรับบริหารระบบไอทีในองค์กรแนะนำให้องค์กรพิจารณาว่า Chromebook ตรงกับความต้องการขององค์กรหรือไม่
รายงานระบุว่า Chromebook เหมาะกับองค์กรที่พร้อมจะแบ่งส่วนของพนักงาน เพราะพนักงานที่ใช้ Chromebook จะทำงานได้จำกัด, ใช้งาน Gmail หรือ Google Apps อยู่แล้ว, หรือเปิดเครื่องให้กับลูกค้าใช้งานโดยตรง
ข้อได้เปรียบของ Chromebook สำหรับองค์กรคือการบำรุงรักษาที่ค่อนข้างต่ำและเปิดโอกาสให้ทีมโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทไปพัฒนาบริการใหม่ๆ ได้มากกว่า และการทำงานผ่าน Chromebook นั้นเปิดโอกาสให้พนักงานทำงานร่วมกันได้มากกว่า (อันนี้เป็นความสามารถของ Google Apps เอง)
ไมโครซอฟท์เปิดเว็บเซิร์ฟเวอร์ Katana ที่พัฒนาด้วยภาษา C# โดยจุดเด่นของเว็บเซิร์ฟเวอร์นี้คือมันรองรับมาตรฐาน HTTP 2.0 ให้ดาวน์โหลดไปคอมไพล์เล่นกันได้ที่ GitHub
ในตอนนี้ Katana รองรับฟีเจอร์บีบอัดเฮดเดอร์, stream multiplexing, ALPN (Application Layer Protocol Negotiation), และ HTTP Upgrade
แผนของ IETF จะเริ่มทดสอบความเข้ากันได้ระหว่างเซิร์ฟเวอร์ในเดือนหน้า ช่วงนี้เราคงเห็นเซิร์ฟเวอร์จากผู้ผลิตออกมาให้ทดสอบกันเรื่อยๆ แต่ทั้งหมดควรระวังว่ามันอยู่บนมาตรฐานที่กำลังพัฒนา อาจจะมีการปรับเปลี่ยนเมื่อไหร่ก็ได้